Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ออกรายงานประเมินความเสี่ยงจากดีล Adobe ซื้อ Figma มูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ว่าส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในธุรกิจซอฟต์แวร์ด้านออกแบบ
ประเด็นนี้ไม่เกินความคาดหมายนัก เพราะ CMA ประกาศเริ่มสอบสวนดีลนี้ในเฟส 2 ตั้งแต่กลางปี ส่วนผลการสอบสวนคือ Adobe XD และ Figma เป็นคู่แข่งกันโดยตรงในตลาดซอฟต์แวร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ โดย CMA พบว่า 80% ของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ใช้ซอฟต์แวร์ของ Figma ดังนั้นการซื้อกิจการย่อมกระทบต่อการแข่งขันและนวัตกรรม เพราะมีตัวเลือกในตลาดน้อยลง
จากคดีบริษัทเกมอินดี้ Wolfire Games ฟ้อง Valve เมื่อเดือนเมษายน 2021 ว่าผูกขาดช่องทางขายเกมบนพีซีด้วย Steam Gaming Platform (ส่วนที่จัดการรายชื่อเพื่อน มัลติเพลเยอร์ และอื่นๆ บีบให้บริษัทเกมจำเป็นต้องมาขายบน Steam Store)
ตอนนี้คดีมีความคืบหน้าแล้วคือทนายของ Wolfire ยื่นคำขอต่อศาล ให้มีคำสั่งเรียกตัว Gabe Newell ประธานและผู้ก่อตั้ง Valve มาให้การในชั้นศาลด้วยตัวเอง
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับ Windows 11 ตามกฎหมายการแข่งขัน Digital Markets Act (DMA) ของเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area หรือ EEA) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
คดีดังระหว่าง Epic Games กับแอปเปิล กำลังอยู่ในชั้นศาลฎีกาสหรัฐ แต่ Epic Games ยังมีอีกคดีกับกูเกิลในลักษณะเดียวกัน ที่กระบวนการชั้นศาลยังตามหลังคดีกับแอปเปิลอยู่ และจะมีนัดไต่สวนกันในสัปดาห์หน้า
ล่าสุดกูเกิลออกมาตอบโต้ Epic Games ผ่านบล็อกของบริษัท โดยบอกว่าการฟ้องร้องกูเกิลผูกขาดช่องทางเผยแพร่เกมบน Android เป็นเรื่องไม่จริง และไม่สามารถนำคดีกับแอปเปิลมาเทียบเคียงได้ ปัจจัยสำคัญคือ Android อนุญาตให้มีสโตร์อื่นนอกจาก Google Play เช่น Samsung Galaxy Store และ Amazon Appstore รวมถึงอนุญาตให้ติดตั้งแอพเองได้ผ่าน sideloading
การไต่สวนคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจินได้ดำเนินต่อในสัปดาห์นี้ และมีข้อมูลน่าสนใจหลายอย่างที่เผยแพร่ออกมา โดยมีเอกสารหนึ่งที่ผู้พิพากษา Amit Mehta สั่งให้เผยแพร่ต่อสาธารณะ คือคำค้นหา ที่สร้างรายได้จากโฆษณามากที่สุดให้กับเสิร์ชของกูเกิล
ทั้งนี้กูเกิลเคยบอกว่ามีการค้นหาประมาณ 20% เท่านั้น ที่กูเกิลจะแสดงโฆษณาในผลลัพธ์ ซึ่งเป็นคำค้นหาที่สามารถต่อยอดประชาสัมพันธ์ขายสินค้าหรือบริการได้ ขณะที่คำค้นส่วนใหญ่ไม่ได้แสดง
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่า แอปเปิลเคยเจรจากับ DuckDuckGo ผู้ให้บริการเสิร์ชที่ชูจุดขายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยแอปเปิลมีแผนนำ DuckDuckGo มาใส่เป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้น (default) สำหรับการใช้งานโหมด Private ใน Safari
อย่างไรก็ตามการเจรจานี้ไม่บรรลุผล และแอปเปิลก็เลือกใช้ Google Search ของกูเกิลเป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้นต่อไป
การไต่สวนในคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล ประเด็นผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิน ได้ดำเนินต่อเนื่อง โดยเมื่อวานนี้ Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ได้ร่วมให้การต่อศาลถึงประเด็นดังกล่าว
Nadella กล่าวถึงดีลที่กูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิลปีละหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นเสิร์ชเอ็นจินพื้นฐานในอุปกรณ์ (default) ส่งผลให้คนไม่สามารถหนีกูเกิลพ้นได้ นอกจากจะเปลี่ยนเสิร์ชพื้นฐานในการตั้งค่าเอง เขายังบอกว่าการเปลี่ยนตั้งค่าทำได้ง่ายมากบน Windows แต่ยากที่สุดบนสมาร์ทโฟน
FTC และอัยการของ 17 รัฐในอเมริกายื่นฟ้อง Amazon โดยระบุว่าบริษัทมีพฤติกรรมผูกขาดของส่วนธุรกิจมาร์เกตเพลส และใช้กลยุทธ์หลายอย่างเพื่อรักษาการผูกขาดนี้ไว้ เช่น บีบผู้ขายไม่สามารถขายสินค้าราคาถูกกว่าในช่องทางอื่นหากตรวจพบ บังคับให้ผู้ขายใช้บริการต่าง ๆ ของ Amazon ทั้งโฆษณา ขนส่ง ที่คิดราคาสูง แต่หากไม่ใช้ก็จะถูกลดคะแนนลง เป็นต้น
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า FTC เตรียมฟ้อง Amazon ซึ่งมีความพยายามมาหลายปีแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ Amazon ปรับโครงสร้างธุรกิจที่จะลดการผูกขาดดังกล่าว
Eddy Cue หัวหน้าส่วนธุรกิจ Services ของแอปเปิล ได้ให้การต่อศาลเพื่อเป็นพยานในคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจเสิร์ช ซึ่งแอปเปิลถือเป็นพยานรายสำคัญ เพราะกูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล ด้วยตัวเลขระดับหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อแลกกับการเป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้น (default) ใน iPhone, iPad และ Mac
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการยุโรปเข้าสอบสวน Microsoft หลัง Salesforce ที่เป็นเจ้าของ Slack ร้องเรียนว่าอาจเข้าข่ายผูกขาด เหตุ Microsoft พ่วง Teams เข้ามาในชุด Microsoft 365 ล่าสุด Microsoft ยอมขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams แล้ว
Microsoft ระบุว่าบริษัทจะขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams ในราคาที่ถูกลง รวมถึงจะพยายามทำให้ Microsoft 365 และ Office 365 ทำงานร่วมกับเครื่องมือของคู่แข่งได้ง่ายขึ้นด้วย
ดีลที่ Adobe ประกาศซื้อกิจการ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มถูกหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่าง ๆ มาสอบสวนมาเป็นการผูกขาดหรือไม่ ล่าสุด คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission ประกาศเตรียมทำการสอบสวนเต็มรูปแบบ หลังจากประเมินขั้นต้นว่าอาจเป็นการผูกขาดตลาด
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดการค้าของ EU มองว่าดีลนี้ทำให้ Adobe สามารถควบคุมตลาดในระดับโลก ให้ลดการแข่งขัน ลูกค้ามีตัวเลือกซอฟต์แวร์ออกแบบงานน้อยลง โดยทาง EU จะดูรายละเอียดว่าหากดีลนี้สำเร็จ ลูกค้าจะยังมีทางเลือกอยู่มากพอหรือไม่
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศเข้าสอบสวนไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการ (formal investigation) จากกรณีการพ่วง Microsoft Teams ไปกับ Office 365/Microsoft 365 อาจละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันของยุโรป
การสอบสวนนี้เริ่มจากการร้องเรียนของคู่แข่ง Slack มาตั้งแต่ปี 2020 และช่วงต้นปีนี้ มีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์อาจยอมหยุดพ่วง Teams เพื่อแลกกับที่คณะกรรมการยุโรปไม่เข้ามาสอบสวน แต่สุดท้ายไม่เกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการยุโรปเข้ามาสอบสวนอย่างเป็นทางการ
เว็บไซต์ Politico รายงานอ้างอิงคนภายในหลายคนว่า FTC เตรียมจะยื่นฟ้อง Amazon ฐานผูกขาดในหลายธุรกิจ ซึ่งปลายทางอาจนำไปสู่คำสั่งศาลให้ Amazon แยกบริษัทหรือปรับโครงสร้างบริษัททั้งหมด
การสืบสวน Amazon ผูกขาดของ FTC เริ่มมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทรัมป์ แต่ตอนนั้นประธาน FTC คนเก่า Joe Simons โฟกัสไปที่บริษัทอย่าง Meta เป็นหลัก แต่ประธานคนล่าสุด Lina Khan ที่เคยเขียนเปเปอร์เรื่องการผูกขาดของ Amazon หันมาโฟกัสที่บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของโลกแทน โดยมีการสืบสวนจากทั้งคนในและคนนอก
ศาลซานฟรานซิสโกออกคำตัดสินปฏิเสธคำร้องขอจาก FTC ที่ให้ขัดขวางดีลไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Activision Blizzard ซึ่งทั้งสองบริษัทมีข้อตกลงต้องปิดดีลภายใน 18 กรกฎาคมนี้ ส่งผลให้ดีลมีความคืบหน้ามากขึ้น
ผู้พิพากษา Jacqueline Scott Corley อธิบายในรายละเอียดคำตัดสินว่าประเด็น Call of Duty นั้น ไมโครซอฟท์ได้แสดงแนวทางชัดเจนว่าเกมจะยังอยู่ใน PlayStation ไปอีก 10 ปี ควบคู่กับใน Xbox รวมทั้งมีแผนนำลง Nintendo Switch ด้วย จึงมองว่าข้อมูลที่ FTC บอกหากดีลนี้เกิดขึ้นการแข่งขันในตลาดจะลดลง ยังไม่ชัดเจนมากพอให้ศาลร่วมยับยั้งดีลนี้
Phil Spencer หัวหน้าธุรกิจเกมของไมโครซอฟท์ ให้การในการไต่สวนของ FTC เล่าเบื้องหลังของการซื้อกิจการ Bethesda/ZeniMax เมื่อปี 2020 ว่าเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ตัดสินใจซื้อกิจการ เป็นเพราะได้ยินข่าวว่าโซนี่เซ็นสัญญากับ Bethesda ว่าเกมที่กำลังพัฒนาอยู่ตอนนั้นคือ Deathloop และ Ghostwire: Tokyo ห้ามไปลง Xbox เด็ดขาด แถมตอนนั้นยังมีการพูดถึงเรื่อง Starfield ว่าห้ามไปลง Xbox ด้วยเช่นกัน (แม้ยังไม่ได้เซ็นสัญญาเหมือน 2 เกมแรก)
Spencer บอกว่าไมโครซอฟท์เป็นเบอร์สามในตลาดคอนโซล หากโดนแย่งคอนเทนต์ต่อไป ก็จะถูกทิ้งห่างไปเรื่อยๆ จึงต้องเป็นเจ้าของคอนเทนต์เองเพื่อให้ยังอยู่ในธุรกิจเกมต่อไปได้
Mike Reed ซีอีโอของ Gannett บริษัทแม่ของหนังสือพิมพ์ USA Today ประกาศบนเว็บไซต์ของสำนักข่าวว่ากำลังยื่นฟ้อง Google ต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ข้อหาผูกขาดตลาดเทคโนโลยีโฆษณา
Reed เผยว่า Google ครองส่วนแบ่งตลาดพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์ต่างๆ (publisher ad servers) ถึง 90% และครองตลาดประมูลพื้นที่โฆษณา (ad exchanges) อีก 60% และยังควบคุมช่องทางการประมูลโฆษณาบนตลาดแลกเปลี่ยน โดย 60% ของผู้ลงโฆษณาบนสื่อเครือ Gannett มาจากช่องทางของ Google ด้วย ซึ่งทำให้ Google ชนะประมูลในราคาถูก รายได้ต่อหน่วยโฆษณาของ publisher ต่าง ๆ จะลดลงตามไป
คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission หน่วยงานฝ่ายบริหารของ EU ได้แจ้งกูเกิล ว่าคณะกรรมาธิการมองว่ากูเกิลละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของ EU ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโฆษณา (AdTech) มาตั้งแต่ปี 2014
ไมโครซอฟท์ยื่นอุทธรณ์ ขอให้หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority - CMA) กลับคำตัดสินที่ขัดขวางดีลควบรวมกิจการกับ Activision Blizzard โดยยังไม่มีข้อมูลว่าไมโครซอฟท์ให้เหตุผลใดประกอบคำอุทธรณ์นี้
ก่อนหน้านี้ CMA ออกคำตัดสินให้ขัดขวางดีลนี้ โดยบอกว่าจะทำให้ไมโครซอฟท์มีอำนาจในตลาดคลาวด์เกมมิ่งมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม CMA เคยให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่าดีลนี้ไม่กระทบกับตลาดเกมคอนโซล
หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry - CMA) ออกคำสั่งให้ Meta ขาย Giphy ด้วยเหตุผลด้านการผูกขาดตั้งแต่ปี 2021 ก่อนที่ Meta จะยื่นอุทธรณ์และแพ้
ล่าสุด Shutterstock แพลตฟอร์มกลางสำหรับขายภาพสต๊อก ภาพถ่ายหรือกราฟิค ประกาศซื้อกิจการ Giphy จาก Meta แล้วด้วยมูลค่า 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่า Meta ซื้อ Giphy มาที่มูลค่าราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จะไม่มีการเปิดเผยมูลค่าดีลก็ตาม
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของจีนประกาศอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ เสนอซื้อกิจการ Activision Blizzard มูลค่า 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันประเทศล่าสุดที่ผ่านดีลดังกล่าว
