Federal Trade Commission
FTC และอัยการของ 17 รัฐในอเมริกายื่นฟ้อง Amazon โดยระบุว่าบริษัทมีพฤติกรรมผูกขาดของส่วนธุรกิจมาร์เกตเพลส และใช้กลยุทธ์หลายอย่างเพื่อรักษาการผูกขาดนี้ไว้ เช่น บีบผู้ขายไม่สามารถขายสินค้าราคาถูกกว่าในช่องทางอื่นหากตรวจพบ บังคับให้ผู้ขายใช้บริการต่าง ๆ ของ Amazon ทั้งโฆษณา ขนส่ง ที่คิดราคาสูง แต่หากไม่ใช้ก็จะถูกลดคะแนนลง เป็นต้น
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า FTC เตรียมฟ้อง Amazon ซึ่งมีความพยายามมาหลายปีแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ Amazon ปรับโครงสร้างธุรกิจที่จะลดการผูกขาดดังกล่าว
เว็บไซต์ Politico รายงานอ้างอิงคนภายในหลายคนว่า FTC เตรียมจะยื่นฟ้อง Amazon ฐานผูกขาดในหลายธุรกิจ ซึ่งปลายทางอาจนำไปสู่คำสั่งศาลให้ Amazon แยกบริษัทหรือปรับโครงสร้างบริษัททั้งหมด
การสืบสวน Amazon ผูกขาดของ FTC เริ่มมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทรัมป์ แต่ตอนนั้นประธาน FTC คนเก่า Joe Simons โฟกัสไปที่บริษัทอย่าง Meta เป็นหลัก แต่ประธานคนล่าสุด Lina Khan ที่เคยเขียนเปเปอร์เรื่องการผูกขาดของ Amazon หันมาโฟกัสที่บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของโลกแทน โดยมีการสืบสวนจากทั้งคนในและคนนอก
Jacqueline Scott Corley ผู้พิพากษาศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือ ซึ่งเป็นเจ้าของคดี FTC ฟ้องขอให้ขวางดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard และตัดสินให้ FTC แพ้ ได้เผยแพร่ความเห็นของตัวเองที่ใช้ในชั้นศาลออกมา
เอกสารชิ้นนี้ยังมีบางส่วนที่คาดดำเพราะเป็นความลับทางธุรกิจ แต่ก็ช่วยให้เราได้เห็นมุมมองของผู้พิพากษาชัดเจนขึ้น
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Activision Blizzard มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกรอบ เพราะอุปสรรคของการปิดดีลในสหรัฐอเมริกากำลังจะหมดไป
ต้องย้อนความว่าเมื่อปลายปี 2022 FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ มีมติขวางดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard โดยขอให้ศาลมีคำสั่งยับยั้งดีลชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำตัดสิน ซึ่งคำสั่งชั่วคราวจะสิ้นสุดในวันที่ 14 กรกฎาคม 2023 (นับถึงเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐ)
แม้ศาลเขตซานฟรานซิสโกมีคำตัดสิน ปฏิเสธคำขอของ FTC ที่ขวางดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard แต่ล่าสุด FTC ยังไม่ย่อท้อ ประกาศเดินหน้ายื่นอุทธรณ์ใหม่อีกครั้ง ส่วนรายละเอียดต้องรอเอกสารคำอุทธรณ์ของ FTC ต่อไป ซึ่งศาลมีสิทธิรับพิจารณาหรือไม่ก็ได้
ฝั่งไมโครซอฟท์นำโดยประธานบริษัท Brad Smith ก็ออกมาตอบโต้ว่าผิดหวังต่อท่าทีของ FTC ที่ยังเดินหน้าทำคดีหลักฐานอ่อนต่อไป และบริษัทจะคัดค้านแนวทางของ FTC เช่นกัน
