กูเกิลรวมบริการด้าน LLM ที่เคยมีหลายชื่อ เช่น Bard, Duet AI เข้าเป็นชื่อ Gemini พร้อมกับปล่อยแอป Gemini เฉพาะบนแอนดรอยด์ และใส่ฟีเจอร์ Gemini ในแอป Google บน iOS
บริการ LLM บน Google Workspace จะเปลี่ยนชื่อเป็น Gemini for Workspace, บริการ Duet AI ใน Google Cloud จะเปลี่ยนชื่อเป็น Gemini เช่นเดียวกับบริการ Bard ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Gemini เช่นกัน
เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีข่าวว่า กูเกิลจะเลิกใช้ชื่อ Assistant with Bard เปลี่ยนมาใช้ชื่อ Bard แต่ล่าสุดเหมือนคดีพลิกอีกแล้ว เพราะมีหลักฐานใหม่ว่ากูเกิลจะเลิกใช้ชื่อ Bard และเปลี่ยนมาใช้ชื่อ Gemini แทนทั้งหมด
ข้อมูลนี้มาจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @evowizz ที่พบภาพหน้าจอของเว็บ Bard ระบุว่า Bard is now Gemini ส่วน 9to5google ลองแกะไฟล์ APK ของแอพ Google Assistant และพบว่าข้อความ Bard ถูกเปลี่ยนเป็น Gemini แล้วเช่นกัน
ที่มา - 9to5google
กูเกิลปล่อย Gemini Pro ใน Bard ทุกภาษาแล้ว หลังจากเมื่อปีที่แล้วจำกัดเฉพาะภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาอื่นๆ ยังใช้ PaLM-2 มาตลอด การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ Bard สามารถสรุป, ทำความเข้าใจ, และให้เหตุผลได้ดีขึ้น
นอกจากการเปลี่ยนโมเดลด้านหลังแล้ว Bard ยังเพิ่มอีกสองฟีเจอร์ ได้แก่
กูเกิลชูประเด็นที่ Bard ได้คะแนนสูงใน LMSYS ว่ายืนยันผลทดสอบที่กูเกิลจ้างบริษัทภายนอกมาสำรวจก่อนหน้านี้
LMSYS ผู้จัดอันดับแชตบอทโดยอาศัย Chatbot Arena เป็นการ "ต่อสู้" ระหว่างแชตบอทสองตัวให้ตอบคำถามเดียวกันแล้วให้ผู้ใช้เลือกว่าชอบคำตอบฝั่งใด รายงานผลรอบล่าสุดวันที่ 26 มกราคม 2024 และพบว่า Bard รุ่นที่ใช้ Gemini Pro นั้นแซงหน้า GPT-4 ขึ้นมาเป็นรองเพียง GPT-4 Turbo เท่านั้น
กูเกิลเปิดตัว Gemini โดยระบุว่าทดสอบวงปิดกับผู้ทดอบแล้วว่า Bard รุ่นใหม่นี้เป็นแชตบอทฟรีที่คุณภาพสูงสุดในตลาด ผลการทดลองนี้ก็ดูจะสนับสนุนว่า Gemini ให้ผลโดยรวมที่ดีในภาพรวมจริงๆ
Appen บริษัทจากออสเตรเลีย ที่รับเทรนโมเดล AI ให้กับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ทั่วโลก เปิดเผยว่า Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ได้แจ้งยกเลิกสัญญาจ้างงานเทรนโมเดลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผลตั้งแต่ 19 มีนาคม เป็นต้นไป และบอกเพิ่มเติมว่าบริษัทไม่มีสัญญาณมาก่อนว่ากูเกิลจะยกเลิกสัญญานี้
