eBay แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ เข้าซื้อ Sneaker Con ผู้พัฒนาระบบตรวจสอบรองเท้าสนีกเกอร์ว่าเป็นของแท้หรือไม่ ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างมีบริการร่วมกันมาก่อนแล้ว โดยผู้ที่ซื้อรองเท้าในราคา 100 เหรียญขึ้นไป Sneaker Con ช่วยตรวจสอบให้อีกชั้นหนึ่งก่อนจะถึงมือลูกค้า
Alibaba สรุปสถิติตัวเลขของเทศกาลลดราคาวันคนโสดจีน 11.11 ของปี 2021 โดยมียอดขายสุทธิ (GMV - Gross Merchandise Volume) ตลอดช่วงกิจกรรม 5.40 แสนล้านหยวน หรือ 8.45 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 2.78 ล้านล้านบาท เป็นสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้งเมื่อเทียบกับปี 2020
กูเกิลร่วมกับ Temasek และ Bain & Company เผยแพร่รายงานการศึกษาวิจัย e-Conomy SEA ประจำปี 2021 ซึ่งนำเสนอภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 6 ประเทศ คือ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ในภาพรวม ประชากรอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคมีจำนวน 440 ล้านคน เพิ่มขึ้น 40 ล้านคน จากปี 2020 ทำให้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 75% ผลการศึกษาพบว่า 8 ใน 10 คนของประชากรอินเทอร์เน็ต เคยซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง (ตัวเลขนี้ของไทยคือ 9 ใน 10) ในกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการช่องทางดิจิทัล ในไทยมีจำนวนถึง 18% ที่เพิ่งเริ่มใช้บริการช่วงปี 2020 ถึงครึ่งแรกปี 2021 ซึ่งเริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ผลักดันให้คนมาออนไลน์มากขึ้น
Netflix เริ่มเข้าสู่วงการ E-Commerce มาได้สักพักแล้ว เห็นได้จากการเปิดตัวเว็บไซต์ขายของ Netflix.shop เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เปิดตัวเสื้อผ้าที่คอลแลบร่วมกับแบรนด์และศิลปินในการออกแบบโดยใช้แรงบันดาลใจจากหนังและซีรีส์ดัง เช่น Squid Game, The Witcher เป็นต้น
ล่าสุด Netflix เปิดตัวสินค้าอีกชิ้น เป็นตุ๊กตาจากตัวอวตารจากหน้า Who's Watcning น้องมีชื่อด้วยคือ Chilleez! เปิดขาย 4 สี คือ ดำ แดง เหลือง น้ำเงิน เริ่มขายวันที่ 12 พ.ย. นี้ นอกจากนี้ผู้ใช้งาน Netflix ยังสามารถเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ตัวเองเป็นตัวตุ๊กตา Chilleez! ได้ด้วย
Spotify ระบบสตรีมมิ่งเพลงออนดีมานด์ประกาศร่วมมือกับ Shopify แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเปิดให้ศิลปินเชื่อมบัญชีของตัวเองบน Spotify เข้ากับร้านใน Shopify ได้โดยตรง
วิธีใช้งานคือฝั่งศิลปินสามารถผูกร้านเข้ากับโปรไฟล์ของตัวเองแล้วเลือกรูปสินค้า 3 ชิ้นขึ้นมาโชว์บนโปรไฟล์ เป็นการเพิ่มช่องทางให้ศิลปินสามารถโปรโมตและขายสินค้าของตัวเองได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้ศิลปินเอง รวมถึงให้แฟนเพลงอุดหนุนสินค้าของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบได้สะดวกรวดเร็ว
Yanolja สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มด้านการเดินทางของเกาหลีใต้ ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อหุ้น 70% ใน Interpark เว็บอีคอมเมิร์ซในประเทศ ซึ่งแฟน K-Pop อาจจะคุ้นชื่อเนื่องจากมีบริการสั่งซีดีส่งต่างประเทศ โดยมีมูลค่าดีล 2.94 แสนล้านวอน หรือประมาณ 8,300 ล้านบาท
