แอปเปิลประกาศเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้งานใน iOS และ iPadOS เพิ่มเติม มีผลเฉพาะกลุ่มผู้ใช้งานในสหภาพยุโรปเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายดิจิทัล DMA ซึ่งทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่ iOS 18 และ iPadOS 18 เป็นต้นไป
การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกคือการเลือกเบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้ตลอด แต่หน้าต่างแนะนำให้เลือกจะปรากฏเพียงครั้งเดียวเมื่อเปิด Safari ครั้งแรก ในอัปเดตใหม่นี้ ถ้าเดิมผู้ใช้เลือก Safari เป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้น หลังอัปเดต iOS 18 ก็จะถูกถามอีกครั้ง ตัวเลือกนี้จะไม่ซิงก์ข้ามอุปกรณ์ หมายความว่าหน้าต่างคำถามก็จะแสดงอีกครั้งเมื่อย้ายไป iPhone, iPad เครื่องใหม่ด้วย
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินให้กูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดบริการระบบค้นหาหรือ Search ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องร้อง ถึงแม้กูเกิลจะเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่เสียหายจากคำตัดสินนี้ อาจไม่ใช่กูเกิล
Fortune ให้ข้อสังเกตจากคำตัดสินที่ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบาย โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดเพราะใช้การทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟทั้งกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแพลตฟอร์ม เพื่อให้กูเกิลยังเป็นระบบค้นหาหลักต่อไป นั่นแปลว่ากูเกิลอาจถูกสั่งให้หยุดการทำข้อตกลงประเภทนี้ คนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ จึงอาจเป็นคนที่ได้รับเงินผลประโยชน์จากกูเกิล ซึ่งมีสองรายที่น่าสนใจคือ แอปเปิล และ Mozilla
แอปเปิลเพิ่มความสามารถใหม่ Distraction Control ให้กับ Safari โดยเริ่มทดสอบใน iOS 18, iPadOS 18 และ macOS Sequoia เวอร์ชันเบต้าที่ 5 สำหรับนักพัฒนา
Distraction Control หรือการควบคุมสิ่งรบกวน ทำงานตามชื่อโดย Safari จะตัดการแสดงผลสิ่งที่รบกวนในหน้าบทความหรือเว็บเพจ เช่น หน้าต่างที่ซ้อนขึ้นมา, ตัวเลือกการตั้งค่าคุกกี้, แบนเนอร์ให้สมัครรับข่าวสาร, วิดีโอที่เล่นอัตโนมัติ และอื่น ๆ
การทำงานของ Distraction Control จะซ่อนการแสดงผลเฉพาะคอนเทนต์ Static เท่านั้น ไม่ได้ทำงานแบบตัวป้องกันการแสดงโฆษณา (Ad Blocker) ถึงแม้อาจใช้ซ่อนโฆษณาได้ก็ตาม
The Information มีรายงานถึงความพยายามของกูเกิล เพื่อลดการพึ่งพาทราฟิกและรายได้โฆษณาจากการค้นหาในกูเกิลผ่าน Safari บน iPhone ซึ่งเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ากูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล เป็นจำนวนเงินต่อปีที่สูง แลกกับการถูกกำหนดเป็นเสิร์ชเอ็นจินค่าเริ่มต้น ซึ่งตัวเลขในปี 2022 นั้นสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคิดจากส่วนแบ่ง 36% ของรายได้โฆษณา
AppleInsider รายงานฟีเจอร์เกี่ยวกับ AI ที่จะมีในระบบปฏิบัติการ iOS 18 และ macOS 15 ที่แอปเปิลเตรียมเปิดตัวในงาน WWDC เดือนมิถุนายน โดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตอนนี้ซอฟต์แวร์อยู่ในขั้นตอนการทดสอบภายใน
