Grab ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของ Trans-cab ผู้ให้บริการรถแท็กซี่รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2003 มีรถยนต์ในฟลีตมากกว่า 2,500 คัน โดยดีลดังกล่าวรวมธุรกิจอื่นของ Trans-cab เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงรถ บริการเช่ารถส่วนตัว เข้ามาด้วย
Yee Wee Tang ผู้บริหาร Grab สิงคโปร์ พูดถึงดีลดังกล่าวว่าเป็นการจับคู่ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทำให้จำนวนคนขับรถบนแพลตฟอร์มมีมากขึ้น รองรับความต้องการของลูกค้าได้ดีมากขึ้น
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่ The Straits Times อ้างแหล่งข่าวว่าอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านดอลลาร์
มีรายงานจากสำนักข่าวรัสเซีย @runews ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนแฮ็กระบบของแอพเรียกรถ Yandex Taxi และสั่งให้แท็กซี่ที่ว่างอยู่ตอนนั้นไปรวมตัวกันที่ถนน Kutuzovsky Prospekt กลางกรุงมอสโก และเกิดภาวะจราจรติดขัดบริเวณนั้น
โฆษกของ Yandex ยืนยันการแฮ็กระบบครั้งนี้จริง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าถูกโจมตีได้อย่างไร บอกแค่ว่าภาวะการจราจรคลี่คลายภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
เหตุการณ์นี้อาจคล้ายๆ กับภาพยนตร์ The Fate of the Furious (Fast and Furious ภาค 8) ที่ตัวละครในหนังสร้างภาวะรถติดในนครนิวยอร์กด้วยการแฮ็กระบบรถยนต์ แต่กรณีการแฮ็ก Yandex ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดจากแอพเรียกรถลักษณะนี้
Lyft แอปเรียกรถแท็กซี่ที่เน้นทำตลาดในอเมริกาและเป็นคู่แข่งของ Uber ประกาศตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ Lyft Media เพื่อดูแลงานด้านสื่อและโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของบริษัท
โดยระบบโฆษณาของ Lyft นั้น จะพ่วงไปกับบริการต่าง ๆ ได้แก่ Lyft Halo ป้ายโฆษณาติดบนรถยนต์ ที่มาจากการซื้อกิจการเมื่อปี 2020, Lyft Tablets แท็บเล็ตแสดงข้อมูลการโดยสารในรถยนต์ โดยขายโฆษณาไปกับรายการวิทยุที่ร่วมมือกับ iHeartRadio, Lyft Bikes ติดตั้งป้ายโฆษณาในจุดจอดรถจักรยาน และ Lyft Skins ซึ่งเป็นการขายสื่อโฆษณาให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อแสดงผลแบบเป็นลูกเล่นในแอป
Huawei เปิดตัว HarmonyOS 3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเดตล่าสุด ที่รองรับอุปกรณ์ทุกชนิดตั้งแต่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต รถยนต์ อุปกรณ์ในบ้าน และอื่น ๆ โดยจะเปิดให้อัพเดตทั่วไปตั้งแต่เดือนกันยายนนี้
ฟีเจอร์อัพเดตต่าง ๆ เป็นการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ที่รัน HarmonyOS 3 ด้วยกัน แต่มีฟีเจอร์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ คือการเพิ่มแอปสำหรับเรียกรถโดยสาร ที่ Huawei เป็นผู้พัฒนาเองในชื่อ Petal Chuxing ที่เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการรายต่าง ๆ อีกที ซึ่งในช่วงแรกจะให้บริการเฉพาะในเมืองใหญ่ของจีน
Uber ประกาศว่าได้รับการต่อใบอนุญาตให้บริการในพื้นที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อไปอีก 30 เดือน (2 ปีครึ่ง) หลังจากได้รับใบอนุญาตระยะเวลา 18 เดือน ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2020 ซึ่งใบอนุญาตใกล้ครบกำหนดแล้ว
Uber บอกว่ารู้สึกยินดีที่ได้รับอนุญาตให้บริการต่อ พร้อมบอกว่าจะปฏิบัติตามมาตรฐานข้อกำหนดของ TfL หน่วยงานกำกับดูแลการคมนาคมของลอนดอน ที่มีความเข้มงวดสูง พร้อมบอกเป้าหมายว่าจะใช้ยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2025
Uber บรรลุข้อตกลงร่วมกับแท็กซี่นิวยอร์กซิตี้ โดยทาง Uber จะเปิดให้เรียกแท็กซี่ของนิวยอร์กผ่านแอปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Uber จะนำข้อมูลจากผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แท็กซี่ที่ได้ใบอนุญาตจาก Taxi and Limousine Commission (TLC) ของนิวยอร์กซิตี้ ได้แก่ Creative Mobile Technologies และ Curb Mobility ที่มีแท็กซี่นิวยอร์กซิตี้บนแพลตฟอร์มกว่า 14,000 คันมาแสดงบนแอป Uber
Bolt แอปเรียกรถแท็กซี่จากเอสโตเนีย ซึ่งเน้นทำตลาดในยุโรป ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 628 ล้านยูโร (ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท) นำโดย Sequoia และ Fidelity Management ทำให้มูลค่ากิจการของ Bolt เพิ่มเป็น 7,400 ล้านยูโร (ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท)
Markus Villig ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Bolt กล่าวว่าจะนำเงินทุนก้อนนี้มาใช้ขยายธุรกิจ และปรับปรุง ทั้งบริการรถโดยสารและเดลิเวอรี โดยตอนนี้ตลาดหลักของ Bolt มีใน 45 ประเทศ 400 เมือง ในยุโรปและแอฟริกา
สำหรับประเทศไทย Bolt เริ่มทดสอบให้บริการแล้วในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
Waymo บริษัทรถยนต์ไร้คนขับภายใต้ Alphabet ประกาศร่วมมือกับ Geely ผู้ผลิตรถยนต์จากจีนเพื่อพัฒนารถยนต์ไร้คนขับแบบไฟฟ้าร่วมกัน และเตรียมนำมาให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับ
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ Waymo จะอินทิเกรตระบบ Waymo Driver ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Waymo เข้ากับรถยนต์ไฟฟ้า Zeekr ของ Geely สำหรับใช้งานในตลาดสหรัฐฯ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะนำรถยนต์ Zeekr เข้ามาใช้งานในฟลีตรถแท็กซี่ไร้คนขับ Waymo One และถือเป็นก้าวสำคัญของเป้าหมายที่ต้องการให้ฟลีต Waymo One เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
Uber ในอินเดียประกาศเพิ่มบริการจองรถโดยสาร ผ่าน WhatsApp ซึ่งเป็นแอพแชตที่คนอินเดียนิยมใช้กันมากที่สุด และเป็นครั้งแรกที่ Uber ให้บริการจองรถผ่านระบบแชตแบบนี้เช่นกัน
ขั้นตอนการจองรถโดยสารนั้น ผู้ใช้งานต้องทำผ่านบัญชีทางการของ Uber ใน WhatsApp ซึ่งเป็นแชตบอต โดยไม่ต้องโหลดแอพ Uber เพิ่มเติม ข้อมูลที่ต้องแจ้งได้แก่จุดรับ จุดส่ง และระบบจะแจ้งราคาค่าโดยสารเบื้องต้น พร้อมบอกระยะเวลาที่คนขับจะเดินทางมาถึง ส่วนฝั่งคนขับนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกอย่างยังทำงานผ่านแอป Uber แบบเดิม
บริการนี้ Uber จะเริ่มทดสอบที่เมือง Lucknow เป็นที่แรก และจะขยายไป New Delhi และเมืองอื่น ๆ ทั่วประเทศอินเดียต่อไป
CNBC รายงานว่า Ola สตาร์ทอัพบริการเรียกรถแท็กซี่ของอินเดีย เตรียมยื่นไฟลิ่งเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายที่ตลาดหุ้นในประเทศ โดยคาดมีการขายหุ้นเพิ่มทุนมูลค่าราว 1,000 ล้านดอลลาร์
Ola มีผู้ถือหุ้นรายสำคัญคือกลุ่ม SoftBank ซึ่งในปีนี้มีหลายบริษัทที่ SoftBank ลงทุน ได้ exit เข้าตลาดหุ้น นอกจากในอินเดียแล้ว Ola ยังมีการดำเนินงานในอังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ในปีนี้สตาร์ทอัพรายใหญ่ในอินเดียหลายราย ต่างมีแผนนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น โดย Zomato แอปส่งอาหารรายใหญ่ ได้เข้าตลาดหุ้นไปแล้ว ส่วนบริการจ่ายเงินผ่านมือถือ Paytm กำลังยื่นไฟลิ่ง และ Flipkart อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ก็มีข่าวว่าเตรียมไอพีโอเช่นกัน
Uber เผยว่าตอนนี้ธุรกิจการเดินทาง (mobility) ของบริษัทในสหรัฐฯ เริ่มกลับมาสู่จุดสูงสุดอีกครั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการทยอยฉีดวัคซีนและผ่อนคลายกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศเพื่อพยายามกลับสู่สถานการณ์ปกติของสหรัฐฯ
Uber เผยกับสำนักข่าว WSJ ว่า ตอนนี้ยอดเรียกรถในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาถือว่ากลับมาสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้จุดสูงสุดคือเดือนมีนาคมปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในสหรัฐฯ จนต้องล็อกดาวน์ในหลายเมือง เป็นสัญญาณว่าการเดินทางในสหรัฐฯ เริ่มกลับมาแล้ว หลังจากที่รัฐบาลกลางเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในหลายรัฐ
Didi Chuxing แอปเรียกรถโดยสารรายใหญ่ของจีน ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งแบบ confidential เพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กแล้ว ซึ่งวิธีการยื่นเอกสาร confidential มีความแตกต่างคือจะมีระยะเวลาเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงานสั้นลง ก่อนบริษัทเข้าตลาดหุ้น ด้วยเหตุผลป้องกันคู่แข่งทางธุรกิจรับรู้ข้อมูล
มูลค่ากิจการที่ Didi ประเมินในไอพีโอคือราว 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยคาดว่ามีการขายหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 10% ของหุ้นทั้งหมด ทำให้เป็นไอพีโอหุ้นบริษัทจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ Alibaba ในปี 2014
Didi ควบรวมกิจการกับคู่แข่งรายสำคัญในจีน Kuaidi เมื่อปี 2015 มีมูลค่ากิจการเมื่อปี 2017 ที่ 56,000 ล้านดอลลาร์ และปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์
DiDi Chuxing แอปเรียกรถโดยสารรายใหญ่ของจีน ประกาศเตรียมเปิดให้บริการในแอฟริกาใต้ โดยจะเริ่มที่ Cape Town เป็นเมืองแรก ซึ่งเป็นประเทศที่ 17 ที่ DiDi เข้ามาทำตลาด
ปัจจุบัน DiDi ให้บริการในกว่า 400 เมืองทั่วประเทศจีน ขณะที่ในตลาดต่างประเทศ DiDi บอกว่ามีผู้ใช้งานมากกว่า 550 ล้านบัญชี ใน 16 ประเทศ รวมทั้งเอเชีย ยุโรป ลาตินอเมริกา และออสเตรเลีย
ผู้ให้บริการแอปเรียกรถโดยสารในแอฟริกาใต้ปัจจุบันได้แก่ Uber และ Bolt โดยมีฐานผู้ใช้รวมจำนวนหลักล้านคน ขณะที่ภาพรวมตลาดมีความท้าทายเนื่องจากข้อกฎหมายด้านบริการขนส่งของหน่วยงานท้องถิ่น
ที่มา: TechCrunch
เมื่อปีที่แล้ว Uber ประกาศเข้าซื้อบริษัท Autocab บริการทำ SaaS สำหรับอุตสาหกรรมแท็กซี่และรถเช่าส่วนตัว ล่าสุดตอนนี้ Competition and Markets Authority หรือ CMA ของสหราชอาณาจักรกำลังเริ่มสอบสวนดีลนี้ว่ามีผลทำให้ลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
Autocab เป็นบริษัทให้บริการเครื่องมือแก่แท็กซี่ตั้งแต่ปี 1991 แต่ช่วงหลังมาบริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มชื่อว่า iGo Everywhere เป็นบริการ SaaS สำหรับจองเวลาแท็กซี่โดยผู้ให้บริการแท็กซี่สามารถใส่โลโก้ของตัวเองเข้าไปในแอปของ Autocab ได้ ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จึงเป็นเหมือนแอปเรียกรถเพื่อผู้ขับรถแท็กซี่รายย่อยที่ไม่มีทรัพยากรในการทำแอปเองก็สามารถให้บริการเหมือนกับ Uber ได้
Bolt แพลตฟอร์มเรียกรถจากยุโรปและอเมริกาที่เปิดทดลองให้บริการในกรุงเทพไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขยายพื้นที่ เปิดทดลองให้บริการเพิ่มเติมในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว หลัง Bolt ระบุว่าประสบความสำเร็จในการเปิดตัวในกรุงเทพฯ เมื่อช่วงที่ผ่านมา โดย Ireoluwa Obatoki ผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Bolt กล่าวว่ามีผู้เข้ามาใช้งานในระดับหลายพันครั้ง
อินเดียประกาศแนวทางในการกำกับดูแลแอปเรียกรถโดยสารแบบ ride-hailing ซึ่งในอินเดียมีผู้ให้บริการรายใหญ่คือ Ola และ Uber ซึ่งข้อกำหนดที่ออกมามีทั้งส่วนการควบคุมค่าโดยสาร และเพิ่มการดูแลสภาพแวดล้อมทำงาน
ข้อกำหนดระบุว่าผู้ให้บริการแอปประเภทดังกล่าวทุกรายไม่จำกัดแค่ Ola หรือ Uber สามารถหักเงินค่าธรรมเนียมจากค่าโดยสารสูงสุด 20% เท่ากับว่าคนขับรถจะได้เงินอย่างน้อย 80% ในกรณีความต้องการรถโดยสารมีสูง สามารถกำหนดค่าโดยเพิ่ม (surge price) ได้ไม่เกิน 1.5 เท่า ของราคาปกติ ในทางกลับกันการลดราคาค่าโดยสารก็ทำได้ต่ำที่สุด 50% ของราคาปกติ และค่าปรับกรณียกเลิกการเดินทางสูงสุด 10% ของค่าโดยสาร แต่ไม่เกิน 100 รูปี
อินเดียออกกฎควบคุมบริการเรียกรถผ่านแอป โดยข้อกำหนดใหม่นี้ครอบคลุมบริการเรียกรถในหลายมิติ ตั้งแต่การคิดค่าคอมมิชชั่น, การคิดค่าโดยสารแบบ surge pricing และการจำกัดการทำงานต่อวัน
เนื้อความของข้อกำหนดใหม่นี้เริ่มตั้งแต่การคิดค่าคอมมิชชั่น กฎใหม่กำหนดให้บริษัทหักค่าคอมมิชชั่นจากผู้ขับรถได้สูงสุดเพียง 20% ของค่าโดยสารเท่านั้น (เท่ากับคนขับจะต้องได้รับขั้นต่ำ 80%) และกำหนดว่าบริษัทจะต้องจัดหาประกันให้ครอบคลุมรวมถึงต้องจำกัดการทำงานไม่ให้คนขับขับรถเกิน 12 ชั่วโมงต่อวันด้วย ส่วนการคิดค่าบริการในช่วงคนใช้บริการจำนวนมากหรือ surcharge กำหนดให้คิดได้สูงสุด 1.5 เท่าของค่าโดยสารปกติเท่านั้น
Transport for London หรือ TfL หน่วยงานผู้ดูแลการคมนาคมในกรุงลอนดอน สั่งแบน Ola บริการเรียกรถจากอินเดีย เนื่องจากข้อกังวัลด้านความปลอดภัย พบมีเที่ยวรถที่ขับโดยคนขับที่ไม่มีอนุญาตถึง 1,000 เที่ยว และ Ola ก็ไม่ยอมรายงานเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม Ola ก็จะยื่นขออุทธรณ์ต่อไป และยังมีเวลา 21 วันที่ยังสามารถให้บริการในลอนดอนได้
ปีที่แล้ว Transport for London หรือ TfL หน่วยงานผู้ดูแลการคมนาคมในกรุงลอนดอน ปฏิเสธการต่อใบอนุญาตกิจการของบริษัท Uber เนื่องจากพวว่าระบบของบริษัทปล่อยให้ผู้ขับรถที่ไม่ได้รับอนุญาตอัพโหลดภาพผ่านบัญชีของผู้ขับรถคนอื่น
ล่าสุด ศาลมีคำตัดสินอนุญาตให้ Uber ให้บริการต่อในลอนดอนได้เป็นเวลา 18 เดือน ถือเป็นชัยชนะของบริษัท เพราะลอนดอนเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของ Uber มาตลอด และมีคนขับในระบบถึง 45,000 คน
Uber ประกาศเข้าซื้อ Autocab บริษัทในอังกฤษให้บริการทำ SaaS ให้กับอุตสาหกรรมรถแท็กซี่และรถเช่าส่วนตัว คาดว่าจะส่งผลประโยชน์แก่ Uber เพื่อจะเข้าถึงผู้ใช้งานในตลาดที่ Uber ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทาง Uber ยังไม่เปิดเผยราคาเข้าซื้อ
Bolt แพลตฟอร์มให้บริการการขนส่งในยุโรปและแอฟริกา ประกาศทดลองเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ โดยมีคนขับพร้อมให้บริการกว่า 2,000 คน โดยตัวแอปสามารถดาวน์โหลดได้แล้วทั้ง App Store และ Google Play
Uber ประเทศญี่ปุ่น ประกาศเริ่มให้บริการเรียกรถโดยสารในเมืองหลวง โตเกียว แล้ว หลังเข้ามาทำตลาดในญี่ปุ่น 6 ปี แต่ไม่สามารถให้บริการรถโดยสารแบบ Ride-Share ได้ เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาต จึงเน้นทำตลาดเมืองรองแทน ก่อนหน้านี้บริการของ Uber ในโตเกียวมีเพียงส่งอาหาร Uber Eats
บริการเรียกรถของ Uber ในโตเกียว ใช้วิธีเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทรถแท็กซี่ 3 ราย ได้แก่ Hinomaru Limousine, Tokyo MK และ Ecosystem เรียกชื่อบริการว่า Uber Taxi
คู่แข่งของ Uber ในโตเกียว นอกจากบริการแท็กซี่ท้องถิ่นแล้ว ยังมี Didi Chuxing ที่ร่วมมือกับ SoftBank ให้บริการรถแท็กซี่อีกด้วย
เซ่นพิษเศรษฐกิจจากโรคระบาดอีกราย Ola บริการเรียกรถในอินเดีย ประกาศผ่านอีเมลภายในระบุว่า บริษัทจะปลดพนักงาน 1,400 ราย คิดเป็น 35% ของพนักงานทั้งหมดในบริษัท
Bhavish Aggarwal ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ Ola ระบุในอีเมลด้วยว่า รายได้บริษัทหายไปถึง 95% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาที่มีมาตรการล็อกดาวน์ คนไม่ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ด้านโฆษก Ola บอกว่าพนักงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นฝ่าย food operations และทั้งหมดปฏิบัติการอยู่ในอินเดีย
พนักงานที่ถูกปลดออกจากงานจะได้รับเงินเดือนสามเดือน ประกันสุขภาพครอบคลุมบุพการี การสนับสนุนทางด้านสุขภาพกายและจิตใจไปจนถึงสิ้นปี
Lyft บริการเรียกรถโดยสารคู่แข่ง Uber ในอเมริกา ได้ส่งอีเมลแจ้งคนขับรถ ว่าบริษัทได้ร่วมมือกับ Amazon เพื่อออกโครงการให้ผู้ขับรถของ Lyft มาทำงานให้ Amazon ชั่วคราวได้ ไม่ว่าจะเป็นงานซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค, งานจัดส่งสินค้า และงานจัดการของในคลังสินค้า เพื่อชดเชยรายได้เนื่องจากการเรียกรถโดยสารลดลงไปมาก จากการระบาดของโควิด-19
Lyft แพลตฟอร์มเรียกรถแท็กซี่ที่ทำตลาดในอเมริกาเป็นหลัก และถือเป็นคู่แข่งของ Uber ได้เข้าซื้อกิจการ Halo Cars สตาร์ทอัพที่พัฒนาระบบจอแสดงโฆษณาดิจิทัล สำหรับติดแสดงผลบนหลังคารถ เพื่อให้ผู้ขับรถยนต์หารายได้เพิ่มเติม
ตัวแทนของ Lyft ยืนยันดีลดังกล่าว แต่ไม่ได้เปิดเผยมูลค่า
แนวทางของแอปเรียกรถแท็กซี่ทั้ง Uber และ Lyft ในช่วงที่ผ่านมาคือการทำให้บริษัทมีกำไร หลังจากทั้งสองบริษัทนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นสำเร็จ โดยแนวทางของ Uber คือการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ เช่น ขนส่งสินค้า, เดลิเวอรี่อาหาร ขณะที่ Lyft ยังเน้นที่ธุรกิจรถแท็กซี่ขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียว การซื้อบริษัทโฆษณาเข้ามาน่าจะเป็นแนวทางในการสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง