Tags:

ISO/IEC JTC1 ได้ปิดรับผลโหวต DIS 29500 (OOXML) เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา

ตามเกณฑ์ของ JTC1 จะต้องมีสำนักงานมาตรฐานของประเทศต่างๆโหวตรับไม่น้อยกว่า 2/3 (66.67%) และโหวตปฏิเสธไม่เกิน 1/4 (25%) ปรากฏว่าเงื่อนไขทั้งสอง ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งคู่ โดยคะแนนโหวตรับมี 53% และโหวตไม่รับมี 26%

ที่มา: ข่าว ISO

Tags:

มาตรฐานด้านเอกสาร เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ได้เห็นผลอยู่เฉพาะหน้า

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2548 OASIS ได้เสนอร่างเอกสาร ODF (OpenDocument Format) ซึ่งเป็นฟอร์แมตที่ใช้ใน OpenOffice software suite ให้ ISO/IEC Joint Technical Committee 1 (JTC1) พิจารณาตามกระบวนการ ซึ่ง JTC1 ได้อนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 26300:2006 ในปลายปี 2549

Tags:
Node Thumbnail

จาก http://www.noooxml.org/petition-th

(มีบางข้อที่ในเว็บนั้นแปลแล้วอาจยังไม่ชัดเจน, จึงได้เรียบเรียงใหม่ในบางข้อให้ชัดเจนขึ้น ดังข้างล่างนี้)

ขอให้สมาชิกทั้งหลายใน ISO ลงคะแนนเสียง 'ปฏิเสธ'การรับรอง ISO DIS 29500 (Office OpenXML หรือ รูปแบบ OOXML) เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้

Tags:

ระหว่างการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน OOXML จากฝั่งไมโครซอฟท์ และ ODF จากฝั่งซัน ประเด็นหนึ่งที่ทางไมโครซอฟท์ยกมาข่มได้นั่นคือมาตรฐานด้าน Spreadsheet ที่นับได้ว่าเป็นจุดอ่อนของ ODF เนื่องจากมีการอธิบายวิธีการคำนวณเอาไว้เพียง ประมาณ 10 หน้ากระดาษเท่านั้น นับว่าน้อยจนไม่สามารถอิมพลีเมนต์ได้จริง เรื่องนี้ทำให้ไมโครซอฟท์แสดงตัวเรื่อยมาว่ามาตรฐาน OOXML นั้นชัดเจนกว่า เนื่องจากมีการอธิบายขั้นตอนการคำนวณสูตรต่างๆ ไว้ถึง 325 หน้ากระดาษ

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากเป็นสงครามกันมายาวนานนับปี ดูเหมือนว่าสมรภูมิแมสซาชูเซ็ตส์นั้นจะได้ข้อสรุปแล้วว่าหน่วยงานของรัฐจะยอมรับ OOXML ของทางไมโครซอฟท์ที่เริ่มมีการใช้งานตั้งแต่ MS Office 2007 เป็นต้นมา

เอกสารที่ได้รับการยอมรับจากสเปคดังกล่าวได้แก่ OOXML, ODF, เท็กซ์ไฟล์ และ HTML (ข่าวไม่ระบุเวอร์ชั่น) แต่เอกสารอีกสองรูปแบบที่มีการใช้งานกันอยู่เยอะในหน่วยงานของรัฐเองก็คือ PDF และ RTF อีกด้วย

เอกสารสเปคนี้ยังเป็นฉบับร่าง นั่นหมายถึงสงครามยังไม่จบลงอย่างแท้จริง แต่การที่เอกสารฉบับร่างมีความชัดเจนก็น่าจะบ่งบอกถึงฉบับจริงได้พอสมควร

เนื่องจาก Blognone ตามติดเรื่องนี้มานาน ถ้าต้องการอ่านข่าวเก่าคงต้องอ่านในหมวด OpenDocument เอา

Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาเรื้อรังของวงการอิเล็กทรอนิกส์คือเมโมรี่การ์ดมีหลายชนิดมาก แต่ละชนิดก็ทำงานร่วมกันไม่ได้ บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวัน 12 รายจึงรวมตัวกันผลักดันมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า miCard (Multiple Interface Card)

miCard นั้นออกแบบมาให้เสียบได้กับทั้ง USB และช่องของ MMC เดิม เพื่อลดปัญหาความยากในการนำไปใช้ ข้อดีอื่นๆ คือความเร็วในการถ่ายข้อมูลสูงถึง 480Mbit/sec (เท่ากับความเร็วสูงสุดของ USB 2.0) และจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต การ์ดรุ่นแรกจะมีความจุเริ่มต้นที่ 8GB และความจุสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 2,048GB

Tags:

วารสารวิชาการชื่อดังอย่าง Science และ Nature ประกาศในเว็บไซต์ของตัวเองว่า ไม่รับบทความวิชาการในรูปแบบ .docx ที่สร้างด้วย Word 2007

เหตุผลของทั้งคู่ก็คือ .docx เข้ากันไม่ได้กับระบบจัดการเอกสารแบบเดิมของวารสาร ซึ่งสนับสนุน .doc เดิมและ LaTeX ทาง Science บอกว่าให้แปลงกลับมาเป็น .doc ของ Word 2003 แทนก่อนส่ง แต่ถ้ามีสมการคณิตศาสตร์แล้วล่ะก็ Science จะไม่รับเลย เพราะตัวแปลงฟอร์แมตของ Word 2007 จะแปลงสมการออกมาเป็นภาพ ซึ่งไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ได้สะดวก

Science ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ OpenXML ไม่ยอมใช้รูปแบบสมการมาตรฐานอย่าง MathML (OpenDocument ใช้) เลยมีปัญหา นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการไม่ทำตามมาตรฐานที่มีอยู่แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

Adobe ได้มอบรูปแบบแฟ้มข้อมูลแบบ PDF (Portable Document Format) รุ่น 1.7 ให้กับ AIIM (Association for Information and Image Management) ซึ่งเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับมาตรฐานอุตสาหกรรมทางด้านระบบจัดการเนื้อหา (Content Management) โดยทาง AIIM ก็จะจัดทำมาตรฐานสำหรับ PDF เพื่อให้เป็นมาตรฐานของ ISO ต่อไป

PDF เป็นแฟ้มข้อมูลแบบเปิด (Open File Format) อยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นมาตรฐานของ ISO อีก ก็คงทำให้ไมโครซอฟท์หนักใจไปพอควรเหมือนกัน สำหรับการที่ผลักดันแฟ้มข้อมูลแบบใหม่มาแข่งกับ PDF

Tags:
Node Thumbnail

มาตรฐาน RSS กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันคนจำนวนมากอาจจะใช้งานมันโดยไม่รู้ตัวมาก่อน ในช่วงหลังไมโครซอฟท์เองก็ยอมรับถึงกระแสนี้ด้วยการเพิ่มความสามารถในการอ่าน RSS เข้าไปใน IE7 และตกลงใช้ไอคอนร่วมกันกัไฟร์ฟอกซ์ แต่ตอนนี้เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับมาตรฐานนี้ เมื่อไมโครซอฟท์พยายามจดสิทธิบัตร API ในการสร้างข้อมูล RSS

ไมโครซอฟท์ระบุว่าการสร้างสรรของไมโครซอฟท์นั้นเป็นไปเพื่อให้นักพัฒนาและผู้ใช้เข้าถึง RSS ได้ง่ายขึ้น ไม่ได้เป็นความพยายามในการจดสิทธิบัตรในตัว RSS เองแต่อย่างใด แต่การจดสิทธิบัตรที่ครอบคลุมอย่างนี้้ก็อาจจะสร้างปัญหาในอนาคต เช่นใครจะรู้ว่าจะ Drupal อาจจะมี API ในการสร้าง RSS ไปละม้ายคล้ายกับ API ที่ไมโครซอฟท์จดสิทธิบัตรไปแล้ว

Pages