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ยืนยันรายงานนี้ โดยบอกว่าการอนุมัติดีลซื้อกิจการนี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกับ EU และญี่ปุ่น ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ทำให้ดีลผ่านการรับรองแล้วใน 37 ประเทศ คิดเป็นประชากรรวมกว่า 2 พันล้านคน
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority - CMA) ออกคำตัดสินการพิจารณาดีลไมโครซอฟท์ เสนอซื้อกิจการ Activision Blizzard ระบุว่า CMA จะขัดขวางดีลควบรวมกิจการดังกล่าว
CMA ให้เหตุผลโดยเน้นไปที่ธุรกิจคลาวด์เกมมิ่ง บอกว่าไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดนี้อยู่ 60-70% การได้เกมของ Activision เพิ่มเติมมาเป็นเอ็กคลูซีฟ จะยิ่งเพิ่มอำนาจในตลาดมากขึ้น อีกทั้งไมโครซอฟท์ก็มีบริการเชื่อมต่อครบทั้ง Xbox, ระบบปฏิบัติการ Windows บนพีซี และยังมีแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure ด้วย
ก่อนหน้านี้ CMA ให้ความเห็นต่อดีลดังกล่าวในมุมของตลาดคอนโซล บอกว่าไม่กระทบการแข่งขัน
Financial Times รายงานข่าวว่า ไมโครซอฟท์จะหยุดแถม Teams ไปกับ Office เพื่อแลกกับการที่ EU จะไม่เข้ามาสืบสวนข้อหาผูกขาด หลังจากคำร้องเรียนของคู่แข่ง Slack ตั้งแต่ปี 2020
ตามข่าวบอกว่าผู้ซื้อไลเซนส์ Office จะสามารถเลือกได้ว่าจะเอา Teams ด้วยหรือไม่ แต่ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องวิธีการเลือก และคาดว่าจะมีผลเฉพาะพื้นที่ของสหภาพยุโรปเท่านั้น
ในอดีตปี 2009 ไมโครซอฟท์เคยมีข้อตกลงลักษณะคล้ายกันกับ EU คือ Windows ที่ให้เลือกเบราว์เซอร์ได้ ซึ่งภายหลังไมโครซอฟท์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และโดน EU สั่งปรับด้วย
สงครามแย่งชิง Activision Blizzard ระหว่างไมโครซอฟท์-โซนี่ กลายเป็นประเด็นการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ-ญี่ปุ่น หลังนักการเมืองอเมริกันหลายรายมองว่าโซนี่ใช้ท่า exclusive กีดกันการแข่งขันจาก Xbox
ล่าสุดมี ส.ว. อเมริกันอีกรายคือ Kevin Cramer จากรัฐนอร์ทดาโคตา (North Dakota) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง Kenichiro Yoshida ซีอีโอของโซนี่ ขอให้เปิดเผยข้อตกลง exclusive ทั้งหมดกับค่ายเกมอื่นๆ รวมถึงเอกสารภายในของโซนี่ที่เกี่ยวกับการซื้อ Bungie ด้วย
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดของเกาหลีใต้ Korea Fair Trade Commission (KFTC) ออกคำสั่งปรับกูเกิลเป็นเงิน 4.21 หมื่นล้านวอน (ประมาณ 1 พันล้านบาท) ในข้อหาพยายามผูกขาดตลาดแอปเกมในประเทศ
โดยข้อกล่าวหานี้มาจากช่วงปี 2016-2018 ระบุว่ากูเกิลพยายามกดดันบริษัทผู้พัฒนาและเผยแพร่เกม ให้นำเกมลงเฉพาะ Play Store เท่านั้น ไม่ให้นำไปลง One Store แพลตฟอร์มแอปบน Android ของกลุ่มบริษัทในเกาหลีใต้ ที่ร่วมลงทุนโดย 3 ผู้ให้บริการเครือข่าย SK Telecom, KT และ LG Uplus ร่วมด้วย Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่
Japan Fair Trade Commission หน่วยงานกำกับดูแลการค้าของประเทศญี่ปุ่น อนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard โดยระบุว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดเกม ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐอีกแห่งที่อนุมัติ หลังจากหน่วยงานของบราซิลอนุมัติไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022
ไมโครซอฟท์ยังต้องผ่าน 3 ด่านสำคัญคือ สหรัฐ (FTC), สหราชอาณาจักร (CMA) และสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งกรณีของ EU มีข่าวลือว่าจะอนุมัติ และ CMA เพิ่งปรับมุมมองว่าไม่กระทบต่อธุรกิจเกมคอนโซล