Tags:
Node Thumbnail

ศาลสหรัฐตัดสินคดีของบริษัท MP3tunes ที่ถูกค่ายเพลง EMI ฟ้องว่าส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ผลคือ MP3tunes ผิดบางข้อหา แต่คำตัดสินของศาลกลับรับรองบริการฝากไฟล์เพลงไว้บนเน็ต (music locker) ว่าไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ

เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปช่วงต้นถึงกลางปีนี้ หลังจากที่อเมซอนและกูเกิลเปิดตัวบริการ music locker ของตัวเอง (Amazon Cloud Drive และ Google Music) แบบที่ไม่ได้รับอนุญาตจากค่ายเพลง ในขณะที่คู่แข่งอย่างแอปเปิลสามารถเจรจากับค่ายเพลงได้ และเปิดตัวบริการ iTunes Music Match ตามหลังมาไม่นาน

สงคราม music locker ไม่ได้จำกัดวงเฉพาะอเมซอน/กูเกิล/แอปเปิล แต่กลายเป็นเรื่องการเจรจาระหว่างบริษัทไอทีกับค่ายเพลง เพราะค่ายเพลงมองว่าบริษัทเจ้าของ music locker จะต้องจ่ายค่าสิทธิการใช้งานเพลงบนอินเทอร์เน็ตก่อน (ข่าวเก่า ค่ายเพลงใช้แอปเปิลบีบ Amazon และกูเกิลให้ตกลงกับค่ายกรณี Cloud Music Locker) ซึ่งทางอเมซอนก็ยืนยันมาตลอดว่า Cloud Drive ไม่ต้องใช้ไลเซนส์จากค่ายเพลง และช่วยเพิ่มยอดขายเพลง MP3 ด้วยซ้ำ

ย้อนกลับมาที่คดีของข่าวนี้ คดีนี้ค่ายเพลงใหญ่ EMI ยื่นฟ้อง MP3tunes.com ซึ่งเป็นบริการ music locker ตัวหนึ่ง (แต่มีส่วนที่ค้นหาเพลงที่ผู้ใช้อัพโหลดขึ้นไปได้ด้วย) ว่าส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะเพลงที่อัพโหลดส่วนมากก็เป็นเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ คดีนี้ฟ้องตั้งแต่ปี 2007 แต่เพิ่งมาตัดสิน

คดีนี้ศาลสหรัฐตีความตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ (DMCA) ว่า เว็บไซต์ฝากไฟล์จะไม่มีความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ถ้าหากว่าลบเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์ร้องขอ ส่วนผู้ใช้ที่เป็นคนอัพโหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีความผิดอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม MP3tunes มีความผิดในคดีนี้เนื่องจากลบเฉพาะผลการค้นหาเพลงเท่านั้น แต่ตัวไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงอยู่ และผู้ที่มี URL ยังสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้

ศาลจึงตัดสินว่า MP3tunes ผิดในฐานะผู้สนับสนุนให้ผู้ใช้ละเมิดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ Michael Robertson ผู้ก่อตั้ง MP3tunes (อดีตผู้ก่อตั้ง MP3.com เดิม) ยังมีความผิดต่างหากฐานไปโหลดไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ของ EMI ใส่บัญชีของตัวเขาเองบน MP3tunes อีกด้วย

คดีนี้เป็นผลร้ายต่อ MP3tunes แต่เป็นผลดีต่ออเมซอน/กูเกิล (รวมถึงบริการใกล้เคียงกันอย่าง Dropbox) เพราะคำตัดสินของศาลในคดีนี้ (ตามตัวหนาที่เน้นไว้) เป็นบรรทัดฐานว่าเว็บไซต์ฝากไฟล์เพลงสามารถให้บริการได้ ตราบเท่าที่ลบเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์

Amazon Cloud Drive และ Google Music นั้นต่างไปจาก MP3tunes เพราะไม่มีส่วนที่เปิดให้สาธารณะเข้าถึงไฟล์ มีแต่เจ้าของไฟล์เองเท่านั้นที่ฟังเพลงของตัวเองได้ ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีปัญหา "ส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์" แบบเดียวกับ MP3tunes

ที่มา - Ars Technica

Get latest news from Blognone

Comments

By: kajarp on 25 August 2011 - 15:40 #326471

มีคำซ้ำ คำผิด นิดนึงครับ
ย่อหน้าที่ 5
"จะไม่ผิดมีความผิด"

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 25 August 2011 - 15:41 #326473
Not Available at this Moment's picture

จากหัวข้อข่าวอ่านแล้วไม่เคลียร์ครับ จริงๆแล้ว การฝาก ตามรูปแบบที่ฟ้องร้องมันผิดนี่ครับคือฝากแล้วให้คนอื่นเข้าถึงได้ เพราะการฝากเกิดจากผู้ใช้ซึ่งผิดอยู่แล้วตามเนื้อข่าว แต่เหตุที่ทำให้ เจ้าของเว็บ ซึ่งเป็น ผู้รับฝาก ไม่ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำผิดคือต้องดำเนินการลบเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ที่ฝากไว้ตามที่ร้องขอ

มีแต่เฉพาะการฝากแบบส่วนตัวเท่านั้นที่ไม่ผิดเลยซึ่งถ้าหมายถึงแบบนี้ผมว่าควรเขียนไว้ให้เจาะจงเลยดีกว่าครับ


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: runnary
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 25 August 2011 - 17:12 #326528
runnary's picture

ในกฏหมายไทย (ไม่รู้คล้ายกับ USรึเปล่า)
มีประโยคที่ว่า "ห้ามทำซ้ำ" ในการทฤษฎี ถึงทำซ้ำไว้ฟังเองก็ผิดแล้ว การฝากขึ้นเว็บไซต์ฝากไฟล์ มันก็ต้องทำซ้ำเหมือนกัน??? รึอย่างไร?

By: touk
iPhoneSymbian
on 25 August 2011 - 17:23 #326539 Reply to:326528
touk's picture

ก็คงต้องรอมีคดีประมาณนี้โผล่มาในไทย แต่ไม่อยากให้มันเกินเลยไปมาเหมือนกันเพราะแค่นี้ศิลปินก็ขายแผ่นไม่ค่อยออก ส่วนใหญ่จะได้จากทางอื่นมากกว่า

By: Fasndee
ContributorAndroidWindows
on 25 August 2011 - 17:26 #326544 Reply to:326528
Fasndee's picture

ผมเคยเห็นคำขยายของการทำซ้ำ หรือข้อยกเว้น ข้ออนุโลม ประมาณว่า "ถ้าใช้ส่วนตัว หรือคนในครอบครัว (บางครั้งมีเขียนถึงขั้นว่า ญาติสนิทเลยด้วยซ้ำ) นั้นสามารถทำได้"

ผมไม่ยืนยันนะครับว่า กฎหมายจะเป็นไปตามที่ผมบอก แต่ผมอ่านบทความหลายที่แล้วเจอแบบนี้ ว่าอนุโลมได้


เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ

By: korrawit
ContributorAndroid
on 25 August 2011 - 18:21 #326579 Reply to:326528

มาตรา ๓๒

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

...

(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

จากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ครับ

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 25 August 2011 - 18:33 #326586 Reply to:326528

ถ้าคุณฟังเองในคราบครัว จะทำซ้ำ กี่ แผ่น ก็ได้

ถึงกับเคยมีร้านขายแผ่นเถื่อน แต่ก่อน เล่นบาลี วเราแค่ Copy งานให้คุณ ตัวคุณที่สั่งต้องมี งานนั้นๆเองอยู่แล้ว

และถ้ามีแผ่นเพลง คุณจะไปแปลงเป็นMP3 ยังไงก็ได้

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 26 August 2011 - 00:25 #326725 Reply to:326528
put4558350's picture

มาตรา ๓๒ (การกระทำอันมิใช่ละเมิด)
การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

  • วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  • ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
  • ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  • เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  • ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
  • ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร *****
  • ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร *****
  • นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

***** เอาหละ tablet ของปูจะมี pdf หนังสือต่างประเทศมาให้ไช้ฟรีแล้ว


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: obtheair on 26 August 2011 - 17:32 #326963 Reply to:326725

เด็กไทย said "ตูอ่านไม่ออก" ทุกวันนี้บางที่เจอประโยคภาษาอังกฤษสั้นๆ ง่ายๆ มันยังเม้นต์ "แปลให้หน่อย แปลไม่ออก" เลย

By: lew.★ on 25 August 2011 - 18:34 #326587
lew.★'s picture

ทำซ้ำก็ต้องผิดสิ นอกจากเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตไว้ให้ทำได้ในบางลักษณะในตอนที่ซื้อมา
แค่เปิดให้คนอื่นฟังในลักษณะหาเงินหรือให้เช่าก็ผิดได้แล้ว

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 26 August 2011 - 00:35 #326728 Reply to:326587
put4558350's picture

การละเมิดต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นครับ

มาตรา ๓๒ (การกระทำอันมิใช่ละเมิด)
การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ "หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์"

เปิดให้คนอื่นฟังในลักษณะหาเงินหรือให้เช่าผิดเพราะเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ใด้เงินส่วนแบ่งจากธุรกิจของเรา

เปิดให้ญาตๆฟัง ไม่ผิดเพราะไม่ใด้กำไรอะไร

กอปให้ญาตๆดูคลุมเครือ แต่ถ้าไม่ไช้คนที่มีเมีย 10 ลูก 20 ก็น่าจะพูดใด้ว่า "ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร"


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: moothe
Android
on 25 August 2011 - 18:51 #326598

"การฝากเพลงไว้กับพื้นที่บนเน็ตไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์"

"ส่วนผู้ใช้ที่เป็นคนอัพโหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีความผิดอยู่แล้ว"

ตกลงมันผิดใช่ไหมครับ ?

By: wathan
AndroidWindows
on 25 August 2011 - 21:35 #326658 Reply to:326598

คนอัพโหลดผิดถ้าไฟล์ที่อัพนั้นได้มาโดยละเมิดครับ เช่น อัพไฟล์ที่โหลดมาจากบิตทอเรนท์