Yanolja ให้เหตุผลของการเข้าถือหุ้นใหญ่ว่า Interpark มีธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับลูกค้าต่างประเทศอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถขยายตลาดออกไปได้ทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทจะตั้งบริษัทใหม่เพื่อโฟกัสอีคอมเมิร์ซสำหรับการท่องเที่ยว สินค้าดนตรี-บันเทิง สินค้าเกาหลี และหนังสือ
JD Health ธุรกิจด้านสุขภาพของ JD.com ประกาศเพิ่มบริการใหม่ JD Pet Hospital เพื่อให้บริการด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยงในแบบ O2O ครบวงจร
บริการ JD Pet Hospital มีสัตวแพทย์ในระบบมากกว่า 3 พันคน ให้บริการคำปรึกษาทั้งผ่านการแชต, การส่งรูปภาพ และวิดีโอคอล ตลอด 24 ชั่วโมง เน้นไปที่สัตว์เลี้ยงอย่าง สุนัข แมว รวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่น รวมทั้งให้บริการออกใบสั่งยา หรือนัดหมายเพื่อตรวจรักษาอาการ
TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Jeff Bezos อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon ได้ตกลงที่จะร่วมลงทุนใน Ula สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ในการระดมทุนรอบใหม่ที่จะมีเงินลงทุนเพิ่มจากนักลงทุนทั้งหมดราว 80 ล้านดอลลาร์
Ula เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ได้เงินทุนไปแล้วรวม 30 ล้านดอลลาร์ มีกองทุนดังร่วมลงทุนอาทิ B Capital Group, Sequoia Capital India, Lightspeed Venture Partners และ Quona Capital โดยเป็นอีคอมเมิร์ซเน้นการขายส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบรายย่อย (B2B) เพื่อช่วยบริการจัดการซัพพลายเชน สินค้าคงคลัง และเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มีรายงานว่า ByteDance เจ้าของ TikTok กำลังทดสอบแอปแยก ที่เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับขายสินค้าส่งออกจากผู้ผลิตในจีน โดยเตรียมเปิดตัวในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งรูปแบบของแพลตฟอร์มจะคล้ายกับ AliExpress ของ Alibaba
ก่อนหน้านี้ผู้บริหารของ ByteDance เคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาไม่ต้องการใส่ฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซเข้าไปในแอป Douyin หรือ TikTok เวอร์ชันจีนโดยตรง แต่มองว่าน่าจะทำแอปแยกต่างหาก นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ByteDance ได้พัฒนาโครงการริเริ่มธุรกิจใหม่ในชื่อ Magellan XYZ โดยมองไปที่สามโอกาสคือ อีคอมเมิร์ซที่เน้นการส่งออกสินค้าจากจีนไปต่างประเทศ, บริการสำหรับลูกค้าองค์กร และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำนักงาน
ช่วงที่ผ่านมา ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซหลายราย ต่างเพิ่มหน้าร้านให้ลูกค้าสามารถเข้าไปเลือกดูสินค้าแบบออฟไลน์มากขึ้น ล่าสุด JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในจีน เปิดตัว JD MALL ศูนย์การค้า 5 ชั้น พื้นที่รวม 42,000 ตารางเมตร ในเมืองซีอานของจีน โดยจะเปิดให้บริการ 30 กันยายนนี้
JD บอกว่ามีสินค้าใน JD MALL มากกว่า 2 แสนรายการ ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยสแกนคิวอาร์โค้ด ผ่านมินิโปรแกรมใน WeChat จากนั้น JD จะจัดส่งสินค้าไปให้ถึงบ้าน
