จีนอัพเกรด Internet backbone ภายในประเทศที่ใช้เชื่อมเมืองใหญ่เข้าด้วยกันเป็นท่อแบนวิดท์สูง 1.2Tbps ในชื่อโครงการ Future Internet Technology Infrastructure (FITI) เชื่อมสามเมือง คือ ปักกิ่ง, อู่ฮั่น, และกวางโจว รวมระยะทาง 3,000 กิโลเมตร
FITI ร่วมกันพัฒนาโดย มหาวิทยาลัย Tsinghua, China Mobile, Huawei, และ CERNET.com โดยเริ่มทดสอบมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา
ตัว FITI เองเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2021 เชื่อมมหาวิทยาลัย 40 แห่งใน 35 เมือง โดยพยายามผลักดันให้เป็นเชื่อมต่อด้วย IPv6 ไปพร้อมกัน
ที่มา - Tsinghua
กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีนออกประกาศบังคับให้อุปกรณ์ Wi-Fi ที่จะขอรับรองให้ใช้งานต้องรองรับ IPv6 และเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น พร้อมกับอธิบายวิธีการคอนฟิก IPv6 ไว้ในคู่มือ
ข้อบังคับนี้บังคับกับอุปกรณ์ Wi-Fi ที่ใช้คลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz พร้อมกับระบุแนวทางการตรวจสอบว่าอุปกรณ์รองรับ IPv6 จริงก่อนที่จะอนุญาตให้ใช้งานอุปกรณ์แต่ละรุ่น
รัฐบาลจีนมีแนวทางจะปรับอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศไปใช้งาน IPv6 ภายในปี 2030 โดยที่ผ่านมาบังคับกับเว็บไซต์ภาครัฐ, อุปกรณ์ระดับ backbone สำหรับประกาศนี้จะมีผลวันที่ 12 ธันวาคมที่จะถึงนี้
Amir Golestan ซีอีโอบริษัท Micfo ถูกศาลสั่งจำคุก 5 ปีฐานฉ้อโกง (defrauding) จากการเปิดบริษัทปลอม เพื่อไปยื่นขอหมายเลขไอพีจาก ARIN หน่วยงานแจกจ่ายหมายเลขไอพีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ
อัยการสหรัฐฯ ระบุว่า Golestan ปลอมแปลงเอกสารเพื่อขอหมายเลขไอพีจาก ARIN และตั้งข้อหารวม 20 ข้อหาในปี 2019 หลังจากสู้คดีมาระยะหนึ่ง Golestan ตัดสินใจรับสารภาพในปี 2021 และหลังจากนั้นคดีก็อยู่ระหว่างการรอกำหนดโทษแต่ถูกเลื่อนมาหลายครั้งจนมีการกำหนดโทษเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
หมายเลขไอพีที่ Golestan ขอไปทั้งหมด 757,760 หมายเลข มูลค่ารวม 10-15 ล้านดอลลาร์ Golestan เคยระบุว่าเขาเป็นผู้จัดหาหมายเลขไอพีให้กับผู้ให้บริการ VPN หลายราย
Verisign ผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมน .com เตรียมขึ้นราคาค่าโดเมนวันที่ 1 กันยายนนี้ โดยขึ้นราคาแบบขายส่ง จาก 8.97 ดอลลาร์ต่อปีเป็น 9.59 ดอลลาร์ ตามข้อตกลงระหว่าง Verisign กับ ICANN ที่อนุญาตให้ขึ้นราคาได้ไม่เกินปีละ 7%
ทาง Namecheap ผู้ให้บริการจดโดเมนรายย่อยประกาศขึ้นราคาพร้อมกัน โดยจะขึ้นราคาขายปลีกประมาณ 9% เป็น 15.88 ดอลลาร์ต่อโดเมน
ผู้ถือโดเมนเดิมยังคงต่ออายุโดเมนได้ที่ราคาเดิมต่อไปจนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
ที่มา - Domain News Wire, Namecheap
Cloudflare เพิ่มบริการแจ้งเดือนเหตุขโมย route BGP ซึ่งทำให้ทราฟิกที่ควรวิ่งตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์กลับถูกดึงไปยังยัง ISP อื่นๆ ได้ (BGP Origin Hijack) โดยเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ทั้งจากเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจและเหตุที่คนร้ายตั้งใจโจมตีเป้าหมายจริงๆ
การขโมย route นี้อาศัยการที่คนร้ายเป็น ISP ที่แล้วประกาศเส้นทางไปยังหมายเลขไอพีที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของ ส่งผลให้ ISP อื่นๆ ส่งทราฟิกที่ต้องการติดต่อหมายเลขไอพีนั้นๆ ส่งทราฟิกเข้าไปยัง ISP ของคนร้าย เหตุการณ์ครั้งใหญ่ๆ เช่น เมื่อปี 2018 ISP แห่งหนึ่งในไนจีเรียสามารถทำให้คนเข้าถึงกูเกิลไม่ได้นานถึง 74 นาที
ทีมวิศวกรจากกูเกิลเสนอ Web Environment Integrity API (WEI) ฟีเจอร์ในเบราว์เซอร์ที่เปิดให้เว็บตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้กำลังเข้าใช้งานด้วยเบราว์เซอร์ที่น่าเชื่อถือ ไม่มีการดัดแปลง
ประโยชน์ของ API นี้ เช่น สำหรับตรวจสอบการเข้าเว็บด้วยบ็อต, การสร้างบัญชีจำนวนมากๆ บนบริการต่างๆ, การตรวจสอบยอด engagement หรือยอดการชมโฆษณาว่าไม่ได้มาจากบ็อต
Cloudflare ประกาศเริ่มใช้โปรโตคอล MASQUE ที่ขี่อยู่บน HTTP/3 อีกอีกทีหนึ่ง มาให้บริการ VPN บนแอป WARP คู่กับ Wireguard
เนื่องจาก HTTP/3 หรือ QUIC นั้นรองรับการเชื่อมต่อหลายสตรีมพร้อมกับ การให้บริการ VPN ผ่าน MASQUE จึงเป็นเหมือนการเชื่อมต่อผ่าน proxy ดั้งเดิมที่เราเคยใช้กันมา คำสั่งเชื่อมต่อนั้นยังใช้ HTTP CONNECT เหมือนกันอีกด้วย ข้อดีที่เหนือ Wireguard คือไฟร์วอลล์มักไม่บล็อคพอร์ต 443 สำหรับ HTTP/3, กระบวนการเข้ารหัสสามารถใช้อัลกอลิทึมใหม่ๆ ได้, และในอนาคตเมื่อมาตรฐาน Multipath QUIC พร้อมใช้งานก็จะสามารถเชื่อมต่อหลายช่องทางได้พร้อมกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถสลับการเชื่อมต่อเช่น Wi-Fi มาเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือได้โดยสามารถส่งข้อมูลต่อเนื่อง
nginx เว็บเซิร์ฟเวอร์ยอดนิยม เริ่มรองรับ HTTP/3 เป็นฟีเจอร์ระดับทดลองในเวอร์ชั่น 1.25 หลังจากมาตรฐาน HTTP/3 ออกตัวจริงมาตั้งแต่กลางปี 2022 ที่ผ่านมา
ที่จริงแล้วโค้ดรองรับ HTTP/3 ถูกพัฒนาใน nginx มานานแล้ว โดยเวอร์ชั่นทดลองแรกมีมาตั้งแต่ปี 2020 แต่ยังเป็นโค้ดแยกออกจากโครงการหลัก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ฟีเจอร์นี้เข้ามาใน nginx ตัว mainline แต่กระนั้นโดยดีฟอลด์แล้วฟีเจอร์นี้ก็จะไม่ถุกคอมไพล์มาด้วย ผู้ที่ต้องการใช้งานต้องเพิ่มออปชั่น --with-http_v3_module
เองตอนคอมไพล์
ปัญหาของนักพัฒนาเว็บช่วงหลังที่เจอกันบ่อยคือแม้จะมี API ใหม่ๆ ให้ใช้งาน และหลายครั้งออกเป็นมาตรฐานแล้ว แต่เบราว์เซอร์แต่ละยี่ห้อก็รองรับไม่พร้อมกัน ทำให้นักพัฒนาต้องมาระวังว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ที่ผ่านมาแม้จะมีการจัดมาตรฐานมาทำเป็นชุดทดสอบ เช่น Interop แต่สุดท้ายนักพัฒนาก็ต้องมาดูเองอยู่ดีว่าเบราว์เซอร์ใดผ่านข้อไหนบ้าง ในงาน Google I/O ปีนี้กูเกิลจึงเปิดตัว Baseline โลโก้แจ้งนักพัฒนาว่าฟีเจอร์ใดพร้อมใช้งานโดยทั่วไปแล้ว
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประกาศขีดเส้นตายเตรียมบังคับหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมดต้องรองรับกระบวนการยืนยันเส้นทางเน็ตเวิร์ค หรือ Resource Public Key Infrastructure (RPKI) ภายในสิ้นปี 2024 ทำให้ตอนนี้หน่วยงานต่างๆ ที่กำลังทำเรื่องจัดซื้อต้องเพิ่มเงื่อนไขนี้เข้าไปในการจัดซื้อแล้ว