ศาลซานฟรานซิสโกออกคำตัดสินปฏิเสธคำร้องขอจาก FTC ที่ให้ขัดขวางดีลไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Activision Blizzard ซึ่งทั้งสองบริษัทมีข้อตกลงต้องปิดดีลภายใน 18 กรกฎาคมนี้ ส่งผลให้ดีลมีความคืบหน้ามากขึ้น
ผู้พิพากษา Jacqueline Scott Corley อธิบายในรายละเอียดคำตัดสินว่าประเด็น Call of Duty นั้น ไมโครซอฟท์ได้แสดงแนวทางชัดเจนว่าเกมจะยังอยู่ใน PlayStation ไปอีก 10 ปี ควบคู่กับใน Xbox รวมทั้งมีแผนนำลง Nintendo Switch ด้วย จึงมองว่าข้อมูลที่ FTC บอกหากดีลนี้เกิดขึ้นการแข่งขันในตลาดจะลดลง ยังไม่ชัดเจนมากพอให้ศาลร่วมยับยั้งดีลนี้
ในเอกสารคดี FTC เรื่องไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard (ตอนนี้ไต่สวนเสร็จแล้ว รอผลตัดสินของศาล) มีเอกสารฝั่งไมโครซอฟท์ที่คาดการณ์ว่าโซนี่จะออก PlayStation 5 Slim ในปีนี้ ตั้งราคาที่ 399.99 ดอลลาร์
ข้อความต้นฉบับ
“PlayStation likewise sells a less expensive Digital Edition for $399.99, and is expected to release a PlayStation 5 Slim later this year at the same reduced price point,”
ไมโครซอฟท์ยังประเมินว่าโซนี่จะออกเครื่องเล่น PS5 พกพา ที่ตอนนี้เปิดตัวแล้วในชื่อ Project Q ภายในปีนี้เช่นกัน โดยคาดว่าจะตั้งราคาถูกกว่า 300 ดอลลาร์
ในการไต่สวนของ FTC บริษัทเกมที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเปิดเผยเอกสารในชั้นศาล โดยเอกสารมักถูกคาดดำบริเวณข้อมูลสำคัญที่ไม่อยากเปิดเผยต่อสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม เอกสารของโซนี่กลับใช้วิธีคาดดำด้วยปากกาไฮไลท์ (Sharpie Pen) แล้วสแกนกลับเข้าคอมพิวเตอร์อีกที ทำให้ข้อมูลที่ถูกคาดดำสามารถอ่านได้หากปรับแสงดีๆ เพราะยังเห็นรอยหมึกของตัวหนังสือเดิมอยู่
ข้อมูลสำคัญที่หลุดออกมามีดังนี้
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ไปให้การกับ FTC ในคดีซื้อ Activision Blizzard โดยแสดงความเห็นต่อประเด็นเกมเอ็กซ์คลูซีฟซึ่งเป็นแกนกลางของคดีนี้ว่า ถ้าเขามีอำนาจมากพอ เขาอยากยกเลิกระบบเอ็กซ์คลูซีฟของเกมคอนโซลไปซะทั้งหมดเลย แต่ในตอนนี้เขาไม่อยู่ในสถานะที่จะทำแบบนั้นได้
Nadella บอกว่าไมโครซอฟท์อยู่ในตลาดเกมคอนโซลที่มีส่วนแบ่งตลาดน้อย และตลาดถูกกำหนดโดยผู้เล่นรายใหญ่ที่จำกัดการแข่งขันด้วยวิธีเอ็กซ์คลูซีฟ นี่คือโลกที่เราอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาไม่อยากอยู่ในโลกแบบนี้
เขาบอกว่าแนวทางแบบกว้างๆ ของเขาคือผลักดันซอฟต์แวร์ไปอยู่ให้มากแพลตฟอร์มที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ นี่คือวิถีทางของไมโครซอฟท์ที่เขาเติบโตขึ้นมาแบบนี้ เป็นวิถีทางที่เขาเชื่อมั่น
