การเปิดตัว GeForce RTX ที่มาพร้อมเทคนิค ray tracing อาจยังไม่แสดงศักยภาพของมันออกมามากนัก เพราะเกมส่วนใหญ่ยังไม่รองรับ และคงต้องรออีกสักพักใหญ่ๆ กว่าเทคนิคนี้จะแพร่หลายในอุตสาหกรรม
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเร่งการใช้งานในวงกว้างคือการรองรับที่ตัวเอนจินเกม ซึ่งเอนจินยอดนิยมอย่าง Unreal Engine ก็ประกาศรองรับแล้ว
ฟีเจอร์นี้ถูกเพิ่มเข้ามาใน Unreal Engine เวอร์ชัน 4.22 (ปัจจุบันยังมีสถานะเป็น Early Access) โดยนักพัฒนาสามารถเข้าถึงกราฟิก ray tracing แบบ low level ที่ลึกไปกว่าระดับของ DirectX 12
ปัญหาของ NVIDIA กับจีพียู GeForce RTX ในช่วงนี้คือ ยังไม่มีเกมที่รองรับเทคนิค ray tracing มากนัก และต้องให้เวลานักพัฒนาอีกสักระยะหนึ่งในการปรับแต่งเกมของตัวเอง
แต่เกมเก่าที่ออกในปี 1997 อย่าง Quake II กลับรองรับ ray tracing เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นผลงานจากแฟนๆ ผ่านม็อดชื่อ Q2VKPT (Quake 2 with Vulkan path-tracing)
Christoph Schied ผู้สร้างม็อดตัวนี้ระบุว่า Q2VKPT เป็นโครงการเชิงวิจัยด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่เขาทำในยามว่าง ถือเป็นต้นแบบที่ยืนยันแนวคิด (proof-of-concept) ว่าทำได้จริง หลักการคือเปลี่ยนเอนจินกราฟิกจากเดิมที่เป็น OpenGL ให้เป็น Vulkan เพื่อเข้าถึงฟีเจอร์ด้าน ray tracing ของฮาร์ดแวร์ในยุคปัจจุบัน
UL บริษัทแม่ของซอฟต์แวร์เบนช์มาร์คอย่าง PCMark และ 3DMark ประกาศออกชุดทดสอบด้าน Ray Tracing โดยเฉพาะ ในชื่อว่า Port Royal (เป็นชุดทดสอบหนึ่งของ 3DMark เช่นเดียวกับพวก Ice Storm, Cloud Gate, Time Spy)
การมาถึงของ Port Royal สะท้อนให้เห็นทิศทางของโลกกราฟิกที่หมุนมาทาง Ray Tracing หลัง GeForce RTX เปิดตัว อย่างไรก็ตาม Port Royal เขียนขึ้นโดยเรียกใช้ชุดคำสั่ง Ray Tracing API ของ DirectX จึงไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ค่ายใด และทางบริษัทเองก็ระบุว่ารับฟังข้อมูลของทั้ง NVIDIA, AMD, Intel ระหว่างการพัฒนาด้วย
หนึ่งในเกมใหญ่เกมแรกๆ ที่รองรับ ray tracing ของ GeForce RTX ซีรีส์ 20 อย่างเป็นทางการคือ Battlefield V ซึ่งวางขายเรียบร้อยแล้ว
เว็บไซต์ Eurogamer จึงทดสอบเรื่อง ray tracing ของ Battlefield V ว่าเป็นอย่างไร ในเกมมีโหมดให้ตั้งค่า DXR ได้ 4 ระดับคือ low, medium, high, ultra โดยคำแนะนำของ DICE ผู้พัฒนาเกมในตอนนี้คือใช้ low เพื่อไม่ให้กระทบต่อประสิทธิภาพของเกม ซึ่ง Eurogamer พบว่าอยู่ในระดับที่พอรับได้ ยังเห็นประโยชน์ของการทำ ray tracing ให้กราฟิกสมจริงขึ้นอยู่
ช่วงนี้สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับพายุเฮอริเคน Florence ที่สร้างผลกระทบต่อเมืองในชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
