Wired รายงานว่าแชทบอทพลัง AI ทั้งค่าย Google Gemini และ Microsoft Copilot ตอนนี้ปฏิเสธไม่ตอบคำถามทางการเมืองแล้ว แม้เป็นการถามข้อเท็จจริงด้วยคำถามว่า "Who won the 2020 US presidential election?" ก็จะได้รับคำตอบว่าไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้
กรณีของ Gemini ถึงขั้นปฏิเสธการตอบคำถามว่า "ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย" ไปเลย ส่วน Copilot ยังพยายามตอบ (แม้ตอบผิด) แต่ถ้าในคำถามมีคำว่า "election" มาเกี่ยวข้อง เช่น ถามผลการเลือกตั้งของประเทศไทยในปี 2566 ก็จะปฏิเสธไม่ยอมตอบเช่นกัน
DuckDuckGo บริการเสิร์ชที่มีจุดขายเรื่องความเป็นส่วนตัว เปิดตัวบริการใหม่ DuckDuckGo AI Chat แชทบอตปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเลือกใช้งานได้หลายโมเดล ทั้ง GPT 3.5 Turbo ของ OpenAI, Claude 3 Haiku ของ Anthropic, Llama 3 ของ Meta และ Mixtral 8x7B ของ Mistral
จุดขายของ DuckDuckGo AI Chat ยังคงแนวทางเดิมคือบทสนทนาเป็นส่วนตัว, ถูกกำหนดไว้แบบนิรนาม (anonymous), ปลายทางไม่สามารถระบุตัวตนได้, IP ที่ส่งไปเป็นถูกแก้ไขเป็น IP ของ DuckDuckGo, และแชททั้งหมดไม่ถูกนำไปใช้เทรนโมเดล AI ต่อ
DuckDuckGo อ้างรายงานของ Pew ที่สำรวจคนอเมริกาที่คุ้นเคยกับการใช้แชทบอต AI ซึ่ง 81% มองว่าบริษัทเหล่านี้เก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งาน แม้มองว่า AI ช่วยในหลายอย่าง แต่ก็กังวลเรื่องนี้อยู่ดี
Wix แพลตฟอร์มเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บไซต์ เปิดตัวความสามารถด้าน AI สำหรับเครื่องมือสร้างแอปมือถือ Mobile App Builder ซึ่งผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อความกับแชทบอต อธิบายรายละเอียดแอปสมาร์ทโฟนที่ต้องการ ระบบจะสร้างแอปมาให้ รองรับทั้ง iOS และ Android
รูปแบบการทำงานนั้น แชทบอตจะสอบถามในรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ต้องการของแอป หน้าตาการใช้งาน ฟังก์ชัน ดีไซน์ นอกจากนี้ยังสามารถใส่สัญลักษณ์เฉพาะเช่นโลโก้ของแบรนด์เข้าไปได้ด้วย หากต้องการปรับแต่งในรายละเอียดสามารถใช้เครื่องมือ Mobile App Editor แก้ไขเพิ่มเติมได้
ฟีเจอร์แชท AI สำหรับ Mobile App Builder เปิดให้ใช้งานแล้วสำหรับผู้ใช้งาน Wix ที่สมัครแผนพรีเมียม Branded App ราคา 99 ดอลลาร์ต่อเดือน รองรับเฉพาะภาษาอังกฤษ
Anthropic บริษัทปัญญาประดิษฐ์ผู้พัฒนาโมเดล Claude ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับแชทบอตเรียกว่า Tool use ให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อโปรแกรมต่าง ๆ กับ Claude API ได้ หรือนำไปทำแชทบอตแบบคัสตอมนั่นเอง
จุดเด่นของ Claude API คือรองรับอินพุทที่เป็นรูปภาพได้ด้วย จึงสามารถนำไปพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพ ตัวอย่างที่ Anthropic นำเสนอเช่นเป็นแชทบอตแนะนำไอเดียการตกแต่งภายในห้อง โดยถ่ายรูปส่งไปเป็นต้น
ชุด Tool use นี้ สามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ผ่าน Anthropic Messages API, Amazon Bedrock และ Vertex AI บน Google Cloud
ที่มา: Anthropic
