Mark Gurman แห่ง Bloomberg สรุปรายละเอียดสินค้าใหม่ที่แอปเปิลจะเปิดตัวในงานแถลงข่าว It's Glowtime ซึ่งตรงกับเที่ยงคืนวันที่ 10 กันยายนนี้ ตามเวลาในไทย (คืนวันจันทร์ที่ 9)
ในภาพรวมนั้นสินค้าที่ Gurman บอกว่าจะเปิดตัวในงานแน่นอนยังเป็นเซตเดิมคือ iPhone 16, AirPods ใหม่ และ Apple Watch โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
ผู้ใช้ Reddit ชื่อ chiselplow เปิดเผยว่าทดลองเปรียบเทียบการทำงานของ Apple AirTag กับป้ายติดตามค่าย Android ที่ใช้เครือข่าย Find My Device ของกูเกิล (เพิ่งเริ่มเปิดบริการเมื่อเดือนเมษายน) โดยนำป้าย AirTag กับป้ายยี่ห้อ Pebblebee ใส่กล่องพัสดุเดียวกัน แล้วส่งพัสดุทางไปรษณีย์ให้ญาติที่อยู่รัฐอื่น เพื่อติดตามดูว่าเครือข่ายค้นหาอุปกรณ์แต่ละค่ายสามารถทำงานได้ดีแค่ไหน
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่แอปเปิลในจดหมายข่าวรายสัปดาห์ Power On ตอนล่าสุด โดยครั้งนี้ให้ข้อมูลรวม ๆ ของสินค้าและบริการใหม่ที่มีแผนจะเปิดตัวดังนี้
แอปเปิลและกูเกิลประกาศความก้าวหน้า ของความร่วมมือเพื่อพัฒนามาตรฐานอุปกรณ์ติดตามด้วยบลูทูธหรือแทร็กเกอร์ เพื่อป้องกันปัญหาการนำอุปกรณ์นี้ไปใช้ติดตามคนอื่นอย่างไม่เหมาะสม ให้รองรับข้ามแพลตฟอร์มทั้ง iOS และ Android
โดยล่าสุดแอปเปิลได้เพิ่มความสามารถแจ้งเตือนผู้ใช้งานหากพบอุปกรณ์บลูทูธที่ไม่รู้จักพยายามติดตาม มีผลใน iOS 17.5 ที่เพิ่งออกอัปเดตมา ส่วนกูเกิลได้เพิ่มความสามารถนี้รองรับใน Android 6.0 ขึ้นไป
มีประเด็นเล็ก ๆ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแอปเปิลได้ออกอัปเดตเฟิร์มแวร์ AirTag อุปกรณ์บลูทูธไว้ติดตามสิ่งของ เป็นเวอร์ชันล่าสุด 2A73 (2.0.73) ซึ่งแอปเปิลมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์นี้เป็นระยะอยู่แล้ว ทำงานแบบเบื้องหลังเมื่อมี iPhone อยู่ใกล้กับ AirTag ผู้ใช้งานจึงไม่ต้องทำอะไร
อย่างไรก็ตามการอัปเดตเฟิร์มแวร์ AirTag แอปเปิลใช้วิธีทยอยอัพเดต โดยเริ่มจากกลุ่มแรกประมาณ 1% ก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายจำนวนในวัดถัดไป เพื่อเป็นการทดสอบและไม่เพิ่มโหลดที่ระบบ แต่กรณีของเฟิร์มแวร์เวอร์ชันล่าสุด พบว่า AirTag ทั้งหมดถูกอัปเดตพร้อมกันในวันเดียว ซึ่งก็มีที่มา
แอปเปิลอัพเดตข้อมูลในหน้าซัพพอร์ต บอกว่าผู้ใช้งานสามารถเพิ่มรายการสิ่งของได้สูงสุด 32 ชิ้น ในแอป Find My ซึ่งรายการของกลุ่มนี้ได้แก่ AirTag, AirPods, MagSafe Wallet, Beats รุ่นที่รองรับ, บลูทูธแทร็กเกอร์ที่รองรับ Find My และอื่น ๆ
ก่อนหน้านี้แอปเปิลบอกว่า Find My สามารถเพิ่มรายการอุปกรณ์ส่วนนี้ได้สูงสุดที่ 16 ชิ้น แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น 32 ชิ้น แล้ว
ทั้งนี้แอปเปิลบอกว่ากรณี AirPods Max จะถูกนับเป็น 1 ชิ้น, AirPods และ AirPods Pro (1st Gen) จะนับเป็น 2 และ AirPods Pro (2nd Gen) จะนับเป็น 3 ชิ้น เนื่องจากมีการแทร็กพิกัดแยกส่วนทั้งหูฟังและเคสชาร์จนั่นเอง
