เมื่อวานนี้มีผู้ใช้ Reddit โพสต์ภาพสกรีนช็อตจาก YouTube ที่เด้งแจ้งเตือน ไม่อนุญาตให้ใช้งานระบบ Ad Blocker บน YouTube ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดูคลิปได้ พร้อมตัวเลือกปิด Ad Blocker หรือไปใช้ YouTube Premium ซึ่งก็ชี้ว่า YouTube น่าจะเริ่มจริงจังกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
ทาง IGN สอบถามไปยัง YouTube ก่อนได้คำตอบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการทดสอบเล็กๆ เท่านั้น โดยเปิดทดสอบทั่วโลก ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง
กูเกิลประกาศปรับแผนการเลิกใช้ API ส่วนขยายแบบเก่า Manifest V2 โดยยืดเวลาจากที่เคยประกาศไว้เล็กน้อย
Mozilla เผยสถิติการใช้งานส่วนขยาย (extension) ของ Firefox ประจำปี 2021 มีการติดตั้งส่วนขยายไปทั้งหมด 109.5 ล้านครั้ง และธีมจำนวน 17.3 ล้านครั้ง (นับตามจำนวน install ต่อเครื่อง) รวม 127 ล้านการติดตั้ง คิดเป็นสัดส่วน 1/3 ของผู้ใช้ Firefox ทั้งหมดประมาณ 400 ล้านคน
ส่วนขยายยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ AdBlock Plus มีผู้ใช้เฉลี่ยต่อวัน 6.13 ล้านคน ตามมาด้วย uBlock Origin ที่ 5 ล้านคน โดย uBlock Origin ได้รับความนิยมเพิ่มอย่างรวดเร็ว และถ้ายังสร้างโมเมนตัมได้ต่อเนื่อง อาจแซงหน้า Adblock Plus ได้่สำเร็จในช่วงต้นปี 2022
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium คือเมื่อปลายปี 2020 Chrome เริ่มใช้ API ส่วนขยายแบบใหม่ที่เรียก Manifest V3 ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนขยายกลุ่มบล็อคโฆษณาทั้งหลาย ทำให้เกิดการถกเถียงกันมายาวนาน (ประเด็นถกเถียงสำคัญคือกูเกิล "ตั้งใจ" เปลี่ยน API เพื่อไม่ให้บล็อคโฆษณาได้เยอะเหมือนเดิมหรือไม่)
Chrome 88 เป็นเวอร์ชันแรกที่รองรับ Manifest V3 แต่ก็ยังรองรับ Manifest V2 รุ่นเดิมควบคู่กันไปอยู่ โดยกูเกิลบอกว่าจะให้เวลาเปลี่ยนผ่านประมาณ 1 ปี
ล่าสุดกูเกิลออกมาประกาศแผนที่แน่ชัดแล้ว
เมื่อต้นปี 2019 ทีมงาน Chrome เสนอสเปก API ชื่อ Manifest V3 ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมหน้าเว็บของส่วนขยายเบราว์เซอร์ ตัวบล็อคโฆษณาต้องขอให้เบราว์เซอร์ทำหน้าที่บล็อคโฆษณาให้ ข้อดีคือความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น แต่ส่งผลกระทบให้ตัวบล็อคโฆษณาใช้วิธีเดิมไม่ได้อีก
ข้อเสนอ Manifest V3 เป็นประเด็นถกเถียงกันมากมาย กูเกิลก็ยอมถอยบางก้าว และสุดท้ายเริ่มใช้งานใน Chrome 88 ช่วงปลายปี 2020
วงการเบราว์เซอร์สัปดาห์นี้มีประเด็นใหญ่คือ Chrome 88 Beta เปิดใช้ Manifest V3 ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนขยายบล็อคโฆษณาจำนวนมาก