ที่ผ่านมาทราฟิกเชื่อมต่อของรัฐบาลเคยถูกประกาศเส้นทางโดย ISP รายอื่นทำให้ทราฟิกถูกดึงมาแล้วหลายครั้ง แม้จะเป็นการคอนฟิกผิดพลาดแต่การเปิดช่องทางให้คนร้ายสามารถดึงทราฟิกไปได้ก็เป็นความเสี่ยง เน็ตเวิร์คกระทรวงต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์เคยถูกดึงทราฟิกไปเมื่อปี 2014 หรือข่าวใหญ่เช่นกูเกิลเองเคยถูกดึงทราฟิกจนเว็บดับในปี 2018
We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ ออกรายงานเพิ่มเติมต่อจาก Digital 2023 โดยรายงานนี้โฟกัสเฉพาะข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Digital 2023: Thailand ซึ่งสะท้อนภาพรวมและรูปแบบพฤติกรรมการใช้งานในประเทศ
รายงานฉบับเต็มมี 125 หน้า ซึ่ง We Are Social เองก็ได้ทำสรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจไว้ดังนี้
ประชากรอินเทอร์เน็ตของไทยมี 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากรทั้งประเทศ (71.75 ล้านคน) เป็นข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2023 เพิ่มขึ้น 0.2% จากตัวเลขในปี 2022
สายการบิน ZIPAIR สายการบินโลว์คอสต์ที่เป็นบริษัทลูกของ Japan Airlines ประกาศความร่วมมือกับ SpaceX เพื่อนำบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูง Starlink มาให้บริการกับผู้โดยสารในเที่ยวบิน ซึ่งเป็นสายการบินจากเอเชียรายแรก
บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ Starlink สำหรับเครื่องบินโดยสาร เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว มีจุดขายคือความเร็วในการดาวน์โหลดที่สูงถึง 350Mbps และมี latency ที่ต่ำ จึงให้คุณภาพได้ใกล้เคียงกับการใช้อินเทอร์เน็ตในบ้าน
We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ เผยแพร่รายงานประจำปี Digital 2023 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โซเชียลมีเดีย สื่อโฆษณาออนไลน์ ตลอดจนประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากการรวบรวมของ We Are Social เอง และผ่านพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ
รายงานฉบับเต็มมี 465 หน้า และเป็นการนำเสนอภาพรวมทั่วโลก ซึ่ง We Are Social ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจมาบางส่วนดังนี้
เหตุการณ์ IPv4 หมดโลกไปตั้งแต่ช่วงปี 2017-2019 แต่ความต้องการตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการยังคงมีต่อเนื่องทำให้เกิดตลาดซื้อขาย IPv4 องค์กรที่ร่วมก่อตั้งอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรกๆ สามารถตัดแบ่งไอพีออกขายได้เงินเป็นกอบเป็นกำ และราคาไอพีก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าราคาไอพีจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
Mark Nottingham วิศวกร Cloudflare ที่ทำงานด้านมาตรฐานโปรโตคอล HTTP เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของ HTTP ในช่วงปีที่ผ่านมา ว่าประเด็นใหญ่ที่สุดคือการออกมาตรฐาน HTTP/3 แต่ปีหน้า HTTP Working Group ก็ยังทำมาตรฐานใหม่ๆ อีกหลายตัว ที่น่าจะมีความคืบหน้าหรือออกเป็นมาตรฐานได้ในปี 2023 มาตรฐานที่ถูกพูดถึง เช่น
SpaceX ประกาศเพิ่มบริการตัวใหม่ โดยขยายความสามารถของอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink มารองรับการใช้งานในระดับงานความมั่นคงทางการทหาร เรียกว่า Starshield
บริการ Starshield นี้ SpaceX ไม่ได้ลงรายละเอียดการใช้งานมากนัก แต่เปรียบเทียบว่า Starlink ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและงานด้านพาณิชย์ ขณะที่ Starshield ออกแบบมาสำหรับหน่วยงานรัฐใช้งาน
ในหน้าเว็บไซต์ระบุว่า Starshield ออกแบบมาเพื่อรองรับการส่งข้อมูลที่มีการเข้ารหัสขั้นสูง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าระดับหน่วยงานรัฐ และยังรองรับรูปแบบการใช้งานที่มีความหลากหลาย รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมอื่นผ่านเลเซอร์ในอวกาศ เพื่อเชื่อมต่อกับดาวเทียมอื่นที่ไม่ใช่ของ Starlink ได้ด้วย
Starlink บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของบริษัท SpaceX ประกาศนโยบาย Fair Use policy กำหนดปริมาณใช้งานข้อมูลไม่เกิน 1TB ต่อเดือน หากใช้เกินจะถูกลดความเร็วลงตลอดเดือนนั้น
เพดานข้อมูล 1TB ต่อเดือน นับเฉพาะการใช้งานช่วงกลางวันและหัวค่ำ (ตามเวลาสหรัฐและแคนาดา) ที่มีการใช้งานหนาแน่น ตั้งแต่ 7.00-23.00 น. ส่วนช่วงดึกๆ ไปจนถึงเช้าไม่จำกัดปริมาณข้อมูลส่วนนี้ และหากผู้ใช้จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเกิน 1TB ในความเร็วปกติ สามารถซื้อเพิ่มในราคา GB ละ 25 เซนต์
Starlink ระบุว่ามีผู้ใช้ราว 10% ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ และมีผลบังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ตามบ้านเท่านั้น (ผู้ใช้กลุ่มธุรกิจ รถบ้าน การบิน เรือเดินสมุทร ต้องจ่ายแพ็กเกจในอีกราคาอยู่แล้ว)
SpaceX เตรียมเปิด Starlink Aviation บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมสำหรับเครื่องบินโดยสาร โดยจะคิดค่าบริการเดือนละ 12,500 - 25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงสุดของ Starlink Aviation จะเร็วได้ถึง 350 Mbps ซึ่ง SpaceX ระบุว่าผู้โดยสารเที่ยวบินสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกม, วิดีโอคอลหรือใช้บริการสตรีมมิ่งต่างๆ ได้
Google Fiber ซึ่งให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในสหรัฐอเมริกา เตรียมเพิ่มแพคเกจอินเทอร์เน็ตอีก 2 รายการ ด้วยความเร็ว 5Gbps และ 8Gbps โดยคิดค่าบริการเดือนละ 125 ดอลลาร์ และ 150 ดอลลาร์ตามลำดับ เริ่มให้บริการต้นปีหน้า
ผู้ใช้บริการทั้ง 2 แพคเกจจะได้ความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดเท่ากัน โดย Google จะให้เราท์เตอร์ WiFi 6 กับตัวเพิ่มสัญญาณอีก 2 ตัวแก่ลูกค้าพร้อมบริการติดตั้งอุปกรณ์
ผลการสำรวจราคาอินเทอร์เน็ตมือถือทั่วโลกประจำปี The Worldwide Mobile Pricing 2022 โดย Cable.co.uk ผู้ให้บริการเครื่องมือเทียบราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอังกฤษ พบว่าประเทศไทย มีค่าบริการอินเทอร์เน็ตมือถือเฉลี่ย ราคาถูกเป็นอันดับ 17 ของโลก และถูกที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสำรวจข้อมูลของไทยระบุว่าจัดทำขึ้นในวันที่ 16 พฤษภาคม 2022 จาก 14 แพ็คเกจ มีค่าบริการเฉลี่ยต่อ 1GB อยู่ที่ 13.64 บาท (0.38 ดอลลาร์) สำหรับช่วงราคานั้น แพ็คเกจราคาถูกที่สุดคือ 6.65 บาท และแพงที่สุด 199 บาท สำหรับ 1GB
คู่สามีภรรยา Zachary Cohn และ Lauryl Zenobi ได้ตัดสินใจซื้อบ้านในย่าน Northgate ที่เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตันเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2019 โดยหลังจากเซ็นสัญญาซื้อขายและย้ายเข้ามาอยู่แล้ว พวกเขาก็พบว่าบ้านหลังที่ซื้อไม่เคยมีการเดินสายเคเบิลสำหรับอินเทอร์เน็ตมาก่อนเลย แต่เพื่อนบ้านอีก 6 หลังที่อยู่ใกล้ๆ กันมีสายเคเบิลจาก Comcast เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมด โดย Comcast เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายเดียวในพื้นที่ดังกล่าว
Oleg Obleukhov และ Ahmad Byagowi วิศวกรจาก Meta เขียนบล็อกเพื่อสนับสนุนให้ยกเลิก Leap Second หรือ อธิกวินาที ที่หลายบริษัทเทคโนโลยีเคยเสนอก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันถูกใช้เป็นวิธีชดเชยการนับเวลาของโลก ที่ไม่ได้หมุนรอบตัวเท่ากันเป๊ะในทุกปี โดยการบวกชดเชยเวลานั้น จะมีหน่วยงาน IERS เป็นคนกำหนดว่าให้ทำในปีใดวันใด
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมาในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เกิดเหตุบีเวอร์กัดต้นไม้จนล้มใส่สายไฟฟ้าและสายไฟเบอร์ออปติกของบริษัท Telus ที่ใช้เสาส่งร่วมกัน ทำให้ไฟดับบางจุด แต่สายไฟเบอร์ที่ขาดกลับสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง อินเทอร์เน็ตทั้งไฟเบอร์ตามบ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือดับไป 11 หมู่บ้าน นาน 8 ชั่วโมง
เสาไฟฟ้าที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่หนองน้ำ ทำให้การเข้าไปซ่อมแซมทำได้ล่าช้า ธุรกิจจำนวนมากไม่สามารถให้บริการได้เพราะไม่สามารถตัดบัตรเครดิต
CityWest ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบระบุว่ากำลังเตรียมลากสายไฟเบอร์มาทางทะเลเพิ่มเติม หากเกิดเหตุอีกก็ยังพอเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
Rocket.Chat โปรแกรมแชตสำหรับองค์กรแบบโอเพนซอร์ส ประกาศรองรับโปรโตคอล Matrix เปิดทางให้สามารถใช้ Rocket.Chat คุยกับองค์กรอื่นๆ แม้ใช้โปรแกรมคนละตัวกัน
บริการแชตในช่วงหลังมีลักษณะเป็นระบบปิดมากขึ้นเรื่อยๆ แอปแต่ละตัวไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ แม้แอปแชตระดับองค์กรจะมีฟีเจอร์คุยข้ามองค์กร เช่น Microsoft Teams หรือ Slack แต่ก็บังคับว่าทั้งสององค์กรต้องใช้บริการเดียวกันเท่านั้น เทียบกับบริการดั้งเดิมอย่างอีเมลนั้นสามารถใช้งานได้ครอบคลุม (แม้จะมีปัญหาสแปมหนักหน่วงจนทุกวันนี้)
ทางโครงการ Matrix แสดงความยินดีที่ Rocket.Chat อิมพลีเมนต์ฟีเจอร์นี้และแสดงความหวังว่าโปรแกรมแชตโอเพนซอร์สอื่น เช่น Nextcloud หรือ Mattermost จะอิมพลีเมนตโปรโตคอล Matrix ตามมาในอนาคต
Russian Union of Industrialists and Entrepreneurs (RSPP) ภาคเอกชนของรัสเซียในกลุ่มอุตสาหกรรมไอทีและโทรคมนาคมออกมาเตือนว่าตอนนี้มีสต็อกอุปกรณ์พอใช้งานไปอีกประมาณ 6 เดือนเท่านั้น และหากยังคงถูกคว่ำบาตรต่อไป รัสเซียก็อาจจะมีปัญหาการสื่อสารในประเทศ
ตอนนี้อุปกรณ์โทรคมนาคมส่วนใหญ่ไม่สามารถส่งไปยังรัสเซียได้เนื่องจากติดมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ และชาติยุโรป ส่วนที่บริษัทรัสเซียพอจะหาซื้อได้ก็ราคาเพิ่มขึ้นถึง 40% เนื่องจากค่าเงินรูเบิลอ่อนค่า
แถลงการณ์ของ RSPP ครั้งนี้ออกมาขอให้รัฐบาลช่วยอุดหนุนก้อนใหญ่ เช่น ตั้งกองทุนบริการโทรคมนาคมมาอุ้ม, ลดค่าคลื่นความถี่ลง 50%, ยกเว้นภาษี แต่คาดว่ารัฐบาลรัสเซียน่าจะไม่อุ้มเป็นแพ็กเกจใหญ่ขนาดนี้