Amazon มีโปรโตคอลสื่อสารไร้สาย Sidewalk สำหรับอุปกรณ์ IoT เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 และเปิดทดสอบในวงปิดเมื่อปี 2021 ตอนนี้เปิด HDK/SDK ให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว
Canonical เปิดตัว Ubuntu 22.04 LTS เวอร์ชัน real-time สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันที
จุดต่างของ Real-time Ubuntu จาก Ubuntu เวอร์ชันปกติคือเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 5.15 แบบเรียลไทม์ (real-time kernel) ที่ใช้แพตช์ PREEMPT_RT มีค่า latency ต่ำ (เริ่มทดสอบ Beta มาตั้งแต่ปีที่แล้ว) และปรับแต่งมาให้เหมาะกับชิปของ NVIDIA, Intel, MediaTek, AMD-Xilinx ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม (รองรับทั้ง Arm และ x86)
ผู้ที่ต้องการใช้ real-time kernel จำเป็นต้องเสียเงินเป็นสมาชิก Ubuntu Pro หรือซื้อผ่าน App Store ของ Ubuntu ได้เช่นกัน
NIST ประกาศผลประกวดกระบวนการเข้ารหัสลับและการแฮชข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก จากที่มีผู้ส่งประกวด 57 ราย ได้ผู้ชนะคือ Ascon ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยร่วมระหว่าง Graz University of Technology, Infineon Technologies, Lamarr Security Research, และ Radboud University
ไมโครซอฟท์ออกรายงานเตือนภัยการใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ Boa ที่หยุดพัฒนาไปตั้งแต่ปี 2005 แต่ยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ IoT และกล้องวงจรปิด
Boa เป็นซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่เขียนขึ้นในปี 1995 และหยุดพัฒนาในปี 2005 จุดเด่นของมันคือใช้ทรัพยากรน้อย ทำให้เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT และชุดพัฒนา SDK ต่างๆ (ที่ไมโครซอฟท์ระบุยี่ห้อมี 1 รายคือ Realtek) แต่การที่มันไม่ถูกพัฒนามานานมาก ทำให้แทบไม่มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใดๆ แม้กระทั่ง access control หรือการรองรับ SSL
โปรโตคอล Matter มาตรฐานกลางสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่าย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ (สเปกเวอร์ชัน 1.0 ออกเมื่อเดือนตุลาคม) โดยชูว่าตอนนี้มีผลิตภัณฑ์ 190 รุ่นผ่านการรับรองหรืออยู่ระหว่างการรับรองว่าเข้ากันได้กับ Matter
เว็บไซต์ข่าว Semafor รายงานว่า Andy Rubin บิดาแห่ง Android กลับมาเปิดบริษัทใหม่ (อีกแล้ว) รอบนี้เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ชื่อ Simple Things ทำเรื่อง IoT เป็นสินค้าเกี่ยวกับความปลอดภัยทั้งในแง่ safety และ security ของบ้าน
ตอนนี้ Rubin ยังไม่ได้เปิดตัวบริษัท Simple Things อย่างเป็นทางการ ข้อมูลเท่าที่มีคือเขาได้บริษัทลงทุนชื่อดัง Andreessen Horowitz โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ Marc Andreessen มานั่งเป็นบอร์ดของบริษัทด้วย
หลังจากประกาศข่าวการพัฒนาและเลื่อนกำหนดเปิดตัวมาหลายครั้ง ในที่สุด Matter มาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮมก็คลอดเวอร์ชั่น 1.0 ออกมาแล้ว
