Bloomberg รายงานว่า Meituan แอปส่งอาหารรายใหญ่ในจีน แสดงความสนใจซื้อกิจการส่วนธุรกิจของ Delivery Hero ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งก็คือแบรนด์ Foodpanda ที่มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า Grab อาจเป็นผู้ซื้อกิจการไป
Delivery Hero บริษัทให้บริการส่งอาหารของเยอรมนีซึ่งเป็นเจ้าของ Foodpanda เคยประกาศอย่างเป็นทางการก่อนหน้านี้ ว่าบริษัทเตรียมขายธุรกิจในหลายประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ที่มูลค่าประมาณ 1 พันล้านยูโร แต่ไม่ได้ระบุว่าใครจะซื้อกิจการ โดยมีข่าวพร้อมกันตอนนั้นว่าอาจเป็น Grab
กูเกิล, Temasek และ Bain & Company เผยแพร่รายงาน e-Conomy SEA ประจำปี 2023 โดยปีนี้หัวข้อคือ Reaching new heights: navigating the path to profitable growth เพื่อฉายภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ภาพรวมเฉพาะส่วนที่เป็นรายได้ของธุรกิจดิจิทัลจะแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์ ในปีนี้ ขณะที่ปริมาณเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV จะเพิ่มเป็น 2.18 แสนล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือส่วนที่เป็นรายได้นั้นเติบโต 1.7 เท่าของ GMV สะท้อนภาพธุรกิจที่มั่นคงขึ้น
Delivery Hero บริษัทให้บริการส่งอาหารจากเยอรมนี ยืนยันแผนการขายกิจการธุรกิจเดลิเวอรีในเอเชียบางส่วน โดยมูลค่าของดีลยังอยู่ในขั้นตอนเจรจา
Wirtschaftswoche สื่อของเยอรมนีระบุว่าผู้ที่อาจจะซื้อกิจการนี้คือ Grab โดยซื้อกิจการ Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ด้วยมูลค่าเบื้องต้น 1 พันล้านยูโร หรือประมาณ 3.86 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Grab ยังไม่ได้ให้ความเห็นต่อข้อมูลนี้
ทั้งนี้พื้นที่ซึ่ง Foodpanda ให้บริการอยู่ แต่ไม่ถูกระบุในดีลการขายนี้คือ ไต้หวัน ฮ่องกง ปากีสถาน บังกลาเทศ
ที่มา: Reuters
ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok เปิดเผยว่าบริษัทเริ่มทดสอบบริการส่งอาหารในจีนแล้ว โดยเริ่มที่เมืองปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเฉิงตูก่อน โดยรูปแบบการสั่งอาหารจะทำผ่านแอป Douyin หรือแอป TikTok เวอร์ชันจีน
อย่างไรก็ตามโมเดลการให้บริการ จะแตกต่างไปจากแอปสั่งอาหารที่เราคุ้นเคยซึ่งเป็นแบบออนดีมานด์ โดยวิธีของ Douyin จะให้ร้านอาหารไลฟ์ในแอปทำการตลาด จากนั้นเปิดการขาย พร้อมโปรโมชันในการสั่ง ผู้ใช้งานจึงสั่งอาหารผ่านไลฟ์และกำหนดเวลาส่งแทน รวมทั้งให้ข้อเสนอแบบซื้อรวมกลุ่มไปส่งที่เดียวกันจำนวนมาก ก็จะได้ส่วนลดที่มากขึ้น
ปัจจุบันผู้ให้บริการเดลิเวอรีรายใหญ่ในจีนคือ Meituan และ Ele.me ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจของ Alibaba
