ไมโครซอฟท์จัดงาน Lync Conference ประกาศข่าวใหม่ของ Microsoft Lync ผลิตภัณฑ์สำหรับสื่อสารภายในองค์กร ดังนี้
บริษัทรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ระดับองค์กรที่ชื่อว่า Bit9 ถูกแฮกเกอร์บุกรุกเข้าเครือข่ายของบริษัทไปถึงเครื่องที่ทำหน้าที่เซ็นลายเซ็นดิจิตอลเพื่อรับรองความปลอดภัยซอฟต์แวร์ ทำให้ลูกค้าของ Bit9 เชื่อว่ามัลแวร์เหล่านั้นเป็นซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย และตอนนี้มีลูกค้าอย่างน้อยสามรายถูกโจมตีแล้ว
ทาง Bit9 ระบุว่าเครื่องในบริษัทเองไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ของบริษัทไว้บนเครื่องจำนวนหนึ่ง ทำให้แฮกเกอร์สามารถบุกรุกเข้ามาได้ ตอนนี้บริษัทได้ยกเลิกใบรับรองดิจิตอล (certificate) ที่ใช้เซ็นรับรองซอฟต์แวร์ทิ้งไปแล้วขอใบใหม่แล้ว พร้อมกับอัพเดตซอฟต์แวร์ของบริษัทเพื่อให้ตรวจจับมัลแวร์ที่เซ็นด้วยใบรับรองของบริษัทไปแล้วได้
ช่วงหลังๆ มานี้ ประเด็นเรื่อง "ความปลอดภัย" ของโลกไอทีกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าในอดีตมาก ความซับซ้อนของภัยคุกคามไซเบอร์เพิ่มขึ้นหลายเท่า และมาตรการป้องกันภัยเองก็พัฒนาขึ้นจาก "แอนตี้ไวรัส" เพียงอย่างเดียวมาเป็นชุดเครื่องมือหลายๆ อย่างทำงานประสานกันแทน
เมื่อพูดถึงบริษัทด้านความปลอดภัยของโลกไอที แบรนด์แรกๆ ที่คนทั่วไปนึกถึงมักเป็น Norton ผลิตภัณฑ์จากบริษัท Symantec ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยรายใหญ่ของโลก มีประวัติความเป็นมายาวนาน
ผมมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย Symantec Thailand ซึ่งจะมาเล่าสถานการณ์ของความปลอดภัยไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป และอธิบายว่าจริงๆ แล้ว Symantec มีสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกเหนือจาก Norton อีกมาก
Rikke Rasmussen ผู้บริหารด้านการตลาดสำหรับลูกค้าองค์กรของ Windows Phone ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Mobile News ของอังกฤษว่า ไมโครซอฟท์เตรียมลุยตลาดลูกค้าภาคธุรกิจที่สนใจย้ายจากแพลตฟอร์ม BlackBerry มายังแพลตฟอร์มอื่นๆ ซึ่ง Windows Phone 8 เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ลูกค้ากลุ่ม SME ให้ความสนใจ
ไมโครซอฟท์ระบุว่าจับมือกับเอชทีซีและโนเกียเรียบร้อยแล้ว และกำลังเจรจากับซัมซุงเพื่อบุกตลาดนี้เช่นกัน
ในข่าวไม่ได้บอกว่าความร่วมมือกับผู้ผลิตทั้งสามรายคืออะไร แต่น่าจะเป็นไมโครซอฟท์ช่วยเหลือบริษัทเหล่านี้ขายมือถือ WP8 ยกล็อตหรือ B2B ให้กับภาคธุรกิจ (ซึ่งไมโครซอฟท์มีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้ว)
ใกล้ถึงนัดหมาย 30 มกราคมเปิดตัว BlackBerry 10 อย่างเป็นทางการ ค่าย RIM ก็ค่อยๆ ปล่อยจิ๊กซอของแพลตฟอร์ม BB10 ออกมาทีละชิ้น
ก่อนหน้านี้เราเห็น BlackBerry World ไปแล้ว คราวนี้เป็นคิวของซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ BlackBerry Enterprise Service 10 (BES 10) ที่เคยมีข่าวมาแล้วหลายรอบ
BES 10 เป็นซอฟต์แวร์ช่วยให้องค์กรบริหารจัดการอุปกรณ์พกพาแบบครบวงจร โดยครอบคลุม BlackBerry ทุกเวอร์ชัน (รวม PlayBook) และมือถือค่ายอื่นทั้ง iOS/Android
ไมโครซอฟท์ประกาศออกผลิตภัณฑ์ด้านไอทีองค์กรใหม่หลายตัว ได้แก่
Kevin Packingham ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Samsung Mobile USA ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่าช่วงหลังมือถือรุ่นท็อปของซัมซุงอย่าง Galaxy S III ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริหารมากขึ้น และเริ่มมีเสียงเรียกร้องให้มือถือของซัมซุงมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพื่อใช้ในองค์กรมากขึ้น
นอกจากนี้ Packingham ยังให้ความเห็นว่าตลาดมือถือสำหรับองค์กรเปิดกว้างมากกว่าเดิม เหตุเพราะความนิยมของ BlackBerry ที่ลดลงมากในช่วงหลัง และลูกค้าองค์กรเองยังไม่มั่นใจในแพลตฟอร์มใหม่อย่าง BB10 มากนัก
ซัมซุงจึงตั้งใจฉวยโอกาสนี้ โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองให้มีความปลอดภัยและเสถียรภาพในระดับที่องค์กรต้องการ และเน้นการเชื่อมต่อกับระบบไอทีที่องค์กรมีอยู่แล้วให้มากขึ้น
Amit Singh รองประธานด้านธุรกิจ Enterprise ของ Google กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ AllThingsD ว่า บริษัทตั้งเป้าที่จะดึงร้อยละ 90 ของผู้ใช้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงของ Microsoft Office โดยเขากล่าวว่าบริษัทพยายามปรับปรุงแอพเพื่อให้ทัดเทียมชุด Office และเข้ากันได้กับไฟล์ Office เดิม อาทิ เว็บแอพ Sheets ที่สามารถทำตารางและกราฟิกได้ และสามารถนำเข้า (import) ข้อมูลจากไฟล์ Excel ได้แทบที่จะหาข้อแตกต่างไม่ได้ หรือ การซื้อ QuickOffice ซึ่งจะมาช่วยในฟีเจอร์นำเข้าข้อมูลจากไฟล์ PowerPoint เข้าเว็บแอพ Slides ได้
Singh เสริมว่า ปีนี้เป็นปีที่บริษัททลายอุปสรรคต่างๆ และเริ่มได้ลูกค้าที่นำโซลูชันไปปรับใช้ทั่วทั้งองค์กรลูกค้ามากขึ้น
หลังจากกูเกิลซื้อ Quickoffice และรวมฟีเจอร์เข้ากับ Google Apps สำหรับภาคธุรกิจ ส่วนแอพตัวเดิมยังขายอยู่ปกติ
ล่าสุดกูเกิลปล่อยแอพ Quickoffice for iPad รุ่นใหม่ออกมาแล้ว โดยเปิดให้ลูกค้า Google Apps ภาคธุรกิจดาวน์โหลดได้ฟรี ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาคือสามารถแปลงไฟล์เอกสารไปใช้งานบน Google Doc ได้ดีขึ้น รวมถึงฟีเจอร์มาตรฐานอย่างการใช้งานเอกสารพร้อมกันอีกด้วย
กูเกิลบอกว่าแอพเวอร์ชัน Android จะตามมาเร็วๆ นี้ ส่วนรุ่นปกติก็ขายราคาเดิม 7.99 เหรียญครับ
ข่าวดีสำหรับนักพัฒนาที่ต้องทดสอบแอพภายในบริษัท ด้วยอัพเดตล่าสุดของ Play Store สำหรับผู้ใช้ Google Apps จะสามารถดาวน์โหลดแอพภายในจาก Play Store ได้โดยไม่ต้องลงเอง (sideloading) อีกต่อไปแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ที่ว่านี้คือ "Google Play Private Channel" ที่ให้นักพัฒนาสามารถอัพโหลดแอพขึ้นไปบน Play Store และให้ผู้ใช้คนอื่นล็อกอินเข้ามาด้วยบัญชีเดียวกันเพื่อดาวน์โหลดแอพโดยตรงจาก Play Store ในช่องทางที่กูเกิลกันไว้ให้ได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องเป็นบัญชี Google Apps นั่นเอง
ดูภาพได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Google Enterprise Blog
กูเกิลขยายช่องทางการแจกจ่ายแอพของ Play Store ไปยังลูกค้าองค์กรที่ใช้บัญชีในระบบของ Google Apps เพื่อให้องค์กรสามารถแจกจ่ายแอพบน Android ให้พนักงานของตัวเองได้ด้วย
กูเกิลเรียกฟีเจอร์นี้ว่า Google Play Private Channel ซึ่งองค์กรสามารถเพิ่มแอพภายในของบริษัทเอง (เช่น แอพจองห้องประชุม หรือแอพรายงานผลการทำงาน) และมันจะถูกแสดงบน Google Play Store บนมือถือของพนักงานที่ล็อกอินด้วยบัญชีของบริษัท (ดูภาพประกอบ)
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้กับ Google Apps ทุก edition ไม่ว่าจะเป็น Business, Enterprise และ Government ครับ
ที่มา - Google Enterprise
ไมโครซอฟท์เริ่มขาย Microsoft Office 2013 แบบ volume licensing สำหรับลูกค้าภาคองค์กรแล้ว โดยซอฟต์แวร์ที่ขายมีทั้งชุด Office 2013 ตัวหลัก และซอฟต์แวร์ข้างเคียงอื่นๆ เช่น Exchange Server 2013, Lync Server 2013, SharePoint Server 2013, Project 2013, Visio 2013
ส่วนลูกค้าปลีกทั่วไปแบบเราๆ ท่านๆ ต้องรอไตรมาสแรกของปี 2013 ไมโครซอฟท์ถึงจะขายปลีกเป็นซอฟต์แวร์แบบกล่องหรือแบบดาวน์โหลดครับ
คนที่สนใจทดลองก่อนก็ดาวน์โหลด Office 2013 Professional Plus มาเล่นได้นาน 60 วัน
ที่มา - Office News
บริษัทวิจัย IDC เผยยอดพยากรณ์ "โทรศัพท์มือถือที่ใช้ในองค์กร" โดยแบ่งประเภทเป็นโทรศัพท์ที่องค์กรซื้อให้พนักงานใช้ (corporate liable) และโทรศัพท์ที่พนักงานซื้อเพื่อมาใช้ในองค์กร (employee liable)
ตัวเลขประเมินของปี 2012 ทั้งปีได้แก่
ปัญหาความวุ่นวายระหว่าง Autonomy และเอชพีทำให้คู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอย่าง OpenText ก็เปิดโปรโมชั่นใหม่ให้นำไลเซนส์ของ Autonomy มาแลกเป็น OpenText ได้ในราคาเดิม
สินค้าสำคัญของ Autonomy คือ ระบบค้นหาเอกสารอย่าง iManage อีกส่วนคือระบบจัดการข้อมูลบนเว็บ (CMS) ที่ชื่อว่า Interwoven ทาง OpenText ระบุว่าสามารถใช้ eDOCS และ Web Experience Management (WEM) ของตนไปทดแทนได้ทันที่ นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์อีกหลายตัวที่สามารถทดแทนกันได้เช่นกัน
OpenShift เป็นบริการการแพลตฟอร์ม (PaaS) ของ Red Hat ที่ให้บริการแพลตฟอร์มที่หลากหลายตั้งแต่ J2EE, PHP CodeIgnitor, ไปจนถึง Python Django และตอนนี้ก็มี OpenShift Enterprise ให้สร้างบริการบนกลุ่มเมฆภายในองค์กรได้เอง
โดยรวม OpenShift Enterprise คือการจัดชุดซอฟต์แวร์ RHEL, JBoss ที่เป็นแพลตฟอร์มหลัก, และ OpenShift Origin ระบบจัดการหน่วยสภาพแวดล้อมจำกัดสำหรับแพลตฟอร์มที่ Red Hat เรียกว่า Gear
เดิมทีผู้ใช้ Windows Phone สามารถเข้าถึงข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ SharePoint ขององค์กรได้จาก Office Hub แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกแอพ SharePoint แยกมาให้ใช้งานแล้ว (ใช้ได้กับ WP7.5 ขึ้นไป)
ความสามารถของมันในตอนนี้ยังจำกัดเฉพาะส่วนของ social newsfeed ของ SharePoint เท่านั้น ผู้ใช้สามารถโพสต์สถานะ คอมเมนต์ กดไลค์สถานะของเพื่อนร่วมงาน โพสต์รูปภาพ และใส่ mention/hashtag ได้ครับ
ใครสนใจใช้งานก็เข้าไปดูที่ Windows Phone Store
ที่มา - PocketNow
Dell ยังไล่ล่าซื้อบริษัทซอฟต์แวร์องค์กรมาเสริมทัพต่อไป ล่าสุดประกาศซื้อ Gale Technologies บริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารศูนย์ข้อมูล ให้งานบำรุงรักษาต่างๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติ
บริษัท Gale Technologies ก่อตั้งในปี 2008 และมีผลิตภัณฑ์หลัก 2 ตัวคือ GaleForce เครื่องมือบริหารศูนย์ข้อมูล และ Cloud Scheduler ช่วยให้แอดมินระบบบริหารอุปกรณ์เสมือนบนกลุ่มเมฆ
เทคโนโลยีของ Gale Technologies จะถูกผนวกเข้ากับบริการกลุ่ม Active Infrastructure ของ Dell
บริษัทวิจัย Forrester สอบถามความเห็นขององค์กรต่างๆ ว่ามีแผนอัพเกรดไปใช้ Windows 8 อย่างไร ผลออกมาว่าสัดส่วนขององค์กรที่ตอบว่าจะเปลี่ยนมาใช้ Windows 8 น้อยกว่าผลสำรวจลักษณะเดียวกันในปี 2009 กับ Windows 7 ประมาณหนึ่งเท่าตัว
ปัญหาเอกสารหลุดเป็นปัญหาที่บริษัทขนาดใหญ่เจอกันเรื่อยมา บริษัทอย่างซิสโก้ก็เจอปัญหาเดียวกันเมื่อมีเอกสารภายในระบุการอัพเกรดเครือข่ายของ California State University (CSU) แล้วพบว่าราคาที่ซิสโก้สเสนอสูงถึง 122 ล้านดอลลาร์ เทียบกับคู่แข่งอย่าง Alcatel-Lucent ที่เสนอราคาเพียง 22 ล้านดอลลาร์ทำให้ชนะโครงการไป ข่าวนี้สร้างความไม่พอใจกับผู้บริหารของซิสโก้ค่อนข้างมาก มีการส่งจดหมายเวียนภายในเพื่ออธิบาย และระบุว่ากระบวนการพิจารณาน่าจะไม่ได้คำนวณมูลค่ารวมทั้งหมด (Total Cost of Ownership - TCO)
เอเอ็มดีอัพเกรดชิปในตระกูล Opteron จากสาย 6200 มาเป็น 6300 ประสิทธิภาพรวมเพิ่มขึ้นสูงสุด 24% และประสิทธิภาพต่อพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 40%
ฟีเจอร์ในชิปรุ่นนี้ได้แก่ Turbo CORE ที่เร่งความเร็วตามการใช้งานจริง, AMD-P ระบบจัดการพลังงานแบบใหม่, หน่วยความจำแบบ 4 channel รองรับสูงสุด 12 สล็อต 384GB, และบัส HyperTransport 3.0 x16
ชิปออกมาพร้อมกัน 10 รุ่น ไล่ราคาตั้งแต่ 293 ดอลลาร์ต่อชิป ในรุ่น 6320 (8 คอร์ 115 วัตต์ 2.8-3.3 GHz) ไปจนถึง 1,392 ดอลลาร์ต่อชิปในรุ่น 6386 S (16 คอร์ 140 วัตต์ 2.8-3.5 GHz)
นอกจากตระกูลใหญ่อย่าง 6300 แล้วเอเอ็มดียังประกาศว่าจะเปิดตัว Opteron อีกสองตระกูล คือ 4300 และ 3300 ภายในสิ้นปีนี้
John Chamber ซีอีโอของ Cisco ไปพูดที่งาน Gartner Symposium เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาพยากรณ์ว่ายักษ์ใหญ่ของโลกไอทีองค์กร 6 รายคือ Cisco, Microsoft, IBM, HP, Oracle, SAP จะมีบางรายที่ประสบภาวะแข่งขันไม่ไหวในอีก 5 ปีข้างหน้า และเหลือเพียง 3-4 รายที่ยังอยู่ในระดับแนวหน้าต่อไป
Chamber อธิบายว่าธุรกิจเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากและยักษ์ใหญ่บางรายจะปรับตัวไม่ทัน โดยเขาเสนอว่าบริษัทที่จะอยู่รอดได้ต้องมีโซลูชันครบครัน ทั้งฮาร์ดแวร์ ชิป และซอฟต์แวร์ แล้วประสานงานส่วนประกอบเหล่านี้ด้วยกันเป็นแพ็กเกจ
เพิ่งมีเสียงตอบรับจากผู้ใช้ Windows 8 กว่า 50,000 คนที่ Windows 8 Forum ได้ไปเก็บข้อมูลมา ซึ่งผลปรากฎว่ากว่า 3 ใน 4 ตัดสินใจกลับไปใช้ Windows รุ่นเก่า หรือระบบปฏิบัติการอื่น ทีนี้ลองมาดูความเห็นของภาคธุรกิจกันบ้าง
จากผลสำรวจของ Forrester Research ระบุว่าบริษัทที่มีแผนจะเปลี่ยนไปใช้ Windows 8 มีอยู่เพียง 33% เท่านั้น และราว 10% บอกว่ามีแผนจะข้าม Windows 8 ไปด้วย ส่วนที่เหลือนั้นยังไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้
เปรียบเทียบกับเมื่อครั้ง Windows 7 เรียกได้ว่าตัวเลขดังกล่าวลดลงมาก เพราะครั้งนั้นมีบริษัทวางแผนจะอัพเกรด Windows 7 มากถึง 66% และมีเพียง 1% เท่านั้นที่ตัดสินใจไม่อัพเกรด
บทสัมภาษณ์นี้ถือเป็นหนึ่งในซีรีส์การสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทไอทีในประเทศไทย คราวนี้เป็นบริษัทเครือข่ายอย่าง Cisco ที่กำลังเริ่มผันตัวเองไปทำธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น ศูนย์ข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ กลุ่มเมฆ และวิดีโอ คนที่พูดเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือไม่มีใครอื่นนอกจาก ดร.ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Cisco
ดร.ธัชพล มีประสบการณ์ด้านไอทีองค์กรมานาน เคยทำงานมาแล้วทั้งกับ EMC, Microsoft, Sun และ DEC นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งด้วย
ไอบีเอ็มเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลสำเร็จรูป (database appliance) ในชื่อ PureData สินค้าล่าสุดภายใต้กลุ่ม PureSystems ที่ก่อนหน้านี้มีเซิร์ฟเวอร์ PureFlex วางขายไปก่อนแล้ว
สินค้าในกลุ่ม PureSystems คือเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์มาให้แล้ว และขายเป็นตู้สำเร็จรูปพร้อมอุปกรณ์เครือข่ายในตู้แบบเดียวกับ iDataPlex พร้อมซอฟต์แวร์จัดการและมอนิเตอร์มาให้พร้อม โดยตัว PureData คือสินค้าในกลุ่มฐานข้อมูล เปิดตัว 3 รุ่นแรก คือ PureData System for Transactions, PureData System for Analytics, และ PureData System for Operational Analytics
เก็บตกข่าวของออราเคิลในงาน OpenWorld 2012 ต่อนะครับ จากที่ออราเคิลเคยประกาศยุทธศาสตร์ Cloud ไปเมื่อกลางปี ล่าสุดบริษัทก็ประกาศต่อยอดยุทธศาสตร์นี้ด้วย IaaS Cloud ซึ่งเทียบได้กับ Amazon Web Services ตรงๆ
ออราเคิลบอกว่าบริการกลุ่มเมฆของตัวเองมี PaaS (platform) และ และ SaaS (software) อยู่ก่อนแล้ว การเติม IaaS (infrastructure) เข้ามาจะให้บริษัทมีบริการกลุ่มเมฆครบถ้วนที่สุดในท้องตลาด และแน่นอนว่าต้องใช้ร่วมกันทุกระดับเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น