Initial Public Offering
มีรายงานว่า Reddit กำลังเจรจากับนักลงทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อเตรียมนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดอีกครั้ง เร็วที่สุดภายในไตรมาสที่ 1 ปีหน้า ซึ่งเป็นความพยายามนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นอีกครั้ง
Reddit เคยมีข่าวว่าจะนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อปลายปี 2021 โดยยื่นเอกสารเบื้องต้นแล้วกับหน่วยงานกำกับดูแล SEC และในต้นปี 2022 ก็ได้ให้วาณิชธนกิจสองรายมาช่วยดูแผนจดทะเบียนหลักทรัพย์ มูลค่ากิจการประเมินเวลานั้นคือ 15,000 ล้านดอลลาร์ และก็ไม่มีความคืบหน้า
สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเลื่อนแผนเข้าตลาดหุ้นไปเป็น 2024 แล้วมูลค่ากิจการของ Reddit จะเป็นเท่าใด ทั้งนี้ตัวแทนของ Reddit ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว
Honor บริษัทมือถือที่แยกตัวมาจาก Huawei เมื่อสามปีก่อน เตรียมขายหุ้น IPO ต่อสาธารณะแล้ว
กลุ่มทุนเจ้าของ Honor ในปัจจุบันเป็นกลุ่มดีลเลอร์ขายมือถือจีน 30 ราย ที่รวมตัวกันซื้อธุรกิจ Honor มาจาก Huawei หลังโดนรัฐบาลสหรัฐกดดันหนัก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา Honor ทำผลงานได้ดีมากในจีน โดยปี 2022 มียอดขายรวมเป็นอันดับสองตามหลัง Huawei เท่านั้น และปีนี้ มียอดขายแซงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของจีนเรียบร้อยแล้วในไตรมาส 3 (ข่าวเก่าที่เกี่ยวข้อง ผู้ก่อตั้ง Huawei หวังจะได้เห็น Honor ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง Huawei และแซงหน้าไปในที่สุด)
อัพเดต: Elon Musk ปฏิเสธว่าข่าวนี้ไม่เป็นจริง
มีรายงานล่าสุดจาก Bloomberg ว่า SpaceX บริษัทให้บริการด้านอวกาศของ Elon Musk มีแผนเร่งไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอย่างเร็วที่สุดภายในปีหน้า 2024
รายงานยังบอกว่า SpaceX มีแผนแยกส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ออกเป็นอีกบริษัท จากปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ SpaceX เพื่อไอพีโอบริษัทนี้อีกหนึ่งรายการด้วย
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Alibaba เตรียมนำบริษัทในเครือ Cainiao Network Technology ซึ่งดูแลธุรกิจขนส่งสินค้า ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง โดยจะยื่นเอกสารไฟลิ่งภายในสัปดาห์หน้า ทำให้ Cainiao อาจเป็นบริษัทย่อยของ Alibaba บริษัทแรกที่เข้าตลาดหุ้น ตามแผนแยกธุรกิจออกเป็น 6 บริษัท
ก่อนหน้านี้ Alibaba มีแผนนำ Freshippo ที่เป็นธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงก่อน แต่เนื่องจากตัวเลขการบริโภคในจีนไม่ดีนักจึงเลื่อนแผนออกไป
Instacart แพลตฟอร์มสั่งของชำ นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นแล้วเมื่อคืนนี้ในตลาดแนสแดค ตัวย่อซื้อขาย CART ราคาหุ้นวันแรกปิดการซื้อขายเพิ่มขึ้น 12% จากราคาไอพีโอ 30 ดอลลาร์ อยู่ที่ 33.70 ดอลลาร์ต่อหุ้น ในระหว่างวันราคาหุ้นขึ้นไปสูงสุดที่ 42 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40% มูลค่ากิจการปัจจุบัน 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามที่มูลค่านี้ก็ปรับลดมามากจาก 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่ซื้อขายนอกตลาดช่วงโควิด
ผลประกอบการ Instacart ในไตรมาสที่ผ่านมา รายได้เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนเป็น 716 ล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิ 114 ล้านดอลลาร์ บริษัทเริ่มมีผลประกอบการเป็นบวกนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2022 เป็นผลจากการเติบโตก้าวกระโดดของรายได้ในช่วงโควิด และบริษัทปรับลดค่าใช้จ่าย รวมถึงปลดพนักงานในปีที่ผ่านมา
Arm บริษัทผู้ออกแบบชิป ที่ปัจจุบันมี SoftBank ถือหุ้นใหญ่ นำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แนสแดคแล้วเมื่อคืนนี้ ด้วยตัวย่อในการซื้อขาย ARM โดยราคาหุ้นวันแรกปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 25% จากราคาไอพีโอที่ 51 ดอลลาร์ต่อหุ้น ปิดการซื้อขายที่ 63.59 ดอลลาร์ต่อหุ้น มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 6.52 หมื่นล้านดอลลาร์
Jason Child ซีเอฟโอ Arm ให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทจะโฟกัสที่การเติบโต จากค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งในการออกแบบชิป และเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์การออกแบบให้กับลูกค้า ที่น่าสนใจคือรายได้ส่วนค่าธรรมเนียมนี้ครึ่งหนึ่งมาจากชิปที่ Arm ออกแบบตั้งแต่ช่วงปี 1990-2012
Arm ประกาศราคาหุ้นไอพีโอสุดท้าย ซึ่งจะเสนอขายในอเมริกาเป็นหุ้น American Depositary Shares หรือ ADS จำนวน 95.5 ล้านหุ้น ที่ราคา 51.00 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในช่วงราคาที่เสนอก่อนหน้านี้
หุ้นของ Arm จะเริ่มซื้อขายในตลาดแนสเดควันที่ 14 กันยายน หรือตรงกับคืนวันนี้ตามเวลาในไทย ตัวย่อในการซื้อขายคือ ARM
ที่ราคาไอพีโอ 51 ดอลลาร์นี้ ทำให้มูลค่ากิจการของ Arm ตามราคาหุ้นอยู่ที่ 5.45 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยหุ้นส่วนใหญ่ประมาณ 90% ยังคงถือโดย SoftBank
Arm ประกาศราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอ ตามที่บริษัทยื่นไฟลิ่งก่อนหน้านี้ โดยเสนอขายในอเมริกาแบบหุ้น American Depositary Shares (ADS) จำนวน 95.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.4% ของหุ้นทั้งหมด ในช่วงราคา 47-51 ดอลลาร์ต่อหุ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณคำสั่งซื้อ
ที่ราคาดังกล่าว Arm จะได้เงินเพิ่มทุนจากการเสนอขายราว 4.49-4.87 พันล้านดอลลาร์ ส่วนมูลค่ากิจการจะอยู่ราว 5.0-5.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้หุ้นส่วนที่เหลือจะยังถือโดย SoftBank
ด้วยมูลค่ากิจการดังกล่าว Arm จะเป็นไอพีโอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของปีนี้ หลังจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ต่างชะลอการไอพีโอหุ้นในปี 2022 จากผลกระทบต่อเนื่องของโควิด 19
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่าตามที่ Arm เตรียมนำบริษัทไอพีโอซื้อขายในตลาดหุ้น ล่าสุดมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายรายตกลงที่จะร่วมลงทุนผ่านไอพีโอด้วยเช่นกัน
บริษัทที่ระบุถึงได้แก่ Apple, NVIDIA, Alphabet, AMD, Intel, Samsung Electronics, Cadence Design Systems และ Synopsys โดยจะร่วมลงทุนที่มูลค่ากิจการราว 5-5.5 หมื่นล้านดอลลาร์
ข้อมูลบอกว่า Apple, NVIDIA และอีกหลายบริษัท จะซื้อหุ้นเป็นมูลค่ารายละประมาณ 25-100 ล้านดอลลาร์ โดยมองเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ เนื่องจากทุกรายต่างเป็นลูกค้าสำคัญของ Arm อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามบริษัทที่ระบุว่าปฏิเสธร่วมลงทุนรอบนี้คือ Amazon ซึ่งไม่ได้ให้ข้อมูลว่าทำไม
Arm บริษัทออกแบบชิปที่ตอนนี้มี SoftBank เป็นเจ้าของ ยื่นเอกสารไฟลิ่ง เพื่อนำหุ้นซื้อขายในตลาดแนสแดคแล้ว โดยจะใช้ตัวย่อในการซื้อขาย ARM
SoftBank เคยขาย Arm ให้กับ NVIDIA ด้วยมูลค่าราว 4 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ดีลดังกล่าวถูกหน่วยงานกำกับดูแลคัดค้าน ทำให้ดีลถูกยกเลิก SoftBank จึงนำ Arm มาเข้าตลาดหุ้นแทนนั่นเอง
มีรายงานว่า SoftBank ได้ซื้อหุ้น Arm ส่วนที่กองทุน Vision Fund ซึ่งเป็นแผนกการลงทุนของ SoftBank ทั้งหมดคืน คิดเป็น 25% ของหุ้น Arm รวมกับส่วนที่ SoftBank ถือโดยตรง 75% ทำให้ตอนนี้ SoftBank เป็นผู้ถือหุ้น Arm ทั้งหมดรายเดียวแล้ว โดยมูลค่ากิจการของ Arm ที่ SoftBank ซื้อหุ้นคืนนั้นอยู่ที่ 64,000 ล้านดอลลาร์
เมื่อ SoftBank ซื้อหุ้น Arm คืนมาแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการขายหุ้น Arm บางส่วนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ตามแผนไอพีโอก่อนหน้านี้ คาดว่าการนำบริษัทซื้อขายอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดในวันจันทร์นี้ โดยไม่มีการกำหนดราคาเริ่มต้น แต่ก็คาดว่า Arm จะเป็นไอพีโอบริษัทที่มีมูลค่ากิจการตามราคาหุ้น ที่ขนาดใหญ่ที่สุดของปีนี้
Jim Lanzone ซีอีโอคนปัจจุบันของ Yahoo ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times เผยว่าบริษัทเตรียมขายหุ้นไอพีโอ เพื่อนำบริษัทกลับเข้าตลาดหุ้นอีกครั้ง หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจ จนมีสถานะการเงินที่ดีขึ้น ภาพรวมธุรกิจมีกำไร
Yahoo ปัจจุบันมีสถานะเป็นบริษัทนอกตลาดหุ้น หลังขายส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตให้ Verizon ในปี 2016 ซึ่งต่อมา Verizon ก็ขายส่วนธุรกิจออนไลน์ (รวม AOL ด้วย) ให้บริษัทการลงทุน Apollo ในปี 2021 และได้ Lanzone มาเป็นซีอีโอ
หลัง Arm ยื่นไฟลิ่ง IPO ไปเมื่อเดือนที่แล้ว แม้จะยังไม่มีรายละเอียดเรื่องราคาและวันออกมา แต่ Bloomberg รายงานแล้วว่า Intel เริ่มเจรจาเป็นผู้ลงทุนใหญ่ (anchor investor) ใน Arm แล้ว โดย Arm เองก็มีการพูดคุยกับนักลงทุนรายใหญ่เจ้าอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดว่า Intel จะลงทุนเท่าไหร่ แบบไหน จะต้องรอติดตามต่อไป เพราะเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจาเท่านั้น และดีลอาจจะล่มก็ได้ตลอดเวลา
ที่มา - Bloomberg
Arm ประกาศว่าบริษัทได้ยื่นเอกสารไฟลิ่ง F-1 แบบ Confidential ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของอเมริกาหรือ SEC แล้ว ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกก่อนการนำบริษัทไอพีโอซื้อขายในตลาดหุ้น โดยจะซื้อขายแบบ American Depositary Shares (ADS)
ทั้งนี้ Arm ยังไม่ได้แจ้งจำนวนหุ้นตลอดจนราคาซื้อขายเริ่มต้นสำหรับไอพีโอนี้ บอกเพียงจะเปิดเผยข้อมูลและกำหนดระยะเวลาเมื่อเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ตลาดหุ้นเหมาะสม
บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านจัดจำหน่ายสินค้าไอที Advice ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเตรียมเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน (ไอพีโอ) โดยยังไม่ได้กำหนดวันขายหุ้น และนำบริษัทซื้อขายในตลาดหุ้น
ข้อมูล ณ สิ้นปี 2565 Advice มีสาขาทั้งหมด 337 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่เป็นเจ้าของเอง 112 แห่ง สาขาแฟรนไชส์ 225 แห่ง และเป็นสาขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 23 แห่ง
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Arm บริษัทออกแบบชิป ที่ปัจจุบันมี SoftBank เป็นเจ้าของ มีแผนนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นในอเมริกา โดยจะขายหุ้นเพิ่มทุนเป็นมูลค่าราว 8,000 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์
ตามแผนการนั้น Arm จะยื่นไฟลิ่งแบบ Confidential ในช่วงปลายเดือนเมษายน และคาดว่าจะนำหุ้นบริษัทซื้อขายได้ภายในปีนี้ โดยขึ้นอยู่สภาวะของตลาดหุ้นเวลานั้น ก่อนหน้านี้ Arm มีแผนจะนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นสองแห่งคืออเมริกา และอังกฤษ เนื่องจาก Arm เป็นบริษัทมีสำนักงานใหญ่ที่นั่น แต่ล่าสุดบริษัทเปลี่ยนแผนมาเข้าเฉพาะตลาดหุ้นอเมริกาเพียงอย่างเดียว
ในวันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2566) บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำหุ้นบริษัทซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai วันแรก โดยใช้ตัวย่อในการซื้อขาย MEB หมวดธุรกิจบริการ มีมูลค่าการเสนอขายไอพีโอ 2,151.75 ล้านบาท ที่มูลค่ากิจการ ณ ราคาไอพีโอ 8,550 ล้านบาท โดยหุ้นที่เสนอขายมีทั้งหุ้นเพิ่มทุน และหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
MEB มีธุรกิจหลักคืออีบุ๊ก หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางจำหน่ายหลักผ่านแพลตฟอร์ม meb และ readAwrite นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ Hytexts ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Reader โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งคือ กลุ่มเซ็นทรัล รีเทล (CRC)
เป็นบริษัทด้านไอทีของไทยอีกรายที่ขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดย บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 175 ล้านหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ส่วนวันที่เริ่มเปิดขายต้องรอประกาศอีกครั้ง
กลุ่ม G-Able ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีอายุ 33 ปีแล้ว มีธุรกิจ 3 ด้านคือ
Mobileye บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ ที่เป็นบริษัทย่อยของอินเทล ได้นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยตัวย่อ MBLY โดยราคาหุ้นวันแรกปิดการซื้อขายเพิ่มขึ้น 37% จากราคาไอพีโอ ทั้งนี้ Mobileye ระดมทุนจากการขายหุ้นเพิ่มได้เงิน 861 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้อินเทลซื้อกิจการ Mobileye ในปี 2017 ที่มูลค่าราว 15,300 ล้านดอลลาร์ โดยที่ราคาไอพีโอนั้นมูลค่ากิจการอยู่ที่ราว 17,000 ล้านดอลลาร์ ไม่สูงกว่าราคาที่อินเทลซื้อมานัก
ผลประกอบการ Mobileye ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา รายได้เพิ่มขึ้น 41% เป็น 460 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนลดลงเหลือ 7 ล้านดอลลาร์
Mobileye บริษัทพัฒนารถยนต์ไร้คนขับของอินเทล ยื่นเอกสารไฟลิ่ง S-1 ต่อ SEC หรือ กลต. สหรัฐ เพื่อเตรียมไอพีโอบริษัทเข้าตลาดหุ้น Nasdaq แล้ว หลังยื่นเอกสารเบื้องต้นก่อนหน้านี้
ตัวเลขการเงินของ Mobileye เติบโตสูงต่อเนื่องทุกปี โดยมีรายได้ปี 2019 879 ล้านดอลลาร์, 2020 ที่ 967 ล้านดอลลาร์ และ 2021 ที่ 1,390 ล้านดอลลาร์ บริษัทก็ขาดทุนน้อยลงจาก 328 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 มาเหลือขาดทุน 75 ล้านดอลลาร์ เมื่อปีที่แล้ว
บริษัทไอทีรัสเซีย RusBITech ผู้สร้างดิสโทรลินุกซ์สัญชาติรัสเซีย Astra Linux เตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์มอสโก
ธุรกิจของ RusBITech ไม่ได้ทำแค่ลินุกซ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย, simulation, decision support, 3D visualization โดยมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐของรัสเซีย เช่น กระทรวงกลาโหม, กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานด้านข่าวกรอง (FSB)
RusBITech ยังพัฒนาดิสโทรลินุกซ์ Astra Linux ที่ต่อยอดมาจาก Debian โดยพัฒนาให้รองรับสถาปัตยกรรมซีพียู Baikal ของรัสเซีย และนิยมใช้งานในกองทัพรัสเซียด้วย
หนึ่งในเคสการเข้ามาควบคุมบริษัทเอกชนครั้งใหญ่ของรัฐบาลจีนเมื่อราว 1-2 ปีก่อนคือการเบรค IPO ของ Ant Group เพราะ Jack Ma วิจารณ์รัฐบาล ล่าสุด Bloomberg รายงานว่าทางการจีนกำลังพิจารณาและเตรียมการให้ Ant Group กลับมา IPO แล้ว
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนในว่า China Securities Regulatory Commission (CSRC) หรือ กลต. ของจีน ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประเมินและดูแลแผน IPO ของ Ant Group แล้ว รวมถึงอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายที่จะออกใบอนุญาตให้ IPO โดย Ant Group จะถูกกำกับดูแลเหมือนธนาคารมากกว่าที่จะเป็นบริษัทเทค
ล่าสุด Reuters ระบุว่า CSRC ชี้แจงว่าไม่ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานดังกล่าว
GoTo Group บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ได้นำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นอินโดนีเซียเรียบร้อยแล้ว โดยขายหุ้นไอพีโอได้เงิน 15.8 ล้านล้านรูเปียห์ หรือคิดเป็น 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือ 37,000 ล้านบาท มีมูลค่ากิจการอยู่ที่ราว 28,000 ล้านดอลลาร์
GoTo ระบุว่าไอพีโอครั้งนี้ ถือเป็นไอพีโอขนาดใหญ่ที่สุดของปีลำดับที่ 3 ในทวีปเอเชีย และอันดับ 5 ของโลก มีผู้ร่วมลงทุนในไอพีโอมากกว่า 3 แสนคน มากที่สุดเป็นสถิติของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
GoTo เกิดจากการรวมกันของสองธุรกิจใหญ่ในประเทศคือ Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และ Gojek ผู้ให้บริการรถโดยสารและ O2O บริษัทบอกว่าจะนำเงินระดมทุนนี้ไปใช้ขยายธุรกิจทั้งในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และลงทุนในโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
GoTo บริษัทที่มาจากการรวมกิจการของสองบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย Gojek และ Tokopedia ประกาศเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยขายหุ้นเพิ่มทุนอย่างน้อย 15.2 ล้านล้านรูเปียห์ หรือราว 3.6 หมื่นล้านบาท เป็นไอพีโอขนาดใหญ่รายการหนึ่งของประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้ว GoTo ประกาศรับเงินจากนักลงทุนรอบสุดท้ายรวม 1.3 พันล้านดอลลาร์
GoTo แบ่งโครงสร้างบริษัทปัจจุบันเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ธุรกิจออนดีมานด์ Gojek, อีคอมเมิร์ซ Tokopedia และฟินเทค GoTo Financial ซึ่ง GoTo ก็อธิบายความยิ่งใหญ่ของธุรกิจว่ามีมูลค่าคิดเป็น 2% ของ GDP ประเทศอินโดนีเซียในปี 2020 และบริการก็เข้าถึงประชากร 2 ใน 3 ของประเทศ
Navi Technology บริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพจากประเทศอินเดียได้ยื่นไฟลิ่งเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอินเดียอย่างเป็นทางการแล้ว
Navi ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดย Sachin Bansal ผู้ร่วมก่อตั้ง Flipkart (Bansal ออกจาก Flipkart ก่อนขายให้ Walmart) ธุรกิจของ Navi จะเน้นไปที่สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล, สินเชื่อบ้าน, ประกันสุขภาพ และบริการบริหารสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเน้นที่กองทุนประเภท passive