ก่อนหน้านี้ HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์โครงการที่ดูแลรวมถึง Terraform ทำให้กลุ่มบริษัทและชุมชนนักพัฒนาประกาศแยกโครงการออกมา โดยมีชื่อเรียกว่า OpenTF
ล่าสุดกลุ่ม OpenTF ได้ให้ Linux Foundation เป็นผู้ดูแลโครงการ พร้อมประกาศตั้งชื่อ fork ของ Terraform ใหม่ว่า OpenTofu โดยมีแผนให้ CNCF ดูแลโครงการด้วย
OpenTofu จะดำเนินงานต่อไปแบบโอเพนซอร์สภายใต้ไลเซนส์ MPLv2 โดยมีกลุ่มร่วมสนับสนุนหลักอาทิ Harness, Gruntwork, Spacelift, env0 ฯลฯ เพื่อให้มีนักพัฒนาโครงการแบบเต็มเวลาจำนวน 18 คน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
องค์กรชั้นนำหลายแห่งได้แก่ Pixar, Adobe, Autodesk, NVIDIA, Apple และ Joint Development Foundation (JDF) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้ Linux Foundation ประกาศจัดตั้งความร่วมมือ Alliance for OpenUSD หรือตัวย่อ AOUSD เพื่อส่งเสริมและผลักดันมาตรฐานเปิดของคอนเทนต์ 3D
Pixar ได้พัฒนามาตรฐานเปิดของระบบนิเวศ 3D มาระยะเวลาหนึ่งแล้วในชื่อ Open Universal Scene Description หรือ OpenUSD ซึ่งภารกิจของ AOUSD คือการส่งเสริมให้มีการใช้งาน พัฒนา และรองรับมาตรฐานนี้ให้กว้างขวางขึ้น ซึ่ง JDF จะรับหน้าที่ดูแลโครงการ เพื่อจัดทำข้อกำหนดของ OpenUSD ให้เป็นระบบเปิดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถผลักดันสู่มาตรฐานโลกในระดับ ISO
Linux Foundation ประกาศเป็นตั้งโครงการใหม่ Ultra Ethernet Consortium (UEC) เพื่อให้บริษัทและหน่วยงาน ร่วมกับพัฒนาการเชื่อมต่อบนพื้นฐานอีเธอร์เน็ต ให้รองรับการประมวลผลสมรรถะสูงได้ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันงานทั้ง AI และ HPC มีรูปแบบเวิร์กโหลดที่แตกต่างไป ต้องการประสิทธิภาพการทำงานที่สูง การทำงานร่วมกันข้ามอุปกรณ์ และต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด
บริษัทที่เข้าร่วมกลุ่ม UEC ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ AMD, Arista, Broadcom, Cisco, Eviden, HPE, Intel, Meta และ Microsoft ซึ่งต่างเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์มายาวนานด้านเน็ตเวิร์ก AI คลาวด์ และ HPC
Linux Foundation ประกาศตั้งหน่วยงานใหม่ Overture Maps Foundation เพื่อร่วมกันพัฒนาข้อมูลแผนที่แบบ Open Map เพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาบริการที่ต้องใช้ข้อมูลแผนที่ได้ทั่วโลก
โครงการดังกล่าวมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่มีฐานะเป็นผู้ริเริ่มได้แก่ Amazon Web Services (AWS), Meta, Microsoft และ TomTom โดยเปิดให้ชุมชนนักพัฒนาเข้าร่วมในการพัฒนาข้อมูลร่วมกัน
Jim Zemlin ผู้บริหารของ Linux Foundation กล่าวว่าข้อมูลแผนที่เป็นการอิงกับสภาพแวดล้อมจริง เชื่อมต่อกับทุกชุมชนในโลก มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตตลอดเวลา จึงเป็นความท้าทายที่ซับซ้อนมากเกินกว่าหนึ่งองค์กรจะจัดการได้ ทุกคนในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันจึงจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับทุกคน
บริษัท Meta ประกาศยกโครงการ PyTorch เฟรมเวิร์คสำหรับงาน AI ให้กับ Linux Foundation ไปดูแลต่อ