Amazon ปิดโครงการหุ่นยนต์เดลิเวอรีสินค้าถึงบ้าน Scout ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2019 หลังทดลองแล้วไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
พนักงานในทีม Scout มีทั้งหมดราว 400 คน จะกระจายไปทำงานตำแหน่งอื่นของ Amazon แทน โฆษกของ Amazon ยอมรับว่าหลังทดสอบหุ่นกับการใช้งานภาคสนามแล้ว ได้เสียงตอบรับที่ยังไม่ดีมากพอจากลูกค้า จึงตัดสินใจยุติโครงการ
ในตลาดยังมีบริษัทสตาร์ตอัพหุ่นยนต์เดลิเวอรีลักษณะเดียวกันอีกหลายราย เช่น Nuro, Serve Robotics, Starship Technologies, Kiwibot เป็นต้น
HappyFresh แอปบริการส่งสินค้าอุปโภค-บริโภคจากซูเปอร์มาร์เก็ต ประกาศยุติการให้บริการในประเทศไทย และมาเลเซีย มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังดำเนินการมา 7 ปี โดยให้สาเหตุจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ
HappyFresh เป็นสตาร์ทอัพจากอินโดนีเซีย โดยก่อนหน้านี้ 1 วัน บริษัทเพิ่งกลับมาให้บริการต่อในอินโดนีเซีย หลังจากหยุดให้บริการชั่วคราวหลายสัปดาห์ ซึ่งมาพร้อมกับเงินจากนักลงทุนก้อนใหม่ ที่มีเงื่อนไขให้บริษัทปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยการพิจารณาปิดกิจการในไทยและมาเลเซีย เป็นหนึ่งในเงื่อนไขนี้ด้วย
บริษัทก่อตั้งในปี 2014 โดยมีโมเดลธุรกิจคล้ายกับ Instacart คือให้ผู้ใช้งานสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต ผลจากการปรับโครงสร้างนี้ทำให้ HappyFresh กลับมาโฟกัสธุรกิจเฉพาะในอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียว
Uber ประกาศความร่วมมือระยะยาวเป็นเวลา 10 ปี กับ Nuro สตาร์ทอัพพัฒนายานพาหนะเคลื่อนที่อัตโนมัติสำหรับส่งสินค้า โดยจะนำมาใช้กับบริการส่งอาหาร Uber Eats ในอเมริกา
ในช่วงแรกของการให้บริการร่วมกัน รถส่งอาหารและสินค้าของ Nuro จะดำเนินการในเมือง Houston รัฐเท็กซัส และเมือง Mountain View รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นสองแห่งแรก และมีแผนจะขยายต่อไปยัง Bay Area
Nuro ระบุว่า ปัจจุบันมีเพียง 3 บริษัทในอเมริกาที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ยานพาหนะอัตโนมัติส่งสินค้า ซึ่งมีเพียงไม่กี่รัฐที่อนุญาต ซึ่ง Nuro เป็นบริษัทแรกที่ได้รับในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนอกจาก Uber บริษัทก็มีความร่วมมือกับทั้งร้านขายสินค้า, ร้านอาหารบางแห่ง, บริษัทขนส่งพัสดุ ไปจนถึงร้านสะดวกซื้อ
Amazon ประกาศความร่วมมือกับ Grubhub แพลตฟอร์มเดลิเวอรีในอเมริกา โดย Amazon จะได้สิทธิในการซื้อหุ้น (วอแรนต์) ของ Grubhub สูงสุด 2% และเพิ่มเติมในอนาคตได้อีก 13% รวมเป็น 15%
ผลจากข้อตกลงดังกล่าว Amazon จะนำสิทธิประโยชน์ใน Grubhub มาให้กับลูกค้าที่เป็นสมาชิก Amazon Prime ในอเมริกา สามารถสมัครใช้ Grubhub+ ได้ฟรี 12 เดือน ซึ่งเป็นบริการสั่งอาหารแบบไม่ต้องจ่ายค่าส่ง ที่ปกติคิดค่าบริการ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน
Walmart ร้านค้าปลีกรายใหญ่ในอเมริกา ประกาศขยายการให้บริการ DroneUp ซึ่งเป็นการจัดส่งสินค้าผ่านโดรน หลังจากทดสอบในเมืองเล็ก ๆ ก่อนหน้านี้ โดยเพิ่มเป็น 34 พื้นที่ ใน 6 รัฐ ครอบคลุมประชากรราว 4 ล้านคน ภายในปีนี้
บริการจัดส่งสินค้าด้วยโดรนของ Walmart จะให้บริการตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 20 นาฬิกา รายการสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้มีมากกว่า 1 แสนรายการ แต่น้ำหนักรวมต้องไม่เกิน 10 ปอนด์ (4.5 กิโลกรัม) มีค่าบริการเพิ่ม 3.99 ดอลลาร์
Buyk บริการเดลิเวรีสินค้าของสด-ของชำภายใน 15 นาที ประกาศล้มละลาย หลังประสบปัญหาทางการเงินเพราะบริษัทแม่ในรัสเซียถูกแซงก์ชันทางเศรษฐกิจ
Buyk เป็นบริษัทลูกของ Samokat บริการเดลิเวรีสินค้าของรัสเซีย และมีธนาคาร Sberbank ของรัสเซียเป็นผู้ถือหุ้น ตัวธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเปิดเมื่อเดือนกันยายนปี 2021 มีพื้นที่บริการเฉพาะนครนิวยอร์กและชิคาโก มีร้านสาขาทั้งหมด 39 แห่ง
Buyk บอกว่าพยายามหาวิธีระดมทุนเพิ่มเพื่อให้ทำธุรกิจต่อไปได้ แต่สถานการณ์สงครามยูเครนและมาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจของสหรัฐต่อรัสเซีย ทำให้บริษัทไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องยื่นขอล้มละลายตามกฎหมายสหรัฐ
ผู้ใช้ท่านหนึ่งในกลุ่มเฟสบุ๊ก “กลุ่มนักเขียนโปรแกรม” โพสต์ตามหาโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์มาร่วมงาน ระบุจ้างเขียนโปรแกรม food delivery ทำเหมือน LINE MAN และมีฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ งบประมาณ 240,000 บาท แต่จ่ายแบบผ่อนเดือนละ 20,000 บาท เซ็นต์สัญญา 1 ปี ต้องมีความคืบหน้าทุกเดือน ระบุครบ 1 ปีระบบต้องจบได้
ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โพสต์ในกลุ่ม “กลุ่มนักเขียนโปรแกรม”
Delivery Hero ผู้ให้บริการเดลิเวอรีจากเยอรมนี ประกาศซื้อหุ้นของ Glovo แพลตฟอร์มเดลิเวอรีคู่แข่ง จากผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งผลจากดีลนี้ทำให้ Delivery Hero มีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 39.4% และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน Glovo
Delivery Hero บอกว่าทั้งสองบริษัทมีต้นกำเนิดจากยุโรป และมีความเชี่ยวชาญในพื้นที่นี้ มียุทธศาสตร์ที่คล้ายกันคือเน้นการเดลิเวอรีในหลายหมวดสินค้า Glovo เอง ทำตลาดอยู่ใน 25 ประเทศ และเป็นผู้นำตลาดถึง 16 ประเทศในนั้น
Glovo ปัจจุบันให้บริการเดลิเวอรีทั้งร้านอาหาร สินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต ยาเวชภัณฑ์ ใน 1,300 เมือง ของ 25 ประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชียกลาง และแอฟริกา มีผู้ใช้งานรวมกว่า 15 ล้านบัญชี
