Windows 7
Clément Labro นักวิจัยความปลอดภัยชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าของสคริปต์ชื่อ PrivescCheck ใช้ตรวจสอบว่าคอนฟิกของ Windows เผลอเปิดให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยหรือไม่
หลังออกสคริปต์เวอร์ชันใหม่ (เผยแพร่บน GitHub) เขาค้นพบว่าสคริปต์ของเขาทำงานแปลกๆ บน Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ที่เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า หลังสอบสวนในรายละเอียดแล้วเขาก็พบว่านี่เป็นบั๊ก zero-day ของ Windows 7/2008 R2 ที่ทำให้เราสามารถเลื่อนขั้นสิทธิ (privilege escalation) ของบริการชื่อ RpcEptMapper ผ่านระบบ registry ของ Windows ได้อย่างที่ไม่ควรจะเป็น
ช่องโหว่นี้สามารถสร้างไฟล์ DLL ของตัวเองแล้วให้ระบบเรียกใช้งานด้วยสิทธิของระบบ (system privilege) ได้ อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่นี้จำเป็นต้องเข้าถึงเครื่องแบบ local access ดังนั้นความรุนแรงจึงไม่เยอะมากนัก
กูเกิลประกาศยืดระยะเวลาซัพพอร์ต Chrome บน Windows 7 นานขึ้นอีก 6 เดือน เป็นสิ้นสุดวันที่ 15 มกราคม 2022 เนื่องจากตลาดองค์กรยังใช้งาน Windows 7 กันอยู่มาก
กูเกิลอ้างสถิติจากบริษัท Kantar ที่ถูกจ้างให้สำรวจตลาดองค์กร พบว่า 78% ย้ายจาก Windows 7 แล้ว แต่ยังมีอีก 22% ที่ยังใช้งาน Windows 7 อยู่ แม้มีแผนการย้ายมาใช้ Windows 10 ก็ตาม
เมื่อต้นเดือนนี้ เราเห็นไมโครซอฟท์เริ่มปล่อย Microsoft Edge ตัวใหม่ผ่าน Windows Update สำหรับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกอัพเดต Microsoft Edge ให้ผู้ใช้ Windows 7 SP1 และ Windows 8.1 ด้วยเช่นกัน ในแง่ตัวเบราว์เซอร์คงไม่มีอะไรต่างกัน แต่กรณีของ Windows 7/8.1 ไม่มี Edge ตัวเดิมมาให้ด้วย การมาถึงของ Edge ตัวใหม่จึงไม่ได้มาแทน Edge ตัวเดิม แต่เป็นเบราว์เซอร์ตัวใหม่ที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจาก Internet Explorer 11 โดยจะไม่เปลี่ยนค่าดีฟอลต์ของระบบด้วย
มีผู้ใช้ Windows 7 หลายราย แจ้งปัญหาว่าไม่สามารถสั่งปิดเครื่องได้ โดยเจอข้อความแจ้งเตือน You don't have permission to shut down this computer
กลุ่มผู้ใช้ใน Reddit แนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น (workaround) ด้วยการสร้างบัญชีแอดมินใหม่อีกอัน สลับบัญชี แล้วใช้บัญชีนั้นสั่งปิดเครื่องแทน หรืออีกวิธีหนึ่งคือเข้าไปเปลี่ยนค่า "User Account Control: Run all administrators in Admin Approval Mode." ใน Registry (อ่านวิธีอย่างละเอียดได้ตามที่มา)
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าสาเหตุของบั๊กนี้เกิดจากอะไร และไมโครซอฟท์จะยังอัพเดตแพตช์แก้บั๊กนี้ให้หรือไม่ เพราะ Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้ว
เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา เป็นเส้นตายหมดอายุขัยของ Windows 7 แปลว่าจะไม่มีแพตช์อะไรออกมาอีก โดยแพตช์รหัส KB4534310 นับเป็นแพตช์สุดท้ายที่ Windows 7 ได้รับ ส่วนองค์กรใดที่ยังไม่อัพเกรดก็สามารถจ่ายเงินซื้อซัพพอร์ต (ESU) ต่อได้ เช่นรัฐบาลเยอรมนีเป็นต้น
อย่างไรก็ตามในแพตช์ที่ควรจะเป็นแพตช์สุดท้าย กลับมีบั๊กทำให้ภาพหน้าจอ (wallpaper) กลายเป็นสีดำเมื่อตั้งค่าแบบ Stretch (ยืดภาพให้เต็มจอ) แก้ได้โดยการเปลี่ยนเป็น Fill, Fit, Tile หรือ Center ไปก่อน ซึ่ง Microsoft ระบุว่าจะออกแพตช์มาแก้บั๊กนี้ให้ภายหลัง และในทีแรก Microsoft จะปล่อยแพตช์นี้ให้เฉพาะองค์กรที่ซื้อ ESU เท่านั้น แต่ก็เปลี่ยนใจมาปล่อยให้ผู้ใช้ Windows 7 ทุกคนเพราะ Microsoft สร้างบั๊กนี้ขึ้นมาเอง
Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ยังมีทางออกให้ลูกค้าองค์กรสามารถซื้อบริการซัพพอร์ตและแพตช์ความปลอดภัยต่อได้อีก 3 ปี ในชื่อโครงการ Extended Security Updates (ESU)
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่ารัฐบาลเยอรมนีเตรียมจ่ายเงินอย่างน้อย 800,000 ยูโร (ประมาณ 27 ล้านบาท) เพื่อซื้อซัพพอร์ต ESU กับคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลประมาณ 33,000 เครื่องที่ยังใช้ Windows 7 อยู่
ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศล่วงหน้าไว้นานหลายปี วันนี้ 14 มกราคม 2020 ถือเป็นวันสุดท้ายของระบบปฏิบัติการ Windows 7
ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์สุดท้ายของ Windows 7 (ตามรอบ Patch Tuesday คือวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือคืนนี้ของบ้านเรา) หลังจากนั้นแล้ว Windows 7 ยังใช้งานได้ตามปกติ แต่จะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยให้อีกแล้ว นั่นแปลว่าหากเกิดมัลแวร์ใหม่ๆ (เช่น กรณีของ WannaCry/WannaCrypt ผู้ใช้ Windows 7 จะมีความเสี่ยงทันที)
Windows 7 ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ปัจจุบันมีอายุเกิน 10 ปีแล้ว (ออกเดือนตุลาคม 2009) และมีอายุขัยของมันที่ต้องสิ้นสุดลง
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันอังคารหน้า 14 มกราคม 2020 แม้ไมโครซอฟท์ชักจูงให้คนอัพเกรดเป็น Windows 10 มากแค่ไหน แต่ก็ยังมีผู้ใช้ Windows 7 อีกเป็นจำนวนมาก (สถิติของ Blognone เองยังมีคนใช้ Windows 7 ประมาณ 4.5% ของผู้ชมเว็บทั้งหมด และคิดเป็น 20% ของผู้ใช้ Windows ทั้งหมดในรอบ 30 วันล่าสุด)
กูเกิลในฐานะเจ้าของเบราว์เซอร์ยอดนิยม จึงประกาศซัพพอร์ต Chrome บน Windows 7 ต่อไปอีกอย่างน้อย 18 เดือน (ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2021) เพื่อให้ผู้ใช้ (โดยเฉพาะฝั่งองค์กร) มีเวลาปรับตัว และยังได้ใช้เบราว์เซอร์ที่อัพเดตแพตช์ความปลอดภัย แม้ตัวระบบปฏิบัติการไม่มีแพตช์ให้อีกแล้ว
สิ่งแรกๆ ที่เราจะเห็นในโลกไอทีปี 2020 คือ Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 มกราคม 2020 (นั่นคืออีก 2 สัปดาห์) แม้ไมโครซอฟท์พยายามทุกทางให้ผู้ใช้อัพเกรดเป็น Windows 10 แต่ยังมีผู้ใช้ Windows 7 อีกจำนวนมาก (สถิติของ Blognone เองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Windows 7 ประมาณ 6.3% ของผู้ใช้ทั้งหมด หรือคิดเป็น 23% ของผู้ใช้ Windows ทั้งหมด)
เหตุผลที่ผู้ใช้เหล่านี้ไม่ได้อัพเกรดเป็น Windows 10 คงแตกต่างกันไป เช่น คอมพิวเตอร์เก่า (แต่จริงๆ Windows 10 ใช้สเปกขั้นต่ำเท่ากับ Windows 7), ไม่ชอบหรือไม่คุ้นเคยกับ Windows 10 หรือ อาจตกรถ ไม่ทันการอัพเกรดฟรีในช่วงปี 2015-2016
อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ยังแอบหลับตาข้าง โดยเปิดให้ผู้ใช้ Windows 7/Windows 8.1 ที่มีไลเซนส์แท้ อัพเกรดเป็น Windows 10 ได้ต่อไป บทความนี้จะสอนวิธีการทำครับ
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเวลาอีกประมาณ 1 เดือนกว่าๆ (14 มกราคม 2020) ล่าสุดมีข้อมูลยืนยันบนเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์แล้วว่า บริการแอนตี้ไวรัส Microsoft Security Essentials (MSE) ที่มาพร้อมกับ Windows 7 จะหยุดให้บริการไปพร้อมกัน
ถึงแม้ประกาศนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก แต่ตอนสมัย Windows XP หมดระยะซัพพอร์ต ไมโครซอฟท์ยังอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้ Microsoft Security Essentials ต่ออีกหลายเดือน ซึ่งคราวนี้ไม่ทำแล้ว ตรงนี้จึงกลายเป็นความเสี่ยงของผู้ที่ยังจะใช้ Windows 7 ต่อไป ที่อาจต้องหาแอนตี้ไวรัสยี่ห้ออื่นมาใช้งานแทน
ส่วนบริการแอนตี้ไวรัสแบบเดียวกันคือ Windows Defender บน Windows 8 และ Windows 10 ยังใช้งานได้ตามปกติ
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดการทำงานของ VBScript บน Internet Explorer 11 ด้วยเหตุผลว่าเป็นฟีเจอร์ที่ล้าสมัย (deprecated) ไปนานแล้ว แต่ยังเปิดให้ใช้งานต่อมาอีกระยะหนึ่งเพื่อรักษาความเข้ากันได้ (backwards compatibility) โดยเฉพาะกับเว็บไซต์เก่าๆ ภายในองค์กร
ล่าสุดไมโครซอฟท์บอกว่าถึงเวลาอันสมควรแล้ว จึงออกอัพเดตปิดการทำงานของ VBScript ของ IE11 บน Windows 10 ไปตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม และ Windows 7, 8, 8.1 จะตามมาในวันที่ 13 สิงหาคมนี้
ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้ VBScript จริงๆ ยังสามารถเปิดกลับมาได้ผ่านการแก้ไข Registry หรือ Group Policy ของระบบปฏิบัติการ
ไมโครซอฟท์ออกเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ยุค Chromium สำหรับ Windows รุ่นเก่าคือ 7, 8, 8.1 โดยตอนนี้ยังมีสถานะเป็นรุ่น Canary channel และจะออก Dev channel ตามมาในเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์ของ Edge บน Windows 7, 8, 8.1 ก็เทียบเท่ากับ Edge บน Windows 10 เกือบทุกประการ โดยจะมีฟีเจอร์แสดงผลด้วยเอนจิน IE เพื่อซัพพอร์ตเว็บไซต์เก่าๆ ด้วยเช่นกัน
ไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่า Windows 7 จะแสดงข้อความเตือนให้อัพเกรดเป็น Windows 10 ก่อนหมดอายุซัพพอร์ต ตอนนี้เริ่มมีผู้ใช้เห็นข้อความแจ้งเตือนที่ว่าแล้ว
ผู้ใช้ชื่อ u/IneptOrange บน Reddit เผยภาพข้อความเตือนบน Windows 7 ที่บอกว่า ระยะซัพพอร์ตยาวนาน 10 ปีกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว ผู้ใช้จะไม่ได้รับการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยอีก พร้อมปุ่มให้กดอ่านข้อมูลเพิ่มเติม (Learn More) และสามารถเลือกได้ว่าไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีก (Do not remind me again)
การแจ้งเตือนของไมโครซอฟท์รอบนี้ดูไม่น่ารำคาญเหมือนรอบก่อนที่เปิดให้อัพเกรด Windows 10 ฟรี ที่ปิดไม่ได้และหลายกรณีคือแอบเนียนอัพเกรดระบบปฏิบัติการให้เลยเสร็จสรรพ
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะเริ่มขึ้นข้อความแจ้งเตือนบน Windows 7 ให้ทราบว่าจะหมดอายุซัพพอร์ตในเดือนมกราคม 2020 และเชิญชวนให้อัพเกรดไปเป็น Windows 10
ไมโครซอฟท์ยังไม่โชว์หน้าตาของข้อความแจ้งเตือนนี้ โดยบอกเพียงแค่ว่าจะเริ่มแสดงข้อความในเดือนหน้า (เมษายน) และแสดงอีกหลายครั้ง (a handful of times) ตลอดปี 2019 แต่ผู้ใช้ก็สามารถสั่งปิดถาวรไม่ให้แสดงอีกได้เช่นกัน
จุดขายสำคัญอีกประการหนึ่งของ Windows 10 คือใช้สถาปัตยกรรมกราฟิก DirectX เวอร์ชัน 12 ที่เหนือกว่าเวอร์ชัน 11 หลายด้าน ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์คงนโยบายจำกัด DirectX 12 ไว้กับ Windows 10 เพียงอย่างเดียว
แต่วันนี้ ไมโครซอฟท์ช็อควงการด้วยการประกาศพอร์ต DirectX 12 กลับมายัง Windows 7 เพื่อให้เกมเมอร์ที่ยังใช้ Windows 7 ได้ประโยชน์จากกราฟิกที่พัฒนาขึ้นด้วย โดยเกมแรกที่จะได้ DirectX 12 บน Windows 7 คือ World of Warcraft: Battle for Azeroth กับแพตช์เวอร์ชัน 8.1.5 เป็นต้นไป
Google รายงานช่องโหว่ zero-day 2 ตัวบน Chrome และ Windows พร้อมแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รีบอัพเดตทันที
ช่องโหว่แรก (CVE-2019-5786) เกิดใน FileReader API ของ Chrome ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการจัดการหน่วยความจำ ทำให้ Chrome เข้าไปอ่านหน่วยความจำในตำแหน่งที่ไม่ใช้งานแล้ว เปิดช่องให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดทางไกลได้ โดย Google ได้อัพเดต Chrome เวอร์ชัน 72.0.3626.121 เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมาเพื่ออุดช่องโหว่นี้แล้ว
ส่วนอีกช่องโหว่ที่ทีมความปลอดภัยของ Google ค้นพบเป็นช่องโหว่บนวินโดวส์ที่เป็นการใช้ NULL pointer ผิดพลาดในฟังก์ชั่น NtUserMNDragOver ในบางกรณี นำไปสู่การเพิ่มสิทธิของไดรเวอร์เคอร์เนล win32k.sys ซึ่งอาจทำให้โค้ดที่มุ่งร้ายหลบการตรวจสอบจากแซนด์บ็อกซ์ได้
จากกรณี Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนมกราคม 2020 โดยไมโครซอฟท์เปิดให้องค์กรซื้อแพตช์ความปลอดภัยเพิ่มได้อีก 3 ปี ภายใต้โครงการชื่อ Extended Security Updates (ESU)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศราคาออกมาแล้ว โดยราคาคิดต่อจำนวนอุปกรณ์ และราคาจะแพงขึ้นทุกปี ไมโครซอฟท์ยังแบ่งราคาออกเป็น 2 แบบคือ ลูกค้า Windows 7 Pro ไลเซนส์ปกติ และลูกค้าที่มีไลเซนส์ Windows 10 Enterprise อยู่แล้ว สามารถซื้อแพตช์ของ Windows 7 ESU ได้แบบ add-on ในราคาถูกลงครึ่งหนึ่ง
สถิติจาก Net Applications ในเดือนธันวาคม 2018 ระบุว่าส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการของผู้ใช้เน็ต Windows 10 แซงหน้า Windows 7 ได้สำเร็จแล้ว
ตัวเลขล่าสุดของ Windows 10 ในเดือนล่าสุดอยู่ที่ 39.22% ของระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปทั้งหมด ส่วน Windows 7 อยู่ที่ 36.90%
ถ้าแยกตามระบบปฏิบัติการอย่างเดียว (รวมทุกเวอร์ชัน) Windows มีส่วนแบ่งตลาด 86.20%, mac OS 10.65%, Linux 2.78%, Chrome OS 0.32%
อย่าลืมว่า Windows 7 เหลืออายุซัพพอร์ตปีสุดท้ายแล้ว โดยจะหมดอายุอย่างถาวรในวันที่ 14 มกราคม 2020
ประเด็นสำคัญของโลกไอทีปี 2019 ที่ต้องจับตาคือ Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 มกราคม 2020 เท่ากับว่าเราเหลือเวลาอีก 1 ปีพอดีก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะหมดอายุ
ตามปกติแล้วไมโครซอฟท์มีระยะเวลาซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการนาน 10 ปี โดยแบ่งเป็นช่วง mainstream support ที่แก้บั๊ก-ออกแพตช์-เพิ่มฟีเจอร์ ในช่วง 5 ปีแรก และช่วง extended support ที่ออกแค่แพตช์ความปลอดภัยในช่วง 5 ปีหลัง
กรณีของ Windows 7 ออกตัวจริงในเดือนกรกฎาคม 2009 มาถึงตอนนี้ก็เกือบครบ 10 ปีแล้ว โดยไมโครซอฟท์ยืดระยะซัพพอร์ตให้อีกเล็กน้อย ไปจบที่เดือนมกราคม 2020
ไมโครซอฟท์ให้รายละเอียดเพิ่มเติมของแผนการ เปลี่ยนเอนจินของ Edge มาใช้ Chromium ดังนี้
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็เข้ามาลุยตลาด virtual desktop infrastructure (VDI) ด้วยตัวเอง ผ่านบริการใหม่ Windows Virtual Desktop ที่รันบน Azure เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ใดๆ ในองค์กรเลย
Windows Virtual Desktop เป็นบริการเดสก์ท็อปเสมือนดังเช่น VDI ค่ายอื่นๆ ส่วนฟีเจอร์ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งมีดังนี้
Adobe ประกาศว่า Creative Cloud เวอร์ชันหน้าที่จะออกในเร็วๆ นี้ (น่าจะเปิดตัวในงาน Adobe MAX เดือนหน้า) จะไม่ซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าแล้ว ได้แก่
ส่วน Windows 7 ที่ยังมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากจะยังซัพพอร์ตต่อไป ยกเว้นแอพพลิเคชันสายวิดีโอได้แก่ Adobe Media Encoder, After Effects, Audition, Character Animator, Prelude, Premiere Pro จำเป็นต้องใช้ Windows 10 v1703 ขึ้นไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้บน Windows 7 ได้อีกแล้ว
ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่ายังสามารถใช้ Creative Cloud เวอร์ชันปัจจุบันได้ต่อไป แต่จะไม่สามารถติดตั้งแอพเวอร์ชันใหม่ได้แล้ว
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตแบบระยะสุดท้าย (extended support) ในวันที่ 14 มกราคม 2020 แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้ Windows 7 ที่ยังเยอะอยู่มาก โดยเฉพาะในตลาดองค์กร ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจต่ออายุซัพพอร์ตแบบเสียเงินให้อีก 3 ปี
ซัพพอร์ตแบบใหม่มีชื่อเรียกว่า Windows 7 Extended Security Updates (ESU) มีอายุถึงเดือนมกราคม 2023 โดยมีให้แค่สำหรับ Windows 7 Professional และ Windows 7 Enterprise เท่านั้น การคิดราคาจะตามจำนวนอุปกรณ์ และราคาจะแพงขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังจะขยายระยะซัพพอร์ตของ Office 365 ProPlus (เวอร์ชันขายไลเซนส์ผูกกับเครื่อง ไม่ใช่ผูกกับบัญชีผู้ใช้) ให้หมดอายุเดือนมกราคม 2023 พร้อมกัน
Windows 7 ยังคงเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับไมโครซอฟท์ ยิ่งวันหมดระยะซัพพอร์ทที่กำหนดเอาไว้เดือนมกราคม 2020 ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ด้วยแล้ว โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการจากไมโครซอฟท์ระบุว่า ยังคงมีพีซีในองค์กรขนาดกลางและเล็กใช้งาน Windows 7 อีกกว่า 184 ล้านเครื่อง (ไม่รวมจีน) และ 1 ใน 4 ของจำนวนนี้อยู่ในสหรัฐ
ขณะที่ตัวเลขคร่าวๆ จาก ComputerWorld ถึงจำนวน Windows 7 ทั่วโลกทั้งองค์กรทุกขนาดและผู้ใช้ทั่วไปอยู่ที่ราว 709 ล้านเครื่อง โดยฝั่งผู้ใช้ทั่วไปอยู่ที่ราว 390 ล้านเครื่อง โดยไม่รวมตัวเลขในจีนเช่นกัน
เมื่อปลายเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์ได้เริ่มทยอยอัพเดตความสามารถใหม่ให้กับ OneDrive desktop ในชื่อ Known Folder Move (KFM) ฟีเจอร์ซึ่งจะช่วยซิงค์โฟลเดอร์ที่ Windows เตรียมไว้ให้ผู้ใช้จัดเก็บข้อมูลทั้ง Desktop, Documents และ Pictures ขึ้นไปเก็บบน OneDrive ได้ง่ายๆ ผ่านการตั้งค่าเพียงไม่กี่คลิก
โดยปกติแล้วการซิงค์โฟลเดอร์ข้างต้นกับ OneDrive ต้องอาศัยการย้ายตำแหน่งของแต่ละโฟลเดอร์ไปวางไว้ภายใต้ OneDrive ด้วยตัวเอง แต่ด้วยฟีเจอร์ KFM สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำเหลือเพียงแค่คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจากหน้าตั้งค่า Auto Save ในเมนู Setting ของ OneDrive เท่านั้น