โครงการลินุกซ์ Debian ถอด Python 2 ออกจาก Debian Unstable หรือ Sid เป็นที่เรียบร้อยในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา หลังจากติดแพ็กเกจเพียง 2 ตัวที่ยังต้องใช้ Python 2 อยู่ คือ gnat-gps และ python-defaults โดยทั้งสองแพ็กเกจนี้จริงๆ ก็ใช้กับ Python 3 ได้แล้ว
Python 2 หมดซัพพอร์ตไปตั้งแต่ปี 2020 ในเวอร์ชั่น 2.7.18 นับเป็นเวลา 20 ปีหลัง Python 2.0 ออกในปี 2000 และเป็นเวลาถึง 12 ปีหลัง Python 3.0 ที่ต้องแก้โค้ดเพื่อย้ายเวอร์ชั่นออกมาในปี 2008
Debian 11.0 โค้ดเนม "Bullseye" (ตุ๊กตาม้าใน Toy Story) เข้าสถานะเสถียรหลังพัฒนามานาน 2 ปีกว่า ระบบปฏิบัติการจะใช้ได้นาน 5 ปี
ของใหม่ใน Debian 11 คือเป็น Debian รุ่นแรกที่รองรับระบบไฟล์ exFAT ที่ใช้ใน SD card, รองรับเครื่องพิมพ์ผ่านโปรโตคอล IPP-over-USB
แพ็กเกจซอฟต์แวร์ของ Debian 11 ก็ปรับให้ใหม่ขึ้น ฝั่งเดสก์ท็อปมีให้เลือกหลากหลาย Gnome 3.38, KDE Plasma 5.20, LXDE 11, MATE 1.24, Xfce 4.16 แพ็กเกจซอฟต์แวร์อื่นได้แก่ GIMP 2.10.22, Inkscape 1.0.2, LibreOffice 7.0, PHP 7.4 เป็นต้น
โครงการ Debian ประกาศโค้ดเนมของ Debian 13 (กำหนดออกปี 2025 นู่น) เป็นตุ๊กตาไดโนเสาร์สามเขา "Trixie" จากเรื่อง Toy Story (ปรากฏตัวครั้งแรกใน Toy Story 3)
ตอนนี้ Debian ใช้รอบการออกรุ่นใหญ่ทุก 2 ปี ในปีที่เป็นเลขคี่ รุ่นเสถียรล่าสุดคือ Debian 10 "Buster" (หมา) ออกในปี 2019
ปีหน้า 2021 เราจะได้เห็น Debian 11 "Bullseye" (ตุ๊กตาม้า) และตามด้วย Debian 12 "Bookworm" (ตุ๊กตาหนอน) ในปี 2023
ปัจจุบันโครงการ Debian มีนโยบายออกรุ่นใหญ่ (stable) ทุก 2 ปี หลังจากตกรุ่นแล้วจะเข้าสถานะ oldstable (ยังออกรุ่นย่อยที่อัพเดตแพตช์ความปลอดภัย) นาน 1 ปี แล้วจะเข้าสถานะ LTS ต่ออีก 2 ปีก่อนหมดอายุซัพพอร์ต
ล่าสุดโครงการ Debian ออก Debian 9.13 "stretch" ซึ่งเป็นเวอร์ชันย่อยสุดท้ายของ Debian 9 ที่เป็น oldstable
หลังจากนี้ Debian 9 จะเข้าสถานะ LTS (แทน Debian 8 ที่เพิ่งหมดอายุไป) โดยไม่ออกเวอร์ชันย่อยใหม่อีกแล้ว แต่อาจยังได้แพตช์ความปลอดภัยของบางแพ็กเกจ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2022
Debian 8 "jessie" ที่ออกครั้งแรกในปี 2015 หมดระยะซัพพอร์ตแล้วในวันที่ 30 มิถุนายน 2020 โดยจะไม่ได้แพตช์ความปลอดภัยอีก
หลังจากนี้ Debian 9 "stretch" จะเข้าสถานะซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) แทน มีระยะซัพพอร์ตนาน 5 ปีเท่ากัน หมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2022
เวอร์ชันปัจจุบันของ Debian คือ Debian 10 "Buster" ที่ออกในปี 2019 และจะซัพพอร์ตไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2024 ส่วนเวอร์ชันหน้าคือ Debian 11 "Bullseye" มีกำหนดออกปี 2021 ตามนโยบายออกรุ่นใหญ่ทุกสองปี