TikTok เปิดตัว TikTok Kitchen ซึ่งเป็นการนำเมนูอาหารจากคลิปทำอาหารที่ได้รับความนิยม แต่ไม่อยากลองทำตามเอง ก็สามารถสั่งเดลิเวอรีมาลองได้ โดยจะเริ่มที่อเมริกาก่อนเป็นแห่งแรก
TikTok Kitchen เป็นความร่วมมือกับ Virtual Dining Concepts ผู้พัฒนาคอนเซปต์ร้านอาหาร สำหรับขายผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรีโดยเฉพาะ เบื้องต้นจะสร้างร้าน 300 จุด และมีแผนเพิ่มเป็น 1,000 แห่ง ภายในสิ้นปี 2022
TikTok พูดถึงโมเดลรายได้ว่าจะหักส่วนกำไร ให้สำหรับทาง VDC ที่พัฒนาคอนเซปต์ร้าน และครีเอเตอร์ที่สร้างสรรค์เมนูบนแพลตฟอร์ม แต่ไม่ได้บอกว่าจะตรวจสอบอย่างไรว่าใครเป็นคนคิดเมนูขึ้นคนแรกจริง ๆ
กูเกิลร่วมกับ Temasek และ Bain & Company เผยแพร่รายงานการศึกษาวิจัย e-Conomy SEA ประจำปี 2021 ซึ่งนำเสนอภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 6 ประเทศ คือ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ในภาพรวม ประชากรอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคมีจำนวน 440 ล้านคน เพิ่มขึ้น 40 ล้านคน จากปี 2020 ทำให้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 75% ผลการศึกษาพบว่า 8 ใน 10 คนของประชากรอินเทอร์เน็ต เคยซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง (ตัวเลขนี้ของไทยคือ 9 ใน 10) ในกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการช่องทางดิจิทัล ในไทยมีจำนวนถึง 18% ที่เพิ่งเริ่มใช้บริการช่วงปี 2020 ถึงครึ่งแรกปี 2021 ซึ่งเริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ผลักดันให้คนมาออนไลน์มากขึ้น
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทได้เข้าลงทุนซื้อหุ้น 60% ใน Skootar สตาร์ทอัพให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับรับ-ส่งเอกสาร พัสดุ รวมไปถึงบริหารส่งอาหาร โดยดีลนี้ทำผ่านบริษัทลูก วี เวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ คิดเป็นมูลค่าในการซื้อหุ้น 100 ล้านบาท
TTA บอกว่าการลงทุนใน Skootar นี้ จะช่วยเสริมศักยภาพบริษัทในส่วนช่องทางการขนส่งสินค้าผ่านออนไลน์ รวมทั้งเสริมธุรกิจในเครือให้ครบวงจรมากขึ้น
เป็นเวลาระยะหนึ่งแล้วที่ Amazon ติดตั้งกล้องในรถส่งของโดยใช้เหตุผลเรื่องความปลอดภัย ไม่ใช่เพื่อจับตามองคนขับรถ ล่าสุดมีประเด็นดราม่าเกิดขึ้น เมื่อคนขับรถส่งของ Amazon รายหนึ่ง ไม่ระบุชื่ออ้างว่าเขาไม่ได้เงินโบนัสพิเศษ เพราะกล้อง AI เข้าใจพฤติกรรมการขับรถของเขาผิดไป
Airasia Food บริการส่งอาหารที่อยู่ภายใน Airasia Super App เปิดให้บริการในกรุงเทพแล้ว หลังซื้อ Gojek ก่อนหน้านี้ เริ่มต้น 4 พื้นที่นำร่อง คือ ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว และห้วยขวาง ช่วงเวลา 6.30 น. ถึง 19.00 น. ระบุเตรียมให้บริการครอบคลุมทั้งกรุงเทพเร็วๆ นี้ และตั้งเป้าจะเปิดบริการในพื้นที่อื่นๆ เช่น เชียงใหม่และภูเก็ตต่อไป