Matter เป็นมาตรฐานที่สร้างโดย CSA (Connectivity Standards Alliance) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากบริษัทมากกว่า 550 บริษัทในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฮมมาร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานกลาง เพื่อให้อุปกรณ์และระบบที่พัฒนาจากผู้ผลิตแต่ละรายสามารถทำงานเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้โดยเน้นการเชื่อมต่อบนมาตรฐานเครือข่ายแบบ IP-based ที่มีอยู่แล้วคือ Ethernet (802.3), Wi-Fi (802.11), Thread (802.15.4) และ Bluetooth LE
Cloudflare เปิดบริการ Cloudflare SIM บริการเน็ตเวิร์คสำหรับโทรศัพท์มือถือให้สามารถเชื่อมต่อเข้าองค์กรโดยไม่ต้องลงแอปใดๆ เพิ่มเติม แต่อาศัยการออก eSIM ให้พนักงาน เมื่อพนักงานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วองค์กรจะดูแลความปลอดภัยผ่านทาง DNS ได้ทันที หรือจะตรวจสอบสถานะอุปกรณ์เพิ่มเติมผ่านแอป WARP ก็ได้เช่นกัน องค์กรจะรู้ได้ทันทีว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาเป็นของผู้ใช้คนใด
ตอนนี้ Cloudflare ยังไม่ประกาศว่า eSIM ที่ออกมานี้ใช้ในประเทศใดได้บ้างแต่บอกเพียงว่าจะพยายามขยายเครือข่ายไปทั่วโลก และอาจจะมีการออก SIM ปกติในอนาคต ตัว eSIM สามารถล็อกเข้ากับหมายเลข IMEI ของโทรศัพท์ได้
บริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) เปิดตัวโปรเจคเตอร์รุ่นแรกของโลก ที่มีซีพียู Celeron และรัน Windows 11 ในตัว ทำให้ฉายภาพโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อพีซีภายนอก สามารถคีย์บอร์ดและเมาส์เพื่อกลายร่างเป็นพีซีปกติ และต่อเว็บแคมเพื่อประชุมออนไลน์ได้ทันที
โปรเจคเตอร์ BenQ รุ่น EH620 ใช้ซีพียู Celeron 4000 Series, ระบบปฏิบัติการเป็น Windows 11 IoT Enterprise ครอบด้วย BenQ Uni Launcher UI ที่เพิ่มปุ่มลัดสำหรับการประชุม, แอพที่มีมาให้ในตัวคือ Chrome, Edge, Teams, Google Meet, Skype for Business, TeamViewer Meeting และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มได้เองจาก Microsoft Store
Google Cloud ประกาศปิดบริการ IoT Core ที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับบริการคลาวด์ ผ่านทางโปรโตคอล MQTT และ HTTP โดยบริการนี้เปิดให้บริการทั่วไปมาตั้งแต่ปี 2017 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 5 ปีเต็ม
ทาง Google Cloud ส่งอีเมลแจ้งปิดบริการให้กับลูกค้าที่ใช้งานอยู่ และปรับหน้าเว็บแสดงแบนเนอร์ว่ากำลังปิดบริการ ปัญหาใหญ่ของระบบ IoT เช่นนี้คือพันธมิตรและอุตสาหกรรมมักต้องลงทุนกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์เพื่อให้ทำงานร่วมกับบริการคลาวด์ การที่กูเกิลประกาศปิดบริการโดยให้เวลาเพียงปีเดียวเช่นนี้น่าจะสร้างปัญหาต่ออุตสาหกรรมที่ผูกติดกับบริการของกูเกิลไปแล้วค่อนข้างมาก
Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ
Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ (บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม
แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด
Espressif ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์พร้อม Wi-Fi ราคาประหยัดชื่อดังเปิดตัวชิปรุ่นล่าสุด ESP32-C5 จุดเด่นสำคัญคือการรองรับ Wi-Fi ที่คลื่นย่าน 5GHz จากเดิมที่รองรับย่าน 2.4GHz เท่านั้น
