Chrome เริ่มบล็อคโฆษณา "ที่น่ารำคาญ" มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 โดยอ้างอิงนิยามของกลุ่ม Coalition for Better Ads ที่กูเกิลร่วมกับเฟซบุ๊กก่อตั้งในปี 2016 เพื่อตอบโต้ซอฟต์แวร์บล็อคโฆษณา
ล่าสุดกลุ่ม Coalition for Better Ads ขยายผลเรื่องโฆษณาที่น่ารำคาญมายังวิดีโอ โดยนิยามโฆษณาวิดีโอที่ผู้ใช้ไม่ชอบ 3 รูปแบบ จากการสำรวจความเห็นของผู้ใช้ 45,000 คนใน 8 ประเทศ
YouTube ยังเผชิญกับปัญหาคลิปเนื้อหาไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เป็นคลิปที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก กรณีล่าสุดเป็นการแทรก "ฉากสอนฆ่าตัวตาย" ลงในการ์ตูนสำหรับเด็ก และสามารถเล็ดลอดการตรวจจับไปขึ้น YouTube Kids ที่พ่อแม่ไว้ใจให้ลูกๆ เปิดดูได้ด้วย
Facebook ประกาศวันนี้ว่า Watch แท็บรวมวิดีโอน่าสนใจ ได้เปิดให้ใช้งานแล้วสำหรับผู้ใช้ทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันนี้รวมทั้งในไทย ซึ่งในแท็บดังกล่าวจะมีวิดีโอที่น่าสนใจ คลิปรายการโทรทัศน์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
Facebook Watch เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นเฉพาะในอเมริกา (แต่ก็มีรายงานว่าผู้ใช้ในไทยบางคนได้แท็บนี้) ซึ่งเป็นการขยับที่น่าสนใจ เพราะเป็นการย้ำว่า Facebook ให้ความสำคัญกับวิดีโอมาก
ทั้งนี้ Facebook บอกว่าวิดีโอที่ถูกเลือกมาแสดงใน Watch มีทั้ง วิดีโอน่าสนใจที่ Facebook คัดเลือกจากความสนใจของเรา, วิดีโอจากเพจที่เราติดตาม ตลอดจนวิดีโอที่เราเห็นใน News Feed แต่ยังไม่มีเวลาดูเลยกดเซฟไว้ก่อน
YouTube ประกาศเพิ่มวิธีการสร้างรายได้ให้บรรดา creators เจ้าของช่องต่างๆ นอกเหนือจากการโฆษณา โดยมีวิธีการหาเงินหลากหลายวิธี ดังนี้
Channel Memberships หรือชื่อเดิมคือ Sponsorship ที่เคยทดลองนำร่องไปแล้ว ผู้ชมสามารถจ่ายเงินค่าสมาชิก 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือน เพื่อเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษของทางช่องได้ เช่น วิดีโอเฉพาะสมาชิก แบดจ์-อีโมจิพิเศษ
ฟีเจอร์นี้เปิดให้ช่องที่มีผู้ติดตามมากเกิน 100,000 คนใช้งานได้แล้ว รายได้จะแบ่งกับ YouTube ในสัดส่วน 70:30 แต่ของประเทศไทยยังใช้งานไม่ได้ครับ
Twitter ได้สิทธิ์ถ่ายทอดสดบรรยากาศหลังการแข่งขันรถสูตร 1 ชิงแชมป์โลก ผ่านทางทวิตเตอร์แอคเคาท์ @F1 ทั้งหมด 9 สนาม ตลอดฤดูกาล 2018
รายการจะประเดิมออกอากาศเป็นครั้งแรกในการแข่งขันรายการ Spanish Grand Prix ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2018