เอกสารของไมโครซอฟท์ในคดีไต่สวนของ FTC เปิดเผยว่า ไมโครซอฟท์สนใจซื้อ Square Enix เพื่อเจาะตลาดเกมฝั่งญี่ปุ่น รวมถึงใช้ขยายตลาดไปยังเกมมือถือด้วย
เอกสารนี้เป็นไอเดียของผู้บริหารไมโครซอฟท์ในปี 2019 ใช้โค้ดเนมว่า "Project Phoenix" อธิบายเหตุผลที่สนใจซื้อ Square Enix เพราะอยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์หลัก 3 อันคือ Final Fantasy, Dragon Quest, Kingdom Hearts เพื่อขยายฐานผู้เล่น Xbox ในญี่ปุ่น และใช้แฟรนไชส์เกมเหล่านี้ขยายไปทำเกมมือถือ
นอกจาก Stadia แล้ว ผู้ให้บริการคลาวด์เกมมิ่งอีกรายที่ต้องมาให้การกับ FTC ในคดีไมโครซอฟท์คือ Phil Eisler หัวหน้าธุรกิจ GeForce Now ของ NVIDIA
Eisler ให้ข้อมูลในภาพกว้างว่าบริการคลาวด์เกมมิ่งใกล้เคียงกับการเล่นจากคอนโซลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจุดเด่นของ GeForce Now คือเซิร์ฟเวอร์แรงกว่าคอนโซลมาก แสดงผลเฟรมเรตได้สูงๆ จากเดิม 30 fps ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 60 fps และมุ่งสู่ 240 fps แล้ว
ในประเด็นเรื่องเกม Eisler เล่าว่าช่วงที่ GeForce Now เปิดทดสอบเบต้า มีเกมของ Activision Blizzard เข้าร่วมด้วย ซึ่งเกม Call of Duty ถือเป็นเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยม แม้ Activision ถอดเกมออกจากระบบในภายหลัง
เก็บตกประเด็นต่างๆ ของ Jim Ryan ซีอีโอของ Sony Interactive Entertainment (SIE) ที่ให้การกับ FTC ในคดีไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard
ทนายของไมโครซอฟท์มีโอกาสถาม (แทนใจหลายๆ คน) โดยเริ่มจากคำถามพื้นๆ ว่า
Q: คุณคิดว่าไมโครซอฟท์ควรนำเกม Activision ลง PlayStation ต่อไปหรือไม่
A: ใช่
Q: คุณคิดว่าไมโครซอฟท์จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำเกม Activision เป็นมัลติแพลตฟอร์มหรือไม่
A: ไม่ใช่
Q: ถ้าคุณต้องบริหาร Xbox คุณจะเอาเกม Call of Duty และเกมอื่นของ Activision เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ Xbox และพีซีหรือไม่
A: คำถามนี้เป็นเรื่องสมมติ (hypothetical question) และผมไม่อยากตอบคำถามนี้
Jim Ryan ซีอีโอของ Sony Interactive Entertainment (SIE) ไปให้การกับ FTC ในคดีไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ผ่านวิดีโอคอลล์ (แม้ออฟฟิศ SIE อยู่ใกล้ศาลมากที่สุดในบรรดาบริษัททั้งหมดก็ตาม แต่คนอื่นไปด้วยตัวเอง)
ทนายของไมโครซอฟท์ถาม Ryan ที่พูดในงานพบปะนักลงทุนหลังประกาศดีลซื้อ Activision Blizzard บอกว่ายุทธศาสตร์ Game Pass ผลักดันให้ไมโครซอฟท์ต้องซื้อสตูดิโอเกมมากขึ้น ว่าทำไมเขาถึงพูดเช่นนั้น
Ryan ตอบคำถามโดยบอกว่าเขาคุยกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายเกมหลายราย ซึ่งทุกรายไม่ชอบ Game Pass เพราะมันทำลายคุณค่าของเกม (value destructive) โดยเขายืนยันว่าคุยกับบริษัทเกมอยู่ตลอดเวลา และทุกรายมีความเห็นทางเดียวกันหมด
