Slack แอพคุยงานที่หลายคนใช้ ประกาศรับเงินลงทุนรอบล่าสุดอีก 250 ล้านดอลลาร์ นำโดยกองทุน Vision Fund ของ SoftBank และนักลงทุนรายอื่น ทำให้มีมูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 5.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดในปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์
Slack บอกว่าจะนำเงินที่ได้ครั้งนี้มาใช้ในการดำเนินงานทั่วไป ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใดเป็นพิเศษ ทั้งนี้ Slack ยังบอกว่าบริษัทมีรายได้จากองค์กรที่สมัครใช้งานแล้วกว่า 200 ล้านดอลลาร์
ที่มา: Bloomberg
The Wall Street Journal รายงานว่ากองทุน Vision Fund ของ SoftBank ได้เริ่มเจรจาขอซื้อหุ้น Uber จากผู้ถือหุ้นเดิมแล้ว ซึ่งหากการเจรจาบรรลุ SoftBank อาจใช้เงินสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์
เงื่อนไขของ SoftBank นั้นไม่ง่าย เพราะกำหนดว่าจะต้องได้หุ้น Uber เป็นจำนวนราว 17-22% เพื่อให้มีอำนาจที่จะส่งคนไปอยู่ในบอร์ดบริหาร 2 คน และราคาที่ SoftBank เสนอซื้อนั้น ก็ลดจากราคาหุ้นอ้างอิงตามราคาเพิ่มทุนล่าสุดถึง 30% หรือลดมากกว่านั้น
เหตุผลที่ SoftBank สามารถเสนอขอซื้อหุ้น Uber ในราคาที่ลดลงได้ ก็เพราะปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจนั่นเอง
SoftBank และ Sprint ประกาศจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือบล็อกเชนใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เหล่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มาใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า Carrier Blockchain Study Group หรือ CBSG
สมาชิกก่อตั้งเริ่มต้นนั้นมีเพียง SoftBank, Sprint และ TBCASoft สตาร์ทอัพผู้พัฒนาบริการบล็อกเชนสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม โดยตอนนี้สมาชิกทั้งสามกำลังเริ่มต้นทดสอบระบบแพลตฟอร์มจ่ายเงินข้ามผู้ให้บริการ โดยใช้เครื่องมือบล็อกเชนจาก TBCASoft และในตอนหลังก็เริ่มมีผู้ให้บริการโทรศัพท์อีกเจ้าของไต้หวันคือ Far EasTone มาเข้าร่วมกลุ่มด้วย
เราเห็นหุ่นยนต์ให้พรไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวมาฟังบทสวดส่งผู้ตายจากหุ่นยนต์บ้าง เมื่อ Pepper หุ่นยนต์รับแขกจาก Nestle และ SoftBank ที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2014 ได้รับบทบาทหน้าที่ใหม่จาก SoftBank ให้กลายเป็นพระรับจ้างสวดศพ ซึ่งถูกนำมาโชว์ในงาน Life Ending Industry Expo ที่กรุงโตเกียว
ซอฟต์แวร์นี้ถูกเขียนขึ้นโดยบริษัท Nissei Eco ทำให้ Pepper สามารถสวดส่งผู้ตายในเสียงหุ่นยนต์ พร้อมตีกะลาเป็นจังหวะ ตามรูปแบบของพระญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่มีพระที่ว่าง ขณะที่ค่าบริการของ Pepper อยู่ที่เพียง 50,000 เยน (ราว 15,000 บาท) ซึ่งถูกกว่าพระจริงๆ ที่อยู่ที่ราว 240,000 เยน (ราว 80,000 บาท)
SoftBank ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีและโทรคมนาคมจากญี่ปุ่น ที่รุกลงทุนในธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดผู้บริหาร SoftBank เผยความสนใจลงทุนในธุรกิจแอพเรียกรถในอเมริกา โดยสนใจทั้ง Uber และ Lyft
ถ้าฟังดูก็แค่สนใจลงทุนปกติ ก็ต้องบอกว่าปัจจุบัน SoftBank นั้นมีพอร์ตการลงทุนในแอพเรียกรถแท็กซี่อยู่แล้ว ได้แก่ Grab, Didi Chuxing (จีน), Ola (อินเดีย) และ 99 (ละตินอเมริกา) เรียกว่าแทบจะครบตลาดหลักแล้ว ขาดแค่อเมริกาเท่านั้น