สถานีโทรทัศน์ The Weather Channel จึงสร้างความฮือฮา โดยนำเสนอกราฟิกระดับน้ำเสมือนจริง ให้ผู้ชมได้เห็นภาพว่าถ้าระดับน้ำสูงถึงขนาดนี้ จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของตัวเองแค่ไหน
เบื้องหลังของกราฟิกตัวนี้เป็นเทคนิค greenscreen ตามระบบทีวีปกติทั่วไป แต่เปลี่ยนกระบวนการเรนเดอร์มาเป็นเรนเดอร์แบบเรียลไทม์ไปพร้อมกับภาพของพิธีกร ต่างจากสมัยก่อนที่เป็นการเรนเดอร์ล่วงหน้าแล้วเอาภาพของพิธีกรมาวางทับที่ฉากหน้า
เกม Spider-Man PS4 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Marvel's Spider-Man) กำลังจะวางขายในวันที่ 7 กันยายน และเป็นเกมเอกคลูซีฟของ PS4 ที่ถูกจับตาอย่างมาก นับตั้งแต่เปิดตัวที่งาน E3 ปี 2016
อย่างไรก็ตาม มีแฟนๆ ตาดีไปสังเกตเห็นว่า เดโมที่โชว์ในงาน E3 2018 มีกราฟิกสวยงาม ในขณะที่ฟุตเตจล่าสุดของเกมเวอร์ชันจริงที่จะวางขาย กลับลดทอนรายละเอียดของกราฟิกลงไป โดยเฉพาะฉากน้ำขังบนอาคารที่ปริมาณแอ่งน้ำหายไปจากเดิมมาก
NVIDIA และ EA เผยแพร่วิดีโอขณะเล่นเกม Battlefield V ที่เปิดโหมด ray tracing บน GeForce RTX 2080 Ti
ตอนนี้ Battlefield V ยังมีสถานะเป็นรุ่นอัลฟ่า วิดีโอนี้เป็นการเล่นเกมจริงๆ โดยทีมงานเว็บไซต์ PC Gamer และบันทึกคลิปด้วยฟีเจอร์ ShadowPlay ของจีพียู จึงแตกต่างจากวิดีโอที่ NVIDIA โชว์ในงานเปิดตัว GeForce RTX ที่เป็นคลิปเตรียมไว้ล่วงหน้า
PC Gamer ระบุว่าคลิปนี้มีความละเอียด 1080p และมีเฟรมเรตประมาณ 50-60 FPS โดย NVIDIA ไม่อนุญาตให้แสดงตัวเลขประสิทธิภาพขึ้นบนจอ ระหว่างการเล่นมีเฟรมเรตตกบ้าง แต่ก็อาจเกิดจากว่าเป็นเกมรุ่นอัลฟ่าที่ยังไม่ได้ปรับแต่งประสิทธิภาพมากนัก
รอคอยกันมานานกับ Turing สถาปัตยกรรมจีพียูรุ่นใหม่จากค่าย NVIDIA ที่ต่อจากยุคของ Pascal (GeForce 10)
ซีอีโอ Jensen Huang ใช้เวทีงานสัมมนาด้านกราฟิก SIGGRAPH 2018 เปิดตัว Turing สถาปัตยกรรมจีพียูรุ่นที่แปด โดยสินค้าชุดแรกเป็นการ์ดจอสำหรับมืออาชีพตระกูล Quadro ได้แก่ Quadro RTX 8000, 6000, 5000 (สังเกตว่าเปลี่ยนมาใช้ตัวห้อยท้ายเป็น RTX ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้
กลุ่ม Khronos Group ประกาศออกสเปกกราฟิก Vulkan เวอร์ชัน 1.1 ถือเป็นการอัพเกรดครั้งแรกนับจาก Vulkan 1.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการนำส่วนขยาย (extensions) หลายตัวของ Vulkan 1.0 ที่เสถียรแล้ว ผนวกเข้ามาเป็นฟีเจอร์ของ Vulkan 1.1 ในระดับ Core
Vulkan มาตรฐาน API กราฟิกของ Khronos Group ที่ออกแบบมาใช้แทน OpenGL กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมา Vulkan ยังไม่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการฝั่งแอปเปิล แม้จะใช้ได้บนระบบปฏิบัติการหลักๆ อย่าง Windows/Android ได้ตั้งแต่ต้นแล้วก็ตาม ด้วยเหตุผลว่าแอปเปิลยังสงวนท่าทีในเรื่องนี้ เพราะมี Metal ของตัวเองอยู่แล้ว
การใส่ฟิลเตอร์แบบ Instagram กลายเป็นแฟชั่นที่ลามไปยังแอพด้านโซเชียลและภาพถ่ายเกือบทุกตัว ล่าสุดมันระบาดมายังวงการเกมแล้ว
NVIDIA ประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้กับซอฟต์แวร์ GeForce Experience มีชื่อว่า NVIDIA Freestyle มันคือการใส่ฟิลเตอร์ให้กับเกมขณะที่เล่น โดยมีฟิลเตอร์ 15 แบบ เช่น สีขาวดำ, ซีเปีย, ย้อนยุค ฯลฯ เพื่อสร้างอารมณ์แปลกใหม่ให้กับเกมเดิมๆ และนอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีฟิลเตอร์ Night Mode ที่ช่วยลดแสงสีฟ้าเพื่อถนอมสายตา และฟิลเตอร์ Colorblind สำหรับคนที่ตาบอดสี
ตอนนี้มีเกมที่รองรับ Freestyle มากกว่า 100 เกมแล้ว รายชื่อดูได้จาก NVIDIA
Siggraph Asia งานประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิก interactive ที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีงานวิจัยและนิทรรศการจากบริษัทและบุคลากรในสายงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและอินเตอร์แอคทีฟ เช่น แอนิเมชัน เกม สื่อ interactive งานวิจัย วิทยาศาสตร์ ศิลปะและการศึกษา Siggraph จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 แล้ว โดยปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศไทย ณ ไบเทค บางนา วันที่ 27 - 30 พฤศจิกายน ภายใต้ชื่องานว่า "The Celebration of Life and Technology"
Pixelmator ผู้พัฒนาโปรแกรมแต่งภาพชื่อดังบน Mac ได้เปิดตัว Pixelmator Pro ไปสองเดือนที่แล้วโดยยังไม่ประกาศราคาและวันเปิดขาย แต่ล่าสุดทางผู้พัฒนา Pixelmator ได้เปิดกำหนดการวางขายและราคาขายของโปรแกรมใหม่เรียบร้อยแล้ว
ในด้านวันเปิดตัวนั้น Pixelmator Pro จะเปิดตัว 29 พฤศจิกายน ส่วนราคาขายของ Pixelmator Pro นั้น ทางทีมงานตั้งใจว่าจะขายที่ราคา 99 ดอลลาร์ แต่ในช่วงเปิดตัวนั้น Pixelmator Pro 1.0 Whirlwind จะขายที่ราคา 59 ดอลลาร์ เพื่อต้องการให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่าย ๆ ซึ่งทางผู้พัฒนายังไม่ประกาศว่าราคาเปิดตัวนี้จะใช้ไปจนถึงเมื่อไร
ที่งาน Adobe MAX 2017 มีการเปิดตัวแคมเปญที่ร่วมมือกับ Coca-Cola ในชื่อ Coke x Adobe x You ชวนดีไซเนอร์ออกแบบกราฟิกที่สื่อถึงงานกีฬาโตเกียวโอลิมปิก 2020 โดยต้องใช้องค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นโลโก้, ริบบิ้นและสีของแบรนด์โค้กเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบงาน
วิธีเข้าร่วมแคมเปญนี้คือ เข้าไปยังเว็บไซต์ cokexadobexyou.com เพื่อดาวน์โหลดโจทย์ในการออกแบบอย่างละเอียดและชุดองค์ประกอบจากโค้ก จากนั้นใช้เครื่องมือของ Adobe Creative Cloud สร้างสรรค์ผลงานตามโจทย์ เสร็จแล้วโพสต์ลง Behance, Twitter หรือ Instagram ของตัวเอง พร้อมกับติดแท็ก #cokexadobexyou งานที่ออกแบบก็จะขึ้นไปแสดงบนแกลอรีเว็บต่อไป
Pixelmator ซอฟต์แวร์กราฟิกชื่อดังบน macOS เปิดตัว Pixelmator Pro ที่ปรับปรุงครั้งใหญ่ทั้งในแง่ฟีเจอร์และ UI
UI ของ Pixelmator Pro ปรับมาเป็นหน้าจอเดียว (single window) ออกแบบขึ้นด้วยแนวคิด hidden interface ซ่อนทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อเน้นแสดงผลภาพให้มากที่สุด บวกกับซัพพอร์ตฟีเจอร์ของ Mac ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจอ (split-screen), การซิงก์กับ iCloud, เอนจินกราฟิกรองรับ Metal 2 รวมถึงการรองรับ Touch Bar บนคีย์บอร์ด MacBook Pro
ปกติแล้วการทำใบหน้าขณะพูดของตัวละครในเกมหรือภาพยนตร์ CG ให้ดูเหมือนมนุษย์ จะต้องใช้ต้นแบบเป็นวิดีโอของนักแสดงที่เป็นคนจริงๆ มาผ่านซอฟต์แวร์แปลงใบหน้า แล้วค่อยให้ฝ่ายศิลป์ตรวจสอบและแก้ไขอีกครั้ง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดสิ้นเปลืองเวลามาก
งานวิจัยล่าสุดของ NVIDIA ที่โชว์ในงาน SIGGRAPH นำเทคนิค deep learning มาช่วยแก้ปัญหา ให้แปลงวิดีโอคนจริงมาเป็นโมเดล 3D ได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น โดยใช้ข้อมูลเพื่อเทรนเป็นวิดีโอยาวแค่ 5 นาทีเท่านั้น
เท่านั้นยังไม่พอ ทีมวิจัยของ NVIDIA ยังสามารถสร้างโมเดลใบหน้า 3D โดยไม่ต้องใช้ภาพวิดีโอ แต่ใช้แค่เสียงพูดเท่านั้น วิธีการคือนำกราฟคลื่นเสียงมาโยงกับจุดขยับต่างๆ ของโมเดลใบหน้า เพื่อให้ใบหน้าขยับตามเสียงได้
เหตุผลหนึ่งที่ไฟล์ภาพแบบ GIF ยังได้รับความนิยมอยู่เสมอ เป็นเพราะคุณสมบัติด้านภาพเคลื่อนไหวที่เล่นได้บนทุกเบราว์เซอร์ และยังไม่มีไฟล์ภาพฟอร์แมตอื่นที่แพร่หลายเท่า
ฟอร์แมต APNG หรือ Animated PNG เป็นส่วนขยายของ PNG ที่พัฒนากันมานานเพื่อใช้ทดแทน GIF โดยมีข้อดีเหนือกว่าเรื่องจำนวนสีที่รองรับ มันถูกผลักดันมาจากสายของ Firefox ตั้งแต่ปี 2008 แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากเบราว์เซอร์รายอื่นมากนัก สายของแอปเปิลก็เพิ่งรองรับ APNG เมื่อเร็วๆ นี้ใน iOS 10 เช่นกัน
ล่าสุดเบราว์เซอร์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงอย่าง Chrome เตรียมรองรับ APNG แล้ว มีผลใน Chrome 59 (ตอนนี้ยังมีสถานะเป็น Dev Channel)
จุดอ่อนสำคัญของระบบปฏิบัติการ Windows คือการรองรับจอภาพความละเอียดสูง (High DPI) ที่แอพพลิเคชันรุ่นเก่าหลายๆ ตัวไม่สามารถขยายขนาดตามความละเอียดจอภาพ (scaling) ได้ดีนัก โดยเฉพาะการต่อสองจอที่ความละเอียดไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดปัญหาตัวหนังสือเบลอ หรือแสดงผลหน้าต่างใหญ่-เล็กเกินไป
