Unity ออกมาขอโทษชุมชนนักพัฒนาเกมอย่างเป็นทางการ พร้อมประกาศแนวทางใหม่ของการคิดเงินค่าใช้งาน Unity Engine ดังนี้
ผู้ใช้เอนจิน Unity Personal ตัวฟรี จะไม่ถูกคิดเงินค่า Runtime Fee ใดๆ, ขยายเพดานรายได้จากเกมที่มีสิทธิใช้ Unity Personal จากเดิม 100,000 ดอลลาร์เป็น 200,000 ดอลลาร์, ยกเลิกเงื่อนไขบังคับแสดงหน้าจอ Made with Unity ออกให้ด้วย
ผู้ใช้เอนจิน Unity Pro และ Unity Enterprise มีเงื่อนไขการคิดเงินใหม่ดังนี้
จากกรณี Unity ยอมถอยหลังนักพัฒนาเกมประท้วงโมเดลการคิดเงินแบบใหม่ แม้ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของแผนการใหม่ประกาศออกมา แต่ Jason Schreier นักข่าวสายเกมของ Bloomberg ก็อ้างแหล่งข่าวภายในบริษัทว่า โอกาสยกเลิกแผนคิดเงินทั้งหมด ถอยกลับไปแบบเดิมนั้นแทบเป็นไปไม่ได้
แนวทางใหม่ของ Unity จะยังคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกมเหมือนเดิม แต่ปรับวิธีการนับจำนวนจากระบบการนับของ Unity เอง (ที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นอย่างไร) มาเป็นให้นักพัฒนาเกมรายงานตัวเลขเอง (self-report), ไม่นับตัวเลขย้อนหลังในอดีต และจำกัดเพดานเงินที่ต้องจ่ายให้ Unity ที่ 4% ของรายได้เกม (เฉพาะเกมที่มีรายได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์เท่านั้นด้วย)
ผ่านมาเพียง 6 วันหลังจากที่ Unity เปลี่ยนวิธีคิดเงินค่าเอนจินเกม จำนวนผู้บริจาคเงินให้โครงการเอนจินโอเพนซอร์ส Godot เพิ่มขึ้นถึง 170% และจำนวนยอดบริจาคต่อเดือนเพิ่มขึ้นถึง 40%
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา Godot เปลี่ยนวิธีการบริจาคผ่านเว็บไซต์ patreon มาผ่านการบริจาคผ่าน Godot Development Fund หลังเวลาผ่านมา 2 เดือนทำให้ Godot ได้รับยอดบริจาค 25,000 ดอลลาร์ต่อเดือน จากสมาชิกกว่า 400 คน ซึ่งจำนวนยอดบริจาคนี้ก็มากกว่าระบบเดิมถึง 2 เท่าแล้ว
หลังจาก Unity เปลี่ยนวิธีคิดเงินค่าเอนจินเกม จนโดนวิจารณ์อย่างหนัก ถึงขั้นโดนขู่ฆ่าจนต้องปิดสำนักงาน
ล่าสุด Unity ออกมาขอโทษผ่านทางโซเชียลแล้ว บอกว่าได้ยินเสียงวิจารณ์ของลูกค้า และเตรียมเปลี่ยนนโยบายที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยรายละเอียดจะแถลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
บริษัท Unity Technologies Inc. ต้องปิดสำนักงานบางแห่งชั่วคราว หลังได้รับคำขู่ฆ่าจากผู้ที่ไม่พอใจ การเปลี่ยนแปลงไลเซนส์เอนจินเกมของบริษัท
ตัวแทนของ Unity ให้ข่าวว่าได้รับคำขู่ จึงต้องปิดสำนักงานก่อนเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ตามข่าวบอกว่าสำนักงานที่ปิดคือซานฟรานซิสโก และออสติน โดยข้อมูลจากหน้าสมัครงานของ Unity ระบุว่าบริษัทมีสำนักงานมากถึง 27 แห่งทั่วโลก ในทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ โคลอมเบีย
Unity ประกาศวิธีการคิดเงินค่าใช้งานเอนจินเกมใหม่ เปลี่ยนมาคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกม (installs) สร้างเสียงวิจารณ์จากนักพัฒนาเกมจำนวนมาก
ตัวเอนจิน Unity แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Unity Editor ที่ใช้สร้างเกม และ Unity Runtime เป็นเอนจินที่ผนวกไปกับไฟล์ของเกม การเปลี่ยนแปลงนี้คือ Unity คิดเงินค่า Unity Runtime Fee ต่อเมื่อเกมเข้าเงื่อนไขครบ 2 ข้อคือ
Unity ประกาศออกตัวรันไทม์ของเอนจินที่ทำงานบน Windows on Arm แบบเนทีฟ ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ในงาน Build 2023 เท่ากับว่าตอนนี้เกมหรือแอพต่างๆ ที่สร้างด้วย Unity จะสามารถรันบนอุปกรณ์ Windows ที่ใช้ชิป ARM64 ได้แบบเนทีฟ ได้ประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ เพราะไม่ต้องผ่านอีมูเลเตอร์
ตอนนี้ Unity ยังรองรับ Windows on Arm เฉพาะตอนรันเท่านั้น ส่วนตอนสร้างและคอมไพล์บน Unity Editor ยังต้องใช้เครื่องที่เป็น x86 ซึ่ง Unity สัญญาว่ากำลังพัฒนาตัว Editor ให้รันบน Windows on Arm
Jason Schreier นักข่าวสายเกมของ Bloomberg ให้ข้อมูลวงในของสตูดิโอ 343 Industries ผู้รับผิดชอบซีรีส์ Halo ที่กำลังประสบปัญหาในช่วงนี้ ทั้งปัญหาความล่าช้าของการพัฒนาเกม Halo Infinite หลังวางขาย, โดนปลดพนักงาน และข่าวลือว่าถูกปรับโครงสร้างหน้าที่การพัฒนา Halo (ไมโครซอฟท์ยืนยันว่ายังให้ทำ Halo ต่อ)
Epic Games เปิดตัว Fortnite Battle Royale อัพเดตเนื้อหา Chapter 4 เพิ่มตัวละครใหม่ๆ จากเกมซีรีส์อื่น เช่น Geralt จาก The Witcher และ Doom Slayer จาก Doom
ของใหม่ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ Fortnite Chapter 4 เป็นเกมแรกที่ใช้ Unreal Engine 5.1 เวอร์ชันใหม่ล่าสุดของ Epic ด้วย โดยรองรับทั้งบนพีซี, PS5, Xbox Series X|S และคลาวด์เกมมิ่ง
UE 5.1 มีของใหม่ที่อัพเดตเพิ่มเติมจาก UE5 หลายอย่าง ฟีเจอร์ที่น่าสนใจได้แก่
เอนจินเกมชื่อดัง Unity ประกาศรองรับ Windows on Arm ที่ไมโครซอฟท์กำลังผลักดันเต็มที่ ด้วยการประกาศว่าจะนำเอนจิน Unity มารันแบบเนทีฟบน Windows on Arm ด้วย แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาว่าจะเห็นกันเมื่อไร
ประกาศของ Unity มาพร้อมกับการวางขาย Windows Dev Kit 2023 ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์สำหรับพัฒนา Windows on Arm ซึ่งเป็นสัญญาณว่าไมโครซอฟท์เริ่มเอาจริงแล้ว (สักที)
การได้เอนจินเกมดังอย่าง Unity เพิ่มเข้ามา ก็น่าจะช่วยให้ ecosystem ของ Windows on Arm เข้มแข็งมากขึ้น ก่อนหน้านี้มี Spotify ที่ออกแอพเวอร์ชัน Arm มาให้แล้ว
เมื่อปี 2021 Amazon เปิดซอร์สโค้ดเอนจินเกม Lumberyard เป็นโอเพนซอร์ส ภายใต้ชื่อโครงการใหม่ว่า Open 3D Engine (O3DE) และยกให้ Linux Foundation ดูแลต่อ
ตัวองค์กรผู้ดูแล Open 3D Foundation มีบริษัทใหญ่เข้าร่วมสนับสนุนหลายราย ทั้งชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับ Adobe, AWS, Microsoft, Intel, Huawei ที่สนับสนุนโครงการแนวนี้เป็นปกติอยู่แล้ว และสตูดิโอเกมอย่าง Lightspeed Studios ของจีน (ทำ PUBG Mobile) กับ Niantic เป็นต้น
แต่ล่าสุด Open 3D Foundation ได้สมาชิกใหม่ที่น่าสนใจคือ Epic Games ที่เป็นเจ้าของเอนจินคู่แข่ง Unreal ซึ่งอาจทำให้หลายคนถามว่า Epic เข้ามาสนับสนุนทำไม
ผู้ที่เขียนเกมด้วยเอนจิน Unity คงทราบกันดีว่าต้องใช้ภาษา C# เนื่องจากรากเหง้าของ Unity เริ่มมาจาก .NET (จะให้เจาะจงคือ Mono ที่เป็น .NET เวอร์ชันโอเพนซอร์ส) อย่างไรก็ตาม แนวทางของ Unity คือการปรับแต่งคอมไพเลอร์ รันไทม์ และภาษา C# ในแบบของตัวเอง ที่แตกต่างจาก C#/.NET ของไมโครซอฟท์
ปัญหาของเรื่องนี้คือ ชุดเครื่องมือ แพ็กเกจ และไลบรารีต่างๆ ของโลก .NET จึงไม่สามารถทำงานร่วมกับ Unity ได้ดีเท่าที่ควร บวกกับภาษา C# เวอร์ชันใหม่ๆ ก็ต้องรอให้ Unity ตามซัพพอร์ต ซึ่งต้องใช้เวลานาน
ล่าสุด Unity ประกาศทิศทางว่าจะมุ่งหน้าเข้าสู่โลก .NET กระแสหลัก แทนการเลือกคัสตอมเทคโนโลยีเอง โดยประกาศชัดว่าอยากเลิกใช้รันไทม์ Mono .NET เปลี่ยนมาเป็น CoreCLR ของ .NET เวอร์ชันหลักในปัจจุบัน (.NET Core)
Unreal Engine 5 เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2020 และเปิดทดสอบ Early Access ในปี 2021 ตอนนี้ออกตัวจริงเรียบร้อย เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้กันแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ Unreal Engine 5 คือ Lumen ระบบแสง global illumination ที่ให้สภาพแสงสมจริง, Nanite ระบบโพลีกอนขนาดเล็ก (micropolygon) จำนวนมหาศาลเพื่อแสดงรายละเอียดของโมเดล, Virtual Shadow Maps ระบบแสดงเงาที่ทำงานร่วมกับ Nanite ได้เป็นอย่างดี, Temporal Super Resolution ฟีเจอร์การทำ upsampling ภาพได้จากตัวเอนจินเกมเลย
The Coalition สตูดิโอในสังกัดไมโครซอฟท์ เจ้าของซีรีส์ Gears of War โชว์คลิปเดโม 2 คลิปที่แสดงพลังของเอนจิน Unreal Engine 5 ตัวใหม่ของ Epic Games บน Xbox Series X
เดโมตัวแรกชื่อ "Alpha Point" มีความยาวสั้นๆ เพียง 1 นาที เน้นที่กราฟิก โดยเฉพาะเรื่องแสง dynamic lighting & reflection แบบเรียลไทม์
ส่วนเดโมที่สองเป็นการทดสอบเรนเดอร์ตัวละครด้วย UE5 ที่เห็นรายละเอียดของผิวหนัง เส้นขน ผม หนวดเครา เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อย่างสมจริง
Amazon ประกาศโอเพนซอร์สเอนจินเกม Lumberyard ของตัวเอง โดยใช้ชื่อโครงการใหม่ว่า Open 3D Engine (O3DE) และยกให้อยู่ในการดูแลของ Linux Foundation
Linux Foundation จะตั้งองค์กรลูกชื่อ Open 3D Foundation ขึ้นมารับผิดชอบการพัฒนา Open 3D Engine โดยมีบริษัทอื่นๆ เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Adobe, Here, Huawei, Intel, Niantic, Red Hat และบริษัทเกมอีกจำนวนหนึ่ง
Epic Games เปิดให้นักพัฒนาทดสอบ Unreal Engine 5 แบบ Early Access แล้ว
Epic บอกว่าคุณภาพของ UE5 ยังไม่พร้อมสำหรับ production-ready แต่ต้องการให้นักพัฒนาเกมมาลองเล่นฟีเจอร์ต่างๆ และสร้างต้นแบบเกมใหม่กันตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ที่สนใจสามารถติดตั้งได้แล้วจาก Epic Games Launcher
ฟีเจอร์เด่นของ UE5 ได้แก่
The Coalition สตูดิโอในสังกัด Xbox Game Studios ที่รับผิดชอบซีรีส์ Gears of War เป็นสตูดิโอเกมรายแรกๆ ที่ประกาศใช้งาน Unreal Engine 5 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2020
ซีรีส์ Gears of War นั้นเดิมทีเป็นของ Epic Games เจ้าของ Unreal Engine อยู่แล้ว หลังไมโครซอฟท์ซื้อสิทธิมาในปี 2014 ก็มอบหมายให้ The Coalition เป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาแทน ซึ่ง The Coalition ก็ทำมา 3 ภาคแล้วคือ Gears 4 (2016), Gears 5 (2019) และ Gears Tactics (2020)
ข่าวเซอร์ไพร์สสำคัญของวงการเกมปี 2020 คือการกลับมาของซีรีส์ Fable ที่พัฒนาโดย Playground Games สตูดิโอในสังกัดไมโครซอฟท์ที่สร้างชื่อจากเกมแข่งรถซีรีส์ Forza Horizon
ที่ผ่านมา เรายังแทบไม่รู้ข้อมูลใดๆ ของเกมเลย มีแค่เทรลเลอร์เปิดตัวสั้นๆ ไม่มีเกมเพลย์ ตัวละคร หรือวันวางจำหน่าย (ลงพีซีและ Xbox Series) แต่ล่าสุด ข้อมูลรับสมัครงานของ Playground Games ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เกม Fable จะใช้เอนจิน ForzaTech ของเกมแข่งรถซีรีส์ Forza
เก็บตกประเด็นไมโครซอฟท์ปิดดีล Bethesda นอกจากเรื่องประกาศเอ็กซ์คลูซีฟเกมในอนาคต ยังมีประเด็นเล็กๆ อีกเรื่องคือการซื้อ Bethesda ยังทำให้ไมโครซอฟท์ได้เป็นเจ้าของเอนจินเกมอีกอย่างน้อย 2 ตัว ได้แก่ id Tech ของ id Software (ชื่อในอดีตคือ Doom Engine, เวอร์ชันล่าสุด id Tech 7 คือใช้กับ Doom Eternal) และ Creation Engine ของ Bethesda Game Studios (ใช้กับ Skyrim, Fallout 4, Fallout 76)
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox พูดถึงเรื่องนี้เล็กน้อย โดยเน้นไปที่เอนจิน id Tech ว่าสามารถนำไปใช้กับสตูดิโอเกมอื่นๆ ของไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน เขาบอกว่าอยากเห็นเรื่องนี้และจะนำไปขยายผลต่อไป
Epic เปิดตัว MetaHuman Creator เครื่องมือบน Unreal Engine ช่วยนักพัฒนาสร้างโมเดลมนุษย์ความละเอียดสูง พร้อมปรับระดับรายละเอียดได้ถึง 8 ระดับ ตั้งแต่รันบนมือถือไปจนเรนเดอร์ระดับเท่าภาพยนตร์ และนักพัฒนาสามารถนำโมเดล Unreal Engine นี้ไปใส่ rig ทำแอนิเมชั่น หรือนำไปใช้ในเกมต่อได้ทันที
MetaHuman สามารถปรับตั้งค่าต่างๆ ทั้งโครงหน้า ความละเอียดของรูขุมขน สีผิว สัดส่วนร่างกาย ฟัน สีฟัน ได้อย่างละเอียด คล้ายคลึงกับระบบสร้างตัวละครในเกม RPG ในเวอร์ชั่นอัพเกรด นอกจากนี้ คาดว่าสามารถใช้งานร่วมกับแอป Live Link Face เพื่อสร้างแอนิเมชั่นการเคลื่อนไหวของใบหน้าที่สมจริง และอาจจะนำไปใช้งานอื่นๆ เช่นสร้าง VTuber ที่มีโมเดลสมจริง แทนที่จะเป็นภาพการ์ตูน เป็นต้น