ซีอีโอ Masayoshi Son กล่าวว่าอเมริกาเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และมองว่าอุตสาหกรรมเศรษฐกิจแบ่งปันมีโอกาสโตในภาพรวมอีกมาก บริษัทจึงสนใจลงทุนทั้งใน Uber และ Lyft แต่ขึ้นอยู่กับการเจรจากับทั้งสองบริษัทต่อไป
Grab ประกาศรับเงินลงทุนก้อนใหม่รอบล่าสุดอีก 2,000 ล้านดอลลาร์ โดยมี Didi Chuxing แอพแท็กซี่รายใหญ่ของจีน และกลุ่ม SoftBank เป็นผู้นำในการลงทุนรอบนี้ และเงินลงทุนรอบนี้อาจเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2,500 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนกลุ่มใหม่ที่เข้ามา ซึ่งทำให้เป็นการเพิ่มทุนครั้งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Grab ระบุว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีส่วนแบ่ง 95% ในฐานะแอพเรียกรถแท็กซี่เดิมในระบบ และมีส่วนแบ่ง 71% ในตลาดเรียกรถยนต์ส่วนตัวสำหรับโดยสาร มีการเรียกรถโดยสารเฉลี่ยวันละ 3 ล้านครั้ง
Boston Dynamics บริษัทหุ่นยนต์ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alphabet ที่กำลังประกาศขายเนื่องจากยังไม่มีแผนทำเงินในระยะสั้น (เคยมี Toyota คิดจะซื้อ) ตอนนี้ก็ได้ผู้ซื้อรายใหม่คือ Softbank จากประเทศญี่ปุ่น ที่ยืนยันว่าจะเข้าซื้อบริษัท Boston Dynamics แล้ว
ผลงานหุ่นยนต์ของ Boston Dynamics นั้นมีหุ่นยนต์หลายแบบ เช่น หุ่นยนต์สุนัข, หุ่นยนต์เดินสองขา Atlas โดยบริษัทนี้ Google ซื้อมาตั้งแต่ปี 2013
ยังคงมีข่าวลงทุนจากกองทุน Vision Fund ของ SoftBank ออกมาอยู่เรื่อยๆ หลังจากเมื่อวานมีข่าว SoftBank ลงทุนซื้อหุ้น Nvidia 4,000 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดลงทุนในสตาร์ทอัพแชร์รถของบราซิล (99) เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านดอลลาร์ โดยทางสตาร์ทอัพคาดหวังว่าการระดมทุนครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทแข่งกับอูเบอร์ได้
เป้าหมายของ SoftBank คือเป็นผู้ลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด หนึ่งในขอบเขตการลงทุนคือบริษัทแชร์รถผ่านแอพ ไม่เพียง 99 เท่านั้นที่ SoftBank เข้าไปลงทุน บริการแชร์รถของจีนหรือ DiDi ก็ระดมทุนจาก SoftBank ได้ถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ น่าแปลกที่บรรดาบริษัทแชร์รถที่ SoftBank เข้าไปลงทุนไม่มีชื่ออูเบอร์
ปีนี้มาแรงจริงๆ สำหรับ SoftBank กองทุนยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น เมื่อไม่กี่วันก่อนมีข่าวว่า SoftBank สามารถระดมทุนในโครงการ Vision Fund ได้แล้วถึง 93 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดมีข่าวออกมาว่า หนึ่งในเม็ดเงินนั้นจะลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท Nvidia เป็นจำนวนเงิน 4 พันล้านดอลลาร์
การเข้าซื้อหุ้น Nvidia ของ SoftBank ในครั้งนี้ตรงตามเป้าหมายของผู้ก่อตั้งคือ Masayoshi Son ที่ตั้งเป้าจะเป็นบริษัทลงทุนเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ Nvidia ก็กำลังก้าวหน้าในการทำชิป machine learning ตั้งแต่ดาต้าเซนเตอร์ไปจนถึงรถไร้คนขับ
ปีที่แล้ว SoftBank จับมือกองทุนรัฐบาลซาอุฯ ตั้งกองทุนเทคโนโลยีขนาดมหึมา 2.5 ล้านล้านบาท (70 พันล้านดอลลาร์)
ความคืบหน้าล่าสุดของกองทุน SoftBank Vision Fund ตอนนี้ระดมเงินได้แล้ว 93 พันล้านดอลลาร์ และตั้งเป้าระดมให้ได้ครบ 100 พันล้านดอลลาร์ภายใน 6 เดือน
นักลงทุนหลักในกองทุนนี้คือ SoftBank และ Public Investment Fund of the Kingdom of Saudi Arabia (PIF) ส่วนนักลงทุนรายอื่นๆ ที่เข้ามาเพิ่ม มีทั้ง Apple, Foxconn, Qualcomm, Sharp และกองทุน Mubadala Investment Company of the United Arab Emirates ของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์
Andy Rubin บิดาแห่ง Android เริ่มมีความเคลื่อนไหว หลังจากมีข่าวว่าเขาเตรียมกลับเข้าสู่วงการมือถืออีกครั้งหลังลาออกจาก Google ในปี 2014
ครั้งนี้ SoftBank ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมลงทุนเงินเป็นร้อยๆ ล้านดอลลาร์ในโปรเจกต์ด้านฮาร์ดแวร์และ AI ที่ Rubin กำลังทำอยู่
แม้ SoftBank เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ก็ลงทุนเรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ค่อนข้างมาก อย่างการเข้าซื้อบริษัท Aldebaran Robotics ในปี 2012 และ SoftBank ยังเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ Pepper ด้วย
โครงการ AMP ของกูเกิลได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ เราเห็นบริษัทอื่นๆ อย่าง eBay, Pinterest, LinkedIn, WordPress หรือแม้แต่คู่แข่งโดยตรงอย่าง Bing รับไปใช้งาน
บริษัทใหญ่รายล่าสุดที่ร่วมใช้ AMP คือผู้ให้บริการ search engine ยอดนิยมจากเอเชีย ได้แก่ Baidu และ Sogou จากจีน และ Yahoo Japan จากญี่ปุ่น
กูเกิลระบุว่าความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ AMP ในเอเชีย เพราะ Baidu กับ Sogou มีส่วนแบ่งตลาดในจีนรวมกัน 90% ส่วน Yahoo Japan มีลูกค้าใช้งาน 58 ล้านรายต่อวัน ส่วนตอนนี้มีเพจ AMP จำนวน 1.7 พันล้านเพจแล้ว
SoftBank ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ของญี่ปุ่น ตอบรับกระแสภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ข้ามยุคข้ามสมัยอย่าง Rogue One: A Star Wars Story ด้วยสมาร์ทโฟนรุ่นพิเศษ Star Wars ผลิตโดย Sharp มี 2 สี ดำและขาวให้เลือกว่าคุณจะอยู่ฝั่งไหน ระหว่าง Dark Side หรือ Light Side
สเปกมือถือไม่มีอะไรแปลกใหม่ หน้าจอ 5.3 นิ้ว, หนา 7.6 มม. หนัก 155 กรัม, ความละเอียดหน้าจอ 1080p, ชิปเซ็ต Snapdragon 820, กล้อง 22.6 megapixel, แบตเตอรี่ 3,000 มิลลิแอมป์, มี TV จูนเนอร์, แรม 3GB, ความจุ 32GB มีช่องใส่ micro SD เพิ่ม
SoftBank บริษัทไอที-โทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศตั้งกองทุน SoftBank Vision Fund เพื่อลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก ในเบื้องต้น กองทุนนี้จะมีเงินทุนอย่างน้อย 70 พันล้านดอลลาร์ (2.47 ล้านล้านบาท) ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมาจาก
นอกจากนี้ยังมีกองทุนหรือนักลงทุนรายใหญ่ กำลังเจรเจาเข้าร่วมกับกองทุนนี้ คาดว่ากองทุนอาจมีขนาดใหญ่ถึง 100 พันล้านดอลลาร์ (3.5 ล้านล้านบาท) ในอนาคต
Grab สตาร์ทอัพแอพเรียกรถโดยสาร ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่เพิ่มอีก 750 ล้านดอลลาร์ โดยมีกลุ่ม SoftBank เป็นแกนนำในการลงทุนครั้งนี้ ทำให้บริษัทได้รับเงินลงทุน รวม-แล้ว กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ มีมูลค่ากิจการประเมินอยู่ราว 3 พันล้านดอลลาร์
Grab ระบุว่าเงินลงทุนรอบนี้จะนำมาขยายกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นหลักของ Grab ที่ครองส่วนแบ่งตลาดไว้สูงสุดต่อไป
หนึ่งในผู้ลงทุนรายสำคัญของ Grab ก็คือ Didi Chuxing ผู้ให้บริการแอพเรียกรถโดยสารจากประเทศจีน ที่ Uber เพิ่งขายกิจการในประเทศจีนไป ขณะที่ปลายปีที่แล้วก็มีข่าว Didi รวมกลุ่มแอพเรียกแท็กซี่ในหลายประเทศเป็นเครือข่ายกัน ก็น่าจะพอให้เห็นภาพการแข่งขันที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปอีกครับ
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา SoftBank บริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่นได้ประกาศเข้าซื้อ ARM Holdings บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม ARM ด้วยมูลค่าราว 1.2 ล้านล้านบาท โดยตอนนี้ทาง SoftBank ประกาศว่าทางบริษัทเข้าซื้อ ARM สำเร็จเรียบร้อยแล้ว และจะยังให้อิสระ ARM ในการบริหารงานต่อไป
เหตุผลที่ SoftBank เข้าซื้อบริษัท ARM Holdings นั้น เพื่อเป็นการคว้าโอกาสจาก IoT เนื่องจากชิพสถาปัตยกรรม ARM มักจะเป็นตัวเลือกของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน รวมถึงอุปกรณ์พกพาหลายเจ้า โดย SoftBank มีประวัติลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น ผู้ให้บริการ Sprint ในสหรัฐ, ซื้อหุ้น Alibaba ในจีน และ Snapdeal ในอินเดีย เป็นต้น
SoftBank ประกาศเข้าซื้อ ARM Holdings ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม ARM ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ด้วยมูลค่าดีลสูงถึง 24 พันล้านปอนด์ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท)
ซีอีโอของ SoftBank กล่าวว่า ARM Holdings จะยังดำเนินการเป็นอิสระต่อไป โดย ARM จะช่วยให้บริษัทคว้าโอกาสจาก Internet of Things ได้
SoftBank มีประวัติลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งซื้อผู้ให้บริการ Sprint ในสหรัฐ ซื้อหุ้น Alibaba ในจีนและ Snapdeal ในอินเดีย เป็นต้น
ที่มา: SoftBank ผ่าน Windows Central
หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันว่า SoftBank บริษัทโทรคมนาคมญี่ปุ่น ซื้อกิจการ ARM Holdings บริษัทจากสหราชอาณาจักรผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีซีพียูตระกูล ARM ด้วยมูลค่า 24.3 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
Financial Times ระบุว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ SoftBank ซื้อ ARM ช่วงนี้เป็นเพราะกรณี Brexit ส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนตัวลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับเงินเยน ความแตกต่างของค่าเงินทำให้ SoftBank จ่ายเงินน้อยลงมาก
Lenovo ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ Microsoft ประเทศญี่ปุ่นและ SoftBank เปิดตัว SoftBank 503LV มือถือ Windows 10 Mobile สเปคเป็นดังนี้
SoftBank 503LV จะเข้าสู่ตลาดเดือนตุลาคมนี้ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยราคาครับ
จากข่าว Nikesh Arora ตัวเต็งว่าที่ซีอีโอคนถัดไป ลาออกจาก SoftBank แล้ว ล่าสุด Arora ออกมาให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Fortune แล้ว
Arora อธิบายสาเหตุของเรื่องทั้งหมดว่า Masayoshi Son ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง SoftBank พูดต่อที่สาธารณะว่าจะให้ Arora เป็นซีอีโอคนถัดไปเมื่อเขาอายุครบ 60 ปี แต่ในงานประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อไม่นานมานี้ เขากลับประกาศกับผู้ถือหุ้นว่าเขาจะบริหารบริษัทต่อไป
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว Nikesh Arora หัวหน้าฝ่ายธุรกิจของกูเกิล ย้ายไปอยู่กับ SoftBank บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี SoftBank ตั้ง Nikesh Arora อดีตผู้บริหารกูเกิลเป็นประธานบริษัท ตัวเต็งสืบตำแหน่งซีอีโอแทน Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งบริษัท
แต่โลกอันสดใสอยู่ได้ไม่นานนัก วันนี้ Arora ประกาศลาออกจาก SoftBank เสียแล้ว
Tencent เจ้าของ Wechat และผู้ผลิตด้านไอทีรายใหญ่ของจีน ซื้อบริษัท Supercell เจ้าของเกมดังอย่าง Clash of Clan และ Hay Day มูลค่าดีลอาจแตะ 10.2 พันล้านดอลลาร์ มูลค่าดีลจะปิดยอดภายในเดือนกันยายนนี้ Tencent จะได้รับส่วนแบ่ง 73% จาก SoftBank บริษัทไอทีญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Supercell
Tencent จะไม่ควบรวมกิจการมาเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ Supercell ยังคงมีอิสระในหารบริหารจัดการตัวเอง แนวทางการผลิตยังคงขึ้นอยู่กับสำนักงานใหญ่ที่ฟินแลนด์ ในขณะเดียวกัน Supercell ยังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ความเชียวชาญของ Tencent ได้ และระหว่างการดำเนินการทั้งคู่จะเดินหน้าขับเคลื่อนเขย่าตลาดเกมในจีน
ที่มา - Bussiness Wire
เว็บไซต์ข่าว The Verge รายงานว่า Pizza Hut Asia, MasterCard และ SoftBank ประกาศร่วมกันว่าจะนำหุ่นยนต์ Pepper ที่ SoftBank ร่วมกับ Nestle และพันธมิตรอื่นๆ เช่น IBM พัฒนาขึ้น นำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกตามร้าน Pizza Hut ในเอเชีย (ไม่ระบุว่าที่ใดบ้าง)
สำหรับการใช้งาน เพียงแค่ผู้ใช้บริการเชื่อมบริการ MasterPass ที่เป็นระบบรับชำระเงินของทาง MasterCard เข้ากับระบบซึ่งแสดงผลอยู่ที่หน้าอกของหุ่นยนต์ ก็จะสามารถสั่งงานได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะแนะนำลูกค้าได้ว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นแนะนำอะไรบ้าง รวมถึงแจ้งเตือนสิทธิพิเศษต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนการชำระเงินก็ใช้ MasterPass ที่ผูกเอาไว้ตอนแรก จ่ายเงินได้ทันที
ปีที่แล้ว บริษัท SoftBank ของญี่ปุ่นวางขายหุ่นยนต์ต้อนรับชื่อ Pepper และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปีนี้ SoftBank ประกาศว่านักพัฒนาสามารถสร้างแอพให้กับ Pepper ได้แล้ว (เรียกว่า RoboApps) โดยใช้เครื่องมือพัฒนาที่มีฐานมาจาก Android
ที่หน้าอกของหุ่น Pepper มีแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ฝังอยู่ (ตัวหุ่นยนต์ใช้ระบบปฏิบัติการแยกกันคือ NAOqi ของ SoftBank เอง พัฒนามาจาก Gentoo Linux) ตัวแท็บเล็ตนี้จะช่วยให้ Pepper รับคำสั่งจากผู้ใช้งานและแสดงข้อมูลต่างๆ บนหน้าจอได้
จากพนักงานรับแขก จะได้กลายเป็นเพื่อนเล่นเด็กๆ แทนแล้วสำหรับ Pepper หุ่นยนต์ต้อนรับจากการจับมือกันของ Nestle กับ SoftBank ประกาศขายจริงอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
Pepper เป็นหุ่นรับแขกที่แต่เดิมนำมาใช้ช่วยลูกค้าเลือกเครื่องชงกาแฟที่เหมาะกับตัวเอง ผ่านระบบวิเคราะห์ใบหน้า และน้ำเสียง ซึ่งนอกจากจะช่วยขายได้แล้ว Pepper ดูจะเป็นที่นิยมกับบรรดาเด็กๆ และผู้สูงอายุเอาเรื่อง ผู้ผลิตอย่าง SoftBank จึงทำหุ่นยนต์ Pepper มาขายจริงเสียเลย