นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศข่าวแผนการควบรวม TOT และ CAT เป็นบริษัทเดียว โดยจะใช้ชื่อว่า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (National Telecom Public Company Limited ตัวย่อ NT) มีกำหนดจดทะเบียนบริษัท 7 มกราคม 2564
วันนี้นายพุทธิพงษ์ ยังได้พบกับพนักงานและสหภาพแรงงานของทั้งสองบริษัท เพื่อสื่อสารให้เข้าใจเรื่องการควบรวมบริษัทเป็น NT มากขึ้น โดยนายพุทธิพงษ์บอกว่า NT จะเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีศักยภาพด้าน 5G และดาวเทียม การควบรวมยังลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนด้วย
วันนี้ในงาน Powering Digital Thailand จัดโดยหัวเว่ย มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาพูดเปิดงาน, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดีอี และณัฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มาบรรยาย Blognone ได้เก็บรายละเอียดมาฝาก
นายภุชพงศ์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเปิดเผยว่าศาลอาญามีคำสั่งปิดช่องทางออนไลน์ของ Voice TV ทั้งหมดหลังจากทางกระทรวงนำหลักฐานเสนอศาล โดยระบุว่าพบการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
กระทรวงดิจิทัลได้รับคำสั่งจากกอร.ฉ. ให้ติดตามสื่อออนไลน์ 5 ราย ได้แก่ Voice TV, ประชาไท, The Reporters, The Standard, และเพจเยาวชนปลดแอก นายภุชพงศ์ระบุว่าอีก 4 รายนั้นก็มีการเสนอศาลไปเช่นกันแต่ยังไม่ได้รับคำสั่งศาลกลับมา
ที่มา - ThaiPBS
เมื่อเช้านี้หลังกรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่คำเตือนของกระทรวงดิจิทัลว่าให้ระวังการโพสโซเชียลผิดกฎหมาย ทางกระทรวงเองก็ประกาศรายละเอียดออกมาเพิ่มเติมว่าจะเอาผิดกับกลุ่มผู้โพสต้นทางก่อน โดยระบุชื่อได้แก่ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์ ระยอง) พร้อม Voice TV และเพจ Free YOUTH
ทางกระทรวงไม่ได้ระบุว่าจำนวนโพสที่จะเอาผิดกับบุคคลเหล่านี้เป็นจำนวนกี่โพส แต่ระบุเพียงจำนวนรวม 324,990 เรื่อง เป็นทวิตเตอร์ 75,076 เรื่อง, เฟซบุ๊ก 245,678 เรื่อง, และเว็บบอร์ด 4,236 เรื่อง ในจำนวนนี้รวมถึงการรีทวีตและกดแชร์ไปด้วย
กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) ออกคำสั่งให้กสทช. และกระทรวงดิจิทัลตรวจสอบและระงับการออกรายการของสื่อออนไลน์หลายแห่ง ได้แก่ Voice TV, ประชาไท, The Reporters, The Standard, และเพจเยาวชนปลดแอก
คำสั่งฉบับนี้ลงวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่เพิ่งมีการเผยแพร่ผ่านเพจจุลสารราชดำเนินของสมาคมนักข่าวในเช้าวันนี้ และทางเพจได้ลบเอกสารออกไปภายหลัง อย่างไรก็ดีคุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย นักข่าวของ The Reporters ยืนยันว่าเป็นเอกสารจริง และทางกอร.ฉ. จะแถลงข่าวในวันนี้
วันนี้หลังกระทรวงดิจิทัลประกาศกำชับแนวทางการปิดกั้นข้อมูลตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็มีรายงานว่าเว็บ Change.org ถูกปิดกั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผมทดสอบจาก AIS Fibre และ dtac ก็พบว่าถูกบล็อคทั้งคู่ โดย redirect 302 ไปยังไอพี 125.26.170.3
update: ข้อมูลจากคุณ icez พบว่า Change.org จาก https://change.org จะ redirect ไปยัง http://www.change.org เสมอ ทำให้เว็บเชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัสครั้งหนึ่งจนทำให้ระบบบล็อคเว็บสามารถตรวจพบ URL ได้
กระทรวงดิจิทัลจัดประชุมร่วมกับกสทช., ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP), และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ให้ช่วยกันเฝ้าระวังและดำเนินการต่อข้อมูลและเว็บไซต์ที่ผิดต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เพิ่งประกาศเมื่อช่วงเวลาตีสี่ที่ผ่านมา และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ
แถลงของกระทรวงย้ำถึง มาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่า "ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด รวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร"
หลังจากเมื่อวานนี้ทวิตเตอร์ได้รายงานถึงบัญชีไอโอของกองทัพบกไทยจำนวน 926 บัญชี ล่าสุดพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลก็ออกมาแสดงความรู้สึกแปลกที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ "และโดยเฉพาะในช่วงเวลานี้" แทนที่จะดำเนินการปิดกั้นหา หรือลบบัญชีของผู้ที่โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันหลักของไทย
พุทธิพงษ์เรียกร้องให้ทวิตเตอร์ปิดกั้นเนื้อหาตามคำสั่งศาลไทย "เพื่อแสดงความจริงใจในการทำงานที่โปร่งใสของทวิตเตอร์เอง"
ก่อนหน้านี้พุทธิพงษ์ เคยแสดงความสงสัยต่อเฟซบุ๊กว่าทำไมระบบแปลข้อความอัตโนมัติถึงแปลผิด
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าแจ้งความกับแพลตฟอร์มสามแพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, และอินสตาแกรม หลังจากทั้งสามแพลตฟอร์มไม่ปิดกั้น URL ต่างๆ ที่ทางกระทรวงดีอีได้แจ้งให้ปิดกั้นไปแล้วเกิน 15 วัน ขณะที่ยูทูปนั้นได้ปิดกั้นแล้วจนครบ
ก่อนหน้านี้ พุทธิพงษ์ เคยระบุว่าการที่แพลตฟอร์มไม่ทำตามคำสั่งปิดกั้นอาจผิด มาตรา 27 ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่มีค่าปรับไม่เกิน 200,000 บาทต่อ URL และค่าปรับรายวันอีก 5,000 บาทต่อ URL โดยรายการที่แพลตฟอร์มยังไม่ได้ปิดกั้น ได้แก่ เฟซบุ๊ก 436 รายการ, ทวิตเตอร์ 64 รายการ, และอินสตาแกรม 1 รายการ
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับ Facebook หลังไม่ยอมบล็อกเนื้อหาทั้งหมดที่หน่วยงานรัฐไทยร้องขอ โดยกล่าวว่า หาก Facebook ไม่ทำตามข้อเรียกร้องให้ลบหรือปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมายไทย อาจผิดกฎหมายมาตรา 27 ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่กำหนดไว้ว่า
“ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกวาจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”
หลังจากที่ช่อง Thai PBS ได้ถ่ายทอดสด พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 แต่มีข้อความส่วนหนึ่งถูกแปลผิดพลาด วันนี้พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลก็ออกมาแสดงท่าทีแสดงความไม่พอใจต่อคำชี้แจงของเฟซบุ๊กว่า "บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของโลก เหตุใดถึงมีข้อผิดพลาดในการแปลแบบนี้ได้" พร้อมแสดงภาพมีข้อความ "มาตรการขั้นเด็ดขาด เตรียมดำเนินการเฟซบุ๊ก หากผิด พ.ร.บ. คอม!!!"
นอกจากประเด็นการแปลผิดแล้ว รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลยังระบุว่าเฟซบุ๊กทำลบข้อมูลตามคำสั่งศาลของไทยเพียง 20% ขณะที่ YouTube ของกูเกิลปิดหรือลบเกือบ 90%
เมื่อวานนี้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แชร์ภาพข่าวนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ที่เตือนคนไทยให้อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยระบุว่าเป็นบางส่วนของบทความในงานสัมมนาตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว "จึงไม่สามารถอ้างอิงกับสถานการณ์ปัจจุบันได้"
ข้อความเดิมที่มีการแชร์กันนั้นก็ระบุไว้ชัดเจนว่า "คาดว่าน่าจะหลายปีมาแล้ว" อยู่ในข้อความ แต่นายพุทธิพงษ์ก็ยังยืนยันว่าเป็นข่าวปลอม และระบุว่าศูนย์ปราบ Fake News จะหาต้นตอผู้สร้าง
วันนี้เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวงไอซีทีนั้น แต่งตั้งนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรี
นายพุทธิพงษ์ แกนนำกปปส. ในกลุ่มที่ลาออกมาจากพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และผู้ดูแลเวทีราชประสงค์ระหว่างการชุมนุมของกปปส. เมื่อปี 2014 ก่อนจะออกบวช และกลับมาลงสมัครสส. บัญชีรายชื่อในนามพรรคพลังประชารัฐ
ดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบงค์ 2017 งานนิทรรศการเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จากทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคดิจิทัล ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล
จุดประสงค์หลักของงานนี้คือต้องการให้ผู้เข้าชมได้มองเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและเชื่อมประเทศไทยสู่เวทีโลก
วันนี้เราจะพาไปชมบูธ บรรยากาศและไฮไลท์ที่น่าสนใจภายในงานกันครับ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) จัดงาน "ดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017" วันที่ 21-24 กันยายน ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ถือเป็นนิทรรศการเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
งาน Digital Thailand Big Bang 2017 มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศตอบรับเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ Global Entrepreneurship Network (GEN) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำหน้าที่สร้างเครือข่ายของสตาร์ทอัพใน 165 ประเทศทั่วโลก โดย โจนาธาน ออร์ทแมนส์ (Jonathan Ortmans) ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง GEN ได้ตอบรับมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกประกาศจัดซื้อจัดจ้างโครงการจัดทำศูนย์ข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมเทคโนโลยี เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ เป็นโครงการรวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบจัดเก็บข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์
โครงการนี้มีหลายระบบทำพร้อมกัน เช่น ระบบฐานข้อมูลคดี, ระบบป้องกันการโจมตี, และแม้แต่ห้องประชุม (มีไมโครโฟนด้วย) แต่ส่วนสำคัญคงเป็น ระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก Social Network เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และความมั่นคงของชาติ ระบบนี้มีมูลค่า 28.4 ล้านบาท จากโครงการทั้งหมด 128.5 ล้านบาท
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในงานแถลงข่าวของ AIS วันนี้ ว่าเตรียมเสนอแผนตั้ง Digital Park Thailand เขตอุตสาหกรรมดิจิทัลขนาดใหญ่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย
โครงการ Digital Park Thailand จะใช้ที่ดินของ CAT Telecom ที่มีอยู่ประมาณ 500 ไร่ สร้างพื้นที่นวัตกรรม โดยอาศัยจุดแข็งด้านการต่อเชื่อมกับ Eastern Seaboard ดึงบริษัทไอทีระดับโลกอย่าง Google, Facebook, Amazon และมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วมใช้พื้นที่นี้ เพื่อดึงดูดแรงงานด้านดิจิทัลระดับหัวกะทิมาทำงานที่นี่
พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์นักข่าวและกล่าวถึงประเด็นที่มีผู้ไม่เห็นด้วยเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ว่า อย่าไปเชื่อโซเชียลมาก เพราะอันตราย เชื่อแล้วมาเป็นแนวร่วมต่อต้านทำลายชาติ
โดยเนื้อหาในคลิปเสียงของ พล.อ.เฉลิมชัย จากทวิตเตอร์ของคุณวาสนา นาน่วม ระบุว่า "หลายๆ ฝ่าย ที่พูดถึงซิงเกิ้ลเกตเวย์ต่างๆ มันก็คลี่คลายไปแล้ว แต่มีมุมอื่นที่กลุ่มเห็นต่างพยายามจับมาเป็นประเด็น โซเชียลมีเดียต้องระวัง เพราะจริงบ้างเท็จบ้าง และเวลาเราเชื่อก็กลายเป็นแนวร่วม แล้วก็มาร่วมมือกันทำลายชาติบ้านเมืองของตัวเอง"