Debian testing (ชื่อรหัส Bullseye) เปิดใช้งานโมดูล WireGuard ในเคอร์เนลเป็นค่าเริ่มต้น หลังจากโมดูลเข้าไปยังโครงการลินุกซ์เคอร์เนลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โมดูล WireGuard จะอยู่ในโครงการเคอร์เนลหลักตั้งแต่ Linux 5.6 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี Ubuntu 20.04 LTS ที่กำลังจะออกเดือนหน้านั้นใช้ Linux 5.4 หรือ 5.5 แต่ทาง Canonical จะพอร์ตโมดูล WireGuard กลับไปใช้งานด้วย ทำให้ Ubuntu เวอร์ชั่น LTS ตัวต่อไปจะมี WireGuard มาในตัวค่อนข้างแน่
ปัจจุบัน Debian ออกเวอร์ชันใหญ่ทุก 2 ปี โดยออกในช่วงกลางปีของปีที่เป็นเลขคี่ รุ่นที่แล้วคือ Debian 9.0 Stretch ล่าสุดคือ Debian 10.0 "Buster" (ชื่อหมาของพระเอก Toy Story ที่เป็นหมาจริงๆ ไม่ใช่ตุ๊กตา)
ของใหม่ใน Debian 10
โครงการ Debian ออกเวอร์ชั่น 9.7 เป็นการเฉพาะเพื่อแก้ช่องโหว่ APT ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถส่งโค้ดมารันในเครื่องได้ในสิทธิ์ root
แม้ช่องโหว่ของ APT จะสามารถป้องกันได้ผ่านทางการอัพเดตตามปกติ แต่โดยทั่วไปเมื่อเราติดตั้งระบบปฎิบัติการใหม่แต่แรกก็มักจะอัพเดตระบบทันที ทำให้มีความเสี่ยงว่าจะถูกโจมตีตั้งแต่แรก การออกเวอร์ชั่นใหม่ทำให้คนจำได้ง่ายว่าต้องดาวน์โหลดอิมเมจสำหรับการติดตั้งเวอร์ชั่นใดจึงปลอดภัย
Max Justicz นักวิจัยความปลอดภัยรายงานถึงบั๊กของโปรแกรม apt (apt-get) ที่อ่านข้อมูล HTTP response ไม่ตรงตามมาตรฐาน ทำให้แฮกเกอร์สามารถส่งข้อมูลหลอก จนกระทั่งยิงไฟล์แพ็กเกจปลอมเข้ามารันบนเครื่องได้ และเนื่องจาก apt มักรันบนสิทธิ์ root ทำให้แพ็กเกจที่ได้รับมารันบนสิทธิ์ root ไปด้วยส่งผลกระทบร้ายแรงถึงระดับยึดเครื่องได้
ปัญหาเกิดจากกระบวนการทำงานของ apt เมื่อผู้ใช้สั่งดาวน์โหลดโปรแกรม ตัวโปรแกรมจะ fork โปรเซสลูกเพื่อเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ (fetcher) ซึ่งอาจจะเป็นโปรโตคอลต่างๆ กันไป ปัญหาคือ fetcher นี้มีบั๊กในการอ่าน HTTP Redirect ที่มันจะเชื่อข้อมูลฟิลด์ Location ใน HTTP Header เสมอ และส่งต่อไปยังโปรเซสแม่เพื่อแจ้งสถานะว่าเกิดการ Redirect โดยไม่ตรวจสอบ
ทีมต่อต้านการล่วงละเมิด (anti-harassment) ของ Debian รายงานความคืบหน้าช่วงท้ายปี หลังจากพยายามทำให้ชุมชนเป็นมิตรต่อคนทุกกลุ่มมากขึ้น โดยมีรายงานถึงการลบกระทู้, บล็อค, หรือพิจารณาโทษของ Debian Developer บางคน แต่ประเด็นหนึ่งคือมีการตัดสินลบแพ็กเกจ Weboob ออกจากโครงการแล้ว
Weboob เป็นโครงการสร้างอินเทอร์เฟซสำหรับเว็บต่างๆ เช่น เว็บธนาคารหรือเว็บค้นหางาน ให้สามารถใช้งานผ่าน API และ command line ได้ ตัวแพ็กเกจเองมีคำสั่งย่อย สำหรับใช้งานเว็บประเภทต่างๆ เช่น boobsize อ่านค่าตัวเลขจากเว็บ, handjoob ติดต่อเว็บหางาน, หรือ wetboob ค้นหาสภาพอากาศ
ก่อนหน้านี้ทีมต่อต้านการล่วงละเมิดเคยติดต่อทาง Weboob ขอให้เปลี่ยนชื่อแพ็กเกจแต่ไม่สำเร็จ
เราเพิ่งเห็น Kali Linux ลง Microsoft Store กันมาหมาดๆ ล่าสุดดิสโทรชื่อดังอย่าง Debian ก็ตามมาลง Microsoft Store เช่นกัน
ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเปิดใช้ฟีเจอร์ Windows Subsystem for Linux (WSL) ก่อน (วิธีการ) จากนั้นจึงติดตั้งดิสโทรจาก Windows Store อีกทีหนึ่ง ส่วนเวอร์ชันของ Debian ที่ใช้คือ 9.3 (Stretch)
คนส่วนใหญ่ทราบว่าพนักงานของกูเกิลส่วนใหญ่ใช้แมค แต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่ใช้ลินุกซ์ด้วย โดยพนักงานของกูเกิลใช้ดิสโทรของบริษัทเองชื่อ Goobuntu ที่พัฒนาอยู่บนฐานของ Ubuntu
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2017 กูเกิลก็เปิดเผยว่าเปลี่ยนจาก Goobuntu มาเป็นดิสโทรตัวใหม่ชื่อ gLinux ที่พัฒนาเองเช่นกัน และเปลี่ยนฐานจาก Ubuntu มาเป็น Debian (ใช้ Debian testing หรือ "buster" ที่จะนับเป็น Debian 10)
กูเกิลไม่ได้อธิบายเหตุผลที่เปลี่ยนจาก Ubuntu มาเป็น Debian แต่ระบุแค่ว่ามีระบบย้ายจาก Ubuntu 14.04 LTS มาเป็น Debian buster แล้ว
Tails ลินุกซ์สำหรับความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะออกรุ่น 3.0 โดยความเปลี่ยนแปลงใหญ่คือใช้ Debian 9 เป็นฐานแล้ว ทำให้ได้รับอัพเดตซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ตามมา เช่น KeePassX เป็นรุ่น 2.0.3, LibreOffice 5.2.6
ความสามารถอย่างหนึ่งของ Tails 3.0 คือการทำลายข้อมูลในหน่วยความจำทั้งหมดเมื่อบูตเครื่องหรือชัตดาวน์ หรือหากดึงไดรฟ์ที่ใช้บูตออกจากเครื่องฟังก์ชั่นทำลายข้อมูลก็จะทำงานทันทีเช่นกัน
ในเวอร์ชั่นนี้ยกเลิกการรองรับซีพียู 32 บิตทั้งหมด โดยจะใช้ความสามารถใหม่ๆ ของซีพียู 64 บิต เช่น NX, PIE
ที่มา - Tails
ลินุกซ์เดเบียนออกเวอร์ชั่น 9.0 แล้วอัพเดตซอฟต์แวร์ที่รองรับให้เป็นซอฟต์แวร์ยุคใหม่ ตัวเคอร์เนลใช้ Linux 4.9 ซึ่งเป็นรุ่น longterm ตัวล่าสุด ออกมาเมื่อปลายปี 2016 ความเปลี่ยนแปลงในซอฟต์แวร์ย่อยๆ มีอีกหลายอย่าง เช่น
ลินุกซ์รุ่นใหม่ๆ มักใช้ systemd เป็นส่วนประกอบสำคัญ แม้ว่าตัว systemd จะทำให้องค์ประกอบของลินุกซ์มีความทันสมัยขึ้นมาก (บูตเร็ว, จัดการความเชื่อมโยงระหว่างบริการต่างๆ) แต่ความซับซ้อนของมันก็ทำให้ผู้ดูแลระบบจำนวนมากไม่ชอบ ตั้งแต่ Debian ตัดสินใจใช้ systemd ก็มีนักพัฒนากลุ่มหนึ่งประกาศไม่ยอมรับและแยกโครงการเป็น Devuan ตอนนี้โครงการก็มาถึงจุดที่ประกาศพร้อมใช้งานแล้ว
Devuan Jessie 1.0 ประกาศเป็นโครงการซัพพอร์ตระยะยาว โดยจะออกแพตช์ยาวนานกว่า Debian Jessie เองเสียอีก (ผมยังไม่พบเอกสาร life cycle ว่าจะซัพพอร์ตไปนานแค่ไหน)
โปรโตคอล FTP นั้นอยู่คู่กับอินเทอร์เน็ตมาก่อน HTTP หรือแม้แต่ TCP/IP เสียอีก (เกิดปี 1971 และรันบน NCP มาก่อน) แต่ความนิยมของ FTP ก็ลดลงอย่างมากในช่วงหลังที่คนทั่วไปมักส่งไฟล์กับบนเว็บเซิร์ฟเวอร์กันหมดแล้ว ทางโครงการเดเบียนจึงประกาศเตรียมจะปิดเซิร์ฟเวอร์ FTP ในเดือนพฤศจิกายนนี้
เซิร์ฟเวอร์สองตัวหลัก คือ ftp.debian.org และ security.debian.org จะปิดตัวในวันที่ 1 พฤศจิกายน
สำหรับนักพัฒนา ทางเดเบียนยังมีเซิร์ฟเวอร์ ftp.upload.debian.org และ security-master.debian.org รันอยู่ต่อไป
ที่มา - The Register
ต่อจากข่าว Raspberry Pi มีระบบ GUI ของตัวเองชื่อ PIXEL ที่พัฒนาต่อจาก LXDE เมื่อเดือนตุลาคม ดูเหมือนว่าโครงการ PIXEL จะจุดติด และทางโครงการตัดสินใจขยายมันมาสู่ฮาร์ดแวร์พีซีทั่วไปที่เป็น x86 แล้ว
Raspberry Pi บอกว่า PIXEL ตอบโจทย์ผู้ใช้ทั่วไป ในแง่การเป็นเดสก์ท็อปที่สะอาด มีโปรแกรมครบถ้วน (มาพร้อม Chromium+Flash) สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดดิสโทรลินุกซ์ได้เลย และมีเป้าหมายจะสร้างเป็น "ระบบเดสก์ท็อปที่ดีที่สุด" ในอนาคตต่อไป
Debian รุ่นเสถียรในปัจจุบันคือ 8.0 โค้ดเนม Jessie ส่วนรุ่นถัดไปนับเลขเป็น 9.0 โค้ดเนม Stretch แม้ยังไม่มีกำหนดออกแน่ชัด แต่ก็น่าจะออกในปี 2017 ตามรอบการออกรุ่นใหญ่ทุก 2 ปีของ Debian
ล่าสุดในงานสัมมนาประจำปี DebConf 2016 ทางโครงการประกาศชื่อโค้ดเนมของ Debian รุ่นถัดไป 10.0 เรียบร้อยแล้ว ใช้ชื่อว่า Bullseye เป็นตุ๊กตาม้าในภาพยนตร์ Toy Story 2
คาดว่า Debian 10.0 Bullseye จะออกตัวจริงในปี 2019
โครงการ Debian เป็นลินุกซ์ดิสโทรที่เป็นพื้นฐานของลินุกซ์อื่นๆ อีกหลายตัวรวมถึง Ubuntu โครงสร้างการพัฒนามีแกนกลางหลักเป็น Debian Developer (DD) วันนี้คุณนิวตรอน เสามั่น ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือก DD เป็น DD คนที่สี่ของไทย (เป็นคนที่สามหากนับเฉพาะคนที่ยัง active)
คนไทยที่เป็นหรือเคยเป็น DD ตอนนี้ ได้แก่ 1. คุณชนพ ศิลปอนันต์ 2. คุณเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ 3. คุณปรัชญ์ พงษ์พานิช 4. คุณนิวตรอน เสามั่น
ทีมงาน Debian แจ้งเตือนระยะซัพพอร์ตของ Debian 6.0 squeeze ว่าจะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2016 (5 ปีหลังออกเวอร์ชันแรก) หลังจากนั้น Debian จะไม่ออกแพตช์ความปลอดภัยใดๆ ให้กับ Debian 6.0 อีกแล้ว
Debian 7 wheezy จะกลายมาเป็นดิสโทรแบบ Long Term Support (LTS) แทน ยาวนานไปถึงเดือนพฤษภาคม 2018
ใครที่ยังรัน Debian 6 อยู่ก็ได้เวลาเตรียมอัพเกรดครับ
ที่มา - Debian
Ian Murdock ผู้สร้าง Debian ("ian" ในคำว่า Debian) เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 42 ปี ส่วนสาเหตุของการตายยังไม่แน่ชัด
ผลงานสำคัญของเขาคือดิสโทร Debian ซึ่งเป็นดิสโทรลินุกซ์ตัวแรกๆ ของโลก เริ่มโครงการในปี 1993 จากนั้นก็พัฒนาชุมชนนักพัฒนาจนแข็งแกร่ง มีระบบผู้นำโครงการ (Debian Project Leader) จากการเลือกตั้งเป็นประจำทุกปี ตัวของ Ian รับบทเป็นผู้นำคนแรก ก่อนส่งมอบตำแหน่งให้ผู้นำรุ่นหลัง จากนั้นเขาเคยทำงานที่ Sun Microsystems และ Linux Foundation ส่วนปัจจุบัน Ian Murdock เป็นพนักงานของบริษัท Docker
ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Debian เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่แนะนำให้ใช้งาน (endorsed distribution) บนแพลตฟอร์ม Azure แล้ว
Debian ที่ Azure รับรองมีทั้ง Debian 7 (wheezy) และ Debian 8 (jessie) แบบ 64 บิต ผ่านความร่วมมือกับบริษัท credativ ผู้เชี่ยวชาญด้านโอเพนซอร์สจากเยอรมนี ในอนาคต credativ ยังจะออกอิมเมจของ Debian รุ่นใหม่ๆ ให้เลือกใช้งานผ่าน Azure Marketplace อีกด้วย
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์รองรับดิสโทรลินุกซ์หลายค่ายบน Azure ได้แก่ Ubuntu, CentOS, Oracle, SUSE Enterprise (SLES), OpenSUSE และ CoreOS
ที่มา - Microsoft Azure Blog
Chrome จะหยุดอัพเดตเวอร์ชันบนระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าเพิ่มเติม ในเดือนมีนาคม 2016 โดยระบบปฏิบัติการที่เข้าข่าย คือ
Chrome จะยังทำงานได้บนระบบปฏิบัติการเหล่านี้ แต่ไม่มีอัพเดตรุ่นถัดไปจาก Chrome อีกแล้ว Google แนะนำให้ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเหล่านี้อัพเกรดไปยังระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ เช่น Ubuntu 14.04 หรือ Debian 8
ส่วนคนที่ใช้ Linux 32-bit, Ubuntu 12.04 และ Debian 7 และอยากใช้ Chrome รุ่นถัดไป ก็มี Chromium มารับช่วงต่อการรองรับแล้ว (โดย Chromium ในที่นี้ คือ เวอร์ชันของดิสโทรคอมไพล์ให้จากซอร์สโค้ด ไม่ใช่ของ Google ทำเอง)
ซีพียูตระกูล SPARC มีข่าวน้อยลงเรื่อยๆ หลังออราเคิลซื้อซันไป ตอนนี้ทางโครงการเดเบียนก็ออกมาประกาศถอด SPARC ออกจากโค้ดของโครงการ ทั้ง unstable, experimental, jesse-updates, และโค้ดภายในอื่นๆ
ก่อนหน้านี้เดเบียนรองรับสถาปัตยกรรม SPARC 64 บิตเฉพาะเคอร์เนลเท่านั้นแต่แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะรันที่ 32 บิต
ดิสโทรอื่นๆ หยุดซัพพอร์ต SPARC กันไปเป็นก่อนหน้าเดเบียนเป็นเวลานาน Red Hat หยุดออกรุ่น SPARC ตั้งแต่ปี 2000, SUSE ออกรุ่นสุดท้ายปี 2002, และ Ubuntu ออกรุ่นสุดท้ายปี 2010
ที่มา - The Register
หลัง Debian 8.0 Jessie ออกรุ่นจริงเรียบร้อย ก็ได้เวลาที่โครงการ Debian จะมุ่งสู่เวอร์ชันถัดไป 9.0 โดยทีมงานยังยึดธรรมเนียมเดิมคือตั้งชื่อโค้ดเนมตามตัวละครใน Toy Story โค้ดเนมรอบนี้ชื่อ "Stretch" ปลาหมึกสีม่วงจาก Toy Story 3
ทางโครงการ Debian ยังประกาศแผนการออก Debian 8.1 รุ่นแก้บั๊กตามมาในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือนนับจากนี้