SiFive ผู้ออกแบบชิปในชุดคำสั่ง RISC-V ปลดพนักงานออก 20% จากพนักงานเดิมที่มากกว่า 500 คน แม้เพิ่งจะเปิดตัวซีพียูสองรุ่น แต่บริษัทยืนยันว่ายังมีทุนเพียงพอ
ตัวชุดคำสั่ง RISC-V นั้นเปิดให้ทุกคนสามารถพัฒนาชิปที่ชุดคำสั่งเข้ากันได้อย่างเสรี แต่ตัวพิมพ์เขียวซีพียูที่ทำตามคำสั่งนั้นได้มีผู้ผลิตหลายรายซึ่งอาจจะขายหรือเป็นโครงการโอเพนซอร์สก็ได้ ตัวสถาปัตยกรรม RISC-V นั้นได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะชิปในกลุ่ม IoT ที่มีการใช้งานเป็นวงกว้างแล้ว แต่ชิปประสิทธิภาพสูงนั้นยังคงใช้งานกันในวงจำกัด
รัฐบาลแคนาดาประกาศประกาศช่องทางขอวีซ่าทำงานด้วยเงื่อนไขพิเศษคือเป็นผู้ถือวีซ่า H-1B ของสหร้ฐฯ มาก่อน หลังจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ปลดคนจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
การขอวีซ่าทำงานด้วย H-1B นี้จะเริ่มวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ผู้ที่ได้รับอนุมัติจะได้รับวีซ่าทำงานแบบไม่จำกัดนายจ้างสูงสุด 3 ปี และครอบครัวมีสิทธิ์ขอวีซ่าผู้อยู่อาศัย, วีซ่าทำงาน, หรือวีซ่านักเรียนแล้วแต่กรณี ทางรัฐบาลแคนาดากำหนดโควต้าช่องทางนี้ไว้ 10,000 รายนับเฉพาะผู้ขอวีซ่าหลัก
แนวทางขอวีซ่าใหม่นี้เป็นหนึ่งในชุดนโยบายดึงคนทำงานสายเทคโนโลยีเข้าแคนาดา ช่องทางขอวีซ่าประเภทอื่นๆ เช่น Innovation Stream สำหรับผู้มีความสามารถเข้าข่ายที่กำหนด, วีซ่าสตาร์ตอัพ, และวีซ่าทำงานสำหรับแรงงานด้าน STEM
Richard Johnson CISO ของธนาคาร Westpac ในออสเตรเลียออกมาระบุว่าธนาคารจะเปลี่ยนแนวทางการเขียนประกาศรับสมัครงานเสียใหม่ หลังพบว่าการเขียนเงื่อนไขที่แน่นเกินไปกระทบกับผู้สมัครหญิงมากเป็นพิเศษ
เขายกตัวอย่างการตั้งเงื่อนไขประสบการณ์ 5 ปีกับเทคโนโลยีบางตัว เมื่อผู้สมัครหญิงมีคุณสมบัติไม่ตรงก็มักจะข้ามไม่สมัครไปเลย ขณะที่ผู้สมัครชายจะลองสมัครดูก่อน โดยหลังจากนี้จะพูดถึงแนวทางการทำงานมากขึ้นแทนที่จะเน้นความสามารถทางเทคนิคบางอย่างเป็นการเฉพาะ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 8 โดยเพิ่มข้อความมาตราเดียว คือมาตรา 23/1 ระบุถึงแนวทางการจ้างงานที่ลูกทำงานจากที่บ้านหรือทำงานจากสถานที่อื่นๆ โดยเพิ่มรูปแบบการจ้างที่ชัดเจนขึ้น ระบุชัดเจนว่าสามารถทำข้อตกลงจ้างงานเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้
นอกจากรูปแบบการจ้างแล้ว มาตรานี้ยังระบุให้ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารจากนายจ้างไม่ว่าทางใดๆ เมื่ออยู่นอกเวลางาน ยกเว้นได้ทำความยินยอมเป็นหนังสือล่วงหน้าไว้ก่อน และมาตรานี้ยังยืนยันว่าลูกจ้างที่ทำงานจากที่บ้านมีสิทธิเท่ากับลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงาน
กฏหมายใหม่นี้มีผลบังคับจริง 30 วันหลังประกาศ
Amazon ประกาศปลดพนักงานเพิ่มเติมอีก 9,000 คนหลักจากรอบปลายปี 2022 จนถึงมกราคม 2023 นั้นปลดไปแล้ว 18,000 คน โดย Andy Jessy ระบุว่ารอบที่แล้วบริษัทมีเวลาไม่พอที่จะวิเคราะห์ว่าจะลดคนส่วนใดได้บ้างทำให้มีการประกาศเพิ่มในรอบนี้
