รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประกาศแผนการสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ EV จำนวน 500,000 จุดทั่วประเทศ พร้อมกำหนดสเปกกลางของที่ชาร์จ EV ให้รถยนต์ทุกยี่ห้อใช้ร่วมกันได้
ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐผ่านกฎหมายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Law) มาตั้งแต่ปี 2021 โดยมีงบประมาณลงทุนสร้างสถานีชาร์จ 7.5 พันล้านดอลลาร์ เงินจำนวนนี้จะใช้อุดหนุนการสร้างสถานีชาร์จของเอกชน ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องเป็นสถานีที่ปฏิบัติตามสเปกกลางของรัฐบาล และใช้วัสดุในการก่อสร้างอย่างน้อย 55% จากในสหรัฐอเมริกาเอง
กลุ่มมาตรฐาน Wireless Power Consortium (WPC) ประกาศมาตรฐานการชาร์จไฟไร้สายรุ่นใหม่ Qi2 (อ่านว่า chee-two) โดยจะเปิดตัวภายในปีนี้
การออกแบบเทคโนโลยีไร้สาย Qi2 รอบนี้ WPC บอกว่าแอปเปิลมีบทบาทสำคัญต่อการร่วมกำหนดพื้นฐานซึ่งอิงจากเทคโนโลยี MagSafe โดยร่วมกับสมาชิกองค์กรอื่น เพื่อออกแบบวิธีการชาร์จไร้สาย โดยอาศัยเทคโนโลยีแม่เหล็กมาช่วยให้อุปกรณ์วางอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดกับแท่นชาร์จ ได้ประสิทธิภาพดี และชาร์จไฟเร็วขึ้น
WPC บอกว่ากระบวนการชาร์จโดยอาศัยแม่เหล็กนี้ ยังเปิดตลาดใหม่ เพราะแท่นชาร์จไร้สายอาจไม่จำเป็นต้องเป็นแผ่นราบขนานกับพื้นอีกแล้วก็ได้
หน่วยงานดูแลมาตรฐานของอินเดีย Bureau of Indian Standards (BIS) กำหนดมาตรฐานพอร์ตชาร์จของโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊กเป็น USB-C มีกำหนดบังคับใช้เดือนมีนาคม 2025
BIS เคยหารือเรื่องนี้มาก่อนแล้วในเดือนพฤศจิกายน รอบนี้คือได้กำหนดเวลาที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับกำหนดเวลาของ EU ที่บังคับใช้ USB-C สิ้นปี 2024 (โน้ตบุ๊กให้ถึงปี 2026)
ที่มา - Business Standard
รัฐสภาสหภาพยุโรป และคณะมนตรียุโรป ออกกฎหมายสำหรับการบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในสิ้นปี 2024 เรียบร้อยแล้ว หลังจากอนุมัติแนวทางไปก่อนหน้านี้
โดยกฎหมายดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2024 หรืออีกกว่า 2 ปีข้างหน้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขายในกลุ่มประเทศสหภาพทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์แกดเจ็ตอื่น ๆ จะต้องใช้พอร์ต USB-C สำหรับการชาร์จไฟ ทั้งนี้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีชาร์จแบบไร้สายเพียงวิธีเดียว สินค้ากลุ่มนี้ไม่ต้องมี USB-C ก็ได้
คณะมนตรียุโรป (European Council) ซึ่งประกอบด้วยผู้นำชาติสมาชิกของสหภาพยุโรปได้ผ่านแนวทางกฎหมาย (directive) ให้บังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในสิ้นปี 2024 หลังจากก่อนหน้านี้รัฐสภายุโรปได้ผ่านแนวทางกฎหมายนี้ไป
แนวทางกฎหมายบังคับใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องเปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C ภายในสิ้นปี 2024 ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ตและอุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) กล้องดิจิทัลและคอนโซลวิดีโอเกม หูฟังและลำโพงเคลื่อนย้ายได้ เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สาย อุปกรณ์นำทางแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนแล็ปท็อปจะบังคับใช้ในปี 2026
อินเทลโชว์ต้นแบบของอินเทอร์เฟซ Thunderbolt เวอร์ชันใหม่ (ยังไม่ระบุเลขว่าเป็น Thunderbolt 5 หรือเป็น Thunderbolt 4.x แต่ใช้คำว่า Next-Generation Thunderbolt แทน) โดยจะอยู่บนอินเทอร์เฟซตามสเปกของ USB 4.0 v2 ที่ออกมาตรฐานเมื่อเดือนกันยายน 2022
หลายคนอาจมีภาพจำว่า Thunderbolt ในอดีตวางตัวเป็นคู่แข่งกับ USB โดยตรง แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทิศทางของ Thunderbolt เริ่มหลอมรวมจนเกือบเหมือนกับ USB แล้ว โดยเฉพาะ Thunderbolt 4 ที่เป็นซูเปอร์เซ็ตของ USB 4.0
Video Electronics Standards Association (VESA) ออกสเปกของ DisplayPort เวอร์ชัน 2.1 ที่เป็นการอัพเกรดจาก DisplayPort 2.0 ที่ออกในปี 2019 แต่ผ่านมา 3 ปีแล้วยังแทบไม่มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใดนำไปใช้งาน
DisplayPort 2.1 มีอัตราการส่งข้อมูลเท่ากับเวอร์ชัน 2.0 (สูงสุดทำได้ที่ 80 Gbps) แต่ปรับปรุงเรื่องการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เฟซของพอร์ต USB4 ที่เริ่มทำมาใน DisplayPort Alt Mode 2.0 ในปี 2020 ให้ดีขึ้น (สาย USB Type-C ที่เป็น USB4 จะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้ง USB4 และ DisplayPort), รองรับการทำ bandwidth management ผ่าน USB4
รัฐสภาสหภาพยุโรปผ่านแนวทางกฎหมาย (directive) บังคับใช้ USB Type-C ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดเล็กและขนาดกลาง ต้องมีพอร์ต USB Type-C สำหรับชาร์จไฟ ภายในสิ้นปี 2024 ส่วนอุปกรณ์ขนาดใหญ่เช่นโน้ตบุ๊กจะมีเวลาให้ถึงปี 2026
แนวทางกฎหมายของสหภาพยุโรปนี้ครอบคลุมอุปกรณ์เป็นวงกว้าง เช่น โทรศัพท์, แท็บเล็ต, หูฟัง, เกมคอนโซลเคลื่อนที่, เครื่องอ่านอีบุ๊ก, คีย์บอร์ด, เมาส์, GPS, กล้องถ่ายภาพ ไปจนถึงโน้ตบุ๊ก แต่จะบังคับเฉพาะอุปกรณ์ที่ชาร์จไฟด้วยสายเท่านั้น สำหรับอุปกรณ์ที่ชาร์จไร้สายเท่านั้นยังไม่บังคับในข้อบังคับนี้ แต่การแถลงข่าวครั้งนี้ก็ระบุว่าสหภาพยุโรปควรกำหนดมาตรฐานให้ใช้งานร่วมกันได้ต่อไป
Oleg Obleukhov และ Ahmad Byagowi วิศวกรจาก Meta เขียนบล็อกเพื่อสนับสนุนให้ยกเลิก Leap Second หรือ อธิกวินาที ที่หลายบริษัทเทคโนโลยีเคยเสนอก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันถูกใช้เป็นวิธีชดเชยการนับเวลาของโลก ที่ไม่ได้หมุนรอบตัวเท่ากันเป๊ะในทุกปี โดยการบวกชดเชยเวลานั้น จะมีหน่วยงาน IERS เป็นคนกำหนดว่าให้ทำในปีใดวันใด
Meta, Microsoft และอีกหลายบริษัทเทคโนโลยี ประกาศร่วมจัดตั้ง Metaverse Standards Forum เพื่อกำหนดมาตรฐานร่วมกันในการพัฒนา metaverse คล้ายกับ W3C ที่เป็นองค์กรที่ร่วมกันกำหนดมาตรฐานของเว็บ
นอกจาก Meta และ Microsoft แล้ว รายชื่อบริษัทที่อยู่ในรายชื่อสมาชิกของ Metaverse Standards Forum ยังมีทั้ง Autodesk, Epic Games, Huawei, Ikea, NVIDIA, Qualcomm, Sony, Unity โดยมีข้อสังเกตว่าสมาชิกรุ่นก่อตั้งไม่มีบริษัทอย่าง Apple, Alphabet หรือบริษัทเกมอย่าง Roblox กับ Niantic
ทั้งนี้ในด้านคอนเทนต์ 3D นั้น แอปเปิลร่วมกับ Pixar กำหนดมาตรฐานไฟล์ขึ้นมาคือ USDZ โดยร่วมมือกับ Adobe ด้วย
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา EU ได้บรรลุข้อตกลงใหม่บังคับใช้พอร์ตประเภทเดียวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดเป็นพอร์ต USB-C มีผลในปี 2024 ล่าสุด กลุ่มวุฒิสมาชิกของพรรคเดโมแครตสหรัฐฯ ได้ยื่นหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอให้ออกกฎบังคับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนใช้พอร์ตชาร์จไฟเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันเหมือนกับยุโรปบ้าง
สำหรับหนังสือที่ยื่นนี้เขียนโดย Ed Markey, Elizabeth Warren และ Bernie Sanders โดยขอให้กระทรวงพาณิชย์เริ่มดำเนินแผนบังคับพอร์ตชาร์จเป็นพอร์ตเดียวสำหรับอุปกรณ์พกพาทั้งหมด
สมาชิกรัฐสภาและ EU ประกาศบรรลุข้อตกลง บังคับใช้พอร์ตประเภทเดียว ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการยุโรปโหวตผ่าน และนำเสนอร่างไปก่อนหน้านี้ โดยกำหนดเป็นพอร์ต USB-C มีผลในฤดูใบไม้ร่วง หรือครึ่งหลังของปี 2024
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ถูกบังคับใช้ในประกาศนี้ยังมี อีรีเดอร์ หูฟังเอียร์บัด เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา ลำโพงพกพา ยกเว้นแล็ปท็อป ที่จะมีผลบังคับใช้ 40 เดือน นับจากวันที่คำสั่งนี้เริ่มมีผล
แอปเปิล ไมโครซอฟท์ และกูเกิล ประกาศแผนความร่วมมือ เพื่อรองรับและผลักดันมาตรฐานการล็อกอินยืนยันตัวตนแบบไร้รหัสผ่าน ทั้งบนสมาร์ทโฟน เดสก์ท็อป และเบราว์เซอร์ ที่จัดทำโดย FIDO Alliance และ World Wide Web Consortium (W3C)
ประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน จะทำให้ลดขั้นตอนการล็อกอินซ้ำหลายครั้ง เป็นการลงชื่อยืนยันการใช้งานครั้งเดียว แล้วใช้งานได้ต่อเนื่องในทุกจุด
สองความสามารถใหม่ที่เพิ่มเติมมาในการล็อกอินของมาตรฐาน FIDO ได้แก่ (1) เข้าถึงข้อมูลประจำตัวจากการลงชื่อแบบ FIDO (Passkey) ได้ผ่านอุปกรณ์หลายเครื่อง รวมทั้งเครื่องใหม่ โดยไม่ต้องดำเนินการทุกบัญชี (2) ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสิทธิ์แบบ FIDO บนอุปกรณ์พกพาใกล้ตัว เพื่อใช้ล็อกอินเข้าเว็บไซต์ หรือระบบปฏิบัติการใด ๆ
Video Electronics Standards Association (VESA) สมาคมที่ออกมาตรฐานด้านจอแสดงผล (เป็นหน่วยงานเดียวกับที่ออกมาตรฐาน DisplayPort) ประกาศออกมาตรฐาน Adaptive-Sync การแสดงผลภาพโดยมีอัตรารีเฟรชเรตไม่คงที่ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ variable refresh rate (VRR)
VRR เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่แต่ละฉากอาจมีอัตรารีเฟรชไม่เท่ากัน เช่น ฉากคุยกันที่ภาพไม่ค่อยเคลื่อนไหวมีอัตรารีเฟรชต่ำ แต่ฉากแอคชั่นมีอัตรารีเฟรชสูง
ก่อนหน้านี้เราอาจคุ้นกับมาตรฐานของบริษัทการ์ดจอ เช่น NVIDIA G-Sync หรือ AMD FreeSync แต่มาตรฐาน Adaptive-Sync ของ VESA เป็นขององค์กรกลางที่ไม่ขึ้นกับบริษัทใด