การยกเลิกสัญญานี้มีผลต่อ Appen มาก เนื่องจากข้อตกลงกับ Alphabet นี้ มีมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของรายได้ส่วนธุรกิจนี้ของบริษัท โดย Appen บอกว่าจะมีพนักงานสัญญาจ้างที่ทำงานส่วน Alphabet อย่างน้อย 2,000 คน ที่ได้รับผลกระทบ
ตอนงานเปิดตัว Pixel 8 กูเกิลเปิดตัว Assistant with Bard รวมผู้ช่วย AI สองตัวคือ Google Assistant และ Bard เข้าด้วยกันให้เก่งขึ้นกว่าเดิม
ปัญหาสำคัญในสายตาผู้ใช้คงไม่ใช่เรื่องความเก่ง แต่เป็นชื่อแบรนด์ที่ยาวและชวนสับสน (ตกลงจะ Assistant หรือ Bard) ซึ่งกูเกิลเองดูเหมือนรับทราบปัญหานี้ และมีคนไปลองแกะไฟล์ APK ของแอพ Google บน Android เวอร์ชันใหม่ล่าสุด พบว่าชื่อแบรนด์เปลี่ยนไปแล้ว กลายเป็น... Bard อย่างเดียว
หลัง Google เปิดตัว Gemini 1.0 โดยมี 3 เวอร์ชันคือ Nano ที่ใช้ใน Pixel แล้ว, Pro ที่ใช้ใน Bard และ Ultra ที่กำลังจะใช้บน Bard Advanced และจะเปิดตัวในปีนี้
ล่าสุดมีนักพัฒนาค้นพบว่า Bard Advanced จะเป็นแบบเสียเงิน (แบบเดียวกับ GPT Plus) โดยจะผูกอยู่กับบริการ Google One ซึ่งช่วงแรกจะเป็นการให้ทดลองใช้ฟรี 3 เดือน
กูเกิลประกาศเปลี่ยนเอนจินด้านหลัง Bard ไปใช้ Gemini Pro ที่เปิดตัวมาวันนี้ ทำให้ความสามารถน่าจะดีขึ้นมากจากเดิมที่ใช้ PaLM-2
Gemini Pro ที่ใช้ใน Bard จะเป็นรุ่นปรับปรุงมาเป็นพิเศษ เป็นความสามารถที่คนใช้งานในแชตบ่อยๆ เช่น การทำความเข้าใจข้อความ, สรุปบทความ, การให้เหตุผล, เขียนโปรแกรม, และการวางแผนต่างๆ โดยหลังจากปรับจูนโมเดลมาแล้วกูเกิลได้ขอให้ผู้ทดสอบภายนอกมาเทียบกับบริการแชตอื่นๆ ก็พบว่า Bard รุ่นใหม่นี้เป็นบริการฟรีที่ดีที่สุด
ปีหน้ากูเกิลจะเปิดบริการ Bard Advanced ที่ใช้ Gemini Ultra โดยยังอยู่ระหว่างการทดสอบความปลอดภัย และเมื่อเปิดใช้งานก็จะเปิดวงเล็กให้ทดสอบก่อนจะเปิดใช้งานจริง โดยตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่า Bard Advanced จะเก็บค่าบริการแบบเดียวกับ ChatGPT Plus หรือไม่
เว็บไซต์ Quartz ตั้งข้อสังเกตว่าอีโมจิ ✨ (sparkles) กลายเป็นโลโก้อย่างไม่เป็นทางการของวงการ Generative AI ไปเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายรายมักใช้อีโมจินี้เป็นสัญลักษณ์ของฟีเจอร์ AI ที่เพิ่มเข้ามาในปีนี้ เช่น Google ที่ใช้กับ Bard/Google Workspace, Zoom AI Companion, Spotify Smart Shuffle หรือแม้แต่ OpenAI ที่ใช้สัญลักษณ์นี้กับ ChatGPT Plus แบบเสียเงิน เป็นต้น
เหตุผลที่อีโมจิ ✨ ถูกนำมาใช้กับ AI น่าจะเป็นเพราะสะท้อนความหมาย "มหัศจรรย์" (magical) ทำงานได้ราวกับมีเวทย์มนตร์ หากให้เทียบกับกรณีในอดีตน่าจะคล้ายการใช้ตัว i เล็กเพื่อบ่งบอกฟีเจอร์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (เช่น iPod) และยังสืบทอดมาจนถึงยุค iPhone/iPad ในทุกวันนี้
กูเกิลอัพเดตความสามารถเพิ่มเติมของ Bard แชตบอท โดยสามารถทำความเข้าใจวิดีโอบน YouTube เพื่อตอบคำถามในรายละเอียดที่ต้องการได้ ตัวอย่าง เมื่อดูวิดีโอการทำขนม ก็สามารถถามรายละเอียดสูตรว่าใช้ไข่กี่ฟองได้ เป็นต้น
Bard รองรับการดึงข้อมูลจาก YouTube ผ่านบริการส่วนขยายมาตั้งแต่เดือนกันยายน ซึ่งตอนนั้นเน้นไปที่การแนะนำวิดีโอจากคำถาม ส่วนอัพเดตนี้เป็นการตอบคำถามจากเนื้อหาในวิดีโอ ที่น่าจะต่อเนื่องจากฟีเจอร์สรุปคลิปที่ YouTube ประกาศไปเมื่อต้นเดือน
ที่มา: TechCrunch
กูเกิลประกาศว่าฟีเจอร์ทดสอบเสิร์ชแบบถามตอบ ที่ใช้แชตบอท AI Bard ตอบคำถามที่กำลังค้นหาในชื่อ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งก่อนหน้านี้ทดสอบจำกัดเฉพาะในอเมริกาและบางประเทศ ล่าสุดฟีเจอร์นี้ขยายมายังผู้ใช้เพิ่มอีก 120 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย
สำหรับประเทศไทย คุณสมบัติ Search Labs นี้จะใช้งานได้กับผู้ใช้จำกัดจำนวน รองรับเฉพาะการค้นหาเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น หากมีสิทธิเข้าร่วมทดสอบจะเห็นไอคอน Labs (ขวดรูปชมพู่) ที่มุมบนขวาของหน้าแรกใน Chrome
YouTube ประกาศเพิ่ม 2 ฟีเจอร์ใหม่ ซึ่งอยู่ในสถานะทดลองการนำ Generative AI มาปรับปรุงประสบการณ์ใช้งาน โดยจะทดสอบกับผู้ใช้งานกลุ่มเล็กก่อน และเฉพาะลูกค้า Premium เท่านั้น
ฟีเจอร์แรกคือการจัดกลุ่มคอมเมนต์ในวิดีโอแบบแยกตามเรื่องที่พูดถึง ทำให้ครีเอเตอร์เห็นภาพรวมคอมเมนต์ส่วนที่ผู้ชมสนใจได้ดีขึ้น รวมถึงสามารถจัดการและลบคอมเมนต์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
อีกฟีเจอร์คือเครื่องมือ AI บทสนทนา (Conversational AI) ที่เป็นแชตบอททำงานกับวิดีโอที่เรากำลังดู โดยสามารถถามเพื่อหาคำตอบเพิ่มเติม เช่น ให้สรุปเนื้อหาของวิดีโอนี้, ให้แนะนำวิดีโอที่เกี่ยวข้อง หรือวิดีโอเฉพาะเนื้อหาส่วนที่สนใจ เป็นต้นไป
กูเกิลเปิดตัว Assistant with Bard เป็นการรวมผู้ช่วย AI สองตัวคือ Google Assistant และ Bard เข้าด้วยกัน เพื่อให้เก่งขึ้นกว่าเดิม
อินเทอร์เฟซของมันยังเป็นการสนทนาผ่าน Google Assistant แต่ได้รับพลังด้าน generative AI และตรรกะเหตุผลเพิ่มมาจาก Bard รองรับการป้อนข้อมูลด้วยเสียงพูด ข้อความ และภาพ เราสามารถยกกล้องขึ้นถ่ายภาพเพื่อเป็นอินพุตแล้วสั่งให้ AI ทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาพนั้นได้
Assistant with Bard ยังเข้าถึงบริการบางตัวของกูเกิล เช่น Gmail และ Docs ทำให้เราสามารถสั่งให้สรุปอีเมลทั้งหมดของสัปดาห์นั้น คัดเลือกอีเมลที่สำคัญมาสรุปให้อ่านได้ด้วย
ตอนนี้ Assistant with Bard ยังแค่นำมาโชว์เท่านั้น บอกว่าจะเปิดทดสอบทั่วไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
มีคนค้นพบฟีเจอร์ใหม่ของ Bard ที่ยังไม่เปิดตัว ชื่อว่า Memory เป็นการกำหนดค่าให้ Bard จดจำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา เพื่อที่จะไม่ต้องสั่งงานซ้ำอีกในภายหลัง
ตัวอย่างที่กูเกิลนำมาโชว์ได้แก่ ไม่กินเนื้อสัตว์, มีลูก 2 คน, ชอบคำตอบสั้นๆ มากกว่าคำตอบยาวๆ ฯลฯ การที่ Bard รู้ข้อมูลเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้การถามตอบกับ Bard ไม่ต้องป้อนข้อมูลทุกครั้งไป ผู้ใช้สามารถตั้งค่า Memory และลบออกได้ตามต้องการ
Bard ไม่ใช่ระบบแช็ทบ็อตตัวแรกที่มีฟีเจอร์ลักษณะนี้ เพราะ ChatGPT เองมีฟีเจอร์ชื่อ custom instructions มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023
กูเกิลประกาศชื่อบ็อต crawler ไล่ดูดหน้าเว็บตัวใหม่ชื่อ Google-Extended มีหน้าที่ดูดข้อมูลไปใช้สำหรับงาน AI โดยเฉพาะ เช่น Bard และ Vertex AI เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถกำหนดค่าได้ง่ายว่าอนุญาตให้บ็อตดูดหน้าเว็บหรือไม่ ผ่านไฟล์ robots.txt ที่ใช้งานกันอยู่แล้ว
เนื่องจากบ็อต Google-Extended เป็นบ็อตตามมาตรฐานของกูเกิล เจ้าของเว็บสามารถเขียนกฎแบบเดียวกับบ็อตอื่นๆ ที่ใช้งานอยู่แล้วในไฟล์ robots.txt ได้ เช่น
User-agent: Google-Extended
Disallow: /
ที่มา - Google
Gagan Ghotra ที่ปรึกษาด้าน SEO ทวีตรูปบน X บอกว่าพบความผิดพลาด URL ที่เชื่อมโยงไปหน้าสนทนาของผู้ใช้งาน Bard ปรากฏในหน้าค้นหา Google เป็นข้อความคำถามจากผู้ใช้ที่ถาม Bard เช่น อะไรคือสิ่งที่ควรจำไว้เมื่อเห็นตัวนากในสิงคโปร์, วิธีใช้ Bard เพื่อปรับปรุงงานเขียน และเมื่อคลิกลิงก์เข้าไปจะสามารถดูบันทึกประวัติการสนทนาของผู้ใช้งานที่ถาม Bard
Peter Liu นักวิจัยที่ Google DeepMind ตอบกลับทวีตดังกล่าวว่า บทสนาที่ปรากฏในหน้าการค้นหาเป็นเพียงบทสนทนาที่ตั้งใจแชร์เท่านั้น บทสนทนาของผู้ใช้ไม่ได้เป็นสาธารณะตามค่าเริ่มต้น
กูเกิลอัพเดตบริการ Bard โดยฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับส่วนขยาย ที่ทำให้ Bard สามารถดึงข้อมูลจากบริการอื่นๆ ได้แก่ Maps, YouYube, Hotels, และ Flights มาได้ ทำให้เราสามารถถามตอบคำถามเกี่ยวข้องกับบริการของกูเกิลได้แม่นยำขึ้น
แต่ส่วนขยายสำคัญคือการดึงข้อมูลจาก Workspace รวม Gmail, Docs, และ Drive ทำให้เราสามารถสั่ง Bard ให้สรุปหรือตอบคำถามจากเอกสารในบริการเหล่านี้ได้ โดยกูเกิลสัญญาว่าจะไม่ใช้ข้อมูลในเอกสารเหล่านี้ฝึก Bard
CNBC รายงานว่า Emad Mostaque ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท Stability AI ได้ให้สัมภาษณ์กับนักวิเคราะห์จาก UBS ว่าปัญญาประดิษฐ์อาจเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาล แต่ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
Stability AI เป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลัง Stable Diffusion AI สร้างภาพจากการป้อนข้อความ มีผู้ใช้งานมากกว่าหนึ่งล้านคนและได้รับเงินลงทุนเกิน 100 ล้านเหรียญดอลลาร์ จากนักลงทุนรวมถึง Coatue และ Lightspeed Venture Partners ถือว่าเป็น AI ที่ได้รับความนิยมพอๆ กับ OpenAI ผู้ให้บริการ ChatGPT
กูเกิลอัพเดต Bard ให้รองรับภาษาไทยและภาษาอื่นๆ รวมกว่า 40 ภาษาทั่วโลกตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ในงาน Google I/O ทำให้ตอนนี้ Bard รองรับภาษาหลักๆ แทบทั้งโลก ใกล้เคียงกับ ChatGPT
อัพเดตครั้งนี้ยังเพิ่มฟีเจอร์อีกหลายฟีเจอร์คือ
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวภายในพนักงาน Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล 4 คน ยืนยันว่าบริษัทได้ให้คำแนะนำกับพนักงาน ระมัดระวังการใช้งานแชตบอท AI ทุกชนิด ซึ่งรวมทั้ง Bard แชตบอทของบริษัทด้วย ไม่ให้ป้อนข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทลงไป ซึ่งถือเป็นนโยบายพื้นฐานอยู่แล้วในการดูแลควบคุมข้อมูลภายใน
นอกจากข้อมูลที่เป็นความลับบริษัท Alphabet ยังเตือนวิศวกรให้เลี่ยงการนำโค้ดที่ถูกเขียนโดยแชตบอทไปใช้งาน ซึ่งเป็นหนึ่งในความสามารถของแชตบอท AI ที่ได้รับความนิยม
Google Lens สามารถใช้ค้นหาสภาพผิวหนังที่คล้ายกันจากภาพได้แล้ว เพียงถ่ายภาพผิวหนังที่มีผื่นแปลก ๆ ไฝ ผมที่ร่วง ตุ่มบนริมฝีปาก หรือรอยนูนบนร่างกาย โดย Lens จะจับคู่รูปภาพสภาพผิวหนังที่คล้ายกัน รวมถึงยังระบุศัพท์ทางการแพทย์และสาเหตุการเกิด เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลต่อไปได้
อีกส่วนหนึ่งคือฟีเจอร์นำภาพจาก Google Lens ไปถามต่อใน Bard ที่เปิดตัวในงาน Google I/O ที่ผ่านมาจะเริ่มใช้ได้ในสัปดาห์หน้า
กูเกิลประกาศเพิ่มความสามารถใหม่ให้แชตบอท Bard โดยรอบนี้เป็นการปรับปรุงความสามารถด้านคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยความสามารถแรก Bard สามารถตรวจสอบ prompt ที่ต้องอาศัยการคำนวณได้ การทำงานจะรันโค้ดเพื่อหาคำตอบโดยเฉพาะ ทำให้ตอบคำถามอย่างเช่น แยกตัวประกอบของตัวเลข, คำนวณอัตราดอกเบี้ย หรือสะกดคำกลับหลังได้ ทั้งนี้กูเกิลบอกว่า Bard อาจทำงานไม่ถูกต้องเสมอ ซึ่งยังต้องอาศัยฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานเพื่อปรับปรุง
อีกความสามารถที่เพิ่มมา เมื่อ Bard สร้างคำตอบมาในรูปแบบตาราง ผู้ใช้งานสามารถส่งออกตารางนี้ไปยัง Google Sheets ได้เลย
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ชุดใหม่ของแชตบอต Bard โดยหลังจากนี้ผู้ใช้ไม่ต้องขอใช้งานล่วงหน้าแล้ว แต่สามารถสมัครใช้งานได้ทันที โดยส่วนสำคัญคือการรองรับภาษาเพิ่มเติม เริ่มจากภาษาญี่ปุ่นและภาษาเกาหลี นอกจากนี้ยังมีอีกกว่า 40 ภาษารวมถึงภาษาไทยจะเปิดให้บริการเพิ่มเติมเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์ใหญ่ในการอัพเดตครั้งนี้คือการรองรับปลั๊กอิน ทำให้สามารถทำงานร่วมกับบริการอื่นๆ ได้ เช่น สร้างภาพจาก Adobe Firefly หรือค้นหาข้อมูลจาก Google Search และแสดงภาพและข้อความในแชตโดยตรง, ใส่ภาพในแชตและใช้ Google Lens เพื่ออธิบายภาพให้ Bard
ปัญญาประดิษฐ์ด้านภาษาอย่าง ChatGPT กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง และกูเกิลก็เปิดตัว Bard มาได้ระยะหนึ่งแล้ว แม้จะเป็นบริการทดสอบวงปิด (ต้องขอใช้งานล่วงหน้า) แต่ตอนนี้คิวการใช้งานก็ใช้งานได้แทบทันที ทำให้หลายคนอาจจะใช้ปัญญาประดิษฐ์สองตัวคู่กันเสมอๆ
การใช้งานมีหลายด้าน แต่ด้านหนึ่งที่หลายคนอาจจะใช้งานกัน คือการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเขียนโปรแกรม โดยการใช้แชตบอตเช่น Bard และ ChatGPT นั้นมีข้อดีเหนือกว่า การใช้ปัญญาประดิษฐ์เขียนโค้ดโดยตรง เพราะเรามักสามารถกำหนดความต้องการ รอผลลัพธ์ และสามารถสั่งแก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าจะได้โปรแกรมที่เราต้องการ เราสามารถขอสคริปต์หรือโครงร่างโปรแกรมอย่างง่าย ที่เราต้องการใช้ไลบรารีหรือเฟรมเวิร์คใหม่ๆ โดยผลที่ได้ตรงตามต้องการทันที
กูเกิลอัพเดตฟีเจอร์ของ Google Bard ด้านการเขียนโปรแกรมได้ดีขึ้น โดยรองรับภาษามากกว่า 20 ภาษา และเมื่อได้โค้ดแล้วสามารถส่งโค้ดไปรันบน Google Colab ได้ทันที
Google Bard สามารถเขียนโค้ดได้ตั้งแต่แรก แต่หน้าจอ UI นั้นก็ไม่ได้อำนวยความสะดวกในการนำโค้ดออกไปใช้งาน มีเพียงกรอบแสดงว่าส่วนไหนเป็นโค้ดเท่านั้น ขณะที่ ChatGPT มีปุ่ม Copy เพื่อให้นำโค้ดไปใช้งานได้สะดวก รอบนี้กูเกิลเพิ่มทั้งปุ่ม Copy และ Export to Colab พร้อมกัน นอกจากการสร้างโค้ดแล้ว Bard ยังสามารถช่วยแก้บั๊กในโค้ดได้บางส่วน หรือบางครั้งก็ช่วยออปติไมซ์ความเร็วขึ้นด้วย