ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับออราเคิล นำฐานข้อมูล Oracle Database ไปรันบน Azure ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรก (ที่ไม่ใช่ออราเคิลเอง) ที่มีฐานข้อมูลของ Oracle ให้บริการลูกค้า
บริการนี้มีชื่อทางการว่า Oracle Database@Azure ครอบคลุมฐานข้อมูล Oracle Exadata Database, Oracle Autonomous Database, Oracle Real Application Clusters (RAC) บริการทั้งหมดรันอยู่บนคลาวด์ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) บนเครื่อง Oracle Exadata ที่ตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ Azure อีกที (collocating) โดยออราเคิลเป็นคนบริหารจัดการเครื่อง OCI ทั้งหมด
เก็บตกประเด็นน่าสนใจจาก การเปิดตัวโมเดล Llama 2 ของบริษัท Meta ซึ่งเป็นโมเดลประสิทธิภาพสูง สนับสนุนโดยบริษัทใหญ่ เป็นโอเพนซอร์ส และใช้ในเชิงการค้าได้ด้วย
สิ่งที่อาจทำให้หลายคนประหลาดใจคือ Meta ร่วมกับพาร์ทเนอร์คือไมโครซอฟท์ และ Meta เลือกใช้เวทีงาน Microsoft Inspire เป็นสถานที่เปิดตัวโมเดลนี้ แถม Mark Zuckerberg ยังโพสต์รูปคู่กับ Satya Nadella ใน Instagram เพื่อประกาศข่าวนี้ด้วย
ไมโครซอฟท์ออกรายงานถึงกลุ่มแฮกเกอร์ Storm-0558 ที่โจมตีจากประเทศจีนโดยมีแนวทางมุ่งขโมยข้อมูล โดยคนร้ายสามารถขโมยกุญแจเซ็นโทเค็นของ Azure AD ออกไปจากไมโครซอฟท์ได้ ทำให้สามารถเซ็นโทเค็นปลอมตัวเป็นบัญชีผู้ใช้อะไรก็ได้ของเหยื่อ
หน่วยงานที่ถูกโจมตีคือฝ่ายบริหารฝั่งพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Civilian Executive Branch - FCEB) โดยพบล็อกใน Microsoft 365 ว่ามีรายงาน MailItemsAccessed
ซึ่งเป็นการเข้าอ่านเมลจากไคลเอนต์ต่างๆ แต่ที่แปลกออกไปคือค่า AppID
นั้นไม่เคยพบ แปลว่าอยู่ๆ ก็มีคนใช้อีเมลไคลเอนต์ประหลาดเข้ามาอ่านอีเมล
Mercedes-Benz ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ของ MBUX Voice Assistant ผู้ช่วยสั่งงานในรถด้วยเสียง ให้ใช้ความสามารถของ ChatGPT เพิ่มเข้ามาเพื่อรองรับคำสั่งที่หลากหลายกว่าเดิม
MBUX Voice Assistant เป็นผู้ช่วยในรถที่เรียกใช้ด้วยคำสั่ง “Hey Mercedes” โดยปกติแล้วผู้ช่วยในกลุ่มนี้ก็มักรับคำสั่งได้จำกัดตามที่ออกแบบไว้ แต่การใช้ ChatGPT เข้ามาจะช่วยให้ผู้ใช้ถามคำถามที่ซับซ้อนกว่าเดิม รวมถึงการขอรายละเอียดจุดหมายปลายทาง หรือการถามนอกเรื่องอย่างสูตรอาหาร
ทาง Mercedes-Benz ใช้โมเดลของ OpenAI ผ่านทาง Azure OpenAI Service ส่วนข้อมูลเสียงจะเก็บรักษาโดย Mercedes-Benz เอง
Azure รายงานถึงผลวิเคราะห์เหตุการณ์บริการ Azure DevOps ในศูนย์ข้อมูลบราซิลใต้ (SBR) ล่มไปถึง 10.5 ชั่วโมงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักคือสคริปต์ที่พิมพ์ผิด
เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดใน Sprint 222 ที่อัพเกรดไลบรารี Microsoft.Azure.Managment
ที่เตรียมเลิกใช้งานไปเป็น Azure.ResourceManager
ทำให้แพตช์มีขนาดใหญ่มาก และส่วนที่พิมพ์ผิดอยู่ในฟังก์ชั่นลบ snapshot ของฐานข้อมูล
Lazada เปิดตัว LazzieChat แชตบอต AI สำหรับอีคอมเมิร์ซที่ใช้เทคโนโลยีเบื้องหลังเป็น Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นให้แก่ลูกค้า โดยความสามารถของ LazzieChat เป็นแอปแชตบอตที่ช่วยตอบคำถามการซื้อและเป็นผู้ช่วยช้อปส่วนตัวด้วยการแนะนำข้อเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ
Diomedes Kastanis CTO ของ Microsoft ได้กล่าวว่า Azure OpenAI Service จะเปลี่ยนแปลง Shopping journey การซื้อของสำหรับลูกค้า, ผู้ขาย และ แบรนด์บน Lazada รวมถึงเพิ่มประสบการณ์การบริการลูกค้า, ให้บริการรวดเร็วยิ่งขึ้น และเปลี่ยนประสบการณ์ซื้อในภูมิภาค APAC
