Klook แพลตฟอร์มสำหรับค้นหาและจองกิจกรรมในการเดินทาง ประกาศรับเงินลงทุนซีรี่ส์ E เป็นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์ นำโดยกองทุน Aspex Management และกลุ่มนักลงทุนรายใหม่ ตลอดจนนักลงทุนเดิม อาทิ Sequoia Capital China, Softbank Vision Fund 1, Matrix Partners China และ Boyu Capital ทำให้บริษัทได้เงินลงทุนรวมแล้วมากกว่า 720 ล้านดอลลาร์ มูลค่ากิจการปัจจุบันไม่มีการรายงาน แต่มีสถานะเป็นยูนิคอร์น (มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์) ตั้งแต่ปี 2018
การเจรจาควบรวมกิจการระหว่าง Grab / Gojek ที่ผ่านมาน่าจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ หลังทั้งสองบริษัทปฏิเสธข่าวลือตั้งแต่ต้นปี ก่อนจะมีข่าวการกลับมาเจรจาอีกครั้ง และล่าสุด Bloomberg รายงานอ้างอิงคนใกล้ชิดว่าการเจรจาใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว
Bloomberg บอกว่าความเห็นต่างในดีลระหว่าง 2 บริษัทได้ข้อสรุปไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่ก็ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ต้องเจรจาต่อไปและแน่นอนว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังดีลนี้ไม่ใช่ใครอื่น Softbank เจ้าเดิม
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ตอนนี้ Hyundai ผู้ผลิตรถยนต์จากเกาหลีกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับ SoftBank เพื่อเข้าซื้อบริษัทผลิตหุ่นยนต์ Boston Dynamics โดยคาดว่าดีลนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์
ชื่อของ Hyundai มักจะรู้จักกันว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ แต่ Hyundai ก็ยังมีธุรกิจหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ทางบริษัทสนใจเทคโนโลยีของ Boston Dynamics ได้ไม่ยาก และดีลนี้สำเร็จจริง Hyundai ก็นำเทคโนโลยีไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อยอดให้ธุรกิจหุ่นยนต์ของตัวเองได้อีกขั้น
Kahoot! แพลตฟอร์มสำหรับจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเกม ประกาศรับเงินเพิ่มทุน 215 ล้านดอลลาร์ จาก SoftBank โดยเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเจาะจง ทำให้ SoftBank จะถือหุ้น 9.7%
Eilert Hanoa ซีอีโอ Kahoot! กล่าวว่าเงินเพิ่มทุนใหม่นี้ จะนำไปใช้ขยายการเติบโตของธุรกิจผ่านพาร์ทเนอร์รายใหม่, บริษัทร่วมทุน ไปจนถึงใช้เข้าซื้อกิจการ
แพลตฟอร์ม Kahoot! มีผู้เล่นเกมในช่วง 12 เดือนย้อนหลังมากกว่า 1,300 ล้านราย ช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา บริษัทก็ได้ประโยชน์จากการที่โรงเรียนต้องจัดการเรียนสอนแบบออนไลน์มากขึ้น
วันนี้ Alphabet บริษัทแม่ของ Google และ SoftBank บริษัทโทรคมนาคมจากญี่ปุ่นประกาศความสำเร็จในการเปิดทดลองใช้งานระบบเชื่อมต่อแบบ LTE จากโดรนพลังแสงอาทิตย์อย่างเป็นทางการ
สำหรับโครงการนี้ Alphabet และ SoftBank ประกาศความร่วมมือกันตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่ง SoftBank โดยบริษัทลูก HAPSMobile เป็นผู้สร้างอากาศยาน และ Alphabet โดยบริษัท Loon จะเป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร
อัพเดต NVIDIA ประกาศข่าวเป็นทางการแล้ว การซื้อกิจการจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2021 หรืออีก 1 ปีถัดจากนี้
