จากกรณีข้อมูลหลุดผู้ใช้ Facebook กับบริษัท Cambridge Analytica สร้างเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
Mozilla ในฐานะองค์กรที่ผลักดันเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เน็ต จึงประกาศหยุดลงโฆษณาบน Facebook ชั่วคราว ด้วยเหตุผลว่าค่าดีฟอลต์ของ Facebook อนุญาตให้แอพภายนอกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้มากเกินไป โดยครอบคลุมถึงประวัติการศึกษา สถานที่ทำงาน เมืองที่อาศัย และการโพสต์บน timeline
ผู้ใช้ Facebook จำนวนมากไม่เคยสนใจเปลี่ยนค่าเหล่านี้ และใช้ค่าดีฟอลต์ที่ Facebook กำหนดให้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลโดยไม่รู้ตัว Mozilla จึงออกมาเรียกร้องให้ Facebook แก้ไขค่าดีฟอลต์นี้ และหยุดลงโฆษณาชั่วคราวจนกว่า Facebook จะยอมเปลี่ยน
กูเกิลประกาศเปลี่ยนนโยบายการโฆษณาบริการทางการเงินใหม่ เพิ่มหมวดหมู่สินค้าที่ไม่รับโฆษณา ได้แก่ ไบนารีออปชั่น และเงินคริปโตทั้งหมด
ประกาศนี้ครอบคลุมแทบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเงินคริปโต ทั้งการประกาศระดมทุน ICO, บริการแลกเปลี่ยนเงินคริปโต, บริการซอฟต์แวร์กระเป๋าเงิน, หรือบริการให้คำปรึกษา
ประกาศมีผลเดือนมิถุนายนนี้ ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กก็ประกาศแบนไปก่อนแล้ว
ที่มา - Google
CNN พบมีโฆษณาหลายแบรนด์ปรากฏบนเนื้อหาช่องยูทูบขวาจัดอย่าง InfoWars โดยพบว่ามีแบรนด์ Nike, Acer, 20th Century Fox, Paramount Network, Expedia, Alibaba,Mozilla, NRA, Wix เป็นต้น และแม้แต่องค์กรทำงานเพื่อสังคมอย่าง UNHCR ที่ทำงานด้านผู้ลี้ภัย ก็พบว่ามีโฆษณาไปปรากฏบนช่อง InfoWars ด้วย
เมื่อ CNN สอบถามไปยังแบรนด์ ต่างก็ตอบว่าไม่รู้มาก่อนเลยว่าโฆษณาของตนไปปรากฏควบคู่กับเนื้อหาขวาจัดแบบนี้
InfoWars เป็นเว็บไซต์สื่อที่มักผลิตข่าวปลอม ก่อตั้งโดย Alex Jones ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักทฤษฎีสมคบคิด ครั้งหนึ่งเขายังเคยชูทฤษฎีว่าเหตุกราดยิงที่โรงเรียนประถม Sandy Hook ในปี 2012 นั้นไม่มีใครตาย ทั้งที่จริงมีผู้เสียชีวิตถึง 20 ราย แม้ InfoWars จะมีชื่อเสียงในทางไม่ดี แต่เว็บไซต์ก็มีคนเข้าไปอ่านถึง 10 ล้านครั้งต่อเดือน มากกว่าเว็บข่าวกระแสหลักเสียอีก
Facebook ยังคงเดินหน้าปรับปรุงระบบโฆษณา หลังจากมีประเด็นบัญชีปลอมทำการซื้อโฆษณาหาเสียงในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยแนวทางล่าสุดนั้นเป็นการกลับไปสู่พื้นฐาน โดยผู้ซื้อโฆษณาที่เป็นการหาเสียงแบบระบุชื่อบุคคล จะต้องทำการยืนยันตัวตนว่าอยู่ในสหรัฐจริง
วิธีการยืนยันก็คือ Facebook จะจัดส่งไปรษณียบัตรซึ่งมีรหัสยืนยันตัวตนระบุอยู่ ผู้ซื้อโฆษณาต้องกรอกรหัสนี้และยืนยันกลับมาจึงจะสามารถเปิดใช้โฆษณาได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวจะมีผลเฉพาะโฆษณาที่ระบุชื่อผู้สมัครหาเสียงเท่านั้น ไม่มีผลกับโฆษณาที่พูดถึงวาระทางการเมืองทั่วไป
ปี 2017 ที่ผ่านมา Unilever ผู้ผลิตของใช้ที่เรารู้จักกันดีอย่าง ชาลิปตัน, สบู่โดฟ, สเปรย์น้ำหอมยี่ห้อ Axe มีงบตลาดเป็นเงิน 9.5 พันล้านดอลลาร์ และประมาณ 2.4 พันล้านดอลลาร์เป็นงบโฆษณาลงดิจิทัล ซึ่งแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหญ่จริงๆ มีแค่ Facebook และ Google โดยทั้งสองเจ้ากินส่วนแบ่งโฆษณาดิจิทัล 84%
แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Unilever อาจทำให้ Facebook และ Google สูญเสียเม็ดเงินโฆษณาดังกล่าวไป เมื่อ Keith Weed ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด หรือ CMO ของ Unilever ประกาศเรียกร้องให้บริษัทโซเชียลมีเดียในซิลิคอนวัลเล่ย์จัดการปัญหาเนื้อหาที่ค้างคา ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอม เนื้อหาร้ายแรงต่อเด็ก hate speech โฆษณาชวนเชื่อก่อการร้าย
"ข่าวปลอม, การเหยียดผิว, สนับสนุนก่อการร้าย, hate speech, เนื้อหาเป็นพิษเจาะจงเด็กๆ เหล่านี้คือสิ่งที่เรากำลังประสบพบเจอ ซึ่งต่างจากที่สิ่งที่เราคิดว่าอินเทอร์เน็ตควรจะเป็นตั้งแต่แรก สื่ออุตสาหกรรมดิจิทัลควรให้ความสนใจและดำเนินการต่อเรื่องนี้" Weed กล่าว
Weed บอกด้วยว่า ทางบริษัทให้คำมั่นสัญญาจะเพิ่มเนื้อหาที่รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เช่น โฆษณาที่มีเนื้อหาต่อต้านการแบ่งแยก โดยจะร่วมมือกับพันธมิตรทางดิจิทัล ที่ให้คำมั่นว่าจะปรับปรุงโฆษณาเพื่อประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภค โดย Weed บอกเพิ่มเติมว่าได้เริ่มพูดคุยกับ Facebook , Google, Twitter, Amazon และ Snapchat ไปบ้างแล้ว
องค์กรภาพลักษณ์ดี เชิดชูความโปร่งใสอย่าง Mozilla กำลังโดนถล่มหนัก หลังแอบยัด "ส่วนขยาย" ที่เป็นโฆษณามาใน Firefox โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้
มีผู้ใช้ Firefox จำนวนหนึ่งพบว่า จู่ๆ เบราว์เซอร์ของตัวเองก็มีส่วนขยายชื่อ Looking Glass โผล่ขึ้นมาเอง ทำให้เกิดความสงสัยว่าติดมัลแวร์หรือไม่ แต่แท้จริงแล้วมันคือส่วนขยายที่เป็นโฆษณา AR ของทีวีซีรีส์ Mr Robot ที่มีข้อตกลงกับ Mozilla นั่นเอง
จากข่าว Facebook เตรียมหยุดจ่ายเงินจ้างเว็บดัง-เพจดังทำวิดีโอ เปลี่ยนโมเดลเป็นโฆษณาแทน ล่าสุด Facebook ออกมาแถลงข้อมูลอย่างเป็นทางการ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องวิดีโอ 3 อย่างดังนี้
จากการขึ้นมาของสื่อออนไลน์ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา เม็ดเงินโฆษณาจากเอเจนซี่ก็ค่อยๆ เทมาจากสื่อเดิมอย่างทีวีหนังสือพิมพ์มาออนไลน์กันมากขึ้น โดยมีเฟซบุ๊กและกูเกิลเป็นผู้เล่นหลักๆ
ล่าสุด Statista บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเปิดเผยว่า เม็ดเงินโฆษณาบนสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทั่วโลกลงกูเกิลและเฟซบุ๊กรวมกันถึง 25% แล้ว
เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทั้งสองบริษัทมีส่วนแบ่งรวมกันอยู่ที่ 20% โดยเฟซบุ๊กมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 7% และกูเกิลที่ 18% ขณะที่ฝั่งออนไลน์ สองบริษัทนี้มีส่วนแบ่งรวมกันถึง 61% เข้าไปแล้ว แบ่งเป็นเฟซบุ๊ก 18% และกูเกิล 44%
ที่มา - Statista
Honda ต้องเรียกคืนรถยนต์จากลูกค้าในสหรัฐฯเกือบทั้งหมดเพราะถุงลมนิรภัย (ของบริษัท Takata) มีความขัดข้อง อาจเสื่อมสภาพเมื่อเวลาผ่านไปทำให้เกิดการระเบิดของเศษโลหะร้อน จนถึงปัจจุบัน Takata ได้รับผิดชอบการเสียชีวิต 11 รายและบาดเจ็บกว่า 100 รายทั่วโลกจากสาเหตุความขัดข้องดังกล่าวแล้ว
กรมทางหลวงของสหรัฐฯ ระบุว่า ไม่ใช่เพียง Honda แต่ยังรวมถึงรถอื่นที่ใช้ถุงลมนิรภัยจาก Takata ซึ่งเฉพาะในสหรัฐฯ มีจำนวน 42 ล้านคันเข้าไปแล้ว
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Chrome 64 ที่จะแก้ปัญหาความรำคาญจากการ redirect เว็บเพจโดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว และบางครั้งเจ้าของเว็บก็ไม่รู้ตัวด้วย
อาการนี้มักเกิดกับเว็บที่ฝังโฆษณาหรือเนื้อหาจากเว็บอื่นผ่าน iframe ซึ่งจะสั่ง redirect ไปยังเว็บไซต์อื่น พฤติกรรมเดิมของ Chrome จะยอม redirect หน้าที่โหลดอยู่ในขณะนั้น ส่งผลให้เข้าเว็บไซต์ปกติแล้วถูกเปลี่ยนเป็นเว็บโฆษณาโดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว
นับตั้งแต่ Chrome 64 เป็นต้นไป การ redirect ใน iframe จะถูกบล็อค และแสดงแถบข้อความว่าการนำทางถูกบล็อค
ซัมซุงออกโฆษณาตัวใหม่ทาง YouTube ช่อง Samsung Mobile USA ชื่อว่า Growing Up เนื้อหาพุ่งไปที่ iPhone X แบบอ้อมๆ โดยเล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ไปซื้อ iPhone รุ่นแรกตั้งแต่ปี 2007 และยังคงอัพเกรด iPhone เป็นรุ่นใหม่ๆ ต่อเนื่องมาโดยตลอด
เนื้อหาพูดถึงปัญหาที่เขาเจอในการใช้ iPhone ซึ่งคนที่ใช้ Galaxy ไม่เจอในตอนนั้น อาทิ ถ่ายภาพไม่ได้เพราะพื้นที่เต็ม, จอเล็ก, ไม่สามารถกันน้ำได้, ไม่มี Stylus และต้องใช้ Dongle เพื่อฟังเพลงและชาร์จแบตเตอรี่ไปพร้อมกัน
เนื้อหาจบลงที่เขาตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน Galaxy แล้วเดินผ่านคิวคนที่รอซื้อ iPhone X ไปอย่างไม่ไยดี
ที่มา: MacRumors
เป็นสัปดาห์ที่หนักหนาของ Facebook เพราะนอกจากจะต้องเข้าให้ข้อมูลแก่สภาคองเกรสเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมาแล้ว Facebook ยังถูกกดดันจากหลายฝ่ายให้ไปหาวิธีแจ้งข้อมูลแก่ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและเห็นโพสต์ของโฆษณาแฝงรัสเซียที่มีเป้าหมายแทรกแซลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 มีแคมเปญกดดันใน Change.org ด้วย มีผู้ลงนามกว่า 8 หมื่นคนแล้ว
CNN ชี้กลุ่มแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2016 ด้วยการซื้อโฆษณารันบนโซเชียลมีเดียนั้นไม่ได้มีเพียง Instagram, Twitter, YouTube, Tumblr แต่ยังรวมถึง Pokémon Go ซึ่งมีฐานผู้เล่นในสหรัฐฯถึง 30 ล้านคน
จากการสืบสวนพบว่ามีบัญหนึ่งที่เชื่อมโยงกับกลุ่ม IRA (Internet Research Agency) ในรัสเซีย และเป็นหนึ่งใน 470 บัญชีที่ถูกระงับไปแล้ว เป็นบัญชีใช้แคมเปญโฆษณาชื่อว่า Don't Shoot Us จากประเด็นชายผิวสีถูกจับกุมและกระทำการรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นประเด็นโด่งดังมาก่อนหน้านี้ แพร่ในโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทาง และพบในเกม Pokémon Go ด้วย
คอฟุตบอลน่าจะคุ้นเคยกันดีกับการเห็นแบรนด์เครื่องดื่มน้ำอัดลมเป็นสปอนเซอร์ใหญ่ตามการแข่งขันต่างๆ แต่ทว่าล่าสุดความเป็นสปอนเซอร์นั้นจะเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงแล้ว เมื่อ Coca-Cola ตกลงกับ EA ในการเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ของ Alex Hunter ตัวละครเอกในโหมดเนื้อเรื่องของ FIFA 18
ตามเนื้อเรื่องของ FIFA 18 จะมีซีนหนึ่งที่ Alex Hunter จะเซ็นสัญญากับ Coca-Cola และไปถ่ายโฆษณาให้ ซึ่งความร่วมมือนี้เป็นการฉลองความสัมพันธ์ 20 ปีระหว่าง EA และ Coca-Cola ด้วย โดย Alban Dechelotte ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดของ Coca-Cola ระบุว่าความร่วมมือนี้ถือเป็นโลกใหม่ของการตลาดและเป็นการนำเสนอแบรนด์ในแบบใหม่ พร้อมทำให้โลกแห่งความจริงและโลกเสมือนในเกมเข้าใกล้กันมากขึ้นด้วย
มีข่าวว่าสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดของอังกฤษ กำลังเจรจากับแอพ Tinder แอพหาคู่ ชื่อดัง เพื่อซื้อโฆษณาบนเสื้อของนักเตะ โดยว่ากันว่าใช้งบกว่า 12 ล้านปอนด์ เพื่อขอตำแหน่งบนแขนเสื้อด้านซ้าย
ทั้งนี้คาดการณ์ว่า Tinder ต้องการสร้างภาพจำในวงกว้าง จึงเลือกโฆษณากับกีฬาฟุตบอลนี้ ซึ่งค่อนข้างตรงกับกลุ่มเป้าหมายทีเดียว
Facebook เริ่มทดสอบโฆษณาในแอพ Messenger มาได้สักระยะ และวันนี้ก็ได้ฤกษ์ที่ผู้ใช้ Messenger ทั่วโลกจะเห็นโฆษณากันอย่างเป็นทางการ
โฆษณาจะแสดงในหน้าหลัก (หน้ารายการแชท-รายชื่อเพื่อน) โดยมีรูปแบบเป็นแบนเนอร์แทรกขึ้นมาระหว่างรายการ เมื่อคลิกแล้วก็สามารถปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาได้เหมือนกับในแอพ Facebook หลัก
ส่วนผู้ที่ต้องการลงโฆษณาใน Messenger ก็สามารถลงได้ผ่านระบบโฆษณาปกติของ Facebook เช่น Ads Manager โดยจะมีตัวเลือก Messenger เพิ่มเข้ามา
YouTube ประกาศผลโฆษณาไทยบน YouTube ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก อันดับหนึ่งซันซิลได้ไปหลังจากที่ติดอันดับ 1 ใน 10 มาหลายครั้งที่มีการจัดลำดับ มีโฆษณาของแบรนด์เกมออนไลน์ติดโผด้วย โดยเทรนด์น่าสนใจคือ เน้นการเล่าเรื่องมากกว่าการขาย ใช้เพลงติดหูและใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์
บริการแชร์รถจักรยานในประเทศจีนเป็นธุรกิจที่ไปได้สวย คนจีนใช้รถจักรยานบนท้องถนนร่วมสิบล้านคัน โดยบริการรายใหญ่คือ Ofo และ Mobike บรรดาเอเจนซี่จึงเห็นเป็นโอกาสในการทำโฆษณาให้เข้าถึงผู้คนมหาศาล ติดโฆษณาทำการตลาดบนตัวรถจักรยานเสียเลย
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งชื่อ Edmond Lococo โพสต์รูปภาพจักรยานของแบรนด์ Ofo ที่ทั้งคันเหลืองอร่ามไปด้วยโฆษณาตัวการ์ตูนมินเนี่ยน โปรโมทภาพยนตร์เรื่อง Despicable Me 3 ที่ฉายในประเทศจีน
ข้อครหาอย่างหนึ่งที่ Gmail โดนวิจารณ์มาตลอดคือ เปิดอ่านเนื้ออีเมลของผู้ใช้เพื่อหาโฆษณามาแสดงให้ตรงกับเนื้อหา ในอดีตกูเกิลถึงขั้นเคยถูกฟ้อง และไมโครซอฟท์ก็เคยออกโฆษณา Gmail Man มาโจมตี
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Gmail เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จะเลิกอ่านอีเมลของลูกค้าเพื่อการโฆษณาแล้ว โดยจะคัดเลือกโฆษณาจากข้อมูลอื่นๆ ของลูกค้าแทน (สามารถปิด ads personalization ได้จากหน้า Settings) ส่วน Gmail เวอร์ชัน G Suite นั้นไม่มีโฆษณาและไม่ได้อ่านอีเมลมาตั้งแต่แรก
ที่มา - Google
จากที่เคยประสบปัญหาแบรนด์ถอนตัวลงโฆษณาบน YouTube เพราะวิดีโอรุนแรง ทาง YouTube เองก็ดูพยายามแก้ไขปัญหาคอนเทนท์อยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดออกมาตรการใหม่ ไม่แสดงโฆษณาบนคลิปวิดีโอที่เข้าข่ายรุนแรง ที่ยังไม่ละเมิดกฎจนต้องถูกนำลงจากเว็บ
คอนเทนท์ที่เข้าข่ายรุนแรงนี้ได้แก่ เนื้อหาสร้างความเกลียดชัง ดูถูกหรือล้อเลียนคน กลุ่มคนด้วยคุณลักษณะหนึ่งๆ อาทิ เชื้อชาติ, ชาติพันธ์ุ, ศาสนา ฯลฯ, เนื้อหาเสียดสี เหยียดและลดคุณค่าผู้อื่น, สุดท้ายคือการนำตัวละครที่ควรจะสร้างความบันเทิง อย่างการ์ตูน มานำเสนอผ่านความรุนแรง, เพศ, และพฤติกรรมเลวทราม (vile)
กูเกิลต้านกระแสไม่ไหว ประกาศเพิ่มตัวบล็อคโฆษณาลงใน Chrome โดยจะเริ่มมีผลช่วงต้นปี 2018
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของตัวบล็อคโฆษณามากนัก โดยกูเกิลบอกเพียงว่าจะบล็อคโฆษณาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ Better Ads Standards ของกลุ่ม Coalition for Better Ads ที่กูเกิลและเฟซบุ๊กร่วมก่อตั้ง การบล็อคโฆษณาจะมีผลกับโฆษณาที่ยิงผ่านเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเองด้วย หากโฆษณาไม่ผ่านตามมาตรฐานดังกล่าว
เราอาจมองว่า นโยบายการใส่ตัวบล็อคโฆษณาของ Chrome จะช่วยลดความรำคาญของผู้ใช้ได้บางส่วน และไม่ต้องใช้ตัวบล็อคโฆษณาอื่น (เช่น AdBlock Plus) ที่อาจปิดกั้นโฆษณาทั้งหมดออกไป
กูเกิลประสบความสำเร็จอย่างมากกับ AMP และก้าวต่อไปของกูเกิลถัดจากการแปลงเว็บเพจเป็น AMP คือการแปลงโฆษณาเป็น AMP ด้วย (ทุกอย่างโหลดเร็วขึ้นแบบไม่มีข้อยกเว้น)
ในงาน Google Marketing Next เมื่อวานนี้ กูเกิลประกาศข่าว AMP สองเรื่อง
อย่างแรกคือ โฆษณารูปแบบแบนเนอร์ที่เป็น HTML5 จะถูกแปลงเป็นฟอร์แมตเป็น AMP ด้วย หน้าตาของโฆษณาจะเหมือนเดิม แต่โหลดเร็วขึ้นกว่าเดิม (สูงสุดคือโหลดเร็วขึ้น 5 วินาที) ผลคือการโหลดทั้งเพจที่เป็น AMP จะเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องรอโหลดโฆษณาแยกต่างหาก ทุกอย่างเป็น AMP หมดและถูกแคชไว้บนเซิร์ฟเวอร์กูเกิลแล้ว
ตอนนี้โฆษณาบางส่วนในระบบ Google Display Network ถูกแปลงเป็น AMP เรียบร้อยแล้ว
แอปเปิลได้เปิดหน้าเว็บ apple.com/switch เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการอื่น เปลี่ยนใจใช้ iOS โดยแนะนำข้อดีของ iOS เป็นข้อๆ รวมถึงอธิบายว่าการย้ายจาก Android มาอยู่ iOS ทำได้ง่ายมากโดยใช้แอพ Move to iOS
ตัวอย่างข้อดีของ iOS ที่ในเว็บแนะนำมีหลายอย่าง อาทิ กล้องได้รับความนิยมที่สุดในโลก, ทำงานรวดเร็ว, ใช้ง่าย, ปลอดภัย และอีกหลายอย่าง
ถ้าแค่นี้ยังไม่พอ แอปเปิลยังออกคลิปสั้นเพื่อเปรียบเทียบ สมาร์ทโฟนอื่น กับ iPhone ด้วย โดยใช้วิธีแบ่งจอเป็นสองฝั่ง คล้ายกับโฆษณา Get a Mac ชมคลิปทั้งหมดได้ท้ายข่าว
The Verge มีบทความเสนอประเด็นว่าเว็บสื่อใหญ่ของโลกหลายราย เริ่มหยุดหรือลดการใช้ Facebook Instant Articles ด้วยเหตุผลว่าไม่ตอบโจทย์เรื่องรายได้จากโฆษณา ตามที่ Facebook เคยโปรโมทไว้
สื่อชื่อดังที่หยุดใช้แล้วคือ The New York Times (ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมเปิดตัว), Vice, Forbes, L.A. Times, Chicago Tribune และสื่อในเครือ Hearst บริษัทนิตยสารรายใหญ่ ส่วนสื่อที่ลดการใช้งาน Instant Articles ลงเหลือเพียงบางบทความ (ส่วนใหญ่ลิงก์ให้เข้าเว็บโดยตรงแทน) ได้แก่ CNN, Wall Street Journal, New York Daily News เป็นต้น ส่วนสถิติของ The Verge เองก็ชี้ให้เห็นว่าการใช้ Instant Articles ไม่ได้ทำให้คนอ่านเยอะขึ้นจากเว็บเพจปกติ แต่รายได้ลดลง
ปัญหาแบรนด์ใหญ่ๆ แสดงความไม่พอใจที่ YouTube นำโฆษณาไปแสดงบนวิดีโอที่เนื้อหารุนแรงกำลังทำให้จนกระทั่งเริ่มกระทบต่อรายได้ ตอนนี้ YouTube ก็ออกมาตรการเบื้องต้นด้วยการปิดโฆษณาสำหรับช่องวิดีโอที่มียอดชมรวมน้อยกว่า 10,000 วิว
ก่อนหน้านี้กระบวนการแสดงโฆษณาเป็นระบบอัตโนมัติแทบทั้งหมด ซอฟต์แวร์ของ YouTube จะเลือกให้เองว่าจะแสดงโฆษณาใดบนวิดีโอใดบ้าง การสร้างข้อกำหนดช่องที่ต้องมี 10,000 วิวจะจำกัดวิดิโอที่ได้รับโฆษณาลง และในอนาคตกระบวนการรีวิววิดิโอด้วยคนหรือซอฟต์แวร์ที่วิเคราะห์ระดับลึกได้ก็น่าจะง่ายลงมาก