Linux Foundation จะตั้งองค์กรลูก PyTorch Foundation โดยมีตัวแทนจากบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรม ได้แก่ AMD, Amazon Web Services, Google Cloud, Meta, Microsoft Azure, Nvidia ร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลทิศทางการพัฒนา PyTorch ต่อไป
PyTorch เริ่มพัฒนาในปี 2016 โดยเป็นการต่อยอดจากเฟรมเวิร์ค Torch ที่เขียนด้วยภาษา Lua แต่ปรับให้เป็นภาษา Python ที่ใช้งานกว้างขวางกว่าแทน (โครงการ Torch ก็หยุดพัฒนาไปตั้งแต่ปี 2018) ถือเป็นเฟรมเวิร์ค machine learning ยอดนิยมอีกตัวเคียงคู่กับ TensorFlow/Keras ที่สร้างโดยฝั่งกูเกิล
มูลนิธิด้านโอเพนซอร์ส 2 แห่งคือ Linux Foundation และ Open Source Software Security Foundation (OpenSSF) ประกาศแผน 10 ข้อเพื่อยกระดับความปลอดภัยของวงการโอเพนซอร์ส และป้องกันปัญหา supply chain attack ในอนาคต
Amazon ประกาศโอเพนซอร์สเอนจินเกม Lumberyard ของตัวเอง โดยใช้ชื่อโครงการใหม่ว่า Open 3D Engine (O3DE) และยกให้อยู่ในการดูแลของ Linux Foundation
Linux Foundation จะตั้งองค์กรลูกชื่อ Open 3D Foundation ขึ้นมารับผิดชอบการพัฒนา Open 3D Engine โดยมีบริษัทอื่นๆ เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Adobe, Here, Huawei, Intel, Niantic, Red Hat และบริษัทเกมอีกจำนวนหนึ่ง
ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ GitHub ในเครือ และบริษัทไอทีอีก 2 แห่งคือ Accenture กับ ThoughtWorks ประกาศตั้งมูลนิธิ Green Software Foundation มาแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมไอที เช่น ปัญหาศูนย์ข้อมูลใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ จนคิดเป็นสัดส่วน 1% ของพลังงานโลกแล้ว และตัวเลขจะมากขึ้นเป็นระดับ 6-8% ในอนาคต
โครงการ Green Software Foundation จะอยู่ภายใต้บริษัทลูก Joint Development Foundation Projects, LLC ของมูลนิธิ Linux Foundation อีกทึหนึ่ง
Green Software Foundation จะทำหน้าที่ออกมาตรฐานและแนวทางด้านพลังงาน ด้านการปล่อยคาร์บอน รวมถึงสนับสนุนการวิจัยในสายงานนี้ร่วมกับพาร์ทเนอร์และสถาบันการศึกษาด้วย
กรณีการแฮ็ก SolarWinds ทำให้คนหันมาสนใจเรื่องความปลอดภัย supply chain ของซอฟต์แวร์กันมากขึ้น แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการ เมื่อไม่นานนี้เพิ่งมีนักวิจัยความปลอดภัยลองสร้างไลบรารีปลอม และมีบริษัทชื่อดังหลายแห่งดาวน์โหลดไปใช้งาน
กูเกิลร่วมมือกับ Linux Foundation จัดสรรงบประมาณมาจ้างนักพัฒนามาดูแลความปลอดภัยเคอร์เนลโดยเฉพาะ 2 คน ได้แก่ Gustavo Silva และ Nathan Chancellor
Gustavo Silva ทำงานไล่ตามเก็บบั๊กช่องโหว่ buffer overflow ในเคอร์เนล และตรวจหาบั๊กก่อนที่จะส่งโค้ดเข้า mainline เขาส่งโค้ดอยู่ใน 5 อันดับแรกมาตั้งแต่แต่ปี 2017
Nathan Chancellor ทำงานกับโครงการ Clang/LLVM เป็นหลัก โดยพยายามพอร์ตเคอร์เนลให้ไปคอมไพล์ด้วย LLVM เพื่อใช้ฟีเจอร์ของคอมไพล์เลอร์มาจับช่องโหว่ความปลอดภัย
ประกาศครั้งนี้ไม่ระบุว่ากูเกิลสนับสนุนเงินทุนเท่าใดหรือจะให้ทุนเป็นเงินเดือนนักพัฒนาทั้งสองคนนานเพียงใด