โดยส่วนที่มีข้อมูลตอนนี้คือเบราว์เซอร์ Safari 18 ซึ่งจะมีฟีเจอร์ AI ดังต่อไปนี้
แอปเปิลส่งเอกสารเพิ่มเติมเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย DMA ของยุโรป โดยมีข้อมูลใหม่เรื่องแผนการเปิดให้ผู้ใช้ iOS ในยุโรปสามารถ ลบ Safari ออกจากระบบได้ถ้าต้องการ โดยแอปเปิลระบุว่าตั้งเป้าเปิดตัวเลือกนี้ในช่วงปลายปี 2024
ในเอกสารฉบับนี้ยังมีรายละเอียดเรื่องหน้าจอเลือก default browser ที่เริ่มใช้ใน iOS 17.4 และแอปเปิลยังจะเปิดตัวเลือกสำหรับแอพนำทาง (default navigation app) เช่น การเลือกใช้ Google Maps แทน Apple Maps โดยตั้งเป้าในเดือนมีนาคม 2025
ที่มา - Apple (PDF) via Thurrott
แอปเปิลประกาศนำความสามารถในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) กลับคืนมาใน iOS 17.4 สำหรับผู้ใช้งานกลุ่มประเทศ EU อีกครั้ง หลังจากมีนักพัฒนาพบว่าความสามารถถูกตัดออกไป และแอปเปิลยืนยันว่าปิดไปจริง ๆ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยเพราะต้องรองรับเอ็นจินหลายเบราว์เซอร์ แต่นักพัฒนาจำนวนหนึ่งมองว่าแอปเปิลพยายามหาท่ากีดกันเบราว์เซอร์อื่น และร้องเรียนไปทาง EU ให้สอบสวน
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ออกอัพเดต iOS 17.4 เบต้า สำหรับนักพัฒนา ทำให้มีคนพบว่า แอปเปิลได้ปิดการทำงานในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็ยืนยันการจำกัดความสามารถนี้สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เนื่องจากมีข้อกำหนดของกฎหมาย DMA ที่ระบุว่าเบราว์เซอร์อื่นต้องใช้เอ็นจินอื่นที่ไม่ใช้ WebKit ได้
คณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขันของ EU รายงานว่ากำลังส่งคำถามไปยังนักพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินว่าการกระทำนี้ของแอปเปิลส่งผลกระทบมากแค่ไหน และพิจารณาในการสอบสวนต่อไป
ใน iOS 17.4 จะมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญสำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศ EU ที่สามารถเลือกเบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นได้เอง และเลือกโหลดแอปจากสโตร์ภายนอกได้ อย่างไรก็ตามมีนักพัฒนาพบว่า มีฟีเจอร์หนึ่งที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว คือการสร้างไอคอนเว็บแอปในหน้า Home (PWA - Progressive Web App)
ตามที่กรรมมาธิการยุโรปออกกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ที่มีแพลตฟอร์มซึ่งมีสถานะแข็งแกร่งได้เปรียบเหนือรายอื่นเป็น Gatekeeper ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาเชื่อมต่อใช้งาน และแข่งขันได้ ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีที่เข้าข่าย 6 ราย ล่าสุดมีรายงานว่าแอปเปิลพยายามชี้แจงในส่วนของเบราว์เซอร์ Safari ว่าไม่ได้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างที่ถูกระบุ
กรณีของแอปเปิลนั้น มีบริการ 3 อย่างที่ถูกระบุว่าเป็น Gatekeeper คือ iOS, App Store และ Safari ทำให้แอปเปิลต้องเปิดให้ใช้สโตร์ภายนอกโหลดแอปได้ และต้องให้ใช้เอ็นจินอื่นของเบราว์เซอร์ได้นอกเหนือจาก WebKit กำหนดภายในมีนาคม 2024