แอปเปิลประเทศญี่ปุ่น ประกาศแคมเปญต้อนรับปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 2-5 มกราคม 2024 ให้บัตรของขวัญ (Gift Card) เมื่อซื้อสินค้าแอปเปิล โดยบัตรมูลค่าเริ่มต้นที่ 4,000 เยน (Apple TV 4K, AirPods, iPhone SE) สูงสุดที่ 30,000 เยน (MacBook Air 15 นิ้ว)
และเหมือนกับปีก่อนคือมี AirTag รุ่นพิเศษสลักลายนักษัตรประจำปี ซึ่งปี 2024 เป็นลายมังกร ให้กับลูกค้า 50,000 คนแรก ที่ซื้อ iPhone 14, iPhone 14 Plus, iPhone 13 หรือ iPhone SE มีผลเฉพาะการซื้อผ่านเว็บแอปเปิลของญี่ปุ่น หรือผ่าน Apple Store ในญี่ปุ่นเท่านั้น
ช่องยูทูป Teknófilo ทดสอบการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งจริง (Precision Finding) ของ iPhone 15 เชื่อมต่อกับโทรศัพท์อีกเครื่องที่อยู่ห่างไกลประมาณ 60 เมตร ได้อย่างแม่นยำขึ้น ซึ่งระยะนี้ไกลกว่าระยะการค้นหาของ AirTag ที่อยู่ที่ราว 10-15 เมตรเท่านั้น
iPhone 15 ใช้ชิป Ultra-Wideband Gen 2 ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ชิปรุ่นเดียวกันได้ในระยะที่ไกลขึ้น โดยใช้ฟีเจอร์ Precision Finding บนแอป Find My ค้นหาตำแหน่งเพื่อนที่อยู่ห่างไกลได้ถึง 60 เมตร
สำนักข่าวท้องถิ่น WSMV4 รายงานว่ามีผู้เสียหายแจ้งความกับเจ้าหน้าที่เมืองแนชวิลล์ ว่าถูกขโมยรถไปเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พร้อมกับแจ้งว่าในรถมี Airtag ติดอยู่ ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามตำแหน่งของรถได้ผ่านแอป Find My บน iPhone
เจ้าหน้าที่ติดตามตำแหน่งจาก Airtag พร้อมกับเจ้าหน้าที่หน่วยการบินช่วยสืบหา ในที่สุดหน่วยบินได้ส่งภาพลักษณะคนร้ายกับทางตำรวจ และสามารถจับกุมคนร้ายพร้อมกับเจอรถที่ถูกขโมยจอดไว้บริเวณหน้าร้านตัดผม และตรวจพบอุปกรณ์ไขควงสำหรับการงัดรถและกัญชาจำนวน 49 กรัมภายในรถ ก่อนหน้านี้ตำรวจนิวยอร์กก็แนะนำให้ประชาชนใส่ Airtag บนรถเนื่องจากมีคดีการโจรกรรมรถสูง
Google ประกาศผ่านบล็อกว่าจะชะลอการปล่อยฟีเจอร์แจ้งเตือนหากมี AirTag ถูกติดตามตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Find My Device ออกไปก่อน จนกว่า Apple ยืนยันสเปคกลาง และเริ่มใช้ฟีเจอร์นี้ใน iOS เพื่อปกป้องผู้ใช้งานจากการติดตามตำแหน่งที่ไม่ต้องการ
แม้ว่า Find My Device จะเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มาก แต่เป็นฟีเจอร์ที่เปิดการติดตามตำแหน่งที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการด้วย ตัวอย่างเช่น มีคนจงใจทิ้งผลิตภัณฑ์ที่มีเครือข่าย Find My Device ในกระเป๋าของผู้ใช้ แล้วสามารถติดตามตำแหน่งของคุณผ่านผลิตภัณฑ์นั้นได้
กูเกิลประกาศว่าคุณสมบัติการแจ้งเตือน หากถูก AirTag หรืออุปกรณ์แทร็กเกอร์บลูทูธอื่นติดตามโดยไม่รู้ตัว จะเริ่มใช้งานได้ผ่าน Find My Device ที่อัพเดตใน Android 6.0 ขึ้นไป เริ่มตั้งแต่วันนี้
ฟีเจอร์ดังกล่าว กูเกิลประกาศตั้งแต่งาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นความร่วมมือกับแอปเปิล เพื่อออกรูปแบบการตรวจจับ การแจ้งเตือน หากมีการใช้ AirTag หรืออุปกรณ์บลูทูธติดตามประเภทเดียวกันอย่างไม่พึงประสงค์