Manifest V3 เป็นประเด็นมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 หลังวิศวกรกูเกิลเปิดเผยสเปก API ใหม่ ที่ห้ามส่วนขยายแก้ไขหน้าเว็บเพจเองผ่าน webRequest API และให้ไปเรียกใช้ declarativeNetRequest API ที่ให้เบราว์เซอร์เป็นฝ่ายแก้หน้าเพจแทน โดยเหตุผลของกูเกิลคือเรื่องความปลอดภัย ลดโอกาสที่ส่วนขยายจะเห็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนหน้าเพจ
ไมโครซอฟท์ประกาศทดสอบรองรับ Manifest V3 สเปคส่วนเสริมเบราว์เซอร์ที่ออกโดยกูเกิล โดย Manifest V3 จะถอด API บางส่วนออกจนทำให้ตัวบล็อคโฆษณาหลายยี่ห้อใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ดีไมโครซอฟท์สัญญาว่าจะแก้ข้อจำกัดนี้ก่อนจะถอด API เดิมไปจริงๆ
API เดิมที่ตัวบล็อคโฆษณาใช้งานกันคือ Web Request API ที่เปิดให้ส่วนเสริมสามารถดัดแปลงแก้ไขข้อมูลเว็บก่อนแสดงบนเบราว์เซอร์ได้ ขณะที่ Manifest V3 เพิ่ม Declarative Net Request API ที่เป็นการใส่กฎเพื่อให้เบราว์เซอร์เป็นคนดัดแปลงแก้ไขข้อมูลเอง แนวทางนี้ลดความเสี่ยงส่วนเสริมที่อันตรายลงไปแต่ก็แลกกับความยืดหยุ่นที่น้อยลง โฆษณาสเปคของกูเกิลกำหนดให้ใส่กฎแก้ไขข้อมูลได้ไม่เกิน 30,000 ข้อ
Vivaldi เบราว์เซอร์ทางเลือกเพื่อผู้ใช้ power user โดยอดีตซีอีโอ Opera ได้ประกาศออกเวอร์ชัน 3.0 ที่มุ่งเน้นไปยังฟีเจอร์รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยได้เพิ่มทั้งระบบบล็อคโฆษณาและความสามารถในการบล็อคตัวติดตามผู้ใช้งานบนเว็บไซต์เข้ามาในอัพเดตนี้
รายละเอียดของใหม่พอสรุปได้ดังนี้
Chrome เริ่มบล็อคโฆษณา "ที่น่ารำคาญ" มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 โดยอ้างอิงนิยามของกลุ่ม Coalition for Better Ads ที่กูเกิลร่วมกับเฟซบุ๊กก่อตั้งในปี 2016 เพื่อตอบโต้ซอฟต์แวร์บล็อคโฆษณา
ล่าสุดกลุ่ม Coalition for Better Ads ขยายผลเรื่องโฆษณาที่น่ารำคาญมายังวิดีโอ โดยนิยามโฆษณาวิดีโอที่ผู้ใช้ไม่ชอบ 3 รูปแบบ จากการสำรวจความเห็นของผู้ใช้ 45,000 คนใน 8 ประเทศ
Google เปิดตัวตัวบล็อคโฆษณาบน Chrome มาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยทดลองใช้ในอเมริกาเหนือและยุโรปก่อน ล่าสุดวันนี้ฟีเจอร์นี้ถูกเปิดใช้งานแล้วทั่วโลกตามที่กูเกิลประกาศไว้
แนวทางการบล็อคโฆษณาของ Chrome จะอิงกับมาตรฐานของ Coalition’s Better Ads ที่รวบรวมความเห็นจากผู้ใช้หลายหมื่นคน ว่าไม่ชอบประสบการณ์ใช้งานเว็บแบบใด ซึ่งก็มีโฆษณาประเภทที่ใหญ่ทับเนื้อหาในหน้าจอ โฆษณาที่ปิดไม่ได้ต้องรอเวลานับถอยหลัง โฆษณาที่เล่นวิดีโออัตโนมัติแถมเปิดเสียง โฆษณาที่บังเนื้อหาส่วนใหญ่ของจอ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ Google ได้เสนอปรับสเปค API ของ Chromium หรือ Manifest v3 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า โดยจุดสำคัญของอัพเดตครั้งนี้จะส่งผลต่อส่วนขยายบล็อคโฆษณาบน Chrome เพราะ API ใหม่ไม่เปิดให้ส่วนขยายจัดการกับ request โดยตรงเหมือนเดิม
ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะนักพัฒนารวมถึงผู้ใช้ไม่พอใจกับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จนทำให้ Brave, Opera และ Vivaldi สามเบราว์เซอร์ที่ใช้ Chromium เป็นฐานเหมือนกับ Chrome ได้ประกาศออกมาชัดเจนว่าจะซัพพอร์ต API เดิมต่อไป
หากยังจำกันได้ Google เคยเสนออัพเดตสเปค Manifest v3 ซึ่งจะส่งผลต่อตัวบล็อคโฆษณาที่ทำงานอยู่บน Chromium แม้ภายหลัง Google จะยอมถอย แต่สุดท้าย Google ก็ประกาศออกมาว่าเทคโนโลยีเก่า ๆ จะอยู่เฉพาะผู้ใช้ Chrome เวอร์ชันองค์กรเท่านั้น ส่วนเวอร์ชันปกติที่ใช้กันจะได้รับผลกระทบแน่นอน ซึ่ง Manifest v3 จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมปีหน้า
เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมา Opera for Android ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 50 โดยได้เพิ่มการรองรับโหมด picture-in-picture ที่มีอยู่บนระบบปฏิบัติการ Android 8 ขึ้นไป ทำให้สามารถสั่งเล่นวิดีโอขนาดเล็กจาก Opera และใช้งานแอพอื่นๆ ไปพร้อมๆ กันได้ดังภาพ
Spotify เริ่มแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อตัวบล็อกโฆษณามากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดทางบริษัทได้อัพเดตข้อตกลงการใช้บริการใหม่ที่กำหนดว่าผู้ที่ใช้ตัวบล็อกโฆษณากับ Spotify อาจถึงขั้นถูกระงับบัญชีได้
Spotify ระบุว่าหากผู้ใช้หลีกเลี่ยงหรือบล็อกโฆษณาใน Spotify หรือสร้างและกระจายเครื่องมือที่ออกแบบมาให้บล็อกโฆษณาใน Spotify อาจทำให้ผู้ใช้ถูกระงับบัญชี Spotify ได้ทั้งแบบชั่วคราวและถาวรได้ในทันที
หลังกฎ GDPR ของยุโรปบังคับใช้ สิ่งที่จับต้องได้อย่างชัดเจนคือเว็บไซต์จำนวนมากจะแสดงข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ว่า ใช้งานคุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัว ข้อเสียสำคัญคือหน้าจอคุกกี้เหล่านี้มักบังส่วนสำคัญของเว็บเพจ จนทำให้เกิดความรำคาญไม่ต่างอะไรกับโฆษณาบางประเภท
Opera for Android เวอร์ชันล่าสุด 48.0 จึงขยายฟีเจอร์ ad blocking ไปอีกขั้น เพิ่มตัวเลือก block cookie dialogs เพื่อปิดการแสดงผลหน้าจอคุกกี้เหล่านี้ด้วย (ผู้ใช้จำเป็นต้องเปิดใช้กันเองในหน้า Settings ไม่ได้เปิดมาเป็นดีฟอลต์)
เบราว์เซอร์ Microsoft Edge เวอร์ชัน Android และ iOS เพิ่มฟีเจอร์บล็อคโฆษณาโดยร่วมมือกับ AdBlock Plus
ตอนนี้ Edge ยังทดสอบฟีเจอร์นี้ในกลุ่มจำกัด (ต้องเป็นเวอร์ชัน test จึงจะใช้ได้) และจะทยอยเปิดให้ใช้งานในวงกว้างต่อไป
ที่มา - The Verge
หลัง Chrome เริ่มเปิดใช้งานตัวบล็อคโฆษณา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ โดยรูปแบบการบล็อคโฆษณาคือ "บล็อคทั้งไซต์" ที่ถูกกูเกิล blacklist เอาไว้เท่านั้น (ผู้ใช้ไม่มีสิทธิเลือกบล็อคเอง)
โฆษกของกูเกิลให้ข้อมูลกับ Wired ว่า เว็บไซต์ที่ถูกบล็อคมีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น โดยจาก 100,000 เว็บไซต์ยอดนิยมสูงสุดในอเมริกาเหนือและยุโรป มีเพียง 1% ที่เข้าข่ายถูกบล็อคโฆษณา
จากที่กูเกิลเคยประกาศไว้ว่า Chrome จะเริ่มบล็อคโฆษณาที่น่ารำคาญ นโยบายใหม่จะเริ่มมีผลใช้งานในวันพรุ่งนี้ (15 ก.พ. 2018) โดยฟีเจอร์บล็อคโฆษณาพร้อมใช้งานแล้วใน Chrome เวอร์ชันใหม่ๆ รอเพียงแค่กูเกิลกดสวิตช์เริ่มทำงานเท่านั้น
ผู้ใช้ Chrome และเจ้าของเว็บไซต์คงมีคำถามว่า ระบบบล็อคโฆษณาของ Chrome ทำงานอย่างไร และโฆษณาแบบใดบ้างที่จะถูกบล็อค
ด้วยความนิยมของการบล็อกโฆษณานั้น ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ที่ใช้โมเดลธุรกิจซึ่งรับเงินจากการโฆษณาไม่น้อย ตั้งแต่การบอกผู้ใช้แต่โดยดีไปจนถึงการหลีกเลี่ยงการบล็อกโดยการปรับตำแหน่งโฆษณาไปเรื่อย ๆ ล่าสุด มีรายงานผลการศึกษาจาก University of Iowa และ UC Riverside พบว่าตอนนี้มีเว็บไซต์ชื่อดังนับพันได้เริ่มมาตรการตอบโต้ระบบการบล็อกโฆษณา ซึ่งหลายเว็บนั้นกระทำแบบเงียบมาก ๆ และทำอย่างเชี่ยวชาญ
นักวิจัยได้ใช้ทดสอบโดยการเข้าเว็บไซต์หลายพันเว็บเป็นจำนวนหลาย ๆ ครั้ง โดยทดสอบทั้งแบบใช้ตัวบล็อกโฆษณาที่ติดตั้งบนเบราว์เซอร์ และไม่ใช้ ซึ่งจากข้อมูลที่สำรวจพบว่า 30.5% ของเว็บไซต์ 1 หมื่นเว็บไซต์ชื่อดังเริ่มใช้ระบบการตรวจจับตัวบล็อกโฆษณา และหลีกเลี่ยงการโฆษณาเพื่อให้ไม่โดนบล็อก
ก่อนหน้านี้ Google เคยประกาศเตรียมบล็อกโฆษณาที่สร้างความรำคาญมาแล้วตั้งแต่ต้นปี 2018 อย่างเช่นโฆษณาจำพวกเล่นเสียงอัตโนมัติ, ให้รอระยะเวลาหนึ่งก่อนจะกดเข้าไปยังหน้าเว็บ หรืออื่น ๆ ที่ทำลายประสบการณ์ท่องเว็บ ล่าสุด Google กำหนดวันมาแล้วคือ 15 กุมภาพันธ์นี้ที่จะเริ่มบล็อกโฆษณา
การบล็อกโฆษณาครั้งนี้ เป็นผลมาจากการเข้าร่วมกลุ่ม Coalition for Better Ads เพื่อสร้างมาตรฐานและระบุรูปแบบโฆษณาที่ไม่ดีไว้ใน Better Ads Standards ซึ่งมาตรฐานโดยกลุ่ม Coalition นี้ตั้งใจจะให้ผู้ใช้รับประสบการณ์ที่ดีจากการโฆษณา เพื่อให้เลิกใช้ตัวบล็อกโฆษณาเพราะเป็นการทำให้สูญเสียรายได้ต่อบริษัท
เมื่อไม่นานมานี้ เราเห็นข่าว หน้าเว็บ The Pirate Bay รันสคริปต์ขุดคอยน์บนเครื่องผู้ใช้ ล่าสุดแนวทางนี้กำลังกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และมีคนค้นพบว่าเว็บไซต์หลายแห่งเริ่มฝัง JavaScript สำหรับขุดเหมืองกันแล้ว
ข้อมูลนี้มาจากบริษัท AdGuard ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ad block ที่สำรวจเว็บไซต์ยอดนิยม 100,000 อันดับแรกของ Alexa เพื่อตรวจเช็คว่าแอบฝังสคริปต์ขุดเหมืองอย่าง CoinHive และ JSEcoin มาด้วยหรือไม่ ผลคือมีเว็บไซต์ถึง 220 แห่งที่ทำแบบนี้ และทำรายได้รวมกันไปแล้ว 43,000 ดอลลาร์
จากการที่ Google มีแผนจะปล่อยตัวบล็อคโฆษณาในช่วงต้นปี 2018 ในวันนี้ก็มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นกับโครงการนี้แล้วครับ
ตัวบล็อคโฆษณาเริ่มผนวกเข้ากับตัวเบราว์เซอร์ Chrome ในเวอร์ชั่น Dev และ Canary (62.0.3173.0) บนแอนดรอยด์โดยผนวกรวมเข้ากับตัวเบราว์เซอร์ โดยจะเปิดเป็นค่าเริ่มต้นทันทีเมื่อติดตั้งหรืออัพเดต สามารถเข้าไปเปิดและปิดตัวบล็อคได้จากหน้า "การตั้งค่าไซต์" บนแอนดรอยด์ โดยฟังก์ชั่นในตอนนี้จะยังไม่สามารถตั้งค่าอะไรได้มากนัก โดยจะใช้ข้อมูลของฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของไปก่อน
ที่มา - gHacks
กูเกิลต้านกระแสไม่ไหว ประกาศเพิ่มตัวบล็อคโฆษณาลงใน Chrome โดยจะเริ่มมีผลช่วงต้นปี 2018
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของตัวบล็อคโฆษณามากนัก โดยกูเกิลบอกเพียงว่าจะบล็อคโฆษณาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ Better Ads Standards ของกลุ่ม Coalition for Better Ads ที่กูเกิลและเฟซบุ๊กร่วมก่อตั้ง การบล็อคโฆษณาจะมีผลกับโฆษณาที่ยิงผ่านเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเองด้วย หากโฆษณาไม่ผ่านตามมาตรฐานดังกล่าว
เราอาจมองว่า นโยบายการใส่ตัวบล็อคโฆษณาของ Chrome จะช่วยลดความรำคาญของผู้ใช้ได้บางส่วน และไม่ต้องใช้ตัวบล็อคโฆษณาอื่น (เช่น AdBlock Plus) ที่อาจปิดกั้นโฆษณาทั้งหมดออกไป
สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานว่า Google เตรียมใส่ฟีเจอร์บล็อกโฆษณาลงมาในเว็บเบราว์เซอร์ Chrome พร้อมเปิดให้ผู้ใช้ทุกคนใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น โดยตอนนี้ฟีเจอร์ยังอยู่ระหว่างการดีล ซึ่งถ้า Google จะทำจริงน่าจะเปิดตัวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
การที่ Google ใส่ตัวบล็อกโฆษณาเข้ามาใน Chrome จะเน้นไปที่โฆษณาประเภท pop-over หรือโฆษณาที่เล่นเสียงหรือวิดีโออัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปต้องใช้งานตัวบล็อกโฆษณาจากนักพัฒนาภายนอก เช่น Adblock Plus
การที่ Google จะทำตัวบล็อกโฆษณาเองแม้ว่าทางบริษัทมีรายได้จากการโฆษณาสูงมาก น่าจะถูกตั้งคำถามจากอุตสาหกรรมโฆษณาแน่นอนว่าเป็นกีดกันหรือไม่ และน่าจะโดนสอดส่องจากหน่วยงานป้องกันการผูกขาดด้วย
Google, Facebook, บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง P&G, Unilever และสมาคมด้านโฆษณาหลายแห่ง รวมตัวกันตั้งกลุ่ม Coalition for Better Ads เพื่อพัฒนามาตรฐานของวงการโฆษณาออนไลน์ให้ดีขึ้น
กลุ่ม Coalition for Better Ads จะศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และร่วมกับห้องแล็บของ Interactive Advertising Bureau (IAB) พัฒนามาตรฐานโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง เพื่อแก้ไขปัญหาการบล็อคโฆษณา (ad blocking) จากผู้บริโภคที่รู้สึกรำคาญโฆษณาในรูปแบบเดิมๆ
ทางกลุ่มยอมรับว่าผู้บริโภคไม่พอใจกับโฆษณาแบบปัจจุบัน และมองว่าถ้าไม่ฟังเสียงผู้บริโภคก็ไม่มีทางอยู่รอดได้ ในขั้นแรก กลุ่มจะทำวิจัยผู้บริโภคโดยให้คะแนนโฆษณาและเผยแพร่ผลการวิจัยในไตรมาสที่สี่ของปีนี้
ที่มา - Coalition for Better Ads, Business Insider