ธนาคารกรุงไทย (KTB) กับ IBM ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุน IBM Digital Talent for Business (ตัวย่อ IBMDT) ทำงานเพื่อยกระดับด้านไอทีของธนาคารในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การดำเนินงานด้านไอที และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของธนาคาร
IBMDT จะเข้ามาเสริมสร้างทักษะพนักงาน โดยนำความเชี่ยวชาญของ IBM และประสบการณ์ของ IBM Consulting เข้ามาปรับวิธีดำเนินงานในส่วนงานไอทีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งมี 2 ส่วนคือ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด (KTCS)
ที่มา - ธนาคารกรุงไทย
ไอบีเอ็มเปิดตัว IBM Watsonx Code Assistant for Z โซลูชัน AI สำหรับแปลโค้ดที่เขียนในภาษา COBOL ให้เป็น Java สำหรับเมนเฟรม IBM Z โดยจะเปิดให้ใช้งานทั่วไปภายในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนผ่านแอพพลิเคชัน COBOL ไปสู่โค้ดในภาษาปัจจุบันที่มีต้นทุนจัดการน้อยกว่า และทำได้รวดเร็วขึ้น
Watsonx Code Assistant for Z เป็นเครื่องมือที่สร้างจาก Watsonx.ai บริการสร้างโมเดลของแพลตฟอร์ม WatsonX ที่ตอนนี้มีความเข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์ 115 ภาษา จากชุดข้อมูลมากกว่า 1.5 ล้านล้านโทเค็น
ไอบีเอ็มประกาศว่า Francisco Partners บริษัทการลงทุน ที่เน้นธุรกิจด้านเทคโนโลยี บรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อสินทรัพย์ของส่วนธุรกิจ The Weather Company จากไอบีเอ็ม โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของดีลดังกล่าว
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Francisco Partners จะได้ส่วนธุรกิจดิจิทัลของ The Weather Channel, แอป The Weather Channel และบริการออนไลน์ผ่านคลาวด์รวมทั้ง Weather.com, Weather Underground และ Storm Radar รวมทั้งธุรกิจขายโซลูชันข้อมูลสภาพอากาศให้กับลูกค้าองค์กรต่าง ๆ ส่วนไอบีเอ็มยังคงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เพื่อนำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ และโซลูชัน AI ต่าง ๆ สำหรับลูกค้า
หลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าซอฟต์แวร์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรมากมายทั่วโลกก็คือ SAP แน่นอนว่าคงไม่มีใครปฏิเสธถึงความสำคัญ ที่ระบบ SAP จำเป็นต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพราะหากระบบ SAP ไม่พร้อมสำหรับบริการแล้ว ธุรกิจคงประสบปัญหาไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แม้ความมีสเถียรภาพของโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความมีประสิทธิภาพก็มีบทบาทไม่แพ้กัน โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ in-memory database ที่องค์กรหวังพึ่งพาความเร็วนี้ให้ตอบสนองการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างทันทีทันใด
มาพบกันอีกครั้งกับงานสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ประจำปีของ IBM ในงาน IBM Solutions Summit 2023 ภายใต้ธีม Turn Challenges into Opportunities with Hybrid Cloud & AI ร่วมสัมผัสกับเทคโนโลยีล่าสุดและประสบการณ์ในการนำ Hybrid Cloud และ AI ไปประยุกต์ใช้งานจริงในภาคธุรกิจ พร้อมเปิดตัว IBM watsonx ครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถพัฒนา AI ได้เอง ณ โรงแรม InterContinental Bangkok ในวันที่ 23 สิงหาคม 2023 เวลา 8.00น. - 16.00น. โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
ไอบีเอ็มร่วมมือกับนาซ่าเปิดโมเดลปัญญาประดิษฐ์ Prithvi-100M โมเดลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม
ตัวโมเดลสร้างจากชุดข้อมูล US Harmonised Landsat Sentinel 2 (HLS) เป็นภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียด 30 เมตร ตัวโมเดลเริ่มต้นสร้าง encoder และ decoder เพื่อสร้างภาพกลับออกมา จากโมเดลพื้นฐานสามารถใช้งานอื่นๆ ที่ทางไอบีเอ็มสาธิตคือการวิเคราะห์หาพื้นที่น้ำท่วม และร่องรอยไฟป่า
ในอนาคต โมเดล Prithvi-100M นี้อาจใช้งานด้านอื่นๆ เช่น การติดตามอัตราการทำลายป่า, ทำนายผลผลิตการเกษตร, ตรวจวัดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โมเดล Prithvi-100M เปิดให้ดาวน์โหลดบน Hugging Face ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache-2.0
IBM Storage Fusion ช่วยทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำ Cloud-Native Infrastructure ได้เร็วขึ้น และทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน Application นอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งาน Application โดย IBM Storage Fusion มาพร้อมกับเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูลและการทำ Enterprise Data Service ต่างๆ ดังนี้
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2023 มีรายได้รวม 15,475 ล้านดอลลาร์ ลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 1,583 ล้านดอลลาร์
รายได้ตามกลุ่มธุรกิจแบ่งเป็น กลุ่ม Software เพิ่มขึ้น 7% เป็น 6,608 ล้านดอลลาร์ กลุ่ม Consulting เพิ่มขึ้น 4% เป็น 5,013 ล้านดอลลาร์ และกลุ่ม Infrastructure ลดลง 15% เป็น 3,618 ล้านดอลลาร์
James Kavanaugh ซีเอฟโอไอบีเอ็ม กล่าวว่ารายได้ที่เติบโตมาจากการเติบโตในธุรกิตซอฟต์แวร์ และบริการให้คำปรึกษา ส่วนกำไรก็มีอัตราเพิ่มขึ้นจากการขยายบริการ และปรับปรุงพอร์ตโฟลิโอ ทำให้บริษัทมีเงินเพิ่มขึ้น ปีนี้ซื้อกิจการบริษัทด้านไฮบริดคลาวด์ และเอไอไปแล้ว 7 บริษัท
ไอบีเอ็มประกาศบรรลุข้อตกลงกับ Vista Equity เพื่อซื้อกิจการ Apptio ซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ ด้านการดำเนินงานและการเงินสำหรับไอทีในองค์กร (FinOps) ด้วยมูลค่าดีล 4,600 ล้านดอลลาร์ ตามข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
ไอบีเอ็มบอกว่าดีลซื้อ Apptio นี้ จะมาเสริมบริการออโตเมชัน สำหรับผู้นำองค์กรในการประเมินคุณค่าในการลงทุนด้านไอทีขององค์กร เนื่องจากตอนนี้องค์กรต่างมีความท้าทายจากการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลที่มีความรวดเร็ว และทำให้ไอทีเข้ามามีบทบาทในทุกส่วน ส่งผลให้การบริหารจัดการต้นทุนมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติคลาวด์
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง รายงานว่าไอบีเอ็มใกล้ปิดดีลซื้อกิจการ Apptio โดยมูลค่าของดีลนี้สูงขึ้น 5 พันล้านดอลลาร์
Apptio เป็นผู้ให้บริการเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการต้นทุนค่าใช้จ่ายไอทีในองค์กร มีลูกค้าหลายรายเป็นสถาบันการเงินใหญ่ในอเมริกา ปัจจุบัน Apptio มีบริษัทการลงทุน Vista Equity เป็นเจ้าของ จากการซื้อกิจการในปี 2019 ที่มูลค่าประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์
ไอบีเอ็มเองก็เป็นพาร์ทเนอร์กับ Apptio อยู่แล้ว ดีลนี้คาดว่าจะช่วยให้ไอบีเอ็มมีพอร์ตโฟลิโอบริการที่รอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะการช่วยองค์กรที่เป็นลูกค้า ในการประเมินต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านไอทีต่าง ๆ โดยเฉพาะในการจัดการปัจจุบันแบบไฮบริดคลาวด์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ไอบีเอ็มประกาศนำเทคโนโลยี Generative AI หรือ AI สร้างเนื้อหาอัตโนมัติจาก IBM watsonx มาใช้กับการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน ในการสร้างวิดีโอไฮไลท์การแข่งขันแต่ละแมตช์พร้อมเสียงพากย์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการแข่งขันเทนนิส
ในวิดีโอไฮไลท์ซึ่งสามารถรับชมได้ผ่านแอป Wimbledon หรือทางเว็บไซต์ wimbledon.com จะมีเสียงบรรยายในช่วงสำคัญของการแข่งขัน พร้อมกับตัวหนังสือคำบรรยาย ซึ่งผู้ชมสามารถเลือกปิด-เปิดส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ส่วนไฮไลท์ที่สร้างด้วย AI จะเป็นส่วนเสริมเข้ามา โดยไฮไลท์แบบเดิมที่ใช้คนบรรยายของ Show Courts จะยังมีอยู่เหมือนเดิม
Ransomware ยังคงเป็นภัยร้ายที่สร้างความเสียหายให้แก่องค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายองค์กรอาจได้มีโอกาสสัมผัสพิษส่งของความเสียหายที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว ทั้งนี้ทุกท่านย่อมทราบกันดีว่าโซลูชันในการกู้คืนข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญที่สุดต่อการแก้ไขสถานการณ์ แต่คำถามคือท่านจะทราบได้อย่างไรว่าข้อมูลที่กู้คืนกลับมานั้นปลอดภัยดีหรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกโจมตีซ้ำในอนาคต จะใช้วิธีการใดเพื่อตรวจสอบและในช่วงเวลาคับขันท่านเองมีเวลามากแค่ไหน ซึ่ง IBM Cyber Vault ได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความโกลาหลดังกล่าว โดยท่านจะได้รู้จักกับโซลูชันนี้เพิ่มขึ้นในบทความนี้
ไอบีเอ็มประกาศซื้อกิจการ Polar Security สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ที่พัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับและเพิ่มความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชันและข้อมูลบนคลาวด์
ดีลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่ TechCrunch รายงานว่าอยู่ที่ราว 60 ล้านดอลลาร์
Polar Security ก่อตั้งบริษัทในปี 2021 พัฒนาเครื่องมือซึ่งเรียกว่า DSPM - Data Security Posture Management เพื่อตรวจสอบว่ามีข้อมูลอ่อนไหวเก็บที่ใด และใครเข้าถึงได้บ้าง มีความเสี่ยงหรือช่องโหว่อย่างไร ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวมีความสำคัญมากขึ้น จากการที่องค์กรย้ายไปเก็บข้อมูลและรันแอพพลิเคชันบนคลาวด์
ไอบีเอ็มมีแผนนำเทคโนโลยีของ Polar Security ไปรวมกับแพลตฟอร์มความปลอดภัย Guardium ของไอบีเอ็ม
IBM ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม WatsonX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรเทรนและจัดการ AI ผ่านเครื่องมือ โครงสร้างพื้นฐานและบริการให้คำปรึกษา โดย WatsonX แบ่งออกเป็น 3 บริการย่อย
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็มให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg News เผยว่าบริษัทคาดว่าจะสั่งระงับการจ้างงานพนักงานใหม่ เป็นจำนวนประมาณ 7,800 ตำแหน่ง ซึ่งงานเหล่านี้สามารถแทนที่ได้ด้วย AI จะมีผลในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้
เขายังยกตัวอย่างฝ่ายงานหลังบ้าน (Back-office) เช่น งานบุคคล ที่ตอนนี้เริ่มหยุดการรับพนักงานใหม่ หรือชะลอการรับแล้ว นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่าประมาณ 30% ของตำแหน่งงานที่ไม่ต้องพบปะกับลูกค้า (Non-customer-facing) สามารถแทนที่ด้วย AI หรือระบบอัตโนมัติภายใน 5 ปีข้างหน้า
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2023 มีรายได้รวม 14,252 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 927 ล้านดอลลาร์
รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจหลักเป็นดังนี้ กลุ่ม Software เพิ่มขึ้น 3% เป็น 5,921 ล้านดอลลาร์ กลุ่ม Consulting เพิ่มขึ้น 3% เป็น 4,962 ล้านดอลลาร์ และกลุ่ม Infrastructure ลดลง 4% เป็น 3,098 ล้านดอลลาร์
IBM ซื้อกิจการบริษัท Ahana ซึ่งทำซอฟต์แวร์คิวรี Presto โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Presto เป็นซอฟต์แวร์คิวรี SQL engine ที่ทำงานกับฐานข้อมูลได้หลากหลาย (ทั้ง MySQL, Hadoop, Cassandra, MongoDB, Amazon S3) แนวคิดของมันคือการทำงานแบบกระจายศูนย์เพื่อให้สเกลรองรับโหลดจำนวนมากได้ ซอฟต์แวร์ถูกนำไปใช้ในบริษัทไอทีใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น Netflix, Uber และ AWS นำไปให้บริการชื่อ Amazon Athena
ที่มาของ Presto เป็นโครงการภายในของ Facebook ที่โอเพนซอร์สในปี 2013 โดยสร้างขึ้นมาทดแทน Apache Hive ที่มีข้อจำกัดเรื่องการสเกล ภายหลัง Facebook ยกโครงการให้มูลนิธิ Presto Foundtion ใต้สังกัด Linux Foundation ดูแลต่อในปี 2019
มีรายงานว่า IBM กำลังพิจารณาขายกิจการธุรกิจด้านการพยากรณ์อากาศ โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนรับการเสนอราคาเบื้องค้น คาดว่ามูลค่ากิจการหากดีลสำเร็จจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์
ส่วนธุรกิจพยากรณ์อากาศของ IBM นั้น เริ่มต้นจากดีลซื้อธุรกิจบางส่วนของ The Weather Company เมื่อปี 2015 ที่มูลค่าราว 2 พันล้านดอลลาร์ โดยดีลดังกล่าวประกอบด้วยส่วนธุรกิจ B2B (Business-to-Business), เว็บไซต์ Weather.com และแอปมือถือ แต่ไม่รวมช่องโทรทัศน์ The Weather Channel ที่ดีลนี้มีข้อตกลงว่าช่องโทรทัศน์จะต้องจ่ายไลเซนส์ค่าใช้ข้อมูลต่อไป ดีลนี้เกิดจาก IBM ต้องการสนับสนุนการใช้โครงสร้างคลาวด์ของบริษัท เพื่อลดต้นทุนดำเนินงาน เนื่องจากส่วนธุรกิจนี้สร้างข้อมูลพยากรณ์อากาศมากกว่า 2.5 หมื่นล้านชุดต่อวัน
บทความนี้จะแนะนำการใช้ IBM Business Automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการธุรกิจภายในองค์กร โดยเน้นไปที่ระบบ Business Process Management (BPM) Enterprise Content Management (ECM) และ Case Manager ที่ทำงานผสมผสานกัน โดยเนื้อหาของบทความจะยกตัวอย่างการใช้งานสำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ (PR/PO) ในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์กับโรงงาน โดยระบบ ERP ขององค์กรอาจจะเป็น SAP หรือ Oracle Financial หรืออื่นๆ ก็ได้
หลายองค์กรเริ่มต้นปี 2023 ด้วยความหวาดหวั่นจากรายงานของสถาบันต่าง ๆ ด้านแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งได้มีการคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่าสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปีนี้ อ้างอิงจากการรายงานผลสำรวจของ IBM X-Force Threat Intelligence Index 2023 พบว่าในทวีปเอเชียแปซิฟิกครองอันดับหนึ่งในด้านอัตราการเกิดเหตุการณ์การโจมตี โดยคิดเป็น 31% ของเหตุการณ์ภัยคุกคามทั่วโลก และเพิ่มสูงขึ้นถึง 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ภัยไซเบอร์สำหรับองค์กรในปัจจุบัน ไปไกลมากกว่าแค่เป็นเรื่องของฝ่าย security หรือไอทีแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พนักงานทั้งองค์กรก็ต้องรับรู้ถึงนโยบาย แนวทาง วิธีการป้องกันไปจนถึงการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุ ยิ่งองค์กรที่ใหญ่มากขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะคนในองค์กรหรือลูกค้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
IBM ได้เปิดศูนย์ X-Force Command Center เอาไว้สำหรับพนักงานขององค์กรได้เรียนรู้การป้องกันและรับมือเมื่อเกิดเหตุจากภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยทาง IBM ประเทศไทยได้เชิญ Blognone ไปเยี่ยมชมศูนย์นี้ที่เมืองบอสตัน และได้ทดลองเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติจาก IBM เลยขอเก็บภาพบรรยากาศนำมาเล่าครับ
IBM เปิดเผยรายงานการศึกษาและสำรวจประเด็นด้านความปลอดภัยไซเบอร์พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนเฉลี่ยขององค์กรที่เผชิญกับปัญหาข้อมูลหลุด (data breach) สูงมากขึ้นราว 13% อยู่ที่ประมาณ 4.35 ล้านดอลลาร์ ซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นขององค์กรเหล่านี้ นำไปสู่การขึ้นราคาสินค้าบริการด้วย โดย IBM พบว่าองค์กรราว 60% จากที่สำรวจ ขึ้นราคาสินค้าบริการ จากสาเหตุของข้อมูลหลุดโดยตรง
ปัญหาหลักๆ ของความปลอดภัยในองค์กรส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ที่เรื่องการใช้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ยังค่อนข้างต่ำ อย่างเช่นไม่มีการใช้ zero-trust policy นอกจากนี้ IBM พบว่าองค์กรราว 40% แทบยังไม่ใช้หรืออยู่ในช่วงเริ่มต้นของการใช้นโยบายและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยไซเบอร์
IBM ยื่นฟ้อง ปฐมา จันทรักษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ฐานละเมิดสัญญาแล้วไปร่วมงานกับคู่แข่งอย่าง Accenture ในฐานะกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ซึ่ง IBM ถือว่าเป็นคู่แข่งในธุรกิจให้คำปรึกษา
ปฐมาเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของ IBM ตั้งแต่ปี 2018 ก่อนจะลาออกเมื่อต้นปี 2022 ซึ่งทาง IBM ก็ได้เซ็นสัญญาห้ามเปิดเผยข้อมูลและไม่ไปร่วมงานกับบริษัทคู่แข่งภายในระยะเวลากำหนด ซึ่งก็ได้มอบโบนัสจำนวน 470,000 เหรียญไปพร้อมกับสัญญาดังกล่าว ก่อนที่เธอจะไปร่วมงานกับ Accenture ในอีก 1 เดือนถัดมา
IBM จึงฟ้องร้องเพื่อเรียกคืนเงินโบนัสจำนวนดังกล่าว หลังจากบริษัทพยายามเรียกร้องโบนัสคืนจากเธอไปก่อนหน้านี้ซึ่งเธอปฏิเสธ
IBM ประกาศความร่วมมือกับ NASA โดยจะให้ใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับโลกและข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่น ๆ โดยจะใช้ AI ทำงานร่วมกับข้อมูลดาวเทียมสำรวจโลกของ NASA โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบ Foundation Model เป็นครั้งแรก
โมเดลปัญญาประดิษฐ์ของ IBM ที่ใช้ในความร่วมมือครั้งนี้ คือ Foundation Model จะถูกเทรนด้วยชุดข้อมูลจำนวนมากที่ไม่ได้จัดรูปแบบข้อมูลไว้ล่วงหน้า (unlabeled data) และสามารถจะสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์กับงานรูปแบบอื่นๆ ทำให้ NASA สามารถเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นเพื่อศึกษาและจัดการกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 รายได้รวมใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนที่ 16,690 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 2,711 ล้านดอลลาร์
รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจ เป็นดังนี้ ธุรกิจซอฟต์แวร์รายได้เพิ่มขึ้น 3% เป็น 7,288 ล้านดอลลาร์ ธุรกิจให้คำปรึกษาเพิ่มขึ้น 0.5% เป็น 4,770 ล้านดอลลาร์ และธุรกิจ Infrastructure เพิ่มขึ้น 2% เป็น 4,483 ล้านดอลลาร์ เฉพาะไลน์สินค้าเมนเฟรม IBM Z เพิ่มขึ้น 16%
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่าในไตรมาสที่ผ่านมา ลูกค้าต่างเพิ่มความสนใจในโซลูชันไฮบริดคลาวด์ และ AI ซึ่งช่วยเสริมความแตกต่างให้กับธุรกิจ และเสริมให้ไอบีเอ็มมีการเติบโต