HTC เปิดตัวเฮดเซต Mixed Reality (XR) ตัวใหม่ Vive Focus Vision ซึ่งดึงสเป็กเด่นจากทั้ง Vive XR Elite และ Vive Focus 3 ประมวลผลด้วยชิป Snapdragon XR2 หน้าจอแสดงผล LCD ข้างละ 2448x2448 พิกเซล อัตรารีเฟรช 90Hz มุมมอง FOV สูงสุด 120 องศา
Vive Focus Vision มีจุดเด่นคือระบบติดตามตำแหน่งดวงตา (Eye-tracking) และยังติดตามตำแหน่งปาก รวมทั้งเพิ่มชุดอุปกรณ์เสริมเพื่อติดตามตำแหน่งต่าง ๆ ในร่างกายเพิ่มเติมได้อีกด้วย อุปกรณ์สามารถทำงานได้แบบไฮบริด รองรับการเล่นเกม VR ด้วยการเชื่อมต่อกับพีซี หรือใช้งานแบบอิสระ
ราคาขาย 999 ดอลลาร์ เปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าถึงวันที่ 17 ตุลาคม ทางเว็บไซต์ของ HTC
HTC เปิดตัวแว่นรุ่นใหม่ Vive XR Elite เป็นรุ่นท็อปที่รองรับทั้ง VR และ Mixed Reality (MR หรืออีกชื่อคือ AR) ในตัวเดียวกัน (ถึงเรียกรวมๆ ว่า XR)
เทคนิค Mixed Reality (MR) ของ HTC ไม่ได้เป็นกระจกใสแล้วยิงภาพโฮโลแกรมแบบ HoloLens ของไมโครซอฟท์ แต่เป็นการใช้กล้องหน้าดึงภาพจากภายนอกมาแสดงบนจอภาพด้านใน (passthrough ลักษณะเดียวกับ Meta Quest Pro) ซึ่ง HTC ระบุว่าเป็นกล้องสี RGB คุณภาพสูง 16MP
HTC เปิดตัวแว่น VR รุ่นใหม่ Vive Flow ที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก หน้าตาเหมือนแว่นตาที่พับขาได้ พกพาสะดวก มีน้ำหนักเพียง 189 กรัม แลกกับการไม่มีแบตเตอรี่ในตัว ต้องต่อเชื่อมกับแหล่งพลังงานภายนอก (เช่น พาวเวอร์แบงค์ หรือจ่ายไฟจากพอร์ต USB ของโน้ตบุ๊ก)
HTC ออกตัวชัดว่าแว่น Vive Flow ไม่ได้เน้นเกมมิ่ง แต่เน้นการใช้งานเพื่อสุขภาพ (wellness) และการทำงาน (mind productivity) ตัวอย่างคือใช้เพื่อนั่งสมาธิ รับชมคอนเสิร์ตหรือภาพยนตร์ ทำงานแบบไม่มีคนรบกวนในโลกของ VR
HTC Vive Flow ยังไม่มีคอนโทรลเลอร์เหมือนกับแว่นตระกูล Vive อื่นๆ แต่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นคอนโทรลเลอร์แทน (เชื่อมผ่าน Bluetooth) รองรับสมาร์ทโฟนที่เป็น Android P ขึ้นไป
Valve เปิดสถิติยอดผ้ใช้งานที่มีอุปกรณ์ VR บน Steam เพิ่มขึ้น 0.62% ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนปีนี้ สาเหตุหลักมาจากผู้เล่นเกม Half-Life: Alyx แม้ตัวเลขอาจจะดูน้อย แต่จำนวนผู้เล่นที่ถูกเปิดเผยล่าสุดโดย Valve เมื่อเดือนมกราคมปี 2019 คือ 90 ล้านคน ซึ่งหลังเวลาผ่านมาหนึ่งปีกับอีกสามเดือน น่าจะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นมากพอสมควร
เว็บไซต์ Road to VR ประมาณการด้วยการคำนวณสถิติว่าในเดือนเมษายน อาจมีผู้ใช้งาน VR บน Steam เพิ่มเป็น 141 ล้านคน การที่ผู้ใช้เพิ่มขึ้น 0.62% ในเดือนมีนา-เมษา อาจหมายถึงผู้ใช้งานที่มีอุปกรณ์ VR ที่มากถึง 870,000 คน ภายในระยะเวลาเดือนเดียวเท่านั้น
HTC ออกแว่น VR เพิ่มอีกตัวแล้ว ล่าสุดเป็น Vive Focus Plus รุ่นใหม่ที่พัฒนาต่อจาก Vive Focus ที่เป็นแว่น VR แบบ standalone พร้อมคอนโทรลเลอร์เวอร์ชันใหม่
ตัวแว่น VR แทบไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก มาพร้อมชิป Snapdragon 835 จอ AMOLED ความละเอียด 3280x1600 รันบนแพลตฟอร์ม Vive Wave ส่วนคอนโทรลเลอร์ที่แตกตากจากเดิมคือรองรับการควบคุม 6DoF (Degree of Freedom) จากเดิมที่รองรับแค่ 3DoF เท่านั้น
Vive Focus Plus ยังไม่ระบุราคา คาดว่าจะจำหน่ายราวไตรมาสสองปีนี้
นอกจาก HTC Vive Pro Eye แว่นสำหรับตลาดมืออาชีพ ยังมี HTC Vive Cosmos แว่นสำหรับตลาดคอนซูเมอร์ที่ใช้ง่ายกว่า ราคาถูกกว่า
HTC บอกว่าแว่น Vive Cosmos จะจับกลุ่มผู้ที่ซื้อแว่น VR เป็นครั้งแรก เน้นการติดตั้งง่าย ไม่ต้องมีอุปกรณ์ tracking ภายนอกติดตั้งร่วมด้วย น้ำหนักเบา ใช้วัสดุที่สวมใส่สบาย และสามารถหมุนแว่นขึ้นไปบนศีรษะเพื่อหยุดการใช้งาน VR ชั่วคราวได้
แว่น Vive Cosmos ยังมาพร้อมกับ UI ของโลก VR แบบใหม่ที่เรียกว่า Vive Reality System ที่จะทยอยอัพเกรดไว้แว่น Vive รุ่นอื่นๆ ในภายหลังด้วย
Vive Cosmos ยังไม่ระบุราคาและวันวางจำหน่าย บอกเพียงว่าจะออก developer kits ให้กลุ่มนักพัฒนาก่อนในช่วงต้นปี 2019 นี้
HTC เปิดตัวแว่น VR รุ่นใหม่ HTC Vive Pro Eye เป็นการอัพเกรดแว่น HTC Vive Pro ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2018 แล้วเพิ่มฟีเจอร์ตรวจจับนัยน์ตา (eye tracking) เข้ามา เพื่อให้ผู้เล่นสามารถกรอกตาเพื่อสั่งงานในโลก VR โดยไม่ต้องใช้คอนโทรลเลอร์
HTC Vive Pro Eye จะวางขายในไตรมาสที่สองของปี 2019 แต่ยังไม่เปิดราคาออกมา
HTC เปิดตัว Vive Pro 2.0 Kit โซลูชัน VR ใหม่สำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วยแว่น HTC Vive Pro, VR Base Station สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหว 2 ตัว ที่รองรับพื้นที่ถึง 33x33 ฟุต และคอนโทรลเลอร์ 2 อัน สนนราคาที่ 1,399 ดอลลาร์
HTC ระบุว่า VR ฝั่งคอนซูมเมอร์ยังค่อนข้างจำกัด ทั้งในแง่ของราคาอุปกรณ์และการต้องใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเพื่อรัน VR ทำให้บริษัทต้องหันไปหาฝั่งองค์กรมากขึ้น เพราะมองเห็นถึงศักยภาพ ทั้งในแง่ของงบประมาณและตัว VR ที่สามารถช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นหรือลดต้นทุนในหลายๆ ด้านให้องค์กร
HTC ตั้งเป้าว่าจะต้องมีรายได้จาก VR ในส่วนของฝั่งองค์กรคิดเป็นสัดส่วน 30% ภายในปี 2020
HTC ประกาศราคา HTC Vive Pro ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปีทีราคา 799 ดอลลาร์ (ราว 24,000 บาท) พร้อมเปิดพรีออเดอร์แล้วผ่าน Vive.com และ Amazon โดยจะเริ่มส่งมอบวันที่ 5 เมษายนนี้
สำหรับคนที่สั่ง Vive Pro ก่อน 3 มิถุนายน จะได้รับ Viveport Subscription ฟรี 6 เดือนด้วย ขณะที่ HTC Vive รุ่นแรกถูกปรับราคาลงจาก 599 ดอลลาร์เหลือ 499 ดอลลาร์
Steam จัดการสำรวจข้อมูลฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของผู้เล่นบนแพลตฟอร์ม (Steam Hardware & Software Survey) เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งก็มีหมวดตั้งแต่การ์ดจอ, ซีพียู, เวอร์ชัน DirectX, คอร์ซีพียู และแว่น VR เป็นต้น
โดยการใช้งานของแบรนด์ต่างๆ ในหมวดอื่นๆ อาจจะค่อนข้างขาดและชัดเจน ขณะที่หมวด VR คะแนนจะค่อนข้างสูสีระหว่าง HTC Vive และ Oculus Rift และจะเป็น HTC Vive ที่มักจะได้คะแนนสูงกว่าเล็กน้อยมาตลอด อย่างไรก็ตามผลสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Oculus Rift ได้ผลคะแนนเหนือ HTC Vive เป็นครั้งแรกที่ 47.31% และ 45.38% ตามลำดับ ส่วนอีกแบรนด์ที่ตามมาห่างๆ คือ Windows Mixed Reality 5.36%
ผลสำรวจนี้พอจะบ่งบอกได้แค่เรื่องความนิยมและส่วนแบ่งตลาดแบบคร่าวๆ ในกลุ่มแว่น VR ในปัจจุบัน
HTC ได้เปิดตัวแว่น VR รุ่นใหม่ในชื่อ Vive Pro ที่อัพเกรดขึ้นมาจากรุ่นแรก โดยเฉพาะการแก้ปัญหาการใช้งาน Vive รุ่นแรกหรือแว่น VR อื่นๆ ที่สายเคเบิลที่ค่อนข้างระเกะระกะ เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหวพอสมควร ด้วอแดปเตอร์ไร้สายที่เปิดตัวมาพร้อมกันด้วย โดยใช้เทคโนโลยี WiGig ของอินเทล ผ่านคลื่นความถี่ 60GHz ช่วยให้ไม่มีคลื่นรบกวนและความหน่วง
นอกจากนี้ยังมีการอัพเกรดหน้าจอแสดงผล อยู่ที่ความละเอียด 2880x1660 (ข้างละ 1400x1600) 615 ppi แพแนลจอเป็น OLED รวมถึงมีการออกแบบดีไซน์ของที่รัดหัวใหม่ และที่สำคัญคือคราวนี้ Vive Pro มีเฮ้ดโฟนที่มีแอมป์มาให้แล้วในตัว พร้อมเพิ่มกล้องหน้า 2 ตัวและไมโครโฟนคู่พร้อมระบบตัดเสียงรบกวน
ตลาดแว่น VR ในปีหน้าเริ่มจะไปในทิศทางของแว่นแบบ standalone ที่ไม่ต้องต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างคือ Oculus Go ของ Facebook ส่วนฝั่ง HTC เคยโชว์แว่น Vive Focus เมื่อเดือนที่แล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยราคาและวันวางขาย
ล่าสุด HTC ประกาศวางขาย Vive Focus ในจีนเป็นประเทศแรก รุ่นมาตรฐานสี Almond White ราคา 3,999 หยวน (ประมาณ 20,000 บาท) และมีรุ่นพิเศษสี Electric Blue ราคา 4,999 หยวน (25,000 บาท) เปิดสั่งซื้อล่วงหน้าวันพรุ่งนี้ 12 ธันวาคม สินค้าจะส่งมอบในเดือนมกราคม 2018 แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะวางขายนอกจีนเมื่อไร
HTC ประกาศเปิดตัว Vive Focus เฮดเซ็ท VR แบบออลอินวัน ถือเป็นเฮดเซ็ท VR ที่มีระบบการติดตามแบบ inside-out six-degree-of-freedom (6DoF) world-scale และ Vive Focus เป็นเฮดเซ็ทแบบ standalone คือไม่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมหรือเซนเซอร์อื่น ๆ ก็สามารถทำงานได้
Vive Focus ใช้ชิพภายในเป็น Qualcomm Snapdragon 835 ใช้ระบบติดตามตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้แม้จะอยู่บนรถไฟหรือเครื่องบิน มีระบบ instant on ส่วนหน้าจอใช้ AMOLED พร้อมสายรัดหัวแบบเหมือนกับ Vive Deluxe Audio Strap ที่สามารถหมุนได้ และมาพร้อมกับตัวควบคุมแบบ 3DoF โดย Vive Focus นี้เน้นการทำตลาดในจีน
Logitech พัฒนาชุด SDK และอุปกรณ์สำหรับคีย์บอร์ดในการเชื่อมต่อเข้าสู่โลก VR โดยเฉพาะ ในชื่อว่า Bridge SDK
สำหรับชุดคีย์บอร์ดที่จะประกอบเพื่อใช้งาน VR บน HTC Vive คือคีย์บอร์ด Logitech G, เซนเซอร์สำหรับการบอก Vive Tracker ว่าคีย์บอร์ดอยู่ตำแหน่งไหน และ SDK สำหรับให้นักพัฒนาใช้งาน โดยเมื่อนักพัฒนาเชื่อมต่อคีย์บอร์ดเข้ากับ HTC Vive แล้ว ผู้ใช้ก็สามารถพิมพ์คีย์บอร์ดจริง ๆ ส่วนในโลก VR ก็จะเห็นเป็นคีย์บอร์ดด้วยเช่นกัน และในโลก VR นี้นักพัฒนาสามารถแปลงคีย์บอร์ดให้มีสีสันอย่างไรก็ได้
HTC ประกาศเปิดตัวและวางจำหน่ายแว่น HTC Vive อย่างเป็นทางการ สนนราคาอยู่ที่ 30,599 บาท ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ Lighthouse Base Station 2 ตัวสำหรับจับการเคลื่อนไหว, Motion Controller 2 ตัวและแว่น Vive Headset เริ่มวางจำหน่าย 10 ตุลาคมนี้
ที่สำคัญคือทาง HTC มีบันเดิ้ลโค้ดเกม Fallout 4 VR เวอร์ชันเต็มมูลค่า 1,490 บาทสำหรับผู้ที่ซื้อ HTC Vive ให้แบบฟรีๆ ด้วย
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า HTC ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากไต้หวันเตรียมแยกธุรกิจแว่นสามมิติ Vive ออกขาย เนื่องจากเป็นธุรกิจส่วนที่มีมูลค่าสูงของบริษัท สวนทางกับธุรกิจสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างแย่อยู่ โดย HTC กำลังตัดสินใจในหลาย ๆ รูปแบบ ตั้งแต่การแยกธุรกิจ Vive ไปจนถึงขายกิจการ
จากรายงานเผยว่า ตอนนี้ HTC กำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษาเพื่อตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับธุรกิจของ Vive ตั้งแต่การดึงนักลงทุน, ขายกิจการ หรือแยกกิจการออกจาก HTC หลัก แต่รายละเอียดของการตัดสินใจยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ค่อนข้างแน่นอนว่า HTC จะไม่ขายทั้งบริษัทก่อนแยกกิจการ Vive
HTC ประกาศลดราคาแว่นสามมิติ HTC Vive ลง 200 ดอลลาร์ จากเดิม 799 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 599 ดอลลาร์
ผู้ที่ซื้อแว่นในช่วงนี้ยังจะได้ทดลองบริการ Viveport Subscription หรือการจ่ายเพื่อเช่าคอนเทนต์ VR แบบเหมานาน 1 เดือน ส่วนอุปกรณ์เสริมตัวใหม่ HTC Tracker ที่ใช้ติดกับอุปกรณ์อื่นเพื่อใช้งานในโลก VR ก็จะเริ่มวางขายในเร็วๆ นี้
ก่อนหน้านี้ คู่แข่ง Oculus เพิ่งลดราคาแว่น Rift และอุปกรณ์เสริม Touch ลงเหลือ 399 ดอลลาร์
ในยุคสมัยที่เกม VR ครองเมือง คงไม่มีเกมไหนเหมาะกับการเล่นด้วยแว่น VR ไปกว่าเกม FPS ต้นฉบับอย่าง Doom
Doom: VFR เป็นเกม Doom ภาคใหม่ที่ค่าย id Software สร้างขึ้นมาสำหรับโลก VR โดยเฉพาะ เนื้อเรื่อง (ที่ไม่ค่อยจำเป็นนัก) คือเราเป็นมนุษย์คนสุดท้ายบนห้องวิจัยดาวอังคารที่รอดชีวิตจากปีศาจนรก และต้องต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดให้จบเกม
ระบบใหม่ที่เพิ่มมาในเกมภาคนี้คือ Teleport และติดเจ็ต Jet-Strafe เร่งความเร็ว เรายังสามารถย้ายจิตสำนึกไปยังหุ่นยนต์เพื่อแก้ปริศนาในฉากต่างๆ ได้ด้วย
เกมจะลงแพลตฟอร์ม PlayStation VR และ VIVE วันวางขายบอกคร่าวๆ แค่ว่าภายในปีนี้
Narcosis คือโปรเจคเกม VR แนวสยองขวัญเอาตัวรอด พัฒนาโดยสตูดิโออินดี้ Honor Code วางขายวันที่ 28 มีนาคม บน PC, Mac และ Xbox One ในราคา $19.99 รองรับอุปกรณ์ Oculus และ HTC Vive
ภายในเกมตัวละครของเราคือผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายที่ถูกกักขังอยู่ในศูนย์วิจัยที่อยู่ใต้ห้วงทะเลลึกอันไร้ซึ่งแสงแดด ด้วยแสงไฟกับอุปกรณ์ที่มีเพียงน้อยนิด เราต้องไขปริศนาให้ได้ว่าสิ่งที่คร่าชีวิตผู้คนภายในศูนย์วิจัยเป็นใครหรือตัวอะไรกันแน่ พร้อมกับหาทางออกหนีขึ้นไปบนผิวน้ำให้ได้ ก่อนที่ออกซิเจนและสติสัมปชัญญะของเราจะหมดสิ้นลง
HTC ประกาศเปิดตัวอุปกรณ์เสริมสำหรับ HTC Vive 2 ชิ้น ได้แก่ Vive Tracker โมดูลสำหรับติดเข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องมือ อาทิ ไม้เบสบอลหรือปืนของเล่น สำหรับนำไปใช้งานหรือเชื่อมต่อเข้ากับระบบ VR ของ Vive ได้โดยตรง ซึ่งทาง HTC ยังไม่เปิดเผยราคาออกมา ระบุแต่ว่าจะวางขายในช่วงไตรมาสสองของปี และมีพาร์ทเนอร์สำหรับผลิตอุปกรณ์เสริมตัวนี้อยู่ถึง 8 ราย
HTC ประสบความสำเร็จไม่น้อยกับแว่นสามมิติ HTC Vive และหลายคนก็คงอยากให้บริษัทออกแว่น HTC Vive รุ่นที่สองที่ปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่า HTC จะใช้เวทีงาน CES 2017 เปิดตัวแว่นรุ่นใหม่ เหมือนกับที่ใช้เวที CES 2016 เปิดตัวแว่นรุ่นแรก อย่างไรก็ตาม HTC กลับให้ข้อมูลแล้วว่าปีนี้จะไม่เปิดตัว HTC Vive 2 ที่ CES 2017 แต่อย่างใด บริษัทบอกว่าตอนนี้ต้องการโฟกัสไปกับ ecosystem ของ Vive มากกว่าออกฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่
แว่น HTC Vive ใช้เทคโนโลยีจับการเคลื่อนไหว SteamVR Tracking ของบริษัท Valve แต่เมื่อกลางปี Valve ก็เปิดเทคโนโลยีตัวนี้ให้บริษัทที่สนใจนำไปใช้งานได้ ไม่ได้จำกัดแค่ HTC เพียงรายเดียว ต้องรอดูกันว่า CES ปีนี้เราจะได้เห็นแว่น VR จากบริษัทอื่นๆ ที่รองรับ SteamVR ด้วยหรือไม่
ที่มา - UploadVR
Canalys บริษัทวิจัยตลาดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เปิดเผยว่ายอดส่งมอบอุปกรณ์แว่น VR (ไม่นับแบบที่ต้องใช้สมาร์ทโฟนแบบ DayDream หรือ Gear VR) ในปีนี้อยู่ที่ราว 2 ล้านชิ้น โดยคาดว่าโซนีจะครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดจากการส่งมอบ PlayStation VR ราว 8 แสนชิ้นภายในสิ้นปีนี้ ตามมาด้วย HTC Vive ที่ 5 แสนชิ้น และ Oculus Rift ที่ 4 แสนชิ้น
Canalys คาดว่าด้วยปีหน้าแว่น VR จะได้รับความนิยมมากกว่าและยอดส่งมอบอาจถึง 5 ล้านชิ้น ก่อนจะเพิ่มเป็น 10 ล้านและ 15 ล้านชิ้นในปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ เนื่องจากผู้ผลิตพีซีแนวหน้าอย่าง HP, Dell, Acer, Lenovo และ ASUS จะหันมาจับตลาดนี้ด้วยจากแพลตฟอร์ม Windows Holographic ของไมโครซอฟท์
HTC ประกาศจัดตั้ง Vive Studios แผนกใหม่ที่จะมาดูแลเรื่องการพัฒนาและเผยแพร่คอนเทนท์ VR บนแพลตฟอร์มโดยเฉพาะ โดยคอนเทนท์จะมีทั้งจาก Bears Studios สตูดิโอภายในเองและพาร์ทเนอร์ภายนอก พร้อมเดบิวท์ Arcade Saga เกมแรกภายใต้ Vive Studios
รูปแบบการจัดจำหน่ายคอนเทนท์ของ Vive Studios จะเป็นโมเดลลักษณะคล้ายกับฝั่งคอนโซล คือทั้งทำเอง และร่วมทุนกับสตูดิโอที่เป็นพาร์ทเนอร์ในการพัฒนา โปรโมทและวางจำหน่าย
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์ม Virtual Reality เริ่มมีพัฒนาการและจำนวนผู้เล่นในตลาดมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมถึงถูกนำมาประยุคใช้ในหลายๆ วงการมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Global Virtual Reality Association (GVRA) ด้วยจุดประสงค์ในการผลักดันการพัฒนาและนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานให้แพร่หลายมากขึ้น
GVRA ถูกจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของซัมซุง, กูเกิล, โซนี, HTC, Oculus และ ASUS ซึ่งล้วนเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด VR โดยสมาชิกในองค์กรจะมีพันธกิจในการแบ่งปันองค์ความรู้และงานวิจัยร่วมกัน ขณะที่องค์กร GVRA เองก็จะเป็นแหล่งข้อมูล ความรู้และการใช้งานด้าน VR ให้กับทั้งผู้บริโภค รัฐบาลรวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สนใจในเทคโนโลยีนี้
ปี 2016 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นของแว่น VR ในกระแสหลัก เราเห็นการวางขายสินค้าจริงของทั้ง Oculus Rift, HTC Vive และ PlayStation VR แต่ข้อจำกัดของแว่นสมรรถนะสูง (ที่ไม่ใช้จอมือถือเป็นจอแสดงผลแบบ Gear VR) คือเรื่อง "สาย" ที่ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้เกะกะ ไม่สะดวกในการใช้งาน
ทิศทางของตลาด VR จึงเริ่มหมุนไปยังเทคโนโลยีที่ช่วยให้แว่น VR ทำงานแบบไร้สายได้ ฝั่งของ HTC Vive จึงเปิดตัวอุปกรณ์เสริม TPCAST ที่เสียบเข้ากับแว่น HTC Vive ของเดิม เพื่อส่งข้อมูลไร้สายไปยังพีซีได้ ตัวอุปกรณ์ทำงานได้นาน 90 นาที และจะเริ่มวางขายในไตรมาสแรกของปี 2017 ในราคา 220 ดอลลาร์