Arab News รายงานว่าคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของตุรกี หรือ Turkey’s Competition Board ให้เวลา Google หกเดือนในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การโฆษณา ที่คนซื้อโฆษณาเท่านั้นถึงจะได้อยู่บนสุดของผลการค้นหา เป็นการกีดกันธุรกิจอื่น
บริษัทไอทีขนาดใหญ่ได้แก่ ไมโครซอฟท์, AWS, ซิสโก้, Salesforce, และ Telstra ส่งหนังสือแสดงความกังวลหลังรัฐบาลออสเตรเลียเสนอกฎหมายเพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่ในการับมือเหตุความมั่นคงไซเบอร์
ร่างกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ติดตั้งซอฟต์แวร์, เข้าถึง/สำเนา/เพิ่ม/กู้/แก้ไข/ลบ ข้อมูล และยังดัดแปลงฮาร์ดแวร์หรือยึดฮาร์ดแวร์ เพื่อรับมือเหตุภัยไซเบอร์ในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด โดยกำหนดว่าจะใช้อำนาจได้ต่อเมื่อเกิดเหตุภัยไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวดและไม่มีหนทางการกำกับดูแลอื่นที่รับมือปัญหาได้
บริษัทไอทีขนาดใหญ่ล้วนออกมาแสดงความกังวลกับกฎหมายนี้
Kazuyuki Furuya ประธานของคณะกรรมการการค้าญี่ปุ่นหรือ FTC เปิดเผยว่ากำลังวางรากฐานในแง่กฎหมายสำหรับการกำกับดูแลบริษัทเทคขนาดใหญ่อย่าง Google, Amazon, Apple และ Facebook ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าจะผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง และทำงานร่วมกับหน่วยงานทีเกี่ยวข้องในสหรัฐและอียูด้วย
นอกจากนี้ FTC ก็จะเข้ามาดูแลและสอบสวนเรื่องการผูกขาดกรณีการซื้อกิจการขนาดเล็กของบริษัทใหญ่ เช่น กรณีที่ Google ซื้อ Fitbit ซึ่งก็กำลังถูกบีบอย่างหนักจากอียู
ที่มา - Reuters
ปีที่แล้ว Transport for London หรือ TfL หน่วยงานผู้ดูแลการคมนาคมในกรุงลอนดอน ปฏิเสธการต่อใบอนุญาตกิจการของบริษัท Uber เนื่องจากพวว่าระบบของบริษัทปล่อยให้ผู้ขับรถที่ไม่ได้รับอนุญาตอัพโหลดภาพผ่านบัญชีของผู้ขับรถคนอื่น
ล่าสุด ศาลมีคำตัดสินอนุญาตให้ Uber ให้บริการต่อในลอนดอนได้เป็นเวลา 18 เดือน ถือเป็นชัยชนะของบริษัท เพราะลอนดอนเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของ Uber มาตลอด และมีคนขับในระบบถึง 45,000 คน
จากกรณีที่ CNN รายงานว่าเฟซบุ๊กเตรียมฟ้องรัฐไทยเรื่องปิดกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส ฐานปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แถลงในวันนี้ เชื่อว่า เฟซบุ๊กจะไม่ฟ้อง เพราะที่ผ่านมา มีคำสั่งศาลขอให้เฟซบุ๊กลบเนื้อหา 1,129 URL เฟซบุ๊กยอมลบให้ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า เฟซบุ๊กเข้าใจและเคารพกฎหมายไทย
ผู้พิพากษาชาวแคลิฟอร์เนียปฏิเสธที่จะให้ Uber และ Lyft มีเวลามากขึ้นในการอุทธรณ์คำตัดสินที่กำหนดให้ บริษัทต้องจัดประเภทผู้ขับขี่ในรัฐแคลิฟอร์เนียให้ทัดเทียมกับพนักงาน ยังคงยืนยันตามเดิมว่าต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 10 วันนับจากวันตัดสิน ซึ่งครบกำหนด 20 สิงหาคมนี้
เท่ากับตอนนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ Uber, Lyft ต้องปิดให้บริการในแคลิฟอร์เนียไปก่อน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทจะยังยื่นอุทธรณ์ต่อไป
จากประเด็นศาลแคลิฟอร์เนียตัดสินให้ Uber และ Lyft ดูแลผู้ขับรถเหมือนพนักงานประจำภายใน 10 วัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย AB5 ซึ่งกำหนดให้คนทำงานใน gig economy ต้องได้รับสวัสดิการเทียบเท่าพนักงานประจำ Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber ออกมาบอกว่า อาจต้องระงับการให้บริการในแคลิฟอร์เนียไปชั่วคราวจนกว่าศาลจะตัดสินใหม่
หลังกฎหมายความมั่นคงฮ่องกงมีผลบังคับใช้ส่งผลให้บริษัทเทคโนโลยีต้องสำรวจว่าจะมีผลต่อตลาดอย่างไรบ้าง โดยบริษัทขนาดใหญ่ๆ มักระบุว่ากำลังสำรวจผลกระทบแต่บริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทเล็กลงมาก็เริ่มเดินหน้าย้ายออกจากฮ่องกงแล้ว