ช่วงหัวค่ำวันนี้ มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ (นับเป็นคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 4) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเรามี "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" คนแรกแล้วคือ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ถูกโยกมานั่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ แทน
ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงวิทย์ฯ คนใหม่คือนางอรรชกา สีบุญเรือง ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีเดิม (และถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีคนสุดท้าย ก่อนเปลี่ยนเป็นกระทรวงดิจิทัลฯ) มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (rotate กัน 3 คน 3 ตำแหน่ง)
หลังเครือข่ายพลเมืองเน็ตและองค์กรนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย ยื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภาลงมติไม่รับร่างพ.ร.บ. ในวาระ 2 และวาระ 3 นั้น
ล่าสุด พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ สมาชิก สนช. และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยืนยันว่าคณะกรรมาธิการจะพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้รัดกุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมยืนยันว่าไม่มีการนำเรื่องซิงเกิลเกตเวย์เข้ามาปนอย่างที่เข้าใจผิดกัน เนื่องจากเป็นกฎหมายอีกฉบับ ไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
วันนี้มีผู้สื่อข่าวเข้าสัมภาษณ์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่จะประชุมพิจารณาวาระสุดท้ายในวันพรุ่งนี้ โดยนายกฯ ยังยืนกรานว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีความจำเป็น โดยเฉพาะสกัดเว็บหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถึงซิงเกิ้ลเกตเวย์ว่าจะไม่นำมาใช้ แต่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะมีข้อมูลด้านลบมาจากต่างประเทศ ซึ่งป้องกันยาก โดยเฉพาะการหมิ่นสถาบัน
ช่วงเช้าวันนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้เข้ายื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
วันนี้มีผู้สื่อข่าวจากมติชน เข้าสัมภาษณ์ พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ของกองทัพบก ถึงร่าง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง โดยพล.ต.ฤทธี ยืนยันว่า พ.ร.บ. คอมฯมีประโยชน์ เหมาะกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี
"ขอเรียนประชาชนทุกท่านควรอ่านข้อกฎหมายให้ครบถ้วน และไม่ควรหลงเชื่อกระแสบิดเบือนข้อมูลจนทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาที่คนไทยทั้งชาติอยู่ในความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งต้องการความรัก สามัคคี และกำลังใจในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลับคืนมาโดยเร็ว" พล.ต.ฤทธี กล่าว
พล.ต.ฤทธี กล่าวเพิ่มเติมว่า วอนอย่าเชื่อคนสร้างกระแสบิดเบือน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ประเด็นที่ถกเถียงกันมากใน ร่าง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ คือ มาตรา 20 เรื่อง "การระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์" ที่เป็นความผิด, อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง, เป็นความผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ในมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ประกาศหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูล ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ โดยในกฎหมายไม่ได้ให้รายละเอียดว่าประกาศฉบับนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
สพธอ. เผยแพร่ "ร่าง ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ" ซึ่งมีรายละเอียดว่าด้วยกรรมวิธีในการระงับการทำให้แพร่หลาย (บล็อก) ซึ่งข้อมูล
ข้อสังเกตของร่างประกาศฉบับนี้ อยู่ที่วรรคที่สามและสี่ ของข้อสี่ ซึ่งกล่าวว่า
เมื่อวานนี้เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีประกาศตั้ง "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของกระทรวงกระทวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที
ขณะเดียวกัน นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีทีเดิมก็ได้เผยโฉมโลโก้กระทรวงใหม่ด้วย ออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยยังคงโทนสีเขียวเหมือนเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของพระพุธที่อยู่ตรงกลางโลโก้ จากเดิมที่จะถือเอกสารคล้ายใบลานในพระหัตถ์ขวา และถือดาบ หรือกริชในมือซ้าย เปลี่ยนเป็น พระหัตถ์ขวากำลังเปล่งรัศมีวงคลื่น คล้ายสัญญาณดิจิทัล พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์