การปลดคนในรอบนี้กระทบคนทำงานในธุรกิจที่ทำกำไรได้ดีอยู่ด้วย เช่น ธุรกิจโฆษณา และ AWS หลังจากที่รอบก่อนหน้านี้เน้นไปที่ธุรกิจที่ไม่ทำเงินนัก เช่น ร้านค่าปลีก อย่าง Amazon Fresh และ Amazon Go รวมถึงทีมทำผู้ช่วยดิจิทัล Alexa
แม้จะประกาศออกมาแล้วว่าจะปลดคนแต่บริษัทก็ยังไม่ได้ตัดสินใจรายชื่อผู้ที่จะถูกปลดจริงๆ โดยจะแจ้งผู้ถูกปลดกลางเดือนเมษายนไปจนถึงสิ้นเดือน
DigitalOcean ประกาศลดพนักงานโดยปลดพนักงานออกทั้งหมด 11% หรือประมาณ 200 คน แบ่งเป็นสองกลุ่มคือคนที่ถูกปลดทันทีวันนี้ 100 คนและพิจารณาปลดเพิ่มอีก 100 คน โดยผู้บริหารระบุว่าจะพยายามปลดคนรอบเดียวให้จบเพื่อไม่ให้กระทบการทำงานเพิ่มอีก
Yancey Spruill ซีอีโอของบริษัทระบุว่ารายได้ของ DigitalOcean มาจากนอกสหรัฐฯ ถึง 70% จึงจะพิจารณาเน้นการจ้างงานนอกสหรัฐฯ เพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็มีการปรับโครงสร้างให้ลำดับการบัญชาการน้อยลง
Kathy Korevec รองประธานฝ่ายโปรดักของบริษัท Vercel ผู้พัฒนาเฟรมเวิร์ค NextJS เขียนบทความลง GitHub ลงโครงการ The ReadME Project ถึงการสมัครงานว่าระหว่างสัมภาษณ์เธอถามคำถามกับผู้สัมภาษณ์เสมอ และทำให้เห็นภาพว่าควรทำงานกับบริษัทนั้นหรือไม่ แทนที่การสัมภาษณ์จะเป็นการพิจารณาผู้สมัครอย่างเดียว
Kathy เล่าถึง 5 คำถามสำคัญที่เธอถามผู้สัมภาษณ์เธอ
กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา (Department of Labor) ได้เสนอร่างกฎหมายพิจารณาการจัดประเภทคนทำงานในกลุ่ม gig worker อาทิ ไรเดอร์ผู้ให้บริการผ่านแอปสั่งอาหาร, คนขับรถ Uber หรือ Lyft รวมทั้งแรงงานอื่นๆ ที่ทำงานในลักษณะเป็น "คู่สัญญา" กับบริษัทต่างๆ ในการส่งมอบบริการให้แก่ลูกค้า โดยอาจจัดให้คนกลุ่มนี้มีสถานะเป็นเหมือนพนักงานของบริษัทที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงเรื่องอัตราค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ
Rishad Premji ประธานบริษัท Wipro ผู้ให้บริการไอทีรายใหญ่ของอินเดีย ไปพูดในงานสัมมนาผู้บริหาร AIMA โดยพูดถึงประเด็นการที่พนักงานไปรับงานนอก (moonlighting) ว่าช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเขาไล่พนักงานออกไปแล้วถึง 300 ฐานไปรับงานนอกจากบริษัทคู่แข่ง
ตัว Premji เคยทวีตถึงเรื่องนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่าการรับงานนอกเป็นการโกง (cheating) จนกลายเป็นการเปิดประเด็นว่าตัว Premji เองก็ทำงานหลายองค์กรไปพร้อมกัน แม้ว่าองค์กรส่วนมากจะเป็นบริษัทในเครือของ Wipro เอง และอีกส่วนเป็นองค์กรภายใต้มูลนิธิ Azim Premji Foundation ที่สร้างจากเงินบริจาคของ Azim Premji ผู้ก่อตั้ง Wipro ผู้เป็นพ่อของ Rishad Premji
ไมโครซอฟท์ยื่นเอกสารประจำปีส่ง ก.ล.ต. สหรัฐ (ตามกฎของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์) เผยจำนวนพนักงานเต็มเวลา ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 221,000 คน (ไม่นับเอาท์ซอร์ส) เพิ่มขึ้นจากรอบการส่งเอกสารของปีที่แล้ว 40,000 คน หรือมีจำนวนพนักงานเพิ่มราว 22% ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
มีรายงานจาก Reuters อ้างเอกสารภายในของอินเทล ระบุว่าบริษัทแจ้งพนักงาน ให้หยุดการจ้างพนักงานใหม่รวมทั้งตำแหน่งที่เปิดรับแล้วทั้งหมดชั่วคราว มีผลเฉพาะฝ่าย Client Computing ที่ดูแลธุรกิจของพีซีเดสก์ท็อปและโน๊ตบุ๊ค บางตำแหน่งอาจกลับมาเปิดให้รับคนได้ใน 2 สัปดาห์ หากมีความจำเป็น
ตัวแทนของอินเทลชี้แจงรายงานข่าวดังกล่าวว่า บริษัทยังคงอยู่ในแผนงานเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว ในตอนนี้การโฟกัสที่ค่าใช้จ่ายและลำดับความสำคัญ จะช่วยบริษัทท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง
ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากข้อมูลภาพรวมตลาดพีซีของปี 2022 ซึ่งคาดว่าจะเติบโตชะลอตัวลง ทั้งจากผลกระทบในยูเครน ตลอดจนการเปิดเมืองหลังการระบาดของโควิด
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับนโยบายการจ้างงาน โดยระบุว่าเป็นการปรับความสัมพันธ์กับพนักงาน ได้แก่ ยกเลิกข้อกำหนดห้ามทำงานกับคู่แข่ง, ยกเลิกบังคับรักษาความลับในข้อตกลงเมื่อเกิดกรณีพิพาท, เพิ่มความโปร่งใสในการจ่ายค่าตอบแทน, เพิ่มการตรวจสอบสิทธิพลเมืองภายในองค์กร
ประกาศครั้งนี้ระบุว่าแม้สัญญาจ้างงานของไมโครซอฟท์จะมีเงื่อนไขการห้ามแข่งขันมานานแล้ว แต่บริษัทก็ไม่สนับสนุนให้ใช้มาดึงตัวพนักงานไม่ให้ย้ายงาน และที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยได้บังคับใช้ข้อตกลงนี้นัก แต่กลับสร้างความไม่สบายใจให้พนักงานโดยไม่จำเป็น หลังจากนี้ข้อตกลงเหล่านี้จะถูกยกเลิกให้กับพนักงานใหม่และจะไม่นำมาบังคับใช้กับพนักงานเดิม แต่ยกเว้นพนักงานระดับสูงเช่นผู้บริหารและพาร์ทเนอร์เท่านั้น
ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทล่าสุดที่มีข่าวชะลอการจ้างพนักงานใหม่ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในช่วงนี้
ข้อมูลนี้มาจากอีเมลภายในของ Rajesh Jha ผู้บริหารตำแหน่ง Executive Vice President ที่ส่งหาพนักงาน (หลุดออกมายัง Bloomberg) ระบุว่าไมโครซอฟท์จะชะลอการจ้างพนักงานในทีม Windows, Office, Teams แต่นโยบายนี้ไม่กระทบกับทีมอื่น โฆษกของไมโครซอฟท์ยืนยันข่าวนี้และบอกว่าเป็นการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Department of Treasury) ออกประกาศแจ้งเตือนว่าเกาหลีเหนือกำลังส่งออกแรงงานไอทีนับพันคน รับงานบริษัทต่างชาติโดยปิดบังสัญชาติที่แท้จริงของคนทำงานเพื่อหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรสหรัฐฯ
แรงงานไอทีเหล่านี้มักมีฐานรับงานอยู่นอกเกาหลีเหนือ เช่น จีน, รัสเซีย, บางส่วนอยู่ในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยการปลอมแปลงเอกสารประจำตัวว่าเป็นคนจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังตั้งบริษัทนอกเกาหลีเหนือเพื่อบังหน้า
Amazon ประกาศปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานออฟฟิศและสายเทคโนโลยี โดยปรับเพดานเงินเดือนจาก 160,000 ดอลลาร์ต่อปีเป็น 350,000 ดอลลาร์ต่อปี พร้อมกับขึ้นเงินเดือนโดยรวมให้พนักงานเพื่อดึงตัวพนักงานเอาไว้
ศาลสูงจีน (Supreme People's Court) ออกบทความร่วมกับกระทรวงแรงงานและประกันสังคมจีน ชี้ว่าแนวทางการทำงานอย่างหนักของบริษัทจีนหลายแห่ง หรือที่เรียกว่าการทำงานแบบ 996 (เริ่ม 9 โมงเช้า เลิก 3 ทุ่ม 6 วันต่อสัปดาห์) นั้นผิดกฎหมาย พร้อมกับยกตัวอย่างคดีที่ศาลเคยตัดสินมาแล้ว 10 คดี
คดีที่ระบุมา เช่น การบังคับทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา, คดีพนักงานทำงานหนักจนเป็นลมและเสียชีวิตในที่สุด ล้วนเป็นคดีที่นายจ้างต้องรับผิดชอบจากการใช้งานพนักงานอย่างหนัก
หนังสือพิมพ์ CPPCC ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเผยแพร่บทความของ Ling Zhenguo รองประธานกรรมาธิการด้านประชาชน, ทรัพยากร, และสิ่งแวดล้อม วิจารณ์ถึงแนวทางของบริษัทไอทีจีนที่มักใช้งานพนักงานอย่างหนัก จนมีชื่อเรียกแนวทางการทำงานว่า 996
Ling ระบุว่าการใช้คนเยี่ยงเครื่องจักรนั้นไม่สอดคล้องกับแนวทางสังคมนิยมของจีน และบริษัทไอทีต้องหันมามองคนเป็นศูนย์กลาง เลิกคำนวณต้นทุนของพนักงานทุกคนทุกวินาที
เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ขณะเกิดเหตุจลาจลและบุกสภาสหรัฐฯ พนักงาน GitHub รายหนึ่งได้ส่งข้อความลง Slack เตือนเพื่อนร่วมงานถึงว่าให้ระวังพวกนาซี ("stay safe homies, Nazis are about,") แต่สองวันหลังจากนั้นฝ่ายบุคคลก็แจ้งไล่พนักงานคนนั้นออก โดยระบุเหตุผลว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมตามนโยบายบริษัท
เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความไม่พอใจแก่พนักงานของ GitHub เองเป็นวงกว้าง และพนักงานส่งจดหมายเวียนภายในขอให้ซีอีโอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับกลุ่มเหยียดสีผิวและนาซี
Drew Houston ซีอีโอ Dropbox ส่งอีเมลแจ้งพนักงานว่าเขาได้ตัดสินใจเลิกจ้างพนักงาน 315 คนหรือคิดเป็น 11% ของพนักงานทั้งบริษัทหลังจากเคยสัญญากับพนักงานว่าจะไม่ปลดพนักงานในปี 2020 นอกจากนี้ Olivia Nottebohm ซีโอโอบริษัทยังลาออกจากตำแหน่งมีผลวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้
Drew ยกตัวอย่างเหตุผลที่ต้องปลดคนครั้งนี้ว่าบริษัทได้ปรับตัวให้พนักงานทำงานจากที่บ้านเป็นหลัก (virtual first) ทำให้ต้องการฝ่ายสนับสนุนการทำงานในออฟฟิศลดลง พร้อมกับขอโทษต่อพนักงานที่ถูกปลดและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ
Sundar Pichai ซีอีโอ Alphabet บริษัทแม่กูเกิลส่งแถลงผ่านอีเมลถึงสื่อมวลชนขอโทษต่อพนักงานถึงกรณีการเลิกจ้าง Timnit Gebru ระบุเขารับรู้เรื่องนี้แล้ว และกำลังสอบสวนว่าเกิดอะไรขึ้น
Sundar ยังไม่ได้ยอมรับว่ามีการกระทำผิดในกระบวนการเลิกจ้าง Gebru แต่เขาระบุว่า การที่พนักงานหญิงผิวดำความสามารถสูงออกจากบริษัทไปด้วยความไม่พอใจสร้างผลกระทบต่อเนื่องต่อชุมชนกลุ่มน้อยในบริษัทที่รู้สึกว่าถูกกระทำแบบเดียวกับ Gebru ในกรณีนี้
วันนี้กลุ่มไรเดอร์ Grab ในประเทศไทยรวมตัวประท้วงหน้าอาคารธนภูมิ สำนักงานแกร็บประเทศไทย เพื่อเรียกร้องเงื่อนไขการทำงานหลายประเด็น นับแต่การจัดการเมื่อเกิดเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้, กระบวนการคุ้มครองไรเดอร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และรายได้
ข้อเรียกร้องด้านรายได้ เช่น ค่ารับงานในต่างจังหวัดไม่เท่ากับในกรุงเทพฯ ไรเดอร์เรียกร้องให้มีค่าตอบแทนจากการรอหลายออเดอร์ในการวิ่งรอบเดียวกัน (งานแบช) ไปจนถึงขอให้มีค่ารออาหารเมื่อต้องรอนาน ผู้ประท้วงบางคนร้องเรียนว่าเมื่อ Grab ให้ส่วนลดคนเรียกใช้งานก็กลับไปลดค่าบริการของคนขับด้วย ทำให้รายได้ลดลง
Hired บริษัทจัดหางานออกรายงานสำรวจแบรนด์ของที่คนหางานอยากทำงานด้วยมากที่สุด หรือ Global Brand Health Report เป็นรายงานต่อเนื่องฉบับที่ 4 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Google ตกจากอันดับหนึ่งไปอยู่อันดับสาม และ GitHub ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสอง ส่วน Netflix นั้นอยู่อันดับหนึ่ง
ตามผลสำรวจของ Hired ก่อนหน้านี้ Netflix และ Google สลับกันครองอันดับหนึ่งมาก่อนแล้ว และค่าดัชนีความนิยมก็เกาะกันเสมอมา แต่ GitHub นั้นเคยอยู่อันดับ 15 ในปี 2018 และขึ้นมาเป็นอันดับ 8 ในปี 2019 จนปีนี้ขึ้นมาอยู่อันดับ 2 แสดงให้เห็นความนิยมเพิ่มขึ้นชัดเจน
เหตุการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทลดคนเป็นวงกว้าง เมื่อเดือนมีนาคม Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce ก็ออกมาประกาศว่าจะไม่ปลดพนักงานเป็นเวลาสามเดือน ผ่านมา 5 เดือนในการประกาศผลประกอบการรอบล่าสุด Marc ก็ระบุว่าจะมีการลดคนบางส่วน
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนปลดคนว่าจำนวนพนักงานที่ถูกปลดรอบนี้น่าจะประมาณ 1,000 คน จากพนักงาน 54,000 คน
เว็บไซต์ The Register อ้างถึงจดหมายเวียนจาก Diane Gherson รองประธานอาวุโสฝ่ายบุคคลของไอบีเอ็มประกาศหยุดการปรับเงินเดือนไปจนถึงครึ่งปีหน้า โดยระบุว่า COVID-19 ทำเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน
มาตรการนี้ยกเว้นในบางประเทศที่มีกฎหมายบังคับปรับเงินเดือน และการปรับเงินเดือนจากการเลื่อนขั้นและการย้ายตำแหน่งงานยังมีต่อไป
Gherson ระบุว่าการขึ้นเงินเดือนตามรอบปกติ หรือ Employee Salary Program นั้นดูจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งสภาพเศรษฐกิจ, มูลค่าของความสามารถแต่ละประเภทในตลาด, และการแข่งขันของค่าแรง โดยปัจจัยเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่แน่นอน และผู้บริหารเองก็จะไม่ได้ปรับเงินเดือนในปีนี้เช่นกัน
StackOverflow ออกรายงานสำรวจตลาดแรงงานต่อเนื่อง (ข่าวเก่าปี 2018, 2019) โดยภาพรวมตำแหน่งงานที่ร้อนแรงอย่าง DevOps Specialist นั้นมีรายได้ต่ำลงเล็กน้อย โดยปีนี้รายได้เฉลี่ยเหลือ 68,000 ดอลลาร์ต่อปี โดยในปี 2018 อยู่ที่ 72,000 ดอลลาร์ และปี 2019 อยู่ที่ 71,000 ดอลลาร์ แนวโน้มนี้สวนทางกับตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ที่รายได้ตำแหน่งนี้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนตำแหน่งงาน Site Reliability Engineer (SRE) ก็มีแนวโน้มรายได้ลดลงเช่นกัน เหลือ 80,000 ดอลลาร์ต่อปีจากปีที่แล้ว 85,000 ดอลลลาร์ ส่วนในสหรัฐฯ รายได้ 140,000 ดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลง