เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่เพิ่งผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ออก widget ใหม่ สำหรับ Xbox Game Bar บนสโตร์ ในชื่อ Microsoft Teams Play Together เงียบๆ
ในส่วนฟีเจอร์ก็ตรงตามชื่อกล่าวคือเป็น widget ที่มีไว้ใช้สำหรับเล่นเกมระหว่างประชุม Teams วิดีโอคอลล์กับเพื่อนระหว่างเล่นเกมและ/หรือใช้แชร์หน้าจอให้เพื่อนๆ รับชมเกมที่กำลังเล่นอยู่ได้ ผ่าน Teams โดยรองรับผู้เข้าร่วมคอลล์ได้มากสุดถึง 20 คน
การวิดีโอคอลล์ด้วย Microsoft Teams Play Together จะแสดงผลเป็นหน้าต่าง overlay ลอยขึ้นมาทับหน้าจอของผู้ใช้ สามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านคีย์ลัดของ Windows + G ของ Xbox Game Bar
อาการคีย์บอร์ดพิมพ์เบิ้ลที่ว่านี้คือกดปุ่มแล้วปล่อยทันที 1 ครั้ง แต่มันเบิ้ลไป 2 ครั้ง เช่น กด a กลายเป็น aa สาเหตุอาจมาจากมีฝุ่นในปุ่มหรือปุ่มเสีย สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยการฉีดน้ำยาทำความสะอาด แต่ถ้าไม่สะดวกทำหรือทำแล้วไม่หาย สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยฟีเจอร์ Use Filter Keys ร่วมกับการแก้ไข Registry มีขั้นตอนดังนี้
บริษัทความปลอดภัย Doctor Web รายงานข่าวการระบาดของไฟล์ ISO เถื่อนของ Windows 10 ที่แจกตามเว็บไซต์ torrent ต่างๆ แอบฝังมัลแวร์ในพาร์ทิชัน Extensible Firmware Interface (EFI)
พาร์ทิชัน EPI เป็นพาร์ทิชันขนาดเล็กบนดิสก์ ที่มีไฟล์สำหรับ bootloader ใช้ในการบูท OS ขึ้นมาอีกที พาร์ทิชันนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบบูท UEFI ในภาพรวม ที่นำมาใช้แทนระบบ BIOS เดิม
ไฟล์ ISO เถื่อนอาศัยว่าผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์เพื่อไปติดตั้ง OS ใหม่ ได้สิทธิการเข้าถึงขั้นสูงสุดตั้งแต่แรกอยู่แล้ว จึงแอบฝังมัลแวร์-โทรจันเข้ามาในตัวติดตั้งด้วย เท่าที่ตรวจพบมี 3 ไฟล์ทำงานร่วมกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดการสนับสนุน Cortana ระบบผู้ช่วยอัจฉริยะ บน Windows 10 และ Windows 11 ภายในปี 2023 นี้ ซึ่งข่าวนี้อาจไม่แปลกใจมากนัก เพราะสัปดาห์ก่อนไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตัว Windows Copilot ฟีเจอร์ผู้ช่วย AI ใน Windows 11 ที่น่าจะมาแทน Cortana
ทั้งนี้ไมโครซอฟท์บอกว่าผลกระทบจะมีเฉพาะ Cortana ใน Windows เท่านั้น (ในตอนนี้) แต่ Cortana ใน Microsoft 365 ยังคงใช้งานได้ทั้งใน Outlook mobile, Teams mobile, Microsoft Teams display และ Microsoft Teams room
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการระยะยาวของระบบปฏิบัติการ Windows 10 และ Windows 11 ที่ใช้ขนานกันอยู่ในตอนนี้
Windows 10
Windows 11
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตความปลอดภัยฉุกเฉิน มีผลกับโปรแกรมจับภาพหน้าจอ Snip & Sketch ใน Windows 10 และ Snipping Tool ใน Windows 11 เท่านั้น หลังมีรายงานช่องโหว่ออกมาก่อนหน้านี้