ไมโครซอฟท์ประกาศอย่างเป็นทางการว่า Bing ตัวใหม่ที่รองรับแชท AI จะทำงานได้ผ่านเบราว์เซอร์อื่นที่ไม่ใช่ Edge เช่น Chrome หรือ Safari หลังจากเริ่มทดสอบไปเมื่อเดือนที่แล้ว
อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ก็แนะนำให้ใช้เบราว์เซอร์ Edge เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุด (ข้อมูลที่ไมโครซอฟท์บอกคือตั้งแต่เปิดตัว Bing ใหม่นี้ จำนวนผู้ใช้ Edge ก็เพิ่มขึ้นทุกเดือน) เช่น การป้อนบทสนทนาที่ยาวมากกว่า, การดูประวัติแชท และฟีเจอร์ใหม่ ๆ จะนำมาใส่สำหรับผู้ใช้งาน Edge ก่อน
Safari เว็บเบราว์เซอร์ในระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple จากการจัดอันดับเว็บเบราว์เซอร์ยอดนิยมทั่วโลกครั้งล่าสุด ผลปรากฏว่า Safari ครองแชมป์อันดับ 2 อีกครั้ง หลังจากปีที่แล้วอันดับสองตกเป็นของ Microsoft Edge
ข้อมูลจาก Statcounter ซึ่งวัดความนิยมของเบราว์เซอร์โดยเก็บข้อมูลจากหลายเว็บไซต์บอกว่า 11.87% ของผู้ใช้งานเดสก์ท็อปใช้ Safari อย่างสม่ำเสมอ ส่วน Google Chrome ยังคงเป็นเว็บเบราว์เซอร์เดสก์ท็อปที่ถูกใช้มากที่สุดโดยมีสัดส่วนสูงถึง 66.13%
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 16.4 beta 1 เวอร์ชันทดสอบสำหรับนักพัฒนา โดยมีของใหม่ที่สำคัญคือ Safari รองรับการแจ้งเตือน Web Push แล้ว
ฟีเจอร์นี้จะรองรับสำหรับเว็บใน Safari ที่ผู้ใช้งานสร้างเป็นไอคอนเว็บแอปขึ้นมาบนหน้า Home (กด Share เลือก Add to Home Screen) โดยการทำงานของการแจ้งเตือน Web Push เหมือนกับ Safari 16.1 บน macOS Ventura ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ผู้ใช้งานสามารถปรับตั้งค่าการเตือนได้ใน Settings เหมือนแอปอื่น ๆ
ในฝั่งนักพัฒนา ระบบการแจ้งเตือนใช้วิธีเดียวกับการกำหนดค่า Apple Push Notification ของแอป นอกจากนี้การแจ้งเตือนของเว็บแอป ยังรองรับกับโหมด Focus สามารถส่งข้อความเตือนแบบสรุปเนื้อหารายวัน และสร้าง Badge เป็นตัวเลขการแจ้งเตือนที่ไอคอนได้ด้วย
แอปเปิลออกอัพเดต Safari เวอร์ชัน 15.6.1 ให้กับผู้ใช้ macOS เวอร์ชันเก่าคือ Big Sur และ Catalina โดยอัพเดตนี้เป็นการแก้ไขช่องโหว่ CVE-2022-32893 ของ WebKit ที่ผู้โจมตีสามารถเข้ามารันคำสั่งได้
แอปเปิลบอกว่าช่องโหว่นี้มีรายงานการถูกโจมตีแล้ว จึงแนะนำให้ผู้ใช้งาน macOS เวอร์ชันดังกล่าวอัพเดตทันที
อัพเดต Safari เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้ เป็นช่องโหว่เดียวกับที่แอปเปิลอัพเดตให้กับ iOS 15.6.1 และ macOS Monterey 12.5.1 เมื่อวานนี้
ที่มา: MacRumors
กูเกิลออกคลิปโฆษณาชุด There’s no place like Chrome เจาะกลุ่มผู้ใช้ iPhone เพื่อชวนมาดาวน์โหลด Chrome เวอร์ชัน iOS
โฆษณาชุดนี้เล่าฟีเจอร์ของ Chrome ที่บอกอ้อมๆ ว่าเหนือกว่า Safari เช่น Autofill ช่วยจำเลขบัตรเครดิต, Saved Password ช่วยจำรหัสผ่าน, Synced Devices ซิงก์ข้อมูลจากเดสก์ท็อป และ Malware Protection ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวขณะท่องเว็บ
ที่มา - 9to5google
กูเกิลประกาศผลการทดสอบความเร็วของเบราว์เซอร์ โดยใช้ Speedometer เครื่องมือวัดผลของแอปเปิล ที่พัฒนาโดยทีม WebKit พบว่า Chrome เวอร์ชันล่าสุด 99 บน macOS มีคะแนนที่ 300 ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาของ Speedometer และมากกว่า Safari รุ่นปัจจุบันที่มีมาใน macOS
โดยทั่วไปคะแนนของ Safari ใน Speedometer จะอยู่ที่ประมาณ 277-279
กูเกิลบอกว่า Chrome 99 ใช้การพัฒนาที่เน้นปรับปรุงโค้ดให้ทำงานเร็วขึ้นเป็นหลัก รวมทั้งใช้ V8 Sparkplug เป็นคอมไพเลอร์ มาช่วยปรับแต่ง ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ Chrome 99 ทำงานได้เร็วมากกว่า Chrome เมื่อ 17 เดือนที่แล้วถึง 43% ซึ่งตอนนั้นแอปเปิลเพิ่งเปิดตัว Mac M1
แอปเปิลได้ออกอัพเดต iOS 15.3 และ macOS Monterey 12.2 ที่เป็น RC (Release Candidate) รุ่นทดสอบสำหรับนักพัฒนาวันนี้ โดยในเวอร์ชันนี้ได้แก้ไขบั๊ก IndexedDB API ใน Safari 15 ที่มีการรายงานช่องโหว่ออกมาก่อนหน้านี้
บั๊กนี้ทำให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงข้อมูล IndexedDB และดูได้ว่าผู้ใช้งานมีประวัติเข้าเว็บไซต์ใดบ้าง นอกจาก Safari แล้วก็มีผลกับเบราว์เซอร์อื่นบน iOS ที่ใช้ WebKit เช่น Chrome ด้วย
เนื่องจากแอปเปิลออกอัพเดตมาเป็นเวอร์ชัน RC แล้ว จึงคาดว่าเวอร์ชันสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปน่าจะออกมาได้เร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
ที่มา: MacRumors
FingerprintJS เปิดเผยบั๊กบน IndexedDB API ใน Safari 15 ที่ทำให้เว็บไซต์มุ่งร้ายสามารถดู ติดตามประวัติเข้าเว็บของผู้ใช้ และดู Google User ID ของผู้ใช้ได้ มีผลทั้งบน Mac, iOS และ iPadOS
บั๊กนี้ทำให้เว็บไซต์สามารถมองเห็นชื่อดาต้าเบสบน IndexedDB ของโดเมนใดก็ได้ ไม่ใช่แค่ดาต้าเบสที่สร้างโดยชื่อโดเมนของตัวเอง และชื่อดาต้าเบสที่หลุดนี้ก็สามารถนำไปหาประวัติการเข้าเว็บไซต์ได้โดยการเก็บรายละเอียดชื่อดาต้าเบสของเว็บไซต์ชั้นนำแต่ละเว็บ แล้วใช้ lookup table เทียบ
Safari เวอร์ชันใหม่ของ macOS 12 Monterey มีการปรับดีไซน์ใหม่ ยกแท็บขึ้นไปรวมกับช่อง URL Bar เพื่อประหยัดเนื้อที่ ซึ่งสร้างเสียงวิจารณ์พอสมควรในช่วงการทดสอบ Beta
แต่ล่าสุดดูเหมือนแอปเปิลเปลี่ยนใจใน macOS 12 Monterey ตัวจริงที่จะปล่อยอัพเดตเดือนหน้า เพราะภาพโปรโมทบนหน้าเว็บแอปเปิลเองก็กลับมาใช้หน้าตาแบบเดิม (Separated) เป็นดีฟอลต์ แต่ผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนเป็นดีไซน์ใหม่ (Compact) ได้ถ้าต้องการ
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างหนึ่งของ iOS 15 คือ Safari ดีไซน์ใหม่ที่ย้าย URL Bar และแถบเครื่องมือลงมาด้านล่าง ซึ่งถูกวิจารณ์ไม่น้อยเพราะผู้ใช้ไม่คุ้นเคย ทำให้แอปเปิลต้องยอมปรับดีไซน์บางจุดใน Beta หลังๆ
เรื่องนี้ Chris Lee อดีตพนักงานทีม Chrome Android ของกูเกิลได้เขียนเล่าว่ากูเกิลเคยลอง UI แบบนี้ตั้งแต่ปี 2016 แล้วพบว่าไม่เวิร์คจนต้องยกเลิกไป
Lee บอกว่าเขาเป็นคนพัฒนาดีไซน์ใหม่นี้เอง โดยใช้ชื่อว่า Chrome Home มันคือการนำช่อง URL ไปไว้ด้านล่าง แล้วมีแถบเลื่อนที่สามารถลากขึ้นมาให้เห็นปุ่มคำสั่งต่างๆ ได้อีก
