อินเทลประกาศวางขายซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ 5th Gen Xeon Scalable โค้ดเนม Emerald Rapids ในวันที่ 14 ธันวาคม 2023 (พร้อมกับ Core Ultra ของฝั่งโน้ตบุ๊ก)
การออก Xeon 5th Gen ช่วงปลายปี ทำให้ปีนี้อินเทลออก Xeon ได้ถึง 2 รุ่นคือ 4th Gen Xeon Sapphire Rapids เมื่อเดือนมกราคม หลังจากล่าช้ามานานหลายปี และออก 5th Gen ตามต่อทันทีได้ตอนปลายปี ถือเป็นสัญญาณอันดีว่าอินเทลเริ่มกลับเข้ามาอยู่ในร่องในรอยมากขึ้นแล้ว
บริษัทวิจัยตลาด Bernstein Research ออกรายงานประเมินส่วนแบ่งตลาดเซิร์ฟเวอร์ Arm มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้
NVIDIA เปิดตัวโมดูล NVIDIA GH200 Grace Hopper รุ่นต่อไป หลังจากปีนี้วางตลาดรุ่นแรกไปแล้ว ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของรุ่นต่อไปคือการใช้แรม HBM3e ทำให้ใส่แรมได้มากขึ้นมาก เครื่องขนาด 2 โมดูล สามารถใส่แรมได้สูงสุด 282GB ซีพียู 144 คอร์ และพลังประมวลผล AI รวม 8 เพตาฟลอบ (ไม่ระบุว่าที่ความละเอียดระดับใด)
HBM3e เป็นหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงที่พัฒนาต่อมาจาก HBM3 โดยก่อนหน้านี้อาจจะเรียกว่า HBM3+ หรือ HBM3 Gen 2 ตอนนี้โรงงานที่ผลิต HBM3 หลักๆ ได้แก่ SK hynix, Samsung, และ Micro และน่าจะเตรียมสายการผลิต HBM3e กันอยู่ โดยรวมแล้วแรม HBM3e บน GH200 รุ่นต่อไปรองรับแบนวิดท์ 10TB/s
บริษัท MosaicML ที่เพิ่งถูกซื้อกิจการโดย Databricks เปิดเผยการใช้ชิปเร่งประมวลผล AI สองค่ายเปรียบเทียบกัน ได้แก่ NVIDIA A100 และ AMD MI250 (ทั้งสองรุ่นยังไม่ใช่ตัวใหม่ล่าสุด) พบว่าตอนนี้ชิปของ AMD สามารถทำประสิทธิภาพได้ราว 80% ของชิป NVIDIA แล้ว
AMD ประกาศวางขายซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 4 เพิ่มเติม หลังจากวางขาย EPYC "Genoa" สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป มาตั้งแต่ปลายปี 2022
ซีพียู EPYC มีทั้งหมด 4 กลุ่มตามที่ AMD ประกาศไว้ตอนกลางปี 2022 โดยมี Genoa ขายเป็นกลุ่มแรก ส่วนประกาศรอบนี้เป็นการวางขายซีพียูเพิ่มเติมอีก 2 กลุ่มคือ "Bergamo" สำหรับตลาดเซิร์ฟเวอร์ cloud native ที่อัดจำนวนคอร์สูงๆ และ "Genoa-X" สำหรับงานที่ต้องการหน่วยความจำ L3 มากๆ
Foxconn บริษัทผู้รับผลิตและประกอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจในระหว่างการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดย Liu Young-way ประธานบริษัทบอกว่าธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ มีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการแอพพลิเคชัน AI ที่สูงขึ้น
Liu บอกว่าเพราะคนใช้งานแอปแบบ ChatGPT มากขึ้น ทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับ AI มีความต้องการสูงเร็วกว่าที่บริษัทเคยประเมินไว้ และครึ่งหลังของปีนี้ความต้องการอาจเพิ่มสูงระดับเปอร์เซ็นต์เลขสามหลัก
ในภาพรวมของธุรกิจ Liu บอกว่าบริษัทยังคงระมัดระวังผลกระทบในภาพใหญ่ ทั้งนโยบายดอกเบี้ยของแต่ละประเทศ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ และปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบในธุรกิจอื่นของบริษัท
NVIDIA เปิดสเปกของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ชื่อ MGX ให้ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ใช้งาน
MGX เป็นชื่อเรียกดีไซน์ต้นแบบ (reference architecture) ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เทคโนโลยีฝั่ง NVIDIA ได้แก่
Ampere Computing บริษัทผู้พัฒนาซีพียู Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์ เปิดเผยรายละเอียดของ AmpereOne ซีพียูรุ่นที่สามของบริษัท ที่เปิดตัวครั้งแรกกลางปี 2022
AmpereOne หรือโค้ดเนม Siryn เป็นซีพียูแบบ 136-192 คอร์ ถือว่าเยอะที่สุดในวงการ ใช้คอร์ของ Ampere พัฒนาเอง (รุ่นก่อนหน้านี้ใช้สถาปัตยกรรมจาก Arm) ดีไซน์แบบ chiplet, รองรับแรม DDR5 x8 แชนเนล, PCIe Gen 5 x128 เลน และใช้กระบวนการผลิต 5nm
AMD เปิดตัวการ์ดประมวลผลวิดีโอฝั่งเซิร์ฟเวอร์ Alveo MA35D มีจุดเด่นคือรองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 และการเข้ารหัสวิดีโอพร้อมกัน 32 สตรีม (1080p60) ต่อการ์ด
การ์ดเร่งความเร็วการประมวผล (accelerator) ตระกูล Alveo เป็นการ์ดแบบ ASICS ที่ AMD ได้มาจากการซื้อกิจการ Xilinx ตั้งแต่ปี 2020 โดยการ์ดรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ปลดแบรนด์ Xilinx และเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ AMD เต็มตัว
อินเทลประกาศแผนการออกซีพียูเซิร์ฟเวอร์ตระกูล Xeon Scalable ในอนาคต ถัดจาก 4th Gen Xeon Scalable (Sapphire Rapids) ที่เพิ่งวางขายเมื่อเดือนมกราคม 2023
Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA โชว์หน้าตาชิปจริงของซีพียู Grace Superchip ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2022 โดยเลื่อนการวางขายสินค้าจริงจากครึ่งแรกของปี 2023 เป็นครึ่งหลังของปีแทน
Grace Superchip เป็นการนำซีพียู Grace สองตัวมาเชื่อมต่อกัน มีจำนวนคอร์รวม 144 คอร์ จุดขายของ Grace คือการเป็นสถาปัตยกรรม Arm ที่ประหยัดพลังงานกว่า และออกแบบมาเพื่องานปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ ทำให้รันงานลักษณะนี้ได้ดีกว่าชิป x86 ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่วไป
Lenovo เปิดตัวเครื่องเดสก์ท็อปเวิร์คสเตชัน ThinkStation PX, P7, P5 ที่ออกแบบเคสร่วมกับแบรนด์รถยนต์ Aston Martin
จุดเด่นที่น่าสนใจของ ThinkStation ชุดนี้ (เฉพาะ PX และ P7) คือตัวเครื่องมาทรงเดสก์ท็อปทาวเวอร์ก็จริง แต่ออกแบบมาให้ใช้ต่อเป็นแร็คขนาด 4U ได้ด้วย เหมาะสำหรับหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้งานประมวลผลสูงๆ สามารถนำเวิร์คสเตชันมาต่อกันในศูนย์ข้อมูล
เวิร์คสเตชัน ThinStation ชุดนี้ใช้ซีพียู Intel Xeon Scalable Gen 4 (Sapphire Rapids) และ จีพียู NVIDIA RTX 6000 Ada Lovelace ซึ่งเป็นสเปกที่แรงที่สุดเท่าที่หาได้ในปัจจุบัน
หลังจากล้มเหลวกับบริการคลาวด์เกมมิ่ง Stadia จนต้องปิดตัว กูเกิลปรับทิศทางใหม่ นำเทคโนโลยีจาก Stadia มาให้บริการบริษัทเกมอื่นๆ แทน ภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า Google Cloud for Live Service Games
บริการภายใต้ร่มของ Google Cloud for Live Service Games เป็นผลิตภัณฑ์ที่กูเกิลมีอยู่ก่อนแล้ว แต่นำมาจัดชุดใหม่ให้เหมาะกับลูกค้ากลุ่มบริษัทเกม ที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่รองรับเกมแนว Live Service ที่มีผู้เล่นจำนวนมหาศาล
กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา ออกคำสั่งแบนห้ามบริษัทสัญชาติอเมริกันทำธุรกิจบริษัทจีนรอบใหม่ คราวนี้ในรายชื่อมี Inspur ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายใหญ่ที่สุดของจีน (และอยู่อันดับสามของโลกในแง่จำนวนเซิร์ฟเวอร์) รวมอยู่ด้วย
Inspur มีจุดกำเนิดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และขยายกิจการเติบใหญ่จนกลายมาเป็นแบรนด์จีนยักษ์ใหญ่ด้านเซิร์ฟเวอร์ ปัจจุบันในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Top500 มีเครื่องของ Inspur ติดอยู่อันดับ 47 โดยเป็นเครื่องที่สร้างให้บริษัท Yandex ของรัสเซีย