ในโอกาสที่ Windows 10 Creators Update กำลังจะเปิดให้ดาวน์โหลด ไมโครซอฟท์ก็ออกมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงเรื่อง High DPI Scaling ว่าปรับปรุงไปอีกเยอะพอสมควร และช่วยให้การแสดงผลแอพพลิเคชันดีขึ้นกว่าเดิม แก้ปัญหาเดิมๆ ไปเกือบหมด แม้จะยังมีปัญหาบางจุดหลงเหลืออยู่ก็ตาม
กลุ่ม Khronos Group ออกมาตรฐานการแสดงผลกราฟิกด้วยจีพียูบนเว็บ WebGL เวอร์ชัน 2.0 แล้ว
ของใหม่ที่สำคัญของ WebGL 2.0 คือพัฒนาบนฟีเจอร์ของ OpenGL ES 3.0 (WebGL เวอร์ชัน 1.0 ใช้ OpenGL ES 2.0 ที่เก่ากว่า) ส่งผลให้การแสดงผลกราฟิกบนเว็บทันสมัย ทัดเทียมกับการแสดงผลกราฟิกบนอุปกรณ์พกพาที่ใช้ OpenGL ES 3.0 กันเป็นมาตรฐาน
ฟีเจอร์ของ WebGL 2.0 จะไม่เท่ากับ OpenGL ES 3.0 ซะทีเดียว มีบางฟีเจอร์ถูกตัดออกไปเพื่อป้องกันปัญหาประสิทธิภาพ แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่า WebGL 2.0 ได้ฟีเจอร์ด้านการแสดงผลกราฟิกเกือบทั้งหมดของ OpenGL ES 3.0 มาด้วย
มาถึงวันนี้เราคงคุ้นเคยกับปุ่มไลค์แบบใหม่ของ Facebook (หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Reaction) ซึ่งมีแอนิเมชันน่ารักแสดงเวลาเอาเมาส์ชี้และกดคลิก ล่าสุด Facebook เปิดซอร์สโค้ดของไลบรารีที่ใช้สร้างแอนิเมชันชุดนี้มาแล้ว ในชื่อว่า Keyframes
Keyframes เป็นไลบรารีที่ใช้แปลงไฟล์แอนิเมชันที่สร้างด้วย Adobe After Effects เพื่อเล่นบนเว็บและแอพ มันถูกสร้างมาเพื่อเรนเดอร์ปุ่ม Reaction ที่ปุ่มจะโตขึ้นเวลาเอาเมาส์ชี้ ภาพที่แสดงจึงต้องย่อ-ขยายได้แบบภาพไม่แตก, แอนิเมชันต้องเล่นที่เฟรมเรต 60 fps และดูลืนไหล, แต่ต้องมีไฟล์ขนาดเล็ก โหลดได้รวดเร็ว
HBM (High Bandwidth Memory) อธิบายให้ง่ายคือการฝังเม็ดเมมโมรีไว้บนคอร์ GPU ถูกใช้ครั้งแรกกับการ์ด AMD Radeon R9 Nano และ HBM2 ตอนนี้มีใช้อยู่บนการ์ด NVIDIA Tesla P100
SK Hynix และ Samsung เผยข้อมูลของ HBM3 ออกมา ว่าความหนาแน่นของจำนวน die จะเพิ่มจาก 8 เป็น 16Gb ทำให้เราอาจเห็นกราฟิกการ์ดในอนาคตมีแรมบนการ์ดมากถึง 64GB ได้ สร้างแบนด์วิดท์ได้ 512GB/s ต่อเมมโมรีหนึ่งเลเยอร์ และใช้แรงดันไฟต่ำกว่าเดิม และมีราคาถูกกว่า กำหนดผลิตสำเร็จช่วงปี 2019-2020 ครับ
ที่มา - Ars Technica
มีความเคลื่อนไหวของกราฟิกการ์ดสำหรับคนทำงานอีกข่าว เมื่อ AMD เปิดตัว Radeon Pro SSG (Solid State Graphic) ที่เรียกตัวเองว่าเป็นโซลูชั่นด้านกราฟิกที่ตอบสนองการประมวลผลข้อมูลทีละมากๆ ทั้งการเรนเดอร์ภาพความละเอียดสูง, งานตัดต่อวิดีโอ 8K แบบเรียลไทม์ และการสร้างคอนเทนต์แบบ VR หรือการจำลองภาพทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่นการแตกตัวของก๊าซและน้ำมัน ซึ่งใช้แรมบนการ์ดหนักมากในการบัฟเฟอร์ภาพเฟรมต่อเฟรม
