Google เปิดโรงเรียนลิขสิทธิ์ ใน Youtube เพื่อให้ความรู้กับกฎหมายและการตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งมีวิดีโออธิบายเกี่ยวกับข้อควรระวังเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบการ์ตูน ความยาวประมาณ 4 นาที โดยให้ผู้ที่เคยทำการละเมิดลิขสิทธิ์ดูและทำแบบทดสอบก่อนที่จะสามารถใช้บริการต่อไปได้
เว็บไซต์ Billboard.biz อ้างว่า Amazon ได้ส่งจดหมายถึงค่ายเพลงต่างๆ ในสหรัฐ ชี้แจงเพิ่มเติมว่าหลังเปิดตัว Cloud Drive/Cloud Player มาได้สองสัปดาห์ ยอดขายเพลงผ่าน Amazon MP3 Store ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (อย่างไรก็ตาม Amazon ไม่ได้เปิดเผยยอดขายเป็นตัวเลข)
หลังจากที่ Amazon เปิดตัวบริการ Cloud Drive และ Cloud Player และฝ่ายค่ายเพลงได้ออกมาเรียกร้องให้ Amazon ตกลงเงื่อนไขด้านสัญญาอนุญาตกับค่ายเพลง ทาง Amazon ก็ได้กล่าวออกมาว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นแต่อย่างใด
Cat Griffin โฆษกของ Amazon ได้ตอบคำถามเรื่องนี้ว่า "Cloud Player เป็นแอพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้จัดการและเล่นเพลงของตัวเอง เป็นเหมือนกับแอพลิเคชันจัดการมีเดียที่มีอยู่อย่างดาษดื่น เราไม่ต้องใช้ไลเซนส์ในการให้บริการ Cloud Player" และ "รูปแบบการใช้งานเก็บไฟล์ MP3 ไว้บน Cloud Drive ก็เหมือนกับที่ผู้ใช้เก็บเพลงไว้ใน external hard drive หรือแม้แต่ iTunes"
จากที่ Amazon เปิดตัวบริการ Cloud Drive และ Cloud Player ก็มีปฏิกริยาตามมาทันทีจากค่ายเพลงทั้งหลาย เพราะค่ายเพลงมองว่าการ "เก็บเพลงอะไรก็ได้" ไว้บน Cloud Player จะมีปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์แน่นอน
ตามข่าวบอกว่าค่ายเพลงรู้เรื่องนี้ก่อนเปิดตัวเพียง 1 สัปดาห์ และ Amazon เพิ่งเริ่มเจรจาเงื่อนไขด้านกฎหมายหลังจากนั้น ตัวแทนจาก Sony Music ให้สัมภาษณ์ว่า "หวังว่า Amazon ได้เจรจาเงื่อนไขการเก็บเพลงออนไลน์กับเราสำเร็จโดยเร็ว" เมื่อปี 2007 ค่ายเพลง EMI เคยฟ้องบริษัท MP3tunes ซึ่งเปิดบริการลักษณะเดียวกันมาแล้ว ถ้าการเจรจาของ Amazon ไม่สำเร็จลุล่วง เราก็คงจะได้เห็นข่าวค่ายเพลงฟ้อง Amazon เช่นกัน
ผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งของกูเกิลที่สร้างความขัดแย้งอย่างมากคือ Google Books (เดิมชื่อ Google Book Search และ Google Print) แม้จะได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก แต่กลับมีปัญหากับเจ้าของลิขสิทธิ์และสำนักพิมพ์จนเกิดคดีฟ้องร้องโดยสมาคมนักเขียนของสหรัฐ แนวทางแก้ไขของกูเกิลคือ จ่ายเงินให้สำนักพิมพ์เพื่อยุติคดีในสหรัฐ
แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของคดีนี้คือศาลเขตนิวยอร์กได้สั่งระงับข้อตกลงยอมความของกูเกิลกับสมาคมนักเขียน โดยศาลให้เหตุผลว่าเงื่อนไขในข้อตกลงเอื้อประโยชน์แก่กูเกิลมากเกินไป เพราะเมื่อกระบวนการยอมความเสร็จสิ้น กูเกิลจะกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดอีบุ๊กทันที กีดขวางไม่ให้คู่แข่งสแกนหนังสือแบบเดียวกันได้
เป็นอีกข่าวที่แสดงถึงการเอาจริงของกลุ่มผู้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตอย่างโจ่งแจ้งครับ
นักท่องอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะขาประจำหรือขาจร เมื่อเข้าไปใน YouTube ก็มักจะหนีไม่พ้นซับนรกสุดฮาอย่างฮิตเลอร์ที่เข็นกันออกมาไม่หยุดหย่อน แม้กระทั่งผู้กำกับเองมาเห็นก็ยังหัวร่องอหาย แต่คราวนี้ผู้ผลิตหนัง Downfall ซึ่งเป็นต้นฉบับของความฮาก็ออกมาโวยซะแล้ว เนื่องจากผู้ใช้อัพโหลดขึ้นไปจนไม่หวาดไม่ไหว สุดท้ายแล้วก็ได้หาหนทางเพื่อชดเชยด้วยระบบ Content ID ได้แก่การเก็บรายได้ที่มาจากโฆษณาของคลิปแทน หรือสามารถใช้ช่องทางกฎหมายคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ (DMCA) เพื่อนำคลิปเจ้าปัญหาออกได้ แน่นอนว่าค่ายอื่นก็รู้สึกเหมือนกันที่ไม่พอใจกับการอัพโหลดภาพยนตร์ของตนขึ้นไปโดยสูญเสียรายได้ไม่น้อย
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (6 ต.ค.) มีความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเราๆ ท่านๆ ในโลกไอทีและอินเทอร์เน็ตสองฉบับครับ
อย่างแรกคือ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว (privacy) ของทุกคน ใจความหลักๆ ของกฎหมายฉบับนี้คือจะมีคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้ (คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) และกำหนดหลักเกณฑ์ว่าอะไรเป็นข้อมูลส่วนบุคคลบ้าง เปิดเผยข้อมูลอะไรได้บ้าง ถ้าละเมิดจะมีความผิดอย่างไร ฯลฯ (ผมอ่านดูแล้วโครงสร้างจะคล้ายๆ กับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) หลังจากผ่าน ครม. แล้วต้องรอเข้าไปโหวตในสภาต่อไป
มีรายงานว่าแอปเปิลกับ Eigth Mile Style บริษัทของนักแรพชื่อดัง Eminem ได้ไปที่ศาลวันนี้เนื่องจากการที่ Eight Mile Style ได้แจ้งข้อหาให้กับแอปเปิลว่าแอปเปิลได้ทำการขายของ Eminem บนอินเทอร์เน็ตผ่านทาง iTunes ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น เนื่องจาก Aftermath Records ค่ายเพลงที่จัดจำหน่ายเพลงให้กับ Eminem นั้นได้สำสัญญากับ Eminem ไว้ไม่เหมือนกับวงดนตรีอื่น ๆ
จากคำอ้างของ Eight Mile Style นั้น สัญญาของบริษัท Eight Mile Style นั้นระบุไว้ว่าค่ายเพลงจะต้องทำการซื้อสิทธิในการจัดจำหน่ายแยกอีกต่างหาก หากต้องการที่จะขายเพลงของ Eminem ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และค่ายเพลงนั้นก็รู้ ๆ อยู่แก่ใจว่าไม่มีสิทธิที่จะให้แอปเปิลนำเพลงเหล่านี้ไปขายบน iTunes
"พรรคโจรสลัด" หรือ Pirate Party ที่เริ่มโด่งดังจนได้เก้าอี้ในรัฐสภายุโรป กำลังเริ่มดำเนินการนโยบายหนึ่งที่เคยหาเสียงไว้ นั่นคือการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา และข้อเสนอจากพรรคโจรสลัดคือลดระยะเวลาคุ้มครองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้สร้างลง จากเดิมที่ขั้นต่ำ 25-50 ปี (ขึ้นกับประเภทของงานและประเทศ) ลงมาเหลือ 5 ปี
ในมุมมองของผู้นิยมเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอของพรรคโจรสลัดก็น่าจะดี อย่างไรก็ตามพรรคโจรสลัดกลับโดนคัดค้านโดย Richard Stallman หรือ RMS แห่ง Free Software Foundation ผู้เสนอแนวคิดซอฟต์แวร์เสรีและ GPL
ดูเหมือนว่าชาวยุโรปอาจจะต้องยอมรับว่าจะมีโจรสลัดเข้ามาอยู่ในรัฐสภาของตนแล้ว หลังจากที่ผลการเลือกตั้งบ่งบอกว่าพรรค Pirate สามารถที่จะส่งสมาชิกเข้าไปอยู่ในสภา EU ได้
หลังจากที่ The Pirate Bay แพ้คดีครั้งที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าพรรค Pirate ของประเทศสวีเดนได้กลับมาโด่งดังอีกครั้ง แม้ว่าพรรคนี้กับ The Pirate Bay จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยกันมากนักก็ตามที
โดยพรรค Pirate นี้เป็นพรรคการเมืองที่โด่งดังอันดับสองในประเทศสวีเดน หากนับกันที่ประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งระหว่างอายุ 18-30 ปี โดยหนังสือพิมพ์ DN.se รายงานว่าพรรคนี้จะได้รับโหวตสูงถึง 5.1% ซึ่งนั่นหมายความว่าจะได้รับเก้าอี้ในสภา ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่เสียงเดียวในสภาก็ตามที แต่นี่ก็เป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของพรรค Pirate นี้
สองบริษัทผู้ "เสียผลประโยชน์" จากการล็อกโทรศัพท์ของแอปเปิล นั่นคือ Skype และ Mozilla ผู้ดูแลโครงการ Firefox ได้ออกมาประกาศตัวสนับสนุน EFF ที่ต่อสู้กับทางแอปเปิลเพื่อสิทธิในการปลดล็อกการลงซอฟต์แวร์หรือที่เรียกกันว่า jailbreak แล้ว
ทั้งสองบริษัทนี้ไม่สามารถส่งซอฟต์แวร์ของตนเองไปติดตั้งในไอโฟนด้วยวิธีปรกติได้ เนื่องจากแอปเปิลนั้นไม่รับซอฟต์แวร์ VoIP ทุกชนิดเมื่อโทรศัพท์เชื่อมต่อกับเครือข่าย cellular และไม่รองรับซอฟต์แวร์ที่ใช้รันสคริปต์อื่นๆ ได้ ซึ่งรวมไปถึงเบราว์เซอร์ด้วย
ทาง EFF ระบุว่าการปลดล็อกโทรศัพท์ไอโฟนนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใช้เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ (interoperability) ได้ดีขึ้น
Paul Aiken ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมนักเขียนให้สัมภาษณ์กับ Wall Street Journal ว่าการใช้คุณสมบัติการอ่านออกเสียงโดยซอฟท์แวร์ (Text-to-Speech) เป็นเรื่องผิดกฏหมาย ทั้งในแง่ลอกเลียนแบบจากหนังสือที่ืมีลิขสิทธิ์ ในแบบ Audio Book และการเผยแพร่เนื้อหาสู่สาธารณชน
"พวกมัน(Text-to-Speech)ไม่มีสิทธิ์อ่านออกเสียง" Paul Aiken กล่าว
"มันเป็นเสียงที่ลอกแบบมาจากหนังสือที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง"
โดยเฉพาะ Kindle 2 ที่จะออกในเร็ววันนี้
ทางโฆษกของ Amazon ก็ออกมาตอบโต้ว่าคุณลักษณะการอ่านขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของ Text-to-Speech และผู้อ่านจะไม่สับสนกับการฟังจาก Audio Book
ก็ว่ากันไปครับ ต่างคนต่างมุม
BSA (Business Software Alliance) ออกมาสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกับผู้บริโภคที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จากกรณีคดีบริษัทไทยละเมิดลิขสิทธิ์ "Autodesk"
จากเอกสารสนับสนุนการใช้งานจากแอปเปิล ผู้ที่ซื้อชุดโปรแกรม iWork '09 จากกล่องที่วางขายตามร้านไม่จำเป็นที่จะต้องป้อนเลขซีเรียลนัมเบอร์หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว ซึ่งจะแตกต่างจากเมื่อก่อนที่ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องใส่หมายเลขซีเรียลนัมเบอร์เมื่อเริ่มใช้งานครั้งแรก
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของแอปเปิล เพราะชุดโปรแกรม iLife และ Mac OS X เองก็ไม่ได้ต้องการให้ผู้ใช้ใส่ซีเรียลนัมเบอร์มาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะซอฟต์แวร์ทั้งสองนี้มักจะมาพร้อมกับเครื่องแมคที่ขายช่วงเวลาเดียวกับรุ่นซอฟต์แวร์นั้น ๆ อยู่แล้ว
หลายๆ คนแถวนี้คงจะเปิดเพลงใน YouTube บ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าวันนี้เปิดแล้วบางวิดีโอไม่มีเสียงก็ไม่ต้องตกใจนะครับ วิดีโอเหล่านั้นอาจโดน YouTube แบนเสียงไปแล้วครับ
YouTube ได้ทดสอบการเทียบเสียงในวิดีโอกับกับต้นฉบับที่มีลิขสิทธิ์โดยทำเป็นเสมือนลายนิ้วมือของเพลงเอาไว้มาได้สักระยะแล้ว แต่โดยปกติเมื่อพบว่าวิดีโอนั้นผิดลิขสิทธิ์ก็จะทำการตักเตือนผู้อัพโหลด และทำการแจ้งเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของสิขสิทธิ์ตัวจริงจะได้รับการแจ้งให้เลือกระหว่างการโฆษณาไปบนวิดีโอหรือจะลบวิดีโอไปเลย
ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี บารัก โอบามา ได้รับการสนันสนุนอย่างอบอุ่นจากกลุ่มที่ต่อสู้เรื่องกฎหมายกับอุตสาหกรรมบันทึกเสียง ลอว์เรนซ์ เลสสิก อาจารย์กฎหมายที่ชูธงนำขบวนการ "วัฒนธรรมเสรี" สนับสนุนวุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอยส์ผู้นี้อย่างเปิดเผย เช่นเดียวกับ เอริก ชมิดท์ ซีอีโอของกูเกิล และกระทั่งพรรคไพเรตปาร์ตี้อเมริกา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้เพื่อการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาและมีแนวร่วมในระดับนานาชาติ
ขอยืมคำพูดของ Ford Antitrust มาใช้สักหน่อยครับ "ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ จั่วหัวพูดถึงทีไร เว็บไม่แตกก็ร้อนกันไปเป็นแถบ ๆ" แต่เนื่องจากตอนนี้เยอรมันเข้าหน้าหนาวละ หากเขียนเรื่องนี้แล้วร้อนก็คงดี จะได้ประหยัดค่าทำความร้อนไปได้หลายยูโร ซึ่งตอนนี้ประเด็นนี้กำลังร้อนมาก ๆ ใน blognone ผมไม่ได้เข้าไปอ่านแป้บเดียว กว่าสามร้อยความคิดเห็นไปแล้ว ตามอ่านแทบไม่ทัน วานฝากผู้เกี่ยวข้อง ให้ปักหมุดประเด็นนี้ไว้นาน ๆ หน่อยก็ดีครับ เผื่อจะมีความคิดเห็นที่สี่ร้อย ห้าร้อย ให้ได้อ่านกัน
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาค่ายหนังใหญ่ๆ ของ Hollywood (Paramount, Twentieth Century Fox, Universal, Warner Brothers, Columbia, Walt Disney, Sony) ออกมาฟ้อง Real Network เนื่องจากพบว่า RealDVD มีความสามารถในการสร้างสำเนาแผ่นหนังในรูปแบบ DVD ได้
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเปิดตัวเมื่อต้นเดือนกันยายนโดยมีคุณสมบัติหลักคือสามารถคัดลอก DVD เก็บเอาไว้ในรูปแบบ Image File บนเครื่องเพื่อเก็บไว้ดูในภายหลัง
"RealDVD น่าจะถูกเรียกว่า StealDVD มากกว่า" Greg Goeckner ผู้บริหารของ Motion Picture Association of America (MPAA) กล่าว
มีข้อพิพาทจากสำนักข่าว AP ที่ไล่ฟ้องบล็อกเกอร์หลายต่อหลายรายในอินเทอร์เน็ตจากการลิงก์ข่าวไปยังเว็บในเครือของเอพีและอ้างอิงเนื้อข่าวสั้นๆ โดยระบุว่าแม้จะเป็นการใช้เนื้อความเพียงสั้นๆ จากข่าวด่วนนั้นก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่อาจจะถือเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรม (Fair Use - ข้ออนุญาตให้ใช้งานที่มีสิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาต มีระบุไว้ในกฏหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ)
กรณีที่เกิดขึ้นนี้ AP ได้ยื่นขอความคุ้มครองให้มีการถอนบทความจากเว็บจำนวนเจ็ดเว็บ โดยในจำนวนนี้หกเว็บมีการใช้งานเนื้อข่าวของ AP อยู่ที่ 33 ถึง 79 คำ
หนึ่งในผู้ผลิตกล้อง DSLR รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Canon ได้ทำการจดสิทธิบัตรเทคโยโลยีใหม่ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิของภาพถ่าย
โดยเทคโนโลยีนี้จะทำการอ่านม่านตาของตากล้องที่ได้ถ่ายรูปนั้นผ่าน Viewfinder จากนั้นก็จะทำการ Watermark ข้อมูลที่อ้างอิงได้จากม่านตานั้นใส่ลงไปใน Metadata ของทุก ๆ รูปภาพที่ตากล้องคนนั้นได้ถ่าย เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของเจ้าของภาพที่นำภาพของตนขึ้นสู่อินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีการ Watermark นั้นคาดว่าจะถูกนำมาใช้มากขึ้นในการแก้ไขปัญหาละเมิดลิขสิทธิ ก่อนหน้านี้ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่รายหนึ่งก็ได้ใช้วิธีเดียวกันโดยการ Watermark ข้อมูลต่าง ๆ ลงไปในไฟล์เพลง MP3
แม้ทางด้านสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐฯ (RIAA) จะมีท่าทีแข็งกร้าวต่อการแชร์เพลงผ่านอินเทอร์เน็ต สมาคมผู้แต่งเพลงของทางแคนาดากลับมีท่าทีที่สวนทางกัน ด้วยการร่างข้อเสนอในการเก็บค่าธรรมเนียมการแชร์เพลงผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
ด้วยข้อเสนอนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ต้องการแชร์เพลง จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นคนละ 5 ดอลลาร์ต่อเดือน และจะทำให้เขาสามารถแชร์เพลงได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ตราบใดที่ยังไม่มีการสร้างผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจจากการแชร์เพลงนั้น โดยค่าธรรมเนียมที่เก็บนี้จะกระจายไปตามผู้ถือสิทธิในตัวเพลง และศิลปิน
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
บริษัทแอปเปิลกำลังเจอกับปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะถูกฟ้องร้องพร้อมกันถึงสองคดีโดยคดีแรกถูกช่างภาพอาชีพฟ้องในข้อหาขโมยภาพ Wall of Videos ของเขาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติซึ่งทางบริษัทแอปเปิลเอาไปใช้ในโฆษณาและส่วนอื่นๆของ Apple TV ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของเพลง "Girlfriend" ที่ไปคล้ายกับเพลงเก่าเพลงนึงและแอปเปิลเองก็กำลังจำหน่ายอยู่ใน iTunes ขณะนี้
บริษัท MediaDefender ซึ่งทำธุรกิจต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ให้กับสมาคมภาพยนตร์สหรัฐ (MPAA ที่เราคุ้นกันดี) ได้เปิดเว็บไซต์ชื่อว่า MiiVi ซึ่งโฆษณาว่าเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับผู้สนใจ
MiiVi ยังโฆษณาต่อด้วยว่าถ้าอยากดาวน์โหลดเร็วขึ้น จะต้องลงโปรแกรมพิเศษของทาง MiiVi ซึ่งโปรแกรมนี้จริงๆ มันทำหน้าที่ค้นหาไฟล์หนังอื่นๆ ในเครื่องเราแล้วรายงานกลับไปยัง MediaDefender
สุดท้ายมีคนจับได้โดยดูจากข้อมูล whois ของโดเมนเนม พบว่ามีชื่อ MediaDefender เป็นเจ้าของ หลังจากนั้นไม่นานชื่อ MediaDefender ถูกลบไปจาก whois แต่ที่อยู่ก็ยังเป็นของ MediaDefender อยู่
ตอนนี้ผมเข้าเว็บ MiiVi ไม่ได้แล้ว เห็นเป็นหน้าโฆษณาของ GoDaddy แทน แต่หน้าตาเว็บสามารถดูได้ตามลิงก์