กรมสรรพากรของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าอินโดนีเซียมีแผนจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกรรมสินทรัพย์คริปโต และจะคิดภาษีจากกำไรการขาย (Capital Gain) ที่อัตราร้อยละ 0.1 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นไป
ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้สินทรัพย์คริปโต มีสถานะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) จึงสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และเนื่องจากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ธุรกรรมซื้อขายต้องถูกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
ข้อมูลระบุว่าตลาดการซื้อขายคริปโตในอินโดนีเซียก็เติบโตสูงในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันในหลายประเทศ โดยมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวจากปี 2020
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของรัฐสภายุโรป (Committee on Economic and Monetary Affairs) ลงมติรับร่างกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินผ่านคริปโต
ร่างกฎหมายนี้กำหนดให้ ธุรกรรมคริปโตทุกรายการ ต้องมีข้อมูลของผู้ทำธุรกรรมเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลสามารถตามรอยได้ หากเป็นกรณีซื้อผ่านตัวกลางหรือ exchange ต้องทำ KYC ทั้งหมด รวมถึงกระเป๋าเงินส่วนตัว (unhosted หรือ self-hosted wallet) กฎหมายก็ระบุให้ต้องตามรอยเช่นกัน หากกฎหมายผ่านแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลจะมีหน้าที่หาโซลูชันทางเทคนิคเพื่อให้ตามรอยได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายนี้มีข้อยกเว้นให้การทำธุรกรรมแบบ P2P ระหว่างบุคคลโดยตรงที่ไม่ผ่านตัวกลาง
สหภาพยุโรปออกแถลงการณ์ รายงานความคืบหน้ารายละเอียดของกฎหมายดิจิทัล Digital Markets Act (เรียกย่อว่า DMA) ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือ แอพแชตส่งข้อความรายใหญ่ จะต้องรองรับการรับ-ส่งข้อความ กับแพลตฟอร์มขนาดเล็กรายอื่นด้วย
กฎหมายนี้มีเป้าหมายกำกับดูแลแพลตฟอร์มแชตขนาดใหญ่ นิยามว่ามีผู้ใช้งาน MAUs อย่างน้อย 45 ล้านคน เฉพาะในยุโรป หรือหากเป็นแอปแชตระดับองค์กรต้องมีลูกค้ามากกว่า 10,000 รายเฉพาะยุโรปเช่นกัน
แนวทางของ DMA เพื่อให้แพลตฟอร์มรายใหญ่เปิดให้แอปแชตรายเล็ก เข้าถึงผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มได้ โดยในแถลงการณ์ได้ยกตัวอย่างเช่น iMessage, Facebook Messenger หรือ WhatsApp ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากในยุโรป จะต้องเปิดให้แอปอื่นส่งข้อความไปหาหรือรับข้อความได้
เมื่อวานนี้ สภาผู้แทนราษฎรของอินเดีย (โลกสภา) ลงมติผ่านกฎหมายงบประมาณประจำปี 2022 โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการเก็บภาษีคริปโต ตามแนวทางที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดียเสนอเข้าสภา
กฎหมายภาษีคริปโตของอินเดีย (ครอบคลุมเงินคริปโตและ NFT) จะเก็บภาษีในอัตรา 30% จากกำไรในการขาย (capital gain) โดยไม่สามารถนำการขาดทุนมาหักกับกำไรได้ และเก็บภาษี 1% กับทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าซื้อหรือขาย (TDS หรือ tax deductible at source) โดยภาษี TDS สามารถนำไปยื่นรวมกับภาษีเงินได้ประจำปี เผื่อบุคคลนั้นสามารถลดหย่อนได้
วันนี้นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตอบคำถามในรัฐสภาระหว่างการประชุมสมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง โดยพูดถึงประเด็นแก๊งล่อลวงหลอกเงินประชาชนรูปแบบต่างๆ ว่ารัฐบาลกำลังพยายามจัดการปัญหา พร้อมกับต้องแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจในการจัดการ
รูปแบบการแก้ไขยังไม่ชัดเจนนัก แต่นายชัยวุฒิ พูดถึงประเด็นใหญๆ่ ได้แก่ การแก้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่กำลังมีการศึกษากันอยู่, การควบคุมเงินคริปโตที่เป็นช่องทางใหญ่ในการนำเงินออกนอกประเทศหลังจากหลอกลวงมาได้, และการจัดตั้ง Single Gateway ควบคุมข่าวสาร
สัปดาห์ที่แล้ว รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายดิจิทัลสำคัญฉบับหนึ่งคือ Digital Services Act (ต่อไปจะย่อ DSA) ด้วยคะแนน 530 ต่อ 78 เสียง (งดออกเสียง 80)
กฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ ที่มีภาระความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในการนำเนื้อหาหรือสินค้าผิดกฎหมายออกจากแพลตฟอร์มภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหาผิดกฎหมาย ข่าวปลอม สินค้าผิดกฎหมาย
ในกรณีที่เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (very large online platforms หรือ VLOP) ยังมีหน้าที่ต้องนำเนื้อหาที่อันตราย (harmful ซึ่งอาจไม่ผิดกฎหมาย) และข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ และเปิดเผยอัลกอริทึมที่ใช้คัดเลือกเนื้อหามาแสดงด้วย
นักการเมืองสหรัฐจากพรรคเดโมแครต นำโดย ส.ส. Paul Tonko ออกมาเสนอร่างกฎหมาย Stopping Grinch Bots Act เอาผิดบ็อตช็อปปิ้งที่มาไล่กวาดซื้อสินค้าออนไลน์บางอย่าง
กฎหมายฉบับนี้ใช้คำว่า "cyber Grinch" นิยามพฤติกรรมของบ็อตที่กว้านซื้อของเล่นยอดนิยมในช่วงเทศกาล แล้วนำมาขายต่อในราคาที่แพงขึ้น (คำว่า Grinch หมายถึงตัวละครในนิทานเด็กของ Dr. Seuss ที่ขโมยของขวัญของเด็กๆ, เรื่องเดียวที่ดัดแปลงเป็นหนัง How the Grinch Stole Christmas!)
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Scott Morrison มีแผนเตรียมจะเสนอกฎใหม่ ให้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter เปิดเผยตัวตนของคนคอมเม้นท์หมิ่นประมาท โดยให้ผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนแพลตฟอร์มให้ลบคอมเม้นท์หมิ่นประมาทที่ส่งผลกระทบต่อตัวเอง และถ้าแพลตฟอร์มไม่ทำตาม กระบวนการศาลจะสามารถบังคับให้แพลตฟอร์มระบุตัวตนของผู้หมิ่นประมาทในโซเชียลได้
Scott Morrison บอกว่า บนโลกออนไลน์ไม่ควรเป็นพื้นที่ให้พวกหัวรุนแรง ทำร้ายผู้คนโดยไม่เปิดเผยตัวตนได้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกจริง และไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลเช่นกัน
รัฐสภายุโรปเตรียมเสนอโหวตกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) เพื่อควบคุมพฤติกรรมของแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ให้ผูกขาดหรือใช้อิทธิพลไปกลั่นแกล้งคู่แข่ง
กฎหมายฉบับนี้ให้นิยาม "ผู้คุมแพลตฟอร์ม" (gatekeeper) ซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ๆ เช่น เว็บค้นหา โซเชียลเน็ตเวิร์ค แพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ แพลตฟอร์มแชร์วิดีโอ ผู้ให้บริการคลาวด์ ฯลฯ โดยคำนวณจากมูลค่าบริษัทตามราคาตลาดต้องเกิน 8 หมื่นล้านยูโร และมีรายได้ในยุโรปเกิน 8 พันล้านยูโรต่อปี
รัฐสภาอินเดียเตรียมนำกฎหมายคริปโต Cryptocurrency and Regulation of Official Digital Currency Bill เข้าหารือในการเปิดสภารอบใหม่ ที่จะเริ่มในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้
ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอให้แบนเงินคริปโตทุกประเภท ด้วยเหตุผลด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนการก่อการร้าย ยกเว้นเงินสกุลดิจิทัลอย่างเป็นทางการ (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) ที่ออกโดยธนาคารกลางของอินเดีย (Reserve Bank of India)
ร่างกฎหมายนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรัฐสภาอินเดียเคยพูดถึงมารอบหนึ่งแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และตัวนายกรัฐมนตรี Narendra Modi ที่เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาด้านคริปโต ก็มีท่าทีแข็งกร้าวในเรื่องนี้
ออสเตรเลียกำลังวางแผนร่าง Online Privacy Bill กฎหมายบังคับให้โซเชียลมีเดีย ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ก่อนที่ผู้ใช้งานอายุต่ำกว่า 16 ปีจะเช้าใช้งาน และจะมีค่าปรับหากบริษัทโซเชียลไม่ปฏิบัติตามกฎ โดยกฎนี้ตั้งใจว่าจะบังคับใช้กับแพลตฟอร์มออนไลน์ ตั้งแต่ Facebook Reddit WhatsApp รวมถึงแอปหาคู่ต่างๆ
จากประเด็นรัซเท็กซัส สหรัฐฯ ออกกฎหมายห้ามทำแท้งในอายุครรภ์เกิน 6 สัปดาห์ ทำให้ Shar Dubey ซีอีโอ Match Group เจ้าของแอปหาคู่ Tinder ประกาศกับพนักงาน แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย และจะตั้งกองทุนช่วยพนักงานในเท็กซัส ที่ต้องการรับความช่วยเหลือเรื่องทำแท้ง
Dubey บอกว่าในฐานะผู้หญิงและแม่ ต้องออกมาพูดอะไรบางอย่าง เธออพยพมาจากอินเดียเมื่อ 25 ปีที่แล้ว และรู้สึกตกใจที่ตัวเองอาศัยอยู่ในรัฐที่กฎหมายของผู้หญิงมีความถดถอยมากกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมถึงอินเดีย ซึ่งกฎหมายนี้ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการข่มขืน
ในที่สุด เกาหลีใต้ก็ผ่านกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Google และ Apple จำกัดนักพัฒนาแอปไม่ให้ไปใช้ระบบจ่ายเงินภายนอก โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างรอประธานาธิบดี มุนแจอิน ลงนาม
จีนผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายนนี้ ตัวกฎออกแบบมาเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในจีน บริษัทต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้งานในการนำข้อมูลไปใช้ จำกัดขอบเขตในการจัดการข้อมูล มีแนวทางในการป้องกันข้อมูลเมื่อต้องถ่ายโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ เรียกได้ว่ามีความใกล้เคียงกับ GDPR หรือกฎคุ้มครองข้อมูลในยุโรปเลย
Google เผยในสหรัฐฯ ตัวเลขการขอเข้าถึงข้อมูลอุปกรณ์และข้อมูลส่วนตัวและพิกัดโดยรัฐ โดยในสามปีมีตัวเลขขอเข้าถึง 20,932 รายการแบ่งเป็นปี 2018 มี 982, ปี 2019 เพิ่มขึ้นเป็น 8,396 และปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 11,554 การร้องขอส่วนใหญ่ได้รับจากหน่วยงานท้องถิ่นและของรัฐ โดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางคิดเป็นเพียง 4%
Google เผยในสหรัฐฯ ตัวเลขการขอเข้าถึงข้อมูลอุปกรณ์และข้อมูลส่วนตัวและพิกัดโดยรัฐ โดยในสามปีมีตัวเลขขอเข้าถึง 20,932 รายการแบ่งเป็นปี 2018 มี 982, ปี 2019 เพิ่มขึ้นเป็น 8,396 และปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 11,554 การร้องขอส่วนใหญ่ได้รับจากหน่วยงานท้องถิ่นและของรัฐ โดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางคิดเป็นเพียง 4%
วันที่ 13 ส.ค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศกฎหมายลูกของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2564 ลงราชกิจจานุเบกษา มีข้อกำหนดเพิ่มเติมหลายเรื่อง และแบ่งแยกประเภทผู้ให้บริการรูปแบบใหม่ๆ อย่าง Clubhouse และ Telegram ด้วย
ประกาศฉบับนี้เป็นการอัปเดตจากประกาศฉบับเดิมเมื่อปี 2007 ที่ออกตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับแรก
กระทรวงการสื่อสาร, โครงสร้างพื้นฐาน, เมือง, และศิลปะของออสเตรเลียเสนอร่างข้อบังคับสำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์ ชื่อว่า "Draft Online Safety (Basic Online Safety Expectations) Determination 2021" กำหนดกรอบความรับผิดชอบของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการควบคุมการกระทำผิดกฎหมาย เช่น การสร้างความรังเกียจกัน (cyber-bully), การเผยแพร่ภาพโดยไม่ได้รับความยินยอม, ไปจนถึงการกระตุ้นให้ใช้ความรุนแรง
ส่วนหนึ่งของร่างข้อบังคับนี้ ระบุว่าหากผู้ให้บริการมีบริการที่เข้ารหัส ผู้ให้บริการต้องวางกระบวนการที่สมเหตุสมผลเพื่อตรวจสอบเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือเป็นอันตราย
เดือนมกราคมที่ผ่านมา ลีแจยอง (Lee Jae Yong) รองประธานกรรมการบริหารของกลุ่มซัมซุง ทายาทของลีคุนฮี (Lee Kun-hee) อดีตประธานกลุ่มซัมซุงผู้ล่วงลับ ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือนข้อหาจ่ายสินบนให้อดีตประธานาธิบดี พัค กึน-เฮ จำนวน 8.6 พันล้านวอน (7.51 ล้านดอลลาร์)
ล่าสุด กระทรวงยุติธรรมในวันจันทร์ตัดสินให้รอลงอาญา ลีแจยอง เขาจะออกจากสถานกักกันกรุงโซลในวันศุกร์นี้ (13 ส.ค.) โดยลีแจยอง จะได้รับการปล่อยตัวพร้อมๆ กับผู้ต้องขังหลายร้อยคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานของเกาหลีใต้ในวันประกาศอิสรภาพ ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ส.ค.
หลังจากที่ประยุทธ์ออกคำสั่งตัดอินเทอร์เน็ตผู้เสนอข่าว ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวจนกระทบความมั่นคงไป วันนี้ รมว. DES ให้สัมภาษณ์ระบุว่าการตีความว่าข่าวใดที่เข้าข่ายทำให้หวาดกลัวต้องดูที่เจตนา โดยดุลยพินิจเป็นของเจ้าหน้าที่กระทรวง DES กสทช. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการเสนอข่าวแม้จะเป็นความจริงแต่ถ้าเป็นการเสนอข่าวที่ไม่ครบถ้วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความเชื่อมั่นก็อาจเข้าข่ายดังกล่าวได้
นายสิทธิโชค อินนทรวิเศษ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาออก "คำแนะนำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่าด้วยแนวทางการพิจารณาคำร้องขอให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 20" วางแนวทางการไต่สวนคำร้องขอบล็อคเว็บจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อให้เว็บไซต์สามารถเข้ามาโต้แย้งได้ หลังกระทรวงดิจิทัลยื่นคำร้องขอให้ปิด VoiceTV ทุกช่องทางออนไลน์เมื่อปี 2020 ไม่ใช่เพียงแค่ปิดกั้นข้อความที่ผิดกฎหมายเท่านั้น
เครือข่าย StarHub ของสิงคโปร์ ออกแคมเปญนำกล่องทีวีเถื่อน มาแลกเป็นกล่อง StarHub TV+ ของแท้ ใช้ฟรีนาน 2 ปี มูลค่า 120 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 3 พันบาท)
ประเทศสิงคโปร์กำลังจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ (Copyright Act) อยู่ในกระบวนการของสภา กฎหมายฉบับนี้ระบุว่าการขายกล่องเถื่อนมีความผิดอาญา มีทั้งโทษปรับและจำคุก ทำให้ StarHub ชิงจังหวะออกโปรโมชั่นให้นำกล่องเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์ มาแลกเป็นกล่อง TV+ แบบไม่ต้องเสียค่าเช่านาน 2 ปี ระหว่างที่กฎหมายยังไม่ผ่าน โปรโมชั่นนี้มีถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2021
StarHub ระบุว่าจะนำกล่องเถื่อนที่นำมาแลก ถือเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เข้ากระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม
วันนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างกฎกระทรวงคมนาคมที่จะเปิดทางให้นำรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งมาให้บริการผ่านแอป เช่น GrabCar ได้อย่างถูกกฎหมาย
ร่างล่าสุดที่เปิดเผยออกมา มีการควบคุมการลงทะเบียน รถที่ใช้งานได้ต้องอายุไม่เกิน 9 ปี (อธิบดีกำหนดอายุได้) มีการติดเครื่องหมายแสดงการเป็นรถรับจ้างเอาไว้ที่ตัวรถ ตัวแอปต้องมีระบบคิดค่าโดยสารล่วงหน้า และเก็บข้อมูลย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ส่วนข้อบังคับเพิ่มเติมของผู้ขับขี่นั่นระบุให้แต่งกายสะอาด สุภาพ แนวทางนี้นับว่าคล้ายกับแนวทางของสิงคโปร์ แต่ไม่มีเงื่อนไขการสอบใบขับขี่แบบพิเศษแบบสิงคโปร์แต่อย่างใด
วันนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บางหมวดออกไปอีก 1 ปี หลังจากเลื่อนมาหนึ่งปีก่อนหน้านี้
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่าภาคธุรกิจอย่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, และกลุ่มสมาคมด้านการท่องเที่ยว ได้ขอให้รัฐบาลบรรเทาผลกระทบจากความไม่พร้อมต่อกฎหมายนี้ ทางกระทรวง DE จึงเสนอให้ครม. เลื่อนกฎหมายออกไป
Cyberspace Administration of China หรือ CAC หน่วยงานควบคุมอินเทอร์เน็ตของจีน ออกกฎกำกับดูแลแพลตฟอร์มไลฟ์ขายของ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องระบุรายการสินค้าที่ผิดกฎหมาย และหากมีพฤติกรรมขายสินค้าปลอม โกงยอดคนดู หรือมีความเกี่ยวข้องกับการพนันก็จะถูกแบนทันที
ตัวกฎระบุให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องจ้างผู้ดูแลด้านเนื้อหาไลฟ์สด เพื่อตรวจจับและคัดกรองเนื้อหาไลฟ์ให้ปลอดภัย และควรตั้งระบบบัญชีดำป้องกันคนทำผิดซ้ำๆ เป้าหมายของกฎใหม่คือ สร้างสังคมอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยและรักษาสิทธิผู้บริโภคท่ามกลางการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ๆ