บริษัทวิจัย Gartner รายงานข้อมูลการใช้จ่ายไอทีขององค์กรปี 2023 โดยเป็นข้อมูลเพิ่มเติมส่วนของประเทศไทย ต่อจากรายงานข้อมูลภาพรวมทั่วโลกก่อนหน้านี้
Gartner ประเมินว่ายอดรวมการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรในประเทศไทยปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 4.2% จากปีก่อนเป็น 9.35 แสนล้านบาท ซึ่งการเติบโตสูงระดับเลขสองหลักจะมาจากกลุ่มซอฟต์แวร์และกลุ่มบริการด้านไอที เนื่องจากองค์กรมีการเพิ่มค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับโครงการดิจิทัลที่มากขึ้น ส่วนแนวโน้มกลุ่มอื่นคล้ายกับภาพรวมทั่วโลก นั่นคือกลุ่มอุปกรณ์ไอทีมีการใช้จ่ายลดลง เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่เพิ่งถูกเร่งอัพเกรดไปในช่วงโควิด 19 จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องอัพเกรดตอนนี้
บริษัทวิจัย Gartner คาดการณ์การใช้จ่ายด้านไอทีของภาคองค์กรในปี 2023 จะเติบโต 2.4% ที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตน้อยลงจากตัวเลข 5.1% ที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แม้มีแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ
John-David Lovelock นักวิเคราะห์ของ Gartner ให้ความเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ CIO องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ตามงบประมาณด้านไอทียังไม่เห็นผลกระทบชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาการลงทุนทางไอทีพิสูจน์ว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นได้
สามบริษัทวิจัยตลาด IDC, Canalys และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 โดยทั้งสามบริษัทให้ตัวเลขทิศทางเหมือนกัน นั่นคือยอดขายพีซีในไตรมาสยังคงลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2021 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4
โดยยอดขายภาพรวม IDC ประเมินที่ 67.2 ล้านเครื่อง ลดลง 28.1%, Canalys 65.4 ล้านเครื่อง ลดลง 29%, Gartner 65.3 ล้านเครื่อง ลดลง 28.5%
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner มองว่าลูกค้าส่วนใหญ่ได้ซื้อพีซีใหม่ไปแล้วตั้งแต่ช่วงโควิด 19 ระบาด รวมกับปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ตลอดจนเงินเฟ้อ จึงกระทบทำให้ความต้องการพีซีเครื่องใหม่ลดลง
Gartner ออกรายงานพยากรณ์การใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ของปี 2023 คาดเติบโต 20.7% มีมูลค่ารวม 5.92 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ตัวเลขปี 2022 ประเมินว่าอยู่ที่ 4.90 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่มากขึ้น
Sid Nag รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ความเห็นว่าปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ส่งผลทั้งบวกและลบต่อการใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ แต่ด้วยจุดเด่นที่รองรับการเปลี่ยนแปลงและสเกลที่รวดเร็ว จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้ใช้งาน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางไอทีรวมได้
บริษัทวิจัยตลาด Gartner พยากรณ์ว่าจะมีการลงทุนใน AI สำหรับตอบโต้บทสนทนา (Conversational AI) เพื่อใช้ในงาน Call Center รวมราว 2 พันล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปี 2022 ผลจากการลงทุนนี้จะช่วยลดต้นทุนแรงงานคนได้ถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2026