David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp เคยประกาศไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ว่าบริษัท 37signals ของเขาจะเลิกเช่าคลาวด์เพราะมีต้นทุนแพง เวลาผ่านมาเกือบ 6 เดือน เขาโพสต์ข้อมูลอัพเดตของการย้ายออกจากคลาวด์ให้ทราบกัน
DHH เปิดเผยตัวเลขให้เห็นชัดๆ ว่าเขาต้องจ่ายค่าคลาวด์ให้ AWS ตลอดทั้งปี 2022 เป็นเงิน 3,201,564.24 ดอลลาร์ (ตีเป็นเงินไทยปัจจุบันราว 106 ล้านบาท) โดยก้อนใหญ่ๆ เป็นค่า S3, RDS, OpenSearch, Elasticache ตามลำดับ ซึ่ง Basecamp จ่ายในราคาที่ถือว่ามีส่วนลดแล้ว เพราะเป็นการซื้อแบบการันตีระยะเวลานาน 4 ปี
ในงานประชุม Open Compute Global Summit 2022 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Meta เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Grand Teton สำหรับงานประมวลผล AI ที่ใช้ชิป NVIDIA H100 สถาปัตยกรรม Hopper รุ่นล่าสุดของฝั่งจีพียูเซิร์ฟเวอร์
Grand Teton ตั้งชื่อตามภูเขาในรัฐ Wyoming และเป็นเวอร์ชันอัพเกรดของเซิร์ฟเวอร์ Zion/Zion Ex ที่ Meta เริ่มใช้ในปี 2020/2021 ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดทางเทคนิคออกมาเยอะนัก ไม่ว่าจะเป็นสเปกหรือสมรรถนะ โดย Meta บอกเพียงว่ามีแบนด์วิดท์เครือข่ายเพิ่ม 2 เท่า, แบนด์วิดท์ระหว่างซีพียูโฮสต์กับจีพียูเพิ่มขึ้น 4 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่อง Zion รุ่นเดิม
Webmin ซอฟต์แวร์ control panel จัดการเซิร์ฟเวอร์และเว็บโฮสติ้งแบบเว็บเบส ที่เริ่มพัฒนามายาวนานตั้งแต่ปี 1997 ออกเวอร์ชัน 2.0 ถือเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบหลายปี
Webmin เกิดมาในยุคที่เว็บเซิร์ฟเวอร์เริ่มบูม การจัดการ Apacher HTTP Server ต้องทำผ่านคอมมานด์ไลน์ ยากต่อการดูแล ตัว Webmin เองเขียนด้วยภาษา Perl และไม่เคยขยับเลขเวอร์ชันจาก 1.x เลยในช่วงเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา ถึงแม้โลกยุคหลังมีซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น cPanel หรือ Plesk ให้เลือกใช้งาน แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ใช้ Webmin อยู่เพราะเป็นไลเซนส์แบบโอเพนซอร์ส (นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์อื่นในเครือ Webmin เช่น Usermin และ Virtualmin ด้วย)
Bloomberg รายงานข่าวลือว่าเจ้าพ่อชิปมือถืออย่าง Qualcomm กำลังสนใจกลับมาทำชิปฝั่งเซิร์ฟเวอร์อีกรอบ โดยจะใช้ Nuvia บริษัทที่ซื้อมาในปี 2021 เป็นแกนกลาง
Nuvia เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยอดีตทีมออกแบบชิปตระกูล Ax ของแอปเปิล ที่หันมาเปิดบริษัทเองและต้องการทำชิป Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์ แต่มาโดน Qualcomm ซื้อก่อน และตอนนี้ถูกใช้ทำชิปสำหรับมือถือที่จะออกสู่ตลาดในปี 2023
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายระยะเวลาใช้งานเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายในศูนย์ข้อมูล Azure ของตัวเอง จากเดิม 4 ปีเป็น 6 ปี เพื่อประหยัดต้นทุนของการให้บริการลงได้ถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
คู่แข่งรายอื่นๆ ก็ประกาศขยายระยะเวลาการใช้งานเซิร์ฟเวอร์มาก่อนแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เช่น Google Cloud ขยายจาก 3 เป็น 4 ปี และ AWS ขยายเซิร์ฟเวอร์จาก 4 เป็น 5 ปี และอุปกรณ์เครือข่ายจาก 5 เป็น 6 ปี
นโยบายการขยายอายุเครื่องอาจเป็นผลดีต่อผู้ให้บริการคลาวด์ในแง่การลดต้นทุน แต่คงไม่ดีสำหรับผู้ขายเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายนัก ตัวอย่างคือ อินเทล ที่ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาไม่ค่อยดี เพราะยอดขายตกทั้งฝั่งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์
AMD ประกาศแผนการออกซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Epyc รุ่นที่สี่ เริ่มไตรมาส 4/2022 และต่อเนื่องตลอดปี 2023 จากนั้นจะเป็น Epyc รุ่นที่ห้า "Turin" ที่จะตามมาในปี 2024
4th Gen Epyc ประกอบด้วยซีพียูทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ได้แก่
ซีพียู Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ เราเริ่มเห็นผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่เริ่มออกแบบชิป Arm ใช้เอง เช่น AWS Graviton, Alibaba Yitian รวมถึงเรากำลังจะมี NVIDIA Grace วางขายในปีหน้า 2023
อีกบริษัทที่ทำชิป Arm ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้โดดเด่นคือ Ampere Computing บริษัทสัญชาติอเมริกันที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2018 โดย Renee James อดีตผู้บริหารระดับสูงของอินเทล
ล่าสุด Ampere เปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ AmpereOne ที่พัฒนาจากรุ่นเดิมตรงที่ใช้คอร์ดีไซน์เองเป็นครั้งแรก จากที่ก่อนหน้านี้ใช้สถาปัตยกรรม Arm Neoverse N1 รุ่นมาตรฐาน
NVIDIA มีซีพียู Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์ชื่อ Grace ที่จะออกช่วงครึ่งแรกของปี 2023 โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชันย่อยคือ Grace CPU SuperChip ที่มีซีพียู 2 ตัวรวม 144 คอร์ กับ Grace Hopper SuperChip ที่เป็นซีพียู Grace + จีพียู Hopper รุ่นใหม่ สำหรับงานที่ต้องใช้จีพียูประมวลผลด้วย
ตอนนี้ Grace และ Hopper ยังไม่ออกวางขายจริง แต่ NVIDIA ก็จับมือกับพาร์ทเนอร์เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์พลัง Grace มาแล้ว แบรนด์พาร์ทเนอร์ที่ร่วมเปิดตัวคือ Asus, Foxconn Industrial Internet, GIGABYTE, QCT, Supermicro, Wiwynn กำหนดขายจริงปี 2023
แอปเปิลประกาศยุติการพัฒนา macOS Server มีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2022 เป็นต้นไป โดยลูกค้าปัจจุบันยังสามารถดาวน์โหลด และใช้งานแอปนี้ร่วมกับ macOS Monterey ได้ต่อ
macOS Server เป็นส่วนเสริมสำหรับระบบปฏิบัติการ macOS ซึ่งแอปเปิลได้ลดบทบาทความสำคัญลงมาหลายปีแล้ว เนื่องจากไม่ได้รับความนิยมในการใช้งานเครื่อง Mac เป็นเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นประกาศนี้จึงไม่น่าสร้างความประหลาดใจสำหรับคนที่ยังใช้งานอยู่
macOS Server ออกเวอร์ชันสุดท้ายคือ 5.12.2 คุณสมบัติหลายอย่างที่ถูกใช้งานบ่อย ก็ได้ย้ายไปเพิ่มใน macOS ตัวพื้นฐาน ตั้งแต่ macOS High Sierra แล้ว เช่น เซิร์ฟเวอร์ไฟล์, แคช, Time Machine ทำให้ความจำเป็นในการใช้งานน้อยลง
ข้อมูลกำลังกลายเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดในยุคนี้ ยิ่งมีการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้ามาเร่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้การทำงานจากบ้าน ต้องมีการเก็บและส่งข้อมูลกันมากขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ไอโอที และบริการออนไลน์ กับระบบคลาวด์ ก็มีการใช้งานมากขึ้นทุกวัน
Fujitsu ประกาศแผนการหยุดผลิตเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรม และเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC
Fujitsu ให้เหตุผลว่าตลาดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีเปลี่ยนไป โลกหมุนไปทางคลาวด์และไฮบริดมากขึ้น และบริษัทเองก็เริ่มปรับโมเดลธุรกิจมาเป็นการให้เช่าตามปริมาณการใช้งานจริง (as-a-service) จึงได้เวลาหยุดขายและซัพพอร์ตสินค้ารุ่นเก่าๆ