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Copilot เวอร์ชันแอปสำหรับใช้งานบน Telegram ซึ่งเป็นแชทบอตถาม-ตอบในหัวข้อต่าง ๆ โดยเปิดให้ใช้งานได้ฟรีทั้งผ่าน Telegram บนเว็บและสมาร์ทโฟน โครงการดังกล่าวไมโครซอฟท์บอกว่ายังอยู่ในสถานะเบต้า
ในการเปิดใช้งาน Copilot บน Telegram ผู้ใช้งานต้องให้เบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนกับ Telegram ด้วย ในตอนนี้สามารถตอบเป็นข้อความได้เท่านั้น ยังไม่สามารถสร้างรูปภาพได้
ลองใช้งาน Copilot บน Telegram ได้ที่นี่
ที่มา: 9to5Mac
Amazon Q แชทบ็อทพลัง AI ที่เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2023 ล่าสุดประกาศสถานะ general availability (GA) เปิดให้ใช้งานทั่วไป
Amazon Q ต่างจากแชทบ็อทพวก ChatGPT, Copilot หรือ Gemini ที่เน้นลูกค้าคอนซูเมอร์ เพราะกลุ่มเป้าหมายของ Amazon Q คือลูกค้าฝั่งองค์กรของ AWS ที่อยากได้แชทบ็อทที่มีความสามารถสนทนาพื้นฐาน เพื่อนำไปรวมกับฐานข้อมูลขององค์กรอีกที
รูปแบบการใช้งาน Amazon Q มีหลากหลาย เช่น การให้ Q อ่านซอร์สโค้ดทั้งหมดขององค์กรแล้วช่วยตอบคำถามโปรแกรมเมอร์ภายในบริษัท (Amazon Q Developer) หรือ การให้ Q อ่านข้อมูลลูกค้าจากระบบ CRM แล้วไปตอบคำถามลูกค้า หรือวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจให้เรา (Amazon Q Business)
OpenAI ประกาศว่าฟังก์ชัน Memory ใน ChatGPT ตอนนี้สามารถใช้งานได้แล้วสำหรับลูกค้าเสียเงิน ChatGPT Plus ทุกคน ยกเว้นในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) และเกาหลี ส่วนลูกค้าแบบ Team, Enterprise และ GPTs จะได้ใช้ Memory ในอนาคตเช่นกัน
Memory เป็นฟังก์ชันที่ OpenAI แบบจำกัดกลุ่มผู้ใช้งานก่อนหน้านี้ เป็นการสร้างข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้งานให้ ChatGPT จดจำไว้เลย ไม่ต้องอธิบายหรือทวนข้อมูลเหล่านี้ซ้ำในการสนทนาทุกครั้ง ซึ่ง ChatGPT จะเรียนรู้ทั้งจากการป้อนข้อมูลให้จดจำตรง ๆ หรือเรียนรู้ในระหว่างการสนทนา
Memory สามารถตรวจสอบและลบความจำบางหัวข้อ หรือตั้งค่าไม่ให้จดจำเลยก็ได้ โดยไปที่ Settings > Personalization > Memory
Baidu เปิดเผยว่าแชทบอต Ernie ตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านบัญชีแล้ว เพิ่มขึ้นสองเท่าจากตัวเลข 100 ล้าน ที่บริษัทรายงานในเดือนธันวาคม ทั้งนี้แชทบอต Ernie เปิดให้คนทั่วไปได้ใช้งานตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา
Robin Li ซีอีโอ Baidu กล่าวว่าการเรียกใช้งาน API ของ Ernie ก็อยู่ที่ระดับ 200 ล้านครั้งต่อวัน ส่วนจำนวนลูกค้าองค์กรที่ใช้งานแชทบอตมีอยู่ประมาณ 85,000 ราย
ปัจจุบันคู่แข่งรายสำคัญที่ให้บริการแชทบอตแนว ChatGPT ในประเทศจีนของ Ernie คือ Kimi ของบริษัท Moonshot AI ที่มี Alibaba เป็นผู้ลงทุน ซึ่งมีอัตราผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ยังน้อยกว่า Ernie
Meta ประกาศอัปเดต Meta AI แชทบอตผู้ช่วยบน Facebook, Instagram, WhatsApp และ Messenger ที่เปิดตัวในงาน Connect เมื่อปีที่แล้ว โดยขยายประเทศที่รองรับเพิ่มเติมนอกจากสหรัฐอเมริกา ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ รวมทั้งเพิ่มความสามารถด้วยโมเดล Meta Llama 3 ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัว
รายชื่อประเทศที่ได้ใช้งาน Meta AI ในภาษาอังกฤษเพิ่มเติมได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา กานา จาไมกา มาลาวี นิวซีแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว ซึ่งจะขยายเพิ่มเติมต่อไปเร็ว ๆ นี้
Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม รายงานรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ iOS 18 ระบบปฏิบัติการของ iPhone ที่คาดว่าจะเปิดตัวในงานสัมมนา WWDC 2024 เดือนมิถุนายน ซึ่งก่อนหน้านี้มีข้อมูลว่าเป็นอัปเดตใหญ่ที่สุด มีจุดขายเกี่ยวกับ Generative AI
Gurman บอกว่า AI ของ iOS 18 จะประมวลผลและทำงานบนอุปกรณ์ (on device) ทั้งหมด ไม่มีการเชื่อมต่อกับคลาวด์ ซึ่งเป็นจุดขายโมเดล LLM ที่แอปเปิลเตรียมนำเสนอ
Meta ยืนยันการทดสอบแชทบอต Meta AI ภายในแอป WhatsApp, Instagram และ Messenger มีผลกับผู้ใช้งานบางประเทศก่อนได้แก่ อินเดีย และบางส่วนในภูมิภาคแอฟริกา
ก่อนหน้านี้ Meta ได้เปิดตัวแชทบอต Meta AI ที่เป็น LLM ปรับแต่งจากโมเดล Llama 2 ของตนเอง เชื่อมต่อกับข้อมูลเรียลไทม์ของ Bing โดยตามแผนนั้นจะนำมาใส่บริการเกือบทุกตัวของบริษัท การเลือกทดสอบที่อินเดียก่อนมีความสำคัญเพราะมีฐานผู้ใช้งาน Facebook และ WhatsApp รวมกันกว่า 500 ล้านคน
ทั้งนี้ Meta ยังยืนยันแผนการออกโมเดล AI LLM รุ่นใหม่ Llama 3 ภายในเดือนหน้าด้วย
กูเกิลเผยแพร่คู่มือ 45 หน้า ว่าด้วยการเขียน Prompt สำหรับการใช้งานแชทบอต Gemini บน Google Workspace ซึ่งสามารถประยุกต์ได้เช่นกัน แม้ไม่ได้ใช่ Gemini เวอร์ชันนี้ โดยคู่มือนี้ชื่อว่า Prompting guide 101 เหมาะสำหรับคนทำงานในฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องการเขียนคำสั่งให้ Gemini ทำงานอย่างที่ต้องการ
กูเกิลอธิบายว่าในการเขียน Prompt ให้พิจารณาถึง 4 องค์ประกอบที่ควรกำหนดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ Persona (บอกว่าเราคือใคร), Task (สิ่งที่ต้องการให้ AI ทำ), Context (รายละเอียดประกอบ) และ Format (รูปแบบ)
กูเกิลเพิ่มบริการด้าน LLM ตัวใหม่ คือ Vertex AI Agent Builder สำหรับการพัฒนาบริการจาก LLM โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเองโดยตรง (ยกเว้นส่วนที่เป็น integration กับภายนอก)
บริการนี้รวมเอาความสามารถหลายตัว ได้แก่
Telegram ประกาศว่าผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนบัญชีปัจจุบันให้เป็นบัญชีธุรกิจ (Business account) ทำให้สามารถใช้งานฟีเจอร์เฉพาะของบัญชีธุรกิจได้ เช่น ตั้งค่าเวลาเปิดบริการ, พิกัดธุรกิจ, ระบบตอบอัตโนมัติ, แชทบอต และอื่น ๆ
การเปลี่ยนเป็นบัญชีธุรกิจนี้รองรับทั้งผู้ใช้งานแบบฟรี และแบบพรีเมียมจ่ายเงินรายเดือน ดูรายละเอียดได้ที่ Settings > Telegram Business
ฟีเจอร์อื่นที่มีในบัญชีธุรกิจได้แก่ ตั้งค่าหน้าแรก, ตั้งข้อความทักทายลูกค้า, ตั้งแต่ค่า Away, ใส่ป้ายกำกับข้อความ, ใส่ลิงก์ไปยังแชท ซึ่งจะมีฟีเจอร์อื่นเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ที่มา: Telegram
OpenAI ประกาศว่า ChatGPT สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องล็อกอินด้วยบัญชี OpenAI มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะทยอยอัปเดตกับผู้ใช้งานทั่วโลก
ทั้งนี้ในการใช้งาน ChatGPT แม้อยู่ในโหมดไม่ล็อกอิน OpenAI อาจใช้ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาไปปรับปรุงโมเดล ซึ่งหากผู้ใช้งานไม่ต้องการ สามารถตั้งค่าปิดการเก็บข้อมูลนี้ได้ใน Settings
ความแตกต่างของการใช้งาน ChatGPT โหมดไม่ล็อกอิน จะไม่สามารถบันทึกหรือดูบทสนทนาย้อนหลังได้ รวมทั้งบางฟีเจอร์เช่น สนทนาเสียง หรือคัสตอมคำสั่ง จะไม่สามารถใช้งานได้
ที่มา: OpenAI
Elon Musk เจ้าของ X และบริษัท xAI ที่พัฒนาแชทบอต Grok ประกาศว่าภายในสัปดาห์นี้ Gork จะเปิดให้ใช้งานได้ สำหรับลูกค้า X Premium ทุกคน จากเดิมที่จำกัดเฉพาะแพ็คเกจแพงที่สุด X Premium+
ในโพสต์ของ Musk เขาได้แชร์โพสต์ของ DogeDesigner เกี่ยวกับวิธีแชร์บทสนทนากับแชทบอต Grok ลงใน X ผ่านช่องทางเว็บไซต์
บริษัทวิจัยตลาด Gartner คาดการณ์ว่าปริมาณการค้นหาข้อมูล ผ่านเสิร์ชเอ็นจินแบบดั้งเดิม จะลดลง 25% จากปัจจุบัน ภายในปี 2026 โดยสิ่งที่มาแทนที่คือการค้นหาผ่านแชทบอต AI หรือผ่านระบบตัวแทนอื่น
Alan Antin รองประธานฝ่ายนักวิเคราะห์ของ Gartner บอกว่า ตัวเลขที่ลดลง 25% นี้มีความสำคัญ เพราะปัจจุบันช่องทางทำการตลาดดิจิทัลหลักทางหนึ่ง คือการทำตลาดผ่านผลการค้นหาทั้งแบบออแกนิก และแบบจ่ายเงิน เมื่อ Generative AI (GenAI) เข้ามาแทนที่การเป็นคำตอบของการค้นหา การตลาดดิจิทัลก็ต้องปรับวิธีคิดให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะเปลี่ยนไป
OpenAI และ Microsoft Threat Intelligence หน่วยงานความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ เปิดเผยผลการศึกษา พบว่ามีหน่วยงานที่มุ่งหวังโจมตีทางไซเบอร์ ได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือ AI เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการโจมตีให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
ทั้งนี้ OpenAI และไมโครซอฟท์บอกว่าการเผยแพร่รายงานนี้ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสของข้อมูล และรายงานความก้าวหน้าของการปรับปรุงบริการ เพื่อไม่ให้เกิดการนำมาใช้งานประเภทนี้ในอนาคต
Amazon เปิดตัว Rufus แชทบอตผู้ช่วยพลัง Generative AI ที่ช่วยให้การเลือกค้นหาสินค้าทำได้ผ่านการสนทนาโต้ตอบอัตโนมัติ
ถ้าอธิบายการทำงาน Rufus ก็อาจสรุปได้ว่าเป็นแชทบอตสไตล์ ChatGPT ที่เชี่ยวชาญรายการสินค้าที่มีทั้งหมดใน Amazon รวมทั้งแนะนำให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ ข้อดีของ Rufus คือช่วยฟิลเตอร์สินค้า เจาะจงรายละเอียดได้มากเท่าที่ลูกค้าต้องการระบุ มากกว่าวิธีกรองสินค้าแบบเดิมนั่นเอง
Rufus เริ่มทดสอบวันนี้ในสถานะเบต้าบนแอป Amazon ในมือถือ เริ่มทดลองกับลูกค้ากลุ่มเล็กก่อน และจะขยายออกไปยังลูกค้าทุกคนในสหรัฐอเมริกาต่อไป
ที่มา: Amazon
OpenAI อีเมลแจ้งนักพัฒนาว่า GPT Store ที่ให้นักพัฒนาเผยแพร่แชทบอตที่สร้างจาก GPTs ชุดเครื่องมือทำแชทบอตคัสตอมแบบ no-code ซึ่งตามแผนเดิมตัวสโตร์จะเปิดให้ใช้งานเดือนธันวาคมแต่เลื่อนออกไป ตอนนี้ได้กำหนดการเปิดตัวใหม่แล้วคือสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ OpenAI ยังบอกนักพัฒนาให้ตรวจสอบข้อกำหนดและแนวทางการใช้งานที่ปรับปรุงใหม่ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า GPT ที่สร้างขึ้นมาจะถูกต้องตามระเบียบการเผยแพร่ในสโตร์
ในตอนเปิดตัว GPT Store นั้น OpenAI บอกว่าผู้สร้างแชทบอตสามารถทำเงินได้ หากมีคนมาใช้งาน GPT ของตน อย่างไรก็ตาม OpenAI ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดวิธีการแบ่งรายได้แต่อย่างใด
กูเกิลอัพเดตความสามารถเพิ่มเติมของ Bard แชตบอท โดยสามารถทำความเข้าใจวิดีโอบน YouTube เพื่อตอบคำถามในรายละเอียดที่ต้องการได้ ตัวอย่าง เมื่อดูวิดีโอการทำขนม ก็สามารถถามรายละเอียดสูตรว่าใช้ไข่กี่ฟองได้ เป็นต้น
Bard รองรับการดึงข้อมูลจาก YouTube ผ่านบริการส่วนขยายมาตั้งแต่เดือนกันยายน ซึ่งตอนนั้นเน้นไปที่การแนะนำวิดีโอจากคำถาม ส่วนอัพเดตนี้เป็นการตอบคำถามจากเนื้อหาในวิดีโอ ที่น่าจะต่อเนื่องจากฟีเจอร์สรุปคลิปที่ YouTube ประกาศไปเมื่อต้นเดือน
ที่มา: TechCrunch
นโยบายของไมโครซอฟท์ยุคนี้คือพยายามใส่ฟีเจอร์ Copilot คุยกับ AI มาในทุกอณูของผลิตภัณฑ์ ตลอดทั้งปีนี้เราเห็นการเพิ่มฟีเจอร์ AI Chat เข้ามาในผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์จำนวนมาก
Windows Terminal เป็นแอพล่าสุดที่ได้ฟีเจอร์นี้ โดยใช้ชื่อฟีเจอร์ว่า Terminal Copilot Terminal Chat
ฟีเจอร์นี้ทำให้เรากดปุ่มลัด (ตั้งเองได้) เพื่อเรียก AI chat ขึ้นมา เบื้องหลังเป็นการคุยกับ AI โมเดล GPT-3.5 Turbo บนเซิร์ฟเวอร์ Azure OpenAI Service เพื่อช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน Terminal เช่น การเขียน shellscript แบบต่างๆ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Copilot Studio เครื่องมือสร้างแชทบ็อท AI แบบ low code ลากแล้ววางชิ้นส่วนประกอบกันเป็นโปรแกรม
Copilot Studio ใช้ฐานของ Power Virtual Agents บริการสร้างแชทบ็อทที่ไมโครซอฟท์มีอยู่แล้วบน Power Platform แล้วไปเชื่อมต่อกับบริการสร้าง AI ของไมโครซอฟท์อีกหลายตัว เช่น Microsoft Azure OpenAI Studio, Azure Cognitive Services, Azure Bot Service ผลออกมาเป็นแชทบ็อท Copilot หรือ GPT แบบคัสตอมตามความต้องการของแต่ละองค์กรได้
มีรายงานว่า Character.AI แพลตฟอร์มแชตบอทที่ให้ผู้ใช้งานสามารถสนทนากับตัวแทนที่เสมือนเป็นคนดัง หรือคาแรกเตอร์การ์ตูนที่กำหนด ซึ่งก่อตั้งโดยสองอดีตพนักงานกูเกิล กำลังอยู่ในขั้นตอนรับเงินลงทุนได้ระดับหลายร้อยล้านดอลลาร์จาก Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล และจะทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 5 พันล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Character.AI มีผู้ลงทุนหลักคือกองทุน Andreessen Horowitz ลงทุน 150 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 1 พันล้านดอลลาร์
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI โพสต์ข้อความใน X โดยเป็นภาพหน้าจอของ GPTs เครื่องมือสำหรับสร้างแชตบอทคัสตอมให้ทำงานเฉพาะหัวข้อ ที่ OpenAI เพิ่งเปิดตัวไป
ในหน้าจอนั้นดูจะเป็นการเปิดศึกเบา ๆ เลยทีเดียว เพราะอินพุทที่ Altman ป้อนเข้าไปบอกว่า ให้สร้างแชตบอทที่ตอบคำถามแบบติดตลกดูน่าอายสไตล์คนมีอายุเจนบูมเมอร์ ที่เห็นแล้วพูดไม่ถูกหัวเราะไม่ออก (Cringey boomer humor)
GPT Builder เลยตอบกลับมาว่าได้สร้างแชตบอทนี้ให้แล้วมีชื่อว่า Grok พร้อมบอกให้เริ่มใช้งานได้เลย