Mozilla ประกาศยกโครงการ Servo เอนจินแสดงผลเว็บตัวใหม่ของ Firefox ที่เขียนด้วยภาษา Rust มาตั้งแต่ปี 2012 (ภายหลังพัฒนาเป็น Firefox Quantum) ให้ Linux Foundation ดูแลต่อแทน
จุดเด่นของ Servo คือทำงานเร็ว, รองรับมัลติคอร์เต็มรูปแบบ และเขียนด้วยภาษา Rust ที่ปลอดจากปัญหาหน่วยความจำ นอกจาก Firefox แล้ว ปัจจุบันยังมีซัมซุง, Let's Encrypt, Three.js ที่นำไปใช้งาน โดย Servo ถือเป็นซอฟต์แวร์โครงการใหญ่ที่สุดที่สร้างด้วย Rust นอกเหนือจากตัวคอมไพเลอร์ของ Rust เอง
ท่ามกลางประเด็นเรื่องการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ARM, Baidu, Google Cloud, Intel, Microsoft, Red Hat, Swisscom และ Tencent รวมตัวกันภายใต้ Linux Foundation จัดตั้ง Confidential Computing Consortium องค์กรที่จะดูแล พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี Confidential Computing แบบโอเพนซอร์ส
เบื้องต้นเทคโนโลยีที่ถูกมอบให้กับ Consortium มี Confidential Consortium Framework ของไมโครซอฟท์ สำหรับการสร้างแอปบน TEE, ชุด SDK จาก Intel สำหรับปกป้องข้อมูลหรือโค้ดในระดับฮาร์ดแวร์และแพลตฟอร์ม Enarx สำหรับรันแอปบน TEE แบบ serverless
Uber ประกาศในงาน Uber Open Summit ประจำปี 2018 ว่าตอนนี้ทางบริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้สนับสนุนของ Linux Foundation แล้วอย่างเป็นทางการ โดยเป็นสมาชิกระดับ Gold
Uber ประกาศว่า การเข้าร่วม Linux Foundation นั้นเป็นการยืนยันในคำมั่นสัญญาของบริษัทว่าจะซัพพอร์ตชุมชนโอเพ่นซอร์สต่อไป ซึ่ง Uber จะคอยสนับสนุนภารกิจของ Linux Foundation ในการสร้างระบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส โดย Uber จะร่วมกับชุมชน และโปรโมตการใช้โอเพ่นซอร์ส
Thuan Pham ซีทีโอของ Uber ระบุว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สเป็นเบื้องหลังของบริการหลักของ Uber ซึ่งในตอนนี้ที่ Uber กำลังเติบโตอยู่เรื่อย ๆ โซลูชั่นเหล่านี้ก็ยิ่งสำคัญต่อ Uber มากขึ้น
การประชุม Maintainer's Summit เป็นการประชุมนโยบายของการพัฒนาเคอร์เนล เช่น นโยบายการเปิดเผยช่องโหว่, หรือการออกเวอร์ชั่นใหม่ โดยปกติไลนัสจะเข้าร่วมประชุมด้วยทุกปี แต่ปีนี้พิเศษเพราะไลนัสเกิด "สับสน" วันประชุมที่กำหนดไว้ 22 ตุลาคมนี้ ทำให้เขาเตรียมแผนไปพักผ่อนกับครอบครัวในสหราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว ทับกับการประชุมที่จะจัดในแคนาดา
ไลนัสเสนอให้ที่ประชุมจัดการประชุมตามเดิมโดยไม่มีเขา แต่กรรมการจัดการเสนอว่าให้ย้ายที่จัดงานตามไลนัสไปสหราชอาณาจักร เพื่อประชุมให้ครบตามเดิม
การประชุมมีผู้ร่วมประชุมประมาณ 30 คน
Academy for Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS) ผู้จัดการประกวดรางวัลออสการ์อันเก่าแก่ได้มีบทบาททางเทคโนโลยีมากขึ้นด้วยการร่วมมือกับมูลนิธิ Linux Foundation เปิดตัว Academy Software Foundation (ASWF) ฟอรัมกลางสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อการจัดระเบียบและการทำงานร่วมกันโดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีโอเพนซอร์ส ซึ่งจะมีเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการทำหนังเช่น VR, sound engineering เป็นต้น
มูลนิธิ Linux Foundation ประกาศว่า Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน ได้สมัครสมาชิกระดับ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุด มีค่าใช้จ่าย 5 แสนดอลลาร์ ซึ่งก่อนหน้ามี Microsoft เป็นบริษัทล่าสุดที่สมัครสมาชิกระดับนี้
การสมัครสมาชิกระดับ Platinum ทำให้ Tencent ส่งทีมงานคือ Liu Xin ผู้จัดการฝ่ายโมบายล์อินเทอร์เน็ต เข้าไปเป็นบอร์ดบริหารของ Linux Foundation ร่วมกับบริษัทอื่นที่อยู่ในระดับนี้แล้วทั้ง Cisco, Fujitsu, HPE, Huawei, IBM, Intel, NEC, Oracle, Qualcomm, Samsung และ Microsoft
The Linux Foundation มูลนิธิผู้ดูแลเคอร์เนลลินุกซ์เปิดตัวโครงการย่อย LF Deep Learning Foundation สำหรับดูแลโครงการทางด้านปัญญาประดิษฐ์, คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ (machine learning), และ deep learning
ช่วงหลังๆ Linux Foundation เปิดโครงการย่อยมาดูแลโครงการกลุ่มต่างๆ อยู่เรื่อยๆ เช่นโครงการ Hyperledger ที่ดูแลโครงการด้านบล็อคเชน, โครงการ Let's Encrypt หรือ Node.js ก็เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิเช่นกัน
ตอนนี้ยังไม่มีโครงการใดเข้ามาอยู่ใต้ LF Deep Learning Foundation อย่างเป็นทางการ
ปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกับลินุกซ์ในฐานะของ "ระบบปฏิบัติการ" แต่ล่าสุด ลินุกซ์กำลังจะก้าวข้ามพรมแดนไปอยู่ในเฟิร์มแวร์ตอนบูตเครื่องก่อนเข้าสู่ระบบปฏิบัติการด้วย
มูลนิธิ Linux Foundation เพิ่งเปิดตัวโครงการ LinuxBoot เพื่อนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้ในเฟิร์มแวร์ของเซิร์ฟเวอร์ ปกติแล้ว เฟิร์มแวร์ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยโค้ดหลายส่วน เช่น ส่วนที่บูตฮาร์ดแวร์ในช่วงแรก (hardware init - UEFI PEI) และส่วนที่เริ่มการทำงานของหน่วยความจำ (memory initialized) ซึ่ง LinuxBoot จะเข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ดส่วนหลัง (UEFI DXE)
Linux Foundation เปิดตัวโครงการ EdgeX Foundry สร้างความเข้ากันได้ของคอมพิวเตอร์ชายขอบ (edge node) ในระบบ IoT
EdgeX ระบุว่าแพลตฟอร์มจะไม่ขึ้นกับชิ้นส่วนใดเป็นพิเศษ โดยทำงานได้ทั้ง ARM และ x86, รองรับระบบปฎิบัติการหลากหลาย, และรอบรอบ micro service ที่พัฒนาบนภาษาต่างๆ
แต่ EdgeX จะกำหนดบริการมาตรฐาน Core Services กำหนดวิธีการเข้าถึงข้อมูล, การติดตั้งบริการใหม่ๆ, การจัดการอุปกรณ์ปลายทาง, และการจัดการความปลอดภัย
ตอนนี้บริษัทที่เข้าร่วมกับ EdgeX แล้ว เช่น AMD, Dell, Canonical, Linaro
ท่าทีที่เปิดกว้างของไมโครซอฟท์ และสนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างชัดเจนในช่วงหลัง ส่งผลให้ Jim Zemlin ผู้อำนวยการของมูลนิธิ Linux Foundation ให้สัมภาษณ์ว่า ไมโครซอฟท์เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ
Zemlin บอกว่าการเข้าร่วม Linux Foundation ของไมโครซอฟท์ถือเป็นผลบวกต่อวงการโอเพนซอร์สในภาพรวม เขายอมรับว่าฝั่งโอเพนซอร์สมักมีแนวคิดแบบขบฎ ต่อต้านองค์กรขนาดใหญ่ แต่การพาตัวเองเข้าสู่กระแสหลักให้คนทั่วไปรู้จัก ฝั่งโอเพนซอร์สก็ต้องเปิดใจกว้าง หาคนเข้าร่วมให้มากที่สุดเช่นกัน
