กูเกิลประกาศว่ากำลังเตรียมเลิกขายโฆษณาแบบติดตามตัวคน จากเดิมที่ทุกวันนี้โฆษณามักติดตามผู้ใช้ไปได้ผ่านทาง third-party cookie แต่เบราว์เซอร์ต่างๆ กำลังจำกัดความสามารถนี้อย่างต่อเนื่อง
วงการโฆษณามีความสามารถในการติดตามตัวผู้ใช้ได้ทางช่องทาง เช่น การใช้ cookie ในเบราว์เซอร์เพื่อติดตามข้ามเว็บ และการใช้หมายเลขประจำตัวอุปกรณ์สำหรับการโฆษณา (AdID บนแอนดรอยด์ และ IDFA บน iOS) แต่ปัจจุบันเบราว์เซอร์ต่างๆ เริ่มจำกัดการใช้ cookie ข้ามเว็บให้ใช้งานได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่หมายเลขประจำตัวอุปกรณ์นั้น ทางแอปเปิลก็กำลังจำกัดการใช้งานใน iOS เร็วๆ นี้
Facebook ออกแคมเปญใหม่ในชื่อ Good Ideas Deserve to be Found หรือไอเดียดี ๆ ควรถูกค้นพบ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของโฆษณาแบบปรับแต่งเฉพาะบุคคล (Personalized Ad) ว่าช่วยให้ผู้ใช้งานได้ค้นพบธุรกิจหรือบริการ ที่เขาชื่นชอบและได้ร่วมสนับสนุนธุรกิจเหล่านั้น
แคมเปญนี้เป็นการต่อสู้กับระหว่าง Facebook กับแอปเปิลรอบล่าสุด ในประเด็นการปรับค่าความเป็นส่วนตัวบน iOS 14 ที่ส่งผลต่อการทำโฆษณาแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Target Ad) ซึ่งก่อนหน้านี้ Facebook ย้ำว่ากระทบกับธุรกิจขนาดเล็ก
หลังจากรายงานผลเบนช์มาร์ค ว่าซีพียู Tiger Lake ใช้งานได้ดีกว่า Apple M1 อินเทลก็จัดแคมเปญเพื่อชูจุดเด่นของพีซีออกมาอีกชุด
โดยแคมเปญนี้อินเทลได้นำเสนอผ่านบัญชีทวิตเตอร์ ในชื่อ Go PC โดยโพสต์แรกพูดถึงคุณสมบัติการเล่นเกม ยกตัวอย่างเกม Rocket League ที่เล่นได้บนพีซี Windows แต่ไม่มีบน macOS ส่วนอีกโพสต์พูดถึงระบบหน้าจอสัมผัส ที่แท็บเล็ต Windows ซีพียูอินเทลมีให้ใช้งานเป็นตัวเลือก ขณะที่ Mac ไม่มีแบบจอสัมผัส
การแข่งขันอเมริกาฟุตบอล Super Bowl ครั้งที่ 55 ได้จบลงไปเรียบร้อย หนึ่งในสีสันจากการถ่ายทอดสดคือโฆษณาในช่วงการแข่งขัน ซึ่งมีอัตราค่าโฆษณาที่สูงมาก และในปีนี้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ก็ได้ซื้อโฆษณาในช่วงเวลานี้เช่นกัน หลายบริษัทเป็นขาประจำมาหลายปีแล้ว บางรายเพิ่งซื้อโฆษณาเป็นครั้งแรก
เริ่มกันที่ Reddit เว็บบอร์ดที่สร้างปรากฏการณ์ให้กับหุ้น GameStop จากห้อง Wallstreetbets ได้ซื้อโฆษณาเพื่อฉายในบางเมืองเป็นเวลา 5 วินาที โดยย้ำพลังของ Reddit จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น ส่วนเหตุที่ซื้อได้เพียง 5 วินาที เพราะบริษัทมีงบการตลาดเท่านี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ iOS 14 คือนโยบายเรื่องความเป็นส่วนตัว App Tracking Transparency (ATT) ที่ส่งผลกระทบต่อการติดตามตัวบุคคลในโฆษณาออนไลน์ แบบสั้นๆ คือแอปเปิลปิดไม่ให้เข้าถึง Advertising Identifier (IDFA) ทำให้การโฆษณาแบบเจาะจงตัวบุคคลทำได้ยากขึ้นมาก
Facebook เป็นบริษัทที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจาก ATT และออกมาพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง และล่าสุดมีข่าวว่าจะฟ้องแอปเปิลเรื่องนี้
แอปเปิลยืนยันว่าจะบังคับใช้ฟีเจอร์ AppTrackingTransparency (ATT) ใน iOS 14 ภายในต้นปี 2021 หลังจากเลื่อนการบังคับใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อให้ผู้ลงโฆษณาได้มีเวลาปรับตัว
ATT บังคับให้ผู้พัฒนาแอปต้องขออนุญาตผู้ใช้เมื่อต้องการติดตามผู้ใช้ผ่านทางข้อมูลใดๆ ทั้ง advertising ID ที่ขอจากตัว iOS เอง หรือจะเป็นข้อมูลอื่นที่ตัวแอปมีอยู่แล้ว เช่น อีเมล, ค่าประจำตัวอื่นๆ
GoJek บริการเรียกรถโดยสารและ O2O จากอินโดนีเซีย ประกาศตั้งธุรกิจใหม่ GoScreen แพลตฟอร์มสื่อโฆษณาดิจิทัลนอกบ้าน (Digital Out of Home - DOOH) ซึ่งเป็นป้ายโฆษณาติดตั้งไปกับรถมอเตอร์ไซด์ของผู้ให้บริการ
บริการนี้จะเริ่มที่เมืองจาการ์ตาแห่งแรก หลังจากทดสอบตลาดในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา และจะขยายไปสู่เมืองต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีเป้าหมายติดตั้งจอโฆษณาบนมอเตอร์ไซด์ให้ได้ 20,000 คัน ภายในปีหน้า
GoJek กล่าวว่าโฆษณารูปแบบนี้มีจุดเด่นในการเคลื่อนที่ไปจุดต่าง ๆ แม้ตามถนนสายรอง ทำให้ผู้ซื้อโฆษณาสามารถเลือกลงโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายและกำหนดช่วงเวลาได้ตรงมากยิ่งขึ้น และยังสามารถตรวจวัดผลได้แบบเรียลไทม์
YouTube เผย จะยกเลิกการซื้อโฆษณาแบบปรากฏบนหน้าโฮมเพจแบบเต็มวันในปี 2021 โดยชี้ว่าจะช่วยให้ผู้ลงโฆษณาจัดการงบโฆษณาของตัวเองได้ยืดหยุ่นมากขึ้น
YouTube เผยว่า ที่ผ่านมา มีเสียงสะท้อนจากผู้ลงโฆษณาว่า ขอให้ใช้ตัวเลือกที่ยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับการแสดงโฆษณาตรงแบนเนอร์ด้านบนสุดของ YouTube ดังนั้น YouTube จึงเปิดทางเลือกโฆษณาแบบใหม่คือ cost-per-thousand (CPM) เมื่อปี 2019 และในปี 2021 ที่จะถึงนี้ จะใช้ CPM เป็นทางเลือกหลักในการแสดงโฆษณาบนหน้าโฮมเพจ
จากกรณี NBA 2K21 แทรกโฆษณาในเกมแบบกดข้ามไม่ได้ ทางต้นสังกัด 2K Games ออกมาชี้แจง (หรือเปล่า?) ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ตั้งใจให้เกิด
2K Games บอกว่าโฆษณาที่ขึ้นมาแทรกเป็นส่วนหนึ่งของ 2KTV ที่มีโฆษณามาหลายปีแล้ว (แปลว่ายอมรับกันไปเถิด) แต่โฆษณารอบล่าสุดนั้นกระทบกับประสบการณ์ของผู้เล่น เพราะโฆษณานี้ไม่ควรขึ้นแสดงตอนฉากแนะนำก่อนเริ่มแมตช์แข่งขัน
2K Games บอกว่าจะแก้ไขปัญหานี้ในการอัพเดต episode ถัดๆ ไป และขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นจากแฟนเกม
แน่นอนว่าคำชี้แจงแบบไม่ค่อยกระจ่างมากนักของ 2K ย่อมโดนแฟนๆ ตามถล่มกันต่อไป
