Canonical เปิดตัว Ubuntu 22.04 LTS เวอร์ชัน real-time สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันที
จุดต่างของ Real-time Ubuntu จาก Ubuntu เวอร์ชันปกติคือเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 5.15 แบบเรียลไทม์ (real-time kernel) ที่ใช้แพตช์ PREEMPT_RT มีค่า latency ต่ำ (เริ่มทดสอบ Beta มาตั้งแต่ปีที่แล้ว) และปรับแต่งมาให้เหมาะกับชิปของ NVIDIA, Intel, MediaTek, AMD-Xilinx ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม (รองรับทั้ง Arm และ x86)
ผู้ที่ต้องการใช้ real-time kernel จำเป็นต้องเสียเงินเป็นสมาชิก Ubuntu Pro หรือซื้อผ่าน App Store ของ Ubuntu ได้เช่นกัน
Canonical ปล่อย Ubuntu 22.10 Kinetic Kudu รุ่นคั่นกลาง โดยเน้นสองแนวทาง คือการใช้งานในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และการใช้งานสำหรับนักพัฒนา
การใช้งานในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้น OpenSSH ในเวอร์ชั่นนี้จะไม่รันเป็น daemon หลังบูตเครื่องอีกต่อไป แต่ใช้ฟีเจอร์ socket activation ของ systemd ให้รัน OpenSSH ขึ้นมาเองหลังมีการเชื่อมต่อ ทำให้โดยรวมระบบกินแรมน้อยลง
การพัฒนาบน IoT ยังรองรับ MicroPython เต็มรูปแบบ โดยแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง เช่น rshell, thonny, และ mpremote กลายเป็นแพ็กเกจมาตรฐานของ Ubuntu ระบบกราฟิกในเวอร์ชั่นนี้รองรับการแสดงบนหน้าจออื่นนอกเดสก์ทอป ซึ่งใช้งานกันบ่อยในงาน kiosk เช่นจอสัมผัสของ Raspberry Pi
Ubuntu Pro เป็นบริการ subscription ของบริษัท Canonical ที่ขยายเวลาดูแลแพตช์ความปลอดภัยให้แพ็กเกจซอฟต์แวร์ต่างๆ ของระบบนานเป็น 10 ปี เทียบกับดิสโทร LTS เวอร์ชันฟรีที่ซัพพอร์ตนาน 5 ปี (รูปแบบคล้ายกับ RHEL subscription ของฝั่ง Red Hat) โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 225 ดอลลาร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ต่อปี
ล่าสุด Canonical ประกาศแจกฟรี Ubuntu Pro สำหรับผู้ใช้งานส่วนตัว (personal license) จำนวนไม่เกิน 5 เครื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มาลองใช้งานกันมากขึ้น
AWS มีบริการเช่าเดสก์ท็อปเสมือน (VDI) บนคลาวด์ Amazon Workspaces มานานตั้งแต่ปี 2013 (ตอนนั้นเป็น Windows 7)
ที่ผ่านมา บริการ Amazon Workspaces ขยับขยายมาเป็น Windows 10 และ Amazon Linux 2 ของ AWS เอง ที่ราคาถูกกว่าแต่อาจไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก
Azure รายงานปัญหาบริการจำนวนมากที่ใช้ Ubuntu 18.04 เป็นฐาน ล่มไปทั่วโลก โดยเฉพาะบริการสำคัญๆ เช่น Azure Container Apps, Azure Kubernetes Service (AKS), Azure Database for PostgreSQL เป็นต้น
บั๊กนี้เกิดจากอัพเดตของ systemd จาก Ubuntu เป็นเวอร์ชั่น systemd 237-3ubuntu10.54 ที่หลังจากอัพเดตแล้วไม่สามารถ resolve DNS ได้อีกต่อไป เครื่องเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถติดต่อเซิร์ฟเวอร์ภายนอกได้ จนระบบล่มในที่สุด ทาง Canonical แนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการตั้ง FallbackDNS เสียก่อน
ลูกค้าที่ใช้ virtual machine ตามปกติ หากรัน Ubuntu 18.04 ก็จะได้รับผลกระทบด้วย แต่ผู้ใช้จำนวนมากอาจจะเจอปัญหาเนื่องจากบริการระดับแพลตฟอร์มของ Azure ล่มไป
ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ Canonical นำ .NET 6 รวมเข้าไว้ใน Ubuntu 22.04 (Jammy) อย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ใช้ Ubuntu สามารถติดตั้ง .NET 6 ด้วยคำสั่ง sudo apt install dotnet6
ได้เลย ไม่ต้องเพิ่ม repository ใดๆ อีก
Ubuntu ประกาศเปลี่ยน text editor ของระบบปฏิบัติการ จากของเดิม Gedit ที่ใช้มานานตั้งแต่ Ubuntu เวอร์ชันแรก มาเป็น GNOME Text Editor ตัวใหม่ของโครงการ GNOME
GNOME เพิ่งเปลี่ยน text editor ในเวอร์ชันล่าสุดคือ GNOME 42 และดิสโทรอื่นคือ Fedora 36 เริ่มนำมาใช้ก่อนแล้ว กรณีของ Ubuntu เวอร์ชันล่าสุด 22.04 LTS ใช้ GNOME 42 เหมือนกัน แต่ยังคงแพ็กเกจ Gedit ไว้เป็นดีฟอลต์อยู่ ในเวอร์ชันถัดไป Ubuntu 22.10 จะย้ายมาใช้ GNOME Text Editor แทน
Canonical ปล่อย Ubuntu 22.04 LTS ตัวล่าสุดตามรอบสองปี เพิ่มแพ็กเกจภาษา Rust ปรับไปใช้ OpenSSL v3 และ GNOME42 นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหญ่ๆ อยู่หลายตัว เช่น
สำหรับคลาวด์ทาง Canonical ออปติไมซ์สำหรับชิป AWS Gravitron ให้ใช้งานได้ทั้งแบบ VM หรือ Docker
Canonical ประกาศรองรับ Ubuntu บนชิป Apple M1 ผ่าน Multipass ซึ่งเป็นระบบจัดการ virtualization ของ Canonical เอง
ก่อนหน้านี้ เครื่องแมคที่เป็น Apple M1 ยังไม่รองรับลินุกซ์อย่างเต็มที่นัก และการรันผ่าน virtualization อย่าง VirtualBox/VMware ยังไม่สมบูรณ์มากพอ แนวทางของ Canonical คือสร้าง Multipass ซอฟต์แวร์จัดการ virtualization ที่ใช้ระบบของ OS เอง (KVM บนลินุกซ์, Hyper-V บนวินโดวส์, HyperKit บนแมค) แล้วจัดการเรื่องอิมเมจและการติดตั้งให้อัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งกับการคอนฟิก VM เอง
HP ประกาศพรีโหลด Windows Subsystem for Linux 2 (WSL2) และเปิดใช้งานเป็นดีฟอลต์กับเครื่องเวิร์คสเตชันตระกูล Z ของบริษัทบางรุ่น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าพีซีเวิร์คสเตชัน ที่ต้องใช้งานทั้งวินโดวส์และลินุกซ์ โดยไม่ต้องบูตเครื่องสลับไปมา หรือรันลินุกซ์ใน VM ที่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่า
HP บอกว่ามีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์จำพวก machine learning และ data science มากขึ้น จึงได้ปรับซอฟต์แวร์ของตัวเองจากลินุกซ์ให้ทำงานร่วมกับ WSL2 ได้ดีขึ้น ตัวดิสโทรที่เลือกใช้คือ Ubuntu
ปัจจุบันการติดตั้ง WSL2 ทำได้ง่ายขึ้นมากๆ แล้ว แต่การเปิดใช้ WSL2 มาเป็นดีฟอลต์เลยก็เป็นสัญญาณว่าการใช้งานลินุกซ์บนวินโดวส์แพร่หลายขึ้นกว่าเดิมมาก
