Etsy แพลตฟอร์มขายสินค้าแฮนด์เมด ประกาศบรรลุข้อตกลงในการซื้อกิจการ Elo7 แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฮนด์เมดยอดนิยมในบราซิล ซึ่งหลายคนเรียกว่า Etsy เวอร์ชันบราซิล โดยมีมูลค่าดีล 217 ล้านดอลลาร์ จ่ายเป็นเงินสด หลังดีลเสร็จสิ้น Elo7 จะยังดำเนินงานในบราซิลภายใต้แบรนด์เดิมและทีมบริหารงานชุดเดิมต่อไป
แพลตฟอร์ม Elo7 มีผู้ซื้อใช้งานเป็นประจำมากกว่า 1.9 ล้านบัญชี และมีผู้จำหน่ายสินค้ามากกว่า 56,000 ราย มีสินค้าจำหน่ายกว่า 8 ล้านรายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าผลิตตามคำสั่งซื้อ ยอดขายสินค้ามากกว่าครึ่งมาจากสินค้าสำหรับเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น งานแต่งงาน ฉลองคลอดลูก ตกแต่งบ้าน หรืองานเลี้ยง
Venmo แอประบบชำระเงินภายใต้ PayPal ให้บัญชีผู้ใช้งานทั่วไปขายของบนแพลตฟอร์มได้ โดยบริษัทเก็บค่าธรรมเนียม 1.9% นโยบายมีผล 20 กรกฎาคมนี้
Amazon แบนร้านค้าขาย gadget จากจีนไปสามแบรนด์คือ RAVPower ขายพาวเวอร์แบงค์, Taotronics ขายหูฟัง และ VAVA ขายกล้อง ซึ่งทั้งสามแบรนด์อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันคือ Sunvalley ก่อตั้งที่เสินเจิ้น
กระแสหนึ่งในโซเชียลมีเดียตอนนี้คือการลงทุนในครีเอเตอร์ เพราะเป็นหนึ่งในแรงจูงใจให้คนใช้งานแพลตฟอร์ม และช่วยดึงเม็ดเงินโฆษณามายังแพลตฟอร์มด้วย ล่าสุด Instagram และ Facebook ประกาศทดสอบช่องทางทำเงินให้เหล่าครีเอเตอร์เพิ่มเติม
เริ่มจาก Instagram ทดสอบฟังก์ชั่นให้ครีเตอร์รับเงินค่าคอมมิชชั่นจากการแนะนำสินค้าในโพสต์ของตัวเองได้ โดยแบรนด์จะเป็นผู้ตั้งราคาคอมมิชชั่นไว้ก่อน เมื่อครีเอเตอร์แท็กผลิตภัณฑ์เหล่านั้นในโพสต์ พวกเขาจะได้รับค่าคอมมิชชันตามจำนวนยอดขายที่เกิดจากโพสต์ของพวกเขา โดย Instagram จะเริ่มทดสอบฟีเจอร์นี้กับกลุ่มครีเอเตอร์จำนวนหนึ่งในสหรัฐฯ รวมถึงแบรนด์ใหญ่อย่าง Benefit, Kopari, MAC, Pat McGrath Labs และ Sephora
Etsy แพลตฟอร์มขายสินค้าแฮนด์เมด ประกาศเข้าซื้อกิจการ Depop แพลตฟอร์มซื้อขายเสื้อผ้ามือสองของอังกฤษ ที่มูลค่า 1,625 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นเงินสด หลังดีลแล้วเสร็จ Depop จะยังดำเนินงานต่อภายใต้แบรนด์เดิม และทีมงานหลักยังทำงานอยู่ที่อังกฤษต่อไป
Etsy ให้ข้อมูลว่า Depop เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายเสื้อผ้ามือสองที่มีความโดดเด่นจากคู่แข่ง มียอดขายร้านค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ในปีที่ผ่านมา เป็นแพลตฟอร์มที่คนรุ่นใหม่นิยมใช้งาน เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 90% อายุน้อยกว่า 26 ปี ผลสำรวจยังพบว่าแบรนด์เป็นที่นิยมในกลุ่มคนเจเนอเรชัน Z
หลังจบดีลนี้ Etsy จะมีแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าสามแบรนด์ ได้แก่ Etsy ที่เน้นสินค้าทำมือ, Reverb ซื้อขายเครื่องดนตรี และ Depop
Blognone Workplace ครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์พิเศษที่จะพาไปรู้จักบริษัทสัญชาติไทย ทีดี ตะวันแดง ผู้บริหารธุรกิจร้านถูกดี มีมาตรฐาน ร้านค้าปลีกมาตรฐานใหม่ที่จะอยู่ในชุมชนทั่วประเทศ ที่มาพร้อมพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ สร้างโดยทีมเทคโนโลยีคนไทย มายกระดับร้านโชห่วยให้มีความสามารถในการแข่งขันในวงการค้าปลีกได้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ที่จะได้เข้าถึงสินค้าและบริการที่ทันสมัยและมีคุณภาพ
บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด เริ่มพัฒนาร้านค้าปลีกภายใต้แบรนด์ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ร้านค้าปลีกชุมชน เมื่อปี 2562 โดยทดลองเปิดกิจการสาขาแรกที่จังหวัดนครปฐม ก่อนขยายไปยังจังหวัดต่างๆ
โมเดลของร้านถูกดี มีมาตรฐาน คือการเข้าไปร่วมกับเจ้าของร้านขายของชำหรือโชห่วย เพื่อปรับปรุงพัฒนาร้านค้าให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีหน้าร้านที่สวยงาม มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของโลกธุรกิจยุคใหม่ ไม่ว่าร้านจะเปิดอยู่ที่ไหน ของชุมชนในประเทศ
Amazon เปิดบริการ Prime Now บริการส่งสินค้าเร็วภายใน 2 ชั่วโมงมาตั้งแต่ปี 2014 ล่าสุด Amazon ประกาศปิดตัว Prime Now แล้วทั้งรูปแบบแอปและเว็บไซต์ โดยลูกค้ายังคงเข้าถึงบริการส่งเร็วจากได้ช่องทางหลักของ Amazon และ Amazon Fresh หรือ Whole Foods
ในงาน Google I/O กูเกิลเปิดให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรเจกต์ Shopping Graph เป็นชุดข้อมูลใหญ่เพื่อให้ผู้ใช้หาสินค้าต่างๆ บนแพลตฟอร์มกูเกิลเจอง่ายขึ้น เป็นการดึงข้อมูลสินค้าและราคาจากเว็บไซต์ต่างๆ, วิดีโอ และข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ดึงมาจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกโดยตรงเพื่อช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้ซื้อของออนไลน์ได้ดีขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อดูรูปภาพใน Google Photos กูเกิลจะสามารถแสดงคำแนะนำให้ค้นหารูปภาพโดยใช้ Google Lens เพื่อช่วยหาสินค้าในรูปภาพที่มีขายตามแพลตฟอร์มต่างๆ ของกูเกิล และเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เองที่กูเกิลทดสอบฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซใน YouTube สามารถกดซื้อสินค้าที่ครีเอเตอร์แนะนำได้โดยตรงบน YouTube เป็นต้น
PayPal ประกาศซื้อกิจการ Happy Returns ผู้ให้บริการโซลูชันสำหรับการคืนสินค้า ให้กับร้านค้าออนไลน์ โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลดังกล่าว แต่ Happy Returns ในช่วงที่ผ่านมาได้เงินเพิ่มทุนไปแล้วราว 25 ล้านดอลลาร์
Happy Returns เป็นบริการจัดการขั้นตอนคืนสินค้าสำหรับร้านออนไลน์ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดส่งสินค้าแบบย้อนกลับที่มีต้นทุนสูง โดยผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง Amazon หรือ Walmart ต่างมีจุดคืนสินค้าผ่านหน้าร้านของตน (กรณี Amazon คือ Whole Foods) ทำให้มีต้นทุนการดำเนินงานส่วนนี้ต่ำกว่า โซลูชันของ Happy Returns จึงเข้ามาช่วยร้านค้าออนไลน์ส่วนนี้ ผ่านจุดคืนสินค้ามากกว่า 2,600 แห่งทั่วอเมริกา
SafetyDetectives กลุ่มนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ cybersecurity ออกรายงานเปิดเผยฐานข้อมูล ElasticSearch แบบเปิด พบว่ามีการใช้รีวิวปลอมใน Amazon อันผิดจรรยาบรรณการค้าขาย พบฐานข้อมูลการรีวิวระหว่างผู้ขายของ Amazon และลูกค้าที่เต็มใจเขียนรีวิวปลอมเพื่อแลกกับสินค้าฟรี โดยรวมแล้วมีบันทึกไว้ 13,124,962 รายการ (ข้อมูล 7 GB) กระทบต่อข้อมูลมากกว่า 200,000 คน
