กูเกิลเปิดตัวไลบรารีใหม่ในชุด Android Jetpack คือ CameraX อธิบายง่ายๆ มันคือเอนจินกล้องมาตรฐานที่กูเกิลเตรียมมาให้เกือบสำเร็จรูปแล้ว สำหรับให้นักพัฒนานำไปสร้างแอพกล้องของตัวเองต่อยอดอีกที
กูเกิลอธิบายว่า 70% ของการถ่ายภาพบน Android ใช้แอพกล้องที่ผู้ใช้ติดตั้งเอง มีเพียง 30% ที่ใช้แอพกล้องมาตรฐานของมือถือตัวนั้น แต่นักพัฒนาแอพกล้องต้องเจอกับปัญหาซ้ำๆ เช่น การซัพพอร์ตกล้องรุ่นต่างๆ บนฮาร์ดแวร์ที่หลากหลาย, การพัฒนาฟีเจอร์ที่ทุกคนต้องใช้อย่าง HDR หรือ bokeh ซ้ำไปซ้ำมา สิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ปี 2016 กูเกิลประกาศว่า Android ยังไม่มีแผนรองรับภาษาอื่นนอกจาก Java ส่วน ปี 2017 กูเกิลประกาศรองรับภาษา Kotlin โดยมีศักดิ์ฐานะเท่ากับ Java
ปี 2019 กูเกิลประกาศว่าจากนี้ไป แพลตฟอร์ม Android จะเป็น Kotlin-First โดยฟีเจอร์ใหม่ๆ ของชุดเครื่องมือ Android Jetpack จะถูกพัฒนาเป็นภาษา Kotlin ก่อน ส่วนภาษาอื่นๆ จะตามมาช้ากว่า
คำแนะนำของกูเกิลตอนนี้คือ ถ้าจะเริ่มโครงการพัฒนาใหม่ ควรเริ่มเป็น Kotlin ได้แล้ว เพราะเขียนโค้ดง่ายกว่า ทดสอบง่ายกว่า ดูแลรักษาโค้ดง่ายกว่า
ในงาน Google I/O ปีนี้กูเกิลเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของ Android Q หลายอย่าง แม้จะมีฟีเจอร์ที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้ใช้ เช่น Live Caption ที่สามารถแปลงเสียงเป็นข้อความได้ทั้งเสียงจากในโทรศัพท์และเสียงจากภายนอก, หรือ Assistant ตัวใหม่ที่ทำงานเร็วขึ้นและมีฟีเจอร์มากขึ้น แต่หัวใจของฟีเจอร์ทั้งหมดคือกูเกิลแก้ข้อครหาด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัวใน Android Q สำคัญถึงขั้นที่กูเกิลพูดในช่วง keynote ของวันแรก และเป็น session แรกของงานวันที่สอง ฟีเจอร์ความปลอดภัยที่สำคัญๆ เช่น
ฟีเจอร์ใหม่ของ Android Q Beta 3 ที่เพิ่งปล่อยให้ทดสอบกันเมื่อคืนนี้คือ Dark Theme ที่ทุกคนอยากได้กันมานาน
ผมมีโอกาสอัพเดต Google Pixel 3 เป็น Android Q Beta 3 เลยนำภาพมาฝากกันให้ดูว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
วิธีการใช้งาน Dark Theme ต้องเข้าไปที่หน้า Settings > Display แล้วมีตัวเลือกเปลี่ยน Theme เป็น Light/Dark กดเปลี่ยนเท่านี้ก็เรียบร้อย (มี toggle Dark Theme ในหน้า Quick Settings ด้วยเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยน)
ผู้ใช้ Pixel 3 หลายรายที่ผ่านมาเผชิญกับปัญหาประสิทธิภาพของตัวเครื่อง ไม่ว่าจะความหน่วง กระตุกหรือแล็กในสถานการณ์ต่างๆ ล่าสุดมีผู้ใช้ Reddit พบต้นตอแล้วว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจาก Digital Wellbeing ที่ช่วยแก้ปัญหาการติดมือถือ (หรือการทำให้เครื่องหน่วงเป็นหนึ่งในทางแก้?)