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox ไปให้การในการไต่สวนของ FTC โดยอธิบายเหตุผลว่าไมโครซอฟท์ต้องการซื้อ Activision Blizzard เพื่อตลาดเกมบนมือถือ ไม่ได้ต้องการแข่งกับโซนี่เป็นเป้าหมายหลักของการซื้อกิจการ
Spencer บอกว่าดีลนี้มีเพื่อขยายธุรกิจเกมไปยังฝั่งมือถือ เพราะธุรกิจคอนโซลในปัจจุบันของไมโครซอฟท์ยังมีสถานะเป็นเบอร์สามของตลาด ทำกำไรได้ยากมาก ไมโครซอฟท์จึงอยากมองภาพใหญ่กว่าไปยังเกมมือถือ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกต่างหาก
เขาบอกว่าดีล Activision จะไม่ช่วยให้ไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดคอนโซลมากขึ้น และไม่ได้ช่วยให้ขยับขึ้นจากเบอร์สามได้เลย
Phil Spencer หัวหน้าธุรกิจเกมของไมโครซอฟท์ ให้การในการไต่สวนของ FTC เล่าเบื้องหลังของการซื้อกิจการ Bethesda/ZeniMax เมื่อปี 2020 ว่าเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ตัดสินใจซื้อกิจการ เป็นเพราะได้ยินข่าวว่าโซนี่เซ็นสัญญากับ Bethesda ว่าเกมที่กำลังพัฒนาอยู่ตอนนั้นคือ Deathloop และ Ghostwire: Tokyo ห้ามไปลง Xbox เด็ดขาด แถมตอนนั้นยังมีการพูดถึงเรื่อง Starfield ว่าห้ามไปลง Xbox ด้วยเช่นกัน (แม้ยังไม่ได้เซ็นสัญญาเหมือน 2 เกมแรก)
Spencer บอกว่าไมโครซอฟท์เป็นเบอร์สามในตลาดคอนโซล หากโดนแย่งคอนเทนต์ต่อไป ก็จะถูกทิ้งห่างไปเรื่อยๆ จึงต้องเป็นเจ้าของคอนเทนต์เองเพื่อให้ยังอยู่ในธุรกิจเกมต่อไปได้
ในดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard เราเห็น Jim Ryan ซีอีโอของ Sony Interactive Entertainment ออกโรงคัดค้านอย่างแข็งขัน โดยอ้างเรื่องกลัวเกม Call of Duty จะเป็นเอ็กซ์คลูซีฟของ Xbox และส่งผลกระทบในการแข่งขันของตลาดคอนโซล
อย่างไรก็ตาม ในการสอบสวนของ FTC ที่มีหลักฐานเป็นอีเมลภายในของ Jim Ryan ส่งถึงลูกน้องในช่วง 2 วันถัดมาหลังข่าวไมโครซอฟท์ประกาศซื้อ Activision ในอีเมลฉบับนี้ Ryan กลับแสดงความมั่นใจว่าไมโครซอฟท์ไม่ทำเอ็กซ์คลูซีฟแน่ เพราะไมโครซอฟท์คิดใหญ่กว่านั้น เขามีโอกาสได้พูดคุยกับ Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox และ Bobby Kotick ซีอีโอ Activision Blizzard และเชื่อว่าโซนี่จะได้ Call of Duty ต่อไปอีกหลายปี พวกเราถือว่าโอเคมาก
Pete Hines หัวหน้าฝ่ายจัดจำหน่าย (Head of Publishing) ของ Bethesda ไปให้การต่อ FTC ในคดีไมโครซอฟท์ซื้อ Activision และได้รับคำถามว่าการพัฒนาเกมอย่าง Starfield เป็นเอ็กซ์คลูซีฟบนคอนโซล Xbox นั้นเป็นอย่างไร
คำตอบของเขาคือถ้าหาก Starfield ไม่ได้เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ Xbox และต้องทำเวอร์ชัน PS5 ด้วย จะไม่มีสิทธิวางขายได้ภายในปีนี้ (กำหนดออก 6 กันยายน หรืออีกประมาณ 9 สัปดาห์) เพราะต้องเสียเวลาทดสอบเพิ่มอีกแพลตฟอร์มด้วย