แอปเปิลออกแบบหน้าจอ Safari ใหม่โดยมีส่วนสำคัญคือการย้ายส่วนแสดงแท็บขึ้นไปอยู่ระดับเดียวกับ URL และยังรองรับการจัดกลุ่มแท็บให้สลับไปมาระหว่างกลุ่มได้ง่ายขึ้น การจัดกลุ่มแท็บสามารถซิงก์ข้ามอุปกรณ์ได้ทั้ง Mac, iPad, และ iPhone
ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือการรองรับส่วนขยาย (web extension) สามารถดาวน์โหลดจาก App Store ได้ ก่อนหน้านี้แอปเปิลเข้าร่วมกับกูเกิล, ไมโครซอฟท์, และมอซิลล่า เพื่อตั้งกลุ่มทำงานออกมาตรฐานการทำงานส่วนขยายให้ตรงกันทุกเบราว์เซอร์ รอบนี้แอปเปิลประกาศรองรับส่วนขยายนี้บนทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง macOS, iPadOS, และ iOS
บริษัทผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ประกาศตั้งกลุ่ม WebExtensions Community Group (WECG) เพื่อให้ส่วนขยายของเบราว์เซอร์ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
ระบบส่วนขยายของเบราว์เซอร์ในปัจจุบันอิงจากแนวทางของ Chrome เป็นหลัก กรณีของ Edge ที่ใช้เอนจิน Chromium คงไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้มากนัก ส่วน Firefox หันมาใช้ฟอร์แมตแบบ Chrome ในปี 2015 และ Safari เป็นรายล่าสุดที่ตามมาในปี 2020
Six Colors เว็บข่าวสายแอปเปิล ชี้ประเด็นว่า Safari 14 เริ่มรองรับส่วนขยายที่พอร์ตจาก Chrome ได้มานานครึ่งปีแล้ว (เริ่ม มิ.ย. 2020) แต่มาถึงตอนนี้ยังแทบไม่มีส่วนขยายพอร์ตมาเลย
ปัญหาเกิดจากนโยบายของแอปเปิลเอง ที่บังคับให้ส่วนขยายต้องถูกครอบด้วยแพ็กเกจแอพแบบเนทีฟของ macOS ก่อน (แปลว่าต้องมี Xcode) แล้วส่งขึ้น Mac App Store เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ใช้ Safari ติดตั้งอีกที ไม่เหมือน Edge หรือ Firefox ที่สามารถติดตั้งไฟล์ส่วนขยายของ Chrome ได้ตรงๆ
หลังจากแอปเปิลเปิดตัว iOS 14 ไปพร้อมกับแอปแปลภาษาแบบ standalone built-in ที่ติดตั้งมาให้เลยบน iOS 14 แล้ว ยังมีการเพิ่มฟีเจอร์แปลหน้าเว็บไซต์ไว้บนแอพ Safari อีกด้วย ทำให้สามารถแปลหน้าเว็บเพจจากในซาฟารีได้โดยตรง
อย่างไรก็ตามฟีเจอร์แปลภาษาบนซาฟารียังไม่รองรับการใช้งานในประเทศไทย ถึงแม้เราจะสามารถใช้แอพ Translate ได้แล้วก็ตาม และรองรับเพียงแค่ 11 ภาษาได้แก่อังกฤษ, จีนกลาง, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, สเปน, อิตาเลียน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อารบิก, โปรตุเกส และรัสเซีย
เบื้องต้นพบว่าสามารถใช้งานได้บนทั้ง iOS 14.1, iOS 14.2 รวมไปถึง macOS Big Sur beta แต่ยังใช้ได้เพียงแค่ประเทศบราซิล และเยอรมนีเท่านั้น
แนวทางการลดอายุใบรับรองการเข้ารหัสเว็บเป็นแนวทางที่ต่อเนื่องกันมาในช่วงห้าปีที่ผ่านมา จากเดิมสมัยก่อนที่เราเคยซื้อใบรับรองเข้ารหัสอายุยาวนานถึง 8 ปีได้ ในปี 2015 CA/Browser Forum ก็ลดเพดานอายุใบรับรองเหลือ 39 เดือน และในปี 2017 ก็ลดเพดานลงเหลือ 825 วัน วันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของการซื้อใบรับรองอายุ 2 ปี เนื่องจากใบรับรองที่ออกวันที่ 1 กันยายนเป็นต้นไป หากมีอายุเกิน 397 วันจะใช้งานกับเบราว์เซอร์หลักทั้ง Chrome, Firefox, และ Safari ไม่ได้อีกต่อไป