GitHub ออกรายงาน Octoverse โดยมีการระบุความนิยมของภาษา Python ที่ปีนี้ขึ้นมาแซงหน้า JavaScript เป็นอันดับ 1 แล้ว หลังจากแซง Java มาอยู่อันดับ 2 ตั้งแต่ 2019 ส่วนอันดับ 3-5 ได้แก่ TypeScript, Java และ C# ซึ่งการลดอันดับของ JavaScript ก็มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเติบโตของ TypeScript ที่เป็น JavaScript เวอร์ชันปรับปรุงนั่นเอง
GitHub ระบุว่าการเติบโตของความนิยมของ Python สอดคล้องกับการเติบโตของ Jupyter Notebooks โดยปัจจุบันมี Repos ที่มี Jupyter กว่า 1.5 ล้าน Repos ซึ่งเติบโตจากปี 2022 ถึง 170%
ที่มา - GitHub
Svelte เฟรมเวิร์ค frontend ที่มาแรงในช่วงหลัง ออกเวอร์ชั่น 5 ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลายอย่างตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ระหว่างพัฒนา รายละเอียดความเปลี่ยนแปลงได้แก่
TIOBE รายงานอันดับความนิยมภาษาเขียนโปรแกรมประจำเดือนตุลาคม 2024 โดยวัดจากจำนวนการค้นหาผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่ง 3 อันดับแรกเป็น Python, C++ และ Java เหมือนกับเดือนกันยายน (Java แซง C มาเป็นอันดับ 3 ตั้งแต่เดือนที่แล้ว)
Paul Jansen ซีอีโอ TIOBE ให้ความเห็นจากอันดับที่ออกมา สะท้อนว่านักพัฒนาเริ่มมองหาภาษาอื่นมาแทน Python บนเงื่อนไข เรียนรู้ได้ง่าย ปลอดภัย และทำงานได้เร็ว โดยเขามองว่ามีภาษาที่สามารถแทนที่ได้เช่น Rust หรือ Mojo
อันดับของ Rust ในเดือนนี้อยู่ที่อันดับ 13 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และมีโอกาสติด Top 10 เร็ว ๆ นี้ ส่วน Mojo เป็นภาษาที่เพิ่งออกมาใหม่ อันดับล่าสุดอยู่ที่ 49
Deno รันไทม์ JavaScript/TypeScript ออกเวอร์ชั่น 2.0 หลังออกเวอร์ชั่นแรกมาสี่ปี ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการทำงานร่วมกันได้กับ Node.js เต็มตัว สามารถอ่านไฟล์ package.json
และโฟลเดอร์ node_modules
ได้
สำหรับ Deno เองที่จริงมีระบบจัดการแพ็กเกจผ่านไฟล์ deno.json
ของตัวเอง และตอนนี้ก็ยังสามารถใช้งานอ้างอิงแพ็กเกจ npm ได้เหมือนกัน แนวทางการเข้ากันได้กับ Node.js ทำให้ตอนนี้สามารถใช้งานเฟรมเวิร์คยอดนิยมได้แทบทั้งหมด เช่น Next.js, Astro, Remix, Angular, SevelteKit
Python 3.13 ออกรุ่นจริงหลังจากถูกเลื่อนมาเล็กน้อยเนื่องจากพบปัญหาประสิทธิภาพในเบต้าสุดท้าย จุดสำคัญที่สุดคือเวอร์ชั่นนี้เป็นรุ่นแรกที่เพิ่มออปชั่นปิด Global Interpreter Lock (GIL) ที่น่าจะใช้เวลารวมถึง 5 ปีกว่าจะปิดได้หมดจริงๆ
สำหรับฟีเจอร์อื่นๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนมาก และน่าจะได้ใช้งานกันก่อนปิด GIL เสียอีก เช่น
Ruby on Rails เว็บเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในงานสาย startup เปิดตัวเวอร์ชัน 8.0.0 Beta 1 เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 โดยมีสโลแกนใหม่ของการอัปเดตครั้งนี้ว่าเพื่อการ deploy แอป โดยไม่ต้องใช้ PaaS (Platform as a Service)