จุดเด่นของการมีหน้าร้าน คือลูกค้าสามารถทดลองหรือดูสินค้าได้ก่อนตัดสินใจซื้อ JD MALL บอกว่าได้เพิ่มความแตกต่างด้วยแผนกสินค้าตกแต่งบ้าน มีบริการออกแบบ และติดตั้งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมง
Pinduoduo แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซที่มาแรงของจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มีรายได้เพิ่มขึ้น 89% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 23,046 ล้านหยวน และมีไฮไลท์คือไตรมาสนี้บริษัทมีกำไรสุทธิเป็นครั้งแรกคือ 2,414 ล้านหยวน อย่างไรก็ตาม Tony Ma รองประธานฝ่ายการเงินของ Pinduoduo ก็ให้ข้อมูลว่ากำไรในไตรมาสนี้น่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะคราว เนื่องจากบริษัทยังต้องลงทุนอีกมาก จึงไม่คาดว่าจะมีกำไรในระยะสั้นจากนี้
รายได้ของ Pinduoduo มาจากค่าการตลาดออนไลน์ 18,080 ล้านหยวน, ค่าดำเนินการ 3,007 ล้านหยวน และมีจากการขายสินค้า 1,958 ล้านหยวน มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) เพิ่มขึ้นเป็น 738 ล้านคน
TikTok ประกาศความร่วมมือกับ Shopify ทดสอบประสบการณ์ซื้อของบน TikTok โดยผู้ค้าบน Shopify ที่มีบัญชี TikTok For Business จะสามารถเพิ่มแท็บ "Shopping" ลงในโปรไฟล์ TikTok และซิงค์แคตตาล็อกสินค้าเพื่อสร้างหน้าร้านขนาดเล็กบน TikTok ได้ เริ่มทดสอบประสบการณ์ซื้อชองในสหรัฐ, อังกฤษ, แคนาดา
หนึ่งในบริการของ Amazon ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือระบบร้านขายของ Fulfillment by Amazon หรือ FBA ที่เป็นตลาดขายสินค้าจากผู้ขายรายย่อย แต่ Amazon จะเป็นผู้ดูแลสต็อก การจัดส่งในสหรัฐฯ และการคืนสินค้า ปัจจุบันผู้ใช้งาน FBA เป็นร้านค้ารายย่อยจากจีนกว่าครึ่งหนึ่ง เพราะเป็นบริการที่ช่วยให้ร้านค้าในจีนขยายมาตีตลาดสหรัฐฯ ได้ง่าย
Amazon เคยอนุญาตให้ผู้ขายสามารถมอบของฟรี, บัตรของขวัญ ประกันเสริม หรือสิ่งตอบแทนอื่นแลกกับรีวิวได้ เพราะอยากให้มีผู้รีวิวบนแพลตฟอร์มมากขึ้น แต่หลังจากปี 2016 เป็นต้นมาก็เริ่มห้ามผู้ขายไม่ให้ทำ เนื่องจากการแจกของฟรีหรือเงินแลกกับรีวิว ทำให้เกิดรีวิวที่ไม่สะท้อนคุณภาพจริงของสินค้าได้
อินเดียมีมาตรการคุมเข้มบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ทั้งโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซมานาน ล่าสุดศาลฎีกาอินเดีย สั่งอนุมัติให้มีการสอบสวน Amazon, Walmart, Flipkart ว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายผูกขาดหรือไม่
Amazon และ GoPro ได้ยื่นฟ้องกลุ่มบริษัทจีนที่ขายผลิตภัณฑ์ GoPro ปลอมใน Amazon ทำการลอกเลียนแบบอุปกรณ์เสริมยอดนิยมของ GoPro และใช้ตราสินค้าอย่างโจ่งแจ้งเพื่อพยายามหลอกล่อผู้ซื้อให้เข้าใจว่านี่คือสินค้า GoPro ของจริง
Bukalapak อีคอมเมิร์ซจากอินโดนีเซีย ได้นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้ระหว่างวัน (ซิลลิ่ง) ที่ 25% เป็น 1,060 รูเปียต่อหุ้น
บริษัทขายหุ้นไอพีโอได้เงินทุนเพิ่มประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการไอพีโอที่มูลค่าสูงสุดของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และมีมูลค่ากิจการที่ประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้ลงทุนหลักอาทิ Ant Group , Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในอินโดนีเซีย, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