ผู้สื่อข่าวภาคสนามและพิธีกรชื่อดังอย่าง Will Buxton จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมกับแขกรับเชิญเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการ F1 ที่จะสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป แขกรับเชิญคนแรกที่ถูกเชิญมาร่วมในรายการคือ Nico Rosberg แชมป์โลกฟอร์มูล่า 1 ฤดูกาล 2016 ชาวเยอรมัน
เดือนที่แล้วเราเพิ่งเห็น AV1 ตัวเข้ารหัสวิดีโออันใหม่ที่มาท้าชน HEVC/H.265 โดยมีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่จำนวนมากให้การสนับสนุน
ล่าสุดเริ่มมีเบนช์มาร์คของ AV1 ออกมาบ้างแล้ว รอบนี้มาจาก Facebook ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม AOMedia ผู้พัฒนา AV1
วิศวกรของ Facebook ลองทดสอบ AV1 เทียบกับตัวเข้ารหัสแบบโอเพนซอร์สที่นิยมคือ x264 (สำหรับ H.264/AVC) และ libvpx-vp9 (สำหรับ VP9 ของกูเกิล ที่เป็นสมาชิก AOMedia เช่นกัน) โดยจำลองสถานการณ์ใช้งานวิดีโอบน Facebook ที่พบเจอทั่วไป นำวิดีโอยอดนิยม 400 คลิปบน Facebook ทั้งแบบวิดีโอความละเอียดปกติ (SD) และวิดีโอความละเอียดสูง (HD) มาทดสอบเปรียบเทียบกัน
ซีรีส์ภาษาต่างประเทศที่ฉายบน Netflix มีหลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จและได้รับเสียงชื่นชม หนึ่งในนั้นคือ El Chapo สร้างจากเรื่องจริงของพ่อค้ายาเสพติดที่เรืองอำนาจสูงสุด โดยมี Univision สถานีโทรทัศน์ภาษาสเปนในอเมริกาเป็นพาร์ทเนอร์กับ Netflix ในการฉายซีรีส์ El Chapo ล่าสุดทั้งสองบริษัทร่วมมือกันจะทำซีรีส์ออกมาอีกอย่างน้อย 5 เรื่อง
แผนระยะแรกเริ่มจากทำ Tijuana ซีรีส์สเปนแนวดราม่าการเมือง คอร์รัปชั่นที่นักข่าวสืบสวนเจอเครือข่ายคอร์รัปชั่นใหญ่ Tijuana จะเริ่มถ่ายทำในเดือนเมษายนนี้ ได้ Daniel Posada โปรดิวเซอร์ของ El Chapo มาทำเรื่องนี้ด้วย และใช้โมเดลเดียวกันกับ El Chapo คือ ฉายในช่อง Univision ก่อนแล้วค่อยนำมาลงฉายใน Netflix
การร่วมมือของทั้งสองบริษัทตอบโจทย์กลยุทธ์ที่มีมาอย่างยาวนานของ Netflix คือ เข้าถึงคนดูให้มากที่สุด และเป็นโอกาสของคอนเทนต์ซีรีส์ภาษาสเปนให้ออกสู่สายตาคนทั่วโลกนอกเหนือจากสหรัฐฯ
จากข่าวการปรับ News Feed ครั้งใหญ่ของ Facebook ที่ลดความสำคัญของข่าวลง แต่เชื่อกันว่าเนื้อหาแบบวิดีโอจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะ Facebook ยังแสดงท่าทีผลักดันวิดีโอเต็มที่
ความเชื่อดังกล่าวอาจไม่จริงเสมอไปอีกแล้ว โดย Adam Mosseri ผู้บริหารของ Facebook ที่รับผิดชอบ News Feed โดยตรง ให้สัมภาษณ์กับ Wired ยืนยันว่าโพสต์แบบวิดีโอก็จะถูกมองเห็นน้อยลง
จากข่าว Facebook เตรียมหยุดจ่ายเงินจ้างเว็บดัง-เพจดังทำวิดีโอ เปลี่ยนโมเดลเป็นโฆษณาแทน ล่าสุด Facebook ออกมาแถลงข้อมูลอย่างเป็นทางการ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องวิดีโอ 3 อย่างดังนี้
ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา Facebook หันมาทุ่มให้กับวิดีโอมาก จนถึงขนาดยอมจ่ายเงินให้ publisher ดังๆ ผลิตวิดีโอเพื่อโพสต์ลง Facebook ให้ผู้ใช้คุ้นเคย
ล่าสุดมีข่าวจาก publisher บางราย ระบุว่า Facebook เตรียมหยุดจ่ายเงินค่าวิดีโอแล้ว โดยสัญญาฉบับเดิมของ Facebook จะจ่ายค่าจ้างทำวิดีโอให้ถึงสิ้นปี 2017 และบริษัทจะไม่ต่อสัญญาในปี 2018
รูปแบบการจ้างของ Facebook คือให้ publisher ผลิตวิดีโอทั้งแบบวิดีโอปกติ (ยาวขั้นต่ำ 90 วินาที) และการถ่ายวิดีโอ live (ยาวขั้นต่ำ 6 นาที) โดย Facebook จะจ่ายเงินให้ขั้นต่ำต่อเดือนตามที่ตกลงกัน เป้าหมายของ Facebook คือเปลี่ยนโมเดลจากการจ่ายเต็ม มาเป็นการจ่ายส่วนแบ่งโฆษณาที่จะแทรกมาช่วงกลางวิดีโอ (mid-roll) แทน
YouTube Rewind เป็นคลิปที่ทาง YouTube ออกมาเพื่อสรุปเรื่องราวที่น่าสนในประจำปี และปีนี้มี YouTuber คนไทย 6 คน ใน YouTube Rewind 2017 ประกอบด้วย
กูเกิลประกาศจัดระเบียบแนวทาง autoplay วิดีโอบน Chrome ให้เหมือนกันทั้งบนเดสก์ท็อปและบนมือถือ
การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Chrome 64 โดยวิดีโอจะได้รับอนุญาตให้เล่นเองทันที (autoplay) ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
WSJ รายงานว่า Facebook เตรียมงบสำหรับปีหน้า (2018) ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการผลิตคอนเทนต์ของตนเอง เพื่อฉายบน Facebook โดยเฉพาะ สอดคล้องกับการเปิดตัวแถบ Watch เพื่อผลักดันวิดีโอให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้ไม่ได้ลงรายละเอียดว่า 1 พันล้านดอลลาร์นั้น เฉพาะการจ้างผู้ผลิตภายนอกสร้างเนื้อหา หรือรวมค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาด้วย
งบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์อาจฟังดูสูง แต่ตัวเลขนี้ก็ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับ Netflix ที่ใช้เงินสำหรับการผลิตคอนเทนต์ปีนี้ถึง 6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ Amazon ใช้ 4.5 พันล้านดอลลาร์ หรือผู้ผลิตที่อยู่ในวงการโทรทัศน์อย่าง HBO ก็มีงบส่วนนี้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์
Facebook เปิดตัว Watch แท็บรวมวิดีโอที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้ใช้กดดูได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือติดตามเพจนั้นมาก่อน ในแท็บนี้จะมีทั้งวิดีโอไลฟ์จากคนดัง รายการสนทนา ซีรีส์ รวมถึงการถ่ายทอดสดกีฬาด้วย
รูปแบบการคัดเลือกวิดีโอมายัง Watch คล้ายกับ YouTube แต่เพิ่มมิติเชิงโซเชียลเข้ามา เช่น วิดีโอที่คนพูดถึงเยอะที่สุด (Most Talked About) วิดีโอที่เพื่อนของคุณกำลังชมอยู่ หรือ วิดีโอตลกที่คนกด Haha เป็นจำนวนมาก แถมยังมีระบบติดตาม (watchlist) เพื่อให้เราติดตามรายการที่สนใจ เซฟเก็บไว้ดูทีหลังได้
แท็บ Watch จะใช้ได้บน Facebook ทุกเวอร์ชัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บ แอพ รวมไปถึงแอพ Facebook บนทีวีด้วย เพียงแต่ตอนนี้ยังเปิดใช้งานเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ Stream สำหรับฝากไฟล์วิดีโอที่ใช้งานภายในองค์กร
Microsoft Stream คล้ายกับ YouTube คือเป็นบริการสำหรับโฮสต์วิดีโอ แต่มีฟีเจอร์เน้นหนักที่ตลาดองค์กร ทั้งฟีเจอร์ speech-to-text ช่วยให้หาคำหรือคีย์เวิร์ดที่พูดได้ง่าย, face detection ระบุชื่อคนพูดในวิดีโอพร้อมช่วงเวลาที่ปรากฏตัว, time code ระบุช่วงเวลาในวิดีโอพร้อมลิงก์ไปยังจุดนั้นได้สะดวก, ระบบ permission จำกัดการเข้าถึงวิดีโอตามกลุ่มผู้ใช้หรือแยกรายบุคคล
Microsoft Stream เป็นบริการแยกเฉพาะที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ (ตอนนี้เปิดให้ลองใช้ฟรี) แต่มันถูกออกแบบมาให้ทำงานกับ Office 365 (Outlook, Skype, SharePoint, Teams, Yammer) และ Azure Active Directory อย่างแนบแน่น ช่วยให้การแชร์วิดีโอภายในองค์กรสะดวกขึ้นมาก
YouTube ออกเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ผลิตเนื้อหาวิดีโอแบบ 360 องศา และ VR เพื่อแสดงข้อมูลว่าคนที่ดูวิดีโอนั้น หมุนเลือกดูส่วนไหนมากที่สุดในชื่อ 360° Heatmaps
นอกจากนี้ YouTube ยังเปิดเผยสถิติจากการศึกษาวิดีโอ 360 องศาบนแพลตฟอร์มพบว่า 75% ของคนดูวิดีโอแบบนี้ จะหยุดอยู่ที่ตำแหน่ง 90 องศา (ด้านตรงหน้า) แปลว่าไม่ได้หมุนไปดูมุมอื่นเลย แต่เมื่อดูสถิติของวิดีโอที่ได้รับความนิยม มีอยู่ 20% ที่หมุนอ้อมไปดูถึงด้านหลัง YouTube จึงแนะนำให้ผู้ผลิตคลิปพยายามชักชวนให้ผู้ชมหมุนกล้องไปมุมอื่นๆ ด้วย
ที่มา: YouTube Creator Blog
จากที่เคยประสบปัญหาแบรนด์ถอนตัวลงโฆษณาบน YouTube เพราะวิดีโอรุนแรง ทาง YouTube เองก็ดูพยายามแก้ไขปัญหาคอนเทนท์อยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดออกมาตรการใหม่ ไม่แสดงโฆษณาบนคลิปวิดีโอที่เข้าข่ายรุนแรง ที่ยังไม่ละเมิดกฎจนต้องถูกนำลงจากเว็บ
คอนเทนท์ที่เข้าข่ายรุนแรงนี้ได้แก่ เนื้อหาสร้างความเกลียดชัง ดูถูกหรือล้อเลียนคน กลุ่มคนด้วยคุณลักษณะหนึ่งๆ อาทิ เชื้อชาติ, ชาติพันธ์ุ, ศาสนา ฯลฯ, เนื้อหาเสียดสี เหยียดและลดคุณค่าผู้อื่น, สุดท้ายคือการนำตัวละครที่ควรจะสร้างความบันเทิง อย่างการ์ตูน มานำเสนอผ่านความรุนแรง, เพศ, และพฤติกรรมเลวทราม (vile)