ESP32-C5 ใช้ซีพียูภายในเป็น RISC-V 32 บิต คอร์เดี่ยว แรม 400KB รอม 384KB รองรับ Wi-Fi 6 (802.11ax) ที่แถบคลื่นกว้าง 20MHz และรองรับ Wi-Fi 802.11b/g/n ที่แถบคลื่นกว้าง 20/40MHz พร้อมกับ Bluetooth 5 LE
802.11ax รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT ได้ดีกว่า Wi-Fi ตัวอื่นๆ เนื่องจากมีฟีเจอร์ Target Wake Time (TWT) รองรับการเชื่อมต่อโดยที่ตัวอุปกรณ์ IoT ปิดการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ไปได้นานๆ ก่อนจะกลับมาส่งข้อมูล ทำให้อุปกรณ์อาจจะใช้แบตเตอรี่ได้นานนับปี
บริษัท Arduino เจ้าของบอร์ดขนาดเล็กที่นิยมอย่างมาก ประกาศระดมทุนรอบซีรีส์ B จำนวน 32 ล้านดอลลาร์ (แต่ไม่มีเปิดเผยมูลค่าของบริษัท) จาก Robert Bosch Venture Capital (RBVC) ในเครือ Bosch, Renesas, Anzu Partners, Arm
Arduino บอกว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปทำธุรกิจสำหรับลูกค้าฝั่งองค์กร โดยให้เหตุผลว่าวิศวกรรุ่นใหม่ๆ ที่เติบโตมากับบอร์ด Arduino เริ่มเข้าไปทำงานในองค์กรต่างๆ และต้องการนำโซลูชัน Arduino ที่คุ้นเคยไปใช้ทำงานด้วย
การที่ Arduino ได้รับเงินลงทุนจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้ง Bosch, Renesas, Arm ก็ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจว่า Arduino จริงจังกับการขยายธุรกิจไปภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่บริษัทก็ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง
AWS เปิดบริการ FreeRTOS Extended Maintenance Plan (EMP) บริการแพตช์ความปลอดภัยให้กับ FreeRTOS รุ่น LTS ต่อเนื่องหลังหมดอายุซัพพอร์ตไปอีก 10 ปี
ปกติแล้ว FreeRTOS รุ่น LTS มีอายุซัพพอร์ตเพียง 2 ปีเท่านั้น แต่อายุการใช้งานอุปกรณ์ IoT มักยาวนานนับสิบปี และผู้พัฒนาหลายรายก็ไม่พร้อมพอร์ตแอปพลิเคชั่นข้ามเวอร์ชั่นบ่อยๆ รวมถึงตัว API ของระบบปฎิบัติการก็อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง
รุ่น LTS ที่มีการใช้งานอยู่ตอนนี้เช่น FreeRTOS 202012.01 LTS จะหมดอายุซัพพอร์ตปี 2023 หากซื้อบริการ EMP ก็จะใช้งานได้ถึงปี 2033 เลยทีเดียว
กระทรวงดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อ, และการกีฬาสหราชอาณาจักรเสนอร่างกฎหมาย Product Security and Telecommunications Infrastructure (PSTI) เข้าสู่สภาเพื่อควบคุมความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ทั้งระบบ เช่น สมาร์ตทีวี, กล้องวงจรปิด, ลำโพงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หลังจากผลักดันนอกสภามาถึงสองปี
กฎหมายเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ผลิตและผู้นำเข้าอุปกรณ์ ต้องทำตามเงื่อนไขหลัก 3 รายการ ได้แก่
Matter เป็นโปรโตคอลตัวใหม่สำหรับอุปกรณ์ IoT/Smart Home ภายใต้การผลักดันของกลุ่ม CSA (ZigBee เดิม) โดยมียักษ์ใหญ่ทั้ง Google, Amazon, Apple, Samsung SmartThings หนุนหลัง
ก่อนหน้านี้ Google Android/Nest ประกาศรองรับ Matter ไปก่อนใครแล้ว ล่าสุด Amazon ก็ประกาศรองรับ Matter บนอุปกรณ์ตระกูล Echo ของตัวเองเช่นกัน
นโยบายของ Amazon คืออุปกรณ์ Echo "ส่วนใหญ่" จะได้อัพเกรดให้รองรับ Matter ด้วย โดยจะมีแค่ลำโพง Echo และ Echo Dot รุ่นแรกสุด (first gen) เท่านั้นที่ไม่ได้ไปต่อ ส่วนอุปกรณ์ Echo รุ่นหลังๆ เช่น Echo Show, Echo Studio, Echo Flex, Echo Plus จะใช้งานกับ Matter ได้ทั้งหมด
กูเกิลประกาศรองรับโพรโทคอลสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม Matter ที่พัฒนาโดยกลุ่มพันธมิตร CSA (ZigBee Alliance เดิม) ในอุปกรณ์ Android และ Nest
Matter เป็นโพรโทคอลมาตรฐานกลางที่หลายบริษัทช่วยกันพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่ายคุยกันยาก โดยมี CSA เป็นหน่วยงานกลางคอยประสาน ตัวโพรโทคอลวิ่งอยู่บนเครือข่าย IP (ในที่นี้คือ Wi-Fi และ Thread)
Positive Technology เปิดโครงการ Send My เฟิร์มแวร์สำหรับโมดูล ESP32 เพื่อการส่งข้อมูลกลับหาเจ้าของโดยไม่ต้องมีโทรศัพท์มือถือ แต่ใช้เครือข่าย Find My ที่เป็นอุปกรณ์ iOS จำนวนมากทั่วโลก
ก่อนหน้านี้มีโครงการโอเพนซอร์เพื่อสร้างอุปกรณ์ที่ใช้เครือข่าย Find My อยู่แล้ว คือ OpenHayStack แต่ก็ใช้สำหรับหาอุปกรณ์เหมือนกับ AirTag ปกติเท่านั้น ไม่สามารถส่งข้อมูลกลับมาได้
กลุ่มมาตรฐาน Zigbee Alliance ก่อตั้งในปี 2002 เพื่อพัฒนามาตรฐาน ZigBee เป็นหลัก แต่ระยะหลังกลุ่ม Zigbee Alliance ออกมาตรฐานใหม่ๆ ในชื่ออื่นมาอีกหลายตัว วันนี้จึงประกาศเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น Connectivity Standards Alliance (CSA) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนี้ ปัจจุบัน CSA มีสมาชิกประมาณ 350 บริษัท
ตัวมาตรฐาน ZigBee เองยังอยู่เหมือนเดิมและใช้ชื่อเดิม ของใหม่คือ CSA ออกมาตรฐานตัวใหม่ชื่อ Matter (ชื่อเดิมคือ CHIP) สำหรับเชื่อมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่าย โดยมียักษ์ใหญ่ของวงการมาร่วมกันพร้อมหน้า ทั้ง Amazon, Apple, Google, Samsung SmartThings
ทีมความปลอดภัยไซเบอร์ Section 52 ของไมโครซอฟท์ที่มีหน้าที่วิจัยความปลอดภัยในอุปกรณ์กลุ่ม IoT รายงานถึงช่องโหว่ BadAlloc กลุ่มช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ IoT สำคัญๆ จำนวนมากที่ไม่ตรวจสอบอินพุตก่อนจองหน่วยความจำจนกลายเป็นช่องโหว่ heap overflow นำไปสู่การโจมตีแบบรันโค้ดระยะไกลหรือไม่ก็ทำให้อุปกรณ์แครชไปได้
ตัวอย่างของช่องโหว่ BadAlloc เช่น ฟังก์ชั่น malloc สำหรับจองหน่วยความจำเมื่อรับค่าขนาดหน่วยความจำที่ต้องการมาแล้วก็นำค่าเป็นบวกกับค่าคงที่ เช่น ขนาด struct สำหรับเก็บข้อมูล heap โดยไม่ได้ตรวจสอบว่าขนาดหน่วยความจำใหญ่เกินไปหรือไม่ ทำให้เมื่อนำค่าไปบวกกับค่าคงที่ต่างๆ แล้วเกิด integer overflow ทำให้ค่าที่ได้วนกลับไปเริ่มจากศูนย์หรือติดลบ
Espressif เปิดตัวชิปอุปกรณ์ IoT รุ่นใหม่ในชื่อรุ่น ESP32-C6 จุดเด่นสำคัญของรุ่นนี้คือการรองรับ Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax ที่มีประสิทธิภาพการใช้แถบความถี่ต่อแบนวิดท์สูงมาก แต่ยังรองรับเฉพาะย่าน 2.4GHz เท่านั้น
ตัวซีพียูภายในเป็น RISC-V 32 บิตคอร์เดี่ยว สัญญาณนาฬิกา 160MHz พร้อมแรม 400KB และรอม 384KB ขา GPIO 22 ขา, ชุดวงจรเข้ารหัส เร่งความเร็วได้ทั้ง SHA, AES, HMAC, และ RSA รวมถึงการสร้างค่าสุ่ม
ฟีเจอร์สำคัญของ 802.11ax คือการตั้งเวลาตื่นมารับส่งข้อมูลล่วงหน้า (Target Wake Time - TWT) ทำให้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานลงมาก หาก access point รองรับฟีเจอร์นี้เหมือนกัน ตัวอุปกรณ์ IoT ก็สามารถทำงานด้วยแบตเตอรี่นานนับปี
Logitech ประกาศเลิกผลิตรีโมทภายใต้แบรนด์ Harmony สำหรับใช้ควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอย่างเป็นทางการ โดยจะยังคงซัพพอร์ตลูกค้าเดิมต่อไป
สำหรับสินค้าตระกูล Harmony เป็นสินค้ากลุ่มควบคุมสมาร์ทโฮมของ Logitech ซึ่งรีโมทก็ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าแบรนด์นี้ และเป็นตัวเลือกเดียวในช่วงหลังสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฮมที่ต้องการรีโมทธรรมดาไว้สำหรับควบคุมสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้าน เพราะตัวรีโมทกำหนดได้ว่าจะให้ปุ่มไหนคุมหลอดไฟดวงไหนหรือปลั๊กจุดไหน แต่หลังจาก Google, Apple และ Amazon เริ่มเข้ามาในระบบควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน รวมถึงมี HDMI-CEC ก็ทำให้ universal remote เริ่มไม่ได้รับความนิยม
เมื่อพูดถึงแบรนด์ Toshiba คงไม่มีใครนึกถึงในแง่บริษัทซอฟต์แวร์มากนัก แต่จริงๆ แล้ว Toshiba มีบริษัทลูกชื่อ Toshiba Digital Solutions ที่ทำธุรกิจด้านโซลูชันไอที และมีผลงานสร้างซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของตัวเองชื่อ GridDB มาสักระยะหนึ่งแล้ว
GridDB เป็นฐานข้อมูลที่ Toshiba สร้างขึ้นใช้เองภายใน แนวคิดคือเก็บข้อมูลอิงเวลา (time series) ของอุปกรณ์ IoT จำนวนมากๆ มาบันทึกไว้เพื่อประมวลผลข้อมูลในภายหลัง โดยชูจุดเด่นเรื่องการรองรับข้อมูลระดับ petabyte โดยที่ยังมีเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือสูง แถมคุยว่าประสิทธิภาพยังดีกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันคือ Apache Cassandra
Canonical ออก Ubuntu Core 20 ดิสโทรลินุกซ์สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวและ IoT ที่ดัดแปลงมาจาก Ubuntu 20.04 LTS
จุดเด่นของ Ubuntu Core คือการปรับแต่งมาเพื่ออุปกรณ์ขนาดเล็ก ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อลดพื้นที่การโจมตี (minimal attack surface) มีฟีเจอร์ความปลอดภัยหลายอย่างตั้งแต่ secure boot, full disk encryption, secure device recovery และแอพทั้งหมดจะถูกรันแยก (isolated) เพื่อไม่ให้โจมตีมาถึง OS ได้
Canonical ยังระบุว่าทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิปและบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายราย เพื่อการันตีว่ากระบวนการอัพเดตทั้งหมดจะราบรื่น
Ubuntu Core รองรับทั้งสถาปัตยกรรม ARM และ x86 โดยมีพาร์ทเนอร์เข้าร่วมหลายราย เช่น Bosch Rexroth, Dell, ABB, Rigado, Plus One Robotics, Jabil, Intel, Raspberry Pi
ซัมซุงเปิดตัว Galaxy Upcycling at Home เป็นโปรแกรมให้นำมือถือ Samsung Galaxy ตัวเก่ามาทำเป็นอุปกรณ์ IoT ใช้งานในบ้านได้ จากวิดีโอเปิดตัว จะเห็นว่าสามารถนำ Samsung Galaxy มาใช้ได้ในกรณี เช่น เป็นอุปกรณ์ดูแลเด็กเล็ก ส่งเสียงแจ้งเตือนเมื่อเด็กร้อง หรือใช้คู่กับ SmartThings เพื่อจัดการเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น