Canonical ออก Ubuntu 21.10 Impish Indri ตัวจริง โดยรุ่นนี้มีส่วนหลักๆ ที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ GNOME 40 ที่รองรับ gesture บน touchpad, แยก Firefox ออกเป็น snap ทำให้หลังจากนี้ Ubuntu ควรจะได้รับอัพเดตเบราว์เซอร์ตรงกันไม่ว่าระบบปฎิบัติการจะเป็นรุ่นใด, และการรองรับ WSL เต็มรูปแบบ รวมถึงแอปพลิเคชั่นเดสก์ทอปต่างๆ (หน้าจอเซ็ตอัพบน WSL มี GUI ให้)
แพ็กเกจที่อัพเดต เช่น PHP 8, GCC 11 ที่ใส่ฟีเจอร์วิเคราะห์ความปลอดภัยโค้ดเพิ่มเติม, และเคอร์เนล 5.13 ที่มี KFENCE สำหรับตรวจสอบการใช้หน่วยความจำผิดพลาด
เวอร์ชั่นนี้นับเป็นเวอร์ชั่นสุดท้าย ก่อนจะ Ubuntu 22.04 LTS จะออกปีหน้า หากใครเตรียมทดสอบแอปพลิเคชั่นเพื่อการใช้งานระยะยาวก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
Canonical เปิดตัว Ubuntu Frame ระบบปฏิบัติการแบบคัสตอมสำหรับอุปกรณ์ kiosk จอสัมผัส หรือป้ายโฆษณาดิจิทัล
Ubuntu Frame เป็นการนำแกนของ Ubuntu Core มารวมกับโซลูชันการแสดงผลจอภาพข้ามเครื่องจากระยะไกล (graphic server) รองรับแอพหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ GTK 3/4, Qt 5/6, Flutter, Electron, SDL2 รวมถึง HTML5 และ Java
จุดเด่นของ Ubuntu Frame คือเป็นโซลูชันที่พร้อม จัดการเรื่องการแสดงผลและอินพุตมาให้แล้ว นักพัฒนามีหน้าที่แค่สร้างแอพไปรันเท่านั้น บวกด้วยฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย การจัดการที่เป็นระบบแพ็กเกจ Snap รันอยู่ในคอนเทนเนอร์
Canonical ประกาศนโยบายซัพพอร์ต Ubuntu เวอร์ชัน LTS (Long-term Support) รุ่นเก่าที่ออกไปแล้ว จากเดิม 5 ปี ขยายสองเท่าเป็น 10 ปี (ระยะเวลาซัพพอร์ตสำหรับลูกค้าองค์กรเดิม 8 ปี ขยายเป็น 10 ปี)
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับ Ubuntu LTS สองรุ่นก่อนคือ 14.04 LTS (หมดระยะซัพพอร์ตปี 2019 ขยายเป็น 2024) และ 16.04 LTS (หมดระยะซัพพอร์ตปี 2021 ขยายเป็น 2026) ถือเป็นการปลุกชีพกลับคืนมาใหม่ ส่วน LTS รุ่นใหม่ๆ คือ 18.04 LTS และ 20.04 LTS ได้ระยะซัพพอร์ตนาน 10 ปีอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
Canonical ประกาศว่า Ubuntu รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ โดยเริ่มจากบอร์ดของ SiFive บริษัทของทีมผู้ก่อตั้ง RISC-V
Canonical บอกว่าสถาปัตยกรรม RISC-V ที่เป็นสถาปัตยกรรมเปิด มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จึงร่วมมือกับทีม SiFive พอร์ต Ubuntu มารันบนบอร์ดเหล่านี้ ที่ผ่านมาบอร์ด RISC-V สามารถรันลินุกซ์ได้อยู่แล้ว แต่การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ การันตีการแก้บั๊กและออกแพตช์ความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญให้นักพัฒนาเลือกใช้ RISC-V ในการสร้างผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
Canonical ปล่อย Ubuntu 21.04 ตามรอบ 6 เดือน โดยเวอร์ชั่นนี้มีการปรับปรุงเด่นๆ คือเน้นรองรับโซลูชั่นของไมโครซอฟท์ ทั้ง Active Directory และ Microsoft SQL Server
ในเวอร์ชั่นนี้ตัวติดตั้งจะมีตัวเลือกใช้เชื่อมเข้า Active Directory (AD) ตั้งแต่ติดตั้ง ทำให้จัดการเครื่องจากศูนย์กลางได้โดยตรง ผ่านทาง Group Policy Client ส่วนการออปติไมซ์ประสิทธิภาพ SQL Server อาศัยการอิมพลีเมนต์ฟีเจอร์เช่น Force Unit Access (FUA) บนระบบไฟล์ XFS และฟีเจอร์ persistent memory (PMEM) โดยฟีเจอร์นี้จะถูกพอร์ตกลับไป Ubuntu 20.04 LTS ด้วย
สำหรับหน้าจอเดสก์ทอปเปลี่ยนมาใช้ Wayland เป็นค่าเริ่มต้น กราฟิกโดยรวมจะเนียนขึ้น และรองรับ Flutter SDK มาในตัวเป็นแพ็กเกจ snap
Canonical ออก Ubuntu Core 20 ดิสโทรลินุกซ์สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวและ IoT ที่ดัดแปลงมาจาก Ubuntu 20.04 LTS
จุดเด่นของ Ubuntu Core คือการปรับแต่งมาเพื่ออุปกรณ์ขนาดเล็ก ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อลดพื้นที่การโจมตี (minimal attack surface) มีฟีเจอร์ความปลอดภัยหลายอย่างตั้งแต่ secure boot, full disk encryption, secure device recovery และแอพทั้งหมดจะถูกรันแยก (isolated) เพื่อไม่ให้โจมตีมาถึง OS ได้
Canonical ยังระบุว่าทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิปและบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายราย เพื่อการันตีว่ากระบวนการอัพเดตทั้งหมดจะราบรื่น
Ubuntu Core รองรับทั้งสถาปัตยกรรม ARM และ x86 โดยมีพาร์ทเนอร์เข้าร่วมหลายราย เช่น Bosch Rexroth, Dell, ABB, Rigado, Plus One Robotics, Jabil, Intel, Raspberry Pi
Alex Murray ทีมงานความมั่นคงปลอดภัยของลินุกซ์ประกาศเปลี่ยนค่าสิทธิ์เริ่มต้นของ home folder ใน Ubuntu 21.04 จากเดิมก่อนหน้าที่ทุกเวอร์ชั่นใช้สิทธิ์แบบ 0755 หมายถึงทุกคนในเครื่องสามารถอ่านข้อมูลของผู้ใช้อื่นได้ มาเป็นสิทธิ์แบบ 0750 นั่นคือเฉพาะผู้ใช้ในกลุ่มเดียวกันเท่านั้นจึงอ่านข้อมูลได้
Ubuntu ออกเวอร์ชัน 20.10 โค้ดเนม Groovy Gorilla ของใหม่ที่สำคัญคือการจับมือกับ Raspberry Pi Foundation ปรับแต่งอิมเมจให้ Ubuntu Desktop ตัวเต็มทำงานบน Raspberry Pi ได้อย่างเต็มที่ (RPi เวอร์ชัน 2, 3, 4 รุ่นที่มีแรม 4GB ขึ้นไปจะเป็น certified hardware)
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่
ก่อนหน้านี้ Lenovo ประกาศว่าโน้ตบุ๊ก ThinkPad ซีรีส์ P และเดสก์ท็อป ThinkStation รองรับลินุกซ์ (เลือกได้เป็น RHEL/Ubuntu) แต่ยังจำกัดช่องทางการขายเฉพาะผ่านการสั่งซื้อแบบองค์กรเท่านั้น
ล่าสุด Lenovo ประกาศขยายรุ่นของสินค้าที่รองรับลินุกซ์ ให้ครอบคลุม ThinkPad เกือบทุกรุ่น ซึ่งรวมถึงซีรีส์ขวัญใจมหาชนทั้ง T, X, L และตัวแพงแบบ X1 ด้วย โดยเกือบทุกรุ่นสามารถสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ Lenovo.com แบบพรีโหลด Ubuntu 20.04 LTS มาได้เลย (ยกเว้นซีรีส์ L จะได้เป็น 18.04)
ThinkPad ที่พรีโหลด Ubuntu จะเริ่มวางขายทั่วโลก (global expansion) ในเดือนกันยายน และทยอยขยายให้ครบทุกรุ่นที่ประกาศไว้ตลอดปี 2021
เมื่อต้นปีนี้ เราเห็นข่าวจากผู้บริหารกูเกิลว่า Chrome OS จะรัน Steam ได้ แล้วเงียบหายไปพักใหญ่ๆ
ล่าสุดเว็บไซต์ 9to5google ไปค้นพบโค้ดใน Chromium OS อ้างถึงโครงการโค้ดเนม "Borealis" ที่เกี่ยวข้องกับ Steam แล้ว
Chrome OS เริ่มรองรับการรันโปรแกรมจากลินุกซ์มาตั้งแต่ปี 2018 โดยใช้โค้ดเนมว่า "Crostini" มันเป็นการนำลินุกซ์ทั้งตัว (ในที่นี้คือ Debian) มารันใน VM อีกทีหนึ่ง
Dell มีโน้ตบุ๊ก XPS 13 Developer Edition รุ่นที่ใช้ Ubuntu มาตั้งแต่ปี 2012 และตามอัพเดตให้เรื่อยมา
ล่าสุด Dell เปิดตัว XPS 13 รุ่นปี 2020 ที่เป็น Developer Edition โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 20.04 LTS รุ่นใหม่ที่สุดด้วย (ก่อนหน้านี้เคยขายมาแล้ว แต่เป็น Ubuntu 18.04 LTS)
ในแง่ฮาร์ดแวร์คงไม่มีอะไรต่างจาก XPS 13 (2020) รุ่นปกติ ที่ใช้ดีไซน์ใหม่ขอบบาง, หน้าจอ 16:9, ซีพียู Intel 10th Gen เปิดให้สั่งซื้อได้แล้วในราคาเริ่มต้น 1,099.99 ดอลลาร์
Andrea Righi พนักงานของ Canonical และทีมงานพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ของ Ubuntu เสนอแพตช์เข้าเคอร์เนลลินุกซ์ ช่วยให้ระยะเวลาการ hibernate/resume ของลินุกซ์เร็วกว่าเดิมมาก
หลักการทำงานของ hibernate คือนำข้อมูลจากในแรมเก็บลงดิสก์ และเรียกกลับคืนแรมตอน resume ซึ่งเคอร์เนลสั่งอาจคืนบางส่วนของแรมออกก่อนเพื่อประหยัดพื้นที่ดิสก์ โดยสร้างข้อมูลเหล่านี้ใหม่หลัง resume
จากประเด็น Linux Mint ประกาศไม่ใช้แพ็กเกจ Snap ตาม Ubuntu ตัวแทนของบริษัท Canonical ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่า Chromium เป็น Snap มาตั้งแต่ Ubuntu 19.10 แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเปลี่ยนในเวอร์ชัน 20.04 LTS
ส่วนเหตุผลที่ทำแพ็กเกจ Chromium เป็น Snap เพียงอย่างเดียวเป็นเพราะ
Linux Mint เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวมันพัฒนาต่อมาจาก Ubuntu อีกทีหนึ่ง แต่ล่าสุดทีมพัฒนา Linux Mint ประกาศไม่ใช้ ระบบแพ็กเกจแบบ Snap ที่ Ubuntu พยายามผลักดันแล้ว
เมื่อไม่นานมานี้ เราเพิ่งเห็น Lenovo ออก ThinkPad Fedora Edition ล่าสุด Lenovo ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการประกาศว่าพีซี ThinkStation ทุกรุ่น และโน้ตบุ๊ก ThinkPad P Series จะผ่านการรับรองว่าใช้งานลินุกซ์ได้
ดิสโทรที่ Lenovo รับรองมีทั้ง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) และ Ubuntu LTS ซึ่งเป็นดิสโทรยอดนิยมในโลกองค์กรอยู่แล้ว
Lenovo บอกว่าในอดีต บริษัทรองรับลินุกซ์กับฮาร์ดแวร์เพียงบางรุ่น แต่คราวนี้ตั้งใจรองรับทั้งซีรีส์ (ทุกตัวที่เป็นสินค้ากลุ่มเวิร์คสเตชันคือ ThinkStation และ ThinkPad P) เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าลงทุนกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้วใช้ได้ยาวๆ