Daniel O’Connell รองประธานฝ่ายวิเคราะห์ของ Gartner ให้ข้อมูลว่าองค์กรส่วนใหญ่ ประสบปัญหาท้าทายของการขาดแคลนแรงงานในฝ่าย Call Center และต้นทุนส่วนใหญ่ของธุรกิจนี้ก็คือค่าแรง การนำ AI มาช่วยจึงลดต้นทุนส่วนนี้ได้ และ AI ประเภทดังกล่าวก็มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาก ในแง่ประสบการณ์ของฝั่งลูกค้า
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานภาพรวมตลาดพีซีประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 จำนวนส่งมอบอยู่ราว 72 ล้านเครื่อง ลดลง 12.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ซึ่งเป็นอัตราลดลงที่มากกว่าเมื่อไตรมาส 1/2022 รวมทั้งการลดลงเกิดขึ้นในทุกภูมิภาค ทั้งจากปัจจัย ภูมิรัฐศาสตร์, เศรษฐกิจ และซัพพลายเชน
Mikako Kitagawa ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ความเห็นว่า ปัญหาเงินเฟ้อและการสู้รบในยูเครน ส่งผลมากต่อความต้องการ Chromebook ขณะเดียวกันผู้ผลิตพีซีก็พบปัญหาการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการ แต่เริ่มดีขึ้นหลังจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการในช่วงปลายไตรมาสที่ 2
บริษัทวิจัยตลาด Gartner พยากรณ์ยอดขายพีซีประจำปี 2022 คาดว่าจะลดลง 9.5% จากปี 2021 ส่วนอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ ก็หดตัวเช่นกัน โดยแท็บเล็ตลดลง 9% และโทรศัพท์มือถือลดลง 7.1%
หากแยกตลาดพีซี ฝั่งคอนซูเมอร์จะลดลงเยอะที่สุดคือ 13.1% ส่วนฝั่งธุรกิจจะลดลง 7.2% ส่วนแยกตามภูมิภาค ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา (EMEA) ลดลงเยอะที่สุด 14%
เหตุผลของการที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง มาจากหลายปัจจัย ทั้งสภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย
ที่มา - Gartner
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 1 ปี 2022 จำนวนส่งมอบ 77.5 ล้านเครื่อง ลดลง 7.3% เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2021
ปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดส่งมอบลดลงคือ Chromebook ซึ่งมีการเติบโตสูงของยอดขายในปี 2020 และ 2021 จากภาคการศึกษา จึงเป็นความท้าทายของภาพรวมตลาดพีซีที่จะรักษาการเติบโตในปีนี้
หากไม่รวมตัวเลขของ Chromebook ภาพรวมตลาดพีซีจะเติบโต 3.3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เริ่มชะลอตัว เนื่องจากตลาดส่วนบุคคลเริ่มเปลี่ยนหรือหยุดการซื้อ ขณะที่ภาคธุรกิจยังมีการซื้อพีซีเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริด
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามแบรนด์ 3 ลำดับแรกยังเหมือนเดิมคือ Lenovo HP และ Dell ตามด้วย Apple และ Acer ในลำดับที่ 4-5
บริษัทวิจัย Gartner ออกรายงานประเมินการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรทั่วโลก โดยภาพรวมของปี 2022 จะเพิ่มขึ้น 4% จะจากปีก่อนเป็น 4.43 ล้านล้านดอลลาร์ และมองแนวโน้มปี 2023 เพิ่มเป็น 4.67 ล้านล้านดอลลาร์
John-David Lovelock รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ข้อมูลว่า การประเมินงบประมาณใช้จ่ายไอทีขององค์กรในปีนี้ค่อนข้างผันผวน เพราะมีตัวแปรที่คาดการณ์ยากไม่ว่าจะเป็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ซัพพลายเชน
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานหัวข้อ Cloud Shift ระบุว่าการใช้จ่ายของหน่วยงานไอทีองค์กร จะเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี Public Cloud มากขึ้น จนแซงเทคโนโลยีแบบเดิม (Traditional) ในปี 2025
รายงานพิจารณาการใช้จ่าย 4 หมวดเทคโนโลยี ที่สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการคลาวด์ได้ ได้แก่ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน, ซอฟต์แวร์ Infrastructure, Business Process และ ระบบ Infrastructure พบว่าในปี 2025 องค์กรมีแผนใช้จ่ายบนคลาวด์ 51% ของค่าใช้จ่ายรวม เทียบกับตัวเลข 41% ในปี 2022 หมวดที่มีการย้ายไปอยู่บนคลาวด์สูงสุดคือ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน (65.9% ปี 2025)
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner ให้ข้อมูลกับ The Register ว่าราคาเฉลี่ยของพีซีจะแพงขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากปัญหาเงินเฟ้อ ชิปขาดตลาด
ตอนนี้ผู้ผลิตพีซีเริ่มเจอปัญหาชิ้นส่วนขาดแคลน โดยเฉพาะแผงวงจรสำหรับแสดงผล แผงวงจรจัดการพลังงาน และชิ้นส่วน USB-C ทำให้ต้องเลือกว่าจะนำไปใส่พีซีรุ่นไหน ทางออกคือใส่พีซีราคาแพงที่มีอัตรากำไรดีกว่า ผลคือพีซีราคาถูกมีจำนวนสินค้าน้อยลง หาของยากขึ้น
หากผู้ผลิตพีซีไม่อยากขึ้นราคาสินค้า ก็ยังมีทางเลือกอื่นคือตัดฟีเจอร์บางอย่างลง (เช่น แรมหรือสตอเรจขนาดลดลง) หรือใช้ชิ้นส่วนที่มีราคาถูกลง
ตัวเลขของ IDC ประเมินว่าราคาเฉลี่ยของโน้ตบุ๊กในปี 2021 อยู่ที่ 820 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาของปี 2020 คือ 790 ดอลลาร์
Gartner ออกรายงานสำรวจตลาดคลาวด์แบบ IaaS ทั่วโลกประจำปี 2020 (วัดตามรายได้เป็นจำนวนเงิน) พบว่า AWS ยังเป็นเจ้าตลาดแบบทิ้งห่าง ด้วยส่วนแบ่ง 40.8% แต่ส่วนแบ่งตลาดก็ลดลงจากปี 2019 ที่ครองตลาด 44.6% แถมอัตราการเติบโตของ AWS อยู่ที่ 28.7% ต่อปี ซึ่งโตช้ากว่าตลาดโดยรวมโต 40.7% จากปี 2019
Microsoft Azure ตามมาเป็นอันดับสองที่ 19.7% เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ทำไว้ 17.4% ส่วนอันดับสามคือคลาวด์จีน Alibaba ส่วนแบ่งตลาด 9.5%, อันดับสี่ Google Cloud 6.1%, อันดับห้า Huawei Cloud ที่ 4.2%
การที่ส่วนแบ่งตลาดคลาวด์จีนมาแรง เป็นผลจากการเติบโตในประเทศจีนเป็นหลัก รายได้ของ Huawei Cloud ก็มาจากจีนถึง 90% ส่วน Alibaba มีปัจจัยเติบโตมาจากตลาดการศึกษา และซอฟต์แวร์ DingTalk ที่ใช้เยอะในจีนด้วย
Gartner รายงานยอดขายสมาร์ทโฟนตลอดทั้งปี 2020 เติบโตติดลบ -12.5% จากวิกฤติโควิด โดยมี Huawei ติดลบมากสุด -24.1% ผลจากการถูกสหรัฐแบนไม่ให้ใช้ GMS มีส่วนแบ่งตลาดตกมาอยู่อันดับ 3 ส่วนแบ่ง 13.5%
อันดับ 1 ยังคงเป็นซัมซุงแม้จะเติบโตลดลง -14.6% ส่วนแบ่ง 18.8% ตามมาด้วยแอปเปิลส่วนแบ่ง 14.8% เติบโต 3.3% เช่นเดียวกับ Xiaomi ในอันดับ 4 ที่เติบโต 2 หลักอยู่เจ้าเดียวที่ 15.7% ส่วนแบ่ง 10.8%
อันดับ 5 เป็น Oppo ส่วนแบ่ง 8.3% เติบโตลดลง -5.8%
ที่มา - Gartner
Gartner ออกรายงานส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนไตรมาส 4 ปี 2020 เติบโตลดลงจากปีที่แล้ว -5.4
% ที่น่าสนใจคือแอปเปิลกลับมาครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ด้วยส่วนแบ่ง 20.8% เติบโต 14.9%
ส่วนซัมซุงเติบโตลดลง -11.8% ลงไปอยู่อันดับ 2 ที่ส่วนแบ่ง 16.2% ตามมาด้วย Xiaomi ส่วนแบ่ง 11.3% เติบโต 33.9% และ Huawei ในอันดับ 4 เติบโตลดลง -41.1% ส่วนแบ่ง 10.8% สาเหตุก็น่าจะหนีไม่พ้นการถูกสหรัฐแบนที่เริ่มส่งผลจริงจัง ส่วน Oppo อันดับ 5 ส่วนแบ่ง 8.3% เติบโต -5.8%
ที่มา - Gartner
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 โดยยอดขายทั้งหมดลดลง 5.4% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2019 ที่ 384.6 ล้านเครื่อง
Anshul Gupta นักวิเคราะห์ของ Gartner ให้ความเห็นว่าสมาร์ทโฟน 5G ระดับล่างถึงกลาง มียอดขายเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ใช้บางส่วนต้องการเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ซึ่งช่วยชดเชยตัวเลขยอดขายรวมให้ลดน้อยลง ส่วนในปี 2021 สมาร์ทโฟน 5G กลุ่มราคาไม่สูงที่มีออกมามากรุ่นขึ้น จะเป็นตัวผลักดันตลาดรวมที่สำคัญ
3 บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC, Gartner และ Canalys รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 และตัวเลขรวมตลอดปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดพีซีมีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี
เริ่มที่ข้อมูลจาก IDC เฉพาะไตรมาส 4/2020 จำนวนส่งมอบ 91.6 ล้านเครื่อง เติบโต 26.1% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และตลอดปี 2020 ส่งมอบรวม 302.6 ล้านเครื่อง เติบโต 13.1% โดย Ryan Reith ฝ่ายวิจัยของ IDC บอกว่าแม้การเติบโตในตลาดพีซีจะทำให้คนสนใจประเด็นการทำงานและเรียนที่บ้าน แต่ตลาดเกมมิ่งพีซี, หน้าจอ และ Chromebook ก็ต่างเติบโตสูงเช่นกัน
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาส 3 ปี 2020 โดยต่างให้ข้อมูลว่าตลาดพีซีมีการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี เช่นเดียวกับ Canalys ที่ออกมารายงานก่อนหน้านี้
ตัวเลขของ IDC ระบุว่าตลาดเติบโต 14.6% เทียบกับไตรมาส 3 ปี 2019 จำนวนส่งมอบ 81.3 ล้านเครื่อง ขณะที่ Gartner ให้ตัวเลขเติบโต 3.6% จำนวนส่งมอบ 71.4 ล้านเครื่อง (ที่ตัวเลขต่างกันมากเพราะนิยามพีซีที่แตกต่างกัน)
Gartner ออกรายงานสรุปสถานการณ์แข่งขันในตลาดคลาวด์ (Magic Quadrant for Cloud Infrastructure and Platform Services) ประจำปี 2020
ผลลัพธ์ออกมาไม่มีอะไรน่าประหลาดใจ เพราะยังเหมือนปีก่อนๆ ที่ผู้ให้บริการ Top 3 ของโลก (AWS, Microsoft, Google) ยังอยู่ในกลุ่ม "ผู้นำ" (leaders) โดย AWS ยังนำคู่แข่งรายอื่นๆ แบบค่อนข้างทิ้งห่าง ส่วนผู้เล่นรายที่เหลือ 4 ราย (Alibaba Cloud, Oracle, IBM, Tencent Cloud) อยู่ในกลุ่ม "เฉพาะทาง" (niche players)
Gartner เผยรายงานการส่งมอบสมาร์ทโฟนในไตรมาส 2 ปี 2020 อยู่ที่ 295 ล้านเครื่อง ลดลงจากปีที่แล้วถึง 20.4% สาเหตุก็หนีไม่พ้นโควิด-19 โดยซัมซุงกระทบหนักที่สุด ยอดส่งมอบลดลงจากปีที่แล้วถึง -27.1% อยู่ที่ 5.4 ล้านเครื่องจาก 7.5 ล้านเครื่อง
แม้ส่วนแบ่งตลาดซัมซุงในไตรมาสนี้ยังเป็นเบอร์ที่ 1 อยู่ที่ 18.6% แต่ Huawei ก็ไล่บี้มาติด ๆ ที่ 18.4% โดยยอดส่งมอบของ Huawei ลดลงจากปีที่แล้วเพียง -6.8% โดยได้ตลาดในจีนที่เริ่มฟื้นตัวจากโรคระบาดช่วยเอาไว้ไม่ให้ดิ่งหนัก อันดับ 3 ยังคงเป็นแอปเปิลที่ส่วนแบ่ง 13% เติบโตลดลง -0.4% ส่วนหนึ่งจากตลาดจีนและ iPhone SE
อันดับ 4 เป็น Xiaomi ส่วนแบ่ง 8.9% เติบโตลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างเยอะ -21.5% ส่วนอันดับ 5 เป็น Oppo ส่วนแบ่ง 8% เติบโตลดลง -15.9%
บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC และ Gartner รายงานตัวเลขส่งมอบพีซีของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ภาพรวมมีการเติบโตสูงขึ้น สะท้อนความต้องการสินค้าในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น และสถานการณ์ซัพพลายเชนที่ดีขึ้น
ตัวเลขของ Gartner ระบุว่าพีซีที่ส่งมอบในไตรมาสมี 64.8 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 2.8% ส่วน IDC ระบุว่ามี 72.3 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 11.2% ทั้งนี้สาเหตุที่ตัวเลขของสองค่ายนี้ต่างกันมาก เนื่องจากการนับและไม่นับอุปกรณ์บางอย่างเป็นกลุ่มพีซี เช่น Surface หรือ Chromebook เป็นต้น
Gartner ออกรายงานคาดการณ์การใช้ซอฟต์แวร์จัดการระบบคอนเทนเนอร์ ชี้ว่าการใช้งานคอนเทนเนอร์ในองค์กรจะสูงขึ้นมาก และอัตราการใช้จ่ายค่าซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนเนอร์ก็จะมากขึ้นด้วย โดยคาดว่าปี 2020 ตลาดซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนเนอร์จะมีมูลค่า 465.8 ล้านดอลลาร์ และขึ้นไปถึง 944 ล้านดอลลาร์ในปี 2024
ขณะที่องค์กรระดับโลกที่รันแอปพลิเคชั่นเป็นคอนเทนเนอร์บนระบบโปรดักชั่นปีนี้อยู่ที่ต่ำกว่า 30% แต่ภายในปี 2022 น่าจะขึ้นไปถึง 75% โดยตอนนี้แม้จะมีองค์กรจำนวนมากแสดงความสนใจ แต่การใช้งานบนโปรดักชั่นจริงก็ยังน้อยอยู่ แต่หากนับเฉพาะซอฟต์แวร์ระดับองค์กร ตอนนี้มีการใช้รันบนคอนเทนเนอร์น้อยกว่า 5% และปี 2024 ก็ยังน่าจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 15% เท่านั้น จากข้อจำกัดด้านเทคนิคและงบประมาณขององค์กรที่จำกัด
Xiaomi ขึ้นแท่นเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่มีส่วนแบ่งทางตลาดเป็นอันดับหนึ่งในไทยด้วยสัดส่วน 16.2% และมียอดขายมือถือถึง 691,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจาก 629,000 เครื่องในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ตามการสำรวจของบริษัทวิจัยตลาด Gartner อันดับถัดมาเป็น Oppo ที่ 12.6%, Vivo ที่ 12.5%, Samsung 9.9% และ Apple อยู่อันดับท้ายสุด ที่ 7.2% ส่วน Huawei ไม่ติดอันดับท็อป 5
ภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนในไทยมียอดขายลดลงถึง 12.1% เหลือ 4.3 ล้านเครื่อง เทียบกับ 4.8 ล้านเครื่องในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว จากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย Xiaomi เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนเจ้าเดียวที่มีการเติบโตในไตรมาสแรกของปีนี้
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานยอดขายสมาร์ทโฟนโดยรวมของไตรมาสแรก ปี 2020 ว่าลดลงถึง 20.2% จากผลกระทบของ COVID-19 โดย Samsung ยังเป็นเบอร์หนึ่งเช่นเคย มีส่วนแบ่งตลาด 18.1% แต่ Huawei มีส่วนแบ่งตลาดเป็น 14.2% แซงขึ้นมาแทน Apple ที่อยู่อันดับสองในไตรมาสที่แล้ว ส่วน Apple มีส่วนแบ่งตลาด 13.7% ลดลงจาก 17.1% ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วและ 11.9 ในไตรมาสแรกของปีก่อน อันดับถัดมาเป็น Xiaomi มีส่วนแบ่งตลาด 9.3% OPPO 8.0% และอื่นๆ 36.3%
Gartner ออกรายงานยอดขายสมาร์ทโฟนประจำไตรมาส 4 ปี 2019 เติบโตลดลง 0.4% โดยซัมซุงยังคงเป็นเบอร์ 1 ที่ส่วนแบ่งตลาด 17.3% ตามมาติด ๆ ด้วยแอปเปิลที่ 17.1%, Huawei 14.3%, Xiaomi 8% และ Oppo 7.5%
ที่น่าสนใจคือยอดขายแอปเปิลกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังลดลงมา 4 ไตรมาสติด โดยยอดขายเพิ่มขึ้น 7.8% และหากนับเฉพาะในจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของ iPhone ก็เติบโตมากถึง 39% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ปัจจัยสำคัญมาจากการปรับราคา iPhone ลงมา โดยเฉพาะ iPhone 11