ความคืบหน้าประเด็นที่คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission เสนอบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท โดยมีเป้าหมายในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล่าสุดคณะกรรมาธิการด้านการปกป้องตลาดและผู้บริโภคยุโรป ลงคะแนนเสียง 43 ต่อ 2 สนับสนุนการแก้ไขระเบียบบังคับตามที่เสนอ
ข้อกำหนดใหม่ระบุว่าอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา และลำโพงพกพา ที่สามารถชาร์จผ่านสายได้ จะต้องรองรับพอร์ต USB-C มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ที่เล็กเกินไปสำหรับการใส่พอร์ต USB-C เช่น สมาร์ทวอทช์ สายรัดข้อมูลสุขภาพ
กลุ่มบริษัทผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่เกือบทุกราย ได้แก่ ASE (จากไต้หวัน), AMD, Arm, Intel, Qualcomm, Samsung, TSMC รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์อีก 3 รายคือ Google, Meta, Microsoft ร่วมกันเปิดตัวมาตรฐาน Universal Chiplet Interconnect Express (UCIe) สำหรับการให้ชิปเล็ต (chiplet) จากต่างค่ายสามารถนำมาประกอบกันได้บนแพ็กเกจชิปเดียวกัน
มาตรฐาน UCIe กำหนดตั้งแต่การเชื่อมต่อทางกายภาพ โปรโตคอลสื่อสาร ซอฟต์แวร์ และการทดสอบความเข้ากันได้ โดยตัวของ UCIe อิงอยู่บนมาตรฐานเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดคือ PCIe และ Compute Express Link (CXL) ที่ริเริ่มโดยอินเทล อย่างไรก็ตาม สังเกตว่าบริษัทชิปรายใหญ่ที่ยังไม่เป็นสมาชิกคือ NVIDIA
มาตรฐาน USB ในปัจจุบันมีความสับสนอย่างมาก เพราะมีทั้งเรื่องอินเทอร์เฟซของหัวเสียบ (USB Type-C), อัตราการส่งข้อมูล (USB4) และกำลังในการชาร์จ (USB Power Delivery หรือ USB PD)
ล่าสุดกลุ่ม USB-IF พยายามแก้ปัญหานี้โดยออกโลโก้ใหม่ ที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยระบุอัตราการส่งข้อมูล 20/40 Gbps (USB4) และกำลังการชาร์จ 60w/240w (USB PD 3.1) ไว้ที่ตัวโลโก้บนแพ็กเกจต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจง่ายขึ้นว่าสายและที่ชาร์จอะไรได้บ้าง แทนการเขียนเวอร์ชันของสเปก (USB 4, USB PD 3.1) ที่ผู้บริโภคอ่านแล้วไม่รู้ว่าคืออะไร
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ซึ่งเทียบได้กับหน่วยงานรัฐบาลของสหภาพยุโรป ออกข้อเสนอเรื่องการบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์
กฎข้อนี้มีชื่อเรียกว่า Radio Equipment Directive ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นข้อเสนอจาก EC ที่ต้องรอไปโหวตรับรองในรัฐสภายุโรปก่อน หากโหวตผ่านแล้วจะมีเวลาเตรียมตัวก่อนบังคับใช้จริงอีก 24 เดือน
รายละเอียดของกฎมีทั้งหมด 4 ข้อคือ
USB-IF ได้อัพเดตรายละเอียดสเปคของ USB-C เวอร์ชัน 2.1 เพิ่มรายละเอียดฮาร์ดแวร์กำหนด และข้อจำกัดหลายรายการ แต่มีประเด็นที่สำคัญคือขยายช่วงกำลังไฟไปสูงสุดถึง 240 วัตต์ จากปัจจุบันเวอร์ชัน 2.0 รองรับสูงสุดที่ 100 วัตต์
กำลังไฟที่สูงขึ้น จะทำให้ USB-C สามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ จอภาพความละเอียด 4K, เกมมิ่งแล็ปท็อป ไปจนถึงเครื่องพิมพ์