ทวิตเตอร์ทดสอบ Shop Module เป็นแบนเนอร์ขายของปรากฏใต้ข้อมูลโปรไฟล์ โดยบัญชีธุรกิจ ขายของจะสามารถแสดงรายการสินค้าของตนตรง Shop Module ได้
ตรง Shop Module จะแสดงรูปสินค้า ราคา โดยผู้ใช้งานคนอื่นที่เข้ามาเยี่ยมชมโปรไฟล์สามาระเลื่อนขวาเพื่อดูแคตตาล็อกสินค้าอื่นๆ ได้ เริ่มทดสอบในผู้ใช้กลุ่มหนึ่งในสหรัฐฯ เฉพาะฝั่ง iOS
มีรายงานว่า Bukalapak สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย เตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในประเทศ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่ม 2.577 หมื่นล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ซึ่งทำให้เป็นการไอพีโอมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ประเมินว่ามูลค่ากิจการ Bukalapak หลังเข้าตลาดหุ้นจะอยู่ที่ราว 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังน้อยกว่า GoTo สตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงสุดของอินโดนีเซีย (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในประเทศเช่นกัน
Bukalapak มีผู้ลงทุนรายสำคัญ อาทิ Ant Group ธุรกิจการเงินของ Jack Ma, Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในประเทศ, GIC กองทุนของประเทศสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
โควิด-19 ดันยอดตัวเลขอีคอมเมิร์ซโตสูง รายได้อีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 22.1% แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจค้าปลีกก็ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการปรับตัวสู่ดิจิทัลเพราะลูกค้าหน้าร้านลดลง ช่องทางการขายออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำคัญสำหรับแบรนด์ในการสร้างยอดขาย ดังนั้นแบรนด์ที่ปรับตัวเร็ว สามารถสร้างแพลตฟอร์มการขายได้อย่างทันท่วงทีจึงได้เปรียบในสถานการณ์อันท้าทายนี้
ในบทความนี้ Blognone จะพาไปรู้จัก Muze ผู้พัฒนาระบบ Omni-Channels หรือระบบรองรับการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง McGroup รวมไปถึงยังเป็นเบื้องหลังผู้พัฒนาระบบ OTT ให้ บีอีซี เวิลด์ มาแล้ว ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจสวนกระแสตลาดในตอนนี้
Etsy แพลตฟอร์มขายสินค้าแฮนด์เมด ประกาศบรรลุข้อตกลงในการซื้อกิจการ Elo7 แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฮนด์เมดยอดนิยมในบราซิล ซึ่งหลายคนเรียกว่า Etsy เวอร์ชันบราซิล โดยมีมูลค่าดีล 217 ล้านดอลลาร์ จ่ายเป็นเงินสด หลังดีลเสร็จสิ้น Elo7 จะยังดำเนินงานในบราซิลภายใต้แบรนด์เดิมและทีมบริหารงานชุดเดิมต่อไป
แพลตฟอร์ม Elo7 มีผู้ซื้อใช้งานเป็นประจำมากกว่า 1.9 ล้านบัญชี และมีผู้จำหน่ายสินค้ามากกว่า 56,000 ราย มีสินค้าจำหน่ายกว่า 8 ล้านรายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าผลิตตามคำสั่งซื้อ ยอดขายสินค้ามากกว่าครึ่งมาจากสินค้าสำหรับเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น งานแต่งงาน ฉลองคลอดลูก ตกแต่งบ้าน หรืองานเลี้ยง