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์เปิดตัวดิสโทรลินุกซ์ของตัวเอง Azure Linux อย่างเป็นทางการ (general availability) มันจะถูกใช้เป็นโฮสต์ในการรันคอนเทนเนอร์บนบริการ Azure Kubernetes Service (AKS) ทำให้ AKS มีโฮสต์เป็นลินุกซ์ด้วยแล้ว
จริงๆ แล้วโครงการ Azure Linux ไม่ใช่ของใหม่ เพราะทดสอบมาสักพักแล้วในชื่อโค้ดเนม CBL-Mariner หลังจากทดสอบมานาน 2 ปีก็ได้ฤกษ์เปิดให้คนทั่วไปใช้กัน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure AI Studio ชุดเครื่องมือพัฒนาโมเดล AI ครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ฟีเจอร์ของมันประกอบด้วย
ที่มา - Microsoft
Ubuntu ออกเวอร์ชัน 23.04 โค้ดเนม Lunar Lobster กุ้งมังกรแห่งดวงจันทร์ มีของใหม่ดังนี้
ที่มา - Ubuntu
กระแส ChatGPT น่าจะทำให้คนจำนวนมากเห็นแนวทางการทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเหลือเราในฐานะผู้ช่วยที่สามารถช่วยเราค้นคว้าเนื้อหาต่างๆ ปรับแต่งบทความ หรือแม้แต่โปรแกรมเมอร์ก็อาจจะใช้ Copilot ช่วยเขียนโค้ดทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น แต่การใช้งานเหล่านี้ก็มักใช้งานเหมือนปัญญาประดิษฐ์ทำหน้าที่ช่วยเหลือคนที่ทำงานอยู่เท่านั้น แต่ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในยุคใหม่เหล่านี้อาจจะสามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์บางส่วนได้ทันที โดยเฉพาะในโลกธุรกิจที่มีการะบวนการทำงานอยู่หลายส่วน มีโปรเซสต่างๆ ที่ต้องอาศัยคนทำงานมาประมวลข้อมูล ตอบคำถามคนที่เกี่ยวข้อง
ไมโครซอฟท์เปิดบริการโมเดล GPT-4 บน Azure OpenAI Service อย่างรวดเร็ว คล้อยหลังการเปิดตัวของ OpenAI เพียงหนึ่งสัปดาห์
ค่าใช้บริการคิดเป็น token โดยแยกเป็น token ในการสั่งงาน (prompt) และการรันงานจนเสร็จ (completion) ราคาแบบรุ่นเล็ก (8k content) คือ 0.03 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens (prompt) และ 0.06 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens (completion) หากต้องการใช้รุ่นใหญ่ (32k content) ราคาจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
บริการ Azure OpenAI Service ให้บริการโมเดลของ OpenAI หลายตัว เช่น GPT-3.5, Dall-E 2, ChatGPT และล่าสุดคือ GPT-4
ไมโครซอฟท์เล่าเบื้องหลังการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บน Azure เพื่อให้บริการ OpenAI เทรนโมเดล AI ขนาดใหญ่จนกลายมาเป็น ChatGPT แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์กับ OpenAI ในปี 2019 ตอนนั้นไมโครซอฟท์มีระบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับเทรนโมเดล AI ของตัวเองอยู่แล้ว (เช่น โมเดลที่ใช้ใน Microsoft Translator หรือตัวตรวจสะกดใน Word) แต่ขีดความสามารถนั้นไม่พอกับที่โมเดลขนาดใหญ่มากๆ ของ OpenAI ต้องการใช้งาน ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีออกแบบระบบใหม่
Microsoft Azure เปิดพรีวิวเครื่อง VM เวอร์ชันใหม่ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 รุ่นใหม่ล่าสุด สถาปัตยกรรม Hopper ที่พัฒนาขึ้นจากจีพียู NVIDIA A100 (Ampere) รุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หากอิงจากตัวเลขของ NVIDIA เองคือเทรนโมเดลบางประเภทได้เร็วขึ้น 9 เท่า
VM รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า ND H100 v5 เลือกจีพียูได้ต่ำสุด 8 ตัว สเกลขึ้นไปได้เป็นหลักพันตัว (ต่อกันผ่าน InfiniBand) สเปกเครื่องมีดังนี้
หลายคนอาจคุ้นเคยกับชื่อ Progressive Web App (PWA) แนวทางการพัฒนาเว็บแอพที่ใช้นอกเบราว์เซอร์ได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์เสนอแนวคิดชื่อคล้ายๆ กันคือ Reliable Web App (RWA)
จุดแตกต่างคือ RWA ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่เป็น "แพทเทิร์น" การเขียนเว็บแอพที่ไมโครซอฟท์แนะนำว่าดี (best practice ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำตาม) สำหรับการใช้ .NET สร้างเว็บแอพไปรันบนคลาวด์ Azure ให้เสถียร (SLO 99.9%) ดูแลง่าย ปลอดภัย ต้นทุนค่าคลาวด์ต่ำ
Microsoft เริ่มให้บริการ ChatGPT ผ่าน Azure OpenAI Service ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือนมกราคม 2023
ก่อนหน้านี้ Azure OpenAI Service ยังรองรับเฉพาะโมเดลบางตัวของค่าย OpenAI เช่น GPT-3.5, Codex, DALL-E 2 แต่ยังขาดโมเดลยอดฮิตอย่าง ChatGPT ซึ่งไมโครซอฟท์สัญญาไว้ว่าจะตามมา และตอนนี้เปิดบริการแล้วแบบพรีวิว
ราคาใช้งานอยู่ที่ 0.002 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens
ที่มา - Microsoft
Azure Quantum เปิดฟีเจอร์ Integrated Hybrid เปิดทางให้ลูกค้ารันอัลกอริธึมผสมระหว่างคอมพิวเตอร์ปกติและคอมพิวเตอร์ควอนตัม ไมโครซอฟท์สาธิตฟีเจอร์นี้ด้วยโค้ดภาษา Q# ทดสอบคุณสมบัติ entanglement จำนวน 10 รอบ หากระบบทำงานได้ถูกต้องก็จะตอบค่า 0 เสมอ แต่ในความเป็นจริงเมื่อรันไปหลายๆ รอบก็จะได้ค่าที่ผิดไปออกมาบ้าง
ตอนนี้คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่รองรับฟีเจอร์ Integrated Hybrid ยังใช้ได้กับ Quantinuum H-Series เท่านั้นทางไมโครซอฟท์ระบุว่าจะรองรับคอมพิวเตอร์ของ QCI เพิ่มเติมในอนาคต
ไมโครซอฟท์ออกรายงานฉบับเต็มถึงเหตุการณ์ศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ล่ม จนทำให้บริการจำนวนหนึ่งใช้งานไม่ได้เป็นเวลานานประมาณหนึ่งวันเต็ม โดยต้นตอของปัญหาเกิดจากเหตุไฟตก (power dip) จนทำให้ระบบทำความเย็นทำงานไม่เต็มที่ สร้างปัญญาต่อๆ มาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากไมโครซอฟท์จัดงานเปิดตัวฟีเจอร์แชตบอทใน Bing ทางไมโครซอฟท์ประเทศไทยก็จัดงานพบปะกับองค์กรในประเทศเพื่อสาธิตถึงการใช้ Azure OpenAI ที่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผมได้คุยกับคุณเชาวลิต รัตนกรไกรศรี เชาวลิต รัตนกรไกรศรี CTO ของไมโครซอฟท์ประเทศไทย ถึงการใช้งานปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจในไทยในอนาคต
ไมโครซอฟท์รายงานถึงความคืบหน้าของเหตุ Azure ที่สิงคโปร์ล่มไปหนึ่ง Availability Zone ทำให้ลูกค้าจำนวนมากได้รับผลกระทบ โดยตอนนี้สามารถกู้ระบบทำความเย็นได้สำเร็จแล้ว และอุณหภูมิในศูนย์ข้อมูลก็อยู่ในระดับปกติ แต่ความยากคือการเปิดระบบกลับมาจากศูนย์
กระบวนการเปิดศูนย์ข้อมูลกลับมาจะเริ่มจากระบบสตอเรจเป็นอย่างแรก จากนั้นจึงเริ่มเปิดระบบ compute ทั้งหลายซึ่งจะทำให้ระบบกลับมาเต็มรูปแบบ
ระบบทำความเย็นเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ช่วงตีสามของไทยเมื่อคืนที่ผ่านมา จนตอนนี้ก็กินเวลาเกือบเต็มวันแล้ว และทางไมโครซอฟท์ระบุว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีกำหนดเปิดระบบกลับคืนได้เมื่อใด
หนึ่งในศูนย์ข้อมูลของ Microsoft Azure ที่สิงคโปร์เกิดเหตุการณ์ไฟกระชาก จนทำให้ระบบทำความเย็นไม่ทำงาน ทาง Microsoft จึงต้องสั่งลดการทำงานศูนย์ข้อมูลลง เป็นเหตุให้ 1 Available Zone ของ South East Asia Region ล่ม ไม่สามารถให้บริการได้ (จากทั้งหมด 3 AZ)
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณตี 3 เมื่อเช้าบ้านเราที่ผ่านมา จนตอนนี้ยังไม่สามารถกู้ระบบทำความเย็นกลับมาได้
ที่มา - Azure Status
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Azure OpenAI Service อย่างเป็นทางการ เข้าสถานะ General Availability (GA) หลังจากเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปลายปี 2021
ไมโครซอฟท์เข้าลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ใน OpenAI มาตั้งแต่ปี 2020 และได้สิทธิการใช้งาน GPT-3 แต่เพียงผู้เดียว (ล่าสุดมีข่าวลือว่าจะลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์แลกกับหุ้น 49%) ไมโครซอฟท์จึงนำโมเดลหลายตัวของ OpenAI เช่น GPT-3.5, Codex, DALL-E 2 มาให้บริการกับลูกค้าภายนอกบน Azure
ไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการ Fungible Inc. ผู้ผลิตชิป DPU (Data Processing Unit) สำหรับงานประมวลผลข้อมูล โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลดังกล่าว
ไมโครซอฟท์บอกว่าเทคโนโลยีของ Fungible จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายและสตอเรจในศูนย์ข้อมูล ให้ยังมีความเสถียรและปลอดภัย โดยทีมงานของ Fungible จะเข้ามาร่วมทีมวิศวกรรมโครงสร้างศูนย์ข้อมูลของไมโครซอฟท์ เพื่อพัฒนาโซลูชัน DPU เสริมประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์
Fungible ก่อตั้งในปี 2016 โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสเกลที่เกิดขึ้นในศูนย์ข้อมูล คือการประมวลผลข้อมูลระหว่างโนดที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงพัฒนา DPU และซอฟต์แวร์ที่ทำงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัวโครงการ Skills for Jobs เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นต่อตำแหน่งงานยอดนิยม พร้อมทักษะพื้นฐาน ได้แก่ Digital Literacy & Productivity, Soft Skills และ Entrepreneurship โดยเปิดให้เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์เพิ่มเติมอีกกว่า 350 คอร์สผ่าน LinkedIn Learning ได้ฟรีจนถึงปี 2568 พร้อมประกาศนียบัตร Career Essentials เพิ่มโอกาสในการได้รับจ้างงาน
โดยนับเป็นการต่อยอดจากโครงการ Global Skills Initiative (GSI) ที่ได้ให้การสนับสนุนกับผู้คนกว่า 80 ล้านคนทั่วโลกตั้งแต่ปี 2563 (มีผู้เรียนชาวไทยรวมกว่า 534,000 ราย)
ปี 2022กำลังผ่านไปพร้อมกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจหลายอย่างที่สร้างความผันผวนให้กับธุรกิจอย่างหนัก ทำให้องค์กรจำนวนมากมองหาหนทางประหยัดค่าใช้จ่ายในปี 2023 ที่จะถึงนี้ การนำพาธุรกิจให้เดินต่อ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ก็หนีไม่พ้นเรื่องของโดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อน แล้วจะทำอย่างไรให้การลงทุนนั้นคุ้มค่า ไม่ต้องจ่ายซ้ำซ้อน ในขณะเดียวกันก็ต้องคงความปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสูงสุดไปพร้อมกัน การมองหาโซลูชั่นที่ปกป้ององค์กรตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ภายในไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานจำนวนมากที่ต้องได้รับการปกป้องอย่างครบถ้วน ตามแนวทาง จ่ายน้อยกว่าแต่ได้มากกว่า (do more with less) จึงเป็นเทรนด์สำคัญสำหรับปี 2023 นี้
The Register รายงานว่าไมโครซอฟท์ปรับเงื่อนไขการใช้งาน Azure แบบเงียบๆ ห้ามการเช่าเครื่องไปขุดเหมืองคริปโตก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
นโยบายนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานที่ยอมรับได้ (Acceptable Use Policy) มีผลต่อบริการออนไลน์ของไมโครซอฟท์ทั้งหมด บริษัทให้เหตุผลว่าการขุดเหมืองอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้คนอื่นๆ และเงินคริปโตมักถูกนำไปใช้กับอาชญากรรมไซเบอร์ ไมโครซอฟท์จึงต้องปกป้องลูกค้าคนอื่นๆ และลดความเสี่ยงจากปัญหาเหล่านี้
The Register ยังระบุว่านโยบายนี้ไม่ใช่ของใหม่ในวงการคลาวด์ เพราะผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น Google Cloud, Oracle, Digital Ocean มีนโยบายแบบเดียวกันอยู่ก่อนแล้ว ส่วน AWS ห้ามขุดเหมืองเฉพาะบัญชีแบบฟรีเท่านั้น บัญชีแบบจ่ายเงินยังสามารถขุดเหมืองได้