เมื่อคืนที่ผ่านมา Unity Technologies บริษัทเจ้าของเอนจินเกม Unity ได้นำหุ้นเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่ยื่นเอกสารต่อ SEC เมื่อเดือนสิงหาคม
Unity เปิดขายหุ้นไอพีโอทั้งหมด 25 ล้านหุ้นที่ราคา 52 ดอลลาร์ต่อหุ้น และหลังจากเปิดตลาด หุ้นของ Unity ก็พุ่งไปที่ราคา 75 ดอลลาร์ หรือสูงกว่า 31% และเมื่อปิดตลาด ราคาของ Unity อยู่ที่ 68.35 ดอลลาร์
Unity Technologies บริษัทเจ้าของเอนจินเกม Unity เป็นอีกรายที่ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (SEC) เพื่อขายหุ้น IPO เข้าตลาด
ธุรกิจของ Unity แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
ก่อนหน้านี้ ผู้สร้างเกมสามารถใช้ Unreal Engine (UE) สร้างเกมได้ฟรี แต่จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ 5% จากยอดขาย หากทำเงินได้ตั้งแต่ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อไตรมาสขึ้นไป ล่าสุด UE ให้ผู้สร้างเกมใช้งานได้ฟรี และจะเริ่มเก็บ 5% หลังเกมทำเงินได้เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
เช่น หากผู้สร้างมีรายได้จากการขายเกม 2 ล้านเหรียญ ก็จะต้องจ่ายเพียง 5 หมื่นเหรียญ ซึ่งเป็น 5% ของเงิน 1 ล้านที่เกินมา และถ้าจำหน่ายเกมบน Epic Game Store ก็จะไม่ต้องเสีย 5% นี้เลย ไปเสียแค่ 12% ที่ต้องจ่ายให้ Epic Game Store เท่านั้น (เทียบกับ 30% บน Steam)
Epic Games เปิดตัว Unreal Engine 5 ที่เน้นความสมจริงในแบบ photorealism (ภาพเขียนที่เหมือนภาพถ่าย) ในระดับเดียวกับ CG พร้อมโชว์เดโมแบบไลฟ์ (ไม่ใช่พรีเรนเดอร์) ที่รันบน PlayStation 5 ในชื่อ Lumen in the Land of Nanite ที่เน้นโชว์คอร์เทคโนโลยีใหม่ของเอนจิน 2 ตัว
ตัวแรก Lumen (แสง) ที่เน้นไปที่การสะท้อน การกระจายและการดูดซับแสงของวัตถุรอบ ๆ ต้นกำเนิดแสงให้มีความสมจริงมากที่สุด และตัวที่สองคือ Nanite สำหรับสร้างวัตถุและสิ่งแวดล้อมรอบตัวจากโพลีกอนขนาดเล็กระดับพิกเซลรวมกันนับล้าน ๆๆ โพลีกอน สามารถอิมพอร์ทจากเครื่องมือสร้างภาพ 3 มิติได้โดยตรง โดยตัวเอนจินจะปรับและสเกลให้อัตโนมัติ
Epic Games ออกอัพเดต Unreal Engine 4 เวอร์ชัน 4.25 ให้ซัพพอร์ทคอนโซลเจนใหม่ทั้ง PlayStation 5 และ Xbox Series X แล้ว รวมถึงรองรับฟีเจอร์ต่าง ๆ อย่างเช่นระบบเสียงของ PlayStation 5, รองรับระบบออนไลน์และรองรับ ray tracing แบบเรียลไทม์
ปัจจุบัน Unreal Engine ไปไกลกว่าการเป็นแค่เอนจินสำหรับเกมแล้ว เพราะตัวเอนจินเองก็รองรับการทำงานและถูกนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรือการสร้างภาพ 3D จากการสแกน (point cloud) จากเซ็นเซอร์ LiDAR รวมถึงการรองรับ Mixed Reality บน HoloLens 2
ที่มา - Unreal Engine