Microsoft ได้ประกาศเข้าเป็นสมาชิกของ The Linux Foundation โดยเป็นสมาชิกระดับ Platinum ซึ่งเป็นสมาชิกที่จ่ายเงินแพงที่สุด
Jim Zemlin ซึ่งดำรงตำแหน่ง Executive Director ของ The Linux Foundation ได้กล่าวว่า Microsoft ได้ขยายการใช้งานและการมีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส โดยบริษัทแสดงความสนใจในการเป็นผู้สนับสนุน Linux และโอเพ่นซอร์ส รวมถึงเป็นสมาชิกที่ active กับโครงการหลายอย่าง การเป็นสมาชิกนั้นถือเป็นก้าวสำคัญของ Microsoft รวมถึงชุมชนโอเพ่นซอร์สด้วย ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากการขยายความร่วมมือ
หลังเปิดตัว Automotive Grade Linux ไปตั้งแต่ปี 2014 ปีนี้ Linux Foundation ได้ออก AGL เวอร์ชัน 2.0 แล้ว
ตัวอย่างฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่การรองรับหน้าจอและระบบควบคุมหน้าจอสัมผัสที่เบาะหลัง, ระบบ Audio Routing รองรับทั้งของ Tizen และ GENIVI รวมถึงมี build environment และ test infrastructure ใหม่
นอกจากฟีเจอร์แล้ว AGL 2.0 ยังรองรับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ด้วยอย่างของ NXP, DragonBoard ของ Qualcomm, Vayu EVM และ Raspberry Pi
Linux Foundation ประกาศโครงการระบบปฏิบัติการ Zephyr สำหรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ โดยจะใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ขนาดเล็กมากๆ หน่วยความจำน้อยกว่าที่จะรันลินุกซ์ได้ ตัวเคอร์เนลลินุกซ์นั้นใช้หน่วยความจำอย่างน้อย 200 KB และพื้นที่เก็บข้อมูลอีก 1 MB ขณะที่ Zepyr จะต้องการพื้นที่เพียง 8 KB เท่านั้น
ความแตกต่างของ Zephyr กับลินุกซ์อื่นๆ นอกจากทรัพยากร ได้แก่ การใช้พื้นที่หน่วยความจำเป็นผืนเดียว ไม่แยกกันแต่ละโปรเซสออกจากกัน, เคอร์เนลคอนฟิกได้จากตอนคอมไพล์, กระบวนการตรวจสอบไม่มากนัก และบางส่วนจะทำงานในโหมดดีบักเท่านั้น
บริษัทไอทีชั้นนำอย่าง IBM, Intel, Cisco และสถาบันการเงินชั้นนำอย่าง J.P.Morgan, MUFG, ANZ Bank, London Stock Exchange Group ประกาศรวมตัวตั้ง Open Ledger Project ซึ่งเป็นโครงการสร้างเทคโนโลยี blockchain ที่สามารถใช้งานได้ในระดับสูง (enterprise grade) อย่างเป็นทางการ
เหตุผลสำคัญในการก่อตั้งโครงการนี้ (แยกออกมาจากโครงการอย่าง Bitcoin ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแนวคิด blockchain) คือการรวมการวิจัยและการค้นคว้าด้าน blockchain ของบริษัทเหล่านี้ที่กระจัดกระจาย มารวมกันเป็นโครงการเดียว เพื่อสร้าง blockchain ที่ใช้งานในระดับองค์กร และเปิดซอร์สให้องค์กรอื่นๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้ด้วย
กองทุน Core Infrastructure Initiative (CII) เกิดมาหลังบั๊ก Heartbleed เมื่อปีที่แล้ว โดยกองทุนจะสนับสนุนโครงการสำคัญๆ ด้านความปลอดภัยให้มีนักพัฒนามากเพียงพอ ตอนนี้กองทุนมีเงินค่อนข้างเหลือเฟือ โดยยอดล่าสุดอยู่ที่ 5.5 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทให้คำสัญญาว่าจะจ่ายเงินต่างกันไปในระยะเวลาสามปีข้างหน้า ตอนนี้ทางกองทุนก็เริ่มสนับสนุนโครงการใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยรอบนี้ประกาศออกมาสามโครงการ