ก่อนหน้านี้เพิ่งมีกรณี EA แทรกโฆษณาบังหน้าจอในเกมต่อสู้ UFC 4 ที่เพิ่งวางขาย ล่าสุดเกิดประเด็นแบบเดียวกันกับเกมกีฬา NBA 2K21 ของ 2K Games ที่เป็นคู่แข่งกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกม NBA 2K21 เพิ่มโฆษณาช่วงก่อนเข้าแมตช์ (ขณะกำลังรอโหลด) โดยเป็นโฆษณาของแว่น Oculus Quest 2 ที่กดข้ามไม่ได้ซะด้วย และโฆษณานี้เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาหลังเกมวางขายได้ประมาณ 1 เดือน
เกมซีรีส์ NBA 2K เคยมีประเด็นยัดเยียดโฆษณาแบบเดียวกันในภาคที่แล้ว 2K20 และโดนแฟนๆ รุมถล่มเช่นกัน เพราะเป็นเกมราคาเต็ม 59 ดอลลาร์ (แถมปีนี้ เวอร์ชัน PS5 และ Xbox Series X ขึ้นราคาเป็น 69 ดอลลาร์)
ต่อจากข่าว EA แทรกโฆษณาบังหน้าจอในเกมต่อสู้ EA Sports UFC 4 ที่เพิ่งวางขาย
ตัวแทนของ EA มาตอบกระทู้ Reddit ต้นเรื่อง ยอมรับว่าผลตอบรับจากผู้เล่นออกมาแย่ ทำให้ทีมงานตัดสินใจปิดโฆษณาตัวนี้แล้ว และขอโทษต่อความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น พร้อมสัญญาว่าจะไม่มีโฆษณาระหว่างรีเพลย์แบบนี้อีก
ถ้าไม่มีประเด็นทะเลาะกับบรรดาเกมเมอร์คงไม่ใช่ EA ขนานแท้ ล่าสุด EA มีประเด็นกับผู้เล่นเกมกีฬาต่อสู้ EA Sports UFC 4 ที่เพิ่งวางขายมาได้ไม่นาน เพราะแฟนๆ ซื้อเกมตัวเต็มในราคา 59.99 ดอลลาร์ แล้วต้องมาถูกบังคับให้ดูโฆษณาแบบบังเต็มหน้าจอ
โฆษณาของ UFC 4 จะถูกแสดงในจังหวะรีเพลย์การชก (ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นเวลาดูรีเพลย์ในรายการถ่ายทอดกีฬาทั่วไป) โดยเป็นโฆษณาซีรีส์ The Boys ที่ฉายบน Amazon Prime Video ถึงแม้ภาพโฆษณาถูกแสดงเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่การขึ้นโชว์ทุกครั้งที่รีเพลย์ ก็คงสร้างหงุดหงิดให้ผู้เล่นที่จ่ายเงินซื้อเกมราคาแพง ไม่ใช่เกมแบบ free-to-play แต่อย่างใด (นอกจากนี้ยังมีโฆษณาโลโก้ซีรีส์ The Boys ขึ้นตรงนาฬิกาเป็นระยะๆ ด้วย)
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงบน iOS 14 ที่แอปเปิลไม่ได้บอกคือผู้ใช้ต้องให้อนุญาตแอปเพื่อเก็บข้อมูล Advertising Identifier (IDFA) ของตัวเครื่อง ซึ่งเปรียบเสมือนการเก็บคุกกี้บนเบราว์เซอร์ สำหรับการทำ Target Ads
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกระทบการเก็บ IDFA เพื่อทำโฆษณาของหลายบริษัทโดยเฉพาะ Facebook เต็ม ๆ ที่ออกมายอมรับพร้อมเตือนพาร์ทเนอร์ให้เตรียมตัวว่าผู้ใช้ iOS 14 ส่วนใหญ๋น่าจะเลือกไม่อนุญาตและจะกระทบกับเครือข่ายโฆษณา Audience Network ทำให้การทำ Target Ads มีความแม่นยำน้อยลงและพับลิชเชอร์จะได้รับเงินผ่าน Audience Network น้อยลงด้วย
นอกจากนี้ Facebook SDK ที่จะอัพเดตให้รองรับ iOS 14 จะปรับไปใช้ SKAdNetwork API ของแอปเปิล ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลที่จะถูกเก็บเพื่อติดตามผลการโฆษณาลดน้อยลง