ช่องโหว่ดังกล่าว CVE-2023-28303 มีชื่อเรียกว่า Acropalypse โดยเมื่อผู้ใช้ครอปภาพบางส่วนออกไปและเซฟไฟล์ไว้ ข้อมูลภาพต้นแบบก่อนครอปจะยังติดอยู่กับไฟล์และสามารถกู้คืนได้ ทำให้ประเมินว่าช่องโหว่นี้มีความร้ายแรง หากข้อมูลที่ครอปออกไปเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ต้องการเปิดเผย
ไมโครซอฟท์ออก "อัพเดตสุดท้าย" ปิดการทำงานของ Internet Explorer บน Windows 10 อย่างถาวร ตามที่ประกาศเอาไว้ล่วงหน้า
หลังติดตั้งอัพเดตตัวนี้แล้ว IE จะไม่สามารถรันใน Windows 10 ได้อีกต่อไป การคลิกที่ไอคอน IE จะเรียก Edge ขึ้นมาแทน แต่ผู้ใช้ยังสามารถรัน IE Mode ที่ใช้เอนจิน MSHTML ตัวเดิมใน Edge ได้อยู่ ซึ่งไมโครซอฟท์การันตีว่าจะทำงานได้จนถึงปี 2029 เป็นอย่างน้อย
Puget Systems บริษัทผู้ผลิตพีซีแบบคัสตอมที่เน้นการรีดประสิทธิภาพ ทดลองรันเบนช์มาร์คเปรียบเทียบระหว่าง Windows 10 และ Windows 11 หลังออกตัวจริงมาแล้ว 8 เดือน
Puget เคยรันเบนช์มาร์คชุดนี้มาแล้วตอน Windows 11 ออกใหม่ๆ และพบว่ายังด้อยกว่า Windows 10 ในหลายด้าน ซึ่งเหตุผลหนึ่งมาจากตัวแอพพลิเคชันเองยังไม่ซัพพอร์ต Windows 11 อย่างเป็นทางการ
รอบนี้เวลาผ่านมา 8 เดือน ตัวระบบปฏิบัติการเองออกแพตช์แก้บั๊กมาแล้วหลายรอบ และแอพพลิเคชันก็ทยอยซัพพอร์ตกันแล้ว การทดสอบของ Puget ใช้คอมพิวเตอร์ 3 ชุด (Ryzen 9, Threadripper Pro 5995W/5975W, Core i9-12900K) รันการทดสอบ 5 หมวดคือ การตัดต่อวิดีโอ, การแต่งภาพ, การเรนเดอร์ 3D ด้วยซีพียู และด้วยจีพียู, การสร้างเกมด้วย Unreal Engine
หลังไมโครซอฟท์ย้ายเอนจินของ Edge มาเป็น Chromium เสร็จ ก็ผลักดันการใช้งาน Edge WebView2 สำหรับแอพพลิเคชันบนวินโดวส์ที่ต้องการเรนเดอร์เว็บเพจ ตอนนี้แอพของไมโครซอฟท์หลายๆ ตัว เช่น Office หรือ Outlook ก็ย้ายมาใช้ WebView2 กันบ้างแล้ว
ข้อจำกัดของ WebView2 คือมันมาพร้อมกับ Windows 11 เท่านั้น หากใช้ Windows 10 ที่ยังใช้ WebView ตัวเก่าที่เป็นเอนจิน EdgeHTML ของเดิม ก็จะเจอข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างของเอนจิน ที่อาจแสดงผลต่างกัน
สำนักข่าว TASS ของรัสเซีย รายงานว่าตอนนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในรัสเซียไม่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งไฟล์ Windows 10 และ Windows 11 จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ในรัสเซียได้แล้ว โดยจะเจอกับข้อความ 404 File Not Found แต่ถ้าเชื่อมต่อผ่าน VPN จะยังสามารถดาวน์โหลดได้
ไมโครซอฟท์ยังไม่ได้ออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ แต่ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดทำธุรกิจในรัสเซียมาตั้งแต่เดือนมีนาคม และเมื่อต้นเดือนนี้เพิ่งปลดพนักงานในรัสเซียออกเป็นจำนวน 400 คน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectStorage API บนพีซีอย่างเป็นทางการ ทั้งบน Windows 10 และ 11
DirectStorage API เป็น API ตัวใหม่ที่เริ่มใช้กับ Xbox Series X|S ก่อน ไอเดียของมันคือใช้ประโยชน์จาก NVMe SSD ที่ใช้งานกันแพร่หลายแล้วในยุคนี้ เกมสามารถสั่งดึงข้อมูลจากดิสก์เป็นชิ้นเล็กๆ (64kb) แต่ทำงานขนานกันมากๆ โดยไม่เปลืองแรงของซีพียูมากนัก เพราะกระจายงานโหลดและแตกไฟล์ไปอยู่ที่ตัว NVMe แทน
Valve ออกไดรเวอร์ Windows ของฮาร์ดแวร์ Steam Deck ให้ตามสัญญา แต่ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ทั้งหมด
Valve เคยประกาศเอาไว้ว่าจะเปิดให้ Steam Deck รัน Windows ได้ โดยเบื้องต้นออกไดรเวอร์จีพียู, Wi-Fi, Bluetooth แต่ยังขาดไดรเวอร์เสียงที่ยังทำไม่เสร็จ ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะการติดตั้ง Windows 10 แบบ OS เดียวเท่านั้น ยังไม่รองรับการทำ Dual Boot และ Windows 11 ที่จะตามมาในอนาคต
คนที่มี Steam Deck สามารถลองเปลี่ยนมาเป็น Windows 10 ได้เองแล้ว (ถ้าต้องการลอง) หากไม่ประสบความสำเร็จ ก็สามารถ recovery กลับเป็น Steam OS คืนได้ โดยต้องดาวน์โหลดอิมเมจเพื่อบูตใส่ USB key อีกที
ที่มา - Steam
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายความสามารถฟีเจอร์รันแอพ Android แบบสตรีมหน้าจอมายังเครื่องพีซีของ Your Phone โดยได้เพิ่มปุ่มเรียกเมนูเลือกเปิดแอพ Android ที่ใช้งานล่าสุดบนสมาร์ทโฟนลงใน Taskbar ของทั้ง Windows 10 และ Windows 11
เมื่อวานนี้ ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday รอบเดือนธันวาคม 2021 อุดช่องโหว่ของซอฟต์แวร์หลายตัว เช่น Microsoft Edge, VS Code, Office, PowerShell, Windows Server รวมช่องโหว่ทั้งหมด 67 ตัว
ช่องโหว่สำคัญในแพตช์รอบนี้มีทั้งหมด 6 ตัว และมีช่องโหว่ที่ถูกใช้โจมตีจริงแล้ว 1 ตัว เกี่ยวกับตัวติดตั้งแพ็กเกจ Windows AppX ที่ใช้แพ็กเกจมาทะลุช่องโหว่นี้เพื่อติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่อง
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้ประกาศปล่อย Microsoft Store เวอร์ชันใหม่ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์เด่นของ Windows 11 ให้ระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนอย่าง Windows 10 ได้ใช้งานด้วย โดยได้ทดสอบกับผู้ใช้กลุ่ม Windows Insider มาได้ระยะหนึ่ง
ล่าสุดเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน Rudy Huyn หัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Microsoft Store ก็ได้ทวีตระบุว่าเริ่มทยอยปล่อย Microsoft Store เวอร์ชันใหม่ให้ Windows 10 โดยทั่วไปแล้ว และจะไปถึงมือผู้ใช้ทุกคนในเร็วๆ นี้
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์แก้บั๊กพรินเตอร์ของ Windows 10 (ที่มีหลายตัว แก้แล้วแก้อีก เกิดตายเวียนวน) โดยแพตช์รหัส KB5007253 ปัจจุบันยังเป็น Optional Update ให้เลือกอัพเดตกันเองก่อน แก้บั๊กการเชื่อมต่อพรินต์เซิร์ฟเวอร์แล้วแสดงข้อความ error 0x000006e4, 0x0000007c, 0x00000709
แพตช์ตัวนี้ยังแก้บั๊กอื่นๆ ของ Windows 10 อีกเป็นจำนวนมาก อ่านรายการแก้บั๊กได้จากที่มา
ไมโครซอฟท์เริ่มปล่อยอัพเดต Windows 10 November 2021 Update (v21H2) ให้ผู้ใช้ทั่วไปผ่าน Windows Update แล้ว อัพเดตตัวนี้เป็นอัพเดตย่อยที่มีของใหม่ไม่เยอะนัก เพราะไมโครซอฟท์หันไปทุ่มแรงให้ Windows 11 แทนแล้ว
ในโอกาสเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังประกาศนโยบายการอัพเดต Windows 10 จากนี้ไปว่าจะเหลืออัพเดตปีละ 1 ครั้ง แทนการอัพเดต 2 ครั้งที่ทำมาหลายปี ด้วยเหตุผลว่าต้องการใช้รอบการอัพเดตซิงก์กับ Windows 11 ที่จะออกอัพเดตใหญ่ปีละ 1 ครั้งช่วงปลายปีเช่นกัน ส่วนการซัพพอร์ต Windows 10 ในระยะยาวจะยังนานถึงปี 2025 เหมือนที่เคยประกาศไว้
เว็บไซต์ AnandTech มีบทความอธิบายสถาปัตยกรรมของ Core 12th Gen Alder Lake ที่ค่อนข้างละเอียด ของใหม่ที่สำคัญใน Alder Lake คือการมีคอร์สองขนาดคือ คอร์ใหญ่ Performance Core (P-Core) และคอร์เล็ก Efficiency Core (E-Core)
การมีคอร์ 2 ระดับ (แถม P-Core มี hyperthreading) ทำให้การเลือกว่าจะจ่ายงานให้คอร์ไหนมีความซับซ้อนขึ้นมาก เพราะในอดีต ซีพียู x86 มีคอร์แบบเดียวเท่ากันหมด การจ่ายงานเป็นหน้าที่ของ OS ที่เลือกจัดคิว (scheduler) ตามความเหมาะสม แต่ OS เองก็ไม่มีข้อมูลว่าคอร์ไหนมีสถานะอย่างไร ทำงานอะไรอยู่บ้าง
ของใหม่อย่างหนึ่งของ Windows 11 คือ Microsoft Store เวอร์ชันใหม่ ที่ปรับดีไซน์ใหม่ เปลี่ยนเอนจินข้างหลังให้ทำงานเร็วขึ้น รองรับแอพที่เป็น win32
ล่าสุดไมโครซอฟท์เริ่มปล่อย Microsoft Store ตัวใหม่ให้กับ Windows 10 แล้ว โดยยังจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ทดสอบ Windows Insiders ก่อน แต่ Rudy Huyn หัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Microsoft Store ก็ระบุว่าจะทยอยปล่อยให้กับผู้ใช้ Windows 10 ทุกคนในเร็วๆ นี้
ที่มา - @RudyHuyn via MSpoweruser
หลังจากเปิดตัว Windows 11 ไปเรียบร้อยแล้ว ฝั่งของ Windows 10 ก็มีอัพเดตรอบปลายปีตามสัญญา (จะยังมีอัพเดตไปจนถึงปี 2025) โดยใช้ชื่อว่า Windows 10 November 2021 Update (21H2)
อย่างไรก็ตาม ของใหม่ใน Windows 10 v21H2 มีเพียงนิดเดียว (เหมือนกับ Windows 10 อัพเดตสองตัวล่าสุด) ได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday ประจำรอบเดือนตุลาคม 2021 (หมายเลขแพตช์ KB5006670) ความพิเศษของรอบนี้คือ Windows 11 จะได้อัพเดตแพตช์เป็นครั้งแรกด้วย (ออก 5 ตุลาคม ได้แพตช์รอบ 12 ตุลาคมพอดี)
นอกจากการอัพเดตความปลอดภัย (ที่ได้ทั้ง Windows 10 และ Windows 11) สิ่งที่ปรับปรุงในแพตช์ของ Windows 11 คือแก้บั๊กซอฟต์แวร์เครือข่าย Intel Killer และ SmartByte ส่วนการแก้บั๊กประสิทธิภาพของซีพียู AMD ยังไม่มาในแพตช์รอบนี้
ที่มา - OnMSFT
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าบริการ Xbox Cloud Gaming (xCloud) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอัพเดตแอพ Xbox บน Windows 10 ให้สามารถเล่นเกมผ่านคลาวด์ได้บนแอพพีซีแล้ว (ก่อนหน้านี้รองรับเฉพาะบนเบราว์เซอร์) ส่วน Windows 11 จะได้ฟีเจอร์นี้ built-in มาเลย ไม่ต้องลงแอพเพิ่ม
นอกจากฟีเจอร์ xCloud การอัพเดตครั้งนี้ยังรองรับ Xbox remote play คือการสตรีมเกมจาก Xbox มาเล่นบนพีซีได้ด้วย
ปัจจุบัน xCloud มีให้บริการใน 22 ประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีประเทศไทย
ที่มา - Xbox
แอปเปิลออกอัพเดตแอพพลิเคชัน iCloud บน Windows เวอร์ชัน 12.5 โดยเพิ่มการรองรับตัวจัดการรหัสผ่าน iCloud Keychain สำหรับผู้ใช้ Windows เพิ่มเติม
ผู้ใช้งานสามารถจัดการรหัสผ่าน เพื่อใช้งานต่อบนเว็บเบราว์เซอร์ รองรับทั้ง Microsoft Edge และ Chrome โดยรหัสผ่านจะถูกจัดเก็บไว้ในโปรแกรม iCloud แบบเข้ารหัส
ผู้ใช้งาน iCloud บน Windows สามารถอัพเดตแอพได้บน Microsoft Store โดยแอพ iCloud นี้เดิมรองรับการเข้าถึงข้อมูลบน iCloud อาทิเอกสาร รูปภาพ อีเมล
ที่มา: MacRumors รูป Microsoft Store
ไมโครซอฟท์ประกาศราคาของบริการ Windows 365 การสตรีมเดสก์ท็อป Windows ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นบริการแบบใหม่ที่ไมโครซอฟท์เรียกว่า Cloud PC (เป็น remote desktop แบบสำเร็จรูป รันในคลาวด์อย่างเดียว ปรับแต่งได้น้อยกว่า Azure Virtual Desktop)
Windows 365 แบ่งออกเป็น 2 ระดับตามจำนวนผู้ใช้งานคือ Business (พนักงานไม่เกิน 300 คน) และ Enterprise (พนักงานมากกว่า 300 คน) โดยมีฟีเจอร์ด้านการจัดการต่างกันอยู่พอสมควร ส่วนราคาจะอิงตามสเปกเครื่องที่เลือกเช่าใช้งาน
แพ็กเกจราคาต่ำสุดของกลุ่ม Enterprise คือ 20 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ 1 vCPU, แรม 2GB, สตอเรจ 64GB ส่วนแพ็กเกจสูงสุด 158 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ 8 vCPU, แรม 32GB, สตอเรจ 512GB
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว Microsoft ได้เปิดให้ผู้ใช้ Windows 10 Insider Preview สามารถติดตั้ง WSL (Windows Subsystem for Linux) ได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง wsl --install ลดความยุ่งยากที่ปกติผู้ใช้ต้องเปิดการตั้งค่าบางอย่างรวมถึงติดตั้งแพคเกจเอง
ล่าสุด Microsoft ได้เปิดให้ผู้ใช้ Windows 10 v2004 หรือสูงกว่า สามารถใช้งานฟีเจอร์แบบเดียวกันนี้ได้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยต้องอัพเดต Windows ให้เป็นแพตช์ล่าสุดก่อน หรือถ้าจะเจาะจงแพตช์ มันคืออัพเดตรหัส KB5004296 ที่เพิ่งปล่อยออกมา หากตรวจสอบในเครื่องตนเองแล้วมีแพตช์นี้ติดตั้งอยู่ก็พร้อมใช้งานได้เลย (ผมเช็คในเครื่องตัวเองขึ้นว่าเป็น Optional Update)