Venmo แอประบบชำระเงินภายใต้ PayPal ให้บัญชีผู้ใช้งานทั่วไปขายของบนแพลตฟอร์มได้ โดยบริษัทเก็บค่าธรรมเนียม 1.9% นโยบายมีผล 20 กรกฎาคมนี้
Amazon แบนร้านค้าขาย gadget จากจีนไปสามแบรนด์คือ RAVPower ขายพาวเวอร์แบงค์, Taotronics ขายหูฟัง และ VAVA ขายกล้อง ซึ่งทั้งสามแบรนด์อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันคือ Sunvalley ก่อตั้งที่เสินเจิ้น
กระแสหนึ่งในโซเชียลมีเดียตอนนี้คือการลงทุนในครีเอเตอร์ เพราะเป็นหนึ่งในแรงจูงใจให้คนใช้งานแพลตฟอร์ม และช่วยดึงเม็ดเงินโฆษณามายังแพลตฟอร์มด้วย ล่าสุด Instagram และ Facebook ประกาศทดสอบช่องทางทำเงินให้เหล่าครีเอเตอร์เพิ่มเติม
เริ่มจาก Instagram ทดสอบฟังก์ชั่นให้ครีเตอร์รับเงินค่าคอมมิชชั่นจากการแนะนำสินค้าในโพสต์ของตัวเองได้ โดยแบรนด์จะเป็นผู้ตั้งราคาคอมมิชชั่นไว้ก่อน เมื่อครีเอเตอร์แท็กผลิตภัณฑ์เหล่านั้นในโพสต์ พวกเขาจะได้รับค่าคอมมิชชันตามจำนวนยอดขายที่เกิดจากโพสต์ของพวกเขา โดย Instagram จะเริ่มทดสอบฟีเจอร์นี้กับกลุ่มครีเอเตอร์จำนวนหนึ่งในสหรัฐฯ รวมถึงแบรนด์ใหญ่อย่าง Benefit, Kopari, MAC, Pat McGrath Labs และ Sephora
Etsy แพลตฟอร์มขายสินค้าแฮนด์เมด ประกาศเข้าซื้อกิจการ Depop แพลตฟอร์มซื้อขายเสื้อผ้ามือสองของอังกฤษ ที่มูลค่า 1,625 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นเงินสด หลังดีลแล้วเสร็จ Depop จะยังดำเนินงานต่อภายใต้แบรนด์เดิม และทีมงานหลักยังทำงานอยู่ที่อังกฤษต่อไป
Etsy ให้ข้อมูลว่า Depop เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายเสื้อผ้ามือสองที่มีความโดดเด่นจากคู่แข่ง มียอดขายร้านค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ในปีที่ผ่านมา เป็นแพลตฟอร์มที่คนรุ่นใหม่นิยมใช้งาน เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 90% อายุน้อยกว่า 26 ปี ผลสำรวจยังพบว่าแบรนด์เป็นที่นิยมในกลุ่มคนเจเนอเรชัน Z
หลังจบดีลนี้ Etsy จะมีแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าสามแบรนด์ ได้แก่ Etsy ที่เน้นสินค้าทำมือ, Reverb ซื้อขายเครื่องดนตรี และ Depop
Blognone Workplace ครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์พิเศษที่จะพาไปรู้จักบริษัทสัญชาติไทย ทีดี ตะวันแดง ผู้บริหารธุรกิจร้านถูกดี มีมาตรฐาน ร้านค้าปลีกมาตรฐานใหม่ที่จะอยู่ในชุมชนทั่วประเทศ ที่มาพร้อมพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ สร้างโดยทีมเทคโนโลยีคนไทย มายกระดับร้านโชห่วยให้มีความสามารถในการแข่งขันในวงการค้าปลีกได้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ที่จะได้เข้าถึงสินค้าและบริการที่ทันสมัยและมีคุณภาพ
บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด เริ่มพัฒนาร้านค้าปลีกภายใต้แบรนด์ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ร้านค้าปลีกชุมชน เมื่อปี 2562 โดยทดลองเปิดกิจการสาขาแรกที่จังหวัดนครปฐม ก่อนขยายไปยังจังหวัดต่างๆ
โมเดลของร้านถูกดี มีมาตรฐาน คือการเข้าไปร่วมกับเจ้าของร้านขายของชำหรือโชห่วย เพื่อปรับปรุงพัฒนาร้านค้าให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีหน้าร้านที่สวยงาม มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของโลกธุรกิจยุคใหม่ ไม่ว่าร้านจะเปิดอยู่ที่ไหน ของชุมชนในประเทศ