อแมนดา วู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอพ กล่าวว่า “วิกฤติโควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราไปอย่างถาวร จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบริการฟู้ดเดลิเวอรี่และการซื้อกลับบ้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการบริโภคของคนจำนวนมาก
Uber ประกาศความร่วมมือแบบเอ็กคลูซีฟกับ FTD เครือข่ายร้านดอกไม้รายใหญ่ในอเมริกา เพื่อเพิ่มบริการจัดส่งดอกไม้ให้กับลูกค้า Uber และ Uber Eats ทำให้บริการจัดส่งดอกไม้เป็นบริการล่าสุดของ Uber
บริการนี้ Uber จะร่วมมือกับ ProFlower แบรนด์ในเครือของ FTD เริ่มให้บริการช่วงแรกในเมืองนิวยอร์ก, ฟิลาเดลเฟีย, ชิคาโก, ลอสแอนเจลิส, ดัลลัส, ไมอามี และจะขยายไปทั่วอเมริกาในต้นปี 2022
Raj Beri หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Grocery และบริการใหม่ของ Uber อธิบายว่าธุรกิจเดลิเวอรี คือการตอบสนองความต้องการลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นทุกวันปกติและวันพิเศษของลูกค้า ซึ่งการส่งดอกไม้ก็เป็นสิ่งที่ Uber ควรเพิ่มเข้ามา
ที่มา: Uber
สถานทูตสหรัฐฯในไทยเปิดตัวแอปส่งอาหารอเมริกันแท้ๆจากครัวสถานทูต ส่งถึงบ้าน ในชื่อแอปว่า "กิน(อเมริ)กัน" ส่งอาหารชื่อดังประจำรัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชีสสเต๊กของฟิลาเดลเฟีย, พิซซาแป้งหนาพิเศษสไตล์ชิคาโก, ขนมเบนเยส์จากลุยเซียนาหรือล็อบสเตอร์โรลของรัฐเมน
ทางเลือกส่งอาหารมีสองอย่างคือ รถจักรยานยนต์ ค่าส่ง 100 บาท ส่งภายใน 15 นาที และเซิร์ฟสเกต ค่าส่ง 5 บาท แต่ส่งภายในเวลา 3 ชั่วโมง และเนื่องจากเปิดตัวใหม่ สามารถกรอกโค้ด APR1LFOODS ที่หน้าเช็คเอาท์ รับทันทีส่วนลด 50% ทุกการสั่งซื้อตลอดเมษายนนี้
Deliveroo แอปส่งอาหารรายใหญ่ของอังกฤษ ประกาศนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดยคาดมีมูลค่ากิจการตามราคาไอพีโอที่ราว 7,600-8,800 ล้านปอนด์ เป็นไอพีโอที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษในรอบกว่า 7 ปี โดยบริษัทมีแผนนำเงินระดมทุนใหม่ที่ได้มาใช้ขยายธุรกิจ
บริการของ Deliveroo ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเติบโต ตามปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้คนต้องกักตัวอยู่บ้าน ปัจจุบันบริการของ Deliveroo มีอยู่ในกว่า 200 เมืองทั่วอังกฤษ และได้อีก 12 ประเทศ รวมทั้ง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์
Deliveroo มีผู้ลงทุนรายสำคัญคือ Amazon ที่เข้ามาลงทุนเมื่อปี 2019
ที่มา: BBC
รัฐบาลสเปนมีมติให้แพลตฟอร์มออนไลน์ผู้ส่งอาหาร ต้องปฏิบัติกับคนส่งอาหารหรือไรเดอร์แบบเดียวกับพนักงานบริษัท กฎหมายดังกล่าวยังรวมถึงข้อกำหนดให้บริษัทแพลตฟอร์มเช่น Glovo และ Deliveroo ส่งมอบข้อมูลให้กับตัวแทนกฎหมาย เกี่ยวกับวิธีการทำงานของอัลกอริทึมในการมอบหมายงานให้ไรเดอร์ รวมถึงระบบประเมินประสิทธิภาพของไรเดอร์ด้วย
Alibaba เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ HungryNaki บริการเดลิเวอรีอาหารในบังกลาเทศ โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของดีล ซึ่งดีลนี้เป็นการซื้อกิจการผ่าน Daraz อีคอมเมิร์ซจากปากีสถานที่ Alibaba เข้าซื้อกิจการไปเมื่อปี 2018
HungryNaki ก่อตั้งในปี 2013 ปัจจุบันให้บริการใน 5 เมืองของบังกลาเทศ มีจำนวนผู้ใช้งานราว 5 แสนคน ร้านอาหารในระบบกว่า 4 พันแห่ง เงินลงทุนก้อนใหม่นี้จะนำมาใช้ขยายโครงสร้างพื้นฐานของแพลตฟอร์ม รวมทั้งขยายตลาดสู่เมืองใหม่ ๆ เพิ่มเติม
สิ่งที่น่าสนใจของดีลนี้คือการขยายฐานของ Alibaba ที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้มากขึ้นผ่าน Daraz
คณะกรรมการการแข่งขันการค้าลงประกาศแนวทางการพิจารณาการปฎิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างดิจิทัลแพลตฟอร์มรับส่งอาหารและร้านอาหาร กำหนดแนวทางที่เข้าข่ายทำให้เกิดความเสียหายต่อร้านอาหาร เช่น
แม้ประกาศนี้จะไม่ได้ห้ามการกระทำเหล่านี้โดยตรง แต่แนวทางเช่นนี้ก็อาจจะเปิดทางให้คณะกรรมการการแข่งขันการค้ามีท่าทีต่อแพลตฟอร์มส่งอาหารเพิ่มเติมต่อไป โดยประกาศนี้จะมีผล 30 วันหลังจากประกาศลงราชกิจจานุเบกษา
Starbucks ประเทศไทยเพิ่มฟีเจอร์สั่งเครื่องดื่มจากในแอปและให้เดินไปรับที่ร้านด้วยตัวเอง แบบเดียวกับฟีเจอร์ Pickup ของ LINE MAN ที่เปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยฟีเจอร์นี้อยู่ในแอป Starbucks เดิมเพิ่มเป็นเมนูใหม่ด้านล่าง
ฟีเจอร์นี้จำกัดเฉพาะสาขาที่รองรับเท่านั้น โดยช่วงเปิดตัวรองรับ 28 สาขา และจะเพิ่มไปเป็น 200 สาขาภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
กระบวนการสั่งแอปจะแจ้งระยะเวลาเตรียมเครื่องดื่ม พร้อมกับแจ้งระยะเวลาเดินทางจากจุดปัจจุบันไปยังร้านที่ใกล้ที่สุด ผมสอบถามทางร้านบาริสต้าแจ้งเมื่อออเดอร์เข้าไปในระบบบาริสต้าก็จะเริ่มเตรียมทันที ทำให้ฟีเจอร์นี้อาจจะมีประโยชน์ในกรณีคนแน่นร้าน
SCB จัดงานเปิดตัวแอปส่งอาหาร Robinhood เปิดให้ดาวน์โหลดแบบพับลิกแล้วทั้ง Google Play และ App Store แต่พื้นที่ใช้งานยังเปิดทดสอบเฉพาะ กรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น และจะเปิดใช้งานเต็มที่ในปี 2021
จากการเปิดทดสอบใช้งานมา 5 เดือน มีร้านอาหารอยู่บนระบบแล้ว 16,000 ร้าน มีคนขับ 10,000 คน ตั้งเป้าภายในปีนี้มีร้านอาหาร 30,000 ร้าน และคนขับ 15,000 คน และคาดหวังยอดใช้งาน 20,000 transaction ต่อวัน ตัวแอปดำเนินการภายใต้ชื่อ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด โดยมีคุณ ธนา เธียรอัจฉริยะ เป็นประธานกรรมการบริหาร และ สีหนาท ล่ำซำ เป็น กรรมการผู้จัดการ