Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรป หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการยุโรป 27 คน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยสเตอร์ว่าควรเปิด ecosystem ของตัวเองให้คู่แข่ง ตามแนวทางของกฎหมาย DMA
Breton พูดถึงบริการสำคัญๆ ที่แอปเปิลยังผูกกับตัวเอง เช่น Wallet, App Store, และเบราว์เซอร์ ขณะที่ประกาศของกรรมาธิการยุโรปนั้นระบุว่าแอปเปิลมีสถานะเป็น gatekeeper ในบริการระบบปฎิบัติการ iOS, เบราว์เซอร์ Safari, และ App Store
Breton ให้สัมภาษณ์ครั้งนี้หลังพบกับ Tim Cook ก็อาจจะเป็นท่าทีว่าคณะกรรมาธิการยุโรปยังแข็งกร้าวกับบริษัทเทคขนาดใหญ่ต่อไป
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการยุโรปเข้าสอบสวน Microsoft หลัง Salesforce ที่เป็นเจ้าของ Slack ร้องเรียนว่าอาจเข้าข่ายผูกขาด เหตุ Microsoft พ่วง Teams เข้ามาในชุด Microsoft 365 ล่าสุด Microsoft ยอมขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams แล้ว
Microsoft ระบุว่าบริษัทจะขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams ในราคาที่ถูกลง รวมถึงจะพยายามทำให้ Microsoft 365 และ Office 365 ทำงานร่วมกับเครื่องมือของคู่แข่งได้ง่ายขึ้นด้วย
ดีลที่ Adobe ประกาศซื้อกิจการ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มถูกหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่าง ๆ มาสอบสวนมาเป็นการผูกขาดหรือไม่ ล่าสุด คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission ประกาศเตรียมทำการสอบสวนเต็มรูปแบบ หลังจากประเมินขั้นต้นว่าอาจเป็นการผูกขาดตลาด
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดการค้าของ EU มองว่าดีลนี้ทำให้ Adobe สามารถควบคุมตลาดในระดับโลก ให้ลดการแข่งขัน ลูกค้ามีตัวเลือกซอฟต์แวร์ออกแบบงานน้อยลง โดยทาง EU จะดูรายละเอียดว่าหากดีลนี้สำเร็จ ลูกค้าจะยังมีทางเลือกอยู่มากพอหรือไม่
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศเข้าสอบสวนไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการ (formal investigation) จากกรณีการพ่วง Microsoft Teams ไปกับ Office 365/Microsoft 365 อาจละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันของยุโรป
การสอบสวนนี้เริ่มจากการร้องเรียนของคู่แข่ง Slack มาตั้งแต่ปี 2020 และช่วงต้นปีนี้ มีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์อาจยอมหยุดพ่วง Teams เพื่อแลกกับที่คณะกรรมการยุโรปไม่เข้ามาสอบสวน แต่สุดท้ายไม่เกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการยุโรปเข้ามาสอบสวนอย่างเป็นทางการ
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU-U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของยุโรป 27 ประเทศ ลงมติเห็นชอบกฎหมายสินทรัพย์คริปโต Markets in Crypto-assets (MiCA) ที่เริ่มเสนอกันมาตั้งแต่ปี 2022 ทำให้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาคที่มีข้อกฎหมายด้านคริปโตอย่างชัดเจน
สาระสำคัญของ MiCA เป็นเรื่องการขอใบอนุญาตทำธุรกิจด้านคริปโต ซึ่งเป็นใบอนุญาตเดียวทั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป, การเปิดเผยข้อมูล และการสำรองสินทรัพย์ค้ำประกัน stablecoin
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ตรงตามข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
คณะกรรมการบอกว่าหลังสอบสวนในเชิงลึกแล้ว พบว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ไม่กระทบต่อการแข่งขันในตลาดเกมคอนโซล และบริการเล่นเกมแบบเหมาจ่าย (multi-game subscription services)
Reuters อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด EU ระบุว่าจะอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard หลังคณะกรรมการยุโรป (European Commission) พอใจกับมาตรการเยียวยาที่ไมโครซอฟท์เสนอ ทั้งการสัญญาว่านำเกมลงแพลตฟอร์มคู่แข่งทั้ง Nintendo และ NVIDIA
ทางคณะกรรมการยุโรปมีกำหนดลงมติว่าจะอนุมัติหรือปฏิเสธดีลนี้ในวันที่ 25 เมษายน 2023
ถึงแม้ผ่านด่าน EU ได้ แต่ไมโครซอฟท์ยังต้องเจออุปสรรคสำคัญคือ FTC ของสหรัฐอเมริกา และ CMA ของสหราชอาณาจักรที่คัดค้านดีล
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) ออกคำชี้แจงล่าสุด ในข้อร้องเรียนจาก Spotify ว่าแอปเปิลผูกขาดทางการค้าของระบบ App Store มีผลต่อบริการสตรีมมิ่งเพลง
โดยก่อนหน้านี้ EC มีมุมมองเบื้องต้นว่าแอปเปิลกีดกันการค้าจริงใน 2 ประเด็นคือ (1) บังคับใช้ In-App Purchase ทำให้คู่แข่งไม่สามารถทำต้นทุนแข่งได้ (2) ห้ามผู้พัฒนาแอป โฆษณาหรือแจ้งช่องทางจ่ายเงินอื่น ภายในแอปบนแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตามในคำชี้แจงล่าสุดนี้ EC บอกว่าได้ตัดประเด็น In-App Purchase ออกไป โดยจะทำการสอบสวนเฉพาะประเด็นการห้ามโฆษณาช่องทางจ่ายเงินอื่นเท่านั้น
คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของ EU หรือสหภาพยุโรป ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนขององค์กรต้องลบแอป TikTok ออกจากโทรศัพท์มือถือส่วนตัว และอุปกรณ์สำนักงาน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันข้อมูลและเพิ่มระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์
ทั้งนี้ European Commission ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทั้งประจำและสัญญาจ้างรวมประมาณ 32,000 คน คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องลบแอปออกภายในวันที่ 15 มีนาคม หากไม่ปฏิบัติตาม จะถูกบล็อกไม่สามารถเข้าถึงอีเมลของหน่วยงาน รวมทั้ง Skype ได้
ตัวแทนของ TikTok กล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าวของ European Commission มาจากความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม และบริษัทรู้สึกผิดหวังต่อแนวทางที่ประกาศออกมา
Financial Times รายงานข่าวว่าบริษัท Twitter ปิดสำนักงานในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ตอนนี้ไม่มีพนักงานเหลืออยู่แล้ว โดยมีทั้งกลุ่มที่ถูกปลดออกและกลุ่มที่ลาออกไปเอง
ความสำคัญของสำนักงานที่บรัสเซลส์ คือการเป็นจุดติดต่อประสานงานกับสหภาพยุโรปที่มีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์เช่นกัน ทำให้ตอนนี้ Twitter ไม่เหลือพนักงานที่ติดต่อกับสหภาพยุโรปเหลืออีกแล้ว หากหน่วยงานภาครัฐต้องร้องขอให้ Twitter ลบข้อมูลที่ผิดกฎหมายบางอย่างตาม กฎหมาย Digital Services Act ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้
คณะกรรมการยุโรป (European Commission เทียบได้กับรัฐบาลของ EU) ประกาศตั้งทีมสอบสวนเชิงลึกเรื่องดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการ เพื่อดูว่ามีผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมเกมหรือไม่ ทั้งบนพีซีและคอนโซล
European Commission ระบุว่าสนใจประเด็นที่ไมโครซอฟท์อาจใช้อิทธิพลผ่านเกมของ Activision Blizzard (เช่น Call of Duty) เพื่อกีดกันคอนโซลคู่แข่ง รวมถึงการใช้เกมเหล่านี้ผ่านบริหารสมาชิกแบบ Game Pass หรือ xCloud มาบีบคู่แข่งที่เป็นบริการแบบเดียวกัน (เช่น GeForce Now)
คณะทำงานมีเวลา 90 วันจนถึง 23 มีนาคม 2023 เพื่อให้ European Commission ตัดสินใจต่อไปว่าจะให้ดีลนี้ผ่านหรือไม่
เมื่อปี 2018 คณะกรรมาธิการยุโรปออกคำสั่งปรับ Google เป็นเงินราว 4,300 ล้านยูโร ฐานละเมิดข้อกำหนดห้ามผูกขาดทางการค้าผ่าน Android รวมถึงให้ติดตั้งแอป Google Search เป็นค่าตั้งต้น หลังจากนั้น Google ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลกลาง (General Court) สหภาพยุโรป
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ได้เผยแพร่ร่างข้อเสนอ กำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในยุโรป ต้องมีอะไหล่ขายสำหรับซ่อมแซม 15 ชิ้นส่วนหลัก เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มขาย ซึ่งเคยมีรายงานเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวตั้งแต่ปีที่แล้ว
15 ชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ในร่างข้อเสนอ อาทิ แบตเตอรี่, ฝาหลัง, กล้องหน้า-หลัง, ส่วนเชื่อมต่อเสียง, พอร์ตชาร์จไฟ, ลำโพง เป็นต้น
ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้โหวตผ่านร่างพระราชบัญญัติด้วยคะแนน 339 ต่อ 249 เสียง ให้แบนการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป
ร่างพระราชบัญญัตินี้มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ 100% ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ แปลว่ารถที่มีเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน, ดีเซล หรือไฮบริดทุกชนิด ก็ต้องหยุดขายทั้งหมด
ด้านพรรคประชาชนยุโรป (European People's Party) ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้พยายามขอยกเว้นรถไฮบริดให้ขายต่อได้ แต่ก็ไม่เป็นผล ส่วนพรรคกรีนก็อยากให้เลื่อนกำหนดการแบนเข้ามาเร็วขึ้นเป็นปี 2030 ก็ไม่เป็นผลเช่นกัน
ปัจจุบันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชาติยุโรปมาจากรถยนต์ราว 12%
สมาชิกรัฐสภาและ EU ประกาศบรรลุข้อตกลง บังคับใช้พอร์ตประเภทเดียว ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการยุโรปโหวตผ่าน และนำเสนอร่างไปก่อนหน้านี้ โดยกำหนดเป็นพอร์ต USB-C มีผลในฤดูใบไม้ร่วง หรือครึ่งหลังของปี 2024
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ถูกบังคับใช้ในประกาศนี้ยังมี อีรีเดอร์ หูฟังเอียร์บัด เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา ลำโพงพกพา ยกเว้นแล็ปท็อป ที่จะมีผลบังคับใช้ 40 เดือน นับจากวันที่คำสั่งนี้เริ่มมีผล
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกผลการประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าบริการ Apple Pay เข้าข่ายผูกขาดระบบจ่ายเงินบน iOS เพราะเป็นบริการเดียวที่สามารถเข้าถึง NFC บนอุปกรณ์ iOS ได้
คณะกรรมการยุโรปบอกว่าการที่แอปเปิลจำกัดไม่ให้นักพัฒนารายอื่นใช้ NFC เพื่อจ่ายเงินได้ เป็นการปิดกั้นการแข่งขัน และทำให้ Apple Pay เป็นบริการที่ครองตลาดเพียงรายเดียว
ตอนนี้คณะกรรมการฯ ได้ส่งจดหมายแจ้งเตือนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ (เป็นกระบวนการตามมาตรฐาน และยังไม่ถือเป็นการตัดสินว่าผิด) และจะเริ่มกระบวนการสอบสวนในขั้นต่อไป หากพบว่าแอปเปิลผิดจริงก็จะถือว่าผิดกฎหมายมาตรา 102 ของสหภาพยุโรปที่ห้ามผูกขาด
ความคืบหน้าประเด็นที่คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission เสนอบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท โดยมีเป้าหมายในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล่าสุดคณะกรรมาธิการด้านการปกป้องตลาดและผู้บริโภคยุโรป ลงคะแนนเสียง 43 ต่อ 2 สนับสนุนการแก้ไขระเบียบบังคับตามที่เสนอ
ข้อกำหนดใหม่ระบุว่าอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา และลำโพงพกพา ที่สามารถชาร์จผ่านสายได้ จะต้องรองรับพอร์ต USB-C มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ที่เล็กเกินไปสำหรับการใส่พอร์ต USB-C เช่น สมาร์ทวอทช์ สายรัดข้อมูลสุขภาพ
Mairead McGuinness กรรมการยุโรปด้านการเงิน ประกาศแผนเสนอกฎหมาย "ยูโรดิจิทัล" โดยจะเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะในเร็วๆ นี้ และตั้งเป้าผ่านกฎหมายในรัฐสภายุโรปช่วงต้นปี 2023
ร่างกฎหมายที่ McGuinness กล่าวถึง จะให้อำนาจกับธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank หรือ ECB) ในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC)
ฝั่งของ ECB ก็เริ่มงานพัฒนาต้นแบบ "ยูโรดิจิทัล" ไปบ้างแล้ว โดยยังไม่ฟันธงว่าจะเลือกโซลูชันทางเทคนิคแบบใด (มีทางเลือกทั้งแบบ centralized/decentralized ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง) และคาดว่าจะออกต้นแบบได้ช่วงปลายปี 2023
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) เสนอร่างกฎหมาย European Chips Act สนับสนุนการลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิปบนแผ่นดินยุโรป โดยตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาดชิปโลก 20% ในปี 2030 (ปัจจุบันมีราว 10%)
กฎหมายนี้ประกอบด้วยโครงการ Chips for Europe Initiative มูลค่า 11 พันล้านยูโร สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาชิป, ตั้งกองทุน Chips Fund ช่วยอุดหนุนสตาร์ตอัพด้านเซมิคอนดักเตอร์ และตั้งคณะทำงานด้านซัพพลายของชิปในยุโรปขึ้นมารับผิดชอบงานด้านนี้
ขั้นต่อไป กฎหมายนี้จะถูกเสนอเข้ารัฐสภายุโรป (European Parliament) เพื่อผ่านกระบวนการออกเป็นกฎหมายต่อไป
ที่มา - European Commission
ศาลทั่วไปสหภาพยุโรป (General Court) ตัดสินให้อินเทลชนะคดีที่กรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Commission) สั่งปรับอินเทล 1.06 พันล้านยูโร หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2009 และอินเทลสู้คดีมาหลายศาลจนกระทั่งชนะในครั้งนี้
บริษัทคลาวด์สตอเรจแบบโฮสต์เอง Nextcloud จากเยอรมนี ร่วมกับกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์สายโอเพนซอร์สจากยุโรป ยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ให้ตรวจสอบไมโครซอฟท์ในข้อหาผูกขาด OneDrive ผ่านการพ่วงไปกับ Windows
Nextcloud ให้บริการระบบแชร์ไฟล์และการสื่อสารภายองค์กร (แชท อีเมล ปฏิทิน) ซึ่งถือเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Office 365 จุดต่างคือระบบของ Nextcloud เป็นการโฮสต์บนเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเอง (on premise) ด้วยเหตุผลเรื่องต้นทุน การเข้าถึง ความปลอดภัย
Nextcloud ระบุว่าพฤติกรรมการพ่วง OneDrive หรือ Teams ของไมโครซอฟท์ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไมโครซอฟท์ในยุโรปเพิ่มสูงถึง 66% ในขณะที่ผู้ให้บริการรายย่อยๆ เหลือส่วนแบ่งเพียง 16% ถือว่าคล้ายกับกรณีผูกขาดเว็บเบราว์เซอร์ในอดีตมาก
รัฐสภายุโรปเตรียมเสนอโหวตกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) เพื่อควบคุมพฤติกรรมของแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ให้ผูกขาดหรือใช้อิทธิพลไปกลั่นแกล้งคู่แข่ง
กฎหมายฉบับนี้ให้นิยาม "ผู้คุมแพลตฟอร์ม" (gatekeeper) ซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ๆ เช่น เว็บค้นหา โซเชียลเน็ตเวิร์ค แพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ แพลตฟอร์มแชร์วิดีโอ ผู้ให้บริการคลาวด์ ฯลฯ โดยคำนวณจากมูลค่าบริษัทตามราคาตลาดต้องเกิน 8 หมื่นล้านยูโร และมีรายได้ในยุโรปเกิน 8 พันล้านยูโรต่อปี
สำนักข่าว Bloomberg รายงานเนื้อหาเพิ่มเติมจากการไต่สวนคดีที่สหภาพยุโรป สั่งปรับกูเกิล 4,342 ล้านยูโรในปี 2018 ด้วยข้อหาผูกขาดทางการค้า Android ที่ระบุว่ากูเกิลบังคับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้องลง Google Search และ Chrome โดยคราวนี้เป็นประเด็นเรื่องการผูกขาดเสิร์ชบน Android
ทนายความของกูเกิลให้ข้อมูลว่า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คำที่คนค้นหามากที่สุดบน Bing เสิร์ชเอ็นจินคู่แข่งของกูเกิลของไมโครซอฟท์ ก็เป็นคำว่า Google สะท้อนให้เห็นว่า การที่คนใช้กูเกิลเป็นเสิร์ชหลักนั้นเพราะพวกเขาเลือกเอง ไม่ใช่ถูกบังคับให้ใช้ ส่วนแบ่งการตลาดของเสิร์ชเอ็นจินของกูเกิลก็ยังสูงที่ระดับ 95% มาโดยตลอด
กูเกิลสู้คดีสหภาพยุโรปสั่งปรับ 4.34 พันล้านยูโรในปี 2018 ข้อหาผูกขาด Android ในแง่ว่าบังคับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้องลง Google Search/Chrome และกีดกันผู้ผลิตที่พยายาม fork Android เวอร์ชันของตัวเอง
ทนายของกูเกิลโต้ข้อกล่าวหาเหล่านี้ในชั้นศาล โดยบอกว่าคณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) จงใจมองข้ามประเด็นว่ากูเกิลแข่งขันกับแอปเปิลอย่างดุเดือด ตลาดสมาร์ทโฟนไม่ได้ถูกผูกขาดแต่อย่างใด และการเลือกมองแค่ Android เพียงอย่างเดียวเป็นการตีกรอบเพื่อให้กูเกิลผิดให้ได้