Find My Device จะแจ้งเตือนหากตรวจพบอุปกรณ์บลูทูธที่ไม่รู้จักติดตามผู้ใช้งานอยู่ สามารถกดดูข้อมูลเส้นทางแผนที่ซึ่งอุปกรณ์นี้ติดตามกับผู้ใช้งานได้ สามารถกดดูข้อมูลเลขซีเรียลหรือชื่อเจ้าของ (หากระบุ) สั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียงเพื่อค้นหา
แอปเปิลประกาศพรีวิวฟีเจอร์ใหม่บางส่วนของบริการออนไลน์ ซึ่งแอปเปิลเรียกรวมกลุ่มธุรกิจนี้ว่า Services โดยจะมาพร้อมกับการอัพเดตระบบปฏิบัติการชุดใหญ่ช่วงปลายปี หลายตัวก็ประกาศไปแล้วในคีย์โน้ตของ iOS 17, iPadOS 17, macOS Sonoma และซอฟต์แวร์อื่น อย่างไรก็ตามหลายฟีเจอร์ยังใช้งานไม่ได้ในไทย มีรายละเอียดดังนี้
จากการประกาศความร่วมมือระหว่าง Apple และ Google เพื่อออกข้อกำหนดสำหรับการใช้ Bluetooth Tracker อย่างไม่เหมาะสม ในงาน Google I/O เมื่อคืนที่ผ่านมา Google ก้ประกาศว่า Android จะสามารถตรวจจับ AirTag หรือ Bluetooth Tracker ที่ไม่มีเจ้าของและถูกนำมาติดตัวผู้ใช้งานได้แล้ว
Unknown Tracker Alert จะเป็นส่วนหนึ่งของแอป Find My Device โดยเมื่อสมาร์ทโฟนตรวจจับ Bluetooth Tracker ที่น่าสงสัย จะเด้งแจ้งเตือน และเมื่อกดเข้า Find My Device ก็จะแสดงแผนที่พร้อมเส้นทางที่ Tracker ติดตัวเรามา โดยมีตัวเลือก Play Sound ให้ตัว Tracker ส่งเสียงเพื่อค้นหาด้วย
แอปเปิลและกูเกิล ประกาศความร่วมมือเพื่อออกข้อกำหนดอุปกรณ์ติดตามด้วยบลูทูธหรือแทร็กเกอร์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน และป้องกันปัญหาการนำอุปกรณ์นี้ไปใช้ติดตามอย่างไม่เหมาะสม โดยแนวทางมีทั้งการตรวจจับ การแจ้งเตือน รองรับการทำงานทั้งบน Android และ iOS
เป้าหมายของการออกข้อกำหนดนี้ เพื่อให้อุปกรณ์แทร็กเกอร์มีการตั้งค่าพื้นฐาน หากเกิดกรณีติดตามที่ไม่ถูกต้อง ก็สามารถแจ้งเตือนให้กับบุคคล รวมทั้งช่วยแนะนำให้หาอุปกรณ์ติดตามดังกล่าวเจอ และสั่งปิดการทำงานได้
นอกจากแอปเปิลและกูเกิลแล้ว ผู้ผลิตแทร็กเกอร์หลายราย เช่น Tile, Chipolo, Eufy Security, Pebblebee และซัมซุง ก็ประกาศร่วมมือในการออกข้อกำหนดนี้ด้วย
นายกเทศมนตรีและกรมตำรวจนิวยอร์ก (NYPD) ขอให้ประชาชนช่วยอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาโจรกรรมรถยนต์ โดยการวาง Airtags ของ Apple ไว้ในรถของตัวเอง เนื่องจากสามารถติดตามตำแหน่งผ่านแอปฯ Find My ได้ หากถูกขโมยรถผู้เสียหายก็สามารถติดตามรถได้พร้อมๆ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อช่วยในการค้นหา
Airtags มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 29 ดอลลาร์เหรียญ (ประมาณ 990 บาท) ซึ่งก็มีองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในนิวยอร์ก ช่วยบริจาค Airtags จำนวน 500 ชิ้น เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนใช้ฟรีด้วย
เพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่ แอปเปิลประเทศญี่ปุ่น ออกโปรโมชันพิเศษระยะเวลา 2 วันเท่านั้น ระหว่างวันที่ 2-3 มกราคม 2023 โดยจะให้บัตรของขวัญ (Gift Card) มูลค่าตั้งแต่ 4,000 เยน สำหรับการซื้อ AirPods 2nd Gen ไปจนถึงสูงสุดที่ 32,000 เยน สำหรับการซื้อ MacBook Pro