NVIDIA ระบุว่าจะยังคงโมเดลความเปิดกว้างในการขายไลเซนส์ของ Arm แก่ลูกค้าทุกรายเหมือนเดิม แม้แต่คู่แข่งของ NVIDIA ก็ตาม ส่วนสำนักงานใหญ่ของ Arm จะยังอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ในอังกฤษเช่นเดิม และ NVIDIA ยังประกาศจะตั้งศูนย์วิจัยด้าน AI ขนาดใหญ่ที่เคมบริดจ์เพิ่มเติมด้วย
ข่าวเดิม
เดือนที่แล้วมีรายงานว่า ARM ประกาศแผนโอนย้าย 2 ธุรกิจ IoT ให้ SoftBank เพื่อโฟกัสที่ธุรกิจออกแบบชิปมากขึ้น ล่าสุด ARM ยืนยันว่ายกเลิกแผนการณ์ดังกล่าวแล้ว
โฆษกระบุว่าการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นหลังการพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วและพบว่าประโยชน์ที่จะเกิดกับบริษัทไม่แตกต่างจากการโอนย้ายให้ SoftBank เลยเลือกที่จะเก็บเอาไว้ แต่บริษัทก็จะแยก 2 ธุรกิจ IoT ให้อยู่คนละส่วนกับธุรกิจออกแบบชิป ทั้งส่วนดำเนินธุรกิจและงานด้านบัญชี อย่างไรก็ตามโฆษกปฏิเสธว่าการตัดสินใจนี้เกี่ยวข้องกับการขาย ARM ของ SoftBank หรือไม่
กลุ่ม SoftBank ได้ส่งรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่น เผยว่าบริษัทได้ใช้เงินราว 1,200 ล้านดอลลาร์ ซื้อหุ้นของ Amazon ซึ่งถือเป็นการลงทุนกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นอยู่แล้ว จากเดิมที่ SoftBank มักลงทุนกับสตาร์ทอัพที่ยังไม่เข้าตลาดหุ้น
ก่อนหน้านี้ Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank เผยว่าบริษัทได้ตั้งหน่วยงานลงทุนใหม่ เพื่อบริหารเงินสดที่บริษัทมีนำไปลงทุนในหุ้นซึ่งมีสภาพคล่องในการซื้อขาย โดยวงเงินลงทุนส่วนนี้มีราว 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจากเอกสารที่รายงานนั้น นอกจาก Amazon แล้ว SoftBank ยังซื้อหุ้นของ Netflix, Tesla, Microsoft, Alphabet (บริษัทแม่ Google) รวมทั้งบริษัทวิดีโอออนไลน์ของจีนอย่าง Bilibili และ iQIYI อีกด้วย
ต่อเนื่องจากข่าวลือที่ NVIDIA สนใจซื้อ Arm จาก SoftBank ล่าสุด Bloomberg รายงานเพิ่มเติมโดยอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องกับดีลนี้ว่า NVIDIA เป็นผู้สนใจรายเดียวที่มีการเจรจาจริงจังกับ SoftBank และการเจรจานี้มีความก้าวหน้า โดยทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าจะสามารถปิดดีลนี้ได้ในอีกไม่สัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม Bloomberg ระบุว่ายังไม่มีการตกลงใด ๆ กันทั้งสิ้นและดีลนี้ยังคงสามารถล่มได้อยู่ทุกเมื่อ แต่หากสำเร็จจริง NVIDIA อาจถูกเพ่งเล่งและตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐอย่างหนัก เพราะจะมี conflict of interest กับลูกค้าหลายรายของ Arm ที่เป็นคู่แข่งกับ NVIDIA
ที่มา - Bloomberg
นอกจาก NVIDIA ที่สนใจจะซื้อ Arm มีอีกบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีรายงานจากแหล่งข่าวใกล้ชิดว่ามีการพูดคุยกันเรื่องนี้คือ Apple เพียงแต่ว่าไม่ใช่ Apple ที่แสดงความสนใจแต่เป็น SoftBank เข้าหา Apple เพื่อเสนอขายแทน
Bloomberg อ้างอิงคนใกล้ชิดกับการเจรจานี้ ระบุว่ามีการพูดคุยกันแต่ Apple ไม่สนใจเพราะมองว่าธุรกิจไลเซนส์ของ Arm ไปด้วยกันไม่ได้กับโมเดลธุรกิจที่เน้นฮาร์ดแวร์ของ Apple ไม่รวมประเด็นที่อาจถูกภาครัฐเพ่งเล็งหาก Apple ครอบครองไลเซนส์ที่ซัพพลายให้คู่แข่ง
ที่มา - Bloomberg
จากข่าวลือว่า SoftBank อยากขายกิจการ Arm เพื่อเพิ่มเงินสดในมือ ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ามีผู้สนใจซื้อแล้วคือ NVIDIA
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า NVIDIA เริ่มเข้าไปเจรจากับ SoftBank แล้ว แต่อาจมีผู้สนใจรายอื่นด้วย และ SoftBank เองก็อาจเลือกเส้นทางพา Arm ขายหุ้น IPO กลับเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นกัน
ต้นเดือนมีรายงานว่า SoftBank บริษัทแม่ ARM ดึงเอาธุรกิจฝั่ง IoT 2 ธุรกิจจาก ARM คือ IoT Platform และ Trasure Data มาอยู่ใต้บริษัทตั้งใหม่
ล่าสุด Bloomberg รายงานอ้างอิงคนวงในว่า SoftBank ได้ว่าจ้าง Golman Sachs มาช่วยดูแลการขายธุรกิจ Trasure Data พร้อมปักป้ายราคาที่ราว 1 พันล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าที่ ARM ซื้อมาที่ 600 ล้านเหรียญเมื่อปี 2018 อย่างไรก็ตามแผนการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่า SoftBank กำลังพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน พิจารณาแผนการลงทุนในอนาคตกับ Arm Holdings โดยอาจขายหุ้นทั้งหมด หรือขายหุ้นบางส่วน หรืออาจทำไอพีโอนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม SoftBank อาจเลือกไม่ทำอะไรในตอนนี้ก็ได้
SoftBank ซื้อกิจการ Arm เมื่อปี 2016 ด้วยมูลค่าราว 32,000 ล้านดอลลาร์ และนำบริษัทออกจากตลาดหุ้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Arm ก็เตรียมโอนย้ายธุรกิจ IoT ให้ SoftBank อีกด้วย
ARM ประกาศแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยจะโอนย้าย 2 ธุรกิจด้าน IoT ได้แก่ IoT Platform และ Treasure Data ไปอยู่ใต้บริษัทจัดตั้งใหม่ที่มี SoftBank เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ปัจจุบัน ARM ก็มี SoftBank เป็นเจ้าของอยู่แล้ว
Simon Segars ซีอีโอ ARM กล่าวว่าการแยกธุรกิจ IoT ออกไป จะทำให้ ARM มาโฟกัสในธุรกิจหลักคือการออกแบบชิปร่วมกับพาร์เนอร์ และสร้างการเติบโตในส่วนนี้ได้ดีขึ้น
ทั้งนี้หลังการโอนย้ายธุรกิจ IoT ออกไป ARM ระบุว่าจะยังคงเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทจัดตั้งใหม่นี้ ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจ IoT ของ ARM มีผลการดำเนินงานที่ดี ส่งมอบชิปในอุปกรณ์ไปแล้วกว่า 1.65 แสนล้านชิ้น
SoftBank ขาดทุนครั้งใหญ่กว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญจากผลประกอบการปีที่แล้ว ทำให้บริษัทจำเป็นต้องหาทุนเพิ่ม หนึ่งในนั้นคือการขายหุ้น T-Mobile ส่วนหนึ่งที่ตัวเองถืออยู่ทั้งหมด 25%
SoftBank มีแผนจะขายหุ้น T-Mobile มูลค่ารวม 2 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งอาจจัดสรรให้ในวงจำกัด (private placement), ปล่อยขายให้สาธารณะหรือขายคืนให้กับ T-Mobile และผู้ถือหุ้นรายอื่นอย่าง Deutsch Telekom
การขายหุ้น T-Mobile เป็นส่วนหนึ่งของแผนการขายสินทรัพย์กว่า 4.1 หมื่นล้านเหรียญของ SoftBank เพื่อลดหนี้และเพิ่มเงินสดสำรอง
แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Alibaba ลาออกจากบอร์ด SoftBank แล้ว หลังมีตำแหน่งอยู่ในบอร์ดมา 13 ปี
Masayoshi Son ผู้ก่อตั้ง SoftBank มีความสัมพันธ์ยาวนานกับ Alibaba โดยได้ลงทุนใน Alibaba ตั้งแต่ปี 2000 และถือว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากมากที่สุดครั้งหนึ่ง จนถึงตอนนี้ SoftBank ก็ยังมีหุ้นใน Alibaba 25% ซึ่งแจ็ค หม่า เข้าร่วมบอร์ด SoftBank ในปี 2007 และวางมือจาก Alibaba ไปเมื่อปี 2019
นอกจากนี้ SoftBank ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการใหม่ 3 คน คือ Yoshimitsu Goto ซีเอฟโอของ SoftBank เอง, Lip-Bu Tan ผู้ก่อตั้ง Walden International และ Yuko Kawamoto ศาสตราจาร์ที่สถาบัน Waseda Business School ซึ่ง 2 ใน 3 คนนี้จะเป็นกรรมการอิสระ
หลัง SoftBank ไม่ซื้อหุ้นผู้ถือหุ้น WeWork มูลค่า 3 พันล้าน จน WeWork ยื่นฟ้อง SoftBank ล่าสุด Adam Neumann อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง WeWork ยื่นฟ้อง SoftBank ด้วยแล้ว
Neumann ระบุว่า SoftBank อ้างข้อกฎหมายแบบผิด ๆ (SoftBank อ้างว่ามีเงื่อนไขหลายข้อไม่ได้รับการบรรลุก่อนวันที่ 1 เมษายนตามที่เคยตกลงกันไว้) ขณะที่หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย SoftBank ระบุว่าการฟ้องร้องของ Neumann ไม่มีทางที่เขาจะชนะ เพราะสัญญาข้อตกลงเรื่องการซื้อหุ้นคืนที่ Neumann ก็เซ็นนั้น ไม่มีข้อไหนผูกมัด SoftBank ว่าจะต้องทำตามข้อตกลงทั้งหมด
SoftBank ที่เตรียมกำลังจะออกรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดเปิดเผยว่า ผลประกอบการรวมทั้งปีของบริษัทน่าจะขาดทุนจากการดำเนินงานที่ราว 12,000-13,000 ล้านเหรียญสหรัฐและขาดทุนสุทธิที่ราว 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับเป็นการขาดทุนในผลประกอบการรายปีครั้งแรกในรอบ 15 ปี หลังขาดทุนติดต่อกันมา 3 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว
ปัจจัยสำคัญมาจากการขาดทุนของ Vision Fund ที่คาดว่าน่าจะอยู่ที่ราว 17,000 ล้านเหรียญเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ จากการขาดทุนในบริษัทที่ลงทุน โดยเฉพาะกรณีของ WeWork ที่ไม่สามารถเข้าตลาดได้และมูลค่าบริษัทหายไปไม่ต่ำกว่า 80% รวมถึงสภาพตลาดที่ผันผวน ปัญหาโรคระบาดและการขาดทุนในหลายบริษัทที่ SoftBank ลงทุนไปโดยตรง
หลัง SoftBank ไม่ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น WeWork มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญ ตามที่เคยตกลงกันไว้ ล่าสุด WeWork ยื่นฟ้อง SoftBank แล้วฐานละเมิดสัญญาและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการพิเศษของ WeWork ระบุว่าผิดหวังที่ SoftBank มองประโยชน์ตัวเองมาก่อนผู้ถือหุ้น WeWork ที่เป็นส่วนน้อย ขณะที่ SoftBank ก็ได้ประโยชน์ไปแล้วจากสัญญาที่เซ็นกันไป อาทิ การเข้ามาควบคุมบอร์ด พร้อมเรียกร้องให้ SoftBank ทำตามสัญญาหรือให้เงินสดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายที่ยกเลิกดีล
SoftBank ผู้ลงทุนรายใหญ่ของ WeWork ประกาศไม่เข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ ตรงกับที่แจ้งผู้ถือหุ้นก่อนหน้านี้ โดยข้อตกลงระหว่าง WeWork และ SoftBank จะหมดอายุวันที่ 1 เมษายนทำให้ทาง SoftBank ออกมาประกาศเป็นทางการว่าจะไม่ซื้อหุ้น
ทาง WeWork ระบุว่าผิดหวังกับการตัดสินใจนี้และจะพิจารณาช่องทางทางกฎหมายทุกช่องทาง
ข้อตกลงส่วนอื่น รวมถึงการปล่อยกู้ 5 พันล้านดอลลาร์ยังคงอยู่ต่อไป ขณะที่ WeWork มีสัญญาค่าเช่ากับอาคารจำนวนมาก หากการปล่อยกู้ยังทำได้ตามข้อตกลงแสดงว่า SoftBank ต้องการกู้ชีวิตของ WeWork มากกว่าจะถือหุ้นเพิ่มเติม โดยเลือกช่องทางส่งเงินตรงเข้าบริษัทและทิ้งช่องทางการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม
ปลายปีที่แล้ว WeWork และ SoftBank บรรลุข้อตกลงจะรับเงิน 9.5 พันล้านเหรียญ แบ่งเป็นเงินเพิ่มทุน 1.5 พันล้านเหรียญ, ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม 3 พันล้านเหรียญและให้กู้อีก 5 พันล้านเหรียญ
ล่าสุด SoftBank ส่งจดหมายหาผู้ถือหุ้น WeWork ระบุว่าอาจไม่สามารถซื้อหุ้นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญตามที่ตกลงกันไว้ได้แล้ว เพราะ WeWork อาจจะถูกตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง SEC (กลต. สหรัฐ), กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและมลรัฐนิวยอร์ค เกี่ยวกับการทำธุรกิจและการสื่อสารกับนักลงทุน
OYO สตาร์ทอัพจองโรงแรมและที่พักของอินเดีย อาจกลายเป็นอีกหนึ่งความล้มเหลวในการลงทุนของ SoftBank หลังบริษัทลงเงินกับ OYO ไปกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ แต่ระยะหลังถูกตั้งคำถามเรื่องโมเดลธุรกิจที่อาจไม่ทำกำไร ก่อนที่ล่าสุดบริษัทเตรียมจะปลดพนักงานทั่วโลกราว 5,000 - 25,000 คน
Bloomberg อ้างอิงคนใน OYO ระบุว่าพนักงานที่ปลดส่วนใหญ่จะอยู่ในจีน, สหรัฐและอินเดีย โฆษก OYO ระบุว่าการปลดพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างองค์กรที่ประกาศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมีบางส่วนจะปลดเพียงชั่วคราว และเมื่อการปรับโครงสร้างเสร็จสิ้นก็จะกลับมาจ้างงานใหม่อีกครั้ง
Wall Street Journal รายงานว่า WeWork เตรียมแต่งตั้ง Sandeep Mathrani เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอคนใหม่ แทนที่ Artie Minson และ Sebastian Gunningham ที่ตอนนี้เป็นซีอีโอร่วมกันอยู่
Mathrani ตอนนี้เป็นซีอีโอของ Brookfield Property Partners ก่อนหน้านั้นก็เป็นซีอีโอของ General Growth Properties ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ด้วยกันทั้งคู่ (General Growth Properties ถูก Brookfield ควบไปและตั้งให้ Mathrani นั่งซีอีโอ) เป็นระยะเวลารวมกันกว่า 8 ปี เรียกได้ว่ามีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอสังหาเชิงพาณิชย์มานาน
เว็บไซต์ Axios รายงานข้อมูลจากสตาร์ทอัพหลายรายที่ได้เจรจาเพื่อขอรับเงินเพิ่มทุนจากกองทุน Vision Fund ของ SoftBank ในปีที่ผ่านมา ว่าสุดท้ายแล้ว SoftBank เปลี่ยนใจยกเลิกแผนลงทุน แม้จะผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการทำข้อตกลงก็ตาม
สตาร์ทอัพที่ถูกระบุถึงมีอยู่ 3 ราย ได้แก่ Honor สตาร์ทอัพด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย ซึ่ง SoftBank แจ้งยกเลิกแผนเพิ่มทุน 150 ล้านดอลลาร์ ในช่วงสิ้นปี โดยบอกว่า Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank เปลี่ยนใจ
Naver บริษัทแม่ของ LINE และ Z Holdings บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของ Yahoo! Japan ในเครือ SoftBank ประกาศบันทึกข้อตกลงอย่างเป็นทางการ เพื่อควบรวมกิจการระหว่าง LINE กับ Yahoo! Japan ตามที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ทั้งสองบริษัทคาดว่าการควบรวมจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมปีหน้า โดยทั้งสองบริษัทต่างต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนมีนาคมก่อน
ข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า Z Holdings และ Naver จะทำการซื้อหุ้น LINE จากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด เพื่อนำบริษัทออกจากตลาดหุ้น แล้วตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เพื่อถือหุ้น Z Holdings ที่เป็นเจ้าของ Yahoo! Japan และ LINE ฝ่ายละ 50%