AIS เปิดตัวเว็บไซต์ V-Avenue.Co แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ AIS ระบุว่าเป็นร้านค้าแบบ Virtual Reality แห่งแรกของโลก โดยร่วมมือกับเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด (ดิ เอ็มโพเรียม), บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด(มหาชน) และกลุ่มแบรนด์ไลฟ์สไตล์รีเทล Loft, Jung Saem Mool, ALAND เพื่อนำสินค้ามาวางขายบน V-Avenue.Co
V-Avenue.Co แบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ คือ AIS Virtual Store ที่รวมร้านค้าจากห้างร้านข้างต้น กับ Community Hub ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดให้ร้านค้ารายย่อยที่เข้ามามีหน้าร้านใน V-Avenue.Co สามารถสมัครได้ฟรี โดย AIS บอกด้วยว่า ไม่เก็บค่าใช้จ่ายในการเปิดหน้าร้าน โดย ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS ระบุว่าตอนนี้มีร้านค้ารายย่อยเข้ามาร่วมกว่า 200 รายแล้ว
ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของ iOS 14.5 คือทำให้ Facebook ทำโฆษณาเจาะกลุ่มได้ยากขึ้น ล่าสุด Facebook เสนอแนวทางใหม่ในการทำเงิน ตัวซีอีโอ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และ Adam Mosseri หัวหน้า Instagram เผยว่าจะทำช่องทางเชื่อมต่อแบรนด์และครีเอเตอร์เข้าด้วยกันใน Instagram เป็นมาร์เกตเพลสสำหรับครีเอเตอร์เลย
ในปี 2019 Amazon เปิดตัว Key for Garage ให้สามารถส่งของได้ในโรงรถแม้เจ้าของบ้านไม่อยู่ โดยลูกค้าต้องติดตั้ง Key Smart Garage Kit ระบบสมาร์ทล็อกที่ช่วยให้เจ้าของบ้านทำการเปิดปิดประตูได้จากระยะไกลผ่านแอป ช่วยป้องกันสินค้าหาย แต่เปิดในบางพื้นที่เท่านั้น
ล่าสุด Amazon ขยายบริการนี้เพิ่มไปอีก 5,000 พื้นที่ทั่วสหรัฐฯ สามารถส่งพัสดุ ของจากร้านชำจาก Amazon Fresh หรือ Whole Foods ได้ในโรงรถ
Cyberspace Administration of China หรือ CAC หน่วยงานควบคุมอินเทอร์เน็ตของจีน ออกกฎกำกับดูแลแพลตฟอร์มไลฟ์ขายของ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องระบุรายการสินค้าที่ผิดกฎหมาย และหากมีพฤติกรรมขายสินค้าปลอม โกงยอดคนดู หรือมีความเกี่ยวข้องกับการพนันก็จะถูกแบนทันที
ตัวกฎระบุให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องจ้างผู้ดูแลด้านเนื้อหาไลฟ์สด เพื่อตรวจจับและคัดกรองเนื้อหาไลฟ์ให้ปลอดภัย และควรตั้งระบบบัญชีดำป้องกันคนทำผิดซ้ำๆ เป้าหมายของกฎใหม่คือ สร้างสังคมอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยและรักษาสิทธิผู้บริโภคท่ามกลางการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ๆ
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลว่า Bukalapak อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 234 ล้านดอลลาร์ จากหลายนักลงทุน นำโดยไมโครซอฟท์, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และกลุ่มบริษัท Emtek ของอินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศลงทุนใน Bukalapak ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการที่มีการรายงานอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์