นอกจากนี้แอปเปิลยังออกโปรโมชันเพิ่ม สำหรับลูกค้าที่ซื้อ iPhone 13, iPhone 13 mini, iPhone 12 หรือ iPhone SE เครื่องใหม่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จะได้รับ AirTag รุ่นพิเศษ ผลิตจำนวนจำกัด 30,000 ชิ้น สลักลายอีโมจิกระต่าย เพื่อต้อนรับปีนักษัตรกระต่ายของ 2023 ที่กำลังมาถึง
โปรโมชันนี้รองรับทั้งการซื้อออนไลน์ในญี่ปุ่น และหน้าร้าน Apple Store ที่ญี่ปุ่น ผู้อ่านท่านใดไปเคาท์ดาวน์ที่นั่นอาจลองแวะไปดูกันได้
สายการบิน Lufthansa ชี้แจงแล้ว ว่าผู้โดยสารสามารถใช้งาน AirTag อุปกรณ์ติดตามสิ่งของของแอปเปิล ได้ทั้งกับกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่อง (Carry-on) และกระเป๋าที่โหลดกับใต้เครื่อง หลังจากสายการบินได้ข้อมูลจากหน่วยงานกำกับการบินของเยอรมนี ยืนยันว่า AirTag ใช้พลังงานต่ำ จึงมีความเสี่ยงน้อย
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Lufthansa สั่งห้ามใช้ AirTag กับกระเป๋าเดินทาง หรือหากต้องโหลดจริง จะต้องปิดการทำงาน AirTag ก่อน ซึ่งวิธีปิดทำได้เพียงถอดแบตเตอรี่ออกมาเท่านั้น
สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวจากเว็บ One Mile at a Time พาดหัวระบุว่าสายการบิน Lufthansa แบนการใช้ AirTag ติดตามกระเป๋าเดินทาง รูปแบบการรายงานและเนื้อหาชวนให้เข้าใจว่าทางสายการบินเพิ่งตัดสินใจว่าจะแบนการโหลด AirTag ไปกับกระเป๋าเดินทางนับแต่ตอนนี้เป็นต้นไป และตั้งคำถามไปว่าสายการบินอื่นๆ จะทำตามหรือไม่
แอปเปิลออกอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้กับ AirTag อุปกรณ์สำหรับใช้ติดตามสิ่งของ โดยเวอร์ชันล่าสุดคือ 1.0.301 มีเลขบิลด์ 1A301 ส่วนเวอร์ชันล่าสุดก่อนหน้านี้คือ 1A291 ที่ออกมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว
ส่วนรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในเฟิร์มแวร์เวอร์ชันนี้ แอปเปิลยังไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ
อัพเดต: แอปเปิลระบุรายละเอียดของอัพเดตนี้ว่า ได้ปรับเสียงของ AirTag กรณีถูกใช้ติดตามอย่างไม่เหมาะสม ให้สามารถค้นหาเจอง่ายขึ้น
Positive Technology บริษัทวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์เขียนบล็อกวิจารณ์ถึงมาตรการรักษาของแอปเปิลที่พยายามป้องกันการนำ AirTag ไปติดตามบุคคลอื่น ว่ามาตรการไม่เพียงพอ และไม่สามารถป้องกันได้จริง
Positive Technology ระบุว่าปัญหาใหญ่คือ Find My นั้นเปิดให้อุปกรณ์ภายนอกที่ไม่ได้ผลิตโดยแอปเปิลใช้เครือข่ายได้ โดยตอนนี้มีโครงการ OpenHaystack ที่เปิดให้คนทั่วไปสร้างอุปกรณ์เลียนแบบ AirTag กันได้เอง ทำให้มาตรการของแอปเปิลหลายอย่าง เช่น การสั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียง, การแสดงตำแหน่งอย่างละเอียดด้วยคลื่น ultra-wide band, หรือแม้แต่หน้าจอแจ้งเตือนทางกฎหมาย ใช้งานไม่ได้กับอุปกรณ์เหล่านี้
แอปเปิลอัพเดตถึงกระบวนการรักษาความเป็นส่วนตัวของคนทั่วไป หลังจากมีเหตุคนร้ายนำ AirTag ไปติดตามตำแหน่งของคนอื่นๆ โดยตัว AirTag นั้นผูกกับบัญชี Apple ID และเมื่อเกิดเหตุแอปเปิลก็ส่งมอบข้อมูลบัญชีให้ตำรวจจนตามจับสตอล์คเกอร์เหล่านี้ได้
ขณะเดียวกันแอปเปิลก็เตรียมอัพเดตซอฟต์แวร์หลายรายการเพื่อลดปัญหาการใช้ AirTag ไปติดตามคนอื่น ได้แก่
แอปเปิลประเทศญี่ปุ่น ประกาศโปรโมชันต้อนรับปีใหม่ โดยมีไฮไลท์คือ AirTag รุ่น limited ที่จะให้ฟรีกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนด
AirTag รุ่นดังกล่าว จะสลักลายอีโมจิต้อนรับปีเสือ ซึ่งเป็นปีนักษัตรของ 2022 เงื่อนไขคือลูกค้าจะต้องซื้อ iPhone 12, iPhone 12 mini หรือ iPhone SE ในช่วงวันที่ 2 และ 3 มกราคม 2022 โดย AirTag รุ่นนี้มีจำนวนจำกัดเพียง 20,000 ชิ้น เท่านั้น
แอปเปิลออกแอป Tracker Detect บน Android เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ไม่มี iPhone หรือ iPad สามารถสแกนตรวจหา AirTag แท็กติดตามอุปกรณ์ ที่อาจมีผู้ใช้งานติดตามสะกดรอย ตลอดจนรองรับการค้นหาอุปกรณ์ที่ใช้เครือข่าย Find My ได้อีกด้วย
กรณีของผู้ใช้ iOS จะแสดงการแจ้งเตือนขึ้นมา หากพบอุปกรณ์ที่ไม่รู้จักในรัศมี แต่สำหรับผู้ใช้ Android ก่อนหน้านี้จะมีเพียงการส่งเสียงเตือนเมื่อ AirTag อยู่ห่างจากเจ้าของระยะเวลาหนึ่ง และผู้ใช้ Android สามารถสแกนตรวจสอบได้ผ่าน NFC เท่านั้น
แอป Tracker Detect ต้องการสิทธิเข้าถึงพิกัดและการอนุญาตให้เชื่อมต่อบลูทูธ
แอปเปิลออกอัพเดตเฟิร์มแวร์สำหรับ AirTag อุปกรณ์ติดตามสิ่งของ โดยเฟิร์มแวร์ล่าสุดมีเลขเวอร์ชัน 1.0.291 เลขบิลด์ 1A291a (เดิม 1A287b)
ในอัพเดตนี้แอปเปิลไม่ได้บอกว่ามีการเพิ่มฟีเจอร์ หรือแก้ไขอะไรบ้าง แตกต่างจากเฟิร์มแวร์ที่ออกมาเมื่อเดือนมิถุนายน ซึ่งระบุว่าป้องกันการนำไปใช้สะกดรอย
เฟิร์มแวร์ของ AirTag เป็นการอัพเดตผ่าน OTA อัตโนมัติ เมื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อกับ iPhone ไม่สามารถสั่งให้อัพเดตได้เอง หากต้องการให้เฟิร์มแวร์อัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่นี้ จึงควรนำ AirTag มาไว้ในรัศมีของ iPhone
ที่มา: MacRumors
AirTag อุปกรณ์บลูทูธสำหรับติดตามอุปกรณ์ มีคุณสมบัติหนึ่งที่ไม่ค่อยพบในสินค้าแอปเปิลคือสามารถแกะเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เอง โดยใช้ถ่านกระดุม CR2032 อย่างไรก็ตามแอปเปิลก็มีคำแนะนำเรื่องนี้เพิ่มเติม
ในเอกสารสนับสนุนของแอปเปิล ระบุว่าหากใช้แบตเตอรี่ CR2032 แบบที่เคลือบด้วยสารขม อาจไม่สามารถใช้งานกับ AirTag ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดตำแหน่งของสารเคลือบที่สัมพันธ์กับหน้าสัมผัสของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่กระดุม CR2032 มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้ผลิตบางรายเคลือบสารขมที่ผิวของแบตเตอรี่ เพื่อป้องกันเด็กกลืนเข้าไป ซึ่งคาดว่าสารขมนี้อาจมีผลให้ AirTag ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง