Salesforce ประกาศเพิ่มเครื่องมือสำหรับช่วยสร้างสรรค์เนื้อหาแบบ Generative AI ในชื่อ Einstein GPT ซึ่งรองรับการเทรนเพื่อสร้างโมเดลจากข้อมูลสาธารณะและข้อมูลส่วนตัวสำหรับลูกค้าองค์กร
Einstein GPT ทำงานโดยมีโมเดลของ OpenAI สนับสนุน มีความสามารถทำงานร่วมกับโมดูลต่าง ๆ ของ Salesforce ในแต่ละงาน เช่น ช่วยฝ่ายขายร่างอีเมล, บอตตอบลูกค้าอัตโนมัติ, สร้างสรรค์เนื้อหา-เว็บไซต์ สำหรับลูกค้า, ทำสรุปเนื้อหาเพื่อการนำเสนอ ไปจนถึงช่วยเขียนโค้ดได้ด้วย
ส่วน Slack ก็ประกาศรองรับแอปย่อย ChatGPT สำหรับ Slack โดยเฉพาะ เป็นตัวช่วยสำหรับงานต่าง ๆ เช่น เขียนสรุปเนื้อหาจากในห้องแชต, ช่วยค้นหาคำตอบจากคำถามในการสนทนา และร่างจดหมายหรือข้อความที่จะใช้ตอบ
เว็บข่าว Platformer รายงานว่าเมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท Twitter ปิดระบบ Slack และ Jira ภายในที่ให้พนักงานใช้ ให้เหตุผลว่าเป็นการ "บำรุงรักษาตามรอบ" (routine maintenance) โดยระบบ Jira เปิดกลับมาในวันพฤหัส แต่ Slack ยังปิดต่อไป
พนักงานของ Slack ยืนยันว่าไม่ได้มีการปิดระบบเพื่อบำรุงรักษา รวมถึงไม่ได้ปิดบัญชีใช้งานของ Twitter แต่อย่างใด
Slack รายงานว่าช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาพบว่ามีการเข้าถึง repository บน GitHub อย่างผิดปกติ และเมื่อตรวจสอบก็พบว่าพนักงานบางคนถูกขโมยโทเค็นไป
บริษัทไม่ได้ระบุว่าโค้ดส่วนที่คนร้ายเข้าถึงนี้เป็นโค้ดอะไร แต่ระบุว่าโค้ดหลักไม่ได้รับผลกระทบ และส่วนที่ถูกดาวน์โหลดไปไม่มีข้อมูลลูกค้า และคนร้ายไม่ได้เข้าถึงส่วนสำคัญอย่างส่วนข้อมูลลูกค้าหรือระบบโปรดักชั่นอื่นๆ
รายงานของ Slack แสดงให้เห็นว่าบริษัทน่าจะยังไม่แน่ใจนักว่าต้นตอที่คนร้ายได้โทเค็นไปแต่แรกนั้นเป็นช่องทางไหน โดยระบุว่าการสอบสวนพบว่าไม่ได้มาจากช่องโหว่ของ Slack เอง
ที่มา - Slack
Stewart Butterfield ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Slack ได้แจ้งลาออกจากตำแหน่งกับพนักงาน โดยจะมีผลตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า และได้ Lidiane Jones รองประธานฝ่าย Digital Experiences Clouds ของ Salesforce ที่ปัจจุบันเป็นเจ้าของ Slack มาเป็นซีอีโอคนใหม่
เนื่องจากประกาศการลาออกของเขาเกิดขึ้นไม่กี่วัน หลังจาก Bret Taylor ซีอีโอร่วมของ Salesforce ประกาศลาออก จึงอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน แต่ Butterfield ยืนยันว่าไม่เกี่ยวกัน เขาวางแผนลาออกมาระยะหนึ่งแล้ว แค่จังหวะเวลาเกิดขึ้นพร้อมกันเท่านั้น
Slack ประกาศขึ้นราคาค่าใช้บริการ มีผลเฉพาะผู้ใช้งานแบบ Pro เท่านั้น ซึ่ง Slack บอกว่าเป็นการขึ้นราคาครั้งแรกนับตั้งแต่มีแผนใช้งานนี้ การขึ้นราคานี้เพื่อสะท้อนกับฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ Slack ใส่เพิ่มตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2022 เป็นต้นไป
ผู้ใช้งาน Pro แบบจ่ายรายเดือน ค่าบริการจะเพิ่มเป็น 8.75 ดอลลาร์ต่อเดือน (เดิม 8 ดอลลาร์) ส่วนผู้ใช้งาน Pro แบบจ่ายรายปี ค่าบริการเพิ่มเป็น 87 ดอลลาร์ต่อปี (เดิม 80 ดอลลาร์) ทั้งนี้ผู้ใช้งานแบบ Business+ และ Enterprise ไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา
แอพแชทอย่าง Slack มีฟีเจอร์คุยด้วยเสียงกันเป็นกลุ่มชื่อ Huddles มาตั้งแต่ปี 2021 เพื่ออำนวยความสะดวกในการคุยงาน ถกเถียงกัน โดยไม่ต้องพิมพ์
ล่าสุดในงาน Slack Frontiers 2022 เมื่อคืนนี้ ฟีเจอร์ Huddles อัพเกรดไปอีกขั้น เพิ่มฟีเจอร์สนทนาแบบเห็นหน้า แชร์หน้าจอ เทียบเท่ากับแอพประชุมวิดีโอตัวอื่นๆ ทำให้การคุยงานกลุ่มลื่นไหลขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปตั้งห้องประชุมในแอพภายนอกแล้ว กดคลิกเดียวประชุมกลุ่มกันได้เลย
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Slack มีเหตุล่ม 3 ชั่วโมง สัปดาห์นี้ทีมงานก็ออกมารายงานถึงสาเหตุของการล่มครั้งนั้น โดยจุดเริ่มต้นเกิดระหว่างการอัพเกรด Consul แม้จะอัพเกรดเพียงบางส่วน
ทาง Slack ใช้ Consul สำหรับทำ service discovery ให้กับ memcached กระบวนการอัพเกรดครั้งนั้นเป็นการอัพเกรดทีละ 25% โดยอัพเกรด 25% แรกไปก่อนแล้วและไม่มีปัญหาอะไร โดยระหว่างอัพเกรด โหนดที่อัพเกรดจะถอดตัวออกไปและใส่โหนดใหม่ที่ cache ว่างเข้ามาแทน แต่ระหว่างการอัพเดตครั้งนั้นระบบมีโหลดสูง และเมื่อกำลังอัพเกรดก็มี memcached บางส่วนถูกล้างข้อมูล
Slack เริ่มตัดบริการลูกค้าในรัสเซีย โดยลูกค้าหลายรายระบุว่าไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า โดยบริษัทระบุว่าเป็นความจำเป็นตามกฎหมาย
ตอนนี้ไม่มีข้อมูลว่ามีบริษัทได้รับผลกระทบจำนวนเท่าใดหรือเงื่อนไขลูกค้าที่ถูกตัดบริการเป็นอย่างไรบ้าง ทาง Slack ระบุว่าพยายามติดต่อบริษัทที่ได้รับผลกระทบเท่าที่กฎหมายจะอนุญาตให้ทำได้
ทาง Slack ยังไม่ได้ลบข้อมูลของลูกค้าที่ถูกตัดบริการแต่อย่างใด แต่การบล็อคบริการครั้งนี้ก็ทำให้ลูกค้าล็อกอินเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลออกมาไม่ได้ด้วย หากไม่ได้สำรองข้อมูลภายนอกเอาไว้ก็ต้องรอจนกว่าการคว่ำบาตรจะเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
ที่มา - Axios
Slack ประกาศฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Clips เป็นการโพสต์วิดีโอจากกล้อง คลิปเสียง หรืออัดภาพหน้าจอ รวมไม่เกิน 3 นาที ลงในห้องแชทเพื่อให้เพื่อนร่วมงานรับชม
Slack บอกว่าฟีเจอร์ Clips ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานจากระยะไกล ที่หาเวลาพร้อมมาประชุมกันได้ยาก ถ้ามีอะไรที่อัดคลิปแทนได้ย่อมง่ายกว่า เพื่อนร่วมงานสามารถหาเวลาที่สะดวกมารับชมได้ภายหลัง
คลิปที่โพสต์ผ่าน Clips สามารถรับชมที่จังหวะช้าหรือเร็วกว่าปกติได้, คลิปจะถูก transcribe ถอดเป็นข้อความให้อัตโนมัติ อำนวยความสะดวกให้คนที่ไม่อยากเปิดเสียงด้วย
ฟีเจอร์ Clips จะทยอยเปิดให้ใช้งานช่วงปลายปีนี้ เฉพาะกลุ่มลูกค้าแบบเสียเงินเท่านั้น
มีดราม่าเรื่องราวในองค์กรเกิดขึ้น เมื่อมีรายงานว่า Apple แบนการสร้างห้อง Slack ที่ไว้พูดคุยหารือเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงาน โดยบริษัทอ้างว่าหัวข้อการพูดคุยนี้ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้งาน Slack ของบริษัท
Salesforce ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เป็นการทำงานร่วมกันกับ Slack หลังประกาศซื้อกิจการเมื่อปลายปีที่แล้ว โดย Bret Taylor ซีโอโอ Salesforce อธิบายว่าคุณสมบัติคือการผลักดันแนวทาง Slack-First Customer 360 รองรับการทำงานในยุคดิจิทัล ให้ทุกคนในองค์กร ตลอดจนลูกค้า พาร์ทเนอร์ สามารถทำงานจบได้บน Slack ที่เดียว และมี Salesforce เป็นตัวจัดการเบื้องหลัง
คุณสมบัติใหม่ของ Slack-First ถูกอธิบายแยกเป็นแต่ละฝ่ายในองค์กรดังนี้
นอกจาก ผลสำรวจโปรแกรมเมอร์ปี 2021 ของ JetBrains ยังมีการสำรวจเครื่องมือทำงานร่วมกันออนไลน์ (Best Collaboration Tools 2021) ที่มีผู้ตอบแบบสำรวจมากถึง 47,000 คน (ส่วนหนึ่งคือโปรแกรมเมอร์ 31,743 คนที่ตอบแบบสำรวจแรก)
แบบสำรวจนี้แยกเป็นเครื่องมือทั่วไป (online collaboration tools) และเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development collaboration tools)
เครื่องมือทำงานทั่วไป
Slack เปิดตัวเครื่องมือใหม่ 3 รายการ รองรับการทำงานจากทุกที่ แต่ให้ความรู้สึกเหมือนยังทำงานในสำนักงานเดียวกัน ซึ่ง Slack บอกว่าเป็นการออกแบบเครื่องมือบนแนวคิดแบบ Digital-First ให้รองรับการติดต่อสื่อสารในทีมที่ดีขึ้น
ฟีเจอร์แรกชื่อ Slack huddles เป็นการสนทนาเสียงเหมือน Discord ผู้ต้องการเริ่มการสนทนาเสียงสามารถกดปุ่มเปิดไมโครโฟนได้ใน channel หรือใน DM แนวคิดของ huddle เหมือนการคุยรวมกับทีมแบบไม่ทางการ ไม่ต้องกำหนดตารางประชุม ใครสะดวกร่วมคุยก็คุยด้วยในตอนนั้น ฟีเจอร์นี้จะเพิ่มเฉพาะผู้ใช้ Slack แบบเสียเงิน
Slack รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2021 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 36% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 273.4 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนสุทธิแบบ GAAP 27.9 ล้านดอลลาร์
ไตรมาสที่ผ่านมา Slack มีลูกค้าที่ใช้งานแบบจ่ายเงินมากกว่า 169,000 ราย เพิ่มขึ้น 39% มีลูกค้า 1,285 ราย ที่จ่ายเงินมากกว่า 1 แสนดอลลาร์ต่อปี และมีลูกค้า 113 ราย ที่จ่ายเงินมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ต่อปี
ฟีเจอร์สำคัญ Slack Connect ที่ทำให้สามารถคุยงานข้ามบัญชีองค์กรได้มีองค์กรที่ใช้งานแล้วมากกว่า 91,000 แห่ง คิดเป็นการเชื่อมต่อ 950,000 endpoints
Slack เปิดใช้งานฟีเจอร์ใหม่เล็กน้อย ที่ดูมีประโยชน์มหาศาล คือการตั้งเวลาปิดแจ้งเตือนชั่วคราวด้วยตัวเอง และ Slack จะเปิดการแจ้งเตือนให้ภายหลังหากเราลืมกลับมาเปิดระบบแจ้งเตือน
วิธีการใช้งานคือ เข้าไปที่เมนูตั้งสเตตัส หากเรากำลังจะมีประชุม หรือมีคุยวิดีโอคอลสำคัญและไม่อยากถูกรบกวนจากการแจ้งเตือนใน Slack ไม่ว่าจะมาจากช่องทาง DM หรือ Mention ก็สามารถไปตั้งที่สเตตัสได้ โดยจะมองเห็นกล่อง Pause Notifications และเลือกได้ว่าจะให้เปิดแจ้งเตือนภายในกี่นาที มีตัวเลือกในตอนนี้คือ 30 นาที, 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง, ทั้งวัน, ทั้งสัปดาห์ เป็นต้น
หลังจาก Instagram ทำฟีเจอร์นี้ไปแล้ว Slack ก็เอาบ้าง ในอนาคต ผู้ใช้งานจะสามารถเพิ่มเซกชั่นให้ระบุสรรพนามระบุเพศที่ต้องการได้ ตัวสรรพนามจะแสดงอยู่อยู่ด้านล่างชื่อและตำแหน่งหน้าที่ของตัวเอง
แอดมินผู้จัดการ Slack ในองค์กรเป็นผู้เปิดโหมดใช้งาน วิธีการคือ เข้าไปที่เมนู Workspace settings > เลื่อนหน้าจอลงมาที่ Pronouns Display > คลิก Expand > กดเครื่องหมายที่กล่อง Show pronouns on profiles > คลิก Save
เมื่อใช้งานได้แล้วก็สามารถตั้งค่าด้วยการ Edit Profile ได้ตามปกติ นอกจาก Instagram และ Slack แล้ว ยังมี OkCupid และ Lyft ที่เปิดให้ผู้ใช้เลือกสรรพนามแทนตัวเองได้
วันนี้ Slack เปิดบริการส่งข้อความส่วนตัวข้ามองค์กร Connect DM ที่เคยโชว์มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 โดยชูจุดเด่นว่าจะสามารถใช้ทดแทนการสื่อสารอีเมลได้
Slack มีบริการชื่อ Slack Connect ไว้สร้างห้องแชทข้ามองค์กร อยู่แล้ว เป้าหมายคือใช้แก้ปัญหาการสื่อสารข้ามองค์กรที่ต้องใช้เครื่องมือต่างกัน หากองค์กรใช้ Slack เหมือนกันหมดก็สามารถคุยกันทาง Slack ได้เลย ส่วนฟีเจอร์ที่เปิดวันนี้คือส่งข้อความส่วนตัว (DM) ข้ามองค์กร
Salesforce รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ตามปีการเงินบริษัท 2020 สิ้นสุดเดือนมกราคม 2020 รายได้เพิ่มขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 5,817 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นรายได้จาก Subscription 5,476 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20% และรายได้จากการบริการอื่น ๆ 341 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 18%
ซีอีโอ Marc Benioff กล่าวว่าสถานการณ์ในปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกภูมิใจมากที่บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โรคระบาดนี้ได้อย่างดี มีผลการดำเนินงานไตรมาสทำสถิติใหม่ ออกผลิตภัณฑ์ได้มากและเร็วขึ้น
Slack เริ่มส่งอีเมลหาผู้ใช้งานบนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ เตือนว่าให้เปลี่ยนพาสเวิร์ด หลังจาก Slack ค้นพบบั๊กเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ทำให้แอปแอนดรอยด์บางเวอร์ชัน เปลี่ยนรหัสที่เก็บเอาไว้เป็น plaintext และทีมงานก็แก้บั๊กนี้ไปแล้วเมื่อ 21 มกราคม รวมถึงสั่งระงับใช้งานเวอร์ชันที่กระทบ
Slack ยืนยันว่ายังไม่มีรายงานความเสียหายหรือการล็อกอินผิดปกติใด ๆ ออกมา แต่แจ้งอีเมลผู้ใช้งานเพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้ก่อน พร้อมแนะนำให้ผู้ใช้งานแอนดรอยด์เคลียร์ข้อมูลของตัวแอปในเครื่อง (Settings -> Apps -> Slack -> Storage -> Clear Data) อัพเดตแอปเป็นเวอร์ชันล่าสุดและเปลี่ยนพาสเวิร์ด
เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา Slack เกิดเหตุล่มนานนับชั่วโมง และไม่เสถียรนานเกือบ 5 ชั่วโมง หลังจากสอบสวนสาเหตุจนเรียบร้อยทาง Slack ก็ออกรายงานสาเหตุของการล่มครั้งนี้ โดยระบุว่าเกิดจาก AWS Transit Gateways (TGW) ที่ไม่สามารถขยายตามโหลดที่ใช้งานจริงได้ทัน และระบุถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ระหว่างทางทีมงานยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
แอปแชทองค์กร Slack กำลังมีปัญหากับระบบเชื่อมต่อ ผู้ใช้อาจไม่สามารถโหลดแชนแนลและแสดงข้อความได้ โดยหน้า Slack Status ขึ้นแจ้งว่าทีมงานกำลังตรวจสอบอยู่ ยังไม่มีข้อมูลชี้แจงใด ๆ ตอนนี้ และจะอัพเดตข้อมูลให้เพิ่มเติมต่อไป
ที่มา - Slack Status
ในอภิมหาดีล Salesforce ซื้อ Slack ด้วยราคา 27.7 พันล้านดอลลาร์ ถึงแม้ทั้งสองบริษัทไม่ได้พูดชื่อออกมาตรงๆ แต่ทุกคนก็รู้ว่าเกิดขึ้นเพื่อรับมือ Microsoft Teams ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
ไมโครซอฟท์เงียบมาตลอดในเรื่องนี้ แต่เมื่อต้นเดือนธันวาคม Judson Althoff ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจองค์กรของไมโครซอฟท์ไปพูดที่งานสัมมนาของธนาคาร UBS และได้รับคำถามเรื่องดีล Salesforce/Slack ว่าเขามีความเห็นอย่างไร เราจึงเห็นมุมมองของไมโครซอฟท์ต่อคู่แข่งเป็นครั้งแรก
ในบทสัมภาษณ์ Salesforce-Slack นอกจากประเด็นว่าใครติดต่อไปคุยกันก่อน ยังมีการอธิบายว่าทำไมการซื้อ Slack ในราคาแพงถึง 8.3 แสนล้านบาทจึงสมเหตุสมผล
Bret Taylor ซีโอโอของ Salesforce ยืนยันว่า Slack คุ้มค่าเงิน 8.3 แสนล้านบาทแน่นอน เพราะ Slack จะกลายมาเป็นแกนกลางให้ Salesforce ต่อเชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ธุรกิจของ Salesforce เริ่มจาก CRM แต่ภายหลังก็ขยายมายังซอฟต์แวร์องค์กรประเภทอื่นๆ เช่น งานขาย งานบริการลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่ง Slack เข้ามาเติมเต็มตรงนี้ได้พอดี
Stewart Butterfield ซีอีโอของ Slack เผยเบื้องหลังการถูก Salesforce ซื้อกิจการ ว่าจุดเริ่มต้นมาจากฝ่าย Slack ติดต่อไปหา Salesforce ก่อน แต่ไม่ได้ไปเสนอขายกิจการ เพราะติดต่อไปเพื่อขอซื้อธุรกิจซอฟต์แวร์จาก Salesforce ต่างหาก (สุดท้ายเลยถูกซื้อซะเองหมดทั้งบริษัท)
Butterfield บอกว่าเขาสนใจ Quip ซอฟต์แวร์สร้างเอกสารร่วมกัน (ลักษณะเดียวกับ Google Docs) ที่ Salesforce ซื้อกิจการมาในปี 2016 แต่ไม่ได้เน้นมากนักในช่วงหลัง โดย Butterfield มองว่า Quip น่าจะเหมาะกับการต่อยอดที่ Slack มากกว่า (คุยงานแล้วแก้เอกสารกันใน Slack เลย)
ข่าว Salesforce ซื้อ Slack ด้วยมูลค่าสูงถึง 2.77 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 8.3 แสนล้านบาท) (ติดอันดับ 7 ดีลซื้อกิจการใหญ่ที่สุดของโลกไอที) สร้างความฮือฮาอย่างมาก โดยเฉพาะมูลค่าการซื้อกิจการที่หลายคนมองว่าสูงมาก หรือ Salesforce ซื้อแพงเกินไป
ประเด็นเรื่องราคาของ Slack คงไม่มีใครอธิบายได้ดีเท่ากับ Marc Benioff ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Salesforce ที่ให้สัมภาษณ์กับช่อง CNBC
Benioff บอกว่าความฝันของเขาคือทำให้รายได้ต่อปีของ Salesforce เติบโตขึ้น 2 เท่า จาก 2.55 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มมาเป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) และเขายินดีทำทุกอย่างเพื่อให้ไปถึงความฝันนี้ได้