ใน Rails 8.0.0 Beta 1 มีฟีเจอร์สำคัญดังนี้:
กูเกิลเผยสถิติจากการใช้ภาษา Rust ในระบบปฏิบัติการ Android มาตั้งแต่ปี 2019 เป็นเวลาราว 6 ปี ว่าช่วยลดช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยความจำลงได้มาก จากฟีเจอร์ด้านหน่วยความจำที่ระดับตัวภาษา ถือเป็นมาตรการความปลอดภัยระดับสูงที่ทรงพลังมาก
แนวทางของกูเกิลคือเขียนโค้ดใหม่ของ Android ด้วยภาษา Rust ที่เป็น memory safe language ส่วนโค้ดเก่าพยายามคงจำนวนไว้ไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก ผลคือสัดส่วนโค้ดที่เป็น memory safe ค่อยๆ เยอะขึ้นเรื่อยๆ (ตอนนี้ประมาณ 2:1 ระหว่างโค้ดเก่า vs โค้ดใหม่) แต่ผลที่ได้คือช่องโหว่ความปลอดภัยที่เกี่ยวกับ memory safety ลดลงอย่างมาก
Oracle ออก Java 23 ซึ่งเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะสั้น 6 เดือน (LTS ตัวล่าสุดคือ Java 21)
Java 23 มีของใหม่ที่สำคัญคือ ปรับโหมดการทำงานของ Z Garbage Collector (ZGC) มาใช้ generational mode เป็นค่าดีฟอลต์ หลังจากเริ่มทดสอบมาตั้งแต่ Java 21 ผลคือประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นในเกือบทุกกรณี ส่วนโหมดการทำงานแบบเดิมที่เรียกว่า non-generational จะถูกถอดออกในอนาคตระยะยาวต่อไป
ฟีเจอร์ใหม่อย่างอื่นๆ ยังมีสถานะเป็นพรีวิว เช่น Primitive Types in Patterns, Module Import Declarations , Flexible Constructor Bodies, Class-File API, Vector API, Scoped Values, Structured Concurrency เป็นต้น
โครงการภาษา Swift ของแอปเปิลออกเวอร์ชั่น 6.0 โดยปรับปรุงที่ระดับตัวภาษาหลายประเด็น เช่น
count(where:)
ที่นับข้อมูลใน sequence ที่ตรงเงื่อนไขไมโครซอฟท์ประกาศข่าวเกี่ยวกับ Copilot ใน Excel ดังนี้
กูเกิลเผยรายละเอียดผ่าน Google Security Blog ถึงการเปลี่ยนโค้ดเฟิร์มแวร์ Android จากของเดิมที่เป็น C/C++ มาเป็น Rust เพื่ออาศัยจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยหน่วยความจำ (memory-safe) ที่ระดับภาษา
กูเกิลเริ่มใช้ Rust ใน Android มาตั้งแต่ปี 2021 และได้ผลเป็นอย่างดี กรณีนี้ กูเกิลบอกว่าต้องการโชว์ให้เห็นว่าการเปลี่ยนโค้ด C/C++ มาเป็น Rust โดยตรงชนิดใช้แทนกันได้เลย (drop-in replacement) เป็นเรื่องที่สามารถทำได้จริงที่ระดับเฟิร์มแวร์
JetBrains ร่วมกับ Python Software Foundation รายงานผลการสำรวจนักพัฒนา Python ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นการทำสำรวจปีที่ 7 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 ถึงกุมภาพันธ์ 2024 กับนักพัฒนา Python มากกว่า 25,000 คน
ผลสำรวจมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น คำถามเกี่ยวกับ Python 2 ซึ่งเวอร์ชันสุดท้ายออกมาในปี 2020 และเข้าสู่สถานะหยุดการสนับสนุนแล้ว พบว่ามีนักพัฒนา 6% ที่ยังใช้ใช้ Python 2 เมื่อลงรายละเอียดมากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นนักพัฒนาที่อายุน้อยกว่า 21 ปี, 1 ใน 3 เป็นนักเรียน จึงอาจมีสาเหตุจากคอร์สเรียนที่ยังใช้ Python 2 อยู่ ขณะที่ 75% ใช้ Python 3 ที่เป็นสามเวอร์ชันล่าสุด
ประเด็นอื่นมีดังนี้
Andy Jassy ซีอีโอ Amazon โพสต์เนื้อหาใน LinkedIn เพื่อนำเสนอความสามารถของระบบผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหา Amazon Q ที่มีจุดขายหนึ่งสำหรับลูกค้าองค์กรคือการแก้ไขโค้ด และรองรับการย้ายโค้ด Java ไปเวอร์ชันใหม่
เขาบอกว่างานอัปเกรดพื้นฐานซอฟต์แวร์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก แต่ไม่ใช่งานที่จูงใจคนทำงานสายนักพัฒนามากนัก เพราะไม่ได้เป็นการสร้างสิ่งใหม่ Amazon Q จึงมีประโยชน์มากเพราะเข้ามาช่วยลดภาระ โดย Amazon ได้นำ Amazon Q มาช่วยในการอัปเกรดโค้ดโปรแกรมที่ใช้ภายใน ให้รองรับ Java เวอร์ชันใหม่
OpenAI เปิดตัวชุดทดสอบปัญญาประดิษฐ์ SWE-Bench Verified ที่สร้างต่อจาก SWE-Bench ชุดทดสอบการเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูง โดยแก้ปัญหาคุณภาพของชุดข้อมูลเดิมที่อาศัยการกวาด GitHub Issue มาเป็นโจทย์ให้ปัญญาประดิษฐ์
SWE-Bench อาศัยคำถามและชุดทดสอบซอฟต์แวร์เท่านั้น ในการทดสอบตัว AI จะมองไม่เห็นชุดทดสอบแต่เห็นเฉพาะปัญหา และต้องพยายามเขียนโปรแกรมให้รันผ่านชุดทดสอบให้ได้ แบบเดียวกับการสอบเขียนโปรแกรม แต่เป็นปัญหาจริงในการทำงาน
TIOBE ออกรายงานอันดับความนิยมของภาษาโปรแกรมมิ่งเดือนสิงหาคม 2024 โดย 3 อันดับแรกยังคงเป็น Python, C++ และ C เหมือนหลายเดือนที่ผ่านมา
ไฮไลท์รอบนี้คือ Python ที่ได้เรทติ้ง 18.04% สูงที่สุดของ Python ที่ TIOBE เคยสำรวจมา โดยครั้งล่าสุดที่มีภาษาโปรแกรมมิ่งทำได้สูงกว่า 18% คือ Java เมื่อพฤศจิกายน 2016 ส่วนเรทติ้งที่สูงที่สุดตลาดกาลก็ยังเป็น Java ที่ 26.49% เมื่อมิถุนายน 2001
Paul Jansen ซีอีโอ TIOBE บอกว่า คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า Python คือภาษาที่ครองโลกนี้ (hegemony) ส่วนภาษาที่มีโอกาสจะล้ม Python ก็น่าจะเป็น Rust และ Kotlin ที่เข้ามาติดท็อป 10 ได้รวดเร็ว แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะขึ้นมาเทียบ Python ได้
DARPA องค์กรให้ทุนวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศโครงการ Translating All C to Rust (TRACTOR) สร้างระบบแปลงโค้ดจากภาษา C มาเป็น Rust โดยยังได้โค้ดคุณภาพสูงใกล้เคียงกับที่โปรแกรมเมอร์ Rust มาเขียนเอง
Dan Wallach ผู้จัดการโครงการของ DARPA ยอมรับว่าทุกวันนี้ LLM แปลงโค้ดข้ามภาษากันเป็นปกติอยู่แล้ว เราสามารถโยนโค้ดภาษา C ให้ LLM แปลงเป็น Rust กันได้ แต่บางครั้งผลก็ดีมาก บางครั้งก็แย่ โครงการ TRACTOR มุ่งสร้างระบบแปลงอัตโนมัติที่จะแปลงโค้ดได้คุณภาพดีสม่ำเสมอ
โครงการนี้เปิดรับข้อเสนอโครงการรับทุนวิจัยต่อไป แต่คาดว่าผู้เสนอโครงการจะใช้เทคนิคในการแปลงโค้ดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวิเคราะห์โค้ดทั้งแบบ static และ dynamic, การพัฒนา LLM ตลอดจนเทคนิคอื่นๆ
TIOBE รายงานอันดับความนิยมของภาษาเขียนโปรแกรมของเดือนกรกฎาคม 2024 โดย C++ กลับมาแซง C คืน หลังจากถูกแซงเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้อันดับที่ 1-2-3 ยังเป็น Python, C++ และ C แบบที่เป็นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ไฮไลท์ของเดือนนี้ TIOBE บอกว่าคือภาษา Rust ซึ่งความนิยมเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 17 เมื่อช่วงเดียวกันในปีก่อน มาเป็นอันดับที่ 13 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดที่ Rust เคยทำได้ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากรัฐบาลสหรัฐออกคำแนะนำ ให้ย้ายการใช้งานภาษา C และ C++ มาเป็น Rust ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
Paul Jansen ซีอีโอ TIOBE ให้ความเห็นว่า Rust น่าจะขึ้นสู่ภาษายอดนิยม 10 อันดับแรก ได้ไม่ยาก
มีงานวิจัยจากคณะนักวิจัยชาวจีน ทดลองนำ ChatGPT ไปทำโจทย์โปรแกรมมิ่งจำนวน 728 ข้อ ที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมยอดนิยม 5 ภาษา (C, C++, Java, Python, JavaScript) รวมถึงวิเคราะห์ช่องโหว่ CWE จำนวน 18 ช่องโหว่ แล้วมาประเมินว่าได้ผลลัพธ์ดีแค่ไหน
จากการประเมินของทีมวิจัยพบว่า ChatGPT ทำผลลัพธ์ออกมาได้ค่อนข้างดี (fairly good) ทำโจทย์ระดับง่าย กลาง ยาก ได้คะแนนผ่าน 89%, 71%, 40% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ ChatGPT คือทำโจทย์ที่เกิดขึ้นหลังปี 2021 ไม่ค่อยได้ โดยหลายครั้งถึงขั้นไม่เข้าใจคำถามเลยด้วยซ้ำ แม้ว่าเป็นคำถามระดับง่ายก็ตาม อัตราทำโจทย์สำเร็จระดับง่ายลดเหลือ 52% และอัตราทำโจทย์ระดับยากเหลือ 0.66%
sorrycc นักพัฒนา front-end ของ Alipay หรือ Ant Group ประกาศโอเพนซอร์สโครงการ Mako โครงการเครื่องมือ build front-end ความเร็วสูงที่เขียนด้วยภาษา Rust โดยเน้นความเร็วในการรันและขนาดสคริปต์ที่ได้ Mako สามารถทำงานได้ประสิทธิภาพดีกว่า Rsbuild, Farm, หรือ Vite
ทีมงานทดสอบ build โครงการ Ant Design Pro ที่ webpack ใช้เวลา 16 วินาที ส่วน Mako ใช้เวลาเพียง 3.9 วินาทีเท่านั้น และเมื่อดูเวลา Hot Module Replacement ก็เร็วกว่ามากจนแทบเป็น real-time
ทีมงานเริ่มพัฒนา Mako เมื่อเดือนมีนาคม 2023 โดยเริ่มจากทีมงานที่ไม่เคยเขียน Rust 3 คน เรียนรู้ผ่านโครงการก่อนหน้า เช่น Farm หรือ Rspack ตลอดจน ChatGPT และตอนนี้ก็ใช้งานเป็นการภายใน Ant อยู่ในหลายโครงการแล้ว
HTMX เฟรมเวิร์คเว็บขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในช่วงหลังออกเวอร์ชั่น 2.0 หลังจากออกเวอร์ชั่น 1.0 มาตั้งแต่ปี 2020 โดยปรับเปลี่ยนด้วยการย้ายส่วนขยายต่างๆ เช่น Server Side Events, Web Sockets, Preload ออกเป็นโครงการแยกและเปิดให้อัพเดตเวอร์ชั่นได้แยกจากโครงการหลัก
หลังจากแยกส่วนขยายออกไปแล้ว เวอร์ชั่นนี้จึงถอดฟีเจอร์ที่เคยอยู่ในโครงการหลักออกไปต่างหาก ปรับ API ให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น แต่โดยรวมแล้วการใช้งานยังคงเดิมอยู่แม้จะไม่สามารถทำงานกับโค้ดเดิมได้แล้วเพราะ API เปลี่ยน ที่สำคัญคือถอดการรองรับ Internet Explorer ออกทั้งหมด
แอปเปิลเปิดตัวภาษา Swift ครั้งแรกในปี 2014 เพื่อเป็นภาษาหลักสำหรับพัฒนาแอพบน iOS และ macOS แทน Objective-C ของเดิม
ปีนี้ถือเป็นการครบรอบ 10 ปีของภาษา Swift ซึ่งในงาน WWDC 2024 สัปดาห์ที่แล้วก็มีการฉลองกันเล็กๆ น้อยๆ ในเรื่องนี้
รายงานอันดับความนิยมของภาษาเขียนโปรแกรมโดย TIOBE ประจำเดือนมิถุนายน 2024 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดย C++ ได้รับความนิยมสูงกว่า C เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ TIOBE เริ่มมีการจัดอันดับ โดย C++ ขยับมาเป็นอันดับ 2 ที่คะแนน 10.03% ส่วน C ตกไปอยู่อันดับ 3 ที่ 9.23% และอันดับ 1 ยังเป็น Python ที่ 15.39%
TIOBE บอกว่าที่น่าสนใจคือตั้งแต่จัดอันดับมา C ไม่เคยตกมาอยู่ในอันดับที่ 3 เลย เช่นเดียวกับ C++ ซึ่งไม่เคยขึ้นมาสูงถึงอันดับ 2
อันดับอื่นที่น่าสนใจของเดือนมิถุนายนได้แก่ Go ขึ้นมาเป็นอันดับ 7 เป็นครั้งแรก ส่วน Rust ก็ทำสถิติสูงสุดขึ้นมาเป็นอันดับที่ 17
ที่มา: TIOBE
Engprax บริษัทให้คำปรึกษาตรวจสอบซอฟต์แวร์ออกรายงานสำรวจวิศวกรซอฟต์แวร์ 600 คนในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ผลสำรวจพบว่าแนวทางของ Agile Manifesto หลายข้อทำให้โครงการซอฟต์แวร์มีโอกาสล้มเหลวสูงขึ้น โดยรวมแล้วโครงการที่ทำตามแนวทาง Agile มีโอกาสล้มเหลวสูงกว่าโครงการที่ไม่ใช้ถึง 268%
รายงานระบุถึงแนวทางหลายประการใน Agile Manifesto เช่น การทำให้ซอฟต์แวร์ใช้งานได้ก่อนทำเอกสารเสร็จ, การร่วมมือกับลูกค้ามากกว่าเน้นเจรจาสัญญา, การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงมากกว่าการทำตามแผนการ โดยพบว่าโครงการที่ทำตามแนวทางเหล่านี้มีโอกาสล้มเหลวสูงขึ้น เช่น การมีเอกสาร requirement ชัดเจนช่วยให้โอกาสโครงการสำเร็จเพิ่มขึ้น 50% และหาก requirements ชัดเจนก่อนเริ่มโครงการจะเพิ่มโอกาสสำเร็จถึง 97%
Mistral บริษัทปัญญาประดิษฐ์จากฝรั่งเศสที่มีไมโครซอฟท์ถือหุ้นอยู่ด้วย เปิดตัวโมเดล Generative AI ขนาด 22B สำหรับการเขียนโค้ดตัวแรกของบริษัท มีชื่อว่า Codestral
Codestral ถูกเทรนด้วยโค้ดมากกว่า 80 ภาษา ซึ่งรวมทั้งภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Python, Java, C, C++, JavaScript, และ Bash ไปจนถึงภาษาอย่าง Swift และ Fortran จึงรองรับการทำงานของนักพัฒนาในหลายรูปแบบสถานการณ์ มีความสามารถทั้ง ช่วยเขียนโค้ด เขียนเทสต์ หรือช่วยเติมส่วนที่ขาดหายในโค้ดได้ จึงช่วยลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนักพัฒนาได้
ไมโครซอฟท์ประกาศรายละเอียดของแผนการถอด VBScript (ชื่อเดิมคือ Visual Basic Script ที่เป็นคนละภาษากับ Visual Basic แบบปกติ แต่มีส่วนที่เหมือนกัน) ออกจาก Windows ตามที่เคยประกาศแนวทางไว้ก่อนหน้านี้