GNOME ออกเวอร์ชัน 45 โค้ดเนม Riga ชื่อเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้ได้แก่
เคอร์เนลลินุกซ์มีรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS เป็นระยะเวลานาน 6 ปี สำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพสูง ดูแลระบบต่อเป็นเวลานาน ที่ผ่านมามีเคอร์เนล LTS ทั้งหมด 6 รุ่นคือ 4.14, 4.19, 5.4, 5.10, 5.15, 6.1 รายละเอียด
แต่ล่าสุดนโยบายนี้กำลังเปลี่ยน โดยลดระยะเวลาดูแลเคอร์เนลลงจาก 6 ปีเหลือ 2 ปี ด้วยเหตุผลว่าระยะเวลา 6 ปีนั้นนานจนเกินไป คนไม่ได้ใช้งานเคอร์เนลกันนานขนาดนั้น การลดระยะเวลาดูแลยังช่วยลดภาระของ maintainer ลงได้อย่างมากด้วย
ก่อนหน้านี้ HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์โครงการที่ดูแลรวมถึง Terraform ทำให้กลุ่มบริษัทและชุมชนนักพัฒนาประกาศแยกโครงการออกมา โดยมีชื่อเรียกว่า OpenTF
ล่าสุดกลุ่ม OpenTF ได้ให้ Linux Foundation เป็นผู้ดูแลโครงการ พร้อมประกาศตั้งชื่อ fork ของ Terraform ใหม่ว่า OpenTofu โดยมีแผนให้ CNCF ดูแลโครงการด้วย
OpenTofu จะดำเนินงานต่อไปแบบโอเพนซอร์สภายใต้ไลเซนส์ MPLv2 โดยมีกลุ่มร่วมสนับสนุนหลักอาทิ Harness, Gruntwork, Spacelift, env0 ฯลฯ เพื่อให้มีนักพัฒนาโครงการแบบเต็มเวลาจำนวน 18 คน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
ผ่านมาเพียง 6 วันหลังจากที่ Unity เปลี่ยนวิธีคิดเงินค่าเอนจินเกม จำนวนผู้บริจาคเงินให้โครงการเอนจินโอเพนซอร์ส Godot เพิ่มขึ้นถึง 170% และจำนวนยอดบริจาคต่อเดือนเพิ่มขึ้นถึง 40%
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา Godot เปลี่ยนวิธีการบริจาคผ่านเว็บไซต์ patreon มาผ่านการบริจาคผ่าน Godot Development Fund หลังเวลาผ่านมา 2 เดือนทำให้ Godot ได้รับยอดบริจาค 25,000 ดอลลาร์ต่อเดือน จากสมาชิกกว่า 400 คน ซึ่งจำนวนยอดบริจาคนี้ก็มากกว่าระบบเดิมถึง 2 เท่าแล้ว
โครงการ OpenSSL ไลบรารีพื้นฐานสำหรับเข้ารหัสเพื่อสื่อสารตามโปรโตคอล SSL/TLS ประกาศหยุดซัพพอร์ต (End of Life) เวอร์ชัน 1.1.1 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของสาย OpenSSL 1.x
OpenSSL 1.1.1 เป็นเวอร์ชันซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2018 มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 5 ปีเต็ม ตอนนี้สิ้นสุดแล้วตามแผนการที่ประกาศไว้เมื่อ 5 ปีก่อน
ผู้ใช้งานจำเป็นต้องอัพเกรดไปใช้ OpenSSL 3.x โดยมีทางเลือก 2 ทางคือ
ที่มา - OpenSSL via The Register
David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp และผู้สร้าง Ruby on Rails ประกาศถอดภาษา TypeScript ออกจากโครงการ Turbo ที่เร่งความเร็วหน้าเว็บด้วยการลดการโหลดจากการกดลิงก์หรือส่งข้อมูลฟอร์ม
Hansson ระบุในประกาศว่าเขาไม่เคยชอบ TypeScript ตั้งแต่แรก และไม่ชอบตลอดที่ใช้งานมา 5 ปี แต่กลับชอบ JavaScript มากกว่าและนับว่าเป็นภาษาที่ชอบเป็นรองเพียง Ruby เท่านั้น และข้อเสียต่างๆ ของ JavaScript ก็ถูกแก้ไปเยอะแล้ว โดยเฉพาะระบบ class ขณะที่ภาษา TypeScript นั้นเพิ่มขั้นตอนการคอมไพล์เข้ามาและบังคับใช้ type จนวุ่นวายและสุดท้ายในเคสยากๆ ก็ต้องใช้ any
jq ภาษาโปรแกรมเฉพาะทางสำหรับประมวลผลข้อมูลแบบ JSON นับเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่โครงการก็หยุดพัฒนาไปพักใหญ่ ล่าสุดโครงการก็กลับมาอีกครั้ง โดยการกลับมาครั้งนี้มีความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาให้เป็นชุมชนมากขึ้น
เดิม jq เป็นโครงการส่วนตัวเอง Stephen Dolan นับแต่เวอร์ชั่น 1.7 กลุ่มนักพัฒนาจะช่วยกันดูแลภายใต้โครงการ jqlang ตอนนี้มีนักพัฒนาหลักช่วยกันดูโครงการถึง 10 คน
เวอร์ชั่น 1.7 แก้ไขบั๊กจำนวนมาก เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาหลายส่วน ฟังก์ชั่นใหม่ๆ เช่น pick สำหรับคิวรีค่าใน json dict, debug ตัวใหม่ที่ประมวลข้อมูลก่อนพิมพ์ได้, abs สำหรับหาค่าสมบูรณ์ของตัวเลข
ที่มา - GitHub: jqlang
TII (หรือ Technology Innovation Institute) เป็นสถาบันเทคโนโลยีของอาบูดาบี ได้เปิดตัวโมเดล Falcon ที่ขนาด 180 พันล้านพารามิเตอร์ ในชื่อ Falcon 180B ที่ถูกฝึกบนชุดข้อมูลกว่า 3.5 ล้านล้านโทเคน (จำนวนหน่วยย่อยของคำในทางงานประมวลผลภาษาธรรมชาติ) บนการ์ดจอ 4,096 ตัว ด้วยเวลาประมาณ 7,000,000 ชั่วโมงของการ์ดจอ หลังจากที่เคยเปิดตัว Falcon 40B มาก่อนโดน Llama 2 แซงในเวลาต่อมาด้วยขนาด 70 พันล้านพารามิเตอร์ที่ใหญ่กว่า
OpenTF กลุ่มบริษัทและนักพัฒนาประกาศแยกสายการพัฒนาโครงการ Terraform โดยตัดที่เวอร์ชั่น 1.6.0-alpha ที่เป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่ยังเป็นไลเซนส์แบบ MPL หลัง HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์เป็น BUSL ซึ่งไม่นับเป็นโอเพนซอร์ส
ตอนนี้มี 4 บริษัทที่ประกาศสนับสนุนพนักงานเต็มเวลาเพื่อร่วมพัฒนา OpenTF ได้แก่ Spacelift, env0, Scalr, และ Sailorcloud รวมนักพัฒนาเต็มเวลา 14 คน คาดว่าจะมีบริษัทสนับสนุนเข้ามาเพิ่มอีกเท่าตัว ขณะที่โครงการ Terraform นั้นใช้นักพัฒนาประมาณ 5 คน
เป้าหมายของ OpenTF คือจะสร้างให้โครงการกลายเป็นโครงการของ CNCF เพื่อให้กลายเป็นโครงการของชุมชนอย่างแท้จริง
ชุดโปรแกรมสำนักงาน LibreOffice ออกเวอร์ชัน 7.6 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน สิ่งสำคัญคือ LibreOffice 7.6 ถือเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่ใช้ระบบเลขเวอร์ชันแบบดั้งเดิม โดยเวอร์ชันหน้าจะเปลี่ยนมาใช้ระบบเลขแบบใหม่ "ปี.เดือน" คือ LibreOffice 24.2 กำหนดออกเดือนกุมภาพันธ์ 2024
ของใหม่ใน LibreOffice 7.6 ได้แก่
ของใหม่ของโปรแกรมต่างๆ ในชุด ดูได้จากคลิปท้ายข่าว
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 1993 Ian A Murdock ประกาศในกลุ่ม comp.os.linux.development ว่าเขากำลังพัฒนา Debian Linux Release ใกล้เสร็จ หลังจากใช้งาน SLS Linux และไม่พอใจหลายอย่าง
ประกาศครั้งนั้นวางแนวทางของ Debian เอาไว้หลายอย่าง เช่น
แนวทางการอัพเดตแพ็กเกจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Debian กลายเป็นดิสโทรพื้นฐานสำหรับดิสโทรยอดนิยมเช่น Ubuntu ขณะที่ในโลก container เอง Debian ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง
หลังจาก HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์ของโครงการต่างๆ ที่บริษัทดูแล จากเดิมใช้ไลเซนส์ MPL 2.0 ที่ให้อิสระค่อนข้างมาก มาเป็น Business Source License (BUSL) ที่จำกัดการใช้งาน กลุ่ม OpenTF ที่เริ่มต้นด้วยบริษัทและโครงการต่างๆ รายล้อม Terraform ก็ออกมาเรียกร้องให้ HashiCorp ย้อนกลับไปใช้ MPL 2.0 หรือไลเซนส์เปิดแบบเดิม
OpenTF เตรียมแนวทางแยกโครงการหากเจรจากับ HashiCorp ไม่สำเร็จด้วยการแยกโครงการที่ดูแลโดยมูลนิธิกลาง แบบเดียวกับโครงการต่างๆ ภายใต้ Linux Foundation หรือ CNCF
HashiCorp ประกาศเปลี่ยนสัญญาอนุญาตการใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัท จากเดิมเป็น Mozilla Public License v2.0 (MPL 2.0) มาเป็น Business Source License (BUSL) แม้จะมีแนวทางเปิดซอร์สโค้ดให้แก้ไขดัดแปลงหรือแจกจ่ายได้ แต่ก็มีข้อจำกัดห้ามนำซอร์สโค้ดไปแข่งขันเชิงธุรกิจกับผู้พัฒนาหลัก คือ HashiCorp เอง แนวทางจำกัดการใช้งานเช่นนี้ทำให้ BUSL ไม่ถือเป็นโอเพนซอร์สตามนิยามของ Open Source Initiative (OSI)
Alibaba Cloud เปิดซอร์สโค้ดของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ชื่อ Tongyi Qianwen ที่เคยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2023 ออกสู่สาธารณะ
โมเดลที่เปิดซอร์สโค้ดออกมายังมีเฉพาะรุ่นเล็ก Qianwen-7B และ Qianwen-7B-Chat ขนาด 7 พันล้านพารามิเตอร์ รองรับบทสนทนาขนาดยาว 8K, คลังคำศัพท์ 150K tokens (Qianwen ตัวเต็มมีขนาดใหญ่ถึง 10 ล้านล้านพารามิเตอร์ และถูกใช้กับบ็อตสนทนาของ Alibaba เอง เช่น DingTalk หรือ Tmall Genie)
Daniel Cazzulino นักพัฒนาหลักของโครงการ Moq ไลบรารีสำหรับ mock-up บน .NET แทรกโครงการ SponsoredLink เพื่อโฆษณาให้นักพัฒนาที่ใช้โครงการ เข้าไปสนับสนุนรายเดือนให้เขาผ่าน GitHub Sponsors แต่ชุมชนผู้ใช้ก็มีความเห็นต่างกันว่าการกระทำแบบนี้ยอมรับได้หรือไม่
Moq มีจำนวน GitHub Star อยู่ที่ 5,300 ดาวนับเป็นโครงการที่ได้รับความนิยมพอสมควร Cazzulino ระบุว่ากำลังยกเครื่องไลบรารีไปยัง Moq vNext ที่ต้องใช้การลงแรงเต็มเวลา จึงต้องการเงินสนับสนุนมากขึ้นให้พอสำหรับเขาและครอบครัว
curl ไคลเอนต์ HTTP และโปรโตคอลอื่นๆ ออกเวอร์ชั่น 8.3.0 มีฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับตัวแปรในตัว ทำให้สามารถส่งคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้นมาก
ตัวแปรในคำสั่ง curl จะกำหนดด้วยออปชั่น --variable
หรือไฟล์คอนฟิก เมื่อสร้างตัวแปรแล้วก็จะสามารถใช้ตัวแปรใน URL, ข้อมูลสำหรับ HTTP POST, หรือนำไปประกอบเป็นตัวแปรอื่นๆ ก็ได้
นอกจากการใช้ตัวแปรแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นมาให้จำนวนหนึ่ง ได้แก่ trim สำหรับตัดช่องว่างหน้าหลัง, json เข้ารหัสเป็น JSON, url เข้ารหัสแบบ URL encode, และ b64 สำหรับเข้ารหัส base64
ตอนนี้ curl 8.3.0 ยังไม่ออกตัวจริง แต่ release notes ก็แสดงข้อมูลฟีเจอร์ใหม่ใน Git แล้ว
Overture Maps Foundation หรือ OMF หน่วยงานที่มี Amazon Web Services (AWS), Meta, Microsoft และ TomTom ร่วมก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว เพื่อร่วมกันพัฒนาข้อมูลแผนที่แบบ Open Map ให้นักพัฒนานำไปใช้ต่อยอดได้ ประกาศเผยแพร่ข้อมูลแผนที่ชุดแรกให้นำไปใช้งาน
Overture 2023-07-26-alpha.0 คือชื่อของ release นี้ โดยมีข้อมูลเสริม 4 ส่วน ได้แก่ สถานที่น่าสนใจ (Places of Interest), อาคาร, เครือข่ายการเดินทาง และข้อมูลแนวเขตการปกครอง โดยเฉพาะส่วนข้อมูลสถานที่นั้นมีมากกว่า 59 ล้าน สถานที่ทั่วโลก นักพัฒนาสามารถนำไปใช้งานทั้งการแนะนำเส้นทาง การค้นหาสถานที่ ตลอดจนต่อยอดกับแอพพลิเคชันอื่นได้
Inkscape โปรแกรมวาดภาพแบบเวคเตอร์โอเพนซอร์สออกเวอร์ชั่น 1.3 โดยปรับปรุงทั้งประสิทธิภาพการทำงาน และฟีเจอร์ย่อยๆ หลายอย่าง แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือเครื่องมือวาดภาพแบบใหม่ Shape Builder
Shape Builder เป็นเครื่องมือให้วาดออปเจกต์ได้จากการประกอบภาพส่วนวาดย่อยๆ เข้าด้วยกัน โดยแนวทางนี้ Adobe เคยใช้งานมาก่อนใน Adobe Flash และ Illustrator อย่างไรก็ดี ในเวอร์ชั่นนี้ยังมีปัญหากับภาพโค้งที่ออปเจกต์ที่ได้จะมีโหนดมากเกินความจำเป็น แม้ว่าจะมีคำสั่ง Simplify เพื่อลดโหนดลงแต่รูปร่างก็อาจจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย ปัญหานี้กำลังแก้ไขในอนาคต
ฟีเจอร์อื่นๆ ได้แก่
โครงการ Ubuntu เตรียมเปลี่ยนฟอนต์มาตรฐานของระบบ จากเดิมใช้ฟอนต์ตระกูล DejaVu เปลี่ยนมาเป็นฟอนต์ตระกูล Noto ของกูเกิล
ฟอนต์ทั้งสองตัวเกิดมาด้วยแนวคิดเดียวกัน คือเป็นฟอนต์โอเพนซอร์สที่ใช้ได้อย่างเสรี และรองรับภาษาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ฟอนต์ DejaVu ออกครั้งแรกในปี 2004 โดยนำฟอนต์ภาษาละติน Bitstream Vera ของบริษัทฟอนต์ Bitstream มาขยายผลต่อโดยเติมอักขระในภาษาอื่นๆ เพิ่มเข้ามา
AlmaLinux โครงการลินุกซ์ที่สร้างขึ้นทดแทน CentOS ประกาศแนวทางว่าจะไม่เอาเรื่องเข้ากันได้กับ RHEL ได้แบบ 100% ทดแทนได้แบบ 1:1 แล้ว แต่จะรักษาความเข้ากันได้ในระดับ Application Binary Interface (ABI) compatible คือแอพที่สร้างมารันบน RHEL จะสามารถรันบน AlmaLinux ได้อย่างไม่มีปัญหา
AlmaLinux บอกว่าผู้ใช้ทั่วไปจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะจะยังได้รับแพตช์ความปลอดภัยในเวลารวดเร็วเช่นเดิม รันแอพที่ออกแบบมาบน RHEL ได้เหมือนเดิม แต่จะไม่เหมือนกับ RHEL เป๊ะๆ ชนิดบั๊กต่อบั๊กอีกแล้ว ข้อดีของแนวทางนี้คือ AlmaLinux อาจแก้บั๊กได้เร็วกว่า RHEL ด้วยซ้ำ และการแก้บั๊กของ AlmaLinux จะเพิ่มคอมเมนต์ในซอร์สโค้ดด้วยว่านำแพตช์มาจากที่ใด ช่วยให้โครงการโปร่งใสมากขึ้น
Thunderbird ออกเวอร์ชัน 115 ตามนโยบายออกรุ่นใหม่ปีละครั้ง (แต่นับเลขตาม Firefox ปีที่แล้วคือเวอร์ชัน 102) ของใหม่ที่สำคัญคือ UI ตัวใหม่ที่ชื่อ Supernova สวยงามขึ้นกว่าเดิม พร้อมเปลี่ยนโลโก้ของ Thunderbird ใหม่เพื่อสะท้อนการเข้าสู่ยุคใหม่ของซอฟต์แวร์ตัวนี้ด้วย
SUSE บริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศพัฒนาลินุกซ์ต่อจาก RHEL ของ Red Hat แม้ว่าจะมี SUSE Linux Enterprise (SLE) เป็นดิสโทรหลักอยู่แล้วก็ตาม โดยโครงการใหม่ที่แยกออกมาจาก RHEL นี้จะดูแลโดยมูลนิธิด้านโอเพนซอร์สภายนอก เพื่อดูแลว่าสามาารถใช้งานซอร์สโค้ดร่วมกันได้ โดยทาง SUSE จะลงทุน 10 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ภายในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า
Oracle ประกาศพัฒนา Oracle Linux ต่อแม้จะไม่สามารถใช้โค้ดของ RHEL ได้อีกต่อไป หลังจาก Red Hat ปิดการเข้าถึงซอร์สโค้ด พร้อมกับเชิญดิสโทรอื่นๆ มาใช้โค้ดของ Oracle Linux
ที่ผ่านมา Oracle Linux ก็เป็นหนึ่งในดิสโทรที่ใช้โค้ดจาก RHEL มาคอมไพล์ แต่หลังจากนี้ทาง Oracle ก็จะพัฒนาแยกออกไปเอง แต่ยังสัญญาว่าจะคงความเข้ากันได้ให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากมีจุดไหนไม่เข้ากันทาง Oracle ก็จะถือว่าเป็นบั๊กและพยายามแก้ปัญหาให้
หลังจาก Red Hat ไม่ปล่อยซอร์สโค้ด RHEL ก็ส่งผลกระทบต่อดิสโทรปลายน้ำที่นำโค้ดไปคอมไพล์ต่อ โดยตัวสำคัญสองตัว คือ AlmaLinux และ Rocky Linux ก็ออกมายืนยันว่าจะมีอัพเดตต่อไป
ทางฝั่ง AlmaLinux นั้นระบุว่าจะนำแพตช์มาจากหลายแหล่ง เช่น CentOS Stream และ Oracle Linux (ซึ่งเดิมใช้แพตช์จาก RHEL เหมือนกัน) นอกจากนี้แถลงของ AlmaLinux ยังตอบโต้แถลงของ Red Hat ที่ระบุว่าดิสโทร rebuild ไม่ได้สร้างคุณค่า โดยระบุว่าชุมชน AlmaLinux ช่วยดูแลแพลตฟอร์ม อย่าง Respberry Pi ส่งโค้ดกลับโครงการต้นน้ำหลายโครงกร และดูแลโครงการใน EPEL ที่เป็นแพ็กเกจนอกเหนือจากที่ Red Hat ดูแลอยู่จำนวนมาก
ความนิยมของ VS Code ทำให้เกิดส่วนขยาย (extension) จำนวนมาก จนถึงขั้นฟอร์แมตส่วนขยายของ VS Code กลายเป็นมาตรฐานของวงการ และมี IDE ตัวอื่นนำไปใช้งาน โดยเฉพาะ IDE ที่ดัดแปลงต่อยอดมาจาก VS Code เช่น Code-OSS (VS Code เวอร์ชันไม่มีแบรนด์ไมโครซอฟท์), Eclipse Theia, Gitpod, Salesforce Code Builder, SAP Business Application Studio เป็นต้น