Firefox เปลี่ยนมาใช้ระบบส่วนขยาย WebExtension แบบเดียวกับ Chrome มาตั้งแต่ปี 2017 แต่วิธีการใช้งานยังจำกัดว่าต้องติดตั้งส่วนขยายจาก addons.mozilla.com เท่านั้น (นักพัฒนาส่วนขยายบน Chrome ต้องนำไฟล์ของตัวเองขึ้นมาแจกจ่ายบนระบบของ Firefox ด้วย)
ล่าสุด Firefox เพิ่มฟีเจอร์ import ส่วนขยายจาก Chrome ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องเดียวกันแล้ว วิธีการใช้งานต้องเข้าไปยังหน้า about:config แล้วเปลี่ยนค่า browser.migrate.chrome.extensions.enabled เป็น True ก่อน
Mozilla ประกาศว่า Firefox for Android จะรองรับส่วนขยายจาก Firefox Desktop ในปีนี้ จากเดิมที่รองรับเฉพาะส่วนขยายจำนวนจำกัดมานานหลายปี
Firefox for Android จะสามารถเข้า addons.mozilla.org (AMO) เพื่อติดตั้งส่วนขยายได้เหมือนกับเวอร์ชันเดสก์ท็อป เหตุผลที่เพิ่งทำได้เป็นเพราะ Firefox for Android Nightly เพิ่งรองรับการทำงานแบบหลายโพรเซส ส่วนขยายจึงสามารถรันในโพรเซสแยกได้ และหากโดนระบบปฏิบัติการกำจัดโพรเซสทิ้ง ก็จะไม่กระทบโพรเซสหลัก
Mozilla ยังแนะนำให้นักพัฒนาส่วนขยาย เปลี่ยนวิธีการรันงานเบื้องหลังแบบ persistent มาเป็นการส่งค่าอีเวนต์แบบ non-persistent เพื่อให้ส่วนขยายกลับมาทำงานต่อได้ทันที แม้ปิดโพรเซสไป
Mozilla ระบุว่าจะประกาศวันเปิดตัวอีกครั้งในช่วงต้นเดือนกันยายน
ความนิยมของ VS Code ทำให้เกิดส่วนขยาย (extension) จำนวนมาก จนถึงขั้นฟอร์แมตส่วนขยายของ VS Code กลายเป็นมาตรฐานของวงการ และมี IDE ตัวอื่นนำไปใช้งาน โดยเฉพาะ IDE ที่ดัดแปลงต่อยอดมาจาก VS Code เช่น Code-OSS (VS Code เวอร์ชันไม่มีแบรนด์ไมโครซอฟท์), Eclipse Theia, Gitpod, Salesforce Code Builder, SAP Business Application Studio เป็นต้น
ช่วงกลางปี 2022 ไมโครซอฟท์เคยมีดราม่าหลังประกาศแนวทางส่วนขยาย C# ของ VS Code ว่าจะขยับไปใช้ชิ้นส่วนที่ไม่โอเพนซอร์ส ตอนนี้ส่วนขยายตัวใหม่ที่ว่าเปิดตัวแล้วในชื่อ C# Dev Kit
เดิมที ชุมชนผู้ใช้ VS Code สร้างส่วนขยายสำหรับภาษา C# ในชื่อโครงการ OmniSharp ซึ่งไมโครซอฟท์นำไปใช้งานต่อเป็น C# Extension
GitHub ออกส่วนขยาย GitHub Actions ให้กับ VS Code (เชื่อมจักรวาลไมโครซอฟท์ด้วยกันเอง) ช่วยให้นักพัฒนาสามารถจัดการเวิร์คโฟลว์ต่างๆ ได้จากตัว IDE โดยตรง
GitHub Actions เป็นบริการเวิร์คโฟลว์สำหรับสั่งงานอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนด เปิดตัวครั้งแรกในปี 2018 และอาศัยฐานนักพัฒนาจำนวนมากของ GitHub ขยายมาสู่บริการ CI/CD ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานที่พบบ่อยคือแก้โค้ด สั่ง push ขึ้น Git แล้วสั่งให้รัน unit/integration test ทุกครั้ง
ผู้ใช้ชื่อ @Leopeva64 ในทวิตเตอร์ ค้นพบฟีเจอร์ใหม่ของ Chrome 113 Canary เป็นปุ่มปิดการทำงานของส่วนขยายทั้งหมดในคลิกเดียว
เดิมทีผู้ใช้ Chrome ที่อยากปิดการทำงานของส่วนขยายจำเป็นต้องไล่ปิดส่วนขยายทีละตัว หรือเปิดหน้าต่าง Incognito ที่ปิดทำงานของส่วนขยายทั้งหมด แต่หลายกรณีเราอาจอยากปิดส่วนขยายทั้งหมดชั่วคราว (เช่น หาว่าส่วนขยายทำพฤติกรรมของเบราว์เซอร์เพี้ยนไปหรือไม่) การมีปุ่มเดียวแล้วจบก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากขึ้น
Mozilla ออก Firefox เวอร์ชัน 109 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ
หนึ่งในปัญหาล่าสุดของโลก Twitter ตอนนี้คือการเปิดบริการ Twitter Blue ในราคา 8 ดอลลาร์ที่ทำให้ใครก็สามารถโชว์เครื่องหมายถูกสีฟ้าตามหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องรอขั้นตอนยืนยันตัวตนแบบแต่ก่อนให้เสียเวลา ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดช่องให้คนสวมรอยเป็นคนอื่นได้เนียนๆ ง่ายขึ้นด้วยการจ่ายเงิน และยากที่ผู้ใช้ทั่วไปจะแยกออกว่าบัญชีที่มีเครื่องหมายนี้คือคนดังตัวจริง หรือเป็นบัญชีสำนักข่าว, บัญชีหน่วยงานรัฐ ของจริงหรือไม่
กูเกิลประกาศปรับแผนการเลิกใช้ API ส่วนขยายแบบเก่า Manifest V2 โดยยืดเวลาจากที่เคยประกาศไว้เล็กน้อย
ไมโครซอฟท์ประกาศแนวทางพัฒนาส่วนขยาย C# ของ Visual Studio Code ซึ่งบางส่วนจะใช้ไลเซนส์แบบปิด แตกต่างของตัวที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด
ส่วนขยาย C# ของ VS Code ในปัจจุบันเริ่มมาจากโครงการ OmniSharp ที่พัฒนาโดยชุมชนโปรแกรมเมอร์ และเริ่มพัฒนาในยุคแรกๆ ของ VS Code ที่มาตรฐานด้าน API และโปรโตคอลยังไม่นิ่ง
ในระยะถัดมา VS Code เพิ่มฟีเจอร์ Language Server Protocol (LSP) สำหรับเชื่อมต่อกับภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นๆ (ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานของวงการในเวลาต่อมา) แต่ตัวส่วนขยาย C# ของเดิมยังไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน LSP
ด้วยเหตุที่มีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้เลขไทยในเอกสารราชการ ซึ่งอาจส่งผลให้หลายฝ่ายเกิดความไม่สบายใจว่าเอกลักษณ์ความเป็นไทยอาจเลือนหายจนนำไปสู่การสิ้นชาติ เช่นนั้นแล้ว นักพัฒนาชาวไทยผู้มีใจรักชาติจึงได้สรรค์สร้างส่วนขยายของเบราว์เซอร์เพื่อแสดงผลเลขไทยแทนเลขอารบิค
ส่วนต่อขยายดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้จาก กิตฮับของผู้พัฒนา โดยปัจจุบันยังรองรับเฉพาะเบราว์เซอร์โครมและเอดจ์ ผู้ที่สนใจร่วมสืบสานและอนุรักษ์ความเป็นไทยสามารถตรวจสอบและติดตั้งส่วนขยายดังกล่าวได้ตามขั้นตอนที่ระบุในที่มา
Mozilla เผยสถิติการใช้งานส่วนขยาย (extension) ของ Firefox ประจำปี 2021 มีการติดตั้งส่วนขยายไปทั้งหมด 109.5 ล้านครั้ง และธีมจำนวน 17.3 ล้านครั้ง (นับตามจำนวน install ต่อเครื่อง) รวม 127 ล้านการติดตั้ง คิดเป็นสัดส่วน 1/3 ของผู้ใช้ Firefox ทั้งหมดประมาณ 400 ล้านคน
ส่วนขยายยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ AdBlock Plus มีผู้ใช้เฉลี่ยต่อวัน 6.13 ล้านคน ตามมาด้วย uBlock Origin ที่ 5 ล้านคน โดย uBlock Origin ได้รับความนิยมเพิ่มอย่างรวดเร็ว และถ้ายังสร้างโมเมนตัมได้ต่อเนื่อง อาจแซงหน้า Adblock Plus ได้่สำเร็จในช่วงต้นปี 2022
Red Hat เป็นผู้พัฒนาส่วนขยายภาษา Java ให้กับ Visual Studio Code มาตั้งแต่ปี 2016 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Language Support for Java by Red Hat ที่ไม่มีใครเรียก ทุกคนเรียก vscode-java) ผ่านมาหลายปี ส่วนขยายนี้เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium คือเมื่อปลายปี 2020 Chrome เริ่มใช้ API ส่วนขยายแบบใหม่ที่เรียก Manifest V3 ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนขยายกลุ่มบล็อคโฆษณาทั้งหลาย ทำให้เกิดการถกเถียงกันมายาวนาน (ประเด็นถกเถียงสำคัญคือกูเกิล "ตั้งใจ" เปลี่ยน API เพื่อไม่ให้บล็อคโฆษณาได้เยอะเหมือนเดิมหรือไม่)
Chrome 88 เป็นเวอร์ชันแรกที่รองรับ Manifest V3 แต่ก็ยังรองรับ Manifest V2 รุ่นเดิมควบคู่กันไปอยู่ โดยกูเกิลบอกว่าจะให้เวลาเปลี่ยนผ่านประมาณ 1 ปี
ล่าสุดกูเกิลออกมาประกาศแผนที่แน่ชัดแล้ว
แอปเปิลออกแบบหน้าจอ Safari ใหม่โดยมีส่วนสำคัญคือการย้ายส่วนแสดงแท็บขึ้นไปอยู่ระดับเดียวกับ URL และยังรองรับการจัดกลุ่มแท็บให้สลับไปมาระหว่างกลุ่มได้ง่ายขึ้น การจัดกลุ่มแท็บสามารถซิงก์ข้ามอุปกรณ์ได้ทั้ง Mac, iPad, และ iPhone
ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือการรองรับส่วนขยาย (web extension) สามารถดาวน์โหลดจาก App Store ได้ ก่อนหน้านี้แอปเปิลเข้าร่วมกับกูเกิล, ไมโครซอฟท์, และมอซิลล่า เพื่อตั้งกลุ่มทำงานออกมาตรฐานการทำงานส่วนขยายให้ตรงกันทุกเบราว์เซอร์ รอบนี้แอปเปิลประกาศรองรับส่วนขยายนี้บนทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง macOS, iPadOS, และ iOS
บริษัทผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ประกาศตั้งกลุ่ม WebExtensions Community Group (WECG) เพื่อให้ส่วนขยายของเบราว์เซอร์ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
ระบบส่วนขยายของเบราว์เซอร์ในปัจจุบันอิงจากแนวทางของ Chrome เป็นหลัก กรณีของ Edge ที่ใช้เอนจิน Chromium คงไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้มากนัก ส่วน Firefox หันมาใช้ฟอร์แมตแบบ Chrome ในปี 2015 และ Safari เป็นรายล่าสุดที่ตามมาในปี 2020
กูเกิลถอดส่วนขยาย The Great Suspender ออกจาก Chrome Web Store รวมถึงปิดการทำงานบนเครื่องของผู้ใช้ด้วย โดยให้เหตุผลว่าพบมัลแวร์ฝังอยู่ในส่วนขยายนี้
The Great Suspender เป็นส่วนขยายยอดนิยมตัวหนึ่งของ Chrome ทำหน้าที่ "พัก" แท็บที่ไม่ใช่งานนานๆ เพื่อประหยัดทรัพยากรเครื่อง ส่วนขยายตัวนี้เริ่มพัฒนาขึ้นเป็นโอเพนซอร์ส (GitHub) แต่ช่วงปลายปี 2020 มีการเปลี่ยนมือเจ้าของใหม่ที่ไม่ระบุชื่อชัดเจน โดยโค้ดเวอร์ชันที่ส่งขึ้น Chrome Web Store ไม่เหมือนกับเวอร์ชันที่เผยแพร่บน GitHub ซะทีเดียว
สำหรับผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์ Mac OS และ iOS เป็นหลัก แต่ก็ยังต้องใช้ Windows อยู่บ้าง อาจประสบปัญหาต้องใส่รหัสผ่านซ้ำอีกครั้งเมื่อย้ายเครื่อง หลังจากที่แอป iCloud เวอร์ชั่นล่าสุดบน Windows พบการ sync หมวด “รหัสผ่าน” เพิ่มเข้ามา แต่เมื่อกดใช้ จะมีข้อความบอกว่าต้องใช้กับตัวเสริม (extension) บน Chrome ซึ่งยังไม่มีให้ดาวน์โหลด
Six Colors เว็บข่าวสายแอปเปิล ชี้ประเด็นว่า Safari 14 เริ่มรองรับส่วนขยายที่พอร์ตจาก Chrome ได้มานานครึ่งปีแล้ว (เริ่ม มิ.ย. 2020) แต่มาถึงตอนนี้ยังแทบไม่มีส่วนขยายพอร์ตมาเลย
ปัญหาเกิดจากนโยบายของแอปเปิลเอง ที่บังคับให้ส่วนขยายต้องถูกครอบด้วยแพ็กเกจแอพแบบเนทีฟของ macOS ก่อน (แปลว่าต้องมี Xcode) แล้วส่งขึ้น Mac App Store เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ใช้ Safari ติดตั้งอีกที ไม่เหมือน Edge หรือ Firefox ที่สามารถติดตั้งไฟล์ส่วนขยายของ Chrome ได้ตรงๆ
วงการเบราว์เซอร์สัปดาห์นี้มีประเด็นใหญ่คือ Chrome 88 Beta เปิดใช้ Manifest V3 ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนขยายบล็อคโฆษณาจำนวนมาก