รายใหญ่ที่สุดคือ Naver จากเกาหลีใต้ที่ก่อนหน้านี้เคยใช้ฮ่องกงเป็นศูนย์ข้อมูลสำรองร่วมกับสิงคโปร์ได้ตัดสินใจย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปสิงคโปร์ แม้ว่าจะยืนยันว่ารัฐบาลฮ่องกงยังไม่เคยขอข้อมูลมายังบริษัท
ราชกิจจานุเบกษาประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยประกาศบัญชีแนบท้ายประเภทกิจการที่ได้รับยกเว้นมากถึง 22 ประเภทกิจการ ครอบคลุมกิจการแทบทุกประเภท น่าจะส่งผลให้พ.ร.บ.แทบไม่มีผลบังคับกิจการใดๆ
อย่างไรก็ดีพ.ร.ฎ.นี้มีกำหนดอายุบังคับใช้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เท่านั้น ซึ่งส่งผลให้กิจการส่วนมากจะต้องทำตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
การออกพ.ร.ฎ.นี้สอดคล้องกับมติครม.เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ระบุให้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกไปอีกหนึ่งปี
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรีมีมติขยายเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บางหมวดออกไป 1 ปี ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
โดยหมวดที่มีการเลื่อนบังคับใช้คือ หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, หมวด 3 สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล, หมวด 5 การร้องเรียน, หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง, หมวด 7 บทกำหนดโทษ และความในมาตรา 95 และมาตรา 96 ซึ่งจากเดิมจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค. นี้
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 เป็นกฎหมายระดับพระราชกำหนด (รัฐบาลออกโดยไม่ผ่านสภา) มาเพื่อยกเว้นให้การประชุมบางประเภทที่กฎหมายเดิมกำหนดให้ต้องประชุมแบบพบหน้า สามารถประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนได้ และยังมีผลตามกฎหมาย
กฎหมายฉบับนี้ออกมาช่วยแก้ปัญหาที่ว่า การประชุมบางประเภท (เช่น การประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท) ต้องมาประชุมแบบพบเจอหน้า หรือผู้ประชุมต้องอยู่ในประเทศไทย จึงจะมีผลโดยชอบทางกฎหมาย ซึ่งอาจทำได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหา COVID-19
อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังมีข้อยกเว้นให้การประชุมบางประเภท เช่น ประชุมสภา, ประชุมของศาล, ประชุมเพื่อการจัดซื้อของหน่วยราชการ ยังต้องประชุมแบบพบหน้าอยู่
ใกล้เข้ามาทุกทีกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กฎหมายที่ว่าด้วยการกำหนดกฎข้อบังคับว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิใดบ้างเหนือข้อมูลนั้นๆ วางแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกนำไปใช้ในทางที่ละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล พร้อมกำหนดหน้าที่ที่องค์กรผู้ควบคุมข้อมูล และผู้ประมวลผลข้อมูลจะต้องกระทำเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงในกรณีที่เกิดเหตุข้อมูลรั่วไหลขึ้นอีกด้วย
รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่งจะผ่านกฎหมาย AB5 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทที่ทำงานใน gig economy ต้องให้สวัสดิการกับพนักงานเหมือนพนักงานประจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทในกลุ่มนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุด Uber และ Postmates ได้ยื่นฟ้องเพื่อหยุดการออกกฎหมายฉบับนี้แล้ว (พร้อมกับพนักงานใน gig economy สองคน) โดยยืนยันว่ากฎหมายนี้ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญของสหรัฐและของรัฐโดยการปฏิเสธการการันตีของการปกป้องความเท่าเทียมกัน โดยยืนยันว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเน้นพุ่งเป้าไปที่ gig economy
กระทรวงการคลังออกกฏกระทรวง ฉบับที่ 355 ตามพ.ร.บ.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 48 ที่เปิดทางให้กระทรวงการคลังสั่งให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลของผู้ที่ได้รับเงินเข้าบัญชีทุกบัญชีรวมกันเกินจำนวนครั้งที่กำหนด (3,000 ครั้งต่อปี หรือ 400 ครั้งแต่ยอดเกิน 2 ล้านบาท)