ปกติแล้ว โฆษณาในเครือข่ายของกูเกิลจะมีตัว i เล็กๆ ตรงมุมขวาบน ที่กดแล้วเจอหน้า Why this ad ที่อธิบายว่าทำไมเราจึงเห็นโฆษณาชิ้นนี้ (เช่น ผู้ลงโฆษณาเจาะจงความสนใจหรือช่วงอายุของเรา หรือ ผู้ลงโฆษณาอัพโหลดข้อมูลระบุตัวตนของเราอย่างอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์)
ล่าสุดกูเกิลประกาศเพิ่มความโปร่งใสให้หน้าแสดงข้อมูลโฆษณา โดยจะเปลี่ยนชื่อหน้านี้เป็น About this ad พร้อมแสดงชื่อและประเทศของผู้ลงโฆษณาเพิ่มเข้ามาด้วย หน้าข้อมูลแบบใหม่จะเริ่มจากโฆษณาประเภทแบนเนอร์ (display ads) และจะขยายไปยังโฆษณาประเภทอื่นๆ ต่อไป
eBay ประกาศบรรลุข้อตกลงในการขายธุรกิจโฆษณาแบบคลาสสิฟายด์ ให้กับ Adevinta โดยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินสด 2,500 ล้านดอลลาร์ และหุ้นของ Adevinta อีก 44% คิดเป็นมูลค่าดีลราว 9,200 ล้านดอลลาร์
Adevinta เป็นบริษัทด้านการทำคลาสสิฟายด์แบบออนไลน์ที่ดำเนินงานอยู่ใน 15 ประเทศ ขณะที่ธุรกิจคลาสสิฟายด์ของ eBay ก็ดำเนินงานใน 13 ประเทศ ภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ รวม 12 แบรนด์ หลังการควบรวมนี้ทำให้ eBay จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน Adevinta ขณะเดียวกันก็จะเป็นบริษัทด้านคลาสสิฟายด์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดำเนินงานใน 20 ประเทศ
หลังจากประกาศเข้าซื้อกิจการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องรอการรับรองจากหลายประเทศ
ล่าสุด Google ยืนยันกับคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ว่าจะไม่ใช้ข้อมูลข้อมูลสุขภาพที่ได้จาก Fitbit ในการยิงโฆษณา ด้วยหวังว่าจะได้รับการรับรองการซื้อกิจการ Fitbit สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ทาง EU ได้ส่งแบบสอบถาม 60 ข้อเกี่ยวกับผลกระทบจากการซื้อขายไปยัง Google เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
โฆษกของ Google เผยว่า การซื้อขายในครั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับตัวอุปกรณ์มากกว่าข้อมูล และยินดีที่ได้ชี้แจงกับทางคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าทางบริษัทจะไม่ใช่ข้อมูลที่ได้จาก Fitbit เพื่อการโฆษณา
The New York Times รายงานอ้างอิงคนวงในว่า เฟซบุ๊กกำลังพิจารณามาตรการแบนโฆษณาการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่มาตรการนี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุยและชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจ
การพูดคุยถึงมาตรการนี้เริ่มมีตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยทางเฟซบุ๊กได้พูดคุยกับกลุ่มการเมืองและแคนดิเดตที่ลงสมัครเพื่อรับฟังฟีดแบ็คด้วย แต่เรื่องนี้กลับมาถูกให้ความสำคัญอีกครั้งหลังไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเจอมรสุมอีกรอบจากท่าทีที่นิ่งเฉยของ Mark Zuckerberg ต่อโพสต์ของทรัมป์ โดยการถกเถียงภายในอยู่ที่ประเด็นว่า การแบนโฆษณาการเมืองเป็นการปิดปากกลุ่มคนบางกลุ่ม หรือปล่อยให้โฆษณา แต่อาจเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและส่งผลต่อการออกเสียงเลือกตั้ง
Google ออกนโยบายแบนโฆษณาที่มีเนื้อหาโปรโมทสปายแวร์ เทคโนโลยี หรือบริการที่ใช้ในการเฝ้าติดตามบุคคลโดยไม่ได้รับคำยินยอม เช่น มัลแวร์ที่ใช้ในการดักจับข้อความ การโทร ประวัติการท่องเว็บ, เครื่องติดตาม GPS สำหรับสอดแนม เป็นต้น เริ่มใช้จริงในเดือนสิงหาคมนี้
นโยบายดังกล่าวครอบคลุมโฆษณาที่โปรโมทการสอดแนมทุกรูปแบบ แต่จะไม่รวมถึง บริการนักสืบเอกชน หรือผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบมาเพื่อเฝ้าสังเกตบุตรหลานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้ใช้งานมือถือ Samsung รุ่นพับได้ Galaxy Z Flip (ที่ราคาแพงกว่าเรือธงปกติด้วยซ้ำ) ในอเมริกา เริ่มออกมาโวยว่าทำไมในแอป Phone ที่ใช้โทรออก ดันมีโฆษณาโผล่ขึ้นมาในหมวด Places ได้ ซึ่งหมวด Places สำหรับโทรศัพท์ Samsung ในอเมริกา จะเป็นฟังก์ชั่นที่ร่วมกับแอป Yelp เพื่อแนะนำร้านอาหารต่างๆ และหลังจากมีประเด็นนี้ Max Weinbach นักเขียนของเว็บ Android Police จึงได้ลองติดตามเรื่องนี้เพื่อดูว่าเป็นโฆษณาจาก Yelp หรือเปล่า ก่อนจะพบว่าเป็นโฆษณาที่มาจากฝั่ง Samsung เอง
PlayStation เป็นรายล่าสุดที่เข้าร่วมแคมเปญ #StopHateForProfit และประกาศบอยคอตศการจ่ายเงินโฆษณาบน Facebook และ Instagram โดยนอกจากโฆษณาแล้ว PlayStation ยังระงับการทำกิจกรรมบนทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการโพสต์คอนเทนท์ปกติด้วย และการบอยคอตของ PlayStation จะมีไปจนถึงสิ้นเดือนนี้
แม้ตอนนี้ Facebook จะกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากแบรนด์ใหญ่ไม่น้อยกว่า 400 แบรนด์ จากการเพิกเฉยต่อโพสต์ Hate Speech ของทรัมป์โดยอ้าง Free Speech ทว่า The Information รายงานอ้างอิงพนักงาน Facebook ระบุว่า Mark Zuckerberg มองว่าการบอยคอตนี้จะสิ้นสุดและโฆษณาจากบริษัทเหล่านี้จะกลับมาในไม่ช้า
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ออกรายงานผลการศึกษาแพลตฟอร์มออนไลน์และโฆษณาดิจิทัล (online platforms and digital advertising) พบว่า Google และ Facebook มีอำนาจเหนือตลาดโฆษณาดิจิทัล แต่กฎหมายในปัจจุบันไม่สามารถจัดการได้
รายงานของ CMA ระบุว่าตลาดโฆษณาดิจิทัลของสหราชอาณาจักรในปี 2019 มีมูลค่า 14 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 5.4 แสนล้านบาท) ซึ่ง 80% ของเม็ดเงินธุรกิจนี้ถูกครอบครองโดย Google และ Facebook