เขายังยอมรับว่าการที่ไมโครซอฟท์ไปสัญญาว่าเกมของ Activision Blizzard อย่าง Call of Duty จะลง PS5 ด้วย สร้างความสับสนให้ทีม Bethesda พอสมควร เพราะนโยบายของไมโครซอฟท์ต่อ Bethesda คือให้ทำเกมลงเฉพาะ Xbox เท่านั้น
ในการไต่สวนของไมโครซอฟท์กับ FTC เรื่องดีล Activision Blizzard ไมโครซอฟท์เปิดเผยผ่านเอกสารว่าตัวเองเป็นเบอร์ 3 ของตลาดคอนโซล มียอดขายเครื่องตามหลังนินเทนโดและโซนี่มาตั้งแต่เริ่มทำ Xbox รุ่นแรกในปี 2001 โน่นเลย
คอนโซลเครื่องแรกของไมโครซอฟท์คือ Xbox รุ่นแรกนั้นมียอดขายตามหลัง GameCube และ PS2 อย่างมาก (significant margin) ทำให้ไมโครซอฟท์ยอมรับว่าแพ้สงครามคอนโซลแล้ว คู่แข่งทั้งสองแข็งแกร่งและมีคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟที่ช่วยรักษาสถานะของตัวเองได้อีกนาน
ไมโครซอฟท์ยังเปิดเผยตัวเลข (ที่ปิดบังมานาน) ว่า Xbox มีส่วนแบ่งตลาดยอดขายเครื่องคอนโซลในปี 2021 เพียง 16% เท่านั้น แต่ข้อมูลส่วนแบ่งตลาดของนินเทนโดกับโซนี่โดนคาดดำไว้
คดีระหว่าง FTC กับ Microsoft + Activision Blizzard ในชั้นศาลเริ่มต้นขึ้นแล้ว ทำให้มีเอกสารภายในของบริษัทที่เกี่ยวข้องออกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยยังคาดดำบางส่วนที่เป็นข้อมูลลับเอาไว้
เอกสารฉบับหนึ่งที่น่าสนใจมาจากฝั่งโซนี่ โดย Jim Ryan ซีอีโอของ Sony Interactive Entertainment ตอบคำถามของ FTC ว่าหากไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Activision Blizzard ได้สำเร็จ ฝั่งโซนี่จะไม่แชร์ข้อมูลทางเทคนิคของ PS6 ให้ Activision Blizzard อีกต่อไป แม้ว่า Activision Blizzard จะยังออกเกมบนแพลตฟอร์ม PlayStation ก็ตาม
ผู้พิพากษาสหรัฐมีคำสั่งยับยั้ง (restraining order) ดีลระหว่าง Microsoft กับ Activision Blizzard หลัง FTC ยื่นคำร้อง ทำให้ดีลนี้จะยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ จนกว่าศาลจะมีคำตัดสินจากการยื่นขวางดีลของ FTC เมื่อปลายปีที่แล้ว
การตัดสินใจยื่นศาลออกคำสั่งยับยั้งครั้งนี้ของ FTC เกิดจากการระแวงว่า Microsoft จะรีบปิดดีลหลัง CMA ของอังกฤษไม่อนุมัติ ซึ่งตอนนี้ Microsoft ยื่นอุทธรณ์กรณีนี้อยู่ด้วย
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) อาจจะกำลังจะขอให้ศาลของสหรัฐอเมริกาออกคำสั่งยับยั้งการควบรวมกิจการของ Activision Blizzard จาก Microsoft โดยบางส่วนของการร้องเรียนจาก FTC ได้ระบุว่า จำเป็นต้องขอคำสั่งยับยั้งชั่วคราว และออกคำสั่งห้ามเบื้องต้น เนื่องจาก Microsoft และ Activision อาจจะบรรลุผลในการเข้าซื้อกิจการเมื่อใดก็ได้
ในขณะที่ FTC ยื่นคำร้องนั้น ทางฝั่ง Microsoft ก็กำลังขอยื่นอุทธรณ์ต่อการตัดสินใจของ CMA ที่ขัดขวางการเข้าซื้อกิจการของ Microsoft ซึ่งเป็นช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเส้นตาย ในวันที่ 18 กรกฎคม ทำให้ FTC กำลังกังวลว่า Microsoft จะรีบปิดดีลการซื้อกิจการโดยไม่สนใจการขัดขวางของ CMA
