ปี 2024 ถือว่าเป็นอีกปีที่วงการแล็ปท็อปมีการแข่งขันที่ดุเดือดทั้งในแง่ของราคา, สเปก และเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ประเภทแล็ปท็อปที่ได้รับการยอมรับว่าคุ้มค่าทั้งในด้านราคา และสเปกที่ได้ยังไงก็คงหนีไม่พ้นแล็ปท็อปเกมมิ่งอย่างแน่นอน
วันนี้ทีมงาน Blognone จึงหยิบ HP VICTUS 16 (16-s1118AX) หนึ่งในแล็ปท็อปเกมมิ่งที่คุ้มค่ามาก ๆ มารีวิวพร้อมโปรยโปรเด็ดเพิ่มความคุ้ม 3 ต่อให้ผู้อ่านที่สนใจซื้อได้คุ้มไปตาม ๆ กัน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วงการเกมมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นจากกระแสที่กลับมาของ Handheld Console หรือเครื่องเล่นเกมพกพา ที่ได้ประโยชน์จากพัฒนาการด้านฮาร์ดแวร์ ที่แรงมากขึ้นระดับหนึ่ง จนสามารถนำสโตร์เกมอันดับ 1 อย่าง Steam มาอยู่ในขนาดที่พกพาได้
ROG เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ดูจริงจังกับตลาดนี้ค่อนข้างมาก หลังจากออก ROG Ally มาแล้ว 2 รุ่น Blognone เลยนำรุ่นล่าสุดอย่าง ROG Ally X มารีวิวเทียบกับรุ่นแรก (ROG Ally) ที่ถูกวางตัวให้เป็นรุ่นล่างกลายๆ ว่าสุดท้ายแล้ว คุ้มค่าที่จะจ่ายเงินเพิ่มมากแค่ไหน เมื่อเทียบกับรุ่นเก่า ที่ถูกกว่าเกือบๆ 1 หมื่นบาท
นอกจากภาพสตีฟ จอบส์ ในเสื้อคอเต่าสีดำ อีกหนึ่งภาพเราน่าจะเคยเห็นจนชินตาคือ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ในลุคเสื้อยืดเทา กางเกงยีนส์ ที่ใส่มายาวนาน 13 ปี (ก่อนหน้านั้นเขาอินกับเสื้อฮู้ด) พร้อมผมสั้นที่เป็นดั่งลายเซ็นของเขาไปแล้ว
แต่ในปีที่ผ่านมา หลายคนอาจจะพอจับสังเกตได้บ้างแล้วว่าซัคเคอร์เบิร์กดูมีสไตล์มากขึ้น แต่น่าจะเห็นกันแค่คร่าว ๆ ไม่ได้คิดว่ามีอะไรพิเศษ หรือมีอะไรต้องสนใจขนาดนั้น
ผ่านไปอีกครั้งกับนิทรรศการเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น Tokyo Game Show 2024 สำหรับปีนี้งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-28 กันยายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้า Makuhari Messe โดยมีผู้รวมงานรวม 4 วันทั้งสิ้น 274,739 คน (มากกว่าปีที่แล้วราว ๆ 13%)
ปีนี้ผมได้รับโอกาสเป็นตัวแทนของ Blognone ไปร่วมงาน และเก็บบรรยากาศมาฝากกันเช่นเคย โดยวันที่ผมไปคือวันที่ 26 ซึ่งเป็น Business Day ครับ
Blognone มีอายุครบ 20 ปีแล้วครับ โพสต์แรกของเราลงวันที่ 27 สิงหาคม 2004 มาถึงวันนี้มีอายุเกิน 20 ปีไปเรียบร้อยแล้ว (หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเพิ่งมาโพสต์ครบรอบวันนี้ เหตุผลง่ายๆ คือลืมครับ)
ถ้ามองย้อนกลับไป ตัวเลข 20 ปีถือเป็นระยะเวลาที่ยาวนานอย่างเหลือเชื่อ (เราเกิดปีเดียวกับ Facebook ที่อายุครบ 20 ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์) ในฐานะผู้ก่อตั้งเองก็ไม่นึกไม่ฝันเหมือนกันว่าจะเปิดเว็บมาได้นานขนาดนี้ เพราะความคิดในตอนแรกคือเปิดเอาสนุกๆ เท่านั้น
เนื่องในโอกาสเว็บมีอายุครบ 20 ปี ผมต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ฝ่ายที่ทำให้เราเดินทางมาได้ถึงวันนี้
การทำงานแบบ Hybrid work ทำให้อุปกรณ์ที่ตอบโจทย์หลายจุดประสงค์ เช่น มือถือกึ่งแท็ปเล็ตพับได้ แท็ปเล็ตขนาดเล็ก หรือแล็ปท็อปจอสัมผัส ได้รับความนิยมมากขึ้น และหนึ่งในอุปกรณ์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ แล็ปท็อป 2-in-1 ที่เป็นทั้งแล็ปท็อปและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว
วันนี้ blognone จะพาไปรีวิวในแล็ปท็อป 2-in-1 ตัวดังอย่าง Microsoft Surface Pro 11 มาดูกันว่าจากการใช้งานจริง อุปกรณ์ตัวนี้จะตอบโจทย์สายโปรดักทีฟได้มากแค่ไหนกัน
สื่อต่างประเทศเริ่มเผยแพร่รีวิว iPhone 16 และ iPhone 16 Pro แล้ว ก่อนที่จะเริ่มขายทั่วไปในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน ซึ่งรีวิวครั้งนี้หลายสำนักใช้คำว่าเป็นการรีวิวสินค้าที่ยังทำไม่เสร็จ นั่นเพราะฟีเจอร์จุดขายของ iPhone 16 คือปัญญาประดิษฐ์ Apple Intelligence ยังไม่สามารถใช้งานได้ในตอนแรก ต้องรออัปเดต iOS 18.1 เดือนตุลาคมก่อน
การแบ่งขั้วแยกข้างในสหรัฐฯ นับวันก็ยิ่งร้าวลึก ไม่ใช่แค่มีเรื่องให้เห็นต่างกันมากขึ้นระหว่างเดโมแครตและรีพับบลิกัน แต่ดีกรีความเห็นต่างในแต่ละเรื่องก็ทวีความเข้มข้น แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ 2 ขั้วเห็นพ้องต้องกัน นั่นคือประเด็นเรื่องจีน
ถ้าใครได้ตามข่าวต่างประเทศอยู่บ่อย ๆ น่าจะผ่านตากันมาบ้างกับประเด็นที่สหรัฐฯ พยายามบีบให้ TikTok แยกกิจการจาก ByteDance (บริษัทแม่ในจีน) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเกิน 80% เห็นด้วยในเรื่องนี้ แม้สองพรรคใหญ่จะแบ่งเก้าอี้กันครึ่งต่อครึ่งในสภาทั้งสอง ย้ำชัดถึงความกลมเกลียวกับในเรื่องจีน
Content Shifu ร่วมกับ Hummingbirds Consulting ออกสำรวจความเป็นไปได้ในอนาคตของวงการ Martech (Marketing Tech) ประเทศไทย เพื่อหวังจะยกระดับวงการ Martech และธุรกิจไทย ซึ่ง Blognone ได้เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์ด้วย
เราเลยอยากเชิญชวนผู้อ่าน Blognone ร่วมตอบแบบสอบถาม Thailand's Martech Report 2025 เพื่อเป็นไกด์ในแง่ความรู้แบบเจาะลึก ทั้งเทรนด์ งบประมาณ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมตัวรับมือในปีหน้า
ในช่วงสิบปีทีผ่านมา คนที่ติดตามข่าวไอทีเรื่อยๆ มักได้ยินถึงคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บล็อคเชน ว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันการแก้ไข ในบทความนี้เราจะมาสำรวจว่ามีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ที่ใดบ้าง และทำไมเราจึงต้องการระบบเก็บข้อมูลที่แก้ไขไม่ได้ มันใช้เพิ่มความปลอดภัยในกรณีใด
หลังจาก Google เปิดตัวโทรศัพท์ในกลุ่ม Pixel 9 ออกมาในงาน Made by Google ล่าสุด สื่อต่างประเทศก็เริ่มปล่อยรีวิวชุดแรก ๆ ออกมากันแล้ว
รอบนี้ Google มาด้วยกลยุทธ์ที่ต่างจากเดิม ปล่อยโทรศัพท์ออกมา 3 รุ่นย่อยคือ Pixel 9 สำหรับตัวเริ่มต้น กับ Pixel 9 Pro และ Pixel 9 Pro XL ตัวเรือธงที่ต่างกันแค่ขนาดจอ ตรงนี้เป็นจุดที่ทุกสำนักรีวิวค่อนข้างชอบเหมือน ๆ กัน เพราะเพิ่มตัวเลือกให้กับคนที่อยากได้รุ่นเรือธงแต่จอไม่ใหญ่ไป
ถ้าจำกันได้ มีช่วงนึงที่ใคร ๆ ก็ท่องกันแต่คำว่า Metaverse (พอ ๆ กับที่ตอนนี้คนพูดคำว่า AI) หนึ่งในธุรกิจที่ได้อานิสงส์แรงไฮป์ก็คือ VR หรือ Virtual Reality ตอนนั้นหลายเจ้าปล่อยแว่น VR ออกมาให้พรึ่บ ส่วนฝั่งซอฟต์แวร์เองก็ไม่น้อยหน้า มีมาให้เราลองทั้งฝั่งโซเชียลมีเดีย เกม ความบันเทิง หรือแม้แต่ซอฟต์แวร์สำหรับทำงาน
Kevin Roose คอลัมนิสต์สายเทคจาก The New York Times เคยอธิบายเอาไว้น่าสนใจว่า ในช่วงโควิด ยอดขายแว่น VR เติบโตขึ้นถึง 30% ใน 1 ปี แม้จะเป็นแกดเจ็ตราคาไม่ถูก แถมยอดใช้แอป VR ก็พุ่งขึ้นอีกด้วย ไตรมาสแรกปี 2020 รายได้จากกลุ่ม non-ad ของ Meta เติบโต 80% โดยหลัก ๆ มาจากยอดขาย Oculus Quest
ในงานเปิดตัวมือถือซีรีส์ Pixel 9 ของกูเกิลรอบนี้ หากเราตัดเรื่องฟีเจอร์ AI (ที่เป็นจุดขายของ Pixel มาช้านาน) การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เห็นได้ชัดคือการแยกรุ่น Pixel 9 Pro และ Pixel 9 Pro XL ซึ่งต่างกันที่ขนาดหน้าจอเป็นหลัก
เส้นทางชีวิตของ Pixel ในยุคแรกๆ แยกเป็นรุ่นธรรมดา และรุ่นจอใหญ่ XL มาจนถึง Pixel 4 และหลังจากนั้นกูเกิลเปลี่ยนมาใช้ยุทธศาสตร์ออกมือถือรุ่นจอเล็กสเปกต่ำ และรุ่นจอใหญ่ "Pro" ที่สเปกดีกว่า (โดยเฉพาะกล้องหลังจำนวนเยอะกว่า) ตั้งแต่ Pixel 6 และ 6 Pro ในปี 2021 มาจนถึงปัจจุบัน
นั่นแปลว่าถ้าต้องการมือถือที่แรมเยอะกว่า กล้องมากกว่า ผู้ใช้ Pixel ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากซื้อรุ่น Pro แม้ว่าอาจไม่ต้องการมือถือจอใหญ่ก็ตาม
สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็บท็อปที่คุณกำลังใช้อ่านโพสต์นี้อยู่ คุณคิดว่าคุณเป็นเจ้าของมันจริงๆ “มีสิทธิเต็มรูปแบบ” กับมันอยู่ใช่ไหม ถ้าผมบอกว่า คุณไม่ได้เป็นเจ้าของมัน 100% โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจจะรู้แต่ยังไม่เดือดร้อนกับมันล่ะ
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวคิดในการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ความอิสระหรือสิทธิ์ต่างๆ ที่เรามีกับอุปกรณือิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ จนเราถูกห้าม หรือแม้กระทั่งถูกลงโทษ เพียงแค่ต้องการบำรุงรักษาหรือซ่อมอุปกรณ์เหล่านั้น ใกล้ตัวเราที่สุดอาจจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็บท็อปนี่แหละ
หลายประเทศทั่วโลกทั้งฝั่งผู้บริโภคและภาครัฐ มีความพยายามผลักดันและสู้กลับเรื่องนี้ หลายๆ ประเทศมีกฎหมาย Rights to Repair ออกมาแล้ว เช่นอังกฤษ สหรัฐ และสหภาพยุโรป
แล้วประเทศไทย ควรผลักดันเรื่องนี้เป็นประเด็นสาธารณะ จนนำไปสู่กระบวนการออกกฎหมายได้หรือยัง?
ครั้งนี้เราจะใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ข่าวกรองทางไซเบอร์ (Cyber Threat Intelligence: CTI) เพื่อขยายผลจาก phishing domain เพียงอันเดียว ไปสู่การตรวจพบอีก 8,500+ โดเมน ที่อยู่ในมือของแฮกเกอร์กลุ่มเดียวกัน ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น proactive threat intelligence ก็ว่าได้ครับ
คนที่ติดตามข่าวสารด้าน cybersecurity น่าจะพอทราบกันดีว่ากลุ่มแฮกเกอร์จากประเทศเวียดนามมีความถนัดและให้ความสนใจในการใช้มัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูล (InfoStealer) โดยมุ่งเป้าไปที่ข้อมูลจากเว็บเบราว์เซอร์ เช่น username และ password ที่บันทึกเอาไว้, cookies, และ web data เป็นต้น
ในครั้งนี้เราจะมาวิเคราะห์มัลแวร์สายมิจดังกล่าว โดยใช้ไฟล์จาก Any.Run ซึ่งถูกอัพโหลดจากประเทศไทย
“ราคาคุ้น NVIDIA ทำนิวไฮ”, “หุ้น NVIDIA พุ่ง 200%”, “มูลค่า NVIDIA แซง Apple แล้ว” พาดหัวลักษณะนี้น่าจะเป็นที่ชาชินในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หลังกระแส AI บูมมากขึ้น
หลายๆ คนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าปัจจัยที่ทำให้ NVIDIA ขึ้นมาสู่ระดับนี้ได้ คือการครองตลาด GPU ที่ถูกนำไปใช้ในการเทรนด์ AI จนถึงขนาดที่ว่า บริษัทไอทีใหญ่ๆ หรือบริษัทวิจัยที่ต้องการ GPU ของ NVIDIA ไปใช้งาน มีแต่เงินอย่างเดียว ก็ใช่ว่าจะได้ของไป แต่ยังต้องรอคิวหลักหลายเดือน จนถึงปีเลยด้วยซ้ำไป
แต่คำถามคืออะไรที่ทำให้การ์ดจอ NVIDIA เข้าไปเป็นตัวเลือกหลัก (และอาจจะตัวเลือกเดียว) ของบริษัทที่ต้องการเทรน AI ทั้งที่คู่แข่ง GPU ใหญ่ๆ อย่าง AMD ก็มี? เป็นเพราะ GPU ของ NVIDIA ดีกว่าอย่างเดียวเหรอ? บทความนี้พาจะไขเหตุผลเบื้องลึกกว่านั้น
ท่ามกลางบรรยากาศที่หันหน้าไปทางไหนก็เจอแต่คำว่า AI มาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทที่จุดพลุให้คำๆ นี้กลายเป็น buzzword คือ OpenAI จากการเปิดตัวเป็นแชทบ็อต ChatGPT (GPT 3.5) เมื่อปลายปี 2022
นอกจาก OpenAI บริษัทที่ถือว่าตีคู่ขึ้นมาได้ ทั้งแง่ความสามารถของโมเดล และผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการกับผู้บริโภคก็หนีไม่พ้น Google (แม้ในแง่การโปรโมท หรือการออกสู่ตลาดอาจจะทำได้แย่กว่า) จนทำให้จุดสูงสุดของอุตสาหกรรมนี้ ณ ตอนนี้ อาจบอกได้ว่ามีอยู่แค่ 2 บริษัทนี้
ปัจจุบันแท็บเล็ตก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในหมู่น้อง ๆ นักศึกษาและนักเรียน วันนี้ทีมงาน blognone จึงหยิบ Samsung Galaxy Tab S9 FE และแท็บเล็ตตัวอื่น ๆ จาก Samsung ที่มีสเปค และราคาที่คุ้มค่ามารีวิวพร้อมการใช้งานจริงจากน้องนักศึกษาฝึกงานของ blognone ที่เหมาะเหม็งกับช่วง Back to School พอดิบพอดี
งาน Computex เป็นงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ศูนย์การแสดงสินค้า Taipei Nangang Exhibition Center (TaiNEX) ทั้ง 2 Hall ในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 - 8 มิถุนายน 2567
ในงานจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือชั้น 4 ที่มีแบรนด์ใหญ่ๆ มากันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Acer, ASRock, ASUS, BenQ, Cooler Master, Intel, MSI, ThermalTake และชั้น 1 ซึ่งขนาดใหญ่ไม่แพ้กัน มีแบรนด์ GIGABYTE เป็นแบรนด์หลักในชั้นนี้