การ์ด Radeon Pro SSG จึงมากับสล็อต M.2 แบบ PCI-Express 3.0 ไว้รองรับ SSD ชิ้นละ 1TB ทำงานกับจีพียูตระกูล Polaris 10 (ตระกูลเดียวกับที่อยู่บน Radeon RX 480 ตอนนี้) ซึ่งจากการสาธิตจริงทำให้การเรนเดอร์วิดีโอ 8K จาก 17 เฟรมต่อวินาทีดีขึ้นเป็น 30 เฟรม และเคลมว่าจะดีสุดได้ถึง 90 เฟรมต่อวินาที ไม่ต้องรอชุดคำสั่งจากซีพียูให้วิ่งหาข้อมูลจากแรมและฮาร์ดดิสก์บนระบบหลัก ตัวการ์ดแยกเป็น 3 รุ่น คือ Radeon Pro WX 4100, 5100 และ 7100 ตามขนาดและความสามารถ รองรับตั้งแต่เคสเล็กจนถึงแบบยาว
การ์ดนี้จะวางจำหน่ายแบบชุดนักพัฒนา ในราคา 9,999 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 350,000 บาท) และคาดการณ์จะจำหน่ายจริงในปี 2017
NVIDIA ออกซอฟต์แวร์ "ถ่ายภาพ" ภายในเกมชื่อ Ansel โดยเริ่มใช้กับเกม Mirror’s Edge Catalyst ของค่าย EA Dice แล้ว
NVIDIA Ansel เป็นระบบถ่ายภาพในเกมที่เปิดให้ผู้เล่นหมุนมุมกล้องได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดเฉพาะมุมกล้องที่เกมนำเสนอให้ นอกจากนี้มันยังมีฟีเจอร์ post process ใส่ฟิลเตอร์ให้ภาพดูมีเรื่องราวมากขึ้น รวมถึงฟีเจอร์ขั้นสูงอย่างการถ่ายภาพความละเอียดสูงถึง 4.5 gigapixel (32 เท่าของภาพหน้าจอปกติ ใช้วิธีเรนเดอร์ด้วยจีพียู) และถ่ายภาพ VR 360 องศาได้ด้วย
ฟอร์แมตภาพถ่ายจาก Ansel ยังอยู่ในรูป OpenEXR ที่พัฒนาโดยบริษัท Industrial Light & Magic (ILM) สามารถนำภาพมาปรับแต่ง exposure ทีหลังได้ด้วย
ตอนนี้สายนักออกแบบให้ความสนใจกับอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Spector ครับ สิ่งนี้เป็นเครื่องสแกนตัวอักษรบนสิ่งพิมพ์ และช่วยหาว่าตัวอักษรนั้นใช้ฟอนต์ (หรือไทป์เฟซ) ชื่ออะไร สีรหัสใด ทว่าสิ่งนี้ยังเป็นแค่รุ่นทดลอง (แต่ใช้งานได้) ในโปรเจกต์จบของ Fiona O’Leary จาก Royal College of Art
วิธีการใช้คือวางเจ้า Spector ลูกกลมๆ คล้าย Pokeball นี้บนสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ ก็จะดูดสีและค่าฟอนต์เก็บไว้ได้สูงสุด 20 แบบ ถ้าเชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ ก็จะมีปลั๊กอินส่งค่าเหล่านี้เข้าไปใช้ใน Adobe InDesign ได้ทันที
คนใช้จีพียูค่าย AMD Radeon ที่ใช้ลินุกซ์ คงทราบดีว่า AMD กำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบไดรเวอร์ 'radeon/fglrx' มาสู่ระบบไดรเวอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า 'amdgpu' โดย Ubuntu 16.04 ก็ย้ายมาใช้ไดรเวอร์ตัวใหม่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ไดรเวอร์ 'amdgpu' มีไดรเวอร์แบบโอเพนซอร์สเท่านั้น ยังขาดไดรเวอร์แบบปิดซอร์สที่มีฟีเจอร์ต่างๆ มากขึ้น (เทียบเท่ากับ fglrx) อยู่ หลังซุ่มพัฒนามานาน ในที่สุด AMD ก็ออกไดรเวอร์ตัวนี้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า AMD GPU-PRO