ศาลเกาหลีตัดสินจำคุก Lee Sang-hoon ประธานบอร์ดซัมซุงเกาหลี 18 เดือน ฐานขัดขวางการเคลื่อนไหวของแรงงาน นอกจาก Lee แล้วยังมีจำเลยคนอื่นอีก 25 คนด้วย
อัยการระบุว่า Lee และพวกอีก 25 คน พยายามใช้กลยุทธ์ปิดบริษัทย่อยที่มีพนักงานอยู่ในกลุ่มเคลื่อนไหวแรงงาน มีการร่วมมือวางแผนโดยผู้บริหารระดับสูง มีความพยายามใช้ข้อมูลอ่อนไหวของพนักงานมาบีบให้เขาลาออกด้วย ชะลอการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานกับฝ่ายผู้บริหาร โดยซัมซุงยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อคำตัดสินนี้
รัสเซียผ่านกฎหมายฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์ และสมาร์ททีวีจะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ของรัสเซียในเครื่อง โดยกฎหมายนี้เพิ่งจะผ่านสภาเมื่อต้นปีและลงนามโดยประธานาธิบดีปูตินเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคมปีหน้า
สมาชิกสภานิติบัญญัติของรัสเซียระบุว่า กฎหมายนี้จะช่วยให้บริษัทเทคโนโลยีของรัสเซียมีความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งจากฝั่งตะวันตกได้มากกว่าเดิม และจะให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการเลือกผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
กฎหมายนี้เกิดขึ้นในช่วงที่รัสเซียกำลังควบคุมโครงสร้างทางดิจิทัลอย่างหนัก โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาประธานาธิบดีปูตินเพิ่งจะลงนามในกฎหมายควบคุมอินเทอร์เน็ตเบ็ดเสร็จ
จากประเด็นอัยการในแต่ละรัฐของสหรัฐฯ ทำการสอบสวนคดีผูกขาดกูเกิล เรื่องถือครองตลาดโฆษณาและการค้นหาในอินเทอร์เน็ตเกินควรหรือไม่ ล่าสุด CNBC รายงานเพิ่มเติมว่า การสอบสวนจะขยายไปยังกลุ่มธุรกิจแอนดรอยด์ด้วย ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าจะสอบสวนในมุมไหน และอัยการรัฐใดจะรับหน้าที่สอบสวนเรื่องธุรกิจแอนดรอยด์ของกูเกิล
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และสส.พรรคภูมิใจไทย สั่งการให้กรมการขนส่งทางบกศึกษาการบังคับให้รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลติดตั้ง GPS บันทึกการเดินทางของรถ
แม้ยังเป็นการศึกษา แต่ก็เห็นได้ชัดว่าข้อเสนอนี้ต้องการให้รถยนต์ทุกคันส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตลอดเวลา โดยมีความตั้งใจให้ติดตั้งทั้งรถเก่าและรถใหม่ แม้บอกว่าช่วงแรกจะบังคับรถใหม่ก่อนก็ตาม โดยยังไม่มีรายละเอียดว่าเซิร์ฟเวอร์นี้จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้ใช้รถเลือกเองหรือกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ดูแล
ส่วนประเด็นแท็กซี่ป้ายดำเรียกใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นนั้นอยู่ระหว่างการร่างกฎกระทรวง ซึ่งน่าจะประกาศบังคับได้ในเดือนมีนาคม 2563
หลังจากเมื่อวานนี้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี ออกมาระบุว่าร้านกาแฟต้องเก็บล็อก 90 วันตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 26 วันนี้เขาก็ให้สัมภาษณ์กับทาง PPTV อีกครั้งโดยลดท่าทีลง ระบุว่าเงื่อนไขในกฎหมายนั้นมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้ถึงขั้นบังคับทุกคน แต่เป็นการ "ขอความร่วมมือในเบื้องต้น"
วันนี้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้สัมภาษณ์กับมติชน ย้ำว่าแม้แต่ร้านกาแฟที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็ต้องเก็บล็อก 90 วัน ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 26
มาตรา 26 กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเก็บล็อกเพื่อระบุตัวผู้ใช้บริการไว้ไม่น้อยกว่า 90 วันและพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บรักษาไว้เพิ่มได้ โดยกำหนดมาตั้งแต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ขณะที่ฉบับ 2560 ที่ใช้ปัจจุบัน เพิ่มอำนาจให้สั่งให้เก็บเพิ่มได้เป็น 2 ปี จากเดิมสั่งให้เก็บเพิ่มได้ไม่เกิน 1 ปี