หลังประกาศเข้ามาทำตลาดและรองรับซับไตเติลประเทศไทยมาซักระยะ วันนี้ Netflix ประกาศรองรับอินเทอร์เฟสภาษาไทยแล้ว พร้อมเพิ่มซับไตเติลและพากย์เสียงไทยให้มากขึ้นด้วย
Netflix ระบุด้วยว่าหลังจากนี้ ซีรีย์ออริจินัลของ Netflix ที่ออกฉายในไทย (ซึ่งพร้อมกับประเทศอื่นทั่วโลก) จะมาพร้อมกับซับไตเติลภาษาไทยเลยทันที และรองรับการสตรีมระดับ 4K และ HDR ทั้งบนทีวีและสมาร์ทโฟนที่รองรับอัตโนมัติ
หลัง Netflix ประกาศขยายตลาดไปทั่วโลก มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ Netflix ยังไม่เข้าไปทำตลาดอย่างอิหร่านและจีน เนื่องด้วยกฎหมายท้องถิ่นที่เข้มงวดกับบริษัทสื่อต่างชาติ Netflix จึงเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ด้วยการขยายตลาดไปยังจีนผ่านพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นแทน
การเข้าไปในจีนของ Netflix จะไม่ได้เป็นการให้บริการ Subscription Video on Demand เต็มๆ แบบประเทศอื่นๆ แต่จะนำออริจินัลคอนเทนต์ของ Netflix เข้าไปฉายผ่าน iQIYI ผู้ให้บริการวิดีโอออนไลน์ (ที่มีโมเดลการหารายได้ผ่านโฆษณาไม่ใช่ค่าสมาชิก) ที่มีผู้ใช้ราว 500 ล้านคน เพื่ออย่างน้อยๆ ทำให้แบรนด์ Netflix เป็นที่รู้จักมากขึ้นก่อน
เฟซบุ๊กเริ่มทำข้อตกลงกับเว็บไซต์ พับลิชเชอร์และผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อให้พับลิชเชอร์เหล่านี้ทำคอนเทนต์วิดีโอหรือไลฟ์วิดีโอบนเฟซบุ๊ก เพื่อเป็นการผลักดันแพลตฟอร์มโฆษณา โดยเฟซบุ๊กจะจ่ายเงินก้อนให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ในแต่ละเดือนแลกกับจำนวนวิดีโอตามที่ตกลงกันไว้
เงื่อนไขของเฟซบุ๊กคือวิดีโอจะต้องมีความยาวไม่น้องกว่า 90 วินาที ส่วนไลฟ์วิดีโอต้องไม่ต่ำกว่า 6 นาที เพื่อให้วิดีโอเหล่านี้สามารถแสดงโฆษณาคั่นกลางได้ ขณะที่รายได้จากโฆษณาจะเฟซบุ๊กจะแบ่งกับผู้ผลิตวิดีโออีกส่วนนอกเหนือจากเงินที่ตกลงกันไว้ในดีล โดยเฟซบุ๊กจะหักไป 45% ส่วนผู้ผลิตได้ไป 55%
iflix ผู้ให้บริการสตรีมภาพยนตร์ออนไลน์จากมาเลเซีย ที่พยายามชูจุดเด่นเรื่องคอนเทนท์ local ล่าสุดประกาศทำซีรีย์ออริจินัลของตัวเองแล้วชื่อ Magic Hour เป็นซีรีย์ความยาว 8 ตอน รีเมกมาจากภาพยนตร์สัญชาติอินโดนีเซียในชื่อเดียวกัน
นอกจากนี้ iflix ยังเริ่มดีลกับค่ายหนังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดึงเอาหนังใหม่ที่เพิ่งออกจากโรง โดยตอนนี้มีเพียงค่ายหนังในมาเลเซียเท่านั้น ที่ทาง iflix จะได้หนังใหม่หลังจากออกโรงราว 20 วัน
ที่มา - TechCrunch
ปัญหาแบรนด์ใหญ่ๆ แสดงความไม่พอใจที่ YouTube นำโฆษณาไปแสดงบนวิดีโอที่เนื้อหารุนแรงกำลังทำให้จนกระทั่งเริ่มกระทบต่อรายได้ ตอนนี้ YouTube ก็ออกมาตรการเบื้องต้นด้วยการปิดโฆษณาสำหรับช่องวิดีโอที่มียอดชมรวมน้อยกว่า 10,000 วิว
ก่อนหน้านี้กระบวนการแสดงโฆษณาเป็นระบบอัตโนมัติแทบทั้งหมด ซอฟต์แวร์ของ YouTube จะเลือกให้เองว่าจะแสดงโฆษณาใดบนวิดีโอใดบ้าง การสร้างข้อกำหนดช่องที่ต้องมี 10,000 วิวจะจำกัดวิดิโอที่ได้รับโฆษณาลง และในอนาคตกระบวนการรีวิววิดิโอด้วยคนหรือซอฟต์แวร์ที่วิเคราะห์ระดับลึกได้ก็น่าจะง่ายลงมาก
หลังจากที่ Netflix ประกาศเริ่มรองรับ HDR ไปตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ปีนี้บริการสตรีมแบบ HDR เตรียมจะขยายไปบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแล้ว โดยจะเริ่มจากทวีปเอเชียเป็นที่แรก
สาเหตุที่เลือกเอเชียก่อนก็เพราะว่าทราฟฟิคบน Netflix ผ่านโมบายล์ในเอเชียนั้นสูงที่สุดในโลก นำมาโดยอินเดีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามมาด้วยมาเลเซียและฮ่องกง ขณะที่ทราฟฟิคจากทวีปอื่นส่วนใหญ่นั้นดูผ่านไม่ทีวี ก็คอนโซลหรือ set-top-box
กูเกิลเคยเปิดบริการ Cloud Vision API ลูกค้าสามารถส่งไฟล์ภาพขึ้นคลาวด์ แล้วให้ AI ของกูเกิลแยกแยะกลับมาให้ว่าในภาพมีวัตถุอะไรบ้าง
ปีนี้ระบบของกูเกิลพัฒนาไปอีกขั้น เพราะมันสามารถแยกแยะวัตถุในวิดีโอได้แล้ว ภายใต้ชื่อว่า Cloud Video Intelligence API
หลักการของ Cloud Video Intelligence API ก็เหมือนกันคือใช้เอนจินเรียนรู้ deep-learning ของตัวเอง TensorFlow แล้วให้ฝึกเรียนรู้จากวิดีโอบน YouTube ตอนนี้มันเก่งพอที่จะแยกแยะเนื้อหาในวิดีโอได้แล้ว จากภาพตัวอย่างที่กูเกิลนำมาโชว์ มันสามารถแยกแยะได้ว่าในวิดีโอมี "เสือ" และถ้าค้นด้วยคำว่า Tiger เราก็จะได้คำตอบกลับมาเป็นช่วงเวลาทั้งหมดในวิดีโอที่มีเสืออยู่ในภาพ
กูเกิลเปิดตัวบริการ YouTube TV ดูช่องทีวีและเคเบิลทีวีสดๆ จากกว่า 40 สถานีในสหรัฐ (เช่น ABC, CBS, FOX, NBC, ESPN) ได้ผ่าน YouTube โดยตรง และใช้งานได้ผ่านทุกช่องทางที่เข้าถึง YouTube ได้ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ แท็บเล็ต พีซี หรือต่อขึ้นทีวีผ่าน Chromecast
YouTube TV ยังมีบริการบันทึกรายการทีวีเก็บไว้บนคลาวด์ (Cloud DVR) เก็บรายการที่ชอบไว้ดูภายหลังได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ และเข้าถึงรายการ YouTube Red Originals ที่เป็นรายการพรีเมียมของกูเกิลเองอีกด้วย
บริการ YouTube TV คิดค่าบริการรายเดือน 35 ดอลลาร์ จ่ายแล้วใช้งานได้ 6 บัญชี (เช่น เผื่อใช้กันในครอบครัว แต่ละคนอยากดูกันคนละอย่าง) และสามารถรับชมได้สูงสุด 3 สตรีมพร้อมกัน ตอนนี้ YouTube TV ยังเปิดบริการเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น