Microsoft ยินยอมจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านเหรียญ จากกรณีที่ FTC ของสหรัฐยื่นฟ้อง (ผ่านในนามของกระทรวงยุติธรรม) Microsoft ว่าเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน Xbox ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง ผิดกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ของเด็ก (COPPA) ของสหรัฐ
กฎหมาย COPPA ระบุว่าผู้ให้บริการออนไลน์หรือเว็บไซต์ที่ให้บริการกับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จะต้องแจ้งเตือนผู้ปกครอง ว่าเก็บข้อมูลอะไรบ้าง และต้องให้ผู้ปกครองยินยอมก่อนจะเก็บและใช้ข้อมูลของเด็ก
Center for AI and Digital Policy (CAIDP) ศูนย์ศึกษานโยบาย AI ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิชาการจากหลายประเทศ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ว่าโมเดล GPT-4 ของ OpenAI มีความเอนเอียง (biased) หลอกลวง (deceptive) และมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
CAIDP อ้างข้อมูลของ OpenAI เองที่ยอมรับว่า GPT-4 มีข้อบกพร่องดังกล่าว และขอให้ FTC เข้ามาสอบสวน OpenAI, และสั่งให้หยุดการนำ GPT-4 ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ จนกว่าจะผ่านมาตรฐานการใช้งาน AI ของ FTC ซึ่งมีแนวทางอยู่ก่อนแล้ว
ที่มา - Ars Technica
คดีระหว่างไมโครซอฟท์กับโซนี่เรื่องดีล Activision Blizzard ฝั่งอเมริกามีพัฒนาการที่น่าสนใจคือ FTC หรือคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า เห็นชอบให้โซนี่ต้องเปิดเผยเอกสารจำนวนมาก ตามที่ไมโครซอฟท์ร้องขอ
เรื่องเริ่มมาจากไมโครซอฟท์ยื่นคำขอเมื่อ 17 มกราคม ให้โซนี่ต้องเปิดเผยเอกสารภายในต่างๆ ซึ่งรวมถึงสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟกับสตูดิโอเกมต่าง ๆ ต่อ FTC ด้วย เพื่อใช้ต่อสู้เรื่องสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟเกมที่เป็นแกนหลักของดีล Activision Blizzard
ไมโครซอฟท์ยื่นเอกสารต่อ FTC ในประเด็นการควบรวม Activision Blizzard มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าโซนี่มีข้อตกลงกับค่ายเกมเรื่องเอ็กซ์คลูซีฟแบบถาวร (ไม่ใช่ time exclusive ที่มีระยะเวลาชัดเจน) ให้ลงแต่คอนโซล PlayStation เท่านั้น ห้ามลง Xbox
เกมที่ไมโครซอฟท์ระบุชื่อเป็นตัวอย่างได้แก่ Final Fantasy VII Remake (Square Enix), Bloodborne (From Software), Final Fantasy XVI (Square Enix), Silent Hill 2 Remastered (Bloober team) ซึ่งหลายเกม เช่น FF7 Remake ก็ถูกแฟนๆ คาดเดากันมาสักพักแล้วว่าน่าจะไม่มีโอกาสมาลง Xbox เลย แม้ได้ลงพีซีก็ตาม