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เผยแพร่จดหมายข่าว โดยระบุว่า นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มอบหมายให้ บก.ปอท. ร่วมกับสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สทส.ตร.) ดำเนินการสืบสวนปราบปรามผู้เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์
ในคำแถลงระบุพฤติการณ์ในคดีว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ไม่หวังดีก่อกระแสข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านแฮชแท็กที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ต้องหาในคดีนี้โพสต์ข้อความเนื้อหาไม่เหมาะสมบนเฟซบุ๊ก สร้างความเกลียดชัง มีคนเข้ามาแสดงความเห็นและแชร์ไปประมาณ 50 ครั้ง
บทความจากการบรรยายในงาน Blognone Tomorrow 2019 โดย ดร. ภูมิ ภูมิรัตน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้กฎหมายดิจิทัลใหม่สองฉบับล่าสุดที่จะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างทางกฎหมายดิจิทัลของบ้านเราครบถ้วน เพิ่มความน่าเชื่อถือในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาประเทศ และสนับสนุนการนำนวัตกรรมมาใช้ประกอบธุรกิจและให้บริการลูกค้าและประชาชน กฎหมายสองฉบับที่ว่านี้ก็คือพระราชบัญญัติมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้ผ่านและลงพระราชกิจจานุเบกษาแล้วทั้งสอง พรบ.
สภาของรัฐแคลิฟอร์เนีย ผ่านกฎหมายสำคัญเรื่อง Gig Economy ที่กำหนดให้บริษัทอย่าง Uber, Lyft, DoorDash, Instacart, Postmates ฯลฯ จำเป็นต้องให้สวัสดิการพื้นฐานกับคนทำงานที่เรียกว่าเป็น "คู่สัญญา" (independent contractor) แบบเดียวกับพนักงานประจำ
กฎหมายฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า AB5 ตอนนี้ผ่านทางสภาผู้แทนและวุฒิสภาของรัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว เหลือขั้นตอนลงนามของผู้ว่าการรัฐ Gavin Newsom ซึ่งก็เคยแสดงท่าทีสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ จากนั้นจะมีผลบังคับใช้ในปี 2020
เป้าหมายของกฎหมาย AB5 คือคุ้มครองแรงงานในระบบ Gig Economy ที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ เลย มีเพียงค่าจ้างตามจำนวนชิ้นงานเท่านั้น ไม่มีการการันตีค่าแรงขั้นต่ำหรือค่าแรงล่วงเวลา รวมถึงสวัสดิการด้านอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพ
Emmanuel Macron ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสกล่าวก่อนการประชุม G7 ที่จะจัดขึ้นในฝรั่งเศสสัปดาห์นี้ เรียกร้องให้มีการจัดระเบียบภาษีบริษัทด้านดิจิทัลใหม่ทั่วโลก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้โดยเฉพาะจากอเมริกามีการเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดย Macron บอกว่าแม้แต่กับประชาชนอเมริกาเองก็ไม่ได้ประโยชน์
ข้อเสนอนี้เกิดจากการที่บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ อาทิ Facebook, Alphabet (Google) และ Amazon ใช้การบันทึกกำไรในประเทศอย่างไอร์แลนด์ ที่มีอัตราการเสียภาษีที่ต่ำ เนื่องจากธุรกิจดิจิทัลเปิดโอกาสให้ไม่ต้องลงรายได้ในประเทศต้นทางก็ได้
เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา Josh Hawley สมาชิกวุฒิสภาได้เสนอการออกกฎหมายใหม่ที่จำชื่อกันง่ายๆ ว่ากฎ SMART (Social Media Addiction Reduction Technology Act) ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือบีบให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหลาย รวมทั้งสารพัดเว็บต้องปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อให้ผู้ใช้ลดอาการ "เสพติดสังคมออนไลน์" ลง
เนื้อความของร่างกฎ SMART นั้นมีการอ้างชื่อ Facebook, Instagram, YouTube และ Twitter แต่เป้าหมายนั้นคือการบังคับใช้กฎกติกาเดียวกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกราย ให้ปรับเปลี่ยนไปในทางที่จะลดเวลาการใช้งานของผู้ใช้ (ซึ่งแน่นอนว่าขัดกับเป้าหมายขั้นพื้นฐานของการพัมนาแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างจัง) โดยเนื้อหาของร่างกฎ SMART นี้จะให้อำนาจแก่ FTC (คณะกรรมาธิการการค้าแห่งชาติของสหรัฐ) ในการลงโทษผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎนี้