ถ้าจำกันได้ iOS 14 มีคุณสมบัติใหม่สำคัญคือผู้ใช้สามารถกำหนดแอปพื้นฐาน (Default) สำหรับแอปอีเมลหรือเบราว์เซอร์ได้เอง แต่ในช่วงแรกก็พบบั๊กรีเซ็ตการตั้งค่าส่วนนี้ และแอปเปิลก็ออกอัพเดตแก้ไขในสัปดาห์ถัดมา
ล่าสุดมีผู้พบบั๊กการตั้งค่าแอปพื้นฐานถูกรีเซ็ตเองอีกครั้ง โดยพบแม้ใน iOS 14.1 ที่เพิ่งออกมา
โดยปัญหาจะเกิดขึ้น เมื่อผู้ใช้งานตั้งค่าแอปพื้นฐานเป็นแอปอื่น เช่น Gmail หรือ Microsoft Edge แล้วแอปนั้นออกอัพเดตเวอร์ชันใหม่ผ่าน App Store ซึ่งหลังแอปอัพเดตเรียบร้อย ค่าแอปพื้นฐานจะรีเซ็ตกลับเป็นแอป Mail หรือ Safari คืน
มีรายงานบั๊กที่ถูกค้นพบใน iOS 14 หลังจากที่แอปเปิลปล่อยอัพเดตเวอร์ชันใหม่ออกมาเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นบั๊กในฟีเจอร์ใหม่ ที่ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าแอปพื้นฐาน (Default) สำหรับแอปเมลหรือเบราว์เซอร์ได้
โดยปัญหาที่เจอนั้น หากผู้ใช้งานกำหนดค่าแอปพื้นฐาน สำหรับอีเมล หรือเบราว์เซอร์ เป็นแอปอื่นที่ไม่ใช่ Mail หรือ Safari จะสามารถใช้งานตามที่ตั้งค่าไว้ได้จนกระทั่งรีสตาร์ทเครื่อง ค่าต่าง ๆ ก็จะกลับคืนเป็น Mail กับ Safari ทำให้ต้องไปตั้งค่าใหม่ซ้ำอีกครั้ง
คาดว่าแอปเปิลจะออกอัพเดตเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเร็ว ๆ นี้
มีผู้ใช้ Samsung Galaxy S8 และ Note 8 จำนวนหนึ่ง รายงานปัญหา GPS ไม่สามารถจับพิกัดได้เวลาใช้แอพนำทางตอนขับรถ (เช่น Google Maps) ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น กระทู้ Reddit หรือเว็บบอร์ด XDA
ผู้ใช้บางรายระบุว่าอาการนี้จะเกิดเฉพาะในโหมดนำทาง (navigation) เท่านั้น เมื่อสั่งหยุดนำทาง สัญญาณ GPS จะกลับมาเป็นปกติ ผู้ใช้อีกรายตั้งข้อสังเกตว่าอาการนี้เกิดขึ้นหลังติดตั้งแพตช์ความปลอดภัยรอบเดือนมิถุนายน 2020 แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าสาเหตุมาจากแพตช์ตัวนี้จริงๆ หรือไม่
ตอนนี้ซัมซุงยังไม่แถลงหรือกล่าวถึงปัญหานี้
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์แก้บั๊กพรินเตอร์หลายรุ่นใช้งานไม่ได้ ที่เกิดจากแพตช์รอบเดือน มิ.ย. 2020
แพตช์ตัวนี้แก้ปัญหาพรินเตอร์ ตั้งแต่ Windows 10 April 2018 Update ไล่มาจนถึง May 2020 Update ตัวล่าสุด (เลขแพตช์จะแตกต่างกันไปตามเวอร์ชันของ Windows โดย May 2020 Update จะเป็น KB4567523) ผู้ใช้สามารถอัพเดตผ่าน Windows Update ได้ตามปกติ
ปัญหาอัพเดตรายเดือนของ Windows สร้างบั๊ก ยังเป็นปัญหาที่รุมเร้าไมโครซอฟท์เสมอมา ล่าสุดในแพตช์รอบเดือนมิถุนายน 2020 ก็มีแพตช์ที่สร้างปัญหาให้พรินเตอร์บางรุ่นใช้งานไม่ได้
สาเหตุเกิดจากแพตช์ KB4560960 และ KB4557957 ทำให้ระบบ printer spooler มีปัญหา โดยพรินเตอร์ที่ได้รับผลกระทบ มีรายงานทั้งยี่ห้อ HP, Canon, Brother, Ricoh, Kyocera รวมถึงอาจเกิดปัญหากับคำสั่ง Print to PDF ด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่ารับทราบปัญหาแล้ว และกำลังหาทางแก้ไข โดยทางแก้ในตอนนี้คือต้องถอนอัพเดตเหล่านี้ออกชั่วคราว
ในวันนี้ ผู้ใช้ iOS อาจสังเกตว่าแอปที่ขึ้นแจ้งเตือนให้อัพเดตใน App Store มีจำนวนมากกว่าปกติ หลายแอปอาจเพิ่งอัพเดตไปไม่กี่วันก่อน แต่ก็ขึ้นมาให้อัพเดตอีกครั้ง ย้อนหลังไปถึง 10 วัน
แม้ไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากแอปเปิล แต่คาดว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้ใช้งานบัญชี Family Sharing ไม่สามารถเปิดแอปได้ โดยแสดงข้อความเตือน "This app is no longer shared with you" จึงคาดว่าเป็นปัญหาใบรับรองยืนยันการซื้อแอปถูกต้องหมดอายุ ซึ่งการดาวน์โหลดแอปใหม่เป็นการอัพเดตข้อมูลใบรับรองดังกล่าวนั่นเอง
ที่มา: MacRumors
มีรายงานจากผู้ใช้ iOS บางส่วน พบปัญหาไม่สามารถเปิดแอปที่ใช้งานเป็นประจำได้ตามปกติ โดยขึ้นข้อความเตือนว่า "This app is no longer shared with you" และระบุว่าเพื่อใช้งานแอปนี้ ต้องซื้อแอปจาก App Store จากนั้นก็เด้งไปที่ App Store ในหน้าแอปนั้น และมีตัวเลือกเดียวคือ Open จากนั้นก็วนลูปแบบนี้
คาดว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากระบบตรวจสอบแอปว่าผ่านการซื้อถูกต้องหรือไม่ของแอปเปิล ซึ่งในหน้า System Status ถึงตอนนี้ก็ไม่ได้ระบุว่ามีปัญหาใด ทั้งนี้รายงานปัญหาพบทั้งใน iOS 13.5 เวอร์ชันล่าสุด และเวอร์ชันเก่ากว่านั้น
วันนี้ผู้ใช้ซัมซุงทั่วโลกได้รับข้อความแจ้งเตือนจากแอพ Find My Mobile โดยเป็นข้อความเขียนว่า "1 1" (คนละบรรทัดกัน) ที่ไม่มีความหมาย
บัญชี Samsung Help UK ยืนยันการแจ้งเตือนครั้งนี้ว่าเป็นความผิดพลาดจากการทดสอบภายใน และไม่ส่งผลอะไรกับการใช้งานของผู้ใช้
ส่วนตัวแล้วผมใช้ซัมซุง และได้ข้อความแจ้งเตือนเช่นกัน ในเวลาช่วงบ่ายต้นๆ ของวันนี้ (เวลาที่ได้รับอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละคน)
มีผู้ใช้ Windows 7 หลายราย แจ้งปัญหาว่าไม่สามารถสั่งปิดเครื่องได้ โดยเจอข้อความแจ้งเตือน You don't have permission to shut down this computer
กลุ่มผู้ใช้ใน Reddit แนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น (workaround) ด้วยการสร้างบัญชีแอดมินใหม่อีกอัน สลับบัญชี แล้วใช้บัญชีนั้นสั่งปิดเครื่องแทน หรืออีกวิธีหนึ่งคือเข้าไปเปลี่ยนค่า "User Account Control: Run all administrators in Admin Approval Mode." ใน Registry (อ่านวิธีอย่างละเอียดได้ตามที่มา)
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าสาเหตุของบั๊กนี้เกิดจากอะไร และไมโครซอฟท์จะยังอัพเดตแพตช์แก้บั๊กนี้ให้หรือไม่ เพราะ Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้ว
กูเกิลเผยว่า มีบั๊กใน Google Photos ช่วงวันที่ 21 - 25 พ.ย. ปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่าระบบส่งข้อมูลวิดีโอส่วนตัวที่ผู้ใช้สำรองไว้บนคลาวด์ไปให้ผู้ใช้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยผ่านฟีเจอร์ Download your data
กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้ทำการดาวน์โหลดข้อมูลของตัวเองออกมา จะติดเอารูปภาพและวิดีโอที่ไม่ใช่ของตัวเองเข้ามาด้วย กูเกิลระบุว่าได้แก้ไขบั๊กตัวนี้แล้ว กูเกิลแนะนำผู้ใช้ที่ export ข้อมูลของตัวเองออกไปในช่วง 21 - 25 พ.ย. ปีที่ผ่านมาให้ลอง export ใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม กูเกิลไม่ได้บอกว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกี่ราย บอกเพียงว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 0.01% ของจำนวนผู้ใช้งาน Google Photos
iOS 13.3 ที่ออกอัพเดตมาไม่กี่วันก่อน มีฟีเจอร์ใหม่ตัวหนึ่งคือ Communication Limits ที่ผู้ปกครองสามารถกำหนดการใช้โทรศัพท์ของเด็กได้ ซึ่งควบคุมได้ถึงรายชื่อคนที่สามารถติดต่อได้ และช่วงเวลาใช้งานแต่ละแอป อย่างไรก็ตามดูเหมือนฟีเจอร์ดังกล่าวจะยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์แบบนัก
CNBC พบบั๊กในคุณสมบัติดังกล่าว กรณีรายชื่อผู้ติดต่อไม่ได้ตั้งค่าจัดเก็บไว้ที่ iCloud เป็นค่าเริ่มต้น หากมีข้อความจากคนแปลกหน้าส่งเข้ามา เด็กสามารถเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อคนนั้นเข้าไปได้เองโดยไม่ต้องขอรหัสผ่านจากผู้ปกครอง นอกจากนี้หากเด็กใช้ Apple Watch ยังใช้ช่องโหว่ให้เพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อผ่าน Siri บน Apple Watch ก็ได้
ถึงแม้แอปเปิลจะออกอัพเดต iOS 13.1 และ iPadOS 13.1 ซึ่งแก้ไขบั๊กหลายรายการสำคัญไปจาก 13.0 แต่แอปเปิลก็ได้ชี้แจงปัญหาในหน้าสนับสนุน เตือนลูกค้าเกี่ยวกับบั๊กที่ยังค้นพบใน iOS 13.1 ซึ่งจะได้รับการแก้ไขในอัพเดตถัดไป กระทบกับผู้ใช้งานที่ลงคีย์บอร์ดเพิ่มเติมจากนักพัฒนาภายนอกเข้ามา
ปัญหาดังกล่าวแอปเปิลบอกว่าคีย์บอร์ดที่โหลดเพิ่มมานั้น อาจเข้าถึงข้อมูลได้ครบทั้งหมด (full access) เท่าที่อนุญาตได้ แม้ผู้ใช้จะไม่อนุญาตก็ตาม ซึ่งอาจรวมทั้งการส่งข้อมูลออกไปทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม iOS กำหนดค่าเอาไว้ว่ากรณีเป็นการพิมพ์ช่องรหัสผ่าน (password) จะต้องใช้คีย์บอร์ดพื้นฐานของ iOS เท่านั้น แม้ตอนนั้นจะใช้คีย์บอร์ดอื่นอยู่
แอปเปิลได้ปิดการทำงานของแอป Walkie Talkie บน Apple Watch เป็นการชั่วคราว โดยแอปเปิลให้เหตุผลว่าพบช่องโหว่ ซึ่งอาจทำให้บุคคลอื่นสามารถดักฟังข้อความเสียงที่ส่งหากันได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน ซึ่งแอปเปิลจะกลับมาเปิด Walkie Talkie ให้ใช้งานได้อีกครั้ง เมื่อแก้ไขปัญหานี้สมบูรณ์
แอป Walkie Talkie มีไว้สำหรับส่งข้อความเสียงสั้น ๆ หากันระหว่างผู้ใช้ Apple Watch เริ่มมีตั้งแต่ watchOS 5 และเป็นแอปพื้นฐานที่อยู่บน watchOS ฉะนั้นตัวแอปจะยังคงอยู่ เพียงแต่ไม่สามารถใช้งานได้
YouTube Music และ YouTube Premium เป็นบริการชมวิดิโอและฟังเพลงแบบเสียเงินของ YouTube ซึ่งแน่นอนว่าคนที่จ่ายเงินต้องคาดหวังว่าจะไม่มีโฆษณามากวนใจ
ทว่าล่าสุดมีผู้ใช้หลายคนรายงานทั้งใน Reddit และหน้า YouTube Communityว่าพบโฆษณาจากทั้งสองบริการข้างต้น รวมถึงไม่สามารถเปิดเพลงฟังจากแบ็คกราวด์ได้ ซึ่งทาง YouTube ก็ระบุว่าทราบเรื่องแล้วและกำลังแก้ปัญหานี้อยู่ พร้อมแนะนำว่าให้ลองปิดบลูทูธและรีสตาร์ทแอปใหม่ น่าจะช่วยได้เป็นการชั่วคราว
นักวิจัยจากบริษัทความปลอดภัย Check Point รายงานการค้นพบช่องโหว่ขั้นร้ายแรงบน WinRAR โปรแกรมบีบอัดและแตกไฟล์ชื่อดัง ซึ่งกระทบทุกเวอร์ชันที่ WinRAR เคยออกมาตลอด 19 ปี
นักวิจัยเรียกช่องโหว่นี้ว่า Absolute Path Traversal ซึ่งเป็นช่องโหว่ของไลบรารีภายนอกที่ชื่อว่า UNACEV2.DLL ที่ WinRAR เอาไว้แตกไฟล์ฟอร์แมท .ace โดย WinRAR จะตรวจสอบว่าไฟล์เป็นฟอร์แมต .ace จากเนื้อไฟล์โดยตรงไม่ใช่นามสกุลของไฟล์ ทำให้แฮกเกอร์สามารถแฝงมัลแวร์หรือไฟล์มุ่งร้ายมาในฟอร์แมท .ace โดยแก้สกุลเป็น .rar และเมื่อแตกไฟล์ออกมา แฮกเกอร์สามารถแตกไฟล์ดังกล่าวไปไว้ในโฟลเดอร์ที่แฮกเกอร์กำหนดไว้ได้
แอปเปิลได้ทำจดหมายถึงสื่อ ชี้แจงประเด็นบั๊ก FaceTime แบบกลุ่ม ที่ทำให้คนโทรเข้าฟังเสียงได้เลย แม้ปลายทางยังไม่ได้รับสาย ซึ่งแอปเปิลได้ปิดให้บริการ FaceTime แบบกลุ่มชั่วคราวระหว่างเตรียมออกอัพเดตแก้ไข
รายงานนี้สืบเนื่องจากบั๊ก FaceTime ที่สามารถดักฟังเสียงปลายสายได้ แม้ไม่มีการรับสาย ซึ่งล่าสุดได้ปิดบริการ FaceTime กลุ่มไปชั่วคราว โดยมีข้อมูลว่าแอปเปิลได้รับการแจ้งเตือนถึงช่องโหว่ดังกล่าวนี้มากว่า 1 สัปดาห์แล้ว เพียงแต่ยังไม่เป็นข่าว
ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม ผู้ใช้ Twitter ได้ทวีตเมนชั่นไปหา Apple Support ระบุว่าลูกชายของเขาพบช่องโหว่ร้ายแรงใน iOS ที่ทำให้สามารถดักฟัง iPhone/iPad ได้ โดยอีกฝ่ายไม่ต้องกดตอบรับ ผู้ร้องเรียนนั้นคือ Michele Thompson ซึ่งได้ข้อมูลจากลูกชายเขา ที่บังเอิญพบช่องโหว่นี้ ขณะกำลัง FaceTime กลุ่มกับเพื่อนก่อนเล่น Fortnite ด้วยกัน
จากปัญหาช่องโหว่ FaceTime ของแอปเปิล ที่ทำให้คนโทรเข้าสามารถดักฟังเสียงผ่านไมโครโฟนของปลายสายได้ แม้ปลายสายไม่ได้กดรับสายก็ตาม เบื้องต้นแอปเปิลบอกว่าจะออกอัพเดตซอฟต์แวร์ภายในสัปดาห์นี้ ล่าสุดเพื่อตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแอปเปิลจึงใช้มาตรการขั้นหนักแบบทันใจ
โดยแอปเปิลได้ตัดสินใจปิดให้บริการ FaceTime แบบกลุ่ม (Group FaceTime) ชั่วคราว ซึ่งเป็นบริการต้นเหตุของบั๊กนี้ ขณะที่ FaceTime แบบ 1 ต่อ 1 ยังใช้งานได้ปกติ ซึ่งในหน้าสถานะระบบระบุว่าได้พบปัญหาและจะใช้งานไม่ได้ตั้งแต่เวลา 10:16น. ของวันนี้ (ของภาษาไทยระบุว่า FaceTime ใช้ไม่ได้ทั้งหมด ขณะที่ภาษาอังกฤษบอกว่าเฉพาะ Group FaceTime)
มีรายงานจากผู้ใช้งาน OS X Yosemite ว่าพบปัญหาหลังจากอัพเดต iTunes เวอร์ชันล่าสุด 12.8.1 ที่ออกมาสำหรับ macOS รุ่นเก่า (เวอร์ชันล่าสุดคือ 12.9 ใช้ได้กับ Mojave เท่านั้น) โดยเมื่ออัพเดต iTunes แล้วจะไม่สามารถเปิดใช้งาน Safari ได้
มีผู้ตั้งข้อสังเกตใน Stack Exchange ว่า iTunes เวอร์ชันนี้มีอาจมีการอัพเดต Framework บางตัว ที่ทำให้การเรียกใช้ Safari มีปัญหา อย่างไรก็ตามแอปเปิลยังไม่ได้ออกมาให้ข้อมูลและวิธีแก้ไขเบื้องต้น
ผู้ที่ยังใช้ OS X Yosemite ทางเลือกก็คืออัพเกรดไปเป็น macOS เวอร์ชันใหม่กว่า แต่หากอัพเกรดไม่ได้ ก็คงต้องใช้เบราว์เซอร์อื่นไปก่อนในตอนนี้
ที่มา: MacRumors
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเฟซบุ๊กและผู้ใช้งานอีกครั้ง เมื่อนักพัฒนาของเฟซบุ๊กออกมาเปิดเผยการค้นพบบั๊กใน API ที่ทำให้แอปภายนอกสามารถเข้าถึงรูปภาพของผู้ใช้ที่ถูกอัพโหลดเอาไว้ แม้จะยังไม่ได้กดแชร์ก็ตาม เพราะเฟซบุ๊กจะก๊อปปี้ภาพนั้นเอาไว้เผื่อกลับมาโพสต์ ซึ่งครอบคลุมทั้งบนไทม์ไลน์, มาร์เก็ตเพลซและ Stories
เฟซบุ๊กกล่าวขอโทษจากปัญหานี้ พร้อมระบุว่าบั๊กนี้ทำให้แอปภายนอกกว่า 1,500 แอปจากนักพัฒนา 876 คนสามารถเข้าถึงรูปผู้ใช้ได้ระหว่างวันที่ 13 กันยายนถึง 25 กันยายนที่ผ่านมา คาดกระทบผู้ใช้กว่า 6.8 ล้านคน โดยแอปที่เข้าถึงรูปจากบั๊กนี้นั้นคือแอปที่เฟซบุ๊กให้เข้าถึงผ่านทาง API และผู้ใช้ให้สิทธิเข้าถึงรูปภาพบนเฟซบุ๊ก
จากกรณี Windows 10 October 2018 Update (v1809) เจอบั๊กลบไฟล์ผู้ใช้ ที่ร้ายแรงถึงขั้นไมโครซอฟท์ต้องระงับการอัพเดตนานเป็นเดือน ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าไมโครซอฟท์ปล่อยให้บั๊กนี้หลุดมาได้อย่างไร ทั้งที่มีผู้ใช้ Insiders ค้นพบและแจ้งบั๊กเข้ามาก่อนแล้ว
ไมโครซอฟท์ไม่ได้อธิบายเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ แต่เว็บไซต์ Windows Central ได้ข้อมูลจากแวดวงพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า จริงๆ แล้วบั๊กนี้ไม่ได้รอดสายตาทีมงานตอนที่แจ้งเข้ามาใน Feedback Hub แต่พลาดเพราะทีมงานสับสนกับบั๊กคล้ายๆ กันอีกตัว เลยเข้าใจว่าเป็นบั๊กตัวเดียวกัน
อาการแพตช์คุณภาพต่ำจนต้องถอนการอัพเดต ไม่ได้เกิดเฉพาะกับ Windows เท่านั้น ล่าสุดไมโครซอฟท์ต้องยกเลิกแพตช์ประจำเดือนของ Office ออกสองตัว เพราะอัพเดตแล้วทำให้โปรแกรมในชุด (โดยเฉพาะ Microsoft Access) แครช
แพตช์สองตัวนี้คือ KB4461522 และ KB2863821 ซึ่งเป็นแพตช์เกี่ยวกับปฏิทินภาษาญี่ปุ่น ความโชคดีของเรื่องนี้คือมันเป็นแพตช์เฉพาะ Office 2010 เท่านั้น ช่วยลดผลกระทบของการแครชให้แคบลง
ไมโครซอฟท์ถอนแพตช์สองตัวนี้จากการอัพเดตแล้ว และแนะนำให้คนที่ติดตั้งไปแล้ว ลบออกด้วยเช่นกัน
ที่มา - Betanews
Windows 10 October 2018 Update (v1809) เพิ่งกลับมาเปิดให้อัพเดตอีกครั้ง หลังแก้บั๊กลบข้อมูลของผู้ใช้งาน แต่ก็ไม่วายมีปัญหายิบย่อยอื่นๆ ตามมา
จากเอกสารของไมโครซอฟท์เอง ระบุปัญหาที่พบ (known issue) ไว้ 3 ข้อคือ
มีรายงานจากผู้ใช้ Apple Watch จำนวนหนึ่งที่อัพเดต watchOS เป็นเวอร์ชันล่าสุด 5.1 ซึ่งออกมาพร้อมกับ iOS 12.1 ในวันนี้ ว่าพบปัญหาเครื่องค้างที่โลโก้แอปเปิล ไม่ตอบสนองหรือใช้งานใด ๆ ต่อได้ ถึงแม้รีสตาร์ทหรือจับคู่กับ iPhone ใหม่ก็ไม่หาย
ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวเท่าที่มีรายงานออกมา พบในเฉพาะ Apple Watch Series 4 รุ่นล่าสุดเท่านั้น
ล่าสุดแอปเปิลยังไม่ออกมาชี้แจงรายละเอียดใด ๆ แต่ได้หยุดปล่อยอัพเดต watchOS 5.1 ไปเรียบร้อยแล้ว คำแนะนำสำหรับผู้ประสบปัญหาเครื่องค้างก็คือให้ติดต่อศูนย์บริการแอปเปิล ส่วนใครที่ดาวน์โหลดสำเร็จแต่ยังไม่ได้ลง ก็ให้ลบและรออัพเดตตัวใหม่ออกมาไปก่อน
Windows 10 October 2018 Update หรือ v1809 ยังมีบั๊กโผล่ออกมาให้เห็นเรื่อยๆ โดยบั๊กตัวล่าสุดเกี่ยวกับการเปิดไฟล์ ZIP ถูกพูดถึงในชุมชนผู้ใช้มาสักระยะ แต่เพิ่งได้รับการยืนยันจากไมโครซอฟท์
บั๊กตัวนี้คือการเปิดไฟล์ ZIP ด้วย File Explorer แล้วลากไฟล์ภายใน ZIP ออกมาเพื่อคัดลอกหรือย้ายไฟล์ (โดยไม่ได้สั่ง extract หรือแตกไฟล์ ZIP ก่อน) แล้วโฟลเดอร์ปลายทางมีไฟล์ชื่อเดียวกันอยู่ก่อน หรือผู้ใช้ไม่มีสิทธิเขียนไฟล์ในโฟลเดอร์นั้น