หากแยกย่อยตามประเภทธุรกิจ Google ครองสัดส่วนโฆษณา search ราว 90% (มูลค่าตลาด 7.3 พันล้านปอนด์) และ Facebook ครองสัดส่วนโฆษณาแบบแสดงผล (display ads) ราว 50% (มูลค่าตลาด 5.5 พันล้านปอนด์)
จนถึงตอนนี้ มีธุรกิจแห่บอยคอต Facebook จากปัญหา Hate Speech ร่วมกว่า 400 แบรนด์แล้ว ตัวอย่างแบรนด์ใหญ่ๆ คือ Coca-Cola, Starbucks, Verizon ชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการบอยคอตในวงกว้างคือ Facebook นิ่งเฉยต่อโพสต์คุกคามผู้ประท้วงของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ลบออก และไม่แปะป้ายเตือนว่าเป็นเนื้อหารุนแรง
เว็บไซต์ Axios อ้างว่าได้เห็นเอกสารภายในของไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่าบอยคอตการลงโฆษณาใน Facebook มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว
เอกสารนี้อ้างอิงโพสต์ของ Chris Capossela ประธานฝ่ายการตลาด (CMO) ของไมโครซอฟท์ที่โพสต์ในระบบ Yammer ภายในบริษัท ระบุว่าไมโครซอฟท์หยุดจ่ายเงินโฆษณาในสหรัฐอเมริกาให้ Facebook/Instagram ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และจะขยายนโยบายนี้ไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย
Capossela ยังระบุในโพสต์ว่าไมโครซอฟท์หารือไปยังฝ่ายบริหารของ Facebook ถึงวิธีแก้ไขปรับปรุงตัวเอง เพื่อให้ไมโครซอฟท์กลับไปลงโฆษณาอีกครั้ง ซึ่ง Capossela คาดว่าไมโครซอฟท์จะหยุดลงโฆษณาไปจนถึงอย่างน้อยเดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่ผ่านมาเราเห็นข่าว แบรนด์สินค้าหลายราย เช่น North Face, Patagonia, Verizon ระงับการลงโฆษณาใน Facebook ประท้วงที่ไม่สามารถจัดการปัญหา hate speech ได้
รอบวันที่ผ่านมา มีอีก 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลกคือ Unilever และ Coca-Cola ที่ประกาศหยุดลงโฆษณาในโซเชียลทั้งหมด (ไม่ใช่แค่ Facebook) เพื่อประท้วงเช่นกัน
Unilever ใช้มาตรการแรงคือจะหยุดจ่ายเงินโฆษณาบนโซเชียล (ที่ระบุชื่อคือ Facebook, Instagram, Twitter) ไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปีนี้ (มีผลเฉพาะงบโฆษณาของ Unilever ในสหรัฐ) โดยจะนำงบโฆษณาเหล่านี้ย้ายไปลงสื่อประเภทอื่นแทน
Chrome ประกาศแผนการแบนโฆษณาที่กินทรัพยากรสูง (resource-heavy ads) ที่ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานเบราว์เซอร์
เงื่อนไขของโฆษณาที่กินทรัพยากรสูง จะต้องเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง
Chrome ยกตัวอย่างโฆษณากลุ่มนี้คือ โฆษณาที่แอบฝั่งสคริปต์ขุดคริปโต หรือโฆษณาที่เขียนโปรแกรมมาไม่ดี ไม่ได้ปรับแต่งทรัพยากรให้เหมาะสม เมื่อถึงขีดจำกัดที่ Chrome ตั้งไว้ โฆษณากลุ่มนี้จะถูกบล็อค กลายเป็นช่องว่างๆ ที่เขียนว่า "Ad removed" แทน