การแข่งขันของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจด้านเทคโนโลยีในอินโดนีเซียมีอยู่สูง ทั้งจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Tokopedia ที่มีข่าวจะควบรวมกิจการกับ Gojek และ Shopee ของกลุ่ม Sea ไปจนถึง Grab ที่ล่าสุดเตรียมเข้าตลาดหุ้นอเมริกาผ่านวิธีการ SPAC
กูเกิลมีแอปพลิเคชั่นเพื่อการช้อปปิ้งบนมือถือด้วยคือ Google Shopping ซึ่งรีแบรนด์มาจาก Google Express บริการส่งสินค้าถึงหน้าบ้าน แต่ล่าสุด กูเกิลจะหยุดให้บริการแอปพลิเคชั่นนี้แล้ว เพราะประสบการณ์การซื้อของหาสินค้า ผู้ใช้งานสามารถทำได้บนแท็บ Shopping จาก Google Search อยู่แล้ว
โควิด ถือเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สามารถ transform วิธีการซื้อสินค้าและบริการทั้งหมดเข้ามาอยู่บนออนไลน์ได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน ผลคือธุรกิจต้องปรับตัวครั้งใหญ่และต้องเร็วพอให้สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้า
เมื่อมีออร์เดอร์เข้ามามหาศาล การจัดการหลังบ้านและช่องทางรับจ่ายผ่านออนไลน์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจรันต่อไปได้
Pain Point ที่เกิดขึ้นกับฝั่งธุรกิจคือ เมื่อช่องทางชำระเงินมีมาก ธุรกิจก็ต้อง deploy ระบบการชำระเงินที่รองรับช่องทางการชำระเงินให้ครอบคลุมทั้งหมด เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบาย ผลก็คือ กว่าร้านค้าจะมีระบบช่องทางชำระเงินที่ครอบคลุมมากพอก็ต้องผ่านหลายขั้นตอน
ChillPay ถือเป็นอีกหนึ่ง Payment Gateway ที่สร้างโดยบริษัทสัญชาติไทยที่ช่วยแก้ Pain Point นี้
กลุ่มนักลงทุนนำโดย Alibaba และ DST Global ประกาศเข้าลงทุนใน Nice Tuan สตาร์ทอัพให้บริการสั่งซื้อของสดของชำผ่านแอปมือถือในจีน เป็นจำนวนเงินลงทุนรวม 750 ล้านดอลลาร์
Nice Tuan สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปี 2018 นี้ ระบุว่าจะนำเงินก้อนใหม่นี้มาลงทุนด้านซัพพลายเชน และเพิ่มตัวเลือกสินค้าอาหารสด
Lazada ประกาศความสำเร็จว่ามีฐานลูกค้าแตะ 100 ล้านคนใน 6 ประเทศที่ทำธุรกิจอยู่ตอนนี้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย)
ปัจจุบัน Lazada มีอายุ 9 ปี (เปิดตัวครั้งแรกปี 2012) โดยบริษัทระบุว่าตลอด 9 ปีที่ผ่านมาก็ได้บุกเบิกแนวคิดใหม่ๆ ในวงการอีคอมเมิร์ซหลายอย่าง เช่น ระบบโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซ แนวคิดช้อปเปอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยีไลฟ์สตรีมมิง และบริการเก็บเงินปลายทาง (COD)
ในโอกาสครบ 9 ปี Lazada ยังจะมีแคมเปญ Surprise Birthday Sale ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2564 ที่มีส่วนลดและโปรโมชั่นอีกหลายอย่างด้วย
Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังมาแรง ตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้แอคทีฟต่อวันในปีที่แล้วถึง 788 ล้านราย โดยถือเป็นจุดหมายสำคัญเพราะจำนวนผู้ใช้ของ Pinduoduo ได้แซงคู่แข่งอย่าง Alibaba ไปแล้ว
สำหรับ Pinduoduo เป็นแอปอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังมาแรงมาก โดยจับกลุ่มลูกค้าในเมืองเล็กของจีน ตัวแอปโด่งดังขึ้นมาจากการกำจัดผู้ค้าคนกลางด้วยการขายสินค้าอย่างผลไม้หรือของใช้ในชีวิตประจำวันในราคาถูก แต่ช่วงหลังได้เริ่มขยายกิจการมาขายทุกอย่างแม้กระทั่ง iPhone
Coupang อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ได้นำบริษัทไอพีโอเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหุ้นนิวยอร์กไปแล้วเมื่อคืนนี้ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่มทุนไป 4,550 ล้านดอลลาร์ ที่ราคาหุ้นละ 35 ดอลลาร์ ราคาหุ้นปิดการซื้อขายที่ 63.50 ดอลลาร์ ทำให้มีมูลค่ากิจการ 84,470 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่า Coupang เป็นอีคอมเมิร์ซที่มีส่วนแบ่งตามยอดขายสูงสุดในเกาหลีใต้ปี 2020 ที่ 19.2% ตามด้วย Naver 13.6% และ eBay Korea 12.8%
มูลค่ากิจการของ Coupang จากการเพิ่มทุนก่อนเข้าตลาดหุ้นรอบสุดท้ายเมื่อปี 2018 อยู่ที่ราว 9,000 ล้านดอลลาร์ ผลจากการไอพีโอที่ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นนี้ ยังเป็นข่าวดีสำหรับ SoftBank ซึ่งถือหุ้น Coupang อยู่ 35% ด้วย
ทวิตเตอร์ทดสอบฟีเจอร์เพื่อการช้อปปิ้ง ใส่ลิงค์กดซื้อของได้จากโพสต์ โดยจะมองเห็นปุ่ม Shop ในโพสต์ที่มาในรูปแบบการ์ดแสดงสินค้า และยังมองเห็นชื่อสินค้า ร้านค้า และราคาสินค้าได้ด้วย
Coupang อีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากเกาหลีใต้ที่เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์ก ยื่นข้อมูลไฟลิ่งเพิ่มเติม โดยจะเสนอขายหุ้นใหม่เพิ่มในช่วงราคา 27-30 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทำให้จะได้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนนี้สูงสุด 3,600 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการราว 50,000 ล้านดอลลาร์
ด้วยเงินขายหุ้นไอพีโอและมูลค่ากิจการเริ่มต้น จะทำให้ Coupang กลายเป็นหุ้นไอพีโอใหญ่ที่สุดในอเมริกานับตั้งแต่ต้นปี 2021
การเข้าตลาดหุ้นของ Coupang ยังส่งผลดีต่อ SoftBank นักลงทุนรายสำคัญของบริษัท ซึ่งเข้าลงทุนตั้งแต่บริษัทมีมูลค่ากิจการในปี 2018 ที่ 9,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนนักลงทุนรายอื่นได้แก่ BlackRock และ Sequoia Capital
Coupang อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในเกาหลีใต้ ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วยตัวย่อ CPNG ในการซื้อขาย โดยบริษัทคาดจะไอพีโอที่มูลค่ากิจการราว 50,000 ล้านดอลลาร์
ที่มูลค่ากิจการประเมินนี้ จะทำให้ Coupang เป็นไอพีโอขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ของบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทอเมริกา นับตั้งแต่ Alibaba เข้าตลาดหุ้นในเมื่อ 2014
ศุลกากรเกาหลีใต้ทำข้อตกลงร่วมกับ Naver Shopping บริการอีคอมเมิร์ชในเกาหลีใต้เพื่อนำข้อมูลไปใช้สำหรับพิธีการศุลกากร หลังจากชาวเกาหลีใต้นิยมซื้อสินค้าออนไลน์ซึ่งหลายครั้งเป็นการส่งตรงจากต่างประเทศมากขึ้น ยอดการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดยตรง 11 เดือนแรกของปี 2020 สูงถึง 52.76 ล้านครั้ง
ศุลกากรเกาหลีใต้พบปัญหาจากการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดยตรงหลายอย่าง เช่น การเลี่ยงไม่จ่ายภาษี, หรือบางคนสั่งสินค้าเพื่อนำไปขายต่อแม้ระบุเหตุผลนำเข้าว่าใช้งานส่วนตัว, ไปจนถึงการนำเข้าสินค้าอันตรายหรือยา มาตรการก่อนหน้านี้ของศุลกากรเกาหลีใต้คือการเก็บรายชื่อผู้สั่งสินค้าจากต่างประเทศซ้ำๆ เพื่อตรวจสอบ พบผู้สั่งซื้อสินค้าบ่อยที่สุด 20 คนแรกของประเทศสั่งสินค้าเฉลี่ยเดือนละ 70.9 ครั้ง