Manifest V3 เป็นประเด็นมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 หลังวิศวกรกูเกิลเปิดเผยสเปก API ใหม่ ที่ห้ามส่วนขยายแก้ไขหน้าเว็บเพจเองผ่าน webRequest API และให้ไปเรียกใช้ declarativeNetRequest API ที่ให้เบราว์เซอร์เป็นฝ่ายแก้หน้าเพจแทน โดยเหตุผลของกูเกิลคือเรื่องความปลอดภัย ลดโอกาสที่ส่วนขยายจะเห็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนหน้าเพจ
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากส่วนขยายของเบราว์เซอร์ เป็นปัญหามายาวนาน และเราก็เห็นข่าวเบราว์เซอร์รายใหญ่ๆ อย่าง Chrome หรือ Firefox ออกมาตรการคุมเข้มส่วนขยายในแพลตฟอร์มตัวเองมาเรื่อยๆ
ล่าสุด Firefox เพิ่มมาตรการใหม่คือแปะป้ายหรือ badge เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับส่วนขยายบน Firefox Add-ons ทั้งบนหน้าเว็บและหน้าจัดการส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ป้ายรับรองที่เพิ่มเข้ามามี 2 แบบคือ
ไมโครซอฟท์มีส่วนขยาย C/C++ ให้กับ Visual Studio Code มานานแล้ว (และเป็นส่วนขยายยอดนิยมอันดับ 2 ของ VS Code รองจาก Python) ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกเวอร์ชัน 1.0 ของส่วนขยายตัวนี้สักที
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ รองรับการใช้งานบนลินุกซ์สถาปัตยกรรม ARM/ARM64 ทำให้สามารถใช้ VS Code เขียนแอพ C++ บนอุปกรณ์อย่าง Raspberry Pi ได้แล้ว, เพิ่มตัวปรับแต่งคอนฟิก C++ IntelliSense และตั้งค่าฟอร์แมตของโค้ด C++ แบบเดียวกับ Visual Studio ตัวเต็มได้
แอปเปิลประกาศ Safari เวอร์ชันใหม่ใน macOS 11 Big Sur รองรับส่วนขยายที่เขียนด้วย WebExtensions API ซึ่งหมายถึงส่วนขยายของ Chrome
การที่ Safari รองรับ WebExtensions API ทำให้ส่วนขยายของ Chrome สามารถพอร์ตมาได้แทบจะทันที (ลักษณะเดียวกับที่ Edge หรือ Firefox ทำอยู่ ซึ่ง Firefox เริ่มรองรับในปี 2015) ส่วนการแจกจ่ายสามารถทำผ่าน Mac App Store โดยจะมีหมวด Extension เพิ่มเข้ามาให้ (หมายเหตุ: เป็นคนละตัวกับ Safari App Extensions ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้)
กูเกิลปล่อยส่วนขยายใหม่สำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ในชื่อ Link to Text Fragment โดยเป็นส่วนขยายสำหรับสร้างลิงก์ตามร่างมาตรฐาน Text Fragment ที่กำลังเสนอเข้า W3C ทำให้เบราว์เซอร์สามารถลิงก์ไปยังข้อความใดๆ ก็ได้ในหน้าเว็บ โดยตอนนี้เบราว์เซอร์โครมนั้นรองรับฟีเจอร์นี้ในตัว แต่ยังไม่สาารถสร้างลิงก์ได้ด้วยตัวเอง
Text Fragment จะกำหนดลิงก์แบบ anchor แบบใหม่ต่อท้าย URL ของเว็บในรูปแบบ #:~:text=[ข้อความ]
เมื่อเบราว์เซอร์ได้รับลิงก์แบบนี้และรองรับฟีเจอร์ Text Fragment ก็จะเลื่อนไปยังจุดที่มีข้อความพร้อมกับไฮไลต์ข้อความให้ชัดเจนทันที
ไมโครซอฟท์ประกาศยกส่วนขยาย Go Extension ของ Visual Studio Code ให้โครงการ Go (ซึ่งก็คือพนักงานกูเกิล) เป็นผู้ดูแลแทน
VS Code ถือเป็น IDE ยอดนิยมอันดับหนึ่งจากการสำรวจของผู้ใช้ Go และส่วนขยาย Go Extension มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 3 ล้านครั้ง
ทีม VS Code บอกว่าร่วมมือกับทีม Go มาสักระยะแล้ว ทั้งการพัฒนา language server ตัวใหม่ให้รองรับ Go และปรับปรุงดีบั๊กเกอร์ Delve ให้ดีขึ้น จึงตัดสินใจยกโค้ดให้ทีมงาน Go ดูแลเพราะน่าจะเหมาะสมที่สุด