อินเทลเปิดตัวมาตรฐานการเชื่อมต่อ Thunderbolt 5 ซึ่งเป็นรุ่นถัดจาก Thunderbolt 4 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยอินเทลบอกว่าแบนด์วิธในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 เท่าจาก Thunderbolt 4
แบนด์วิธในการส่งข้อมูลปกติจะอยู่ที่ 80 Gbps ตามที่เคยให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ แต่สามารถใช้การส่งข้อมูลแบบ Bandwidth Boost ที่เพิ่มขาส่งข้อมูลเป็น 120 Gbps เหมาะกับงานของสายครีเอเตอร์ เกมเมอร์ และมืออาชีพที่เน้นงานแสดงผลประสิทธิภาพสูงสุด รองรับการแสดงผลระดับ 8K หลายหน้าจอ
หลายวันมานี้มีข่าวพูดถึงเหยื่อถูกแฮกขโมยเงินจากบัญชีในโทรศัพท์มือถือ โดนหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการโจมตีด้วยสายชาร์จ USB ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายโดยเฉพาะ เช่น สาย O.MG ที่มีขายกันก่อนหน้านี้ แต่ในโลกความเป็นจริง การโจมตีด้วยสายเหล่านี้ทำได้ยาก มีต้นทุนที่สูง และหากมีการโจมตีจริงก็ควรจะพบตัวอย่างสายที่ใช้โจมตีบ้างแล้วเนื่องจากเหยื่อมีหลายคน
การใช้สาย USB เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีจริง โดยเฉพาะในยุคที่ผู้ใช้ส่วนมากใช้งานพีซีที่ต้องเชื่อมต่อคีย์บอร์ดและเมาส์ผ่านสาย USB หากแฮกเกอร์สามารถติดตั้งสายของตัวเองได้ ก็จะสามารถดักจับข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไปได้
รัฐสภาสหภาพยุโรป และคณะมนตรียุโรป ออกกฎหมายสำหรับการบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในสิ้นปี 2024 เรียบร้อยแล้ว หลังจากอนุมัติแนวทางไปก่อนหน้านี้
โดยกฎหมายดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2024 หรืออีกกว่า 2 ปีข้างหน้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขายในกลุ่มประเทศสหภาพทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์แกดเจ็ตอื่น ๆ จะต้องใช้พอร์ต USB-C สำหรับการชาร์จไฟ ทั้งนี้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีชาร์จแบบไร้สายเพียงวิธีเดียว สินค้ากลุ่มนี้ไม่ต้องมี USB-C ก็ได้
คณะมนตรียุโรป (European Council) ซึ่งประกอบด้วยผู้นำชาติสมาชิกของสหภาพยุโรปได้ผ่านแนวทางกฎหมาย (directive) ให้บังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในสิ้นปี 2024 หลังจากก่อนหน้านี้รัฐสภายุโรปได้ผ่านแนวทางกฎหมายนี้ไป
แนวทางกฎหมายบังคับใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องเปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C ภายในสิ้นปี 2024 ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ตและอุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) กล้องดิจิทัลและคอนโซลวิดีโอเกม หูฟังและลำโพงเคลื่อนย้ายได้ เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สาย อุปกรณ์นำทางแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนแล็ปท็อปจะบังคับใช้ในปี 2026
อินเทลโชว์ต้นแบบของอินเทอร์เฟซ Thunderbolt เวอร์ชันใหม่ (ยังไม่ระบุเลขว่าเป็น Thunderbolt 5 หรือเป็น Thunderbolt 4.x แต่ใช้คำว่า Next-Generation Thunderbolt แทน) โดยจะอยู่บนอินเทอร์เฟซตามสเปกของ USB 4.0 v2 ที่ออกมาตรฐานเมื่อเดือนกันยายน 2022
หลายคนอาจมีภาพจำว่า Thunderbolt ในอดีตวางตัวเป็นคู่แข่งกับ USB โดยตรง แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทิศทางของ Thunderbolt เริ่มหลอมรวมจนเกือบเหมือนกับ USB แล้ว โดยเฉพาะ Thunderbolt 4 ที่เป็นซูเปอร์เซ็ตของ USB 4.0
Mark Gurman จากสำนักข่าว Bloomberg เผยว่า Apple เตรียมเปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C หลังจากสภาสหภาพยุโรปลงมติผ่านกฎหมายให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ในยุโรปทุกชนิดใช้พอร์ต USB-C ตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2024 ส่วนแล็บท็อปจะยืดเวลาให้ถึงปี 2026
Gurman เผยว่า iPhone 15 ที่น่าจะเปิดตัวในปีหน้าอาจจะมาพร้อมกับพอร์ต USB-C แทนที่พอร์ต Lightning ที่ใช้มาเป็น 10 ปี ส่วน iPad รุ่นเริ่มต้น (iPad mini และ iPad Air) น่าจะเปลี่ยนภายในสิ้นปีนี้ ส่วนถ้าหาก Apple เปิดตัว iPhone SE ใหม่ในช่วงต้นปี 2024 การใช้พอร์ต Lighning ก็ยังถือว่าไม่ผิดกฎ แต่รุ่นหลังจากนั้นก็จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ USB-C
รัฐสภาสหภาพยุโรปผ่านแนวทางกฎหมาย (directive) บังคับใช้ USB Type-C ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดเล็กและขนาดกลาง ต้องมีพอร์ต USB Type-C สำหรับชาร์จไฟ ภายในสิ้นปี 2024 ส่วนอุปกรณ์ขนาดใหญ่เช่นโน้ตบุ๊กจะมีเวลาให้ถึงปี 2026
แนวทางกฎหมายของสหภาพยุโรปนี้ครอบคลุมอุปกรณ์เป็นวงกว้าง เช่น โทรศัพท์, แท็บเล็ต, หูฟัง, เกมคอนโซลเคลื่อนที่, เครื่องอ่านอีบุ๊ก, คีย์บอร์ด, เมาส์, GPS, กล้องถ่ายภาพ ไปจนถึงโน้ตบุ๊ก แต่จะบังคับเฉพาะอุปกรณ์ที่ชาร์จไฟด้วยสายเท่านั้น สำหรับอุปกรณ์ที่ชาร์จไร้สายเท่านั้นยังไม่บังคับในข้อบังคับนี้ แต่การแถลงข่าวครั้งนี้ก็ระบุว่าสหภาพยุโรปควรกำหนดมาตรฐานให้ใช้งานร่วมกันได้ต่อไป
USB Promoter Group เปิดมาตรฐาน USB4 2.0 โดยปรับปรุงสถาปัตยกรรม physical layer ทำให้รองรับอัตราการส่งข้อมูลเพิ่มจาก 40Gbps เป็น 80Gbps โดยใช้สายเส้นเดิมที่รองรับ USB4 อยู่แล้ว
แบนวิดท์ที่เพิ่มเขึ้นเป็นระดับ physical เท่านั้น โปรโตคอลที่มารันบนสายจะทำแบนวิดท์ได้ต่างกันไป สำหรับ USB 3.2 สามารถส่งข้อมูลเกิน 20Gbps บนมาตรฐานใหม่นี้ โปรโตคอลอื่นๆ เช่น PCI Express หรือ DisplayPort ก็อาจจะทำแบนวิดท์ได้สูงกว่านี้
มาตรฐานนี้ยังคงใช้งานกับมาตรฐานก่อนหน้า USB4 1.0, Thunderbolt 3 ได้ต่อไป
ที่มา - BusinessWire
เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับแฮคเกอร์ในปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้าไปมากจนถึงขนาดที่หลายอย่างดูเผินๆ ก็เหมือนเป็นข้าวของเครื่องใช้ธรรมดาที่ไม่น่าจะมีฟังก์ชันอันตรายแอบแฝง แต่สาย USB ที่ชื่อ O.MG Cable นี้อาจต้องทำให้เปลี่ยนความคิดใหม่และระวังมากขึ้นก่อนจะคว้าสาย USB ของใครมาเสียบคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
มาตรฐาน USB ในปัจจุบันมีความสับสนอย่างมาก เพราะมีทั้งเรื่องอินเทอร์เฟซของหัวเสียบ (USB Type-C), อัตราการส่งข้อมูล (USB4) และกำลังในการชาร์จ (USB Power Delivery หรือ USB PD)
ล่าสุดกลุ่ม USB-IF พยายามแก้ปัญหานี้โดยออกโลโก้ใหม่ ที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยระบุอัตราการส่งข้อมูล 20/40 Gbps (USB4) และกำลังการชาร์จ 60w/240w (USB PD 3.1) ไว้ที่ตัวโลโก้บนแพ็กเกจต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจง่ายขึ้นว่าสายและที่ชาร์จอะไรได้บ้าง แทนการเขียนเวอร์ชันของสเปก (USB 4, USB PD 3.1) ที่ผู้บริโภคอ่านแล้วไม่รู้ว่าคืออะไร
กลุ่ม Hak5 เปิดตัวสาย USB/Lightning ที่สามารถดึงข้อมูลคีย์บอร์ดออกจากเครื่องของเหยื่อส่งกลับไปยังคนร้ายผ่านทาง Wi-Fi ได้ โดยคนร้ายเพียงแค่ใช้โทรศัพท์เชื่อมต่อกับสาย USB ในระยะทำการ Wi-Fi เท่านั้น
สายสัญญาณเพื่อดักฟังข้อมูลคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ NSA ใช้ส่งให้สายลับเพื่อดักฟังข้อมูล โดยเอกสารที่ Edward Snowden เปิดเผยออกมาคือ SURLYSPAWN ที่สามารถแปลงข้อมูลคีย์บอร์ดเป็นสัญญาณวิทยุได้ แต่เป็นคลื่นความถี่เฉพาะ ไม่ใช่ Wi-Fi ที่ใช้งานได้ง่ายแบบสาย O.MG ครั้งนี้
USB-IF ได้อัพเดตรายละเอียดสเปคของ USB-C เวอร์ชัน 2.1 เพิ่มรายละเอียดฮาร์ดแวร์กำหนด และข้อจำกัดหลายรายการ แต่มีประเด็นที่สำคัญคือขยายช่วงกำลังไฟไปสูงสุดถึง 240 วัตต์ จากปัจจุบันเวอร์ชัน 2.0 รองรับสูงสุดที่ 100 วัตต์
กำลังไฟที่สูงขึ้น จะทำให้ USB-C สามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ จอภาพความละเอียด 4K, เกมมิ่งแล็ปท็อป ไปจนถึงเครื่องพิมพ์
ถึงแม้ระดับกำลังไฟ 240 วัตต์ ก็อาจยังไม่เพียงพอสำหรับฮาร์ดแวร์หลายประเภท แต่ตัวที่ขยายมานี้ก็น่าจะทำให้เห็นอุปกรณ์มากขึ้นที่รองรับ USB-C เวอร์ชันใหม่นี้
อินเทลเปิดตัวสเปกของ Thunderbolt 4 ที่ทิ้งช่วงจาก Thunderbolt 3 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นเวลา 5 ปี
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคุ้นเคยว่าพอร์ต USB กับ Thunderbolt เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่ช่วงหลังๆ มาตรฐานสองค่ายเริ่มควบรวมกัน ตั้งแต่ Thunderbolt 3 ที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C และล่าสุดคือ USB 4 ที่พัฒนาขึ้นจากสเปกของ Thunderbolt 3 อีกที
พอมี Thunderbolt 4 เข้ามาอีกตัว เลยชวนสับสนว่าความต่างของ Thunderbolt 3, 4, USB 4 คืออะไรกันแน่
VESA (สมาคม Video Electronics Standards Association) ประกาศเปิดตัวสเปค DisplayPort Alt Mode 2.0 เป็นการอัพเกรดจาก DisplayPort Alt Mode เวอร์ชันแรก ที่ทำให้ DisplayPort สามารถเชื่อมต่อผ่าน USB-C
DispalyPort Alt Mode 2.0 เป็นการยกเอาสเปค DisplayPort 2.0 ที่ออกเมื่อปีที่แล้วให้ทำงานร่วมกับมาตรฐาน USB4 ได้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยทั้ง 2 มาตรฐานพัฒนาจาก Thunderbolt 3 ทั้งคู่
MinebeaMitsumi บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ของญี่ปุ่นเปิดตัว CAM-L41 คอนเนคเตอร์ USB-C ที่รองรับการกันน้ำกันฝุ่นตามมาตรฐาน IP68 สามารถใช้งานในน้ำที่ความลึกไม่เกิน 1.5 เมตรได้นานสุด 30 นาที รวมถึงรองรับ Thunderbolt 3 ด้วย
คอนเนคเตอร์ USB-C ที่กันน้ำกันฝุ่นมาตรฐาน IP68 (หรือ IP69K ก็มี) ไม่ใช่ของใหม่ แต่ส่วนใหญ่แบนด์วิธและความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่แค่ 5Gbps หรือ 10Gbps เท่านั้น แต่ CAM-L41 ที่รองรับ Thunderbolt 3 สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วสุดถึง 40Gbps ตามสเปค โดย MinebeaMitsumi บอกว่าเตรียมจะขอรองรับมาตรฐาน USB 4 ต่อไปด้วย
เมื่อต้นปีนี้ เราเห็นการประกาศเปิดตัวมาตรฐาน USB 4 ตอนนี้เอกสารสเปกของ USB 4.0 เสร็จสมบูรณ์และเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นำไปพัฒนาสินค้ากันแล้ว
USB 4 เป็นการต่อยอดจากโปรโตคอล Thunderbolt ของอินเทล ทำให้ส่งข้อมูลได้ในอัตราสูงถึง 40Gbps (ต้องใช้กับสายที่เป็น USB 4 ด้วยถึงจะได้ความเร็วระดับนี้) ตัวพอร์ตเชื่อมต่อยังใช้พอร์ต USB Type-C ได้เหมือนเดิม และยังเข้ากันได้กับมาตรฐานรุ่นเดิมทั้ง USB 3.2, USB 3.0 และ Thunderbolt 3
ที่มา - USB
ในยุคที่แล็ปท็อปต่างตัดพอร์ทเชื่อมต่อออกจนแทบจะไม่เหลือ (ยกเว้น VAIO SX12) อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่เรามักต้องซื้อพร้อมคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่คือ USB-C hub ซึ่งล่าสุด Sony ก็เข้าร่วมตลาดนี้ด้วย โดยการเปิดตัว USB-C hub สเปกเทพจับตลาดผู้ใช้ระดับโปร
USB-C hub รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า MRW-S3 ดูเผินๆ อาจนึกว่าเป็น power bank โดยมันมาพร้อมพอร์ตมากมาย ดังนี้
นับว่าเป็นปัญหาโลกแตกกับการเสียบพอร์ท USB-A ที่มักจะไม่ค่อยสำเร็จในครั้งเดียว ซึ่งแม้แต่ตัวผู้คิดค้นเองก็ยอมรับในปัญหานี้และรู้ตั้งแต่ในขั้นตอนการดีไซน์ด้วย ทว่าด้วยข้อจำกัด ณ ตอนนั้นทำให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายจำเป็นต้องออกมาอย่างที่เราเห็นกัน
Ajay Bhatt ผู้คิดค้นและผู้นำทีมพัฒนาโปรโตคอล USB ที่ Intel ยอมรับว่าการต้องมาคอยเสียบ USB สลับด้านเพื่อให้เข้าได้ถูกต้องนั้นเป็นความน่ารำคาญ แต่ก็ปกป้องการตัดสินใจนี้ว่า ทีมพัฒนารู้ตั้งแต่แรกแล้วถึงปัญหานี้ แต่การจะให้ USB สามารถเสียบได้ทุกด้านหรือการทำเป็นวงกลมนั้น ต้องใช้สายไฟ แผงวงจร และต้นทุนที่มากขึ้น ดังนั้นทีมงานจึงตัดสินใจจบที่ทรงสี่เหลี่ยมเพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด
USB Promoter Group กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน USB เปิดตัว USB 4 รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 40 Gbps เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก USB 3.2 ที่แบนด์วิดท์สูงสุด 20 Gbps
เทคโนโลยีของ USB 4 พัฒนาต่อยอดจาก Thunderbolt ของอินเทล โดยอินเทลระบุว่าต้องการเปิดสเปกของ Thunderbolt ให้ทุกคนเข้าถึงได้ (เท่ากับว่าต่อจากนี้ไป ไม่น่าจะมี Thunderbolt 4 อีกแล้ว เพราะรวมมาเป็น USB 4 เลย แต่อินเทลก็ยังไม่ยืนยันเรื่องนี้)
USB 4 ยังรักษาความเข้ากันได้ย้อนหลังกับเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันคือ USB 3.2, USB 2.0 และ Thunderbolt 3 และสามารถใช้ร่วมกับพอร์ต-สาย USB Type-C ที่มีอยู่แล้วได้ แต่การจะส่งข้อมูลที่ระดับ 40 Gbps ต้องเป็นสายที่ผ่านการรับรองด้วย
USB-IF ได้อัพเดตข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน USB 3.2 ล่าสุดในงาน MWC 2019 โดย USB 3.2 รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูล 3 มาตรฐาน ที่ดึงเอาสเปคของ USB 3.x มารีแบรนด์ใหม่ดังนี้
USB Implementers Forum (USB-IF) ที่อยู่ภายใต้ USB.org ที่ดูแลมาตรฐานและสเปค USB เปิดตัว USB-C Authentication Program สำหรับ OEM เพื่อรับรองและตรวจสอบการใช้งานสาย USB-C ของแท้ เพื่อป้องกันอุปกรณ์พังจากการใช้งานสายปลอม รวมถึงป้องกันการรับมัลแวร์จากเครื่องอื่นผ่าน USB-C
USB-IF มอบหมายให้ DigiCert เป็นผู้ดำเนินการเรื่องการลงทะเบียนและออกใบรับรองให้กับ OEM โดยโปรโตคอลนี้จะใช้การเข้ารหัสแบบ 128 บิตเพื่อให้เครื่องโฮสต์ตรวจสอบทั้งอุปกรณ์ที่เสียบ, สายและหัวชาร์จว่าเป็นของแท้หรือไม่ ซึ่งครอบคลุมทั้งแชนแนลรับส่งข้อมูลและ USB-PD เพื่อยืนยันความถูกต้องแล้วถึงจะปล่อยให้รับส่งข้อมูลและพลังงาน
USB Implementers Forum (USB-IF) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่างเช่น Apple, Google และ Microsoft ได้ประกาศเปิดตัวมาตรฐาน USB HID หรือ Human Interface Device สำหรับการใช้งานกับตัวแสดงผลอักษรเบรล ซึ่งเป็นเครื่องมือแสดงผลสำหรับคนตาบอด
มาตรฐานใหม่นี้ จะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานกับอุปกรณ์แสดงอักษรเบรลได้ง่ายขึ้น สามารถใช้อุปกรณ์ข้ามระบบปฏิบัติการได้, ไม่ต้องกังวลถึงการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง และให้อุปกรณ์เสียบแล้วใช้งานได้เลย (plug-and-play) เหมือนเมาส์และคีย์บอร์ดในปัจจุบันที่ไม่ต้องลงไดรเวอร์ก่อนใช้งาน
สำหรับมาตรฐานแบบใหม่ของ USB-IF นี้น่าจะเริ่มเห็นผู้ผลิตอุปกรณ์และผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการอัพเดตให้ซัพพอร์ตอย่างเร็วสุดปีหน้านี้
กลุ่ม USB 3.0 Promoter Group ที่มีสมาชิกอย่างแอปเปิล ไมโครซอฟท์ อินเทล ฯลฯ เตรียมออกสเปกของ USB 3.2 ที่พัฒนาต่อจาก USB 3.1
ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ ส่งข้อมูลได้แบบ multi-lane ในสายเคเบิลเส้นเดียว รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 10Gbps x2 เลน (สายเคเบิล USB-C รองรับอยู่แล้ว แต่มาตรฐานการส่งข้อมูลที่ต้นทาง-ปลายทาง ยังไม่รองรับจนกระทั่งเวอร์ชันนี้)
การส่งข้อมูลที่ 10Gbps จำเป็นต้องให้อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งเป็น USB 3.2 และใช้สายเคเบิล USB-C ที่ผ่านการรับรอง SuperSpeed USB 10 Gbps ซึ่งเริ่มใช้ใน USB 3.1 Gen 2
เอกสารสเปก USB 3.2 จะเผยแพร่ต่อสาธารณะในงานประชุม USB Developer Days North America ในเดือนกันยายนนี้
ควอน จี ยง หรือ G-Dragon ศิลปินเกาหลีที่กำลังมาแรงและเป็นหนึ่งในสมาชิกวง Big Bang ทำอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองขายเป็น USB แทนที่จะเป็นอัลบั้มดิจิทัลและแผ่นเพลงเหมือนที่ศิลปินรายอื่นทำ
ล่าสุด Gaon Chart ของเกาหลีใต้ ดำเนินการโดยสมาคมผู้ผลิตเนื้อหาเพลงของเกาหลี (KMCIA) ออกมาบอกว่าเพลงของ G-Dragon จะได้รับการพิจารณาในรูปแบบ Gaon Digital Chart เท่านั้น (จัดลำดับเป็นรายเพลง) ไม่ถูกจัดอยู่ในการจัดลำดับอัลบั้ม หรือ Gaon Album Chart เนื่องจากเป็นรูปแบบ USB drive ที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของ YG Entertainment คนที่ซื้ออัลบั้มเพียงกรอกหมายเลขซีเรียลที่อยู่บน USB ลงในเว็บไซต์เพื่อโหลดเพลง แต่ใน USB ไม่ได้บรรจุเพลงเอาไว้ จึงไม่สามารถเรียกผลงานชุดใหม่ของ G-Dragon ว่าเป็นอัลบั้มได้
โทรศัพท์บางรุ่นเริ่มเลิกใส่พอร์ตหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรมาแล้ว ตอนนี้ทาง USB-IF ก็ออกมาตรฐาน USB Audio Device 3.0 อย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการถอดพอร์ตหูฟังออกสามารถใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อความเข้ากันได้ในอนาคต
USB-IF ระบุว่าการใช้ USB-C แทนพอร์ต 3.5 มิลลิเมตรจะทำให้อุปกรณ์บางลงได้ถึง 1 มิลลิเมตร และการลดพอร์ตลงทำให้การออกแบบอุปกรณ์ที่กันน้ำทำได้ง่ายขึ้น
เมื่อเดือนสิงหาคมอินเทลระบุว่ามาตรฐานใหม่นี้กำลังจะออกมา ตอนนี้ USB-IF ประกาศแล้ว ภายในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าเราน่าจะเห็นโทรศัพท์ที่ไม่มีพอร์ต 3.5 มิลลิเมตรออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