ผู้ใช้ที่ชื่อว่า Trueray17 โพสต์ใน subreddit ห้อง Pixel 3 ว่าได้ลองปิด Digital Wellbeing ด้วยการกดที่ปุ่มแอคชันเมนู (3 จุดแนวตั้งขวาบน) เลือก Turn off Usage Access แล้วกดปิด permit usage access ที่ตัวเลือก Digital Wellbeing ในหน้า Usage Acess ที่เด้งขึ้นมา ก่อนจะพบว่าเครื่องใช้งานได้ลื่นไหลขึ้น
ถัดจาก Android Studio 3.4 ที่เพิ่งออกตัวจริงหลังสงกรานต์ กูเกิลก็เปิดตัว Android Studio 3.5 Beta 1 ต่อเนื่องตามาทันทีในงาน Google I/O
ฟีเจอร์เด่นของ Android Studio 3.5 ที่ส่งผลกระทบต่อนักพัฒนาอย่างมาก คือการเปลี่ยนจากระบบคอมไพล์ด่วน Instant Run ตัวเดิม มาเป็นระบบใหม่ Apply Changes ที่มีความแตกต่างกันพอสมควร
กูเกิลเปิดตัว Pixel 3a และ Pixel 3a XL ตรงกับข้อมูลที่หลุดออกมาจากหลายแหล่งก่อนหน้านี้
สเปคของโทรศัพท์ ใช้ชิป Snapdragon 670, แรม 4GB, ภายในใช้ชิป Titan M สำหรับการรักษาความปลอดภัย มีช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่า Pixel 3 เล็กน้อย ไม่สามารถใช้เคสร่วมกันได้
สำหรับผู้ใช้ในสหรัฐฯ, อังกฤษ, และแคนาดา จะได้บริการ Call Screen สำหรับตอบรับสายที่ไม่รู้จักโดยอัตโนมัติ ภายในปีนี้ Pixel 3a จะได้รับ Google Maps AR เช่นเดียวกับ Pixel ตัวอื่น
กูเกิลเปิดฟีเจอร์ใหม่ของ Android Q โดยเน้นความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยมากขึ้น โดยมีฟีเจอร์สำคัญได้แก่
Google ปล่อยแพตช์ความปลอดภัยแอนดรอยด์ประจำเดือนพฤษภาคมแล้ว ซึ่งรวมแพตช์รอบวันที่ 1 เอาไว้ด้วย อุดช่องโหว่ทั้งหมด 30 จุด โดยช่องโหว่ระดับวิกฤติที่สุดเกิดในเฟรมเวิร์คมีเดีย ที่เปิดให้รันโค้ดทางไกลด้วยสิทธิระดับสูง ซึ่ง Google ระบุว่ายังไม่พบการโจมตีด้วยช่องโหว่นี้
แพตช์เดือนนี้ออกให้ครบหมดตั้งแต่ Pixel 3 XL ไปจนถึง Pixel รวมถึง Pixel C ที่รัน Android 8.1 ด้วยเหมือนเดิม หากใครยังกดอัพเดตแล้วไม่ได้ สามารถโหลด OTA Image ไปติดตั้งเองได้
ที่มา - Android Security Bulletin
Google ประกาศการเปลี่ยนแปลงของ Android Auto ใหม่ก่อนงาน Google I/O โดยมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์และอินเทอร์เฟสใหม่ให้สะดวกต่อการใช้านมากขึ้นดังนี้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะอัพเดตให้กับผู้ใช้ Android Auto ให้อัตโนมัติเร็วๆ นี้
ผู้ที่อยู่ในวงการ Android Root คงรู้จัก Magisk (ย่อมาจาก Magic Mask) ซอฟต์แวร์ Root ที่สามารถหลอกแอพว่าเครื่องไม่ได้ถูก Root อยู่ เพื่อให้แอพหลายตัว (เช่น แอพสายการเงิน) สามารถทำงานได้ตามปกติ
ความนิยมของ Magisk บวกกับวัตถุประสงค์ในแง่การซ่อน Root ย่อมทำให้กูเกิลไม่พอใจนัก เพราะเป็นช่องทางให้ระบบรักษาความปลอดภัย Google SafetyNet ทำงานยากขึ้น จนเคยมีกรณีกูเกิลแบน Magisk ออกจาก Play Store ตั้งแต่ปี 2017
Android Automotive เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับรถยนต์ที่ Google เปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 ซึ่งเป็นคนละผลิตภัณฑ์กับ Android Auto ที่เป็นแอปสำหรับเล่นเปิดแอปแอนดรอยด์บนรถยนต์อีกต่อหนึ่ง โดยรถยนต์ไฟฟ้า Polstar 2 เป็นรุ่นแรกที่เปิดตัวมาพร้อม Android Automotive ในตัว
ล่าสุด Google เปิดให้นักพัฒนาภายนอกสามารถพัฒนาแอปบนแพลตฟอร์ม Automotive แล้ว เริ่มจากแอปประเภทสื่ออย่างแอปเพลงหรือพ็อดคาสต์ก่อน ส่วนแอปประเภทอื่นๆ อย่างแอปสื่อสาร (โทรศัพท์, ข้อความ), แอปนำทางและอื่นๆ จะตามมาในภายหลังผ่าน Play Store
เพื่อความง่ายสำหรับนักพัฒนา Google ระบุว่าการพัฒนาแอปของ Android Automotive ยังคงใช้เฟรมเวิร์คเดียวกับ Android Auto โดยจะมีรายละเอียดและเซสชันเพิ่มเติมในงาน Google I/O สัปดาห์หน้า
แอพจัดการไฟล์ยอดนิยม ES File Explorer หายไปจาก Play Store โดยไม่ทราบสาเหตุ คาดกันว่าเป็นผลพวงจากกรณีกูเกิลไล่สอยแอพในเครือ DU Group หลังพบปัญหาโกงคลิกโฆษณา
ผู้พัฒนาแอพ ES File Explorer ที่ระบุชื่อบนสโตร์คือ "ES Global" แต่แท้จริงแล้วเจ้าของคือ DO Global ชื่อใหม่ของ DU Group ซึ่งแยกตัวมาจาก Baidu (หน้าเว็บของ DU Apps ก็มีไอคอนของ ES แสดงร่วมกับแอพตัวอื่นๆ ในแบรนด์ DU)
ตอนนี้บัญชีของ ES Global ถูกแบนจาก Play Store และไม่สามารถเข้าถึงได้เลย (แอพทั้งหมดของ ES ก็หายไปด้วย) ส่วนกูเกิลก็ไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ เรื่อง ES File Explorer ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแบน DO/DU อย่างไร
ฟีเจอร์ Family Library ซึ่งเป็นการเปิดให้ผู้ใช้งาน Google Play สามารถแชร์เนื้อหาและแอพต่างๆกับผู้ใช้ในครอบครัวเดียวกันได้นั้น เปิดตัวครั้งแรกไปเมื่อปี 2016 ซึ่งใช้งานได้ในบางประเทศเท่านั้น ตอนนี้ผู้ใช้ Google Play ในทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยสามารถใช้งาน Family Library ได้แล้ว โดยจะต้องมีผู้ใช้คนหนึ่งรับบทบาทเป็นผู้จัดการครอบครัว เพื่อสร้าง Library สำหรับครอบครัวขึ้นโดยผูก Library กับวิธีการจ่ายเงินเช่นบัตรเครดิตด้วย
เงื่อนไขในการแชร์แอพต่างๆจะขึ้นอยู่กับฝั่งผู้พัฒนาแอพว่าจะเปิดให้แชร์ได้ด้วยหรือไม่
Mozilla ประกาศแผนการหยุดพัฒนา Firefox for Android ตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (โค้ดเนม "Fennec") เพื่อเปลี่ยนไปใช้เบราว์เซอร์ตัวใหม่โค้ดเนม Fenix
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน Android Q Beta 2 คือฟีเจอร์ Scoped Storage ที่หากแอปหนึ่งๆ ไม่ได้รับสิทธิเข้าถึง การเซฟหรือเปิดไฟล์จะได้ทำผ่าน sandbox เท่านั้น ซึ่งเป้าหมายของ Google คือความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามหลังปล่อยทดสอบมาเกือบเดือน Google ได้รับฟีดแบ็คมากมายจากนักพัฒนาว่า วิธีจัดการสิทธินี้ทำให้นักพัฒนาต้องยกเครื่องการขอสิทธิของแอปใหม่หมด ซึ่งใช้เวลามาก ทำให้ Google ตัดสินใจยกเลิกการบังคับใช้งานฟีเจอร์นี้แล้วใน Android Q Beta 3 ที่กำลังจะออก สำหรับแอปที่มี Target API ที่ Android Pie (API level 28) ลงไป โดยยังคงเปิดให้นักพัฒนายังคงสามารถอัพเดตให้แอปใช้งาน Scoped Storage ได้อยู่
Google ปฏิบัติตามกฎหมายต้านการผูกขาดของ EU โดยเสนอทางเลือกให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ในยุโรปสามารถเลือกเบราว์เซอร์อื่นได้นอกเหนือจาก Chrome และเลือกช่องทางค้นหาอื่นได้นอกจาก Google
เมื่อผู้ใช้เข้าไปใน Play Store จะเห็นหน้าจอขึ้นมาสองหน้าจอคือ หน้าจอแรกเสนอทางเลือกของช่องทางค้นหาที่ไม่ได้มีแค่ Google อย่างเดียว เช่น DuckDuck Go, Qwant เป็นต้น ส่วนอีกหน้าจอคือ เสนอทางเลือกเบราว์เซอร์อื่นมาให้นอกเหนือจาก Chrome คือ Firefox, Microsoft Edge เป็นต้น
เมื่อผู้ใช้เข้าเว็บ Google ในมือถือ ระบบจะแสดงช่องทางให้ตั้งค่าช่องค้นหาอื่นเป็นค่าดีฟอลต์เวลาจะค้นหาอะไรในอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
Android Studio ออกเวอร์ชัน 3.4 ที่เข้าสถานะเสถียร (stable channel) เรียบร้อยแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้มีไม่เยอะนักเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ เพราะกูเกิลกำลังดำเนินโครงการ Project Marble เน้นปรับปรุงฟีเจอร์พื้นฐาน และ flow การทำงานของตัว IDE ให้ดีขึ้นแทน
เราเพิ่งเห็นข่าว มือถืออายุเกิน 3 ปีอย่าง Galaxy S7 ได้ต่ออายุแพตช์ความปลอดภัย แต่ล่าสุดอาจมีข่าวดีกว่านั้นคือ ได้อัพเกรดเป็น Android Pie กับเขาด้วย
ข้อมูลนี้มาจากเว็บไซต์กลุ่ม Wi-Fi Alliance ที่มีฐานข้อมูลอุปกรณ์ที่รองรับ Wi-Fi รุ่นต่างๆ โดยซัมซุงได้อัพเดตข้อมูลของ Galaxy S7 (SM-G930F) และใส่รุ่นของระบบปฏิบัติการเป็น "Android, version: 9.0"
ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าตกลงแล้ว Galaxy S7 จะได้อัพเกรดเป็น Pie จริงๆ หรือเป็นแค่การใส่ข้อมูลผิดพลาดกันแน่ ซึ่งถ้าหาก S7 ได้กิน Pie ก็จะถือว่าได้อัพเกรดระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหญ่ถึง 3 รอบ (มาพร้อม Android 6.0 Marshmallow แล้วอัพเกรดเป็น Nougat และ Oreo)
Android Police รายงานอ้างอิงข้อมูลจาก AppBrain แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับแอปแอนดรอยด์ก่อตั้งโดยอดีตพนักงาน Google ซึ่งชี้ว่า HTC ปรับสถานะของแอปหลายๆ ตัวบน Play Store เป็น unpublished หรือไม่เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว
แอปที่สำคัญๆ ก็มี Sense Launcher, HTC People ที่เป็นคอนแทคหรือแอปปฏิทินอย่าง HTC Calendar และแอปเมล์ HTC Mail รวมแล้วมีแอปทั้งหมด 14 แอปที่เข้าสู่สถานะดังกล่าว ซึ่งแอปบางตัวอาจจะเข้าใจได้ที่ถูกนำออก เพราะอาจไม่ใช่แอปสำคัญหรือมีความจำเป็น แต่การนำแอปหลักๆ อย่าง Launcher หรือคอนแทคออก อาจสะท้อนสถานะของธุรกิจสมาร์ทโฟน HTC ได้ไม่น้อยเหมือนกัน
หลังเปิดตัวในงาน Google I/O ปีที่แล้วและเปิดใช้งานก่อนบน Pixel ล่าสุด Google Duplex ฟีเจอร์ที่ให้ Google Assistant คุยโทรศัพท์แทนเราถูกเปิดใช้งานบนแอนดรอยด์รุ่นอื่นๆ และ iPhone แล้ว
ในหน้าซัพพอร์ทระบุว่าอุปกรณ์ที่รองรับต้องเป็นแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.0 ขึ้นไป ขณะที่ iPhone ก็ต้องลงแอป Google Assistant ก่อนด้วย ทั้งนี้ความสามารถหลักๆ ของ Duplex ก็คือการเลียนแบบการพูดของคน ทั้งโทนเสียง, คำพูดไปจนถึงการเว้นช่องไฟของการพูด โดยตัวอย่างการใช้งานหลักๆ ที่ Google โชว์มาตลอดคือการให้ Google Assistant โทรไปจองที่นั่งร้านอาหารหรือคิวบริการต่างๆ ให้แทนเรา
ในวันเดียวกับที่ กูเกิลปิดบริการแอพ Inbox แอพอีเมล Spark ที่เคยมีให้ใช้งานบน iOS/macOS ก็เปิดตัวเวอร์ชัน Android อย่างเป็นทางการ
Spark เป็นแอพอีเมลที่ได้รับความนิยมสูงอีกตัวหนึ่ง มีฟีเจอร์ของแอพอีเมลสมัยใหม่อย่าง swipe ปัดซ้ายขวาเพื่อสั่งการ, แยกหมวดอีเมลตามความสำคัญให้อัตโนมัติ, ตัวช่วยจัดการอีเมลอย่าง snooze/reminder/quick replies เป็นต้น
กูเกิลออก Android Q Beta 2 ตามหลังมาจาก Beta 1 ในเวลาไม่ถึงเดือน
ของใหม่ที่สำคัญของ Beta 2 ได้แก่ฟีเจอร์ "Bubbles" หรือการให้หน้าต่างแชทลอยขึ้นมาบนหน้าจอ ลักษณะเดียวกับฟีเจอร์ Chat Head ของ Facebook Messenger แต่รอบนี้กูเกิลทำให้รองรับที่ระดับ OS เลยเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประสบการณ์ใช้งานเหมือนกัน และนักพัฒนาแอพแต่ละตัวไม่ต้องพัฒนาฟีเจอร์นี้เอง
ตอนนี้ยังไม่มีแอพแชทตัวไหนรองรับ Bubbles แต่จากภาพของกูเกิลเอง ก็แสดงให้เห็นว่า Android Messages และ Hangouts สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้
กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัยรอบเดือนเมษายน 2019 ให้กับสมาร์ทโฟนตระกูล Pixel 1/2/3
นอกจากการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยตามรอบเดือนปกติ แพตช์ตัวนี้ยังแก้บั๊กหลายอย่างของ Pixel 3/3 XL เช่น แก้บั๊กหน้าจอสว่างเกินไปตอน ambient display ตื่น, ปรับปรุงประสิทธิภาพของ Voice Unlock และ Wi-Fi ในกรณีที่ใช้ eSIM กับบางเครือข่าย
ส่วน Pixel รุ่นแรกก็ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพเรื่องการเชื่อมต่อ Bluetooth ด้วย
Galaxy Note FE ร่างใหม่ของ Galaxy Note 7 ที่วางขายในประเทศไทยด้วย ได้รับอัพเดตเป็น Android Pie แล้ว
ผู้ใช้กลุ่มแรกที่รายงานการอัพเดต Galaxy Note FE อยู่ในซาอุดีอาระเบีย เลขเวอร์ชันของเฟิร์มแวร์คือ N935FXXU4CSC4 โดยเฟิร์มแวร์นี้มีทั้งการอัพเกรดเวอร์ชันของ Android เป็น Pie, อัพเดตหน้าตาเป็น One UI และอัพเดตแพตช์รอบเดือนมีนาคม 2019