Microsoft Azure เปิดบริการ Azure Purview ระบบค้นหาแหล่งข้อมูลในองค์กรเพื่อลดการแยกข้อมูลเป็นไซโลทำให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมาเทรวมกันลงหน้าจอคอนโซลเดียวเพื่อให้หาทางนำไปใช้งานได้สูงสุด
Azure Puriview สามารถจัดการแหล่งข้อมูลได้ทั้งบนคลาวด์และ on-premise เมื่อรวมแหล่งข้อมูลเข้าด้วยกันจะสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ศัพท์ธุรกิจ ขณะที่มีระบบจัดการข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยตรวจสอบว่าข้อมูลส่วนใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือจะกำหนดชั้นความลับของข้อมูลเองก็ได้
ตอนนี้บริการยังเป็นสถานะพรีวิว ไมโครซอฟท์ยังไม่บอกราคาแต่จะให้ใช้งานฟรีจนถึง 1 มกราคม 2021
AWS เปิดโครงการโอเพนซอร์ส Babelfish for PostgreSQL ตัวแปลงโปรโตคอล ทำให้แอปที่พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อกับ Microsoft SQL Server ผ่านทางโปรโตคอล TDS และภาษาคิวรี T-SQL สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ PostgreSQL และทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ Microsoft SQL Server อีกต่อไป
Babelfish รับคำสั่ง SQL บางส่วนที่ SQL Server รองรับ เช่น คำสั่ง SQL ทั่วไป, cursors, catalog views, data types, triggers, stored procedures, และ function หากแอปพลิเคชั่นใช้งานเฉพาะส่วนที่ Babelfish รองรับก็จะสามารถรันแอปต่อไปได้เลย แม้เอนจินฐานข้อมูลด้านหลังจะกลายเป็น PostgreSQL ไปแล้วก็ตาม
PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 13 หลังจากเวอร์ชั่น 12 เกือบหนึ่งปี ปรับปรุงทั้งประสิทธิภาพ, ขนาดฐานข้อมูล, และการออปติไมซ์การคิวรีจากระบบสถิติที่ดีขึ้น โดยฟีเจอร์แยกย่อยได้แก่
สำหรับนักพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดคือการรองรับฟังก์ชั่น gen_random_uuid()
โดยไม่ต้องเปิดใช้งานปลั๊กอินใดๆ จากก่อนหน้านี้ต้องใช้ uuid-ossp, มีฟังก์ชั่น datetime()
สำหรับแปลงวันที่ที่อยู่ในฟอร์แมตมาตรฐาน, และการคิวรีรองรับคำสำคัญ WITH TIES
คืนค่าชุดข้อมูลที่เรียงแล้วได้ค่าเท่ากับชุดข้อมูลก่อนหน้า เช่นกรณีต้องการ 10 อันดับแรกที่อันดับที่ 10 และ 11 มีค่าเท่ากันก็จะคืนให้ 11 ชุด
Snowflake Inc. บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse ชื่อดัง ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) เพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) โดยใช้ตัวย่อว่า SNOW
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยเป็นซอฟต์แวร์ด้านคลังข้อมูล (data warehouse) ที่รันบนคลาวด์เท่านั้น ใช้โมเดลรายได้แบบ subscription
การยื่นเอกสารของ Snowflake ทำให้เราเห็นข้อมูลการเงินของบริษัท มีรายได้ 97 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 และเพิ่มอย่างก้าวกระโดดเป็น 264.7 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 แต่บริษัทยังขาดทุนอยู่ โดยขาดทุน 178 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 และขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 348.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2020
AWS ปรับสถานะบริการฐานข้อมูล RDS บน Outpost (ที่เพิ่งวางขายในไทย) เป็นสถานะ GA เปิดให้ลูกค้าสามารถสร้างฐานข้อมูลในองค์กรโดยไม่ต้องดูแลซอฟต์แวร์เอง ทำให้ AWS กลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับออราเคิลที่ให้ขายคลาวด์สำหรับการสร้างฐานข้อมูลในศูนย์ข้อมูลลูกค้าเองมาก่อนในชื่อ Cloud at Customer
เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลตัวใหม่ของไมโครซอฟท์ ได้รับอัพเดต เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความสามารถใหม่สำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูลบน SQL Server รวมถึง PostgreSQL
ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการปรับปรุงให้ SQL Notebooks สามารถวาดแผนภูมิได้ในตัว เปลี่ยนจากเดิมที่เคยแสดงผลข้อมูลในลักษณะตารางเท่านั้น
ผู้ใช้จะสามารถปรับแต่งแผนภูมิให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ และเมื่อพอใจกับผลลัพธ์แล้วยังสามารถสั่งก็อปปี้/บันทึกแผนภูมิเป็นรูปภาพได้อีกด้วย
Snowflake บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse บนคลาวด์ที่กำลังมาแรง ประกาศระดมทุนรอบใหม่ 479 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) ทำให้บริษัทมีมูลค่า 12.4 พันล้านดอลลาร์ (3.9 แสนล้านบาท) เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นสตาร์ตอัพสายองค์กรที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของวงการ
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน data warehouse จำนวน 3 คน (สองคนเคยทำงานกับ Oracle) บริษัทเรียกผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่า Cloud Data Platform ที่ทำงานบนคลาวด์หลายยี่ห้อ (ปัจจุบันรองรับทั้ง AWS, Azure, GCP) และมีโมเดลคิดเงินแบบ as a service คือมีเฉพาะเวอร์ชันคลาวด์เท่านั้น จ่ายเท่าที่ใช้งานจริง และลดภาระการดูแลเซิร์ฟเวอร์ลง
ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server รองรับลินุกซ์มาตั้งแต่เวอร์ชัน 2017 และพอมาถึงเวอร์ชัน 2019 ก็จับมือกับ Red Hat เพื่อปรับจูนประสิทธิภาพให้ดีขึ้น
สัปดาห์นี้ไมโครซอฟท์ประกาศรับรอง (certified) SQL Server 2019 กับการใช้งานบน Red Hat Enterprise Linux 8 (RHEL 8) อย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้เราสามารถรัน SQL Server 2019 บน RHEL 8 สำหรับงาน production ได้เต็มรูปแบบ (ก่อนหน้านี้ SQL Server 2017 รับรองบน RHEL 7)
AWS ส่งเมลแจ้งเตือนลูกค้าที่ใช้บริการฐานข้อมูล Amazon Aurora, Amazon Relational Database Service (RDS), Amazon DocumentDB ให้อัพเดตใบรับรองดิจิทัลเป็นใบใหม่ เพราะใบเก่าใกล้หมดอายุ มิฉะนั้นจะไม่สามารถเชื่อมต่อ SSL/TLS ได้
ใบรับรองดิจิทัลของ AWS มีอายุ 5 ปี แล้วต้องเปลี่ยนใหม่ตามนโยบายด้านความปลอดภัย โดยใบรับรองเดิม (CA-2015) จะหมดอายุในวันที่ 5 มีนาคม 2020 และ AWS ออกใบรับรองใหม่ (CA-2019) มาให้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2019 สามารถกดเปลี่ยนได้ทันที
การเปลี่ยนใบรับรองสามารถทำได้จากหน้าเว็บคอนโซลของ AWS ในหน้า Certificate update หรือจะสั่งผ่านคอมมานด์ไลน์ก็ได้ (วิธีการดูได้ตามลิงก์) จากนั้นรีสตาร์ท instance นั้นๆ ก็เสร็จเรียบร้อย
AWS ประกาศเพิ่มบริการฐานข้อมูลชุดใหม่ คือ Amazon Managed Apache Cassandra Service (MCS) บริการฐานข้อมูลแบบ NoSQL จาก Apache Cassandra ที่ใช้การคิวรีภาษา CQL ที่ใกล้เคียง SQL
MCS เป็นบริการแบบ serverless ทำให้ไม่ต้องกำหนดขนาดคลัสเตอร์ล่วงหน้า อย่างไรก็ตามในช่วงพรีวิวจะใช้งานได้แบบ on-demand เท่านั้น แอปพลิเคชั่นสามารถใช้ไดร์เวอร์เดิมเชื่อมต่อเข้ากับ MCS ได้เลย แต่บังคับต้องเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส
บริการเปิดให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว ค่าบริการประมาณ 1.6 ดอลลาร์ต่อการเขียนล้านครั้ง 0.33 ดอลลาร์ต่อการอ่านล้านครั้ง ค่าสตอเรจ 0.34 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ เริ่มใช้งานได้แล้ว ในศูนย์ข้อมูลสหรัฐฯ, ยุโรป, ญี่ปุ่น, และสิงคโปร์
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลตัวใหม่ของไมโครซอฟท์ ได้รับอัพเดตเพื่อเพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการ SQL Server หลายอย่าง
ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการรองรับการเปิด Jupyter Book ฟอร์แมทของหนังสือซึ่งเป็นการรวมเอกสารที่จัดหน้าและเขียนด้วยภาษา markdown เข้ากับ Jupyter Notebook ซึ่งฝังโค้ดวิเคราะห์ข้อมูลหรือโค้ดสั่งรันงานต่างๆ เพื่อจัดทำเป็นหนังสือที่สามารถรันโค้ดและดูผลลัพธ์ได้แบบอินเตอร์แอคทีฟ สะดวกต่อการส่งต่อให้ผู้อื่น หรือใช้รวบรวม Notebook ที่ต้องสั่งรันเป็นประจำ
เทรนด์ของโลกคลาวด์ในช่วงหลัง หมุนมาในทาง hybrid cloud หรือการใช้คลาวด์ผสมผสานกันทั้ง public cloud และ private cloud ขององค์กรเอง เราเห็นผู้ให้บริการ public cloud ยอมปล่อยซอฟต์แวร์ของตัวเองมารันบน private cloud กันมากขึ้น เช่น Azure Stack ของไมโครซอฟท์
ล่าสุด AWS ประกาศเปิดบริการฐานข้อมูล Relational Database Service (Amazon RDS) เวอร์ชันรันแบบ on premise บนคลัสเตอร์ VMware แล้ว
โลกของฐานข้อมูลช่วงหลังๆ มานี้ เริ่มไปในทางฐานข้อมูลที่ลดภาระการดูแลลง อย่าง Oracle เองในฐานะเจ้าพ่อฐานข้อมูล ก็พยายามชูแนวคิด Autonomous Database ที่ใช้ AI ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัย จัดการแพตช์ จัดการประสิทธิภาพ และซ่อมแซมเมื่อเกิดปัญหา
เมื่อฐานข้อมูลรุ่นใหม่เริ่มดูแลตัวเองได้ คำถามที่ตามมาคืออาชีพผู้ดูแลฐานข้อมูล (database administrator หรือ DBA) จะตกงานหรือไม่
Amazon กับ Oracle กลายเป็นคู่กัดคู่ใหม่ของวงการไอที เหตุเพราะบริการด้านคลาวด์กลายเป็นคู่แข่งกัน ฝั่งของ Amazon ก็พยายาม เลิกใช้ฐานข้อมูล Oracle สำหรับงานในบริษัท
วันนี้ Amazon ประกาศว่าย้ายฐานข้อมูลของตัวเองออกจาก Oracle อย่างสมบูรณ์แล้ว (ยกเว้นซอฟต์แวร์ 3rd party บางตัวที่บังคับใช้ Oracle เท่านั้น)
หลายคนอาจสงสัยว่า Amazon ย้ายไปใช้ฐานข้อมูลอะไรแทน คำตอบคือย้ายไปใช้ฐานข้อมูลในเครือ AWS ทั้งหมด ขึ้นกับรูปแบบงาน ตั้งแต่ DynamoDB (NoSQL), Aurora (Relational เวอร์ชันทำเอง), Amazon RDS (MySQL/PostgreSQL เวอร์ชันคลาวด์) และ Amazon Redshift (data warehouse)
ปลายปีที่แล้ว AWS เปิดตัวบริการ Amazon Quantum Ledger Database (QLDB) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบล็อคเชนแบบ centralized ที่ Amazon ออกแบบเอง สำหรับข้อมูลที่ต้องเขียนต่อกันไปเรื่อยๆ (journal) แต่ไม่ต้องการให้แก้ไขได้ (immutable) และสามารถนำมาตรวจสอบยืนยันได้ เหมาะสำหรับงานเก็บข้อมูลธุรกรรมของวงการต่างๆ เช่น การเงิน ประกันภัย การผลิต ฯลฯ
Amazon QLDB เป็นบริการแบบ fully managed คือผู้ใช้ไม่ต้องสร้างเครื่องเอง (serverless) ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เอง จ่ายเงินอย่างเดียวก็เข้ามาเชื่อมต่อเก็บข้อมูลง QLDB ได้เลย โดย Amazon การันตีว่ามันมีความสามารถในการสเกลสูง และรองรับปริมาณธุรกรรมได้สูงกว่าซอฟต์แวร์บล็อคเชนในท้องตลาด 2-3 เท่าตัว
ความนิยมในการเก็บข้อมูลแบบ key-value (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแส NoSQL) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง ตัวอย่างฐานข้อมูลแบบ key-value ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ Redis ที่ถูกนำไปใช้โดยบริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ทั้ง AWS, Azure, GCP
ในฝั่งของกลุ่มอุตสาหกรรมเองก็เกิดความเคลื่อนไหวสร้างมาตรฐานของ key-value ขึ้นมา โดยกลุ่ม Storage Networking Industry Association (SNIA) ออกมาตรฐาน Key Value Storage API Specification เวอร์ชัน 1.0 และกลายเป็นว่าฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สตอเรจอย่างซัมซุง ได้พัฒนา SSD ที่ออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูล key-value แล้ว
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา DigitalOcean เปิดบริการ Managed Database โดยเริ่มจาก PostgreSQL ก่อน และวันนี้ก็ขยายมาถึง MySQL 8 และ Redis 5 แล้ว
บริการ Managed Database ของ DigitalOcean เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบฐานข้อมูล เพียงเลือกเอนจิน, สตอเรจ, vCPU, เมมโมรี่ และสแตนบายโหนด จากนั้นก็สั่งรันเท่านั้น ซึ่ง Managed Database ของ DigitalOcean จะรันอยู่บนแพลตฟอร์ม compute และใช้ local SSD เป็นสตอเรจหลัก
Amazon ได้ประกาศให้ Aurora Serverless ระบบฐานข้อมูลแบบสเกลตัวเองอัตโนมัติตามการใช้งานบน PostgreSQL เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ ตามหลังจากเวอร์ชัน MySQL ที่เข้าสู่สถานะ GA เมื่อปีที่แล้ว
วิธีใช้ Amazon Aurora Serverless ผู้ใช้จะต้องตั้งค่าความจุสูงสุดและต่ำสุด ส่วนไคลเอนท์จะเชื่อมต่อเข้าสู่ proxy ซึ่งจะ route เข้าไปยังเวิร์คโหลดด้านหลังที่สเกลได้ตามปริมาณโหลดที่เข้ามา ซึ่ง Amazon เคลมว่าการสเกลจะไวมากเพราะมีกลุ่มทรัพยากรที่เป็น warm pool ที่เมื่อต้องการใช้งานก็พร้อมเสียบทันที
ที่งาน MongoDB World ปีนี้ ทาง MongoDB ประกาศฟีเจอร์ของ MongoDB 4.2 ที่กำลังจะออกมา โดยมีฟีเจอร์สำคัญที่ยืนยันแล้ว 4 รายการ ได้แก่
ไมโครซอฟท์จัดโปรโมชั่นพิเศษลดค่าไลเซนส์สูงสุด 10% สำหรับ SQL Server 2017 เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลประสิทธิภาพสูง โดยผู้ใช้สามารถย้ายฐานข้อมูลจาก SQL Server รุ่นเดิมมารันบนรุ่นล่าสุดได้แทบทั้งหมด
องค์กรที่ต้องการความปลอดภัยจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลที่ได้รับการบำรุงรักษาต่อเนื่อง มีแพตช์แก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ที่ทันท่วงที ซอฟต์แวร์รุ่นเก่าอย่าง SQL Server 2008 กำลังจะหมดอายุซัพพอร์ตจากไมโครซอฟท์ในเดือนกรกฎาคมนี้ทำให้ตอนนี้นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการอัพเกรดไปยัง SQL Server 2017 เพราะจะได้รับซัพพอร์ตเต็มรูปแบบ (รวมถึงการแก้บั๊กต่างๆ) ไปจนถึงปี 2022 และการซัพพอร์ตแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยไปจนถึงสิ้นปี 2027 เลยทีเดียว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ในเครือ Azure หลายตัวก่อนงาน Build 2019 สัปดาห์หน้า ตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือ Azure SQL Database Edge หน้าที่ของมันตามชื่อคือการนำเอนจินฐานข้อมูล SQL Server ไปรันที่อุปกรณ์ปลายทาง (edge computing) ซึ่งรองรับการรันบนอุปกรณ์สถาปัตยกรรม ARM และ x64
ไมโครซอฟท์อธิบายว่า Azure SQL Database Edge เป็นการนำ "เอนจินฐานข้อมูล" ที่ใช้ใน SQL Server และ Azure SQL Database ไปทำให้ขนาดเล็กลง กินทรัพยากรน้อย เพื่อให้รันบนอุปกรณ์ปลายทางได้ และสามารถทำงานได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ระบบฐานข้อมูลเป็นหัวใจของธุรกิจแทบทุกประเภท ประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลมักสะท้อนเป็นประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้าและความสามารถในการทำกำไรในที่สุด หากระบบฐานข้อมูลมีปัญหาก็จะสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ออกไปถึงผลประกอบการได้เช่นเดียวกัน
องค์กรจำนวนมากเลือกที่จะวางระบบฐานข้อมูลด้วยตัวเอง โดยแยกส่วนต่างๆ ออกจากกันทั้งเซิร์ฟเวอร์, ระบบปฎิบัติการ, เน็ตเวิร์ค, และสตอเรจ แต่ละส่วนอาจดูแลโดยทีมวิศวกรคนละทีมสร้างความซับซ้อนในการวางระบบ, เพิ่มระยะเวลาติดตั้ง, และเมื่อเกิดปัญหาก็ลำบากในการแก้ไข
Oracle Database Appliance หรือ ODA หลอมรวมความซับซ้อนทั้งหมดเข้ามาเป็นระบบเดียวกัน ทดสอบและปรับแต่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับซอฟต์แวร์ Oracle Database ทั้งรุ่น Standard และรุ่น Enterprise
กูเกิลประกาศจับมือกับบริษัทฐานข้อมูลสายโอเพนซอร์ส 7 ราย นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สชื่อดังมารันบน Google Cloud Platform (GCP) แบบ fully managed
บริษัททั้ง 7 รายได้แก่
GCP จะนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาให้บริการแบบ fully managed (ดูแลระบบ-ปรับแต่งประสิทธิภาพให้) และคิดเงินรวมไปกับบิลปกติของ GCP, มีบริการซัพพอร์ตเป็นระบบเดียวกับของ GCP และสร้างอินเทอร์เฟซตัวเดียวในการจัดการแอพทุกตัวผ่าน GCP
กูเกิลประกาศเป็นพันธมิตรกับผู้ใหบริการฐานข้อมูลโอเพนซอร์สสายหลักหลายราย นับแต่ Confluent, DataStax, Elastic, InfluxData, MongoDB, Neo4j, และ Redis Labs มาให้บริการบน Google Cloud
หลายบริษัทให้บริการผ่านคลาวด์เจ้าต่างๆ รวมถึง Google Cloud อยู่แล้ว แต่การเป็นพันธมิตร จะทำให้ลูกค้าสามารถใช้ Google Cloud Console ของกูเกิลจัดการบริการเหล่านี้ได้ทันที, การออกใบเสร็จก็ออกจากกูเกิลรายเดียว, และการขอซัพพอร์ตก็ใช้ระบบ ticket ของ Google Cloud เช่นกัน
นอกจากร่วมมือในแง่ธุรกิจและเอกสารแล้ว กูเกิลระบุว่าจะทำงานร่วมกับพันธมิตรให้บริการทำงานร่วมกับ GCP ได้ดีขึ้น เช่น log ใน Stackdriver และการยืนยันสิทธิ์ด้วย IAM
เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้ฐานข้อมูลโดยเฉพาะในส่วนของงานแก้ไขคิวรี่และดึงข้อมูล
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญอย่างแรกคือการรองรับฐานข้อมูล PostgreSQL ผ่านส่วนเสริมที่ได้รับการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์เอง โดยจะสามารถใช้งานได้กับทั้ง PostgreSQL ที่ติดตั้งภายในองค์กร (on-premises) และ Azure Database for PostgreSQL บนคลาวด์
ตัวส่วนเสริม PostgreSQL ยังอยู่ในเวอร์ชันพรีวิว แต่ก็สามารถติดตั้งเพื่อทดลองใช้งานได้แล้วจากเมนู Extensions