ถึงแม้ระดับกำลังไฟ 240 วัตต์ ก็อาจยังไม่เพียงพอสำหรับฮาร์ดแวร์หลายประเภท แต่ตัวที่ขยายมานี้ก็น่าจะทำให้เห็นอุปกรณ์มากขึ้นที่รองรับ USB-C เวอร์ชันใหม่นี้
กลุ่มมาตรฐาน Zigbee Alliance ก่อตั้งในปี 2002 เพื่อพัฒนามาตรฐาน ZigBee เป็นหลัก แต่ระยะหลังกลุ่ม Zigbee Alliance ออกมาตรฐานใหม่ๆ ในชื่ออื่นมาอีกหลายตัว วันนี้จึงประกาศเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น Connectivity Standards Alliance (CSA) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนี้ ปัจจุบัน CSA มีสมาชิกประมาณ 350 บริษัท
ตัวมาตรฐาน ZigBee เองยังอยู่เหมือนเดิมและใช้ชื่อเดิม ของใหม่คือ CSA ออกมาตรฐานตัวใหม่ชื่อ Matter (ชื่อเดิมคือ CHIP) สำหรับเชื่อมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่าย โดยมียักษ์ใหญ่ของวงการมาร่วมกันพร้อมหน้า ทั้ง Amazon, Apple, Google, Samsung SmartThings
กูเกิล-ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือระหว่างทีม Chrome และ Edge แก้ปัญหาเรื่องเว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวแสดงผลมาตรฐานเว็บไม่เหมือนกัน ใช้ชื่อโครงการว่า #Compat2021
โครงการนี้จะอ้างอิงข้อมูลจาก Web DNA (Web Developer Needs Assessment) ที่ริเริ่มโดย Mozilla สำรวจความเห็นของนักพัฒนาเว็บ และพบว่ามีปัญหาสำคัญ 5 ประการคือ CSS Flexbox, CSS Grid, CSS position: sticky, CSS aspect-ratio property, CSS transforms ที่พฤติกรรมของแต่ละเบราว์เซอร์ต่างกัน
ปกติแล้วอีเมลใน Gmail จะแสดงภาพโพรไฟล์ของผู้ส่ง ซึ่งเป็นภาพที่เราตั้งเองในสมุดที่อยู่เท่านั้น (แปลว่าถ้าไม่ตั้งค่าภาพเอาไว้ ก็จะแสดงเป็นรูปหัวคนสีเทาๆ)
ล่าสุดกูเกิลประกาศฟีเจอร์แสดงภาพโพรไฟล์ของแบรนด์ใน Gmail แล้ว โดยจะแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย-การปลอมแปลงตัวตน ด้วยมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า Brand Indicators for Message Identification (BIMI) ที่กูเกิลร่วมกับพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น LinkedIn, Fastmail, Twilio Sendgrid, Yahoo (ปัจจุบันอยู่ในเครือ Verizon) พัฒนาขึ้นมา
Khronos Group กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมด้านกราฟิก (ผู้ออกมาตรฐาน OpenGL และ Vulkan) ประกาศออกมาตรฐาน OpenCL เวอร์ชัน 3.0 ที่มาแบบแปลกๆ คือ "รีเซ็ต" จักรวาล OpenCL ใหม่ ข้ามเวอร์ชัน 2.x ในปัจจุบัน กลับไปยึดแกนของ OpenCL 1.2 ที่เก่ากว่าแทน
ต่อจากข่าว ยุโรปเตรียมเสนอใช้พอร์ต USB-C เป็นสายชาร์จมาตรฐาน
เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา รัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้ลงมติโหวตให้คณะกรรมการยุโรป (European Commission) เดินหน้าผลักดันให้เกิดมาตรฐานสายชาร์จ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 582 เสียง, ไม่เห็นด้วย 40 เสียง, งดออกเสียง 37
มติของรัฐสภาระบุให้คณะกรรมการยุโรป ออกคำสั่งบังคับใช้เรื่องนี้ภายในเดือนกรกฎาคม 2020 และนอกจากเรื่องมาตรฐานสายชาร์จ รัฐสภายังเรียกร้องให้คณะกรรมการยุโรปผลักดันเรื่อง